البحث

عبارات مقترحة:

المتعالي

كلمة المتعالي في اللغة اسم فاعل من الفعل (تعالى)، واسم الله...

الرءوف

كلمةُ (الرَّؤُوف) في اللغة صيغةُ مبالغة من (الرأفةِ)، وهي أرَقُّ...

القابض

كلمة (القابض) في اللغة اسم فاعل من القَبْض، وهو أخذ الشيء، وهو ضد...

มารยาทในตลาด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الآداب - آداب السوق - آداب الطريق
สิทธิของท้องถนน หรือ หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อท้องถนน - การขจัดสิ่งที่เป็นภัยอันตรายออกจากท้องถนน - ไม่ถ่มน้ำลายไปทางกิบลัต ไม่ว่าจะลงสู่ถนนหรืออื่นๆ - คำนึงถึงความเหมาะสมของสัตว์พาหนะในยามเดินทาง และไม่หยุดพักบนท้องถนนในเวลากลางคืน. การมีน้ำใจในการซื้อขาย - การชำระหนี้ตามกำหนดสัญญา - การให้โอกาสแก่ลูกค้าที่ยากจนและไม่เข้มงวดต่อพวกเขา - ไม่ซื้อขายในเวลาละหมาด - การซื่อสัตย์ในทุกสภาวะ - หลีกเลี่ยงจากการชอบสาบาน. หลีกเลี่ยงการค้าขายหรือธุระกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต้องห้ามและน่ารังเกียจทุกประเภท - ไม่ฉ้อโกงและโกหก - ไม่กักตุนสินค้า.

التفاصيل

§ สิทธิของท้องถนน หรือ หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อท้องถนน 1. มีรายงานจากอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «إِيَّاكُمْ وَالْجُلُوسَ بِالطُّرُقَاتِ»، فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا لَنَا مِنْ مَجَالِسِنَا بُدٌّ نَتَحَدَّثُ فِيهَا، فَقَالَ: «فَإِذَا أَبَيْتُمْ إِلاَّ الْمَجْلِسَ فَأَعْطُوا الطَّرِيقَ حَقَّهُ»، قَالُوا: وَمَا حَقُّ الطَّرِيقِ يَا رَسُولَ اللَّهِ؟، قَالَ: «غَضُّ الْبَصَرِ، وَكَفُّ الأَذَى، وَرَدُّ السَّلاَمِ، وَالأَمْرُ بِالْمَعْرُوفِ، وَالنَّهْىُ عَنِ الْمُنْكَرِ» (متفق عليه) ความว่า : “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงการนั่งตามท้องถนน" พวกเขาเลยถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พวกเราจำเป็นต้องนั่งพูดคุยกันที่นั่น" ท่านเลยตอบว่า “เมื่อพวกท่านหลีกเลี่ยงไม่ได้ พวกท่านก็จงให้สิทธิแก่ท้องถนน" พวกเขาถามว่า “สิทธิของท้องถนนคืออะไรกันล่ะ โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ?" ท่านตอบว่า “คือ การลดสายตาลงต่ำ การงดการก่อกวน/เบียดเบียน (ผู้อื่น) การกล่าวตอบสลาม และการกำชับให้ทำความดีและห้ามปรามการกระทำชั่ว" (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ, บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6229 และมุสลิม หมายเลข 2121) 2. และในสำนวนหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «اجْتَنِبُوا مَجَالِسَ الصُّعُدَاتِ». فَقُلْنَا: إِنَّمَا قَعَدْنَا لِغَيْرِ مَا بَأْسٍ، قَعَدْنَا نَتَذَاكَرُ وَنَتَحَدَّثُ. قَالَ: «إِمَّا لاَ، فَأَدُّوا حَقَّهَا: غَضُّ الْبَصَرِ، وَرَدُّ السَّلاَمِ، وَحُسْنُ الْكَلاَمِ». (أخرجه مسلم) ความว่า : “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงการจับกลุ่มกันตามท้องถนน" พวกเราเลยบอกว่า “เราเพียงนั่งเฉยๆ เรานั่งแลกเปลี่ยนความรู้และพูดจากันเท่านั้นเอง" ท่านเลยกล่าวว่า “ถ้าหากไม่ (อาจหลีกเลี่ยงจากมัน) ก็จงปฏิบัติหน้าที่ต่อมัน คือ ลดสายตาลงต่ำ กล่าวตอบสลาม และพูดจาในสิ่งที่ดี" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2161) 3.และในอีกสำนวนหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «وَتُغِيثُوا الْمَلْهُوفَ، وَتَهْدُوا الضَّالَّ». (أخرجه أبو داود) ความว่า : “พวกท่านจงช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ และชี้แนะคนหลงทาง" (เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4817, เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 4032) § การขจัดสิ่งที่เป็นภัยอันตรายออกจากท้องถนน มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : « لَقَدْ رَأَيْتُ رَجُلاً يَتَقَلَّبُ فِى الْجَنَّةِ فِى شَجَرَةٍ قَطَعَهَا مِنْ ظَهْرِ الطَّرِيقِ كَانَتْ تُؤْذِى النَّاسَ ». (متفق عليه) ความว่า : “ฉันเห็นชายคนหนึ่งวนเวียนไปมาอยู่ในสวรรค์ด้วย (ผลบุญจาก) การตัดต้นไม้ต้นหนึ่งออกจากท้องถนน ซึ่งได้กีดขวางการสัญจรของผู้คน“ (มุตตะฟัก, อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 652 และมุสลิมตามสำนวนนี้ ในกิตาบอัลบิร หมายเลข 1914) § ไม่ถ่มน้ำลายไปทางกิบลัต ไม่ว่าจะลงสู่ถนนหรืออื่นๆ มีรายงานจากหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «مَنْ تَفَلَ تُجَاهَ الْقِبْلَةِ جَاءَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ تَفْلُهُ بَيْنَ عَيْنَيْهِ...» (أخرجه ابن خزيمة وأبو داود) ความว่า : “ผู้ใดถ่มน้ำลายไปทางทิศกิบลัต เขาจะปรากฏตัวในวันกิยามัตในสภาพที่น้ำลายของเขากองอยู่ (บนใบหน้า)ระหว่างสองดวงตาของเขา" (เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอิบนุคุซัยมะฮฺ หมายเลข 1314 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 222 และบันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3824 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3239) § คำนึงถึงความเหมาะสมของสัตว์พาหนะในยามเดินทาง และไม่หยุดพักบนท้องถนนในเวลากลางคืน จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «إِذَا سَافَرْتُمْ فِى الْخِصْبِ، فَأَعْطُوا الإِبِلَ حَظَّهَا مِنَ الأَرْضِ، وَإِذَا سَافَرْتُمْ فِى السَّنَةِ، فَأَسْرِعُوا عَلَيْهَا السَّيْرَ، وَإِذَا عَرَّسْتُمْ بِاللَّيْلِ، فَاجْتَنِبُوا الطَّرِيقَ، فَإِنَّهَا مَأْوَى الْهَوَامِّ بِاللَّيْلِ». (أخرجه مسلم) ความว่า : “เมื่อพวกท่านเดินทางผ่านในทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์ ก็จงให้อูฐได้รับส่วนแบ่งของมันจากแผ่นดิน (ด้วยการปล่อยให้มันได้พักกินอาหาร) และเมื่อพวกท่านเดินทางในฤดูแล้ง ก็จงให้มันเร่งรีบเดินทาง และเมื่อพวกท่านจะหยุดพักผ่อนในเวลากลางคืน ก็จงหลีกห่างจากท้องถนน เพราะมันเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายต่างๆ ในยามค่ำคืน" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1926. § การมีน้ำใจในการซื้อขาย มีรายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «رَحِمَ اللَّهُ رَجُلاً سَمْحًا إِذَا بَاعَ، وَإِذَا اشْتَرَى، وَإِذَا اقْتَضَى». (أخرجه البخاري) ความว่า : “อัลลอฮฺทรงปรานีต่อชายคนหนึ่งในความเรียบง่าย (มีน้ำใจ) เมื่อเขาขาย เมื่อเขาซื้อ และเมื่อเขาทวงหนี้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2076) § การชำระหนี้ตามกำหนดสัญญา มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «مَطْلُ الْغَنِىِّ ظُلْمٌ، فَإِذَا أُتْبِعَ أَحَدُكُمْ عَلَى مَلِىٍّ فَلْيَتْبَعْ». (متفق عليه) ความว่า : “การเบี้ยวหนี้หรือการถ่วงเวลาชำระหนี้ของผู้ที่มีทรัพย์สิน ถือเป็นอธรรมประเภทหนึ่ง ดังนั้น เมื่อพวกท่านคนใดถึงกำหนดต้องชำระหนี้ในขณะที่มีสินทรัพย์ เขาก็จงชำระทันที" (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ, บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2287 และมุสลิม หมายเลข 1564) § การให้โอกาสแก่ลูกค้าที่ยากจนและไม่เข้มงวดต่อพวกเขา มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า : «كَانَ تَاجِرٌ يُدَايِنُ النَّاسَ، فَإِذَا رَأَى مُعْسِرًا قَالَ لِفِتْيَانِهِ: تَجَاوَزُوا عَنْهُ، لَعَلَّ اللَّهَ أَنْ يَتَجَاوَزَ عَنَّا، فَتَجَاوَزَ اللَّهُ عَنْهُ». (متفق عليه) ความว่า : “มีพ่อค้าคนหนึ่งเขาชอบให้สินเชื่อแก่ผู้คน เมื่อเขาเห็นลูกค้าที่ลำบาก เขาจะกล่าวแก่บรรดาคนงานของเขาว่า “จงอย่าเข้มงวดกับเขา เผื่อว่าอัลลอฮฺจะได้ไม่เข้มงวดกับเรา" ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่เข้มงวดกับเขา" (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ, บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2078 และมุสลิม หมายเลข 1562) § ไม่ซื้อขายในเวลาละหมาด อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า : «يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسَعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ، فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الْأَرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيراً لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ» (سورة الجمعة: 9-10) ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อาซาน) สู่การละหมาดในวันศุกร์ ก็จงเร่งรีบสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับสูเจ้า หากสูเจ้ารู้ ครั้นเมื่อการละหมาดได้ถูกกระทำสิ้นสุดลง สูเจ้าก็จงแยกย้ายไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มากๆ เผื่อว่าสูเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-ญุมอัต : 9-10) § การซื่อสัตย์ในทุกสภาวะ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า : «وَيْلٌ لِلْمُطَفِّفِينَ، الَّذِينَ إِذَا اكْتَالُوا عَلَى النَّاسِ يَسْتَوْفُونَ، وَإِذَا كَالُوهُمْ أَوْ وَزَنُوهُمْ يُخْسِرُونَ، أَلا يَظُنُّ أُولَئِكَ أَنَّهُمْ مَبْعُوثُونَ، لِيَوْمٍ عَظِيمٍ، يَوْمَ يَقُومُ النَّاسُ لِرَبِّ الْعَالَمِينَ» (سورة المطففين :1-٦) ความว่า : ความหายนะจงประสบแด่บรรดาผู้คดโกง (การตวงชั่ง) คือบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาตวงชั่งเอาจากคนอื่นพวกเขาก็จะตวงเอาเต็ม แต่เมื่อพวกเขาตวงชั่งให้แก่คนอื่น พวกเขาก็จะทำให้ขาด ชนเหล่านั้นมิได้คิดบ้างหรือว่าพวกเขาจะต้องถูกฟื้นคืนชีพใหม่ สำหรับวันอันยิ่งใหญ่ วันที่มนุษย์ทั้งหมดจะลุกขึ้นยืนต่อหน้าพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน : 1-6) § หลีกเลี่ยงจากการชอบสาบาน จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ «الْحَلِفُ مَنْفَقَةٌ لِلسِّلْعَةِ، مَمْحَقَةٌ لِلرِّبْحِ». (متفق عليه) ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “การสาบานนั้นจะทำให้สินค้าหมดไป(แต่)จะทำกำไรขาดหาย" (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ, บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2087 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 1606) § หลีกเลี่ยงการค้าขายหรือธุระกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต้องห้ามและน่ารังเกียจทุกประเภท 1. อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า : «وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبا» (البقرة : 275) ความว่า : และอัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติ (กำไรจาก) การค้าขายและทรงห้าม (การกิน) ดอกเบี้ย (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 275) 2.อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า : «يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنْصَابُ وَالْأَزْلامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ» (سورة المائدة: 90) ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-มาอิดะฮฺ : 90) 3. อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า : «وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَائِثَ» (سورة الأعراف: من الآية 157) ความว่า : และท่าน(รอซูล)ได้อนุมัติสิ่งดี ๆ แก่พวกเขา และได้ห้ามสิ่งที่น่ารังเกียจ (อัล-อะร็อฟ : 157) § ไม่ฉ้อโกงและโกหก 1. อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่า : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- مَرَّ عَلَى صُبْرَةِ طَعَامٍ، فَأَدْخَلَ يَدَهُ فِيهَا، فَنَالَتْ أَصَابِعُهُ بَلَلاً، فَقَالَ: «مَا هَذَا يَا صَاحِبَ الطَّعَامِ». قَالَ: أَصَابَتْهُ السَّمَاءُ يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ: «أَفَلاَ جَعَلْتَهُ فَوْقَ الطَّعَامِ كَىْ يَرَاهُ النَّاسُ؟ مَنْ غَشَّ فَلَيْسَ مِنِّى». أخرجه مسلم ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แวะผ่านอาหารกองหนึ่งที่ยังไม่ได้ชั่งหรือตวง แล้วท่านก็สอดมือเข้าไปข้างใน ปรากฏว่านิ้วของท่านได้สัมผัสกับความเปียกชื้นของอาหาร ท่านจึงถามว่า “อะไรกันนี่ โอ้ เจ้าของอาหาร !? “ เขาตอบว่า “มันโดนน้ำฝน โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ !" ท่านจึงถามว่า “แล้วทำไมท่านไม่ตั้งมันให้อยู่ด้านบนของอาหารล่ะเพื่อให้คนอื่นได้มองเห็นมัน? ผู้ใดที่ฉ้อโกง เขาไม่ใช่พวกของฉัน" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 102 หมวดหมู่เนื้อหา: มารยาทต่างๆ มารยาทต่างๆ มารยาทในตลาด มารยาทต่างๆ มารยาทบนท้องถนนและในตลาด การ์ดบทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา (7) ไทย อาหรับ - عربي เบ็งกอล - বাংলা มาลายาลัม - മലയാളം บอสเนีย - Bosanski อุซเบก - Ўзбек тили อังกฤษ - English กรุณาเขียนความคิดเห็นถึงผู้ดูแล ส่งให้เพื่อน กรุณาเขียนความคิดเห็นถึงผู้ดูแล #lafeta_area {} .lafeta {} .lafeta img { width: 100%; background: #fff; padding: 10px; box-shadow: 5px 5px 8px #ccc; } function loadLafeta(area) { $.get("https://lafetat.islamhouse.com/api/lafetat/" + area.id + "/th").done(function (res) { if (!res.data || !res.data.image) return; var $a = $("#" + area.html_id + " a").first(); $a.attr("href", res.data.link); $a.off("click"); $a.on("click", function (e) { e.preventDefault(); e.stopPropagation(); $.get("https://lafetat.islamhouse.com/api/lafetat/click/" + res.data .id, function () { window.location.href = res.data.link; }); }); $("#" + area.html_id + " img").first().attr('src', res.data.image); $("#lafeta_area").removeClass("hidden"); }); } window.addEventListener('load', function () { loadLafeta({ "id": 3, "html_id": "lafeta_1" }); loadLafeta({ "id": 4, "html_id": "lafeta_2" }); }, false);