البحث

عبارات مقترحة:

الحفي

كلمةُ (الحَفِيِّ) في اللغة هي صفةٌ من الحفاوة، وهي الاهتمامُ...

الحيي

كلمة (الحيي ّ) في اللغة صفة على وزن (فعيل) وهو من الاستحياء الذي...

القاهر

كلمة (القاهر) في اللغة اسم فاعل من القهر، ومعناه الإجبار،...

บางมุมว่าด้วย ซิกรุลลอฮฺ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل الأذكار - الأذكار
รวมอายะฮฺอัลกุรอานที่พูดถึงการซิกรุลลอฮฺ และข้อเท็จจริงที่คนส่วนใหญ่หลงลืม

التفاصيل

เมื่อพูดถึงซิกรุลลอฮฺหลายคนจะนึกถึงถ้อยคำที่เราใช้กล่าวตามวาระและโอกาสต่างๆ เพื่อใช้รำลึกถึงอัลลอฮฺ บางครั้งอาจจะรู้สึกเป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่มีอะไรสลักสำคัญ หรือไม่ก็รู้สึกเหนื่อยหน่ายด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะมันดูเป็นเหมือนพิธีกรรม มีขั้นมีตอนที่น่าอึดอัดและไม่ชวนให้น่าทำ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซิกรุลลอฮฺเสียใหม่ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ซิกรุลลอฮฺ เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าให้ความสำคัญมาก ดังที่มีระบุถึงมากมายในคัมภีร์อัลกุรอานหลายโองการและในวาระต่างๆ ที่หลากหลายอีกด้วย ประการแรก การซิกรุลลอฮฺในข้อเท็จจริงของอัลกุรอานไม่ได้มีรูปแบบเป็นพิธีกรรมแม้แต่น้อย ทว่ามันเป็นเหมือนกิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตของผู้ศรัทธาที่แยกออกจากการดำเนินชีวิตประจำวันของเขาไม่ได้ และเป็นกิจกรรมที่ต้องรวมอยู่ในทุกอิริยาบทตลอดวัน ไม่ใช่เฉพาะบางครั้งบางเวลาหรือบางโอกาสบางสถานที่เท่านั้น ซิกรุลลอฮฺ ตามมุมมองแห่งอัลกุรอานหมายถึงการใช้ชีวิตในทุกอิริยาบทโดยไม่หลงลืมอัลลอฮฺ เพราะในทุกวินาทีที่เราหายใจเข้าออกเราสามารถที่จะรำลึกถึงอัลลอฮฺได้ และนี่คือสิ่งที่ควรต้องเป็น เพราะหนึ่งในคุณลักษณะของผู้ที่จะได้ผลตอบแทนเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่คือผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย เช่นในโองการนี้ إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِ وَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيرًا وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُمْ مَغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا ความว่า "แท้จริงบรรดามุสลิมผู้นอบน้อมทั้งชายและหญิง บรรดามุอ์มินผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่ภักดีทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่กล่าวคำสัตย์ทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่อดทนทั้งชายและหญิง บรรดาผู้นอบน้อมถ่อมตนทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่บริจาคทานทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดทั้งชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายทั้งชายและหญิง อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมสำหรับพวกเขาซึ่งการอภัยโทษ และรางวัลอันใหญ่หลวง" (อัล-อะห์ซาบ : 35)   การรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย ไม่ได้หมายถึงว่าต้องมีจำนวนมากมายเท่านั้น คำว่ามากมายอาจจะแปลได้ว่าบ่อยๆ ตลอดเวลา สม่ำเสมอ โดยไม่ขาด และน่าจะเป็นความหมายที่มีน้ำหนักมากกว่าความหมายแรก เพราะความหมายตามนัยนี้มีระบุหลายที่ในอัลกุรอานเช่น 1. คำสั่งให้ระลึกถึงอัลลอฮฺทุกเช้าเย็น يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اذْكُرُوا اللَّهَ ذِكْرًا كَثِيرًا، وَسَبِّحُوهُ بُكْرَةً وَأَصِيلاً ความว่า "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายเถิด และจงกล่าวตัสบีห์(สดุดีความบริสุทธิ์)ต่อพระองค์ในยามเช้าและเย็น" (อัล-อะห์ซาบ : 41-42)   وَاذْكُرِ اسْمَ رَبِّكَ بُكْرَةً وَأَصِيلاً ความว่า "และจงกล่าวถึงพระนามของผู้อภิบาลแห่งเจ้าในยามเช้าและเย็น" (อัล-อินซาน : 25)   2. ระบุว่าการละหมาดซึ่งเป็นภารกิจหลักของมุสลิมในแต่ละวันนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لا إِلَهَ إِلا أَنَا فَاعْبُدْنِي وَأَقِمِ الصَّلاةَ لِذِكْرِي ความว่า "แท้จริงข้าเท่านั้นคืออัลลอฮฺ ผู้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นจงเคารพภักดีต่อข้าและจงละหมาดเพื่อรำลึกถึงข้า" (ฏอฮา : 14)   3. ให้มีการซิกรุลลอฮฺในวันศุกร์อันเป็นวันที่มีความสำคัญในรอบสัปดาห์ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ، فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ความว่า "โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อใดที่มีการเรียกร้องสู่การละหมาดในวันศุกร์ พวกเจ้าก็จงมุ่งไปสู่การซิกรุลลอฮฺ และจงละทิ้งการซื้อขาย นั่นย่อมดีกว่าถ้าหากพวกเจ้ารู้ ครั้นเมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้วก็จงกระจายไปตามหน้าแผ่นดิน จงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(หาปัจจัยยังชีพ) และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มากเพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ " (อัล-ญุมุอะฮฺ : 9-10)   4. การบำเพ็ญหัจญ์ซึ่งเป็นอะมัลในรอบปีมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นการซิกรุลลอฮฺ وَأَذِّنْ فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ، لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الأنْعَامِ ความว่า "และจงประกาศการทำหัจญ์แก่มวลมนุษย์ พวกเขาจะได้มายังเจ้าด้วยการเดินเท้าและบนสัตว์พาหนะที่มาจากทุกสถานที่อันไกลโพ้น เพื่อให้พวกเขาได้ประจักษ์ถึงสรรพประโยชน์ของพวกเขา และได้กล่าวถึงพระนามของอัลลอฮฺในวันต่างๆ ตามจำนวนที่ทราบกัน(วันตัชรีก)เหนือสัตว์เลี้ยงที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเขา(เวลาที่พวกเขาทำการเชือด)" (อัล-หัจญ์ : 27-28) وَلِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنْسَكًا لِيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الأنْعَامِ ความว่า "และสำหรับทุกประชาชาตินั้น เราได้กำหนดสถานที่เพื่อการบำเพ็ญหัจญ์(คือนครมักกะฮฺ) เพื่อให้พวกเขาได้กล่าวถึงพระนามของอัลลอฮฺเหนือสัตว์เลี้ยงที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเขา(เวลาที่พวกเขาทำการเชือด)" (อัล-หัจญ์ : 34)   وَاذْكُرُوا اللَّهَ فِي أَيَّامٍ مَعْدُودَاتٍ ความว่า "และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺในวันต่างๆ ตามที่ทราบกัน(คือวันตัชรีกในพิธีหัจญ์)" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 203)     5. ให้รำลึกถึงอัลลอฮฺแม้กระทั่งขณะต่อสู้ในสงคราม يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا لَقِيتُمْ فِئَةً فَاثْبُتُوا وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ความว่า "โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อใดพวกเจ้าปะทะกับคู่ต่อสู้ก็จงสู้ให้มั่น และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ" (อัล-อันฟาล : 45)   จะสังเกตได้ว่าการซิกรุลลอฮฺในอัลกุรอานจะมีความหมายรวมอย่างกว้างๆ โดยหมายถึงการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺไม่ว่าจะด้วยวิธีใดหรือคำกล่าวใดก็ตาม และไม่มีการระบุจำนวนว่าควรกล่าวมากน้อยเท่าใด เพียงแต่ให้ใช้ชีวิตในสภาพที่ไม่หลงลืมอัลลอฮฺ สร้างความผูกพันกับพระองค์ทั้งในสถานการณ์ปกติคือ แต่ละวันให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺทุกเช้าเย็น รวมถึงในละหมาดทุกครั้งก็เป็นการซิกรุลลอฮฺ ในรอบสัปดาห์ให้มีการซิกรุลลอฮฺทุกวันศุกร์ ในรอบปีก็ซิกรุลลอฮฺในหัจญ์ เป็นต้น   แม้แต่ในสถานการณ์ตึงเครียดเช่นในยามสงครามก็ยังคงต้องมีการซิกรุลลอฮฺ อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำ จำนวน และลักษณะการกล่าวซิกรุลลอฮฺ จะมีระบุอย่างละเอียดในซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งกล่าวได้ว่าซุนนะฮฺของท่านคือตัวอธิบายโองการอัลกุรอานเหล่านั้น ซึ่งเป็นปกติวิสัยอยู่แล้วที่ซุนนะฮฺมักจะทำหน้าที่ในการอธิบายอัลกุรอานในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เฉพาะเกี่ยวกับซิกรุลลอฮฺเท่านั้น ประการสำคัญที่ควรต้องเน้น ณ ที่นี้ก็คือ อัลกุรอานให้ความสำคัญกับซิกรุลลอฮฺอย่างยิ่งยวดในระดับหลักการเลยทีเดียว และเป็นการคิดที่ผิดถนัดถ้าหากจะให้ความหมายการซิกรุลลอฮฺว่ามีความสำคัญเป็นเพียงแค่ศาสนกิจหนึ่งเหมือนกับอะมัลปกติทั่วๆ ไป มีโองการในอัลกุรอานที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ซิกรุลลอฮฺ ควรต้องรวมอยู่ในทุกอิริยาบทของเรา คือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضِ وَاخْتِلافِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ لآيَاتٍ لأولِي الألْبَابِ، الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللَّهَ قِيَامًا وَقُعُودًا وَعَلَى جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذَا بَاطِلا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ ความว่า "แท้จริงแล้ว ในการสรรค์สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการสับเปลี่ยนหมุนเวียนของกลางคืนและกลางวันนั้น ย่อมเป็นเครื่องหมายแก่บรรดาผู้มีหัวใจ คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในยามยืน ยามนั่ง และยามที่พวกเขาวางลำตัว(ยามนอน) และพวกเขาคิดใคร่ครวญในการสรรค์สร้างของชั้นฟ้าและแผ่นดิน (กระทั่งได้กล่าวออกมาว่า)โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา พระองค์มิได้สร้างสิ่งนี้มาอย่างเท็จ(สูญเปล่าหรือไร้ความหมาย) มหาบริสุทธ์เถิดพระองค์ ขอพระองค์ทรงปกป้องเราจากไฟนรกด้วยเถิด" (อาล อิมรอน : 190-191)   อายะฮฺนี้บอกถึงคุณลักษณะของผู้ที่มีหัวใจใคร่ครวญไว้ชัดเจนว่า ไม่ว่าจะยืนนั่งนอน เขาก็เป็นผู้ที่ผูกพันกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ อัลลอฮฺยังได้กล่าวเตือนถึงผู้ที่ไม่ยอมซิกรุลลอฮฺ ผู้ที่หลงลืม และผู้ที่ไม่รำลึกถึงพระองค์อย่างสม่ำเสมอ ว่าอาจจะเป็นพวกหัวใจแข็งกระด้าง เป็นพวกมุนาฟิก หรือพวกที่มีศรัทธาไม่มั่นคงนั่นเอง เช่นในโองการเหล่านี้ فَوَيْلٌ لِلْقَاسِيَةِ قُلُوبُهُمْ مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ أُولَئِكَ فِي ضَلالٍ مُبِينٍ ความว่า "ดังนั้น ความหายนะจงประสบแก่ผู้ที่หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พวกเขาเหล่านั้นอยู่ในความหลงทางอันชัดเจน" (อัซ-ซุมัร : 22)   يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُلْهِكُمْ أَمْوَالُكُمْ وَلا أَوْلادُكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَمَنْ يَفْعَلْ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ ความว่า "โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าได้ปล่อยให้ทรัพย์สมบัติและลูกหลานของพวกเจ้าเป็นเหตุทำให้พวกเจ้าหลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ใครที่ทำเช่นนั้นแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้ขาดทุน" (อัล-มุนาฟิกูน : 9)   إِنَّ الْمُنَافِقِينَ يُخَادِعُونَ اللَّهَ وَهُوَ خَادِعُهُمْ وَإِذَا قَامُوا إِلَى الصَّلاةِ قَامُوا كُسَالَى يُرَاءُونَ النَّاسَ وَلا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلاَّ قَلِيلاً ความว่า "แท้จริงบรรดามุนาฟิกูน(ชนผู้สับปลับ)นั้น พวกเขาได้หลอกลวงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงลวงพวกเขา และเมื่อพวกเขาลุกขึ้นละหมาดก็จะลุกยืนอย่างผู้เกียจคร้านโดยปฏิบัติไปเพื่อแสร้งให้คนดู และพวกเขาจะไม่รำลึกถึงอัลลอฮฺเว้นแต่นิดเดียวเท่านั้น" (อัน-นิสาอ์ : 142)   ในประเด็นเกี่ยวกับคุณค่าของการซิกรุลลอฮฺนั้น มันมีผลที่ใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้ศรัทธา โดยเฉพาะในด้านความมั่นคงทางจิตใจ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า الَّذِينَ آمَنُوا وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُمْ بِذِكْرِ اللَّهِ أَلا بِذِكْرِ اللَّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوبُ ความว่า "คือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย และหัวใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงรู้เถิดว่า ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺนั้นหัวใจทั้งหลายจะสงบ" (อัร-เราะอฺดุ : 28)   การซิกรุลลอฮฺยังสามารถนำไปสู่การเพิ่มความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเกรงขามต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ในที่สุดก็จะนำไปสู่การยอมศิโรราบและพึ่งพิงต่อพระองค์เพียงผู้เดียว และนั่นย่อมเป็นเหตุแห่งการรอดพ้นจากไฟนรกและได้รับความสำเร็จในวิมานแห่งสวรรค์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เล่าถึงหนึ่งในจำนวนผู้ที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺว่า "...และชายผู้หนึ่งที่รำลึกถึงอัลลอฮฺเพียงลำพัง แล้วตาทั้งสองของเขาก็หลั่งน้ำตาออกมา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 6114 และมุสลิม 1031) การกล่าวยอมรับอย่างสุดซึ้งดังที่ระบุในอายะฮฺข้างต้นว่า رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذَا بَاطِلا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ ความว่า "โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา พระองค์มิได้สร้างสิ่งนี้มาอย่างเท็จ(สูญเปล่าหรือไร้ความหมาย) มหาบริสุทธ์เถิดพระองค์ ขอพระองค์ทรงปกป้องเราจากไฟนรกด้วยเถิด" (อาล อิมรอน : 190-191) เหล่านี้ก็ล้วนเป็นผลลัพธ์มาจากการซิกรุลลอฮฺ ด้วยการประสมกับการใคร่ครวญถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺนั่นเอง ที่สำคัญที่สุด การซิกรุลลออฮฺอย่างสม่ำเสมอเป็นเครื่องหมายว่าเราผูกพันกับพระองค์ ศรัทธาต่อพระองค์โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นหัวใจของการศรัทธาที่จะนำไปสู่การยอมรับบทบัญญัติอื่นๆ ของพระองค์มาปฏิบัติใช้ ความหมายของการซิกรุลลอฮฺจึงมีมากกว่าการกล่าวด้วยถ้อยคำเพียงอย่างเดียว หากแต่มันหมายถึงการยอมรับโดยดุษฎีต่อผู้ที่เรากล่าวถึงเขา นั่นคือเอกองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งด้วยความกรุณาและเปี่ยมด้วยเดชานุภาพ ด้วยเหตุนี้ หากมีสิ่งใดที่ควรจะเป็นนิสัยติดตัวที่ดีสำหรับเราทั้งหลาย สิ่งนั้นก็ควรจะเป็นการทำให้ลิ้นเปียกชุ่มด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างเป็นนิจ ในทุกอิริยาบทและทุกกาลเทศะ เพราะนั่นคือความหมายที่แท้จริงของ "การซิกรุลลอฮฺอย่างมากมาย" ตามที่มีระบุในอัลกุรอาน และนั่นยังเป็นคำสั่งเสียที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งแก่เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งที่ได้ถามท่านว่า "แท้จริงแล้วบทบัญญัติแห่งอิสลามมีมากมายเหลือเกินสำหรับเรา ท่านจะบอกได้ไหมว่าอะไรที่ฉันควรปฏิบัติยึดมั่นกับมันไว้?" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า "จงทำให้ลิ้นของท่านเปียกชุ่มอยู่เสมอด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ" (อะห์มัด 17734, อิบนุ อบี ชัยบะฮฺ 29453, อัล-บัยฮะกีย์ ใน อัล-กุบรอ 6318) จึงควรอย่างยิ่งที่ต้องรู้ให้ซึ้งว่าอะไรคือ ซิกรุลลอฮฺ และสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างไร ให้เป็นนิสัยติดตัวที่แยกไม่ออกจากชีวิตจิตใจของเราตลอดไป ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก.