البحث

عبارات مقترحة:

المهيمن

كلمة (المهيمن) في اللغة اسم فاعل، واختلف في الفعل الذي اشتقَّ...

الرحيم

كلمة (الرحيم) في اللغة صيغة مبالغة من الرحمة على وزن (فعيل) وهي...

السميع

كلمة السميع في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل) أي:...

ใช้ชีวิตกับอัลกุรอาน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف عادل بن عبد العزيز المحلاوي ، แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات تفسير القرآن - فضائل القرآن الكريم
อธิบายความสำคัญของการอ่านใคร่ครวญอัลกุรอานเพื่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิต เฉกเช่นที่อัลกุรอานได้เคยสร้างอิทธิพลต่อจิตใจและการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของบรรดาสะลัฟมาแล้วก่อนหน้านี้ โดยแนะนำวิธีการบางข้อที่สามารถฝึกฝนและใช้ได้จริง

التفاصيل

ใช้ชีวิตกับอัลกุรอานالحياة مع القرآنعادل عبدالعزير المحلاويผู้แปล: แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมานترجمة: محمد صبري يعقوبمراجعة: صافي عثمانใช้ชีวิตกับอัลกุรอานบทนำการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงประทานคัมภีร์แก่บ่าวของพระองค์และพระองค์มิได้ทรงทำให้มันมีการบิดเบือนแต่อย่างใด ฉันขอสรรเสริญต่อพระองค์ สุบหานะฮฺ ที่ทรงทำให้คัมภีร์ของพระองค์เป็นทางนำแก่บรรดาผู้ศรัทธา และฉันขอสดุดีแก่ผู้ที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาให้เป็นแสงสว่างแก่หัวใจของท่าน และเป็นรัศมีแก่ทรวงอกของท่าน แล้วได้ยึดมั่นอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องอนึ่งการพูดถึงเรื่องราวของอัลกุรอานนั้น ถือเป็นการพูดในเรื่องที่ใหญ่ เพราะเป็นการกล่าวถึงคัมภีร์ที่มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่มีวันใดที่ฉันได้เขียนหรือได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอัลกุรอานเว้นแต่มันจะมีสองความรู้สึกในตัวของฉัน นั่นคือความรู้สึกที่ดีใจกับความรู้สึกที่ละอาย กล่าวคือ ฉันดีใจที่ได้พูดถึงคำดำรัสของอัลลอฮฺ และละอายที่คนต่ำต้อยอย่างฉันถือวิสาสะมาพูดถึงคำดำรัสอันสูงส่งของพระองค์อัลลอฮฺ อย่างไรก็ตาม ฉันขอสรรเสริญต่อพระองค์ อัซซะวะญัลละ ที่อนุญาตให้คนอย่างฉันได้พูดถึงคำดำรัสของพระองค์นี้และหากจะมีใครสักคนหนึ่งต้องการพูดถึงคำดำรัสของอัลลอฮฺ แน่นอนว่าชีวิตของเขาทั้งชีวิตก็ไม่อาจที่จะพูดถึงเรื่องราวของมันได้อย่างครบถ้วน แต่ทว่า ฉันจะขอพูดถึงวิธีทำอย่างไรที่จะทำให้เนื้อหาของอัลกุรอานมีผลต่อมุสลิม โดยเฉพาะบรรดามุสลิมที่อยู่ในช่วงเวลาในเดือนเราะมะฎอน มีรายงานที่น่าเชื่อถือว่าท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  ได้กล่าวว่า «لَوْ سَلِمَتْ قُلُوْبُكُمْ مَا شَبِعْتُمْ مِنْ كَلَامِ رَبِّكُمْ»ความว่า “หากหัวใจของพวกท่านมีความบริสุทธิ์จริง พวกท่านจะต้องโหยหาและไม่มีวันเต็มอิ่มกับคำดำรัสของพระผู้อภิบาลของพวกท่านอย่างแน่นอน” นั่นเป็นเพราะอัลกุรอานคือดำรัสของอัลลอฮฺ ซึ่งดำรัสของพระองค์นั้นคือคุณลักษณะหนึ่งจากบรรดาคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ประการแรก ขอให้ท่านได้พินิจพิจารณาเกียรติที่อัลกุรอานมอบให้กับคนของอัลกุรอาน (นั่นคือผู้ที่อ่าน ฟัง ใคร่ครวญ แล้วนำมาใช้) ซึ่งมีบันทึกในสุนันอัต-ติรมิซี จากหะดีษของท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«يَجِيءُ القُرْآنُ يَوْمَ القِيَامَةِ فَيَقُولُ: يَا رَبِّ حَلِّهِ، فَيُلْبَسُ تَاجَ الكَرَامَةِ، ثُمَّ يَقُولُ: يَا رَبِّ زِدْهُ، فَيُلْبَسُ حُلَّةَ الكَرَامَةِ، ثُمَّ يَقُولُ: يَا رَبِّ ارْضَ عَنْهُ، فَيَرْضَى عَنْهُ»ความว่า “อัลกุรอานจะมาในวันกิยามะฮฺแล้วกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาล ได้โปรดประดับประดาเขาด้วยเถิด” แล้วเขาก็ถูกประดับประดาด้วยมงกุฎแห่งเกียรติ หลังจากนั้นมันก็กล่าวอีกว่า “โอ้พระผู้อภิบาล ได้โปรดประดับประดาเขาอีกเถิด” แล้วเขาก็ถูกประดับประดาด้วยอาภรณ์แห่งเกียรติ หลังจากนั้นมันก็กล่าวอีกว่า “โอ้พระผู้อภิบาล ได้โปรดพึงพอพระทัยต่อเขาเถิด” แล้วเขาก็ได้รับความพึงพอพระทัย” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซี หมายเลข 2915 ซึ่งชัยคฺอัล-อัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ในเศาะฮีหฺ วะเฎาะอีฟ สุนันอัต-ติรมิซี หมายเลข 2915)จะมีใครที่ดีเลิศที่สุดเยี่ยงท่านได้อีก โอ้ผู้ที่มีความผูกพันกับอัลกุรอาน ท่านนั้นได้รับมงกุฎและอาภรณ์ที่มีเกียรติ และได้ประสบกับความสำเร็จด้วยการได้รับความพึงพอพระทัยจากพระผู้ทรงเมตตา  แน่นอนว่า การมีชีวิตที่ผูกพันอัลกุรอานนั้น ถือเป็นการมีชีวิตที่มีเกียรติ และถือเป็นความโปรดปรานที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย และถือเป็นชีวิตที่ดีเลิศที่สุดก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเหมาะสมเป็นที่สุดสำหรับผู้ศรัทธาที่มีความจริงใจต่อตัวเองที่จะต้องมีความจริงจังที่จะให้ตัวเขามีชีวิตที่แท้จริงที่ผูกพันกับอัลกุรอาน และขอให้ท่านได้พินิจพิจารณาการใช้ชีวิตของบรรดาชาวสะลัฟว่าพวกเขามีชีวิตที่ผูกพันกับอัลกุรอานอย่างไร แล้วมาเปรียบเทียบระหว่างการใช้ชีวิตของเรากับพวกเขาในขณะที่เราอ่านอัลกุรอาน มีคนถามชาวสะลัฟท่านหนึ่งว่า “เมื่อท่านอัลกุรอาน ท่านจะพูดกับตัวเองบ้างไหม?”ชาวสะลัฟท่านนั้นได้ตอบว่า “จะมีสิ่งใดที่ฉันรักยิ่งไปกว่าอัลกุรอานอีก จนฉันต้องพูดกับตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนั้น?” แท้จริง พวกเขาต่างรู้ดีว่าอัลกุรอานนั้นไม่ได้เป็นเหมือนคำพูดของมนุษย์ ซึ่งพวกเขาต่างมีความเชื่อมั่นอย่างสุดหัวใจต่อความสัจจริงของเนื้อหาของมัน สัญญาทั้งหมดของมันต้องเกิดขึ้นจริง วิธีการนำเสนอที่อัศจรรย์ของมันส่งอิทธิต่อหัวใจ ดังนั้น ชาวสะลัฟจึงหลงใหลดื่มดำกับมันยิ่งนัก จนพวกเขาให้ความสำคัญกับมันเหนือกว่าคำพูดของคนอื่นทั้งหมด เมื่อไรหนอที่เราท่านทั้งหลายจะได้บรรลุถึงสภาพเยี่ยงนั้นด้วย?เดือนเราะมะฎอนถือเป็นโอกาสสำหรับเราในการทบทวนอัลกุรอานให้ยังคงความแม่นยำเป็นลำดับแรก และเป็นโอกาสอีกครั้งที่จะเอาจริงเอาจังในการอ่านอัลกุรอานให้มีผลต่อหัวใจ และสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพให้ดีขึ้น โดยที่เรามีความปรารถนาที่จะให้พฤติกรรมของเราหลังจากที่ได้อ่านอัลกุรอานนั้นไม่เป็นเหมือนกับพฤติกรรมก่อนการอ่าน และการมีชีวิตของเราที่ผูกพันกับอัลกุรอานนั้นคือการมีชีวิตที่มีความรักใคร่ต่อบรรดาอายะฮฺต่างๆ ของพระผู้ทรงเมตตา พร้อมทั้งให้เกียรติเทิดทูนมัน หากเดือนเราะมะฎอนเคยเป็นโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนการเคาะตัมอัลกุรอาน ดังนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับเราที่จะปรับเปลี่ยนความตั้งใจสู่การตะดับบุรหรือพินิจใคร่ครวญอัลกุรอานแทน กระทั่งให้มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา และทำให้กิจการต่างๆ ของเราปรับเปลี่ยนสู่ทุกๆ สิ่งที่ดีงาม    ท่านจงมองไปยังการใช้ชีวิตของท่านเราะสูลุลลอฮฺ อะลัยฮิศเศาะลาตุ วัสสลาม ซึ่งท่านเป็นผู้ที่ชอบอ่านอัลกุรอานและชอบฟังอัลกุรอานจากคนอื่น และผู้ที่สืบทอดตามหลังท่านมา อย่างท่านอบูบักรฺ และท่านอุมัร ต่างก็เป็นบุคคลที่เคยร้องไห้เพราะอัลกุรอาน และได้ยินเสียงร้องไห้ของพวกเขาจากแถวละหมาดด้านหลังอะไรที่ทำให้พวกเขาร้องไห้ ทั้งๆ ที่พวกเขาล้วนเป็นวีรบุรุษกันทั้งสิ้น ?เราเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเราบ้างหรือไม่ ?คำตอบของมันก็คือ ขอให้ท่านได้ร่วมใคร่ครวญพร้อมกับฉันต่อบรรดาอายะฮฺที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮฺ ได้ยกย่องสรรเสริญแก่ผู้ที่ดีเลิศที่สุด (นั่นคือท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาผู้ที่รักใคร่เป็นมิตรกับท่านที่ถูกเลือกสรร (นั่นคือบรรดาเศาะหาบะฮฺ) ว่า﴿ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِم مِّنَ ٱلنَّبِيِّ‍ۧنَ مِن ذُرِّيَّةِ ءَادَمَ وَمِمَّنۡ حَمَلۡنَا مَعَ نُوحٖ وَمِن ذُرِّيَّةِ إِبۡرَٰهِيمَ وَإِسۡرَٰٓءِيلَ وَمِمَّنۡ هَدَيۡنَا وَٱجۡتَبَيۡنَآۚ إِذَا تُتۡلَىٰ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتُ ٱلرَّحۡمَٰنِ خَرُّواْۤ سُجَّدٗاۤ وَبُكِيّٗا۩ ٥٨ ﴾ [مريم: ٥٨]  ความว่า “ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานพวกเขาให้เป็นนบีที่มีเชื้อสายจากอาดัม และจากเชื้อสายผู้ที่เราบรรทุกไว้ในเรือกับนูหฺ และจากเชื้อสายของอิบรอฮีม และอิสรออีล(นบียะอฺกูบ) และจากเชื้อสายผู้ที่เราได้ชี้แนะทางและเราได้คัดเลือกไว้ เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องไห้” (สูเราะฮฺ มัรยัม : 58)ดังนั้น การร้องไห้ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดของผลที่เกิดขึ้นกับหัวใจ และเป็นตัวบ่งชี้ของการมีชีวิตที่แท้จริงด้วยความผูกพันกับอัลกุรอาน ซึ่งฉันมีความปรารถนาที่จะให้ทุกครั้งที่ท่านอ่านอัลกุรอานหรือฟังมัน ให้ท่านมีความรู้สึกว่ามันคือดำรัสของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างตัวท่าน ประทานริซกีแก่ท่าน และให้ความโปรดปรานแก่ท่านอย่างมากมาย ขอให้ท่านได้พินิจไตร่ตรองทุกๆ  อายะฮฺ หรือให้ดีกว่านั้นให้พินิจไตร่ตรองทุกๆ คำของมัน แล้วท่านก็จะพบว่ามีความมหัศจรรย์บางอย่างเกิดขึ้นในจิตใจของท่าน ฉันจะขอนำเสนอวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดผลและได้รับประโยชน์จากการอ่านแก่ท่าน ดังนี้ หนึ่ง... พยายามอ่านคำอรรถาธิบายง่ายๆ ในแต่ละอายะฮฺ โดยเฉพาะอายะฮฺที่ต้องพึ่งคำอรรถาธิบาย (จึงจะมีความเข้าใจ)          สอง... ทำเสียงให้ไพเราะในขณะที่อ่านอัลกุรอานให้ทำเสียงของท่านให้ไพเราะเท่าที่มีความสามารถที่จะทำได้ ดังที่มีหะดีษได้กล่าวว่า «لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يَتَغَنَّ بِالقُرْآنِ»ความว่า “ไม่ใช่พวกเรา ผู้ซึ่งไม่อ่านอัลกุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ (ในกรณีที่เขามีความสามารถ)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หมายเลข 7527)ท่านอิมามอัน-นะวะวี ได้กล่าวว่า “การอ่านแบบตัรตีล (คือการอ่านโดยเน้นเรื่องการออกเสียงและจังหวะ และค่อยๆ อ่านอย่างตั้งใจ ชัดถ้อยชัดคำ ไม่รีบร้อน) เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพินิจใคร่ครวญ (ในเนื้อหาของมัน) และอื่นจากนี้”สาม... ให้นิ่งเงียบขณะที่ฟังอัลกุรอานถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอาน และไม่ถือเป็นความผิดการที่คนคนหนึ่งจะเลือกฟังนักอ่านที่มีเสียงไพเราะและกินใจ ซึ่งมีชายคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล เกี่ยวกับการละหมาดในมัสญิดที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ท่านอิมามได้ตอบว่า “ท่านจงพิจารณาดูว่าสิ่งใดที่จะทำให้หัวใจของท่านได้รับประโยชน์มากที่สุด (ก็ให้ท่านสิ่งนั้น)”สี่... ให้ทวนอายะฮฺที่สร้างความซาบซึ้งใจหลายๆ ครั้งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนที่กำลังอ่านอัลกุรอาน เมื่อเขาได้อ่านผ่านอายะฮฺที่มีความซาบซึ้งต่อหัวใจของเขา ให้เขาเก็บเกี่ยวประโยชน์จากมัน โดยการพินิจพิจารณาในความหมายของอายะฮฺนั้น และให้มีความเข้าใจต่อเนื้อหาของมัน แม้ว่าเขาจะต้องใช้เวลาอยู่กับอายะฮฺนั้นเพียงอายะฮฺเดียวก็ตาม ก็ยังเป็นสิ่งที่ดีกว่าการที่เขาอ่านจนจบสูเราะฮฺโดยไม่มีการพินิจใคร่ครวญ ท่านอบู สุลัยมาน อัด-ดารอนี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “บางครั้งฉันได้ยืนละหมาดด้วยการอ่านเพียงอายะฮฺเดียวตลอดช่วงเวลาทั้งห้าคืน และหากไม่เพราะว่าฉันได้ละความคิดบางช่วงออกจากมันแล้วไซร้ ฉันก็คงยังอ่านมันอยู่อีกโดยไม่ผ่านไปยังอายะฮฺอื่นอย่างแน่แท้ และบางทีอายะฮฺอัลกุรอานบางอายะฮฺก็แทบทำให้ความคิดของฉันได้โบยบินไปกับมันเลยทีเดียว” ห้า... ในขณะที่ท่านกำลังอ่านอัลกุรอาน ให้ท่านคิดว่าท่านคือผู้ที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงหลายต่อหลายคนในหมู่พวกเรา ที่ความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีในความนึกคิดของเขา จึงทำให้เขาพลาดที่จะได้รับประโยชน์จากมัน หก... พยายามทำให้ตัวของท่านมีส่วนร่วมกับอายะฮฺต่างๆ อยู่ตลอด  เมื่อมีอายะฮฺหนึ่งที่พูดถึงสวรรค์ผ่านตาท่าน ก็ให้ท่านมีความรู้สึกประหนึ่งว่าท่านกำลังอยู่ในบรรยากาศนั้นและได้ลิ้มรสความสุขต่างๆ ของมัน และเมื่อมีอายะฮฺหนึ่งที่พูดถึงนรกผ่านตาท่าน ก็ให้ท่านมีความหวาดหวั่นที่จะเป็นหนึ่งในนั้น และให้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากมัน และเมื่อเรื่องราวต่างๆ ในอดีตที่อัลกุรอานได้เล่าผ่านตาท่าน ก็ให้ท่านนำหัวใจของท่านไปสู่ช่วงเวลานั้น ประหนึ่งว่าท่านกำลังอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยตัวเอง โดยให้ทำเช่นนี้ในทุกๆ อายะฮฺ เจ็ด... ให้พินิจใคร่ครวญในอายะฮฺที่พรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและมีความยิ่งใหญ่ได้พรรณนาไว้ และเป็นการพรรณนาถึงการสร้างอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ เช่น การสร้างบรรดาภูเขา แผ่นดิน ชั้นฟ้า แม่น้ำ และอื่นจากนี้ และจงดูตัวอย่างของอายะฮฺหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่ จากสูเราะฮฺลุกมานว่า﴿ خَلَقَ ٱلسَّمَٰوَٰتِ بِغَيۡرِ عَمَدٖ تَرَوۡنَهَاۖ وَأَلۡقَىٰ فِي ٱلۡأَرۡضِ رَوَٰسِيَ أَن تَمِيدَ بِكُمۡ وَبَثَّ فِيهَا مِن كُلِّ دَآبَّةٖۚ وَأَنزَلۡنَا مِنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ فَأَنۢبَتۡنَا فِيهَا مِن كُلِّ زَوۡجٖ كَرِيمٍ ١٠ هَٰذَا خَلۡقُ ٱللَّهِ فَأَرُونِي مَاذَا خَلَقَ ٱلَّذِينَ مِن دُونِهِۦۚ بَلِ ٱلظَّٰلِمُونَ فِي ضَلَٰلٖ مُّبِينٖ ١١ ﴾ [لقمان: ١٠،  ١١]  ความว่า “พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายโดยปราศจากเสาที่พวกเจ้าจะมองเห็นมันได้ และทรงปักเทือกเขาไว้อย่างมั่นคงในแผ่นดินเพื่อมิให้มันสั่นคลอนไปกับพวกเจ้า และทรงให้สัตว์ทุกชนิดแพร่หลายในมัน (แผ่นดิน) และเราได้ให้น้ำ (ฝน) หลั่งลงมาจากฟากฟ้าและเราได้ให้พืชทุกชนิดงอกเงยออกมาเป็นคู่ ๆ อย่างดีงาม นี่คือการสร้างของอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกเจ้าจงแสดงให้ข้า (อัลลอฮฺ) เห็นซิว่า อันใดเล่าที่เขาเหล่านั้นได้สร้างมันขึ้นมา ที่ไม่ใช่พระองค์ แต่ว่าบรรดาผู้อธรรมต่างหากที่อยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (สูเราะฮฺลุกมาน : 10-11)ขอให้ท่านครุ่นคิดถึงการสร้างสรรค์ที่มีความมหัศจรรย์และมีความประณีตนี้ ﴿صُنْعَ اللهِ الَّذِي أَتْقَنَ كُلَّ شَيْءٍ إِنَّهُ خَبِيرٌ بِمَا تَفْعَلُونَ﴾ [النمل: 88]ความว่า “(นั่นคือ) การสรรค์สร้างของอัลลอฮฺซึ่งพระองค์ทรงทำทุกสิ่งอย่างด้วยความประณีต แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงตระหนักดีในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺอัน-นัมลุ : 88)และพึงทราบเถิดว่า การพินิจใคร่ครวญ(ตะดับบุร)นั้นจะนำพาท่านไปสู่ความยิ่งใหญ่ของพระผู้อภิบาลและผู้เป็นเจ้านายของท่าน และจะทำให้ท่านได้เห็นแก่นแท้ของโลกนี้และโลกอาคิเราะฮฺ และจะสร้างความกระจ่างให้แก่ท่านถึงบั้นปลายและที่พำนักของทั้งสองกลุ่ม(ที่เป็นชาวสรรค์และชาวนรก) และจะทำให้ความศรัทธาของท่านเพิ่มพูนขึ้น อีกทั้งยังยกระดับตัวของท่าน และจะทำให้การยืนหยัดของท่านมีความมั่นคง รวมถึงจะทำให้ท่านมีความสมถะต่อการใช้ชีวิตบนโลกนี้ และมีความปรารถนาต่อโลก อาคิเราะฮฺ ใช่แต่เท่านั้น มันจะยังคลี่คลายความวิตกกังวลของท่าน และทำให้ความเศร้าโศกได้หายไปจากท่าน  ช่วยปลอบโยนท่านจากคำครหาของมนุษย์อื่น  และทำให้ท่านได้เข้าสวรรค์แห่งโลกนี้ ซึ่งมีคุณค่าอันมากมายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ต้นฉบับเดิมจาก http://islamhouse.com/ar/articles/420132/