البحث

عبارات مقترحة:

الخالق

كلمة (خالق) في اللغة هي اسمُ فاعلٍ من (الخَلْقِ)، وهو يَرجِع إلى...

القيوم

كلمةُ (القَيُّوم) في اللغة صيغةُ مبالغة من القِيام، على وزنِ...

الفتاح

كلمة (الفتّاح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) من الفعل...

การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات مناسبات دورية - شهر شوال
อธิบายสุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่สนับสนุนให้ถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล หลังจากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ทั้งนี้จะได้รับผลบุญเท่าักับการถือศีลอดถึงหนึ่งปี

التفاصيل

การปฏิบัติอิบาดะฮฺที่นอกเหนือจากศาสนกิจที่วาญิบ โดยความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ เป็นการเสริมหนุนให้อามัลของบ่าวผู้หนึ่งสมบูรณ์ขึ้นและเป็นเหตุให้อัลลอฮฺรักบ่าวผู้นั้น เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวถึงดำรัสของอัลลอฮฺในหะดีษกุดซีย์บทหนึ่งซึ่งมีความว่า “บ่าวของฉันหมั่นเข้าใกล้ชิดฉันด้วยการปฏิบัติสิ่งสุนัต จนกระทั่งฉันได้รักเขา” (รายงานโดยอัล-บุคอรี 6137) ดังนั้น จึงควรที่มุสลิมต้องเอาใจใส่และหมั่นปฏิบัติอามัลต่างๆ ตามแนวทาง(ซุนนะฮฺ)ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพื่อยกระดับตัวเองให้เป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺและเป็นที่รักของพระองค์ การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลเป็นศาสนกิจตามซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ประการหนึ่ง ไม่ใช่ศาสนกิจภาคบังคับ ทว่าเป็นสิ่งที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ประชาชาติของท่านปฏิบัติ ดังหะดีษที่เล่าโดยอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน แล้วเขาได้ถือศีลอดต่ออีกหกวันในเดือนเชาวาล นั่นเสมือนกับว่าเขาได้ถือศีลอดถึงหนึ่งปี” (รายงานโดยมุสลิม 1164) เหล่าอุละมาอ์ได้ให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการทำความดีจะถูกคูณด้วยสิบ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนหนึ่งเดือนจะเท่ากับสิบเดือน การถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาลจะเท่ากับหกสิบวันหรือสองเดือนที่เหลือ ดังนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดครบหนึ่งปีอย่างสมบูรณ์ (ดู บทอธิบายของอิมาม อัน-นะวะวีย์ ต่อเศาะฮีหฺมุสลิม 8:56) นอกจากนี้การถือศีลอดในเดือนเชาวาลยังเป็นการช่วยซ่อมแซมความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอีกด้วย (อัล-มุนัจญิด. มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ, www.islam-qa.com) การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลสามารถปฏิบัติได้อย่างเปิดกว้าง เช่น           - ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด โดยถือศีลอดติดต่อกันหกวันโดยไม่แยก           - ถือศีลอดหกวันติดต่อกัน แต่ไม่ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด           - ถือศีลอดหกวันโดยแยกวัน อาจจะเริ่มทันทีหลังวันอีดหรือไม่ก็ได้ และไม่กำหนดวันว่าจะต้องห่างกันครั้งละกี่วัน ฯลฯ ท่านอิมาม  อัน-นะวะวีย์ได้กล่าวว่า “เหล่าสหายของเราเห็นว่า ทางที่ดีที่สุดคือให้ถือศีลอดติดต่อกันหกวันโดยเริ่มทันทีหลังวันอีด แต่หากแยกวันหรือไม่ถือศีลอดทันทีในช่วงต้นเดือนก็ยังได้ผลบุญเช่นเดียวกัน เพราะได้บรรลุตามความหมายในหะดีษที่ว่าให้ถือศีลอลหกวันในเดือนเชาวาล(หลังจากเราะมะฎอน)” (อ้างแล้ว) สำหรับผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ครบและมีภาระต้องถือศีลอดชด ให้เขาถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนในเสร็จสิ้นเสียก่อน แม้นว่าเขาต้องใช้เวลาในเดือนเชาวาลทั้งเดือนก็ตาม ทั้งนี้เพราะการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นวาญิบ และหากเขาตายไป เขาก็จะถูกสอบถามในเรื่องที่เป็นวาญิบนี้ ว่าได้ชดแล้วหรือยัง ... อีกประการหนึ่งก็คือ ผลบุญของการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนครบสมบูรณ์แล้วหรือไม่ (อัล-อะมีน อัล-หาจญ์ มุหัมมัด,  www.islamAdvice.com) การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลเป็นอีกซุนนะฮฺหนึ่งของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มุสลิมทุกคนไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลย เพราะเป็นซุนนะฮฺที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายและมีผลบุญที่สูงยิ่ง ... ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก.

المرفقات

2

ถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล
ถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล