البحث

عبارات مقترحة:

الباطن

هو اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على صفة (الباطنيَّةِ)؛ أي إنه...

الولي

كلمة (الولي) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من الفعل (وَلِيَ)،...

الله

أسماء الله الحسنى وصفاته أصل الإيمان، وهي نوع من أنواع التوحيد...

ประเภทต่างๆ ของการประกอบพิธีหัจญ์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، อัสรัน นิยมเดชา
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات أنواع النسك
เนื้อหาประกอบด้วย การประกอบพิธีหัจญ์ประเภทต่างๆ พิธีกรรมแบบใดดีที่สุด วิธีการเข้าสู่มักกะฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อรอัลฟิกฮิลอิสลามีย์ โดยเชคมุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์

التفاصيل

การประกอบพิธีหัจญ์ประเภทต่าง ๆأنواع النسكแปลโดย: อัสรัน  นิยมเดชา ترجمة: عصران   نيئيوم ديشا ตรวจทาน: ฟัยซอล  อับดุลฮาดีمراجعة: فيصل   عبد الهاديจากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلاميการประกอบพิธีหัจญ์ประเภทต่างๆ          พิธีหัจญ์มี 3 ประเภท คือ ตะมัตตุอฺ กิรอน และอิฟรอด          1.แบบตะมัตตุอฺ : เริ่มโดยการเนียตครองอิหฺรอมเพื่ออุมเราะฮฺในระหว่างเดือนหัจญ์ เมื่อประกอบพิธีอุมเราะฮฺเสร็จสิ้นแล้วก็เนียตครองอิหฺรอมหัจญ์จากมักกะฮฺหรือจากบริเวณใกล้เคียงในปีเดียวกัน และให้ครองอิหฺรอมเรื่อยไปจนกระทั่งได้ขว้างเสาหินในวันอีดแล้ว โดยต้องเชือดสัตว์ฮัดย์ด้วย ซึ่งลักษณะการกล่าวเริ่มครองอิหฺรอมก็คือ “ลับบัยกะ อุมเราะฮฺ”          2.แบบกิรอน : เริ่มโดยการเนียตครองอิหฺรอมเพื่ออุมเราะฮฺและหัจญ์พร้อมๆกัน หรือเริ่มด้วยการครองอิหฺรอมเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ก่อนแล้วจึงเพิ่มอุมเราะฮฺเข้าไปในภายหลัง ซึ่งลักษณะการกล่าวเริ่มของประเภทนี้ก็คือ “ลับบัยกะอุมเราะตัน วะหัจญัน” และอนุญาตให้ผู้ที่มีความจำเป็นเนียตเพิ่มหัจญ์เข้าไปในอุมเราะฮฺตราบใดที่ยังไม่ได้เริ่มเฏาะวาฟอุมเราะฮฺ เช่น สตรีที่มีรอบเดือน หรือมีเลือดหลังการคลอดบุตร เป็นต้น            3.แบบอิฟรอด : เริ่มด้วยการเนียตประกอบพิธีหัจญ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งลักษณะการกล่าวเริ่มก็คือ “ลับบัยกะหัจญัน” ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติของผู้ประกอบพิธีแบบกิรอนกับแบบอิฟรอดนั้นเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่แบบกิรอนนั้นต้องเชือดฮัดย์ ส่วนแบบอิฟรอดไม่ต้องเชือด ซึ่งแบบกิรอนถือว่าดีกว่าแบบอิฟรอด และแบบตะมัตตุอฺถือว่าดีที่สุดพิธีกรรมแบบใดดีที่สุด            แบบที่ดีที่สุด คือ แบบตะมัตตุอฺ เพราะเป็นแบบที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมใช้บรรเศาะหาบะฮฺของท่านให้กระทำ และเน้นย้ำให้พวกเขาสิ้นสุดการทำอุมเราะฮฺครั้งหัจญ์วะดาอฺยกเว้นผู้ที่นำสัตว์ฮัดย์ไปด้วย ซึ่งการประกอบพิธีแบบตะมัตตุอฺนั้นง่ายและสะดวกกว่า และยังมีขั้นตอนปฏิบัติที่มากกว่า (ทำให้ได้ผลบุญมากกว่า)          ถ้าเริ่มเนียตครองอิหฺรอมแบบกิรอน หรืออิฟรอด ควรเปลี่ยนพิธีกรรมเป็นแบบตะมัตตุอฺแม้ว่าจะได้ทำการเฏาะวาฟหรือสะแอไปแล้วหากว่าไม่ได้นำฮัดย์ไปด้วย โดยเมื่อตัดผมแล้วเป็นถือเป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการประกอบพิธีอุมเราะฮฺตามคำสั่งของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม          ส่วนผู้ที่นำสัตว์ฮัดย์ไปด้วย ก็ให้คงอยู่ในอิหฺรอมและจะไม่ถือว่าสิ้นสุดพิธีการจนกว่าจะขว้างเสาหินในวันอีดเรียบร้อยแล้ววิธีการเข้าสู่มักกะฮฺ            เมื่อทำการเนียตเริ่มครองอิหฺรอมเรียบร้อยแล้ว ก็ให้มุ่งหน้าสู่เมืองมักกะฮฺในสภาพที่กล่าวคำตัลบิยะฮฺอยู่ตลอดเวลา และสุนัตให้เข้าสู่มักกะฮฺทางตอนบน และอาบน้ำชำระล้างร่างกายหากกระทำได้ จากนั้นก็เข้าสู่มัสยิดหะรอมจากทางใดก็ได้ที่ต้องการ โดยให้ก้าวเข้าด้วยเท้าขวา และกล่าวดุอาอ์เหมือนกับการเข้ามัสยิดโดยทั่วไป «اللَّـهُـمَّ افْتَـحْ لِي أَبْوَابَ رَحْـمَتِكَ»ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอได้ทรงเปิดประตูแห่งความเมตตาของพระองค์แก่ฉันด้วยเถิด“ (บันทึกโดย มุสลิม : 713)«أَعُوذُ بِالله العَظِيمِ، وَبِوَجْهِهِ الكَرِيمِ، وَسُلْطَانِـهِ القَدِيمِ، مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ».ความว่า “ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยพระพักตร์ของพระองค์ ด้วยอำนาจความยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่มีแต่นานมา ให้รอดพ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง”                        เมื่อเข้าสู่มัสยิดแล้วก็ให้เริ่มด้วยเฏาะวาฟทันที เว้นแต่ว่าจะเป็นเวลาละหมาดฟัรฎู ก็ให้ละหมาดเสร็จก่อนแล้วจึงเริ่มทำการเฏาะวาฟ          ผู้ประกอบพิธีอุมเราะฮฺไม่ว่าจะเป็นกรณีของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺอย่างเดียว หรือเป็นอุมเราะฮฺที่อยู่ในหัจญ์แบบตะมัตตุอฺก็ตาม ด้วยการเฏาะวาฟอุมเราะฮฺ ส่วนผู้ประกอบพิธีหัจญ์แบบกิรอน หรืออิฟรอดให้เริ่มด้วยเฏาะวาฟกุดูมซึ่งเป็นสุนัตไม่ใช่วาญิบต้องกระทำแต่อย่างใด          การตะหัลลุล (สิ้นสุด) จากพิธีหัจญ์ ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว หรือการตะหัลลุลด้วยเหตุจำเป็นในกรณีที่ได้ตั้งเงื่อนไข (อิชติรอฏ) ไว้แต่แรกเมื่อเริ่มเนียต หรือการตะหัลลุลเนื่องจากมีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถประกอบพิธีให้สิ้นสุดได้

المرفقات

2

ประเภทต่างๆ ของการประกอบพิธีหัจญ์
ประเภทต่างๆ ของการประกอบพิธีหัจญ์