หุก่มซะกาตปศุสัตว์ พิกัดของสัตว์ที่ต้องจ่ายซะกาต 1-พิกัดของแพะแกะ 2- พิกัดของวัวควาย 3- พิกัดของอูฐ สิ่งที่ใช้ได้ในซะกาตปศุสัตว์ หุก่มการรวมและแยกสัตว์เพื่อเลี่ยงการจ่ายซะกาต จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ของเชคมุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
التفاصيل
ซะกาตปศุสัตว์﴿زكاة بهيمة الأنعام﴾มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์แปลโดย : อิสมาน จารงผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมานที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ3 – ซะกาตปศุสัตว์ปศุสัตว์ในที่นี้ก็คือ อูฐ วัวควาย และแพะแกะหุก่มซะกาตปศุสัตว์ ซะกาตปศุสัตว์มีสองลักษณะดังนี้1 - วาญิบซะกาต ในอูฐ วัวควาย และแพะแกะ หากเล็มหญ้าทั้งปีหรือเป็นส่วนใหญ่ของปีในทุ่งหญ้าหรือในทะเลทรายที่เป็นที่อนุญาตให้เลี้ยงได้(ไม่มีเจ้าของ) เมื่อครบพิกัดและเวียนครบรอบปีต้องจ่ายซะกาตไม่ว่าจะเลี้ยงเพื่อรีดนม เพื่อขยายพันธุ์หรือเพื่อให้อ้วน โดยต้องจ่ายซะกาตสัตว์แต่ละประเภทตามแต่ประเภทของมัน และจะไม่มีการเก็บซะกาตจากผู้คนโดยเลือกเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดหรือไม่ดีที่สุด แต่จะเก็บสิ่งที่อยู่ในระดับปานกลางของทรัพย์สินนั้น2 – หากอูฐ วัวควาย แพะแกะและสัตว์อื่นๆ รวมถึงนก ถูกเจ้าของให้อาหารจากสวนของเขาเอง หรือซื้อมา หรือเขาหาอาหารนั้นมาให้มันกิน สัตว์เหล่านี้หากเลี้ยงไว้เพื่อค้าขายและครบรอบปีให้ตีราคาหากถึงพิกัดต้องจ่ายซะกาตร้อยละสองจุดห้า แต่หากไม่ใช่เพื่อการค้าขายเช่นเลี้ยงไว้เพื่อรีดนมหรือขยายพันธุ์โดยให้อาหารเองก็ถือว่าไม่ต้องจ่ายซะกาตพิกัดของสัตว์ที่ต้องจ่ายซะกาตพิกัดต่ำสุดของแพะแกะ คือ 40 ตัว และพิกัดต่ำสุดของวัวควาย คือ 30 ตัว ส่วนพิกัดต่ำสุดของอูฐคือ 5 ตัว1- จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เขียนหนังสือฉบับต่อไปนี้ให้ท่านเมื่อครั้งที่ได้รับคำสั่งให้ไปประจำการที่แคว้นบะห์เรน ซึ่งมีใจความว่า بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ، هَذِهِ فَرِيضَةُ الصَّدَقَةِ الَّتِي فَرَضَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى الْمُسْلِمِينَ، وَالَّتِي أَمَرَ الله بِهَا رَسُولَهُ، فَمَنْ سُئِلَهَا مِنْ الْمُسْلِمِينَ عَلَى وَجْهِهَا فَلْيُعْطِهَا، وَمَنْ سُئِلَ فَوْقَهَا فَلَا يُعْطِ، فِي أَرْبَعٍ وَعِشْرِينَ مِنْ الْإِبِلِ فَمَا دُونَهَا، مِنْ الْغَنَمِ مِنْ كُلِّ خَمْسٍ شَاةٌ، إِذَا بَلَغَتْ خَمْسًا وَعِشْرِينَ إِلَى خَمْسٍ وَثَلَاثِينَ فَفِيهَا بِنْتُ مَخَاضٍ أُنْثَى، فَإِذَا بَلَغَتْ سِتًّا وَثَلَاثِينَ إِلَى خَمْسٍ وَأَرْبَعِينَ فَفِيهَا بِنْتُ لَبُونٍ أُنْثَى، فَإِذَا بَلَغَتْ سِتًّا وَأَرْبَعِينَ إِلَى سِتِّينَ فَفِيهَا حِقَّةٌ طَرُوقَةُ الْجَمَلِ، فَإِذَا بَلَغَتْ وَاحِدَةً وَسِتِّينَ إِلَى خَمْسٍ وَسَبْعِينَ فَفِيهَا جَذَعَةٌ، فَإِذَا بَلَغَتْ يَعْنِي سِتًّا وَسَبْعِينَ إِلَى تِسْعِينَ فَفِيهَا بِنْتَا لَبُونٍ، فَإِذَا بَلَغَتْ إِحْدَى وَتِسْعِينَ إِلَى عِشْرِينَ وَمِائَةٍ فَفِيهَا حِقَّتَانِ طَرُوقَتَا الْجَمَلِ، فَإِذَا زَادَتْ عَلَى عِشْرِينَ وَمِائَةٍ فَفِي كُلِّ أَرْبَعِينَ بِنْتُ لَبُونٍ، وَفِي كُلِّ خَمْسِينَ حِقَّةٌ، وَمَنْ لَمْ يَكُنْ مَعَهُ إِلَّا أَرْبَعٌ مِنْ الْإِبِلِ فَلَيْسَ فِيهَا صَدَقَةٌ، إِلَّا أَنْ يَشَاءَ رَبُّهَا، فَإِذَا بَلَغَتْ خَمْسًا مِنْ الْإِبِلِ فَفِيهَا شَاةٌ، وَفِي صَدَقَةِ الْغَنَمِ فِي سَائِمَتِهَا إِذَا كَانَتْ أَرْبَعِينَ إِلَى عِشْرِينَ وَمِائَةٍ شَاةٌ، فَإِذَا زَادَتْ عَلَى عِشْرِينَ وَمِائَةٍ إِلَى مِائَتَيْنِ شَاتَانِ، فَإِذَا زَادَتْ عَلَى مِائَتَيْنِ إِلَى ثَلَاثِ مِائَةٍ فَفِيهَا ثَلَاثٌ، فَإِذَا زَادَتْ عَلَى ثَلَاثِ مِائَةٍ فَفِي كُلِّ مِائَةٍ شَاةٌ، فَإِذَا كَانَتْ سَائِمَةُ الرَّجُلِ نَاقِصَةً مِنْ أَرْبَعِينَ شَاةً وَاحِدَةً فَلَيْسَ فِيهَا صَدَقَةٌ إِلَّا أَنْ يَشَاءَ رَبُّهَا.“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ นี่คือคำสั่งว่าด้วยซะกาตที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำหนดเหนือปวงชนชาวมุสลิม ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้สั่งไว้ ดังนั้น ถ้ามุสลิมคนใดถูกเรียกเก็บมันอย่างถูกต้องก็จงให้มันไป และถ้าหากใครที่ถูกเรียกเก็บเกินกว่านั้นก็จงอย่าให้ กล่าวคือ อูฐจำนวนยี่สิบสี่ตัวลงมา ทุกๆ ห้าตัวของอูฐให้จ่ายแพะหนึ่งตัว ตั้งแต่ยี่สิบห้าตัวถึงสามสิบห้าตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว ตั้งแต่สามสิบหกตัวถึงสี่สิบห้าตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว ตั้งแต่สี่สิบหกตัวถึงหกสิบตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีหนึ่งตัว ตั้งแต่หกสิบเอ็ดถึงเจ็ดสิบห้าตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุสี่ปีหนึ่งตัว ตั้งแต่เจ็บสิบหกถึงเก้าสิบตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีสองตัว ตั้งแต่เก้าสิบเอ็ดถึงหนึ่งร้อยยี่สิบตัวให้จ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีสองตัว ถ้ามากกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบตัวให้จ่ายดังนี้ คือ ในอูฐทุกๆ สี่สิบตัวนั้นจ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว ทุกๆ ห้าสิบตัวจ่ายอูฐตัวเมียสามปีหนึ่งตัว ผู้ใดที่มีอูฐแค่สี่ตัวก็ไม่ต้องจ่ายซะกาต เว้นแต่เจ้าของต้องการจะจ่ายโดยสมัครใจ เมื่อมีอูฐครบห้าตัวให้จ่ายแพะหนึ่งตัว ส่วนซะกาตแพะแกะนั้นเฉพาะพวกสัตว์ที่หากินตามทุ่งหญ้าเอง ตั้งแต่สี่สิบถึงหนึ่งร้อยยี่สิบตัวให้จ่ายซะกาตหนึ่งตัว ตั้งแต่หนึ่งร้อยยี่สิบเอ็ดถึงสองร้อยตัวให้จ่ายซะกาตสองตัว ตั้งแต่สองร้อยเอ็ดถึงสามร้อยตัวให้จ่ายซะกาตสามตัว ถ้ามากกว่านั้น ทุกๆ หนึ่งร้อยตัวให้จ่ายซะกาตหนึ่งตัว ถ้าหากว่าแพะดังกล่าวไม่ครบสี่สิบตัวแม้ว่าจะขาดแค่ตัวเดียวก็ตาม ก็ไม่ต้องจ่ายซะกาต เว้นแต่เจ้าของต้องการจะจ่ายโดยสมัครใจเอง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1454)2- จากมุอาซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้ท่านไปประจำการที่เยเมน ท่านนบีได้สั่งให้จัดเก็บซะกาตจากวัวทุกๆ สามสิบตัวให้เก็บซะกาตเป็นวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว และทุกๆ สี่สิบตัวให้เก็บซะกาตเป็นวัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว 1- พิกัดของแพะแกะจำนวนซะกาตถึงจากแพะหนึ่งตัว120 ตัว40 ตัวแพะสองตัว200 ตัว121ตัวแพะสามตัว 399 ตัว201ตัว หลังจากนั้น(ตั้งแต่ตัวที่สี่ร้อยขึ้นไป) ในแพะแกะทุกๆ 100 ตัว จ่ายแพะหนึ่งตัว ดังนั้นในแพะ 399 ตัวให้จ่ายแพะสามตัว ส่วนในแพะ 400ตัวให้จ่ายแพะสี่ตัว และในแพะ499 ตัวให้จ่ายแพะสี่ตัว เป็นอย่างนี้เรื่อยไป2- พิกัดของวัวควายจำนวนซะกาตถึงจาก(ตะบีอฺ)ลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว39 ตัว30 ตัว(มุสินนะฮฺ)วัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว59 ตัว40 ตัวลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีสองตัว69 ตัว60 ตัวหลังจากนั้น ในวัวทุกๆ 30 ตัว จ่ายลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว และวัวในทุกๆ 40 ตัว จ่ายวัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว ดังนั้นในวัว 50 ตัวให้จ่ายวัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว ในวัว 70 ตัว ให้จ่ายลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัวและวัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว ในวัว 100 ตัว ให้จ่ายลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีสองตัวและวัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว และในวัว 120 ตัวให้จ่ายลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีสี่ตัวหรือวัวตัวเมียอายุสองปีสามตัว เป็นอย่างนี้เรื่อยไป3- พิกัดของอูฐจำนวนซะกาตถึง (ตัว)จาก (ตัว)แพะหนึ่งตัว95 แพะสองตัว1410แพะสามตัว1915แพะสี่ตัว2420(บินตุ มะคอฎ) อูฐตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว3525(บินตุ ละบูน) อูฐตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว4536(หิกเกาะฮฺ ) อูฐตัวเมียอายุสามปีหนึ่งตัว6046(ญะซะอะฮฺ) อูฐตัวเมียอายุสี่ปีหนึ่งตัว7561อูฐตัวเมียอายุสองปีสองตัว9076อูฐตัวเมียอายุสามปีสองตัว12091เมื่อมีมากกว่า 120 ตัว วาญิบต้องจ่ายในทุกๆ 40 ตัว อูฐตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว และในทุกๆ 50 ตัวต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีหนึ่งตัว ดั้งนั้นในอูฐ 121 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีสามตัว ในอูฐ 130 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีหนึ่งตัวและอูฐตัวเมียอายุสองปีสองตัว ในอูฐ 150 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีสามตัว ในอูฐ 160 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีสี่ตัวในอูฐ 180 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสามปีสองตัวและอูฐตัวเมียอายุสองปีสองตัว ในอูฐ 200 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีห้าตัวหรืออูฐตัวเมียอายุสามปีสี่ตัว เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ห้ากต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุสองปีแต่หาไม่ได้ให้ใช้อูฐตัวเมียอายุหนึ่งปีแทนพร้อมกับสิ่งชดเชย และสิ่งชดเชยที่ว่านั้นก็คือ แพะสองตัว หรือเงินยี่สิบดิรฮัม หรืออาจจ่ายอูฐอายุสามปีพร้อมกับรับสิ่งชดเชย สิ่งชดเชยที่กล่าวมานั้นอนุญาตเฉพาะในซะกาตอูฐเท่านั้นสิ่งที่ใช้ได้ในซะกาตปศุสัตว์1- ในซะกาตแพะแกะนั้น ให้เลือกเอาแกะที่มีอายุหกเดือน (ญะซะอฺ) หรือแพะที่มีอายุหนึ่งปี (ษะนียะฮฺ)2- ซะกาตจะรับเฉพาะตัวเมียเท่านั้น ตัวผู้จะใช้ไม่ได้ยกเว้นในซะกาตวัว และอูฐตัวผู้อายุสองปี อูฐตัวผู้อายุสามปี และอูฐตัวผู้อายุสี่ปีแทนอูฐตัวเมียอายุหนึ่งปีในซะกาตอูฐ หรือจะใช้ได้หากสัตว์ทั้งหมดที่ถึงพิกัดเป็นตัวผู้ก็ถือว่าจ่ายเป็นตัวผู้ได้หุก่มการรวมและแยกสัตว์เพื่อเลี่ยงการจ่ายซะกาตจะต้องไม่รวมสัตว์ที่แยกอยู่และไม่ต้องแยกสัตว์ที่รวมอยู่เพื่อเลี่ยงการจ่ายซะกาตในส่วนของซะกาตปศุสัตว์ ดังนั้น หากผู้ใดมีแพะสี่สิบตัวไม่อนุญาตให้เขาแยกมันไปไว้ในสองที่(เพื่อเลี่ยงการจัดเก็บซะกาต) เมื่อผู้จัดเก็บมาตรวจก็จะพบว่าสัตว์ไม่ถึงพิกัด หรือหากเขามีแพะสี่สิบตัว อีกคนมีสี่สิบตัวและคนที่สามก็มีสี่สิบตัว ทุกคนเอามารวมกันเพื่อจะได้จ่ายเป็นแพะเพียงตัวเดียว เพราะหากแยกกันจะต้องจ่ายสามตัว เหล่านี้คือการหลีกเลี่ยงซะกาตที่ไม่อนุญาตให้กระทำผู้จัดเก็บซะกาตต้องไม่เลือกแต่ทรัพย์ที่ดีๆ ในการจัดเก็บ ดังนั้นเขาต้องไม่จัดเก็บสัตว์ที่ตั้งท้อง พ่อพันธุ์ สัตว์ที่กำลังให้นมลูก และสัตว์ที่อ้วนที่เตรียมไว้เพื่อกิน แต่เขาจะต้องจัดเก็บสัตว์ที่อยู่ในระดับปานกลาง ทรัพย์ซะกาตทุกประเภทก็ใช้หลักการนี้เช่นเดียวกัน