البحث

عبارات مقترحة:

المليك

كلمة (المَليك) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعيل) بمعنى (فاعل)...

الواحد

كلمة (الواحد) في اللغة لها معنيان، أحدهما: أول العدد، والثاني:...

العزيز

كلمة (عزيز) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعيل) وهو من العزّة،...

สิทธิมนุษยชนในอิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มัสลัน มาหะมะ ، ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الإسلام - حقوق الإنسان في الإسلام
บทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นในอิสลามที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งถึงแม้อิสลามไม่ได้ร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นการเฉพาะ แต่อิสลามได้ก้าวล้ำประชาคมโลกและให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนที่ซึมซับเข้าไปในจิตสำนึกและการศรัทธาพร้อมการประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่ออัลลอฮ์ และเป็นดัชนีชี้วัดของการเป็นมุสลิมที่ดี

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ สิทธิมนุษยชนในอิสลาม           บทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นในอิสลามที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งถึงแม้อิสลามไม่ได้ร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นการเฉพาะ  แต่อิสลามได้ก้าวล้ำประชาคมโลกและให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนที่ซึมซับเข้าไปในจิตสำนึกและการศรัทธาพร้อมการประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่ออัลลอฮ์และเป็นดัชนีชี้วัดของการเป็นมุสลิมที่ดี แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน           สิทธิมนุษยชนได้กำเนิดเป็นทางการครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (หลังจากการเผยแผ่ศาสนาอิสลามนานถึง 7 ศตวรรษ)  อันสืบเนื่องจากการปฏิรูปชนชั้นในยุโรป ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการในสหรัฐอเมริกา ในศตวรรษที่ 18 เพื่อเป็นการป้องกันการเหยียดผิว การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการป้องกันความอยุติธรรมในสังคม จนได้มีการยกย่องว่า ศตวรรษที่ 18 คือ ศตวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน           องค์กรสิทธิมนุษยชนได้ก่อตั้งครั้งแรกโดยสหประชาชาติในปี ค.ศ.1945 และในปี ค.ศ.1948 ได้มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลังจากประชาคมโลกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่สมัชชาสหประชาชาติได้ให้การรับรองและประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1948 ซึ่งถือเป็นวันสิทธิมนุษยชนสากลของทุกปี  ประกอบด้วยข้อความ 30 ข้อ เนื้อหาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่           ส่วนแรก เป็นคำปรารภที่กล่าวถึงหลักการสิทธิมนุษยชน ที่ว่ามนุษย์มีสิทธิในตนเอง มีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาค ดังนั้นจึงห้ามเลือกปฏิบัติ และควรปฏิบัติต่อกันเสมือนเป็นพี่น้อง สิทธิมนุษยชนนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกประเทศที่จะสร้างหลักประกันแก่ทุกชีวิตด้วยการ เคารพหลักสิทธิเสรีภาพที่ปรากฏในปฏิญญานี้ เพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นมาตรฐานร่วมกันสำหรับการปฏิบัติของผู้คนในสังคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ อันเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก           ส่วนที่สอง กล่าวถึงสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political  Rights) ประกอบด้วย สิทธิในชีวิต เสรีภาพและความมั่นคง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก เสรีภาพสื่อมวลชน ในการชุมนุม การสมาคมรวมกลุ่ม และสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการเข้าถึงบริการสาธารณะ          ส่วนที่สาม กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Economic Social and Cultural Rights) สิทธิดังกล่าวได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ และได้รับผลทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง สิทธิในการศึกษา สิทธิในด้านแรงงาน สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ สิทธิในสวัสดิการสังคม การคุ้มครองแม่และเด็ก สิทธิในการได้รับความคุ้มครองทางวัฒนธรรม ศิลป ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร ส่วนที่สี่ กล่าวถึงหน้าที่ของบุคคล สังคมและรัฐ โดยที่จะต้องดำเนินการสร้างหลักประกันให้มีการคุ้มครองปรากฏในปฏิญญานี้ ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ห้ามรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน และจำกัดสิทธิของบุคคล มิให้ใช้สิทธิมนุษยชนละเมิดสิทธิของผู้อื่น สังคมและโลก สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย           ประเทศไทยได้เป็นภาคีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่โดยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 199 และมาตรา 200 และพ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีคณะกรรมการ 11 ท่าน ทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องทุกข์และตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำการไกล่เกลี่ย เสนอมาตรการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ทั้งยังมีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎมายต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน           ในปัจจุบันมีองค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรภาคประชาชนในประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำงานช่วยเหลือประชาชนทั้งการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ ทั้งในระดับนโยบายและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหาทางแก้ไขปัญหาเท่าที่สามารถกระทำได้ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า ในสังคมไทยจะปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรายังต้องอาศัยพลังจากประชาชนเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเองและชุมชน จึงจะเป็นการสร้างความสงบสุขในสังคมได้ สิทธิมนุษยชนในอิสลาม            อิสลามได้ให้เกียรติแก่มนุษย์ และยกย่องมนุษย์โดยถือว่ามนุษย์ คือผู้ถูกสร้างที่สมบูรณ์และเพียบพร้อมที่สุด มนุษย์จึงถูกให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของพระเจ้าในการจรรโลงและพัฒนาโลกนี้ให้ถูกต้องตามครรลองและสอดคล้องกับกมลสันดานหรือสัญชาติญาณดั้งเดิม โดยที่อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์           อัลลอฮ์ได้กำหนดบทบัญญัติให้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ พระองค์ได้ประทานคัมภีร์เพื่อเป็นธรรมนูญชีวิตและส่งศาสนทูตเพื่อเป็นแบบอย่างในการนำคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน บทบัญญัติและคำสอนของอิสลามมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผลประโยชน์ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองปัจจัยสิทธิขั้นพื้นฐานทั้ง 5 ประการ คือ การคุ้มครองศาสนา  การคุ้มครองชีวิต  การคุ้มครองสติปัญญา   การคุ้มครองพันธุ์กรรมหรือศักดิ์ศรี  และการคุ้มครองทรัพย์สิน สิทธิมนุษยชนในอิสลามจึงมีคุณลักษณะเฉพาะที่พอสรุปได้ดังนี้ 1) สิทธิมนุษยชนในอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อในอิสลาม มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่พึงมีต่อพระเจ้า ต่อตนเอง เพื่อนร่วมโลก และสิ่งแวดล้อม 2) สิทธิมนุษยชนในอิสลามเป็นพรอันประเสริฐและความกรุณาของพระเจ้าที่มอบให้แก่มนุษย์ เป็นคำวิวรณ์จากพระเจ้าผ่านศาสนทูตแห่งพระองค์ สิทธิมนุษยชนในอิสลามจึงไม่ใช่เป็นการเรียกร้องเพื่อตอบสนองกระแสสังคม หรือเสียงสะท้อนของผู้ที่เสียเปรียบหรือได้เปรียบจากความขัดแย้งในสังคม 3)  สิทธิมนุษยชนในอิสลามมีขอบเขตครอบคลุมมนุษยชาติทั้งมวล โดยไม่กำหนดเส้นแบ่งด้านสัญชาติ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือประเทศใดเป็นการเฉพาะ แต่มีเนื้อหาขอบเขตกว้างขวาง ตั้งแต่การศรัทธาในระดับจิตสำนึกไปจนถึงโครงสร้างทางสังคม และกำหนดนโยบายในระดับประเทศและนานาชาติที่ครอบคลุมมนุษยชาติในทุกยุคทุกสมัย 4) สิทธิมนุษยชนในอิสลาม  คือ พฤติกรรมที่เป็นข้อเท็จจริงที่ซึมซับอยู่ในจิตสำนึกและพร้อมแสดงออกมาในภาคปฏิบัติซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการน้อมรับคำบัญชาของอัลลอฮ์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจกฏหมายหรือข้อตกลงทางสังคมบังคับใช้ Dr.Ibrahim Madkur ผู้อำนวยการสถาบันภาษาอาหรับ กรุงไคโรกล่าวว่า           “สิทธิมนุษยชนที่มีการละเมิดในทุกวันนี้  ทั้งๆ ที่เรามีหน้าที่ต้องส่งเสริมและคุ้มครองไว้  ความจริงแล้วอิสลามได้วางกฏเกณฑ์และให้มวลมนุษย์ดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ 14 ศตวรรษแล้ว อิสลามได้วางรากฐานสิทธิมนุษยชนก่อนที่จะมีการพูดถึงอย่างแพร่หลายใน ศตวรรษที่ 18 ที่ถือว่าเป็นศตวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนด้วยซ้ำไป  อิสลามได้ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติทางศาสนา และสิ่งที่พึงปฏิบัติในโลกดุนยาพร้อมกับได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการส่งเสริมจริยธรรมและจิตวิญญาณ” อัลกุรอาน คือคัมภีร์แห่งมนุษยชาติ           อัลกุรอาน  คือ ธรรมนูญสำหรับมนุษยชาติ  ประเด็นหลักที่บรรจุในอัลกุรอานทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกับมนุษย์ เช่น อัลกุรอานได้เรียกร้องมนุษย์ว่า «يا أيها الناس» “โอ้ มวลมนุษยชาติทั้งหลาย” โดยที่คำนี้จะถูกเรียกซ้ำในอัลกุรอาน ถึง 28 ครั้งในขณะที่คำว่าالناس  (มนุษย์ทั้งหลาย) ได้ถูกใช้ในอัลกุรอานถึง 280 ครั้ง  คำว่า إنسان (คำเอกพจน์ของมนุษย์) ปรากฏในอัลกุรอาน 63 ครั้ง และคำว่า بني ادم (ลูกหลานอาดัม) ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานถึง 6 ครั้ง และเพื่อเป็นการยืนยันว่าอัลกุรอานได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับมนุษย์มากที่สุด จะสังเกตได้จากโองการแรกที่ถูกประทานลงมายังนบีมุฮัมมัด e  ที่ได้กล่าวซ้ำคำว่า إنسان (มนุษย์) ถึง 2 ครั้งทีเดียว ในขณะที่ซูเราะฮ์ลำดับสุดท้ายในอัลกุรอานคือ ซูเราะฮ์ อันนาส ซึ่งหมายถึงมนุษย์เช่นเดียวกัน           นอกจากนี้เนื้อหาโดยรวมในอัลกุรอานเป็นการเชิญชวนและเรียกร้องมนุษย์ให้รู้จักรากเหง้าและต้นกำเนิดอันแท้จริงของตน  รับทราบคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย  เชิญชวนมนุษย์ให้มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการอยู่บนโลกนี้  ชี้แนะให้รู้จักและยึดมั่นบนเส้นทางการดำเนินชีวิตที่ประสบผลสำเร็จ  พร้อมทั้งให้รำลึกถึงจุดหมายปลายทางของชีวิตสู่ความสุขอันนิรันดร์ เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าอัลกุรอานคือคัมภีร์แห่งมนุษยชาติโดยแท้จริง            คุฏบะฮฺวะดาอฺ  (เทศนาธรรมอำลาของท่านศานทูต) คือ การประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของมนุษยชาติ           ในปีที่ 10 ฮศ. ศาสนทูตมุฮัมมัด e  พร้อมด้วยบรรดาเศาะหาบะฮฺหรือสหายของท่านกว่า 100,000 คนได้พร้อมกันประกอบพิธีหัจญ์  ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺในวันที่เปี่ยมด้วยความศานติ ศาสนทูตมุฮัมมัด e ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ถือเป็นบทปัจฉิมนิเทศในอิสลาม  และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่สามารถรวบรวมพลโลกนับแสนที่หลากหลาย ด้านภาษา  สีผิว วงศ์ตระกูล เชื้อชาติและเผ่าพันธุ์  คลื่นมหาชนได้รวมตัว ณ สถานที่เดียวกัน  วันเวลาเดียวกัน  มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์เดียวกัน  การปฏิบัติศาสนกิจที่พร้อมเพรียงกัน ด้วยการแต่งกายที่เหมือนกัน ภายใต้การนำโดยผู้นำสูงสุดคนเดียว  เนื้อหาหลักของคุฏบะฮฺวะดาอฺเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของอิสลามที่ครอบคลุมหลักพื้นฐานของการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ  ความรับผิดชอบในหน้าที่  การยอมรับสิทธิส่วนบุคคล การใช้ชีวิตในครอบครัว ฐานะของสตรีในอิสลามและบทบาทของนางต่อการสร้างครอบครัวเปี่ยมสุข  หลักการยึดมั่นในอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาชีวิต  เลือด  ทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ดังปรากฏในส่วนหนึ่งของคุฏบะฮฺ ความว่า  “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย  แท้จริงเลือด  ทรัพย์สมบัติและศักดิ์ศรีของท่านจะได้รับการปกป้องและห้ามมิให้เกิดการล่วงละเมิด  จนกว่าท่านทั้งหลายจะกลับไปสู่พระเจ้าของท่าน  เฉกเช่นกับการห้ามมิให้มีการล่วงละเมิดในวันนี้  เดือนนี้และสถานที่แห่งนี้”   เรียบเรียงโดย อ.มัสลัน มาหะมะ คัดจาก : เว็บอิสลามมอร์