البحث

عبارات مقترحة:

الجميل

كلمة (الجميل) في اللغة صفة على وزن (فعيل) من الجمال وهو الحُسن،...

المجيب

كلمة (المجيب) في اللغة اسم فاعل من الفعل (أجاب يُجيب) وهو مأخوذ من...

الرحيم

كلمة (الرحيم) في اللغة صيغة مبالغة من الرحمة على وزن (فعيل) وهي...

ตาชั่งในวันปรโลก

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، ฟารีด พุกมะหะหมัด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الإيمان باليوم الآخر
อธิบายความหมายของตาชั่งที่อัลลอฮฺจะใช้ในการชำระสอบสวนมนุษย์ในวันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องศรัทธา รวมทั้งกล่าวถึงผลดีต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการศรัทธาดังกล่าว เช่น การมุ่งมั่นทำความดี การรักษาความดีงามต่างๆ จากสาเหตุที่จะทำให้มันสูญเสียและบกพร่อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

التفاصيل

ตาชั่งالميزانดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัดตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชาที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอตาชั่งมวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความศานติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์ส่วนหนึ่งจากหลักศรัทธาที่ถูกต้องของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ คือ การศรัทธาต่อตาชั่ง คำว่าตาชั่งในที่นี้หมายถึง ตาชั่งที่จะใช้ชั่งน้ำหนักการงานที่ดีและชั่วของบ่าวในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า﴿ وَنَضَعُ ٱلۡمَوَٰزِينَ ٱلۡقِسۡطَ لِيَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَلَا تُظۡلَمُ نَفۡسٞ شَيۡ‍ٔٗاۖ وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ أَتَيۡنَا بِهَاۗ وَكَفَىٰ بِنَا حَٰسِبِينَ ٤٧ ﴾ [الأنبياء: ٤٧]   ความว่า “และเราตั้งตาชั่งที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก ๆ เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน” (อัลอันบิยาอ์: 47)และพระองค์ตรัสอีกว่า﴿ فَمَن ثَقُلَتۡ مَوَٰزِينُهُۥ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٠٢ وَمَنۡ خَفَّتۡ مَوَٰزِينُهُۥ فَأُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ خَسِرُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ فِي جَهَنَّمَ خَٰلِدُونَ ١٠٣ ﴾ [المؤمنون : ١٠٢-  ١٠٣]  ความว่า “ดังนั้นผู้ใดตาชั่งของเขาหนัก ชนเหล่านั้นก็เป็นผู้ประสบชัยชนะ และผู้ใดตาชั่งของเขาเบา ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่ทำให้ตัวของพวกเขาขาดทุน พวกเขาจะพำนักอยู่ในนรกตลอดกาล” (อัลมุอ์มินูน: 102-103)มีบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า « كَلِمَتَانِ حَبِيْبَتَانِ إِلى الرَّحْمَنِ، خَفِيْفَتَانِ عَلَى اللِّسَانِ، ثَقِيْلَتَانِ فِي الْمِيْزَانِ: سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيْمِ » [رواه البخاري برقم 7563 ومسلم برقم 2694]  ความว่า “คำสองคำที่เป็นที่รัก ณ พระผู้ทรงเมตตา น้ำหนักเบาสำหรับลิ้น แต่หนักสำหรับตาชั่ง นั้นคือ ‘สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮี สุบหานัลลอฮิลอะซีม’ (มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺ และมวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 7563 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2694)อุละมาอ์กล่าวไว้ว่า ภายหลังเสร็จสิ้นจากการสอบสวนแล้ว จะมีการชั่งน้ำหนักการงาน เนื่องจากการชั่งนั้นมีขึ้นเพื่อจะให้การตอบแทน ดังนั้นจึงจะต้องเกิดขึ้นหลังจากการสอบสวน การสอบสวนนั้นมีขึ้นเพื่อรายงานการงาน และการชั่งนั้นมีขึ้นเพื่อแจ้งจำนวนการงานเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะให้การตอบแทนตามจำนวนการงานนั้นเอง ดังที่มีหะดีษกล่าวถึงตาชั่งว่า มีลักษณะเป็นจานสองจานที่สามารถจับต้องและมองเห็นได้มีบันทึกของอิมามอะหฺมัด รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า « إِنَّ اللهَ تَعَالَى يَسْتَخْلِصُ رَجُلًا مِنْ أُمَّتِيْ عَلَى رُؤُوْسِ الخَلَائِقِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فَيَنْشُرُ عَلَيْهِ تِسْعَةً وَتِسْعِيْنَ سِجِلًّا، كُلُّ سِجِلٍّ مَدُّ الْبَصَرِ، ثُمَّ يَقُوْلُ لَهُ : أَتُنْكِرُ مِنْ هَذَا شَيْئاً؟ أَظَلَمَكَ كَتَبَتِي الْحاَفِظُوْنَ؟ قَالَ : لَا يَارَبِّ. فَيَقُوْلُ : أَلَكَ عُذْرٌ أَوْ حَسَنَةٌ؟ فَيُبْهَتُ الرَّجُلُ، فَيَقُوْلُ : لَا يَارَبِّ فَيَقُوْلُ : بَلَى إِنَّ لَكَ عِنْدَنَا حَسَنَةً وَاحِدَةً، لَا ظُلْمَ الْيَوْمَ عَلَيْكَ، فَتُخْرَجُ لَهُ بِطَاقَةٌ، فِيْهَا : أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ؛ فَيَقُوْلُ : أَحْضِرُوْهُ، فَيَقُوْلُ : يَارَبِّ مَا هَذِهِ الْبِطَاقَةُ مَعَ هَذِهِ السِّجِلَّاتِ؟! فَيُقَالُ : إِنَّكَ لَا تُظْلَمُ، قَالَ : فَتُوْضَعُ السِّجِلَّاتُ فِي كِفَّةٍ، قَالَ : فَطَاشَتِ السِّجِلَّاتُ، وَثَقُلَتِ الْبِطَاقَةُ، وَلَا يَثْقُلُ شَيْءٌ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ » [مسند الإمام أحمد برقم 6994]ความว่า “ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงแยกชายคนหนึ่งจากประชาชาติของฉันมาอยู่ต่อหน้ามวลมนุษยชาติทั้งหมด และเขาก็จะได้รับบันทึกจำนวนเก้าสิบเก้าฉบับ แต่ละฉบับยาวสุดสายตา จากนั้นพระองค์ก็จะตรัสแก่เขาว่า “เจ้ามีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือไม่? ผู้บันทึกของข้าได้อธรรมต่อเจ้าหรือไม่?” เขาจึงตอบว่า “ไม่เลย โอ้พระผู้เป็นเจ้าของฉัน” พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “เจ้ามีข้อแก้ต่างหรือความดีใด ๆ หรือไม่?” ชายคนนั้นจึงกล่าวอย่างผิดหวังว่า “ไม่มีเลย โอ้พระผู้เป็นเจ้าของฉัน” พระองค์จึงตรัสว่า “หามิได้ แท้จริงแล้วเจ้ามีอยู่หนี่งความดี ณ ที่เรานี้ และจะไม่มีการอธรรมใด ๆ แก่เจ้าในวันนี้” จากนั้นจึงมีแผ่นหนังแผ่นหนึ่งบันทึกว่า “อัชฮะดุอันลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดันอับดุฮูวะเราะสูลุฮฺ” (ข้าพเจ้าขอปฏิญานตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าพเจ้าขอปฏิญานตนว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์) แล้วพระองค์จึงสั่งแก่บรรดามลาอิกะฮฺว่า “เจ้าทั้งหลายจงนำตัวชายคนนี้มา" และชายผู้นั้นก็กล่าวแก่พระองค์ว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน แผ่นหนังเพียงหนึ่งนี้หาเปรียบกับบันทึกอันมากมายเหล่านี้ได้ไม่?!” ทันใดนั้นจะมีผู้กล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “แท้จริงเจ้าจะไม่ถูกอธรรม” จากนั้นบันทึกทั้งหมดก็จะถูกวางลงในจานของตาชั่งข้างหนึ่ง และบันทึกเหล่านั้นก็ลอยขึ้นจากน้ำหนักของแผ่นหนังแผ่นนั้น และไม่มีสิ่งใดที่จะมีน้ำหนักมากกว่าพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตา“ (มุสนัด อิมาม อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 6994)ผู้ที่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้งอาจจะกล่าวว่า “การงานนั้นเป็นนามธรรม ไม่สามารถชั่งน้ำหนักได้ สิ่งที่จะชั่งน้ำหนักได้จะต้องมีรูปร่างจับต้องได้”คำตอบสำหรับคำกล่าวนั้นคือ “อัลลอฮฺจะทรงทำให้การงานมีรูปร่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับพระปรีชาสามารถของพระองค์ ดังมีตัวอย่างเช่น การที่พระองค์ทำให้ความตายมาในรูปของแกะที่นำมาเชือดระหว่างสวรรค์และนรก ซึ่งความตายก็เป็นนามธรรมและไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกันดังมีบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากรายงานของ อบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า« يُجَاءُ بِالْمَوْتِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَأَنَّهُ كَبْشٌ أَمْلَحُ (زَادَ أَبُوْ كُرَيْبٍ : «فَيُوْقَفُ بَيْنَ الْجَنَّةِ وَالنَّارِ»، وَاتَّفَقَا فِيْ بَاقِي الْحَدِيْثِ) فَيُقَالُ : يَا أَهْلَ الْجَنَّةِ! هَلْ تَعْرِفُوْنَ هَذَا؟ قَالَ : فَيَشْرَئِبُّوْنَ وَيَنْظُرُوْنَ وَيَقُوْلُوْنَ : نَعَمْ، هَذَا الْمَوْتُ، قَالَ فَيُؤْمَرُ بِهِ فَيُذْبَحُ، قَالَ : ثُمَّ قَالَ : يَا أَهْلَ الْجَنَّةِ! خُلُوْدٌ فَلَا مَوْتَ، وَيَا أَهْلَ النَّارِ! خُلُوْدٌ فَلَا مَوْتَ » قَالَ : ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ﴿ وَأَنذِرۡهُمۡ يَوۡمَ ٱلۡحَسۡرَةِ إِذۡ قُضِيَ ٱلۡأَمۡرُ وَهُمۡ فِي غَفۡلَةٖ وَهُمۡ لَا يُؤۡمِنُونَ ٣٩ ﴾ [مريم: ٣٩] وَأَشَارَ بِيَدِهِ إِلَى الدُّنْيَا. [رواه البخاري برقم 3336 ومسلم برقم 2638]ความว่า “ในวันกิยามะฮฺ ความตายจะถูกนำมาในรูปของแกะสีขาวผสมดำ (อบูกุร็อยบฺกล่าวรายงานเสริมว่า “มันจะถูกนำมายืนอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก” ส่วนอื่นของหะดีษนั้นมีรายบันทึกตรงกันทั้งอัล-บุคอรีย์และมุสลิม) จากนั้นก็จะมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวสวรรค์ เจ้าทั้งหลายรู้จักสิ่งนี้หรือไม่?” พวกเขาก็ชะโงกศีรษะมองดูสิ่งนั้น แล้วกล่าวว่า “รู้จักครับ สิ่งนั้นคือความตาย” จากนั้นก็จะมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวนรก เจ้าทั้งหลายรู้จักสิ่งนี้หรือไม่?” พวกเขาก็ชะโงกศีรษะมองดูสิ่งนั้น แล้วกล่าวว่า “รู้จักครับ สิ่งนั้นคือความตาย” จากนั้นจึงมีคำสั่งให้นำมันไปเชือด แล้วมันก็ถูกเชือด และมีเสียงกล่าวว่า “โอ้บรรดาชาวสวรรค์ ความเป็นนิรันดรซึ่งไม่มีความตายอีกต่อไป โอ้บรรดาชาวนรก ความเป็นนิรันดรซึ่งไม่มีความตายอีกต่อไป” จากนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านอายะฮฺดังนี้ “และเจ้าจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจเมื่อกิจการนั้นถูกตัดสิน ในขณะที่พวกเขาอยู่ในความหลงลืม และพวกเขาไม่ศรัทธา” (มัรยัม: 39) จากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ใช้มือของท่านชี้ไปที่ดุนยา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3336 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2638)อาจมีคนกล่าวถามว่า แล้วตาชั่งจะมีประโยชน์อะไร ในเมื่ออัลลอฮฺทรงรอบรู้การงานของบ่าวทั้งดีและชั่วอยู่แล้ว?ท่าน อิบนุ อบิลอิซ อัลหะนะฟียฺได้กล่าวตอบไว้ว่า “หากแม้ว่าไม่มีหิกมะฮฺอื่นใดสำหรับการชั่งการงานนอกจากการแสดงความเที่ยงธรรมของพระองค์อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ต่อบ่าวของพระองค์ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ทั้งนี้ พระองค์ทรงเลือกที่จะแสดงหลักฐานต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อที่จะได้ไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวใด ๆ และไม่มีผู้ใดชอบที่จะให้อภัยมากไปกว่าพระองค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงส่งบรรดาเราะสูลเพื่อเป็นผู้กล่าวชักชวนและตักเตือน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีหิกมะฮฺอื่น ๆ อีกมากมายที่เราไม่สามารถล่วงรู้ได้” (คำอธิบาย อัลอะกีดะฮฺ อัฏเฏาะหาวิยะฮฺ หน้า 475)ท่านกุรฏุบียฺกล่าวว่า บ่อน้ำนั้นอยู่ก่อนตาชั่ง และสะพาน (อัศศิรอฏ) นั้นอยู่หลังตาชั่ง (คำอธิบาย อัลอะกีดะฮฺ อัฏเฏาะหาวิยะฮฺ หน้า 475)ดังกล่าวนี้คือลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในวันกิยามะฮฺส่วนหนึ่งของผลพวงจากการศรัทธาต่อตาชั่งการงานต่าง ๆ นั้น มีดังนี้ประการที่หนึ่ง ความขะมักเขม้นในการทำอิบาดะฮฺและรีบเร่งในการทำความดีต่าง ๆ หากผู้ใดที่ความดีของเขามีมากกว่าความชั่ว เขาก็ถือว่าเป็นผู้ที่สำเร็จและได้รับชัยชนะอัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า﴿فَأَمَّا مَن ثَقُلَتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٦ فَهُوَ فِي عِيشَةٖ رَّاضِيَةٖ ٧ وَأَمَّا مَنۡ خَفَّتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٨ فَأُمُّهُۥ هَاوِيَةٞ ٩ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا هِيَهۡ ١٠ نَارٌ حَامِيَةُۢ ١١﴾ [القارعة: 6-11]  ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดตาชั่งของเขาหนัก เขาก็จะมีชีวิตที่ผาสุข และส่วนผู้ที่ตาชั่งของเขาเบา ที่พำนักของเขาก็คือเหวลึก (ฮาวิยะฮฺ) และอะไรเล่าที่ทำให้เจ้ารู้ได้ว่าเหวลึกนั้นคืออะไร? มันคือไฟอันร้อนแรง” (อัลกอริอะฮฺ : 6-11)ประการที่สอง มีการงานมากมายที่มีน้ำหนักมาก ณ ตาชั่งของอัลลอฮฺ ดังปรากฎในหะดีษ« كَلِمَتَانِ حَبِيْبَتَانِ إِلى الرَّحْمَنِ، خَفِيْفَتَانِ عَلَى اللِّسَانِ، ثَقِيْلَتَانِ فِي الْمِيْزَانِ: سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيْمِ » [رواه البخاري برقم 7563 ومسلم برقم 2694]  ความว่า “คำสองคำที่เป็นที่รัก ณ ผู้ทรงเมตตา น้ำหนักเบาสำหรับลิ้น แต่หนักสำหรับตาชั่ง นั้นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮี สุบหานัลลอฮิลอะซีม (มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺ และมวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 7563 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2694)และในบันทึกของมุสลิม รายงานจากอบูมาลิก อัลอัชอะรียฺ เราะฎิยัลลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า« الطُّهُوْرُ شَطْرُ الْإِيْمَانِ، وَالْحَمْدُ للهِ تَمْلَأُ الْمِيْزَانِ » [رواه مسلم برقم 223]  ความว่า “ความสะอาดนั้นเป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา และคำกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ (มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ) นั้น ทำให้ตาชั่งเต็ม” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 223)และในบันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า«مَنْ شَهِدَ الْجَنَازَةَ حَتَّى يُصَلِّيَ فَلَهُ قِيْرَاطٌ، وَمَنْ شَهِدَ حَتَّى تُدْفَنَ كاَنَ لَهُ قِيْرَاطَانِ » قِيْلَ : وَمَا الْقِيْرَاطَانِ؟ قَالَ : « مِثْلُ الْجَبَلَيْنِ الْعَظِيْمَيْنِ » [رواه البخاري برقم 1325 ومسلم برقم 946]  ความว่า “ผู้ใดที่ร่วมส่งคนตายจนกระทั่งละหมาดญะนาซะฮฺ เขาจะได้รับหนึ่งกีรอฏ และผู้ใดร่วมส่งคนตายจนกระทั่งฝัง เขาจะได้รับสองกีรอฏ” มีผู้ถามท่านเราะสูลว่า สองกีรอฏคืออะไร? ท่านตอบว่า “เปรียบเท่ากับภูเขาลูกใหญ่สองลูก” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1325 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 946)ประการที่สาม ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติการงานเหล่านั้นจะถูกชั่งบนตาชั่งร่วมกับการงานต่าง ๆ ของเขาดังปรากฎในบันทึกของอัลบุคอรีย์ รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า « إِنَّهُ لَيَأْتِي الرَّجُلُ الْعَظِيْمُ السَّمِيْنُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، لَا يَزِنُ عِنْدَ اللهِ جَنَاحَ بَعُوْضَةٍ» وَقَالَ : اقْرَؤُوْا إِنْ شِئْتُمْ  ﴿ فَلَا نُقِيمُ لَهُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَزۡنٗا ١٠٥ ﴾ [الكهف: ١٠٥]  [رواه البخاري برقم 4729]  ความว่า “ในวันกิยามะฮฺ จะมีชายที่ร่างการอ้วนท้วนสูงใหญ่ ซึ่ง ณ อัลลอฮฺนั้นเขาไม่ได้มีน้ำหนักมากไปกว่าปีกหนึ่งของแมลง” แล้วท่านเราะสูลก็กล่าวว่า หากท่านทั้งหลายประสงค์ก็จงอ่านอายะฮฺดังนี้ “และในวันกิยามะฮฺ เราจะไม่ให้มันมีค่าใด ๆ แก่พวกเขาเลย” (อัลกะฮฟฺ: 105) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4729)และในบันทึกของอิมามอะหฺมัด รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺ มัสอู๊ด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า « إِنَّهُ كَانَ يَجْتَنِي سِوَاكًا مِنَ الْأَرَاكِ وَكَانَ دَقِيْقَ السَّاقَيْنِ فَجَعَلَتِ الرِّيْحُ تَكْفَؤُهُ، فَضَحِكَ الْقَوْمُ مِنْهُ، فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : « مِمَّ تَضْحَكُوْنَ؟ » قَاَلُوْا : يَا نَبِيَّ اللهِ مِنْ دِقَّةِ سَاقَيْهِ، فَقَالَ : « وَالَّذِيْ نَفْسِيْ بِيَدِهِ، لَهُمَا أَثْقَلُ فِي الْمِيْزَانِ مِنْ أُحُدٍ » [رواه الإمام أحمد برقم 3991]ความว่า “ครั้งหนึ่งท่านอับดุลลอฮฺ อิบนฺ มัสอู๊ด ปีนต้นไม้เพื่อตัดกิ่งไม้ที่ใช้ทำความสะอาดฟัน โดยท่านนั้นเป็นคนที่มีขาเรียวเล็ก ครั้นเมื่อมีลมพัดมาก็ทำให้ท่านส่ายไปมาตามลม ผู้คนเห็นดังนั้นก็พากันหัวเราะเยาะท่าน ดังนี้ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงถามพวกเขาว่า “พวกท่านหัวเราะอะไรกันรึ?” พวกเขาตอบว่า “โอ้ท่านนบี เราหัวเราะที่เขามีขาที่เรียวเล็ก” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ขาทั้งสองของเขานั้นมีน้ำหนักบนตาชั่งมากกว่าภูเขาอุหุดเสียอีก” (บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 3991)ประการที่สี่ การรักษาความดีต่าง ๆ ให้พ้นจากสิ่งที่จะทำให้มันเป็นโมฆะหรือบกพร่องได้ มีบันทึกของมุสลิมรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า« أَتَدْرُوْنَ مَنِ الْمُفْلِسُ؟ » قَالُوْا : الْمُفْلِسُ فِيْنَا مَنْ لَا دِرْهَمَ لَهُ وَلَا مَتَاعَ، فَقَالَ : « ِنَّ الْمُفْلِسَ مِنْ أُمَّتِي، يَأْتِيْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِصَلَاةٍ وَصِيَامٍ وَزَكَاةٍ، وَيَأْتِيْ قَدْ شَتَمَ هَذَا، وَقَذَفَ هَذَا، وَأَكَلَ مَالَ هَذَا، وَسَفَكَ دَمَ هَذَا، وَضَرَبَ هَذَا، فَيُعْطَى هَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ، فَإْنْ فَنِيَتْ حَسَنَاتُهُ، قَبْلَ أَنْ يُقْضَى مَا عَلَيْهِ، أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ فَطُرِحَتْ عَلَيْهِ، ثُمَّ طُرِحَ فِي النَّارِ » [رواه مسلم برقم 2581] ความว่า “ท่านทั้งหลายรู้หรือไม่ว่าผู้ล้มละลายคือใคร?” พวกเขากล่าวว่า “ผู้ล้มละลายในหมู่พวกเรา คือ ผู้ที่ไม่มีเงินทองและทรัพย์สินใด ๆ เลย” ท่านเราะสูลจึงกล่าวว่า “แท้จริงผู้ล้มละลายจากประชาชาติของฉันคือ ผู้ที่ในวันกิยามะฮฺเขามีการงานต่าง ๆ ทั้งการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต แต่เขาเคยด่าทอ นินทาว่าร้าย หยิบฉวยทรัพย์สิน เข่นฆ่า หรือทุบตีผู้อื่นด้วย ดังนั้น ความดีต่าง ๆ ของเขาจึงถูกนำไปชดใช้ให้แก่คนเหล่านั้น และเมื่อความดีของเขาไม่เหลือให้ชดใช้แก่ใครได้อีก เขาก็จะต้องรับความชั่วของคนเหล่านั้นมาแทน และเขาก็จะถูกลากลงไปในนรก” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2581)มีบันทึกของอิบนมาญะฮฺ รายงานจากเษาบาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า« لَأَعْلَمَنَّ أَقْوَامًا مِنْ أُمَّتِيْ يَأْتُوْنَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِحَسَنَاتِ أَمْثَالِ جِبَالِ تِهَامَةَ بِيضًا، فَيَجْعَلُهَا اللهُ عَزَّ وَجَلَّ هَبَاءً مَنْثُوْرًا » قَالَ ثَوْبَانُ : يَا رَسُولَ الله صِفْهُمْ لَنَا، جَلِّهِم لنا أَنْ لَا نَكُوْنَ مِنْهُمْ، وَنَحْنُ لَا نَعْلَمُ، قَالَ : « أَمَا إِنَّهُمْ إِخْوَانُكُمْ، وَمِنْ جِلْدَتِكُمْ، وَيَأْخُذُوْنَ مِنَ اللَّيْلِ كَمَا تَأخُذُوْنَ، وَلَكِنَّهُمْ أَقْوَامٌ إِذَا خَلَوْا بِمَحَارِمِ اللهِ انْتَهَكُوْهَا » [رواه ابن ماجه برقم 4245، وصصحه الألباني برقم 505] ความว่า “แท้จริงฉันรู้ว่าจะมีกลุ่มคนมากมายจากประชาชาติของฉัน ซึ่งในวันกิยามะฮฺพวกเขาเหล่านั้นมีความดีมากมายประหนึ่งเทือกเขาติฮามะฮฺ (แนวเขาทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ) ที่สูงตระหง่านและขาวโพลน แต่อัลลอฮฺตะอาลาทรงทำให้ความดีเหล่านั้นเป็นเพียงฝุ่นที่ปลิวไปตามสายลม” เษาบานกล่าวว่า โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ ท่านช่วยบอกลักษณะของคนเหล่านั้นแก่เราด้วยเถิด เพื่อเราจะได้ไม่เป็นคนหนึ่งจากพวกเขาโดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านเราะสูลกล่าวว่า “พวกเขาเหล่านั้นก็เป็นพี่เป็นน้องของพวกท่าน มีสายเลือดเดียวกับพวกท่าน ทำอิบาดะฮฺในยามค่ำคืนเหมือนกับพวกท่าน แต่เมื่อพวกเขาเหล่านั้นอยู่เพียงลำพังในที่ลับตาคน พวกเขาก็ฝ่าฝืนข้อห้ามต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 4245 โดยอัลอัลบานียฺ ระบุในอัสสิลสิละฮฺ อัศเศาะฮีหะฮฺ เลขที่ 505 ว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)ประการที่ห้า ประกาศความยุติธรรมของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ที่พระองค์ได้ทรงให้มีตราชั่งที่เที่ยงตรงเพื่อแจกแจงน้ำหนักของกิจการงานต่าง ๆ ของบ่าวทั้งความดีและความชั่วดังที่พระองค์ตรัสว่า﴿ وَنَضَعُ ٱلۡمَوَٰزِينَ ٱلۡقِسۡطَ لِيَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَلَا تُظۡلَمُ نَفۡسٞ شَيۡ‍ٔٗاۖ وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ أَتَيۡنَا بِهَاۗ وَكَفَىٰ بِنَا حَٰسِبِينَ ٤٧ ﴾ [الأنبياء: ٤٧] ความว่า “และเราตั้งตาชั่งที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก ๆ เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน” (อัลอันบิยาอ์: 47)ในอายะฮฺดังกล่าว ประโยคที่ว่า ﴿وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ ﴾ความว่า “และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก ๆ“หมายถึง แม้ว่าความดีหรือความชั่วนั้นจะเล็กและต่ำต้อยที่สุดก็ตาม มันก็จะถูกนำมาแสดงโดยไม่มีข้อยกเว้นดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า﴿ فَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٍ خَيۡرٗا يَرَهُۥ ٧ وَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖ شَرّٗا يَرَهُۥ ٨﴾ [الزلزلة: ٧،  ٨]  ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเพียงละอองธุลี เขาก็จะได้เห็นมัน และผู้ใดกระทำความชั่วหนักเพียงละอองธุลี เขาก็จะได้เห็นมัน” (อัซซัลซะละฮฺ : 7-8)والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد،وعلى آله وصحبه أجمعين.

المرفقات

2

ตาชั่งในวันปรโลก
ตาชั่งในวันปรโลก