البحث

عبارات مقترحة:

المصور

كلمة (المصور) في اللغة اسم فاعل من الفعل صوَّر ومضارعه يُصَوِّر،...

الرحمن

هذا تعريف باسم الله (الرحمن)، وفيه معناه في اللغة والاصطلاح،...

البارئ

(البارئ): اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على صفة (البَرْءِ)، وهو...

การกล่าวตักบีรมุฏลัก และ มุก็อยยัด ในเดือนซุลหิจญะฮฺ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮฺ บิน บาซ ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضل عشر ذي الحجة
คำถาม : เกี่ยวกับการกล่าวตักบีรมุฏลักในอีดดิลอัฎหา การตักบีรหลังละหมาดทุกครั้งเป็นการกล่าวตักบีรแบบมุฏลักหรือไม่ ? มันเป็นซุนนะฮฺหรือว่าส่งเสริมหรือว่าบิดอะฮฺ ?

التفاصيل

คำถาม : เกี่ยวกับการกล่าวตักบีรมุฏลักในอีดดิลอัฎหา การตักบีรหลังละหมาดทุกครั้งเป็นการกล่าวตักบีรแบบมุฏลักหรือไม่ ? มันเป็นซุนนะฮฺหรือว่าส่งเสริมหรือว่าบิดอะฮฺ ?   คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ ... การตักบีรในอีดุลอัฎหานั้นเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติในศาสนาตั้งแต่เริ่มต้นเดือนจนถึงเย็นของวันที่สิบสามของเดือนซุลหิจญะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  ليشهدوا منافع لهم ويذكروا اسم الله في أيام معلومات  الحج /28 ความว่า "เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว" (อัล-หัจญ์ 28)    واذكروا الله في أيام معدودات  البقرة / 203 ، الآية ความว่า "และพวกเจ้าจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้แล้ว" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 203)   วันต่างๆ ที่รู้กันซึ่งถูกกล่าวถึงก็คือวันตัชรีก และมีหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า  أيام التشريق أيام أكل وشرب وذكر الله عز وجل  رواه مسلم في صحيحه ความว่า "วันตัชรีก คือวันแห่งการกินดื่มและกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยมุสลิม)   อิมามอัล-บุคอรีย์ได้รายงานในหนังสือหะดีษเศาะฮีหฺของท่านเชิงตะอฺลีก(ไม่ระบุสายรายงาน)จากอิบนุ อุมัร และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่า ทั้งสองคนได้ออกไปกล่าวตักบีรที่ตลาดในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ แล้วผู้คนก็กล่าวตักบีรเนื่องด้วยการตักบีรของท่านทั้งสอง ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ และอับดุลลอฮฺลูกชายของท่าน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จะกล่าวตักบีรในวันที่อยู่ที่มินา ทั้งในมัสยิด ในแคมป์ โดยจะกล่าวตักบีรด้วยเสียงดัง กระทั่งได้ยินเสียงตักบีรดังทั่วมินา มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่า พวกเขาจะกล่าวตักบีรหลังละหมาดห้าเวลา นับตั้งแต่เวลาศุบหฺของเช้าวันอะเราะฟะฮฺจนกระทั่งเวลาอัศรฺของวันที่สิบสามของซุลหิจญะฮฺ นี่เป็นในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ทำหัจญ์ ส่วนคนที่อยู่ในพิธีหัจญ์นั้น เมื่อครองอิหฺรอมแล้วก็ให้เขาสาละวนอยู่กับการตัลบิยะฮฺจนกระทั่งขว้างหินญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺในวันนะห์รฺ หลังจากนั้นจึงค่อยกล่าวตักบีร โดยเริ่มกล่าวตักบีรตั้งแต่การขว้างหินลูกแรกที่เสาญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ และหากเขาจะกล่าวตักบีรพร้อมๆ กับการตัลบิยะฮฺก็ถือว่าไม่เป็นไร เพราะมีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า ท่านได้ยินคนกล่าวตัลบิยะฮฺในวันอะเราะฟะฮฺแล้วท่านก็ไม่ว่าอะไร และได้ยินคนกล่าวตักบีรด้วยแต่ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์) แต่ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ครองอิหฺรอมคือการกล่าวตัลบิยะฮฺ ส่วนคนที่ไม่ได้ครองอิหฺรอมก็ให้เขาตักบีรในวันต่างๆ ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ทราบว่าการตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดนั้น จะรวมกันอยู่ทั้งหมดห้าวัน ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของอุละมาอ์ นั่นคือ เริ่มตั้งแต่วันอะเราะฟะฮฺ วันนะห์รฺ(วันอีด) และวันตัชรีกทั้งสาม ส่วนแปดวันก่อนหน้านั้นจะมีแต่ตักบีรมุฏลักเท่านั้น ไม่มีตักบีรมุก็อยยัด ตามหลักฐานที่ได้กล่าวข้างต้น และมีรายงานในหนังสืออัล-มุสนัดของอิมามอะห์มัด จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า  ما من أيام أعظم عند الله ولا أحب إليه العمل فيهن من هذه الأيام العشر ، فأكثروا فيهن من التهليل والتكبير والتحميد  أو كما قال عليه الصلاة والسلام . ความว่า "ไม่มีวันใดที่ยิ่งใหญ่ ณ อัลลอฮฺ และเป็นที่รักแก่พระองค์ซึ่งการทำความดีในวันดังกล่าว มากไปกว่าสิบวันนี้ ดังนั้นพวกท่านจงกล่าวตะฮฺลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) ตักบีร(อัลลอฮุอักบัร) และตะห์มีด(อัลหัมดุลิลลาฮฺ) ให้มากๆ"   จาก : รวมฟัตวาเชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ เล่มที่13 หน้า 17 ที่มา : islamqa.info ฟัตวาหมายเลข 10508

المرفقات

2

การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดในเดือนซุลหิจญะฮฺ
การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดในเดือนซุลหิจญะฮฺ