البحث

عبارات مقترحة:

الملك

كلمة (المَلِك) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعِل) وهي مشتقة من...

العفو

كلمة (عفو) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعول) وتعني الاتصاف بصفة...

المعطي

كلمة (المعطي) في اللغة اسم فاعل من الإعطاء، الذي ينوّل غيره...

เราะมะฎอน เดือนแห่งความประเสริฐ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อัสมัน แตอาลี ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات
บทความว่าด้วยความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน ซึ่งครอบคลุมบทบัญญัติต่างๆ ทั้งที่เป็นฟัรฎูและสุนัตสำหรับเดือนนี้ ผู้เขียนได้อ้างอิงหลักฐานประกอบจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ และใช้การเรียบเรียงที่สั้นกระชับเข้าใจง่าย พร้อมบทดุอาอ์บางบทในตอนท้าย

التفاصيل

เราะมะฎอน เดือนแห่งความประเสริฐرمضان : شهر الخير والبركةอัสมัน แตอาลีعزمان  عبدالرشيد تي عليตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมานمراجعة: صافي عثمانبسم الله الرحمن الرحيمเราะมะฎอนเดือนแห่งความประเสริฐบทความว่าด้วยความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน ซึ่งครอบคลุมบทบัญญัติต่างๆ ทั้งที่เป็นฟัรฎูและสุนัตสำหรับเดือนนี้ ผู้เขียนได้อ้างอิงหลักฐานประกอบจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ และใช้การเรียบเรียงที่สั้นกระชับเข้าใจง่าย พร้อมบทดุอาอ์บางบทในตอนท้าย1. หุก่มของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอัศศิยาม(الصيام)  หรือการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนนั้นถูกบัญญัติขึ้นในปีที่สองของฮิจญ์เราะฮฺศักราชซึ่งก่อนหน้านั้น ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์(عاشوراء)  หรือวันที่สิบของเดือนมุหัรร็อม กล่าวคือบทบัญญัติของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้มายกเลิกบทบัญญัติของการถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ทำให้หุกมของการถือศีลอดในวันอาชูรออ์จากวาญิบเปลี่ยนเป็นสุนัต ตามหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า«كان يوم عاشوراء يوماً تصومه قريش في الجاهلية ، وكان رسول الله صلى الله عليه وسلم يصومه في الجاهلية ، فلما قدم رسول الله صلى الله عليه وسلم المدينة صامه وأمر الناس بصيامه، فلما فرض رمضان كان هو الفريضة وترك يوم عاشوراء، فمن شاء صامه ومن شاء تركه» (البخاري 4/213، مسلم 1125)ความว่า วันอาชูรออ์ถือเป็นวันหนึ่งที่พวกกุร็อยช์ถือศีลอดในสมัยญาฮีลิยะฮฺ  และท่านเราะซูลุลอฮฺก็เคยถือศีลอดในวันนั้นจนกระทั่งท่านได้ฮิจญ์เราะฮฺมาพำนักที่นครมะดีนะฮฺท่านก็ยังถือศีลอดในวันดังกล่าวและได้ใช้ให้บรรดาเศาะฮาบะฮฺถือศีลอดด้วย จนในที่สุดการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนถูกบัญญัติขึ้นซึ่งถือเป็นฟัรฎู(วาญิบ) และท่านก็ละทิ้งการถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามต้องการหรือไม่ต้องการที่จะถือศีลอดในวันอาชูรออ์ก็สามารถที่จะเลือกกระทำได้ สำหรับอายะฮฺที่เป็นหลักฐานว่าวาญิบถือศีลอดในเดือนเราะมะฏอนนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า «يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ» (البقرة/١٨٣)ความว่า โอ้บรรดาศรัทธาชนทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกบัญญัติแก่บรรดาประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ตักวา (อัลบะเกาะเราะฮฺ 183) และอีกอายะฮฺหนึ่ง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า«شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ» (البقرة/١٨٥)ความว่า เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นคำแจกแจงที่มาจากแนวทางที่ถูกต้องและแยกสัจธรรมออกจากความมดเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนี้แล้วก็จงถือศีลอดเถิด (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185)ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่เจตนาละทิ้งการถือศีลอดโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ เขาจะกลายเป็นผู้มุรตัด(ตกศาสนา) ดังหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า «قواعد الدين ثلاثة، عليهن أسس الإسلام، من ترك واحدة منهن فهو بها كافر : شهادة أن لا اله الا الله، والصلاة المكتوبة، وصوم رمضان» (رواه أبويعلى وصححه الذهبي)ความว่า เสาหลักของศาสนามีสามประการ ผู้ใดที่ละเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามประการนี้ เขาจะกลายเป็นกาฟิร นั่นคือการปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ(เพียงองค์เดียว) การละหมาดห้าเวลา และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน2. ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน2.1 เป็นเดือนที่ประเสริฐที่สุด  ดังหะดีษที่รายงานโดยท่านสะอีด อัลคุดรีย์ ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า«سيد الشهور شهر رمضان» ( رواه البزار)ความว่า จ้าวแห่งเดือนทั้งหลาย(ในรอบปี) คือเดือนเราะมะฎอน คำว่า “سيد” (สัยยิด) สามารถแปลได้อีกว่า เป็นผู้นำ เจ้านาย หรือผู้เป็นนาย หะดีษนี้จึงมีความหมายว่าเดือนเราะมะฎอนมีความเหนือกว่าหรือสำคัญกว่าเดือนอื่นๆ ดังนั้นเดือนเราะมะฎอนจึงเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและประเสริฐที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ในนอิสลาม ดังหะดีษอีกบทหนึ่งท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า  «وأفضل الأيام يوم الجمعة ، وأفضل الشهور شهر رمضان ، وأفضل الليالي ليلة القدر» ( رواه الطبراني في الكبير)ความว่า  และวันที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาวันทั้งหลายคือวันศุกร์ และเดือนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาเดือนทั้งหลายคือเดือนเราะมะฎอน และคืนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาคืนทั้งหลายคือคืนอัลก็อดรฺ2.2 เดือนแห่งอัลกุรอานกล่าวคือในเดือนเราะมะฎอน อัลลอฮฺได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมายังท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพื่อเป็นทางนำและแนวทางในการดำเนินชีวิตของมวลมนุษย์ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า «شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ» (البقرة/١٨٥)ความว่า  เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นคำแจกแจงที่มาจากแนวทางที่ถูกต้องและแยกสัจธรรมออกจากความมดเท็จ (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185)และอีกอายะฮฺหนึ่งที่มีนัยว่าอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนเราะมะฎอน คืออัลลอฮฺได้ตรัสว่า«إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ» (القدر/١)ความว่า  “ แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานในคืนอัลก็อดรฺ” (อัลก็อดรฺ1)ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าลัยละตุลก็อดรฺมีอยู่ในเดือนเราะมะฎอนเท่านั้น  ท่านอิบนุอับบาสเราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนอีกว่าأنزل القرآن كله جملة واحدة في ليلة القدر في رمضان إلى السماء الدنيا، فكان الله إذا أراد أن يحدث في الأرض شيئاً أنزله منه حتى جمعه แปลได้ความว่า อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาทั้งหมด (30 ญุซ) ในคืนอัลก็อดรฺในเดือนเราะมะฎอนจาก เลาห์ อัลมะหฺฟูซ(لوح محفوظ) มายังฟากฟ้าชั้นดุนยา และเมื่อใดก็ตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์เพื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเกิดเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดิน พระองค์ก็จะทรงประทานอายะฮฺต่างๆ ตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่ง บรรดาอายะฮฺที่ถูกประทานลงมานั้น ได้ถูกประทานครบถ้วนสมบูรณ์นอกจากเดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาแล้ว เดือนเราะมะฎอนยังเป็นเดือนที่ให้มีการส่งเสริมการอ่านอัลกุรอานและศึกษาความหมายของอัลกุรอานพร้อมกับทำความเข้าใจในความหมายนั้นอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดังเช่นท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการศึกษาอัลกุรอานกับมะลาอิกะฮฺญิบรีลในเดือนเราะมะฎอน   ดังรายงานจากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมาว่าكان رسول الله صلى الله عليه وسلم أجود الناس، وكان أجود ما يكون في رمضان حين يلقاه جبريل ، وكان يلقاه في كل ليلة من رمضان ، فيدارسه القرآن ความว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นบุคคลที่ใจบุญที่สุดในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย และท่านจะทำความดีมากที่สุดในเดือนเราะมะฎอน โดยเฉพาะเมื่อยามที่ท่านมะลาอิกะฮฺญิบรีลได้มาหาท่านในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอน และทั้งสองก็จะศึกษาอัลกุรอานด้วยกัน จากหะดีษข้างต้น ท่านอิมามนะวะวีย์ได้อธิบายว่า สิ่งที่ได้จากหะดีษบทนี้คือสุนัตให้มีการศึกษาอัลกุรอานในเดือนแห่งความศิริมงคลนี้ท่านอัลหาฟิซ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า คุ่นค่าของหะดีษบทนี้คือการให้ความสำคัญกับเดือนเราะมะฎอน  ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเดือนที่เริ่มต้นด้วยการประทานอัลกุรอานลงมา และส่งเสริมให้มีการศึกษา ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีอยู่ในอัลกุรอานอีกด้วยท่านเราะบิอฺ อิบนุ สุลัยมาน กล่าวว่า ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้อ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนจบ (30 ญุซ)  60 ครั้ง ส่วนอิมามอัลบุคอรีย์อ่านอัลกุรอานในตอนกลางวันของเดือนเราะมะฎอนจบ (30 ญุซ) วันละ 1 ครั้ง และในตอนกลางคืนหลังจากละหมาดตะรอวีหฺจบ(30 ญุซ)  3 คืนต่อ 1 ครั้ง2.3 เดือนแห่งการทำอิบาดะฮฺ   เป็นเดือนแห่งการทำความดี ขวนขวายความโปรดปรานของอัลลอฮฺและแสวงหาความสำเร็จที่แท้จริง ตลอดจนเพื่อได้รับการปลดปล่อยจากไฟนรก  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إذا كان أول ليلةٍ من شهر رمضان صفّدت الشياطين ومَرَدةُ الجنِّ، وغلّقت أبواب النار فلم يفتح منها باب، وفتحت أبواب الجنة فلم يغلق منها باب، وينادي مناد : يا باغي الخير أقبل، ويا باغي الشر أقصر ، ولله عتقاء من النار، وذلك كل ليلة» (أحمد 4/311)ความว่า  เมื่อคืนแรกของเดือนเราะมะฎอนได้มาถึง บรรดาชัยฏอนและญินที่ชั่วร้ายทั้งหลายจะถูกล่ามโซ่ไว้ และบรรดาประตูนรกทุกบานก็จะถูกปิดไว้จะไม่มีการเปิดแม้แต่บานเดียว และบรรดาประตูสวรรค์จะถูกเปิดไว้จะไม่มีการปิดแม้แต่บานเดียว และมะลาอิกะฮฺก็จะขานเรียกว่า “โอ้ผู้ที่ปรารถนาที่จะแสวงหาความดีจงขวนขวายเถิด โอ้ผู้ที่ปรารถนาที่จะแสวงหาความชั่วจงหยุดเถิด” และเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวในการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์เป็นจำนวนมากจากไฟนรก และการปลดปล่อยจากไฟนรกนี้ก็จะเกิดขึ้นในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอนนี้   จากหะดีษบทนี้จะเห็นได้ว่าเดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่ปลอดจากการรุกรานและการหลอกลวงจากชัยฏอนมารร้าย เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ศรัทธาที่ต้องการตักตวงความดีงามและขวนขวายความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีอยู่ในเดือนเราะมะฎอนอย่างเต็มที่ และผลตอบแทนก็กำลังเปิดอ้าแขนคอยต้อนรับอยู่นั่นก็คือประตูสวรรค์ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่แท้จริง  อีกทั้งผู้ที่ติดคดีอันมีโทษถึงตกนรกก็มีโอกาสที่จะได้รับการปลดปล่อยในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอนด้วยเช่นกันนอกจากนั้นการทำอิบาดะฮฺในเดือนที่เปี่ยมไปด้วยความบะเราะกะฮฺนี้จะแตกต่างจากการทำอิบาดะฮฺในเดือนอื่นๆ กล่าวคืออิบาดะฮฺที่เป็นสุนัตจะได้รับผลบุญเทียบเท่ากับการทำอิบาดะฮฺที่เป็นวาญิบและสำหรับอิบาดะฮฺที่เป็นวาญิบก็จะได้รับผลบุญเพิ่มอีกหลายๆเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำอิบาดะฮฺในคืนอัลก็อดรฺ (ليلة القدر) จะได้รับผลบุญเท่ากับ 1,000 เดือน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า«إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ، وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ، لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِّنْ أَلْفِ شَهْرٍ، تَنَزَّلُ الْـمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِم مِّن كُلِّ أَمْرٍ، سَلَامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ» (سورة القدر) ความว่า  แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ และอะไรเล่าจะทำให้เจ้า(โอ้ มุฮัมมัด) รู้ได้ว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นคืออะไร  คืนอัลก็อดรฺนั้น(คือ) คืนที่ดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามลาอิกะฮฺและอัรรูฮฺ(ญิบรีล)จะลงมาในคืนนั้น โดยการอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากกิจการทุกสิ่ง คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณจากคำตรัสของอัลลอฮฺข้างต้นสามารถเข้าใจได้ว่าการทำอิบาดะฮฺในเดือนเราะมะฎอนนั้น จะได้รับผลบุญอย่างมหาศาล เพียงคืนอัลก็อดรฺคืนเดียวเสมือนว่าได้ทำอิบาดะฮฺหนึ่งพันเดือนหรือ 83 ปี กับอีก 3 เดือน นี่คือความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน และคืนอัลก็อดรฺนี้จะมีอยู่ในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า «تحروا ليلة القدر في العشر الأواخر من رمضان» (رواه البخاري)ความว่า  พวกท่านจงขวนขวายหาคืนอัลก็อดรฺในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนจากหะดีษบทนี้แสดงให้เห็นว่าคืนอัลก็อดรฺจะต้องมีอยู่ในสิบวันสุดท้ายนี้อย่างแน่นอน แต่ท่านนบีมิได้บอกอย่างชัดเจนว่าอยู่ในคืนที่เท่าใด ทิ้งไว้เป็นปริศนาทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชาติของท่านมีความอุตสาหะ ทุ่มเทในการทำอิบาดะฮฺอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาสิบวันสุดท้าย และท่านนบีก็ได้ทำเป็นแบบอย่างโดยการเก็บตัวอยู่ในมัสยิดและปลีกตัวออกจากภารกิจทางโลก ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้เรียกว่า  อิอฺติกาฟ  (اعتكاف) ดังหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า«أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يعتكف العشر الأواخر من رمضان حتى توفاه الله ثم اعتكف أزواجه من بعده» (متفق عليه)ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยทำการอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน จนกระทั่งอัลลอฮฺทรงให้ท่านวะฟาต(เสียชีวิต) ต่อมาบรรดาภริยาของท่านก็ได้ทำการอิอฺติกาฟสืบต่อจากท่านหะดีษอีกบทหนึ่งได้กล่าวถึงการทุ่มเทของท่านบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในสิบวันสุดท้ายของเดือนนี้ ดังที่อิมามมุสลิมได้บันทึกไว้ว่า«كان النبي صلى الله عليه وسلم يجتهد في العشر الأواخر من رمضان، ما لا يجتهد في غيرها» رواه مسلمความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่(ในการทำอิบาดะฮฺ)ตลอดสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน อย่างที่ไม่เคยปรากฏในเดือนอื่นๆและท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ยังได้รายงานอีกว่า «كان النبي صلى الله عليه وسلم يعتكف في كل رمضان عشرة أيام، فلما كان العام الذي قبض فيه اعتكف عشرين يوما» (رواه البخاري)ความว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยอิอฺติกาฟเป็นเวลาสิบวันในเดือนเราะมะฎอนของทุกๆ ปี แต่ในปีที่ท่านเสียชีวิตนั้น ท่านได้อิอฺติกาฟเป็นเวลาถึงยี่สิบวันท่านหญิงอาอิชะฮฺได้รายงานอีกว่า «كان إذا دخل العشر أحيا الليل وأيقظ أهله وشد مئزره» (رواه البخاري ومسلم)ความว่า  เมื่อเข้าช่วงเวลาสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ท่านนบีจะตื่นเพื่อทำอิบาดะฮฺในตอนกลางคืน พร้อมกับปลุกบรรดาภริยาของท่าน และท่านก็จะกระชับผ้านุ่งที่สวมใส่ให้แน่น(เพื่อเตรียมตัวในการทำอิบาดะฮฺ)2.4 เดือนแห่งการอภัยโทษ  เป็นเดือนแห่งการลบล้างความผิดหรือบาปต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนเราะมะฎอนของแต่ละปี ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า«الصلوات الخمس، والجمعة إلى الجمعة، ورمضان إلى رمضان، مكفرات لما بينهن إذا اجتنبت الكبائر» (مسلم)ความว่า  ช่วงเวลาระหว่างการละหมาดทั้งห้าเวลา  ระหว่างการละหมาดวันศุกร์ในแต่ละสัปดาห์ และระหว่างเดือนเราะมะฎอนของแต่ละปี เป็นช่วงเวลาแห่งการลบล้างความผิดหรือบาปที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ยกเว้นบาปใหญ่(ที่จะไม่ถูกลบล้าง) หะดีษนี้แสดงให้เห็นว่ามุสลิมเป็นผู้ที่โชคดีอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ความผิดพลาดหรือมลทินที่เคยก่อไว้ในอดีตที่ผ่านมาได้รับการลบล้าง ด้วยการละหมาดห้าเวลา  ละหมาดวันศุกร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนในแต่ละปีจะมีช่วงระยะเวลาห่างถึง 1 ปีหรือ 365 วัน ในช่วงเวลาดังกล่าวบาปต่างๆ ที่เขาได้ก่อไว้จะถูกลบล้างไป เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นบาปใหญ่เท่านั้น ซึ่งจะต้องลบล้างด้วยการเตาบะฮฺ  นอกจากหะดีษข้างต้นแล้วยังมีหะดีษอื่นๆอีกมากมายที่กล่าวถึงการได้รับการอภัยโทษด้วยการถือศีลอด  การละหมาด และการทำอิบาดะฮฺอื่นๆ ในเดือนเราะมะฎอนดังเช่น หะดีษที่รายงานโดยท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : «من صام رمضان إيمانًا واحتسابًا غفر له ما تقدم من ذنبه»ความว่า  ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธา(น้อมรับพระบัญชาของอัลลอฮฺ)และหวังผลตอบแทนจากพระองค์  แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษในบาปของเขาที่ผ่านมา"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยังกล่าวอีกว่า «من قام رمضان إيماناً واحتساباً ، غفر له ما تقدم من ذنبه» (أخرجه البخاري ومسلم)ความว่า ผู้ใดก็ตามที่ยืนขึ้นเพื่อทำการละหมาดในเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธา(น้อมรับพระบัญชาของอัลลอฮฺ)และหวังผลตอบแทนจากพระองค์  แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษในบาปของเขาที่ผ่านมาและหะดีษอีกบทหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า «من قام ليلة القدر إيماناً واحتساباً غُفرله ما تقدم من ذنبه» (متفق عليه)ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่ยืนขึ้นเพื่อทำการละหมาดในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยความศรัทธา(น้อมรับพระบัญชาของอัลลอฮฺ)และหวังผลตอบแทนจากพระองค์  แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษในบาปของเขาที่ผ่านมาคำว่า «قام» ในสองหะดีษข้างต้นนั้นหมายถึงการละหมาดในยามค่ำคืนซึ่งในเดือนเราะมะฎอนจะมีการละหมาดชนิดหนึ่งที่บทบัญยัติอิสลามได้กำหนดขึ้นเฉพาะในเดือนเราะมะฎอนเท่านั้น นั่นก็คือ ละหมาดตะรอวีฮฺ  «صلاة التراويح»  ซึ่งคำว่า ตะรอวีฮฺ มาจากคำว่า รอหะฮฺ«الراحة»  มีความหมายว่า การหยุดพัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าผู้ละหมาดตะรอวีฮฺจะมีการหยุดพักในทุกๆ สี่ร็อกอะฮฺสำหรับหุก่มของการ ละหมาดตะรอวีฮฺ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิยาม เราะมะฎอนนั้นเป็นสุนัต มุอักกะดะฮฺ ตามหะดีษที่ท่านนบีได้กล่าวว่า «من قام رمضان إيماناً واحتساباً ، غفر له ما تقدم من ذنبه» (أخرجه البخاري ومسلم)ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่ยืนขึ้นเพื่อทำการละหมาดในเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธา(น้อมรับพระบัญชาของอัลลอฮฺ)และหวังผลตอบแทนจากพระองค์  แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษในบาปของเขาที่ผ่านมาและสุนัตให้ละหมาดพร้อมกับอิมามจนเสร็จสิ้นการละหมาด ตามหะดีษที่รายงานโดยอะบูซัรฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า«من قام مع الإمام حتى ينصرف كتب له قيام ليلة» (رواه أحمد وأهل السنن بسند صحيح)  ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดพร้อมกับอิมามจนเสร็จสิ้นการละหมาด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับการละหมาดตลอดทั้งคืนสำหรับเวลาและวิธีการละหมาดตะรอวีฮฺ เวลาของวิธีการละหมาดตะรอวีฮฺ จะเริ่มการละหมาดหลังจากละหมาดอิชาอ์เป็นต้นไปและก่อนจะเสร็จสิ้นจากการละหมาด ก็จะจบด้วยการละหมาดวิตรฺ โดยจะมีการให้สลามในทุกๆสองร็อกอะฮฺ  และเริ่มต้นการละหมาดโดยการเนียตในใจว่า (ฉันละหมาดสุนัตตะรอวีหฺเพื่ออัลลอฮฺ) พร้อมกับตักบีรฺ (อัลลอฮุอักบัรฺ)สำหรับความขัดแย้งในจำนวนร็อกอะฮฺของการละหมาดตะรอวีฮฺนั้น  ผู้เขียนมีความเห็นว่ามิใช่ประเด็นสำคัญแต่อย่างใด ไม่ว่าจะละหมาด 20 ร็อกอะฮฺ หรือ 8 ร็อกอะฮฺ ต่างก็มีหลักฐานกันทั้งนั้น ไม่ควรเป็นประเด็นปัญหาที่นำไปสู่ความแตกแยกในสังคม ที่สำคัญที่สุดก็คือต้องอิคลาศ(บริสุทธิ์ใจ)และมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการอ่านซูเราะฮฺในการละหมาดควรอ่านให้จบในแต่ละคืนๆละ 1 ญุซเป็นอย่างน้อย เพื่อเราจะได้ฟังอัลกุรอานครบ 30 ญุซ เมื่อถึงคืนสุดท้ายของเดือน เพราะนี่คือโอกาสของเราที่จะได้รำลึกถึงความสำคัญของการประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนนี้ อีกด้วยนอกจากการทำอิบาดะฮฺดังกล่าวจะมีผลทำให้ได้รับการอภัยโทษแล้ว อีกทั้งบรรดามลาอิกะฮฺก็ยังขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ถือศีลอดอีกด้วย ดังหะดีษรายงานโดยท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า  قال النبي صلى الله عليه وسلم  : «تستغفر لهم الملائكة حتى يفطروا»ความว่า บรรดามลาอิกะฮฺจะขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ที่ถือศีลอดจนกระทั่งถึงเวลาที่เขาละศีลอดและที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ท่านนบีได้สอนบทดุอาที่ใช้ดุอาอ์ในคืนอัลก็อดรฺไว้อีกด้วยว่า«اللهم إنك عفو كريم تحب العفو فاعف عني» (رواه الإمام أحمد)ความว่า โอ้ อัลลอฮฺ ข้าแต่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัย ได้โปรดอภัยโทษแก่ฉันด้วยเถิด2.5 เดือนแห่งการปลดปล่อยจากไฟนรก   เดือนเราะมะฎอนถือได้ว่าเป็นเดือนที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรกมากที่สุด ดังหะดีษท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า«ولله عتقاء من النار، وذلك كل ليلة» (أحمد 4/311)ความว่า และเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวในการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์เป็นจำนวนมากจากไฟนรก และการปลดปล่อยจากไฟนรกนี้ก็จะเกิดขึ้นในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอน2.6 เดือนแห่งมิตรภาพ  กล่าวคือในเดือนเราะมะฎอนได้กำหนดข้อห้ามในสิ่งที่จะนำไปสู่ความบาดหมาง ความเป็นศัตรู หรือการทะเลาะเบาะแว้งกัน ในขณะเดียวกันก็ได้กำชับให้มีการเชื่อมความสัมพันธไมตรีต่อกัน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า «الصيام جنّة فإذا كان يوم صوم أحدكم ، فلا يرفث ولا يصخب ، فإن سابه أحد أو قاتله فليقل إنيّ صائم» (رواه البخاري)  ความว่า การถือศีลอดนั้นเปรียบเสมือนโล่(เกราะ กำบัง) และหากวันใดที่คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านถือศีลอด เขาผู้นั้นอย่าได้กระทำสิ่งที่ไร้สาระและอย่าได้โกรธเคือง หากมีคนมาด่าทอหรือมาทำร้ายเขา ขอให้เขาตอบว่า ฉันกำลังถือศีลอด และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยังกล่าวอีกว่า «من لم يدع قول الزور والعمل به ، فليس لله حاجة في أن يدع طعامه وشرابه» (رواه البخاري)ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละทิ้งคำพูดที่ไม่ดี อีกทั้งยังกระทำเหมือนกับคำพูดที่ไม่ดีดังกล่าว บุคคลลักษณะดังกล่าวนี้ สำหรับอัลลอฮฺแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่เขาจะมาอดอาหารและเครื่องดื่มของเขาท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า إذا صمت فليصم سمعك وبصرك ولسانك عن الكذب والمحارم، ودع أذى الجار، وليكن عليك وقار وسكينة، ولا تجعل يوم صومك ويوم فطرك سواء  (رواه ابن شيبة 2 / 272)ความว่า  เมื่อท่านถือศีลอด ก็จงถือศีลอด(ระงับ)หูของท่าน  สายตาของท่าน  ลิ้นของท่าน  จากการพูดเท็จและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย และอย่าทำความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนบ้านของท่าน  ขอให้ท่านทำจิตใจให้สงบและมั่นคง และอย่าทำตัวเหมือนว่าวันที่ท่านถือศีลอดกับวันที่ไม่ได้ถือศีลอดนั้นเหมือนกันไม่มีอะไรแตกต่าง2.7 เดือนแห่งการบริจาคทาน  ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า«أفضل الصدقة صدقة في رمضان»  (أخرجه الترمذي)ความว่า  การบริจาคทานที่ดีที่สุด คือการบริจาคทานในเดือนเราะมะฎอนสำหรับการเลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ถือศีลอดก็ถือเป็นการบริจาคทาน และเป็นสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สนับสนุน ดังที่ท่านได้กล่าวว่า   «من فطر صائماً كان له مثل أجره، غير أنه لا ينقص من أجر الصائم شيء» (أخرجه أحمد والنسائي وصححه الألباني)ความว่า  ผู้ใดก็ตามที่เลี้ยงอาหารให้แก่ผู้ที่ละศีลอด เขาก็จะได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ที่ถือศีลอดนั้น โดยที่ผลบุญของผู้ถือศีลอดนั้นไม่มีการลดหย่อนแม้แต่นิดเดียว2.8 เดือนแห่งการตักวา  ซึ่งการตักวานั้นถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการถือศีลอด  ตามที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า «يا أيهاالذين آمنوا كتب عليكم الصيام كما كتب على الذين من قبلكم لعلكم تتقون»ความว่า  โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  การถือศีลอดได้ถูกกำหนด(เป็นฟัรฎู)แก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้กำหนดแก่บรรดาประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว  เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ตักวา (อัลบะเกาะเราะฮฺ 183)3. สรุปท้ายบทจากอายะฮฺและหะดีษต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าเดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่ประเสริฐที่สุด เป็นเดือนที่ศรัทธาชนทุกคนต่างก็ใฝ่ฝันที่จะใช้ชีวิตในเดือนนี้ และตั้งความหวังอยู่ตลอดเวลาว่าถ้ามีโอกาสก็จะขอให้ได้พบกับเดือนเราะมะฎอนอีก ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนดุอาอ์ให้แก่พวกเราเมื่อท่านอยู่ในเดือนเราะญับ ว่า «اللهم بارك لنا في رجب وشعبان وبلغنا رمضان» ) أخرجه البزار والطبراني(ความว่า  โอ้อัลลอฮฺ ข้าแด่พระองค์ ได้โปรดประทานความบะเราะกะฮฺให้แก่เราในเดือนเราะญับและชะอฺบานนี้  และได้โปรดให้เราได้ประสบกับเดือนเราะมะฎอนด้วยเถิดและท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยังกล่าววอีกว่า«لو يعلم العباد ما في رمضان، لتمنى العباد أن يكون شهر رمضان سنة»ความว่า  ถ้าหากมนุษย์ทุกคนรู้ถึงความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน แน่นอนเขาจะต้องการให้มีเดือนเราะมะฎอนตลอดทั้งปี4. ดุอาอ์ในเดือนเราะมะฎอน 1. ดุอาอ์ละศีลอดذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُคำอ่าน  ซะฮะบัซเซาะมะ วับตัลละติล อุรูก วะษะบะตัล อัจญฺร อิน ชา อัลลอฮฺ ความว่า  ความกระหายได้หายไป เส้นประสาททุกเส้นได้เปียกชุ่ม และผลบุญได้มีการตอบรับแล้ว เมื่ออัลลออฺทรงประสงค์ اَللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ بِرَحْمَتِكَ الَّتِيْ وَسِعَتْ كُلَّ شَيْءٍ أَنْ تَغْفِرَ لَيْคำอ่าน อัลลอฮุมมะอินนี  อัสอะลุกะ บิเราะหฺมะติกะ อัลละตี วะสิอัต กุลละ ชัยอิน อัน ตัฆฺฟิร ลีความว่า โอ้อัลลอฮฺ ข้าแด่พระองค์ แท้จริงข้าขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยความเมตตาที่กว้างใหญ่ไพศาลของพระองค์ ต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ได้โปรดอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด2. ดุอาอ์ละศีลอดในกรณีที่ได้รับเชิญأَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ، وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَاْرَ، وَتَنَزَّلَتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُคำอ่าน อัฟเฏาะเราะ อินดะกุม อัศศออิมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุม อัลอับร็อรฺ วะตะนัซซะลัต อะลัยกุม อัลมะลาอิกะฮฺ ”ความว่า บรรดาผู้ถือศีลอดได้ละศีลอด ณ บ้านของท่าน และบรรดาผู้ที่ประเสริฐเหล่านั้นได้รับประทานอาหารของท่าน และบรรดามะลาอิกะฮฺก็ได้ลงมาให้พรแก่ท่าน3. ดุอาอ์ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺاللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْคำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุวฺวน  ตุฮิบบุลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนีความว่า โอ้ อัลลอฮฺ ข้าแด่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัย ได้โปรดอภัยโทษแก่ฉันด้วยเถิด4. ดุอาอ์เมื่อมีคนมาด่าทอإِنِّيْ صَائِمٌ ، إِنِّيْ صَائِمٌคำอ่าน อินนี ศออิ-มน , อินนี ศออิ-มนความว่า ฉันกำลังถือศีลอด,  แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด5. อิสติฆฟารฺ(ดุอาอ์การขออภัยโทษ)ที่ดีที่สุดاَللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ، أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوْءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوْءُ بِذَنْبِي فَاغْفِرْلِي فَإِنَّهُ لاَ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ إِلاَّ أَنْتَคำอ่าน อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละ อันตะ , เคาะลักตะนี วะอะนาอับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ , อะอูซุบิกะมินชัรริมาเศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี , ฟะอินนะฮุ ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลละ อันตะความว่า โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น  พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว  ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำของข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด  เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น

المرفقات

2

เราะมะฎอนเดือนแห่งความประเสริฐ (DOC)
เราะมะฎอนเดือนแห่งความประเสริฐ (PDF)