البحث

عبارات مقترحة:

المبين

كلمة (المُبِين) في اللغة اسمُ فاعل من الفعل (أبان)، ومعناه:...

الشافي

كلمة (الشافي) في اللغة اسم فاعل من الشفاء، وهو البرء من السقم،...

มุสลิมใหม่ นูรอัยดา ดือราแม : ทุกสิ่งที่เป็นอิสลามจะต้องมีทางออกที่ดีเสมอ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الإسلام - لماذا أسلموا؟ [ قصص المسلمين الجدد ]
เรื่องราวการรับอิสลามของมุสลิมใหม่ นูรอัยดา ดือราแม กับการค้นพบอิสลาม ที่เพิ่มความเชื่อมั่นให้เธอว่าชีวิตนี้มีคุณค่าเพียงใด และความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าทำให้เธอกล้าที่จะพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ทุกสิ่งที่เป็นอิสลามจะต้องมีทางออกที่ดีเสมอ

التفاصيل

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   มุสลิมใหม่ : นูรอัยดา ดือราแม   ประวัติส่วนตัว  - ชื่อนามสกุล นูรอัยดา   ดือราแม  อายุ 32 ปี - เกิดที่จังหวัด นครปฐม - จบการศึกษา สถาบันราชภัฎนครราชสีมา  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากร  - สถานที่ทำงานปัจจุบัน   โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม  ต.พ่อมิ่ง  อ.ปะนาเระ  จ.ปัตตานี - สถานภาพ สมรส บุตร 2 คน   Islammore :  มุมมองเกี่ยวกับมุสลิมก่อนที่จะรู้จักศาสนาอิสลาม ? นูรอัยดา :  มุมมองแรกของฉันที่มีต่อสังคมมุสลิมก่อนที่จะรู้จักศาสนาอิสลามที่แท้จริง เราเข้าใจอย่างเดียวเลยว่า คนมุสลิมเป็นคนที่ขี้เกียจ ทำอะไรมากขั้นมากตอน ยุ่งยากไปหมดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการละหมาด การถือศีลอดอะไรเป็นเดือนๆ ทำไมต้องอดทรมานตนเอง กินอะไรก็ลำบาก ซึ่งได้เห็นจากพี่สาวที่ได้เข้ารับอิสลามก่อนหน้านี้ พี่สาวแต่งงานและเข้ารับอิสลามอยู่ที่จังหวัดสงขลา เมื่อเวลากลับบ้านที่นครปฐม อะไรๆ ก็ต้องพิเศษทั้งหมด ต้องตื่นมาละหมาดแต่เช้า กินอะไรก็ต้องทำเอง เป็นต้น มุมมองที่สองก็คือ  จะรู้สึกว่ามุสลิมอยากกินอะไรก็กินตามใจชอบโดยไม่มีกฏเกณฑ์ มีเพื่อนช่วงสมัยมัธยมต้น พ่อเพื่อนเป็นคนขับรถไฟ แม่เพื่อนเป็นคนขายข้าวหลังสถานีรถไฟที่นครปฐม อาจเป็นเพราะเพื่อนไม่ได้เรียนศาสนา เลยทำอะไรตามใจชอบทุกอย่าง จึงคิดว่าอิสลามน่าจะไม่มีอะไรที่วิเศษกว่าศาสนาอื่น มุมมองสุดท้าย พวกเขานับถืออะไรกันไม่เห็นมีอะไรยึดเหนี่ยวจิตใจเหมือนกับศาสนาพุทธเลย เวลาทุกข์ไปไหน เวลาสุขจะบอกใคร  เวลาตายไปใหน  ขอพรจากใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่อะไรก็ไม่รู้ Islammore :   เหตุผลในการเปลี่ยนศาสนา และระยะเวลาในการเปลี่ยนศาสนา นูรอัยดา : สิ่งที่ทำให้มาเข้ารับอิสลาม แรกๆ เริ่มมีเพื่อนเป็นมุสลิม ทั้งซอยมุสลิมทั้งนั้นเลย แม้กระทั่งร้านอาหารในซอยมีแต่ร้านที่มุสลิมทำ หอพักเจ้าของก็เป็นมุสลิม  เวลาเดินผ่านสวนกันไปสวนกันมา จึงมองว่ามุสลิมนี่ก็สวยดีนะใส่ผ้าคลุมผมดูเรียบร้อย และส่วนใหญ่เป็นมุสลิมจากภาคใต้เยอะ ที่ทำงานมีคนมุสลิม เพื่อนที่ทำงานก็เป็นมุสลิม เวลามาจากบ้านชอบเอามะตะบะมาฝากประจำแล้วบอกว่าแม่พี่ทำมาฝาก และมีบังที่ทำงานคนหนึ่งทำงานร่วมกันอยู่ฝ่ายคลังสินค้า ด้วยความสนิทสนมจึงถามว่าทำไมถึงนับถืออิสลาม บังตอบว่าเขาเป็นอิสลามตั้งแต่กำเนิดแล้ว และจึงถามหลายอย่างเกี่ยวกับอิสลาม พี่ที่เป็นเพื่อนมุสลิมจึงแนะนำให้ไปที่โรงเรียนสันติชนให้ลองไปศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามดูว่าชอบหรือไม่ เมื่อเข้าไปศึกษาดูที่โรงเรียนสันติชนทุกๆ วันอาทิตย์มีคนต่างศาสนิกเข้าไปทำความเข้าใจหรือศึกษาอิสลามกันมาก เมื่อเรียนจบจะมีการสอบเพื่อที่จะได้ใบประกาศนียบัตร แต่ว่าฉันไม่ได้ไปสอบ เพราะคิดว่าทำได้(ความคิดในตอนนั้น) ก่อนที่จะเข้ารับอิสลาม ได้มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายหลายอย่างในชีวิต จึงรู้สึกสับสนวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องชีวิตคู่  ปัญหาในที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งฉันหาทางออกไม่เจอเลย และไม่รู้จะพึ่งใคร ยังคิดว่าถ้าเราตายไปตอนนั้น เราจะไปอยู่ที่ใหน เพราะมีเรื่องมากมาย เครียดตลอดเวลา ชีวิตคู่ที่ผ่านมาก็มีแต่การเอาเปรียบทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายมากมาย จนมาวันหนึ่งจึงประกาศแยกทางเดินในชีวิตคู่  ในระหว่างที่ฉันทำการศึกษาอิสลามอยู่นั้นมีบททดสอบจิตใจของมากมายจากองค์อัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความฝันที่แปลก และไม่สามารถกินหมูได้ ถ้าได้กลิ่นหรือกินนิดเดียวท้องเสียอย่างแรงมากเลย ฉันจึงคิดว่าอัลลอฮฺ ได้ เปิดทางให้เข้ามารับอิสลามแล้วแน่ๆ  และแล้วจึงตัดสินใจในการเข้ารับอิสลามที่โรงเรียนสันติชน  บังที่ทำงานก็ไปเป็นพยานให้ และได้ของขวัญจากการเข้ารับอิสลามก็คือ ผ้าละหมาด ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพื่อเปลี่ยนศาสนาประมาณ 6 เดือน ถ้านับมาจนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี Islammore :  ปัญหาและอุปสรรคหลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม นูรอัยดา : ปัญหาและอุปสรรคหลังจากเปลี่ยนมารับอิสลามแล้วคือ ฉันได้แต่งงานกับบัง และย้ายมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งโอกาสที่จะกลับไปบ้านเกิดก็น้อยลงทุกที แต่ก็ไม่เคยคิดว่าเป็นอุปสรรค เพราะมีพี่สาวอยู่ที่จังหวัดพัทลุงซึ่งเข้ารับอิสลามนานแล้ว อุปสรรคที่พบเจอในช่วงแรก คือ กลัวทำตัวไม่ถูก กลัวคนอื่นมองว่าตนเองเปลี่ยนไป  เพื่อนที่คบกันมานานถามแล้วถามอีกว่าแน่ใจแล้วหรือ ซึ่งทำให้บางครั้งรู้สึกไขว้เขว แต่ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และย้ายมาอยู่ที่บ้านของบัง อุปสรรค อีกอย่างหนึ่งคือ ภาษามลายู และสายตาของชาวบ้าน แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี (อัลฮัมดุลิลลาฮฺ) Islammore :  ความรู้สึกต่อครอบครัวเดิม(พ่อและแม่) ท่านเคยมาเยี่ยมที่ปัตตานีไหม ? นูรอัยดา : ยังรักและเคารพพ่อและแม่เหมือนเดิม เพราะพ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดเรามา เราก็ไม่ควรที่จะลืมพ่อและแม่ของเรา ก่อนที่จะเข้ารับอิสลามได้บอกเหตุผลกับแม่แล้ว ซึ่งแม่ก็บอกว่าให้ตัดสินใจเองเพราะโตแล้ว ถ้าคิดว่าดีก็ทำในสิ่งที่ต้องการ และให้เป็นคนดีเป็นคนที่มีความอดทน ท่านไม่เคยมาเยี่ยมที่ปัตตานีเพราะระยะทางไกล ฉันคิดจะกลับไปเยี่ยมพ่อกับแม่ แต่ก็มีเหตุที่ไปไม่ได้และตั้งใจว่าถ้าภารกิจที่กำลังทำอยู่เสร็จสิ้น อินชาอัลลอฮฺจะกลับไปเยี่ยมในปีหน้า(เดือนเมษายน 54) ความรู้สึกของท่านแม่รักลูกทุกคน และเป็นห่วงลูกทุกคน แต่สำหรับฉันแม่เคยบอกว่า แม่สบายใจแม่ไม่ค่อยเป็นห่วงเท่าไร สามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ค่อยทำอะไรให้แม่ไม่สบายใจ แต่ ถ้าถามว่าแม่คิดถึงไหม ต้องคิดถึงนะ แม่เหงาไหม แม่เหงา แต่แม่ก็ยังมีพี่ชาย 2 คน  พี่สาว 1 คน อยู่ด้วย ส่วนฉันก็ส่งข่าวให้เสมอและยังรักแม่เหมือนเดิม   Islammore :  อะไรที่ทำให้คุณเชื่อมั่นและศรัทธาในศาสนาอิสลาม ? นูรอัยดา : ฉันเชื่อมั่นและศรัทธาในอิสลาม คือ ความเป็นมุสลิมที่มีหลักการศรัทธา มีพระเจ้าองค์เดียว คือ อัลลอฮฺ และแบบอย่างที่ดีก็คือ ท่านนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  นั่นเอง ฉันได้เรียนรู้จึงมีความเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งที่เป็นอิสลามจะต้องมีทางออกที่ดีเสมอ และมีที่มาที่ไป ตั้งแต่เกิดจนมาถึงหลุมฝังศพ Islammore :  คุณคิดว่าหลังจากการเปลี่ยนศาสนาแล้ว ชีวิตคุณจะเป็นอย่างไร ? นูรอัยดา : ชีวิตหลังจากเปลี่ยนศาสนาแล้ว มีความรู้สึกที่ดีกว่าเดิม มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดี คือการละหมาดขอพรต่อองค์อัลลออฮฺ หมั่นอ่านหนังสือศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่อยากจะรู้  และหมั่นละหมาดสุนัต(อิบาดะฮฺ) ไม่มีใครเห็นแต่อัลลออฮฺ เห็นเรา ว่ามีความตั้งมั่นจริงแค่ไหน และอัลลอฮ์ ได้ประทานริสกีให้อยู่เรื่อยๆ  เมื่อย้ายมาอยู่บ้านบัง จึงมาทำหน้าที่เป็นครูที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและให้ความรู้กับเด็กๆ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวของเราในฐานะเป็นผู้ให้ความรู้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ฉันเปลี่ยนแปลงตัวเองมากขึ้นหลังจากรับอิสลาม ช่วงแรกจะใช้ผ้าคลุมสั้น แต่เมื่ออยู่ๆ ไปรู้สึกมันไม่ใช่มุสลิมอย่างเต็มตัว ก็เลยเปลี่ยนเป็นผ้าคลุมใหญ่แทนซึ่งเมื่อสวมใส่แล้วมีความรู้สึกมั่นใจว่า เราเป็นมุสลิมจริงๆ ก่อนไปทำงานในแต่ละวันถ้าเวลามีเหลือนิดหน่อยก็จะละหมาดดุฮาก่อนไปทำงาน เพื่อกิจการงานทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น เพื่ออัลลอฮฺตะอะลานั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปอีกอย่างคือ ความอดทน เพราะตอนนี้รู้สึกว่าตนเองมีความอดมนมากกว่าแต่ก่อน  ซึ่งความอดทนเป็นส่วนหนึ่งที่อัลลอฮฺ  จะทรงโปรดปรานและตอบแทนให้กับฉัน Islammore :  สังคมมลายูมุสลิม ได้ให้อะไรกับเราบ้าง และอยากให้พวกเขาปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง ? นูรอัยดา : สังคมมลายูมุสลิม ได้ให้ความรู้ในด้านศาสนาเพิ่มเติม เมื่อไม่ทราบอะไรก็สามารถสอบถามได้ทุกอย่าง การแต่งกายที่ปกปิดมิดชิด ซึ่งฉันก็พยายามปฏิบัติเช่นนั้น การเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เวลาบ้านไหนมีงานก็ช่วยกันแบบเต็มใจ มีความรักสามัคคีกันในหมู่คณะ แต่อยากให้มีการปรับเปลี่ยน ในเรื่องการแต่งกายของวัยรุ่นมุสลิม เพราะได้รับค่านิยมจากประเทศเพื่อนบ้านและทางเมืองหลวง อีกทั้งสื่อที่ออกมาในปัจจุบันค่อนข้างเป็นกระแสให้ทำตาม และการอยู่กินกันก่อนแต่งงานของหมู่วัยรุ่น อยากให้พวกเขาได้คิดถึงโลกหน้าที่เรากำลังจะไป อีกประการหนึ่งก็คือ ในเรื่องของภาษาท้องถิ่นจะเป็นที่นิยมมากในหมู่ของมลายู แต่ก็ต้องคำนึงถึงว่าภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ซึ่งเห็นได้จากการสอนที่โรงเรียนนักเรียนจะรู้ภาษาไทยน้อยมาก และไม่ค่อยยอมรับรับภาษาไทยเท่าไรนัก  แต่ฉันก็พยามปลูกฝังให้เด็กได้รู้ถึงคุณค่าของภาษาไทยมากขึ้นและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กเสมอ ไม่ว่าการแต่งกาย  การพูดจา เป็นต้น Islammore :  เราจะสอนลูก เลี้ยงลูกโดยวิธีไหน ?  นูรอัยดา : ข้อดีการเลี้ยงลูกในสังคมปัจจุบันจะมีการเลี้ยงดูที่ให้เด็กได้เรียนรู้อะไรในโลกกว้าง ให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง ข้อเสียของการเลี้ยงแบบสมัยนี้ ค่อนข้างปล่อยลูกให้เป็นอิสระเกินไป เด็กเปลี่ยนไปตามกระแสของสังคมอย่างรวดเร็ว ข้อดีการเลี้ยงลูกแบบมลายู  คือ  การอ่านหรือเปิดอัลกุรอานให้ลูกฟัง ก่อนกินอะไรให้อ่านบิสมิลลาฮฺเพื่อเป็นการปลูกฝัง เวลาไปละหมาดก็จะพาไปด้วย ข้อเสียการเลี้ยงลูกแบบมลายู คือ ส่วนใหญ่จะไม่ปล่อยให้ลูกจัดการอะไรด้วยตนเอง และเด็กค่อนข้างที่จะก้าวร้าว การเลี้ยงดูลูกของฉัน จะเลี้ยงดูแบบให้เหตุผลกับลูก สอนไม่ให้เอาแต่ใจตนเอง สอนให้เรียนรู้ด้วยตนเองบางครั้ง และให้ลูกอยู่ในสังคมโดยนำไปฝากเรียน  ซึ่งกลับมาเขาก็จะเล่าให้ฟังว่าวันนี้คุณครูสอนอะไร แล้วเขาทำอะไรบ้าง  ฉันจะพยายามเลี้ยงลูกทั้ง 2 คนให้เป็นคนดีและเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ อินชาอัลลอฮฺ Islammore :  อยากฝากบอกอะไรถึงพี่น้องมุสลิม และสังคมมุสลิมของเรา .... นูรอัยดา : อิสลามถือเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ  เมื่อเวลาที่อยู่บนโลกดุนยาอยากให้พี่น้องมุสลิมทำอิบาดะฮฺให้มาก เพื่อที่จะสบายในโลกอาคิเราะฮฺ เพราะสังคมมุสลิมของเราในปัจจุบัน บางคนยังไม่ทราบว่ามุสลิมต้องทำอะไรบ้าง ควรที่จะพยามยามทำความเข้าใจกับอิสลามให้เยอะๆ เพราะอัลลอฮฺจะตอบรับมุสลิมก็ต่อเมื่อมุสลิมนั้นเป็นมุสลิมที่มีอีมาน มีความศรัทธาอย่างแท้จริง Islammore :  เรื่องอื่นๆ ที่บอกเล่าเรื่องราว เพื่อเป็นข้อคิดให้กับสังคมโดยทั่วไป นูรอัยดา : ความพยายามอยู่ที่เรา  ความสำเร็จอยู่ที่อัลลอฮฺ ดุนยา คือ ทางผ่าน   อัลกุรอาน คือ ทางนำ การให้โอกาสคนเป็นสิ่งที่ดี เพื่อประชาติชาตินี้ เราควรที่จะดะอฺวะฮฺเผยแพร่ให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจในศาสนาอิสลาม และทำอิบาดะฮฺเพื่ออัลลอฮฺ เท่านั้น    Islammore : ขออัลลอฮฺประทานความเข้มแข็งให้กับครอบครัวของนูรอัยดา ให้พวกเขาได้เป็นแบบอย่างที่ดึแก่บรรดาพี่น้องมุสลิมด้วยเถิด   อามีน ยาร็อบบัลอาลามีน 29/11/2553   ที่มา  //www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=43&id=2499

المرفقات

2

มุสลิมใหม่ นูรอัยดา ดือราแม : ทุกสิ่งที่เป็นอิสลามจะต้องมีทางออกที่ดีเสมอ
มุสลิมใหม่ นูรอัยดา ดือราแม : ทุกสิ่งที่เป็นอิสลามจะต้องมีทางออกที่ดีเสมอ