البحث

عبارات مقترحة:

الكبير

كلمة (كبير) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل، وهي من الكِبَر الذي...

الحليم

كلمةُ (الحليم) في اللغة صفةٌ مشبَّهة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل)؛...

المقدم

كلمة (المقدِّم) في اللغة اسم فاعل من التقديم، وهو جعل الشيء...

สถานะของแม่ในอิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน ، อุษมาน อิดรีส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الفضائل - فضائل صلة الأرحام وبر الوالدين
อธิบายหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ว่าด้วยความสำคัญของผู้เป็นแม่ หรือสถานะของมารดา ในคำสอนของศาสนาอิสลาม เป็นหลักฐานสนับสนุนที่ว่าอิสลามให้เกียรติสตรีเพศ และไม่เคยลดทอนศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   สถานะของมารดาในอิสลาม แม่ในอัล-กุรอาน  มีอายะฮฺอัล-กุรอานหลายอายะฮฺที่กำชับให้ทำดีกับบิดามารดา ตัวอย่างเช่น ในสูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์ อายะฮฺที่ 23-24 «وَقَضىٰ رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُواْ إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاَهُمَا فَلاَ تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلاً كَرِيماً، وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيراً) (الإسراء : ٢٣-24)َ ความว่า "และองค์อภิบาลของเจ้าได้สั่งว่า พวกเจ้าอย่าได้เคารพภักดีผู้อื่นนอกจากพระองค์ และกับบิดามารดานั้นจะต้องทำดี เมื่อผู้ใดระหว่างบิดามารดาหรือทั้งสองคนได้บรรลุวัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นจงอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ (นั่นคือกล่าวแสดงความไม่พอใจ) และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงกล่าวกับทั้งสองด้วยคำพูดที่ดี และจงอ่อนน้อมแก่ท่านทั้งสองด้วยความเมตตา และจงขอว่า โอ้ผู้อภิบาลฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่พวกเขาได้เลี้ยงดูฉันมาเมื่อครั้งยังเยาว์วัย"    เป็นที่สังเกตว่า อัลลอฮฺได้กล่าวถึงการทำดีกับพ่อแม่หลังจากที่พระองค์สั่งให้เคารพภักดีพระองค์ เป็นการบอกถึงความสำคัญที่ต้องทดแทนคุณของทั้งสอง และยังเจาะจงกำชับการทำดีกับทั้งสองเมื่อถึงวัยชรา เพราะเวลานั้นลูกย่อมต้องเป็นที่ต้องการเพื่อดูแลปรนนิบัติและช่วยเหลือพ่อแม่มากกว่าเวลาอื่นใด (ดูบทอธิบายใน ฟัตหุล เกาะดีรฺ ของอัช-เชากานีย์)   นี่คืออิสลาม คำสอนที่กำหนดให้การทำดีกับพ่อแม่เป็นภาระหน้าที่สำคัญรองลงมาจากการศรัทธาและอิบาดะฮฺในขณะที่ความสำคัญของแม่เพียงผู้เดียวก็เป็นที่เด่นชัดและถูกกำชับมากขึ้นอีก เพราะอัลลอฮฺได้สั่งให้ทำดีกับพ่อแม่และได้เจาะจงพูดถึงแม่ด้วยการอธิบายถึงความยากลำบากและความเหนื่อยยากในการอุ้มท้อง ในสูเราะฮฺ ลุกมาน อายะฮฺที่ 14 «وَوَصَّيْنَا الْإِنسَانَ بِوَالِدَيْهِ حَمَلَتْهُ أُمُّهُ وَهْناً عَلَى وَهْنٍ وَفِصَالُهُ فِي عَامَيْنِ أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ إِلَيَّ الْمَصِيرُ» (لقمان : 14 ) ความว่า "และเราได้สั่งมนุษย์ให้ทำดีกับพ่อแม่ของเขา ผู้เป็นแม่ได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความเหนื่อยยากเป็นทวี และยังให้นมเขาในเวลาสองปี เจ้าจงขอบคุณข้า(หมายถึงพระองค์อัลลอฮฺ) และขอบคุณบิดามารดาของเจ้า ยังข้านั้นคือที่ที่เจ้าต้องกลับมา"    อัลลอฮฺยังได้ตรัสในสูเราะฮฺ อัล-อะห์กอฟ อายะฮฺที่ 15 อีกว่า (وَوَصَّيْنَا الْإِنسَانَ بِوَالِدَيْهِ إِحْسَاناً حَمَلَتْهُ أُمُّهُ كُرْهاً وَوَضَعَتْهُ كُرْهاً وَحَمْلُهُ وَفِصَالُهُ ثَلَاثُونَ شَهْراً) (الأحقاف : 15 ) ความว่า "และเราได้สั่งมนุษย์ให้ทำดีกับพ่อแม่ของเขา มารดาของเขาได้อุ้มท้องเขาด้วยความเหนื่อยยาก และได้คลอดเขาด้วยความเจ็บปวด ทั้งอุ้มครรภ์และให้นมในเวลาสามสิบเดือน"    นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานได้กล่าวว่า เหตุที่อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงมารดาและการอุ้มท้องของนาง เพื่อการย้ำถึงหน้าที่ที่ต้องทำดีกับนาง นี่คือสถานะของแม่ในอัล-กุรอานและบัญญัติของอิสลามที่ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหาจากที่อื่นอีกเลย    แม่ในคำสอนของท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  แม่เป็นผู้ที่ควรต้องได้รับการเอาใจใส่และตอบแทนคุณมากกว่าบิดา ในหะดีษมีว่า جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللهِ مَنْ أَحَقُّ النَّاسِ بِحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أَبُوكَ». ความว่า เศาะหาบะฮฺ(สาวก)ท่านหนึ่งได้ถามท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าผู้ใดที่ฉันควรทำดีต่อเขามากที่สุด ? ท่านตอบว่า "มารดาของท่าน" เศาะหาบะฮฺผู้นั้นได้ถามต่อว่าหลังจากนั้นล่ะ ? ท่านตอบอีกว่า "มารดาของท่าน" เขาถามท่านต่ออีกว่า หลังจากนั้นเป็นผู้ใดต่อ ? ท่านศาสนทูตยังตอบอีกว่า "มารดาของท่าน" เศาะหาบะฮฺผู้นั้นยังไม่หยุดถามว่า หลังจากนั้นเป็นใครอีก? ในที่สุดท่านศาสนทูตจึงตอบว่า "บิดาของท่าน" (บันทึกโดย อัล-บุคอรี 5971)   จากหะดีษข้างต้นเข้าใจว่า สำหรับแม่แล้วควรจะต้องได้รับการทำดีมากกว่าผู้เป็นพ่อถึงสามเท่า เพราะเหตุจากความยากลำบากในการอุ้มท้อง การคลอดและการให้นม ความเหนื่อยยากเหล่านี้มีเพียงแม่ผู้เดียวเท่านั้นที่ต้องแบกรับส่วนพ่อนั้นมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูเท่านั้น (ดู ฟัตหุล บารี 12/492)    ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังได้กล่าวอีกว่า «إِنَّ اللهَ يُوصِيْكُمْ بِأُمَّهَاتِكُمْ ـ ثَلَاثًا ـ إِنَّ اللهَ تَعَالٰى يُوْصِيْكُمْ بِآبَائِكُمْ ـ مَرَّتَيْنِ ـ إِنَّ اللهَ تَعَالٰى يُوْصِيْكُمْ بِالْأَقْرَبِ فَالْأَقْرَبِ»ْ ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งเสียพวกเจ้าให้ทำดีกับมารดา (ท่านได้กล่าวสามครั้ง) แท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งเสียพวกเจ้าให้ทำดีกับบิดาของพวกเจ้า (ท่านได้กล่าวสองครั้ง) แท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งเสียพวกเจ้าให้ทำดีกับผู้ที่ใกล้กับพวกเจ้าที่สุดและผู้ที่ใกล้กับพวกเจ้าผู้ถัดไปเรื่อยๆ" (เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ1924)   การอกตัญญูต่อพ่อแม่นั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรง แต่การอกตัญญูต่อแม่นั้นมีบาปที่มหันต์ยิ่งกว่า เพราะท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกอย่างเจาะจงเลยว่าอัลลอฮฺทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นแม่ ท่านได้กล่าวว่า «إِنَّ اللهَ حَرَّمَ عَلَيْكُمْ عُقُوقَ الْأُمَّهَاتِ ... » ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นมารดา" (บันทึกโดย อัลบุคอรี 5975)     ครั้งหนึ่ง ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ประกาศในขณะที่จะออกไปญิฮาดทำสงครามกับกองทัพของศัตรู สาวกผู้หนึ่งได้มาหาท่าน เพื่อขอร่วมในการพลีชีพเพื่อสวนสวรรค์ด้วย ท่านกลับถามเขาว่า "ท่านมีมารดาอยู่หรือไม่?" ชายผู้นั้นตอบว่า มี ท่าน ศาสนทูตจึงกล่าวแก่เขาว่า «الْزَمْهَا فَإِنَّ الْجَنَّةَ تَحْتَ أَقْدَامِهَا»  "จงกลับไปอยู่กับแม่ของท่าน เพราะแท้จริงสวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของนาง" (เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 1248)   ความหมายที่ถูกอธิบายก็คือ ผลตอบแทนที่เป็นสวรรค์นั้นเกี่ยวข้องกับการทำดีต่อผู้เป็นแม่ ด้วยการทำให้แม่พอใจ เสมือนกับว่าแม่นั้นเป็นเจ้าของสวรรค์ ผู้ใดที่ต้องการจึงต้องเข้าไปหาและทำดีกับแม่จึงจะได้รับผลตอบแทนนั้น (ดูบทอธิบายของ อิมาม อัส-สินดีย์ ต่อ สุนัน อัน-นะสาอีย์ 5/318)   เพียงเท่านี้คงพอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า อิสลามได้ให้ความหมายกับสถานะผู้เป็นแม่ไว้สูงเพียงใด อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งด้วยความลำเลิศ และอัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง

المرفقات

2

สถานะของมารดาในอิสลาม
สถานะของมารดาในอิสลาม