البحث

عبارات مقترحة:

المؤخر

كلمة (المؤخِّر) في اللغة اسم فاعل من التأخير، وهو نقيض التقديم،...

الحي

كلمة (الحَيِّ) في اللغة صفةٌ مشبَّهة للموصوف بالحياة، وهي ضد...

الطيب

كلمة الطيب في اللغة صيغة مبالغة من الطيب الذي هو عكس الخبث، واسم...

หุก่มการร่วมวันวาเลนไทน์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อิบบรอเฮง อาลฮูเซน ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الأعياد الممنوعة - عيد الحب
คำถาม : วันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) มีหุก่มว่าอย่างไร? อธิบายหุก่มการร่วมเฉลิมฉลองวันแห่งความรัก จากฟัตวาของอุละมาอ์ พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ

التفاصيل

คำถาม : วันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) มีหุก่มว่าอย่างไร?   คำตอบ : หนึ่ง : วันแห่งความรักเป็นวัฒนธรรมของชาวโรมันโบราณ ซึ่งได้ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงสมัยที่ชาวโรมันได้หันมานับถือศาสนาคริสต์ วันดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับนักบวชผู้ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งมีชื่อว่า วาเลนไทน์ ซึ่งผู้นี้ได้มีคำตัดสินให้ประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 270 คริสต์ศักราช วันแห่งความรักดังกล่าวเป็นวันที่บรรดาผู้ไม่ใช่มุสลิมเฉลิมฉลองและถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมีการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีงามระหว่างหญิงชายจนถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ สอง : ไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดร่วมในวันรื่นเริงใดๆ ของผู้ไม่ใช่มุสลิมแม้จะด้วยวิธีใดก็ตาม เพราะเหตุที่ว่าวันรื่นเริ่งเป็นพิธีการที่บัญญัติไว้โดยศาสนาจำเป็นที่จะต้องยึดตามหลักฐานที่มาจากอัลกุรอานและหะดีษเท่านั้น             ท่านอิบนุ ตัยมิยยะฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า "วันอีดหรือวันรื่นเริงใดๆ นั้นถือเป็นศาสนบัญญัติ แนวพิธีการ หรืออิบาดะฮฺอย่างหนึ่งที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้กล่าวไว้ว่า   لِكُلٍّ جَعَلْنَا مِنكُمْ شِرْعَةً وَمِنْهَاجاً  (المائدة : 48 ) ความว่า "สำหรับแต่ละประชาชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทางไว้" (อัลมาอิดะฮฺ : 48)  لِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنسَكاً هُمْ نَاسِكُوهُ  (الحج : 67 ) ความว่า "สำหรับทุกๆ ประชาชาติเราได้กำหนดพิธีทางศาสนาขึ้นโดยที่พวกเขาปฏิบัติพิธีนั้น..." (อัลหัจญ์ : 67)               "ซึ่งเป็นเสมือนกับสัญลักษณ์ทางศาสนาอื่นๆ เช่นกิบละฮฺ การละหมาด หรือการถือศีลอด ไม่มีความแตกต่างระหว่างการเข้าร่วมกับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในวันรื่นเริงหรือการเข้าร่วมในพิธีการอื่นๆ ทางศาสนาของพวกเขา แท้จริงการยอมรับในวันรื่นเริงทั้งหมดของพวกเขาก็เป็นการยอมรับต่อการฝ่าฝืน(กุฟร์)ทั้งหมด และการยอมรับในวันรื่นเริงเพียงบางส่วนก็เป็นการยอมรับในบางส่วนของการฝ่าฝืนนั้น และยิ่งกว่านั้นวันรื่นเริงถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่เจาะจงยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดในจำนวนสัญลักษณ์ทางศาสนา และยังเป็นสิ่งที่ปรากฏเด่นชัดกว่าสิ่งอื่นใดในศาสนาอีกด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้นการยอมรับวันรื่นเริงใดๆ ก็ถือเป็นการยอมรับในวัฒนธรรมที่เจาะจงยิ่งและที่ปรากฏเด่นชัดกว่าสิ่งอื่นใดในจำนวนสัญลักษณ์ทางศาสนา จึงไม่เป็นที่สงสัยอีกว่า การยอมรับในเรื่องนี้จะนำไปสู่คุณสมบัติของการฝ่าฝืนโดยภาพรวมในที่สุด             "โดยหลักแล้ว อย่างน้อยที่สุดการเข้าร่วมก็เป็นการกระทำบาป คำกล่าวข้างต้นนี้ท่านนบี ศอลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ชี้ว่า "แท้ที่จริงแล้วทุกๆชนชาติจะมีอีดเป็นของตนเอง และนี่คืออีดของพวกเรา"  การร่วมวันรื่นเริงเช่นนี้ร้ายแรงกว่าการสวมใส่เสื้อผ้าอัซซุนารฺ (เสื้อผ้าอัซซุนารฺเป็นเสื้อผ้าเฉพาะที่ผู้ไม่ใช่มุสลิมสวมใส่เป็นเอกลักษณ์) หรืออื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของพวกเขา ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งที่คิดประดิษฐ์กันขึ้นมาและไม่ใช่เป็นวิถีปฏิบัติที่มาจากศาสนา หากแต่มีเป้าหมายเพียงแค่เพื่อการแยกแยะระหว่างผู้ที่เป็นมุสลิมและผู้ไม่ใช่มุสลิมเท่านั้น  แต่ทว่าวันรื่นเริงเฉลิมฉลองและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันดังกล่าวนั้นเป็นวิถีปฏิบัติส่วนหนึ่งทางศาสนา ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าไม่พอพระทัยทั้งตัวของมันเองและผู้ที่เฉลิมฉลองมันด้วย ดังนั้นการยอมรับในสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาเป็นสาเหตุไปสู่ความโกรธกริ้วและการลงโทษจากพระองค์อัลลอฮฺ” (ดู อิกติฎออุ อัศศิรอฏิ อัลมุสตะกีม, เล่ม 1 หน้า 207)                 ท่าน อิบนุ ตัยมิยะฮฺได้กล่าวอีกว่า “ไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดลอกเลียนแบบผู้ไม่ใช่มุสลิมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับวันรื่นเริงของพวกเขา แม้จะในเรื่องอาหารการกิน การอาบน้ำชำระร่างกาย การก่อไฟ การงดเว้นในสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำในชีวิตประวันหรือในเรื่องที่เกี่ยวกับอิบาดะฮฺอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสิ่งใดก็ตาม ไม่อนุญาตให้จัดงาน เลี้ยงฉลองหรือการให้ของขวัญ การขายสิ่งของใดๆ เพื่อใช้ในวันดังกล่าว หรือการให้เด็กๆ ละเล่นใดๆ หรือประดับประดาอย่างสวยงามเพื่อวันดังกล่าว สรุปแล้ว ไม่อนุญาตให้มุสลิมมีการเน้นเป็นพิเศษในวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิมด้วยสิ่งใดก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ของวันดังกล่าว หากแต่ว่า วันดังกล่าวเป็นเพียงวันธรรมดาทั่วไปสำหรับมุสลิม โดยไม่มีการเน้นอะไรที่แปลกออกไปจากวันอื่นๆ” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 25 หน้า 329)                 อัลหาฟิซ อัซซะฮะบีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “หากว่าสำหรับชาวนะศอรอ(ชาวคริสต์)มีวันรื่นเริงสำหรับพวกเขา สำหรับชาวยิวก็มีรื่นเริงสำหรับพวกเขา พวกเขาเหล่านั้นมีไว้เฉพาะสำหรับวันรื่นเริงเหล่านั้น  ดังนั้นมุสลิมจึงไม่มีการร่วมในวันรื่นเริงกับพวกเขา ดังเช่นที่มุสลิมไม่ได้ร่วมในศาสนบัญญัติต่างๆ และกิบละฮฺของพวกเขา” (ตะชับบุฮุ อัลเคาะสีส บิอะฮฺลิ อัลเคาะมีส, เล่มที่ 4 หน้าที่ 193 ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร อัลหิกมะฮฺ ฉบับที่ 4 หน้า 193)                 หะดีษที่อิบนุตัยมียะฮฺได้ยกอ้างนั้น เป็นหะดีษที่บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ หมายเลขที่ 952 และอิมามมุสลิม หมายเลขที่ 892 จากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮาได้กล่าวว่า دَخَلَ أَبُو بَكْرٍ وَعِنْدِي جَارِيَتَانِ مِنْ جَوَارِي الأَنْصَارِ تُغَنِّيَانِ بِمَا تَقَاوَلَتْ الأَنْصَارُ يَوْمَ بُعَاثَ ، قَالَتْ : وَلَيْسَتَا بِمُغَنِّيَتَيْنِ ، فَقَالَ أَبُو : بَكْرٍ أَمَزَامِيرُ الشَّيْطَانِ فِي بَيْتِ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ! وَذَلِكَ فِي يَوْمِ عِيدٍ ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ :    ( يَا أَبَا بَكْرٍ إِنَّ لِكُلِّ قَوْمٍ عِيدًا وَهَذَا عِيدُنَا ). ความว่า อบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้เข้ามาในบ้านฉัน ในขณะที่ตอนนั้นมีทาสหญิงของชาวอันศอรฺสองคนกำลังร้องรำทำเพลงเป็นทำนองที่ชาวอันศอรฺร้องกันในวันบุอาษ (วันที่เผ่าเอาซ์และค็อซรอจญ์ทำสงครามในอดีต) อาอิชะฮฺได้บอกว่า ทั้งสองคนมิได้เป็นนักร้องเพลงแต่อย่างใด(คือไม่ได้ร้องประจำเป็นกิจวัตรหรือเป็นการเป็นงาน) ท่านอบู บักรฺ จึงกล่าวขึ้นว่า (พวกเจ้าปล่อยให้)มีเสียงขลุ่ยแห่งชัยฏอนในบ้านของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กระนั้นหรือ? เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันอีดหนึ่ง ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า "โอ้ อบู บักรฺ แท้จริงแล้ว สำหรับทุกกลุ่มชนจะมีวันอีด(วันรื่นเริง)สำหรับพวกเขา และนี่เป็นวันอีด(วันรื่นเริง)ของพวกเรา(ชาวมุสลิมทุกคน)"             อบู ดาวูด ได้บันทึกหะดีษในหมายเลขที่ 1134 จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า َقدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا ، فَقَالَ : مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ ؟ قَالُوا كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ. فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى ، وَيَوْمَ الْفِطْرِ ) ความว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้มาถึงมะดีนะฮฺในขณะที่ชาวเมืองมะดีนะฮฺมี(วันอีด)สองวันซึ่งเป็นวันที่พวกเขามีการละเล่นรื่นเริงเฉลิมฉลองในวันดังกล่าว ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงได้ถามขึ้นมาว่า "สองวันนี้เป็นวันอะไร?" พวกเขาจึงตอบว่า วันดังกล่าวเป็นวันที่พวกเราจัดให้มีการละเล่นสืบทอดมาตั้งแต่สมัยญาฮิลียะฮฺ ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า  "แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนวัน(อีด)ที่ดีกว่าวันอีดดังกล่าวสำหรับพวกท่านทุกคนแล้ว นั่นคือ วัน(อีด)อัลอัฎฮาและ(อีด)อัลฟิฏรีย์" (อัล-อัลบานีย์วินิจฉัยว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺในหนังสือเศาะฮีหฺ อบี ดาวูด)                   สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แสดงว่าวันอีดหรือวันรื่นเริงนั้นเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะของชนชาติ เพราะฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมเข้าร่วมในวันอีดหรือวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิม             บรรดาอุละมาอ์ได้ให้คำวินิจฉัยว่าการมีส่วนร่วมในวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ว่ามีหุก่มหะรอม             1.  มีผู้ถามท่านเชคอิบนุ อุษัยมีน ว่า : ในช่วงหลังๆนี้ การมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์ได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในหมู่นักศึกษาหญิง วันดังกล่าวเป็นวันอีด(วันรื่นเริง)วันหนึ่งของชาวคริสต์ ซึ่งมีการประดับประดาด้วยสีแดง ทั้งเสื้อผ้าและรองเท้า มีการแลกเปลี่ยนดอกกุหลาบสีแดงแก่กันและกัน ขอให้ท่านช่วยอธิบายหุก่มการเข้าร่วมในวันดังกล่าวนี้ และท่านจะชี้แนะเช่นไรกับบรรดามุสลิมในเรื่องนี้? ขออัลลอฮฺทรงปกป้องและดูแลท่าน                 ท่านตอบว่า : ไม่อนุญาตให้มีการเข้าร่วมในวันวาเลนไทน์ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังต่อไปนี้ หนึ่ง : วันวาเลนไทน์ เป็นวันที่คิดอุตริขึ้นมาซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆ จากชะรีอะฮฺอิสลาม สอง : วันวาเลนไทน์เป็นวันที่นำไปสู่การแสดงความรักเชิงชู้สาวที่ไม่ถูกต้อง สาม : วันวาเลนไทน์เป็นวันที่ทำให้จิตใจหมกมุ่นกับสิ่งไร้สาระที่ขัดกับแนวทางของบรรพชนอิสลามรุ่นแรก             เพราะเหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมแสดงออกในวันวาเลนไทน์ด้วยสิ่งที่บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของวันดังกล่าว แม้จะเป็นอาหารการกิน เครื่องดื่มต่างๆ เสื้อผ้า การแลกเปลี่ยนของขวัญและอื่นๆ มุสลิมควรที่ต้องเข้มแข็งและภูมิใจในศาสนาอิสลาม และไม่ควรที่จะคล้อยตามกระแสของวัฒนธรรมอื่นๆ เราขอพรต่อเอกองค์อัลลอฮฺเพื่อทรงปกป้องมุสลิมทุกคนจากฟิตนะฮฺต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดเจนและสิ่งที่มองไม่เห็น และขอให้พระองค์ทรงดูแลด้วยทางนำของพระองค์” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา อัชชีค อิบนิ อุษัยมีน เล่มที่  16 หน้าที่ 199)                   2. มีคำถามถึงหน่วยงานเพื่อการฟัตวาแห่งราชอาณาจักรซาอุดีว่า : มีบางคนได้เข้ามีส่วนร่วมในวันที่สิบสี่ของเดือนกุมภาพันธุ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ พวกเขาได้แสดงออกถึงความรักที่มีต่อกันด้วยสีแดง มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีแดง มีการขอพรซึ่งกันและกัน มีร้านค้าจัดของหวานด้วยสีแดงและตกแต่งประดับด้วยรูปหัวใจ และบางร้านมีการจัดสินค้าด้วยสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวันดังกล่าว ท่านจะให้ความเห็นเช่นไรกับเรื่องนี้ ?   หนึ่ง : การเข้าร่วมในวันวาเลนไทน์มีหุก่มเช่นไร ? สอง : การซื้อสิ่งของจากร้านที่จัดตกแต่งสินค้าด้วยสัญลักษณ์ด้วยวันวาเลนไทน์ดังกล่าวมีหุก่มอย่างไร? สาม : และการขายสินค้าของเจ้าของร้าน(ที่ไม่ได้เข้าร่วมในพิธีหรืองานวาเลนไทน์ดังกล่าว)แก่ผู้ที่ต้องการร่วมในวันดังกล่าวด้วยสินค้าที่ใช้เป็นของขวัญในวันนั้น จะได้หรือไม่?             ทางหน่วยงานได้ให้คำตอบว่า : หลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺได้ชี้ชัดตรงนี้อย่างชัดเจน และบรรดาอุละมาอ์สะลัฟมีความเห็นตรงกันว่า อีด(วันรื่นเริง)ในอิสลามนั้นมีเพียงสองครั้งเท่านั้น นั่นก็คืออีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎฮา และวันอีดที่นอกเหนือจากนั้น แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล กลุ่มคน เหตุการณ์ หรืออาจจะอยู่ในความหมายใดๆ ก็ตาม อีดเหล่านั้นถือว่า เป็นสิ่งอุตริ(บิดอะฮฺ)ขึ้นมาใหม่ในอิสลาม ไม่อนุญาตให้ชาวมุสลิมคนใดร่วมปฏิบัติ หรือเห็นด้วย หรือแสดงออกถึงความพึงพอใจ หรือให้ความช่วยเหลือด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการละเมิดขอบเขตบัญญัติของอัลลอฮฺ ใครผู้ใดก็ตามที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลอฮฺเขาผู้นั้นคือผู้อธรรมต่อตัวเขาเอง และหากว่าวันรื่นเริงที่อุตริขึ้นมาดังกล่าวยังเป็นวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิมด้วยแล้ว การกระทำเช่นนั้นเป็นการกระทำบาปหนึ่งบนอีกบาปหนึ่งด้วย เพราะการเข้าร่วมในวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิมแสดงถึงการทำตัวคล้ายกับพวกเขาและเข้าข่ายการให้ความรักแก่พวกเขา(มุวาลาฮฺ) ซึ่งอัลลอฮฺได้ห้ามบรรดาผู้ศรัทธาในการทำตัวเหมือนผู้ปฏิเสธศรัทธาและการให้ความรักแก่พวกเขาในอัลกุรอาน และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้กล่าวห้ามความว่า "ใครก็ตามที่ทำตัวเหมือนกับพวกหนึ่ง เขาก็คือพวกนั้น"             วันวาเลนไทน์ก็เป็นวันหนึ่งที่เข้าข่ายในสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะวันวาเลนไทน์ก็เป็นวันรื่นเริงวันหนึ่งของชาวคริสต์ เพราะฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺที่จะจัดงาน เห็นดีเห็นงาม หรือให้การอวยพรให้แก่กันในวันดังกล่าว เพราะฉะนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องหลีกห่างเพื่อแสดงถึงการรับคำสั่งของอัลลอฮฺและท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  และห่างไกลจากความกริ้วโกรธและการลงโทษของพระองค์ และเช่นกัน ห้ามสำหรับมุสลิมให้การช่วยเหลือในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ และวันรื่นเริงอื่นๆด้วยสิ่งใดก็ตามทั้งที่เกี่ยวกับการกิน การดื่ม การซื้อขาย การผลิต ของขวัญ การฝากส่ง การประกาศ และอื่นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เข้าข่ายให้การช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นบาปและละเมิด และเป็นการทำผิดต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ตรัสสอนว่า  وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُواْ اللّهَ إِنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ  (المائدة : 2) ความว่า “และจงหยิบยื่นช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสิ่งที่ดีและในความยำเกรง(ต่ออัลลอฮฺ) และอย่าได้ช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นบาปและการเป็นศัตรูกัน และพวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ แท้ที่จริงแล้วอัลลอฮฺเป็นผู้ลงโทษที่หนักหน่วงยิ่ง” (อัลมาอิดะฮฺ : 2)                   เพราะฉะนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านนบีในทุกอิริยาบท โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยฟิตนะฮฺและความเสื่อมทรามได้แพร่กระจายไปทุกหนแห่ง มุสลิมจำเป็นที่จะต้องคิดอย่างชาญฉลาดและรอบคอบยิ่งเพื่อมิให้ตกอยู่ในความหลงผิดเหมือนพวกที่อัลลอฮฺทรงกริ้วหรือพวกที่หลงทาง ซึ่งพวกเขาไม่ได้หวังให้เกียรติแก่อัลลอฮฺ และไม่ได้ต้องการยกย่องอิสลาม มุสลิมจำเป็นที่จะต้องหันหน้าไปหาอัลลอฮฺเพื่อขอทางนำจากพระองค์และให้ยึดมั่นในหนทางดังกล่าว เพราะหามีสิ่งใดอื่นอีกแล้วที่จะชี้ทางที่ถูกต้องและเที่ยงตรง และไม่มีใครให้ความมั่นคงแน่วแน่นอกจากพระองค์ ... และด้วยพระองค์เท่านั้นที่จะได้มาซึ่งเตาฟีก ขอพรและความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัด ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทุกคน"               3. ได้มีการถามเชค อิบนุ ญิบรีน ว่า : มีการจัดงานกันอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่นมุสลิมทั้งชายและหญิงในวันที่มีชื่อว่า วันแห่งความรักหรือที่เรียกว่า วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นชื่อของนักบวชในศาสนาคริสต์ผู้หนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวัฒนธรรมของชาวคริสต์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในวันนั้นจะมีการมอบดอกไม้เป็นของขวัญ มีการตกแต่งประดับประดาด้วยสีแดง และมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีแดง การเฉลิมฉลองและการมอบของขวัญรวมถึงการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในวันดังกล่าวนั้นมีหุก่มเช่นไร ?                  ท่านได้ตอบว่า : หนึ่ง : ไม่อนุญาตให้มีการเฉลิมฉลองในวันเช่นดังกล่าวนี้ เพราะวันดังกล่าวเป็นวันรื่นเริงที่ถือว่าเป็นบิดอะฮฺอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในต้นแบบที่มาจากหลักฐานทางชะรีอะฮฺอิสลาม สิ่งดังกล่าวนี้จึงเข้าข่ายในความหมายของหะดีษอาอิชะฮฺ ที่อ้างถึงคำกล่าวของนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ได้กล่าวควาามว่า "ใครผู้ใดที่คิดอุตริในสิ่งที่เกี่ยวกับศาสนาของเรา แต่มันมิได้มาจากศาสนาของเราแต่อย่างใดแล้ว สิ่งนั้นย่อมไม่ถูกยอมรับ” สอง : การเฉลิมฉลองในวันวาเลนไทน์ เป็นการเลียนแบบและปฏิบัติตามผู้ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งเป็นการยกย่องเทิดทูนในสิ่งที่พวกเขาได้ให้การเทิดทูน และเป็นการให้เกียรติแก่วันรื่นเริงและวัฒนธรรมประเพณีของพวกเขา และเป็นการเจริญรอยตามวิถีทางของพวกเขาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนา มีการเตือนในหะดีษ ความว่า “ใครผู้ใดได้เจริญรอยตามกลุ่มชนใด เขาผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งของกลุ่มชนนั้น”             สาม : สิ่งไม่ดีไม่งามและสิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลได้ห้ามปรามที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นอีก เช่น การละเล่นรื่นเริง การร้องรำทำเพลง ความสนุกสนามรื่นเริงไร้ขอบเขต การโอ้อวด การปะปนกันระหว่างชายหญิง โอ้อวดความงาม การโชว์ตัวของสตรีต่อหน้าผู้ชายที่ไม่อนุญาตโดยศาสนา และไม่ถูกต้องถ้าจะอ้างว่านี่เป็นการผ่อนคลายหรือบันเทิงที่อยู่ในขอบเขต มีการควบคุมไม่ให้ทำสิ่งที่ผิด การอ้างนี้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่สำนึกในตัวเองจำเป็นต้องห่างไกลจากบาปและสิ่งที่จะนำไปสู่บาปนั้น                 ท่านยังได้เสริมอีกว่า “และไม่อนุญาตให้มีการขายสินค้าใดๆ ที่ใช้ทำเป็นของขวัญและใช้ตกแต่งประดับประดา เมื่อรู้ว่า ผู้ซื้อต้องการใช้สิ่งดังกล่าวเพื่อใช้ในงานและทำเป็นของขวัญจากสิ่งดังกล่าวหรือใช้เพื่อเทิดทูนวันดังกล่าว เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านดังกล่าวต้องตกเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับผู้ที่ทำบิดอะฮฺดังกล่าวด้วย” วัลลอฮุ อะอฺลัม   ที่มา : //islamqa.info/index.php?ref=73007&ln=ara