البحث

عبارات مقترحة:

الحميد

(الحمد) في اللغة هو الثناء، والفرقُ بينه وبين (الشكر): أن (الحمد)...

المليك

كلمة (المَليك) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعيل) بمعنى (فاعل)...

المولى

كلمة (المولى) في اللغة اسم مكان على وزن (مَفْعَل) أي محل الولاية...

บิดอะฮฺบางส่วนในเดือนเศาะฟัร

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ การฟัตวา การเชิญชวน และการแนะนำ ، อัสรัน นิยมเดชา
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات مناسبات دورية - شهر صفر
คำถาม ผู้รู้บางท่านในบ้านเรากล่าวว่า ในอิสลามนั้นมีการละหมาดสุนัตในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ในช่วงสายๆ โดยให้ละหมาด 4 ร็อกอัต ด้วยสลามหนึ่งครั้ง ในทุกร็อกอัตให้อ่าน ฟาติหะฮฺ ตามด้วยสูเราะฮฺอัลเกาษัรฺ 17 ครั้ง สูเราะฮฺอัลอิคลาศ 50 ครั้ง และสูเราะฮฺอันนาส กับอัลฟะลักอีกอย่างละครั้ง ... ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังกล่าวได้อย่างเด็กๆ เป็นต้น ก็ให้ทำน้ำแล้วดื่มแทน...สิ่งเหล่านี้กระทำได้หรือไม่?

التفاصيل

บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัร  บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัรمن بدع صفرแปล: อัสรัน นิยมเดชา ترجمة:  عصران إبراهيمบิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัรถาม : “ผู้รู้บางท่านในบ้านเรากล่าวว่า ในอิสลามนั้นมีการละหมาดสุนัตในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ในช่วงสายๆ โดยให้ละหมาด 4 ร็อกอัต ด้วยสลามหนึ่งครั้ง ในทุกร็อกอัตให้อ่าน ฟาติหะฮฺ ตามด้วยสูเราะฮฺอัลเกาษัรฺ 17 ครั้ง สูเราะฮฺอัลอิคลาศ 50 ครั้ง และสูเราะฮฺอันนาส กับอัลฟะลักอีกอย่างละครั้ง จากนั้นก็ให้สลาม โดยขณะที่ให้สลามนั้นให้อ่านالله غالب على أمره ولكن أكثر الناس لا يعلمون360 ครั้ง ตามด้วยเญาฮัรุลกะมาล 3 ครั้ง และปิดท้ายด้วยการกล่าวسبحان ربك رب العزة عما يصفون وسلام على المرسلين والحمد لله رب العالمينจากนั้นก็ให้บริจาคอาหารแก่ผู้ยากไร้ ซึ่งประโยชน์ของการกระทำเช่นนี้ คือทำให้ห่างไกลจากบะลาที่จะลงมาในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร  โดยพวกเขาได้กล่าวว่า ทุกๆ ปีนั้น จะมีบะลาลงมา 320,000 บะลา ในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ทำให้วันนั้นเป็นวันที่สร้างความเดือดร้อนลำบากมากที่สุดในรอบปี แต่ถ้าผู้ใดได้ทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังเช่นที่กล่าวมานั้น อัลลอฮฺตะอาลาก็จะทรงปกป้องเขาให้รอดพ้นจากบะลาที่ลงมาในวันนั้นทุกประการ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังกล่าวได้ ก็ให้ทำน้ำแล้วดื่มแทน...สิ่งเหล่านี้กระทำได้หรือไม่?” ตอบ : الحمد لله والصلاة والسلام على رسوله وآله وصحبه ، وبعد : “การละหมาดสุนัตด้วยรูปแบบดังที่กล่าวในคำถามมานั้น เราไม่ทราบว่ามีที่มาที่ไปในอัลกุรอาน หรือสุนนะฮฺแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีท่านหนึ่งท่านใดจากบรรพชนยุคแรกของประชาชาตินี้ และบรรดาคนศอลิหฺในหมู่ผู้ที่มาหลังจากท่านเหล่านั้นได้กระทำการดังกล่าวแต่ อย่างใด แต่มันเป็นบิดอะฮฺที่น่าเกลียดยิ่งมีรายงานเศาะฮีหฺ จากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านกล่าวว่า«من عمل عملاً  ليس عليه أمرنا فهو رد» ความว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆที่ไม่ใช่แบบอย่างของเรา การงานนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" และท่านกล่าวว่า :«من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد» ความว่า "ผู้ใดประดิษฐ์การงานซึ่งไม่มีแบบอย่างจากสิ่งที่เราสอน แน่นอนว่ามันจะถูกปฏิเสธ"และผู้ใดแอบอ้างพาดพิงรูปแบบการละหมาดดังกล่าว และสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นว่าเป็นแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หรือเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งท่านใด แท้จริงแล้วเขาได้โกหกอย่างน่ารังเกียจยิ่งนัก และขอให้เขาได้รับการตอบแทนการกระทำของเขาจากอัลลอฮฺอย่างสาสม” (รวมฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ และการฟัตวา เล่ม 2 หน้า 354)

المرفقات

2

บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัร
บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัร