البحث

عبارات مقترحة:

الأكرم

اسمُ (الأكرم) على وزن (أفعل)، مِن الكَرَم، وهو اسمٌ من أسماء الله...

الحافظ

الحفظُ في اللغة هو مراعاةُ الشيء، والاعتناءُ به، و(الحافظ) اسمٌ...

หะดีษที่ 10 - ประตูสวรรค์อัร-ร็อยยานสำหรับผู้ถือศีลอด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ฮาเรส เจ๊ะโด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات - أحكام الصيام - فضل رمضان
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 10 - ประตูสวรรค์อัร-ร็อยยานสำหรับผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 10 ประตูสวรรค์ อัร-ร็อยยาน สำหรับผู้ถือศีลอด   عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «إِنَّ فِي الْجَنَّةِ بَابًا يُقَالُ لَهُ الرَّيَّانُ، يَدْخُلُ مِنْهُ الصَّائِمُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، يُقَالُ أَيْنَ الصَّائِمُونَ؟ فَيَقُومُونَ، لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، فَإِذَا دَخَلُوا أُغْلِقَ فَلَمْ يَدْخُلْ مِنْهُ أَحَدٌ» وزِيْدَ عند ابن ماجه : «وَمَنْ دَخَلَهُ لَمْ يَظْمَأْ أَبَدًا». (البخاري رقم 1763، مسلم رقم 1947، ابن ماجه رقم 1630)   ความว่า จากท่าน สะหฺล์ อิบนุ สะอฺด์ ได้ฟังจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า “แท้จริง ในสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งมีชื่อเรียกว่า อัรฺ-ร็อยยาน ในวันกิยามะฮฺผู้ถือศีลอดจะเข้าสวรรค์จากประตูนี้ ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา จะมีเสียงถามขึ้นมาว่า ‘ไหนเล่าบรรดาผู้ถือศีลอด?’ (เพื่อเรียกให้พวกเขาได้เข้าสวรรค์จากประตูนี้) แล้วพวกเขาก็จะยืนขึ้น ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา เมื่อพวกเขาได้เข้าไปหมดแล้ว ประตูนี้ก็จะถูกปิด จึงไม่มีผู้ใดได้เข้าไปจากประตูนี้อีกนอกจากพวกเขา” มีสำนวนเพิ่มเติมจากสายรายงานของอิบนุ มาญะฮฺว่า “ผู้ใดที่ได้เข้าจากประตูนี้ เขาจะไม่กระหายอีกเลยชั่วนิรันดร์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1763, มุสลิม เลขที่ 1947 และอิบนุ มาญะฮฺ เลขที่ 1630)     คำอธิบาย           “الريَّان”  เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮฺได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด คำเดิมในภาษาอาหรับมาจากคำว่า “อัล-ร็อยย์” หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด             อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า “ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์” แทนที่ท่านจะบอกว่า “มันเป็นประตูสวรรค์” ซึ่งเป็นการชี้ให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งนิอฺมัตและการพักผ่อนหย่อนใจต่างๆ ในสวนสวรรค์ การบอกเช่นนี้จะยิ่งเพิ่มความรู้สึกปรารถนาที่จะเข้าไปในนั้นมากยิ่งขึ้น (ฟัตหุล บารีย์ 4/111)   บทเรียนจากหะดีษ 1.      กล่าวถึงผลตอบแทนที่ดีเลิศของผู้ที่ถือศีลอดในวันอาคิเราะฮฺ 2.      นิอฺมัตในสวนสวรรค์นั้นมีมากมาย เช่น อัลลอฮฺได้เตรียมประตูไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่ถือศีลอด 3.      ความพิเศษของผู้ที่ถือศีลอด อัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยความโปรดปรานที่ไม่มีกับบุคคลอื่น 4.      ส่งเสริมให้มีการถือศีลอดเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ 5.      ผลตอบแทนอันเลิศหรูที่อัลลอฮฺมอบให้แก่ผู้ที่ถือศีลอด แสดงให้เห็นว่าการถือศีลอดนั้นมีความประเสริฐยิ่ง  

المرفقات

2

หะดีษที่ 10 - ประตูสวรรค์อัร-ร็อยยานสำหรับผู้ถือศีลอด
หะดีษที่ 10 - ประตูสวรรค์อัร-ร็อยยานสำหรับผู้ถือศีลอด