البحث

عبارات مقترحة:

الرحيم

كلمة (الرحيم) في اللغة صيغة مبالغة من الرحمة على وزن (فعيل) وهي...

الوكيل

كلمة (الوكيل) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) بمعنى (مفعول) أي:...

الرزاق

كلمة (الرزاق) في اللغة صيغة مبالغة من الرزق على وزن (فعّال)، تدل...

คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (5)

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบนุรอมลี ยูนุส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الإسلام
จากหนังสือสาส์นแห่งอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ ประกอบด้วย : - ศาสนาแห่งความเมตตา - ศาสนาที่ไม่มีระบบนักบวช และไม่ได้เน้นแต่ทางโลก

التفاصيل

คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (5)خصائص الدين الإسلاميอับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺแปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุสตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอคุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (5)ศาสนาแห่งความเมตตา                 ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งความเมตตา  หลักสั่งสอนของอิสลามชักชวนคนให้ทิ้งห่างความรุนแรง ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «الرَّاحِمُونَ يَرْحَمُهُمْ الرَّحْمَنُ، ارْحَمُوا أَهْلَ الْأَرْضِ يَرْحَمْكُمْ أَهْلُ السَّمَاءِ، وَالرَّحِمُ شُجْنَةٌ مِنْ الرَّحْمَنِ، مَنْ وَصَلَهَا وَصَلَتْهُ وَمَنْ قَطَعَهَا قَطَعَهُ» (المستدرك على الصحيحين ج4 ص175 رقم الحديث 7274)“บรรดาผู้เมตตาทั้งหลายอัลลอฮฺจะเมตตาพวกเขา จงเมตตาต่อมนุษย์โลก  บรรดาชนที่อยู่บนฟากฟ้าย่อมเมตตาต่อท่าน  ความเมตตาเป็นส่วนหนึ่งของนามอัลลอฮฺ  ผู้ใดรักษามันอัลลอฮฺจะรักษาเขา ผู้ใดตัดขาดมันอัลลอฮฺจะตัดขาดเขา” (อัล-มุสตัดร็อก อะลัศ เศาะฮีหัยนฺ 4/175 เลขที่ 7274) อิสลามไม่ได้เจาะจงว่าให้เมตตาต่อมนุษย์เท่านั้น ทว่าจะรวมถึงสัตว์ด้วย   ผู้หญิงคนหนึ่งได้เข้านรกเพราะทารุณต่อสัตว์  ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  «عُذِّبَتْ امْرَأَةٌ فِي هِرَّةٍ، حَبَسَتْهَا حَتَّى مَاتَتْ فَدَخَلَتْ فِيهَا النَّارَ، لَا هِيَ أَطْعَمَتْهَا وَلَا سَقَتْهَا إِذْ حَبَسَتْهَا، وَلَا هِيَ تَرَكَتْهَا تَأْكُلُ مِنْ خَشَاشِ الْأَرْضِ» (صحيح البخاري ج3 ص1284 رقم الحديث 3295)“ผู้หญิงคนหนึ่งได้ถูกลงโทษเพราะเเมวที่เขาขังไว้จนตาย แล้วเข้านรก  เธอไม่ได้ให้อาหารมัน  ไม่ให้น้ำมันตลอดเวลาที่กักขังมัน  และไม่ปล่อยมันเพื่อมันจะได้หาอาหารกินเอง” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 3/1284, เลขที่ 3295) ในทางตรงข้าม ความเมตตาต่อสัตว์คือหนทางสู่สวรรค์ได้ ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «بَيْنَا رَجُلٌ بِطَرِيقٍ اشْتَدَّ عَلَيْهِ الْعَطَشُ، فَوَجَدَ بِئْرًا فَنَزَلَ فِيهَا فَشَرِبَ، ثُمَّ خَرَجَ فَإِذَا كَلْبٌ يَلْهَثُ يَأْكُلُ الثَّرَى مِنْ الْعَطَشِ، فَقَالَ الرَّجُلُ لَقَدْ بَلَغَ هَذَا الْكَلْبَ مِنْ الْعَطَشِ مِثْلُ الَّذِي كَانَ بَلَغَ مِنِّي، فَنَزَلَ الْبِئْرَ فَمَلَا خُفَّهُ مَاءً فَسَقَى الْكَلْبَ، فَشَكَرَ اللَّهُ لَهُ، فَغَفَرَ لَهُ، قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّه وَإِنَّ لَنَا فِي الْبَهَائِمِ لَأَجْرًا؟ فَقَالَ فِي كُلِّ ذَاتِ كَبِدٍ رَطْبَةٍ أَجْرٌ» (صحيح البخاري ج 2 ص870 رقم الحديث 2334)ความว่า :  ในขณะที่ชายหนุ่มคนหนึ่งได้เดินบนท้องถนนเขารู้สึกกระหายอย่างแรง  แล้วไปเจอบ่อน้ำแห่งหนึ่ง  เขาจึงลงไปในบ่อแล้วดื่มน้ำ  หลังจากที่เขาปีนขึ้นมาเขาเจอสุนัขตัวหนึ่งแลบลิ้นด้วยความกระหายและเลียดินเปียก  เขากล่าวในใจว่า  แน่นอนหมาตัวนี้กระหายน้ำเหมือนที่ฉันเคยกระหายน้ำ  เขารีบลงไปในบ่อทันทีและเอารองเท้าใส่น้ำแล้วให้สุนัขกิน อัลลอฮฺชมเชยการกระทำของเขาเลยพระองค์ปลดบาปเขา  บรรดาเหล่าสาวกที่ฟังอยู่ถามท่านว่า เราจะได้ผลบุญจากการกระทำดีของเราต่อสัตว์ด้วยหรือ? ท่านตอบว่า ใช่ การทำดีต่อสัตว์มีชีวิตทุกชนิดได้ผลบุญ” (อัล-บุคอรีย์ 2/870 เลขที่ 2334) ที่ผ่านมาคือความเมตตาปรานีที่อิสลามมีต่อสัตว์ ซึ่งเน้นหนักอย่างดี ฉะนั้นการเมตตาของอิสลามที่มีต่อมนุษย์ย่อมมากกว่านั้นอีกในฐานะที่มนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุด  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน﴿وَلَقَدۡكَرَّمۡنَا بَنِيٓ ءَادَمَ وَحَمَلۡنَٰهُمۡ فِي ٱلۡبَرِّ وَٱلۡبَحۡرِ وَرَزَقۡنَٰهُم مِّنَ ٱلطَّيِّبَٰتِ وَفَضَّلۡنَٰهُمۡ عَلَىٰ كَثِيرٖ مِّمَّنۡ خَلَقۡنَا تَفۡضِيلٗا ٧٠﴾ (الإسراء : 70)ความว่า : “และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่” ( อัล-อิสรออ์ 70) ศาสนาที่ไม่มีนักบวช และไม่ได้เน้นแต่ทางโลก                ศาสนาอิสลามไม่มีระบบบวชเป็นพระหรือชีและการตัดขาดทางโลก โดยไม่สนใจหรือไม่ลิ้มรสชาติของสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮฺสร้างมาเพื่อบริการบ่าว ท่านศาสนาทูตของอิสลามกล่าวว่า«  ... لَا تُشَدِّدُوا عَلَى أَنْفُسِكُمْ فَيُشَدَّدَ عَلَيْكُمْ، فَإِنَّ قَوْمًا شَدَّدُوا عَلَى أَنْفُسِهِمْ فَشَدَّدَ اللَّهُ عَلَيْهِمْ، فَتِلْكَ بَقَايَاهُمْ فِي الصَّوَامِعِ وَالدِّيَارِ ﴿وَرَهْبَانِيَّةً ابْتَدَعُوهَا مَا كَتَبْنَاهَا عَلَيْهِمْ ﴾  (الحديد :27)...» (سنن أبي داود  ج4 ص276 رقم الحديث 4904)ความว่า :  “พวกเจ้าอย่าเข้มงวดกับตัวพวกเจ้ามากเกินไป ดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงเข้มงวดกับพวกเจ้าด้วย  แท้จริงแล้วชนกลุ่มหนึ่งได้เคร่งและเข้มงวดกับตัวพวกเขามากเกินไปจนอัลลอฮฺเข้มงวดกับพวกเขา เหล่านั้นคือบรรดาคนที่เหลือให้เห็นอยู่ในโบสถ์และอาศรม  (อัลลอฮฺตรัสว่า)﴿وَرَهْبَانِيَّةً ابْتَدَعُوهَا مَا كَتَبْنَاهَا عَلَيْهِمْ﴾ (الحديد :27)“การบวชเป็นพระหรือชีคือสิ่งที่พวกเขาคิดค้นมาเอง เราไม่ได้บัญญัติให้พวกเขาปฏิบัติแต่อย่างใด (จากสูเราะฮฺ อัล-หะดีด 27)”  (สุนัน อบี ดาวูด 4/276 เลขที่ 4704) ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า«كُلُوا وَاشْرَبُوا وَتَصَدَّقُوا فِيْ غَيْرِ سَرَفٍ وَلَا مَخِيْلَةٍ ،  إِنَّ اللهَ تَعَالى يُحِبُّ أَنْ يَرَىٰ أَثَرَ نِعْمَتِهِ عَلَىٰ عَبْدِهِ » (المستدرك على الصحيحين ج4 ص 150 رقم الحديث 7188)ความว่า :  “พวกเจ้าจงกินและดื่มแล้วจงบริจาคทาน โดยไม่ฟุ่มเฟือยและไม่โอ้อวดกัน แท้จริงแล้วอัลลอฮฺชอบที่จะเห็นร่องรอยนิอฺมัตพระองค์ (สิ่งที่อัลลอฮฺประทานให้บ่าวทั้งมวล) ได้ปรากฏบนตัวบ่าวพระองค์ด้วย“ (อัล-มุสตัดร็อก 4/150 เลขที่ 7188) แต่อิสลามก็ไม่ใช่ศาสนาที่เน้นหนักทางโลกอย่างเดียว ไม่ใช่หมกมุ่นอยู่กับรสชาติและความสนุกสนานในโลกนี้จนเกินขอบเขต ทว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ยึดแนวกลางแบบพอดีๆ  รวบรวมทั้งสองทาง ทางศาสนาและทางโลก ไม่ให้เน้นหนักกับทางหนึ่งแล้วละทิ้งอีกทาง ดังนั้นอิสลามสั่งให้ปฏิบัติต่ออย่างพอเพียงระหว่างร่างกายกับจิตใจ   เมื่อไหร่ที่มุสลิมมัวแต่หมกมุ่นกับทางโลกมากเกินไปอิสลามสอนให้นึกถึงความต้องการด้านจิตใจโดยสั่งให้ทำในสิ่งที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَوٰةِ مِن يَوۡمِ ٱلۡجُمُعَةِ فَٱسۡعَوۡاْ إِلَىٰ ذِكۡرِ ٱللَّهِ وَذَرُواْ ٱلۡبَيۡعَۚ ذَٰلِكُمۡ خَيۡرٞ لَّكُمۡ إِن كُنتُمۡ تَعۡلَمُونَ ٩﴾ (الجمعة : 9)ความว่า : “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีกว่าสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้” (อัล-ญุมุอะฮฺ 9) เมื่อไหร่ที่มุสลิมมัวแต่หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องการทำอิบาดะฮฺ (การงานที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺ ) ก็ให้เขาคำนึงถึงสภาพความต้องการของร่างกายบ้าง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ﴿فَإِذَا قُضِيَتِ ٱلصَّلَوٰةُ فَٱنتَشِرُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَٱبۡتَغُواْ مِن فَضۡلِ ٱللَّهِ وَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ كَثِيرٗا لَّعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ١٠﴾ (الجمعة : 10)ความว่า : “ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อัล-ญุมุอะฮฺ 10) อิสลามได้ยกย่องคนที่ยึดเอาสองลักษณะดังกล่าวข้างต้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿رِجَالٞ لَّا تُلۡهِيهِمۡ تِجَٰرَةٞ وَلَا بَيۡعٌ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِ وَإِقَامِ ٱلصَّلَوٰةِ وَإِيتَآءِ ٱلزَّكَوٰةِ يَخَافُونَ يَوۡمٗا تَتَقَلَّبُ فِيهِ ٱلۡقُلُوبُ وَٱلۡأَبۡصَٰرُ ٣٧﴾ (النور : 37)ความว่า : “บรรดาผู้ที่การค้าและการขายมิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการดำรงละหมาด และการจ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น” (อัน-นูรฺ 37)อิสลามได้นำแนวทางที่พิทักษ์รักษาทั้งร่างกาย  จิตใจ และสมอง ซึ่งต่างก็มีสิทธิของมันโดยไม่มากเกินไป หรือละเลยไป ตามบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า  ดังนั้น ในขณะที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมทุกคนหมั่นตรวจสอบตนเองและไตร่ตรองในสิ่งที่ตัวเองทำไป หรือทุกการกระทำที่ออกมาจากตัวเขา ดังที่อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿فَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٍ خَيۡرٗا يَرَهُۥ ٧  وَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖ شَرّٗا يَرَهُۥ ٨﴾ (الزلزلة : 7-8)ความว่า : “ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน” ( อัล-ซัลซะละฮฺ 7-8)มุสลิมเองก็ไม่ควรละเลยความสุขของร่างกาย ด้วยการแสวงสุขจากสิ่งที่หะลาลและมีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกิน การดื่ม การแต่งกาย และการแต่งงาน  ตามคำสั่งที่อัลลอฮฺตรัสว่า﴿قُلۡ مَنۡ حَرَّمَ زِينَةَ ٱللَّهِ ٱلَّتِيٓ أَخۡرَجَ لِعِبَادِهِۦ وَٱلطَّيِّبَٰتِ مِنَ ٱلرِّزۡقِۚ﴾ (الأعراف : 32)ความว่า : “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า ผู้ใดเล่าที่กำหนดให้เป็นที่ต้องห้าม ซึ่งเครื่องประดับร่างกายของอัลลอฮฺ ที่พระองค์ได้ทรงประทานมันให้กับปวงบ่าวของพระองค์ รวมถึงบรรดาสิ่งดีๆ จากปัจจัยยังชีพด้วย” (อัล-อะอฺรอฟ 32) อิสลามไม่ห้ามนอกจากสิ่งที่เลวและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในทุกด้านอาทิเช่น  ด้านสมอง ด้านร่างกาย สรรพสิ่งเงินทอง หรือสังคม ดังนั้น อิสลามได้สร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ก็เพื่อให้ใช้ในทางที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ และเพื่อให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม บุคคลใดก็ตามย่อมไม่มีสิทธิที่จะทำลายมันเด็ดขาด นอกจากตามสิทธิความชอบธรรมที่อิสลามกำหนด และอัลลอฮฺได้สร้างร่างมาพร้อมจิตวิญญาณอย่างสมบูรณ์เข้ากันได้ดี  จุดประสงค์คือให้จิตวิญญาณทำการภักดีอัลลอฮฺผ่านร่างที่อัลลอฮฺสร้างมา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿لَقَدۡ خَلَقۡنَا ٱلۡإِنسَٰنَ فِيٓ أَحۡسَنِ تَقۡوِيمٖ ٤﴾ (التين : 4)ความว่า : “โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัต-ตีน 4) ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺบังคับให้เราอนุรักษ์ร่างกายและเอาใจใส่มันอย่างดีให้อยู่ในขอบเขตแห่งศาสนา  โดยการปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้ : 1. ทำความสะอาดร่างกาย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلتَّوَّٰبِينَ وَيُحِبُّ ٱلۡمُتَطَهِّرِينَ ٢٢٢﴾ (البقرة : 222)ความว่า : “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 222) ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามสั่งให้อาบน้ำละหมาดทุกครั้งที่ต้องการละหมาด  ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : «لاَ تُقْبَلُ صَلاَةٌ بِغَيْرِ طُهُورٍ، وَلاَ صَدَقَةٌ مِنْ غُلُولٍ» (صحيح مسلم ج1 ص204 رقم الحديث 224)ความว่า “ไม่มีการตอบรับการละหมาดที่ไร้ความสะอาด และไม่มีการตอบรับการบริจาคทานที่มาจากการยักยอกทรัพย์” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/204 เลขที่ 224) เช่นเดียวกัน  อิสลามบังคับให้อาบน้ำหลังการมีเพศสัมพันธ์ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿وَإِن كُنتُمۡ جُنُبٗا فَٱطَّهَّرُواْۚ﴾ (المائدة : 6)ความว่า : “และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ (จะด้วยการสมสู่กับภริยาหรือมีอสุจิหลั่งออกก็ตาม) ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด” (อัล-มาอิดะฮฺ 6) แล้วอิสลามยังสนับสนุนให้มีการอาบน้ำในบางพิธีทางศาสนาเช่น ก่อนละหมาดญุมุอะฮฺ(ละหมาดวันศุกร์) ก่อนละหมาดในวันอีด(ละหมาดในวันรื่นเริงของอิสลามทั้งสอง คือ  อีดิลฟิฏริ  และอีดิลอัฎฮา) และในช่วงทำหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ (เป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งโดยมุ่งไปทำที่ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบีย)  เป็นต้น  2. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เช่น  - การล้างมือ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร  ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  «بَرَكَةُ الطَّعَامِ الْوُضُوءُ قَبْلَهُ وَالْوُضُوءُ بَعْدَهُ» (سنن الترمذي ج4 ص281 رقم الحديث 1846) “ความบะร่อกะฮฺ ( ความจำเริญ ) ของอาหารคือการล้างมือก่อนและหลังกิน”  (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 4/281 เลขที่ 1846)- การทำความสะอาดปากหลังรับประทานอาหาร  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า«مَنْ أَكَلَ فَمَا لَاْكَ بِلِسَانِهِ فَلْيَبْلَعْ وِمَا تَخَلَّلَ فَلْيَلْفَظْ، مَنْ فَعَلَ فَقَدْ أَحْسَنَ، وَمَنْ لَا فَلاَ حَرَجَ» (المستدرك على الصحيحين ج4 ص152 رقم الحديث 7199)"ผู้ใดรับประทานอาหาร อันไหนที่ฟันเคี้ยวได้ก็จงกลืนมันไป อันไหนที่หลงเหลือเเละออกมาจากปากเนื่องจากการเเคะฟันก็จงคายมัน ใครทำถือว่าเป็นการดี ใครไม่ทำถือว่าไม่เป็นไร” (อัล-มุสตัดร็อก 4/152 เลขที่ 719) - เอาใจใส่เรื่องทำความสะอาดฟันและปาก เช่นการใช้สิวาก (ใช้เเปรงสีฟัน) เพราะท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «لَوْلاَ أَنْ أَشُقَّ عَلَى أُمَّتِى لأَمَرْتُهُمْ بِالسِّوَاكِ عِنْدَ كُلِّ صَلاَة» (صحيح  مسلم ج 1 ص 220 رقم الحديث 252) “ถ้าไม่เป็นสร้างความลําบากสำหรับประชาชาติของฉัน ฉันก็จะสั่งให้พวกเขาใช้สิวากทุกครั้งก่อนละหมาด” (มุสลิม 1/220 เลขที่ 7199) - ทำความสะอาดหรือขจัดสิ่งสกปรกที่เป็นต้นเหตุของเชื้อโรค ท่านศาสนาทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  «الْفِطْرَةُ خَمْسٌ، الْخِتَانُ، وَالِاسْتِحْدَادُ، وَنَتْفُ الْإِبْطِ، وَقَصُّ الشَّارِبِ، وَتَقْلِيمُ الْأَظْفَارِ» (صحيح البخاري ج5 ص2320 رقم الحديث 5939)“อัล-ฟิฏเราะฮฺ (สิ่งควรทำตามธรรมชาติของมนุษย์) มีห้าอย่าง หนึ่ง การขลิบปลายองคชาติ สอง การโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ สาม การถอนขนรักเร้  สี่การขลิบหนวด ห้า การตัดเล็บ” (อัล-บุคอรีย์ 5/2320 เลขที่ 5939) 3. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡ وَٱشۡكُرُواْ لِلَّهِ إِن كُنتُمۡ إِيَّاهُ تَعۡبُدُونَ ١٧٢﴾ (البقرة : 172)ความว่า : “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดีๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮฺเถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าเป็นผู้เคารพสักการะ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 172) และควรต้องจำกัดการกินดื่มแต่พอเพียง ไม่กินเยอะเกินขอบเขต ซึ่งมักจะก่อผลเสียต่อร่างกายอย่างชัดเจน ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า﴿وَكُلُواْ وَٱشۡرَبُواْ وَلَا تُسۡرِفُوٓاْۚ إِنَّهُۥ لَا يُحِبُّ ٱلۡمُسۡرِفِينَ﴾ (الأعراف : 31)ความว่า : “จงกินและดื่ม และอย่าได้กินจนเกินเลย แท้จริงอัลลอฮฺไม่ชอบผู้ที่สุรุ่ยสุร่ายเกินเลย” (อัล-อะอฺรอฟ 31)ส่วนวิธีการที่ดีที่สุดในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม คือ ตามที่ท่านศาสนทูตอธิบายว่า«مَا مَلَأَ آدَمِيٌّ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ، حَسْبُكَ يا ابنَ آدَمَ لُقَيْمَاتٌ يُقِمْنَ صُلْبَكَ، فَإِنْ كاَنَ لَا بُدَّ فَثُلُثٌ طَعَامٌ، وَثُلُثٌ شَرَابٌ، وَثُلُثٌ نَفَسٌ» (صحيح ابن حبان ج12 ص41 رقم الحديث 4236)ความว่า : “ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์ใส่อาหารจนเต็มจะเลวร้ายไปกว่าท้องของมนุษย์เอง  เพียงพอเเล้วโอ้มนุษย์เอ๋ย เเค่สองสามคําที่จะทําให้กระดูกสันหลังของท่านเเข็งเเรง  ถ้าหากจําเป็นต้องกินก็ขอให้เเบ่งสามส่วน  หนึ่งส่วนสามสำหรับอาหารของเขา  หนึ่งส่วนสามสําหรับเครื่องดื่มของเขา  เเละหนึ่งส่วนสามสําหรับลมหายใจของเขา”  ( เศาะฮีหฺ อิบนิ หิบบาน 12/41 เลขที่ 4236)  4. ห้ามรับประทานอาหารหรือเสพสิ่งที่สกปรกและไม่บริสุทธิ์ เช่น สัตว์ที่ตายโดยไม่เชือด เลือด สุกร สุรา ยาเสพติด และบุหรี่ ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความปลอดภัยของร่างกายมนุษย์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า ﴿إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَيۡتَةَ وَٱلدَّمَ وَلَحۡمَ ٱلۡخِنزِيرِ وَمَآ أُهِلَّ بِهِۦ لِغَيۡرِ ٱللَّهِۖ فَمَنِ ٱضۡطُرَّ غَيۡرَ بَاغٖ وَلَا عَادٖ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٌ ١٧٣﴾ (البقرة : 173)ความว่า : “แท้จริง ที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นก็คือ สัตว์ที่ตายเอง เลือด เนื้อสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 173)และอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานอีกว่า﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِنَّمَا ٱلۡخَمۡرُ وَٱلۡمَيۡسِرُ وَٱلۡأَنصَابُ وَٱلۡأَزۡلَٰمُ رِجۡسٞ مِّنۡ عَمَلِ ٱلشَّيۡطَٰنِ فَٱجۡتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٩٠ إِنَّمَا يُرِيدُ ٱلشَّيۡطَٰنُ أَن يُوقِعَ بَيۡنَكُمُ ٱلۡعَدَٰوَةَ وَٱلۡبَغۡضَآءَ فِي ٱلۡخَمۡرِ وَٱلۡمَيۡسِرِ وَيَصُدَّكُمۡ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِ وَعَنِ ٱلصَّلَوٰةِۖ فَهَلۡ أَنتُم مُّنتَهُونَ ٩١﴾ (المائدة : 90-91)ความว่า : “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้น เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสีย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ  ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนันเท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการละหมาด ดังนั้น พวกเจ้าจะหยุดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้หรือยังเล่า” (อัล-มาอิดะฮฺ 90-91) 5. เล่นกีฬาที่มีประโยชน์ เช่น มวยปลํ้า ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เเข่งเล่นมวยปลํ้ากันกับสาวกท่านหนึ่งที่ชื่อรุกานะฮฺ ท่านสามารถเอาชนะเขาได้ (ดู อัล-มุสตัดร็อก 3/511 เลขที่ 5903) หรืออาจจะเป็นการเเข่งขันความเร็วหรือความเเข็งแรง รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงได้กล่าวว่า سَابَقَنِي النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَسَبَقْتُهُ، فَلَبِثْنَا حَتَّى إِذَا أَرْهَقَنِي اللَّحْمُ سَابَقَنِي فَسَبَقَنِي فَقَالَ النبي صلى الله عليه وسلم : «هَذِهِ بِتِلْكِ» (صحيح ابن حبان ج10 ص545 رقم الحديث 4691)“ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺมุหัมมัดได้เเข่งวิ่งเร็วกับฉัน แต่ฉันเเซงท่านได้ พอเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จนกระทั่งฉันรู้สึกว่าตัวฉันเริ่มอวบขึ้น ท่านเเข่งวิ่งเร็วกับฉันอีกครั้ง ท่านสามารถเเซงฉันได้ ท่านกล่าวว่า : อันนี้เป็นการเอาคืนกับครั้งที่เเล้ว” (เศาะฮีหฺ  อิบนิ หิบบาน 10/545 เลขที่ 4691) นอกจากนี้ ให้หมั่นเล่นกีฬาอื่นๆ ด้วย อาทิ การว่ายนํ้า ยิงธนู  ขี่ม้า  ได้มีการรายงานจากท่านอุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ เคาะลีฟะฮฺคนที่สองของท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านอุมัรได้กล่าวว่า  “พวกท่านจงสอนลูกๆ ให้เรียนการยิงธนู  การว่ายนํ้า และ การขับขี่ม้า” 6. เยียวยาร่างกายเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นไข้  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า«إِنَّ اللَّهَ أَنْزَلَ الدَّاءَ وَالدَّوَاءَ، وَجَعَلَ لِكُلِّ دَاءٍ دَوَاءً، فَتَدَاوَوْا وَلَا تَدَاوَوْا بِحَرَامٍ» (سنن أبي داود ج4 ص7 رقم الحديث 3874)“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ประทานโรคและยารักษามาด้วย และทรงทำให้แต่ละโรคนั้นมียารักษา  ดังนั้น พวกเจ้าจงรักษาเถิด และอย่ารักษากับสิ่งที่ต้องห้าม” (สุนัน อบี ดาวูด 4/7 เลขที่ 3874) 8. การดูแลสุขภาพจิต อัลลอฮฺสั่งให้กระทำการภักดีต่อพระองค์ ตามที่พระองค์ทรงใช้ให้ทำ ทั้งนี้ เพื่อเป็นอาหารสำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งช่วยขัดเกลาจิตใจให้ออกห่างจากความกังวลใจที่จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า﴿ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَتَطۡمَئِنُّ قُلُوبُهُم بِذِكۡرِ ٱللَّهِۗ أَلَا بِذِكۡرِ ٱللَّهِ تَطۡمَئِنُّ ٱلۡقُلُوبُ ٢٨﴾ (الرعد : 28)ความว่า : “บรรดาผู้ศรัทธาและจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ พึงทราบเถิด! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮนั้นทำให้จิตใจสงบ” (อัร-เราะอฺดุ 28)อิสลามถือว่า การไม่เอาใจใส่ต่อสุขภาพ  ไม่ให้สิทธิแก่มันอย่างพอเพียงไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหาร  การพักผ่อน  การผ่อนคลายทางเพศอย่างถูกต้องตามที่ศาสนากำหนด  เป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น รายงานโดยอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าجَاءَ ثَلَاثَةُ رَهْطٍ إِلَى بُيُوتِ أَزْوَاجِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَسْأَلُونَ عَنْ عِبَادَةِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَلَمَّا أُخْبِرُوا كَأَنَّهُمْ تَقَالُّوهَا، فَقَالُوا وَأَيْنَ نَحْنُ مِنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَدْ غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ، قَالَ أَحَدُهُمْ: أَمَّا أَنَا فَإِنِّي أُصَلِّي اللَّيْلَ أَبَدًا، وَقَالَ آخَرُ : أَنَا أَصُومُ الدَّهْرَ وَلَا أُفْطِرُ، وَقَالَ آخَرُ: أَنَا أَعْتَزِلُ النِّسَاءَ فَلَا أَتَزَوَّجُ أَبَدًا، فَجَاءَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَيْهِمْ فَقَالَ:  «أَنْتُمْ الَّذِينَ قُلْتُمْ كَذَا وَكَذَا، أَمَا وَاللَّهِ إِنِّي لَأَخْشَاكُمْ لِلَّهِ وَأَتْقَاكُمْ لَهُ، لَكِنِّي أَصُومُ وَأُفْطِرُ، وَأُصَلِّي وَأَرْقُدُ، وَأَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، فَمَنْ رَغِبَ عَنْ سُنَّتِي فَلَيْسَ مِنِّي» (صحيح البخاري ج5 ص1949 رقم الحديث 4776)“มีบุคคลสามคนมาที่บ้านภรรยาของท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของท่าน ครั้นเมื่อพวกเขาได้คําตอบ พวกเขาต่างพูดคุยกันประหนึ่งเหมือนว่าอะมัลของท่านนบีที่พวกเขาได้ยินนั้นเป็นงานที่เล็กน้อยมาก พวกเขาจึงพูดว่า พวกเราจะเทียบกับท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อย่างไรกัน เพราะท่านนั้นได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺทั้งที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นในบั้นปลายแล้ว ดังนั้น บุคคลหนึ่งในจำนวนพวกเขากล่าวว่า  ฉันจะละหมาดตลอดคืน อีกคนกล่าวว่า  ฉันจะถือศีลอดตลอดปีจะไม่มีวันไหนที่ฉันไม่ถือศีลอดเป็นอันขาด  คนต่อไปกล่าวว่า ฉันจะไม่เข้าใกล้ผู้หญิงและจะไม่แต่งงานตลอดไป   ทันทีที่ท่านศาสนทูตผ่านมาได้ยิน ท่านกล่าวว่า “พวกท่านได้กล่าวเช่นนั้น  พึงรู้เถิดว่า ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ฉันคือคนที่ยําเกรงต่อพระองค์มากกว่าพวกท่าน แต่ฉันนั้นถือศีลอดแล้วก็ละศีลอด ฉันละหมาดและฉันก็พักผ่อนนอนหลับ  และฉันได้แต่งงาน  ใครก็ตามที่เกลียดชังแบบอย่างของฉัน  ถือว่าเขาไม่ใช่พวกฉัน” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 5/1949 หมายเลข 4776)

المرفقات

2

คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม_(5)
คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม_(5)