البحث

عبارات مقترحة:

الحفيظ

الحفظُ في اللغة هو مراعاةُ الشيء، والاعتناءُ به، و(الحفيظ) اسمٌ...

الشكور

كلمة (شكور) في اللغة صيغة مبالغة من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

الواحد

كلمة (الواحد) في اللغة لها معنيان، أحدهما: أول العدد، والثاني:...

หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ฮาเรส เจ๊ะโด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات أحكام الصيام
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 9 กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด   عن أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «...وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ، لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ ...». (مسلم رقم 1944)   ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตมุหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วกลิ่นปากของผู้ที่ถือ  ศีลอดนั้น มีกลิ่นหอม ณ อัลลอฮฺ ในวันกิยามะฮฺ ยิ่งกว่ากลิ่นของน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)”  (รายงานโดย มุสลิม เลขที่ 1944)     คำอธิบาย             อัล-กอฏีย์ กล่าวว่า อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า ในวันอาคิเราะฮฺนั้นอัลลอฮฺทรงตอบแทนผู้ที่ถือศีลอดโดยให้กลิ่นปากของเขาหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง และมีความเสมอเหมือนกับเลือดของผู้ที่ตายชะฮีดซึ่งจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเช่นเดียวกัน             อุละมาอ์ท่านอื่นกล่าวว่า สำหรับมะลาอิกะฮฺแล้วกลิ่นของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง แม้ว่าสำหรับคนเราแล้วจะมีกลิ่นที่ตรงกันข้ามก็ตาม             อิหม่าม อัน-นะวะวีย์กล่าวว่า ความเห็นที่ถูกต้องกว่าก็คือความเห็นตามที่ อัด-ดาวูดีย์ และสหายในมัซฮับของเราได้กล่าวไว้ นั่นคือ กลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะได้ผลบุญมากกว่าการสุนัตให้พรมน้ำหอมในพิธีต่างๆ เช่น วันอีด หรือการรวมตัวต่างๆ  และหะดีษนี้เป็นการอ้างอิงของบรรดาสหายในมัซฮับของเราที่มีความเห็นว่ามักรูฮฺในการแปรงฟันสำหรับผู้ที่ถือศีลอดหลังจากดวงอาทิตย์คล้อย เพราะอาจจะทำให้กลิ่นตามคุณลักษณะที่กล่าวถึงและผลบุญที่จะได้รับในหะดีษดังกล่าวหมดไป   แม้ว่าการแปรงฟันนั้นจะมีข้อดีก็ตาม แต่ความประเสริฐของกลิ่นปากนั้นสำคัญเหนือกว่า พวกเขากล่าวว่า กลิ่นปากผู้ถือศีลอดมีความเสมอเหมือนกับเลือดของคนที่ตายชะฮีด ซึ่งเป็นที่รับรองว่ามีกลิ่นหอมมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการอาบน้ำศพสำหรับผู้ที่ตายชะฮีด  แม้ว่าการอาบน้ำศพนั้นมีหุก่มวาญิบก็ตาม การละทิ้งสิ่งที่วาญิบเพื่อรักษาเลือดที่ยอมรับว่ามีกลิ่นหอมนั้นถือว่าหุก่มอนุญาตให้ทำได้  เฉกเช่นเดียวกันกับการละทิ้งการแปรงฟันของผู้ถือศีลอดซึ่งมิใช่เป็นวาญิบ เพื่อคงไว้ซึ่งกลิ่นที่ถือว่ามีกลิ่นหอมจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า (ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม 8/30)   บทเรียนจากหะดีษ 1.       ระบุถึงความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอด แม้กระทั่งกลิ่นปากของเขา อัลลอฮฺยังได้ให้ความสำคัญอีกด้วย 2.       กลิ่นปากที่เหม็นของผู้ที่ถือศีลอด ในวันอาคิเราะฮฺอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนให้มีกลิ่นหอม 3.       อัลลอฮฺทรงให้เกียรติแก่ผู้ที่ถือศีลอด 4.       อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอำนาจ สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความประสงค์ของพระองค์ได้ทุกประการ

المرفقات

2

หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด
หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด