البحث

عبارات مقترحة:

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

المحيط

كلمة (المحيط) في اللغة اسم فاعل من الفعل أحاطَ ومضارعه يُحيط،...

الحي

كلمة (الحَيِّ) في اللغة صفةٌ مشبَّهة للموصوف بالحياة، وهي ضد...

สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อัสรัน นิยมเดชา ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة - فقه المرأة المسلمة
ข้าพเจ้าเคยอ่านมาว่า อนุญาตให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการถือศีลอดได้ และให้บริจาคอาหารโดยไม่ต้องเกาะฎอ (ถือศีลอดชด) โดยยึดรายงานจากท่านอิบนุอุมัรเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลักฐาน เช่นนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างแก่ข้าพเจ้าพร้อมหลักฐานด้วย ขออัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ท่าน

التفاصيل

อนุญาตให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด ส่วนการบริจาคอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นถือว่าใช้ไม่ได้  อนุญาตให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด ส่วนการบริจาคอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นถือว่าใช้ไม่ได้الحامل والمرضع تفطران وتقضيان ولا يجزئهما الإطعامเว็บไซต์ อิสลาม ถาม-ตอบแปลโดย : อัสรัน นิยมเดชาموقع الإسلام سؤال وجوابترجمة: عصران إبراهيمด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมออนุญาตให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด ส่วนการบริจาคอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ ถาม : ข้าพเจ้าเคยอ่านมาว่า อนุญาตให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการถือศีลอดได้ และให้บริจาคอาหารโดยไม่ต้องเกาะฎอ (ถือศีลอดชด) โดยยึดรายงานจากท่านอิบนุอุมัรเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลักฐาน เช่นนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างแก่ข้าพเจ้าพร้อมหลักฐานด้วย ขออัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ท่าน ตอบ : นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับหุก่มของสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ในกรณีที่นางทั้งสองงดเว้นการถือศีลอด ดังนี้: ทัศนะแรก : จำเป็นต้องถือศีลอดชดเพียงอย่างเดียว นี่เป็นทัศนะของอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ และเศาะหาบะฮฺที่มีทัศนะเช่นนี้ก็ได้แก่ท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ทัศนะที่สอง : ถ้าหากนางทั้งสองงดเว้นการถือศีลอด เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง ก็จำเป็นต้องถือศีลอดชดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้างดเว้นการถือเพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ก็จำเป็นต้องถือศีลอดชดพร้อมบริจาคอาหารให้แก่ผู้ยากไร้ หนึ่งคนต่อหนึ่งวันที่ขาดไป และนี่คือทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีย์และอะหมัด และอัลญัศศอศได้ระบุว่าเป็นทัศนะของอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ทัศนะที่สาม : จำเป็นต้องบริจาคอาหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องถือศีลอดชด ทัศนะนี้มีรายงานจากเศาะหาบะฮฺบางท่านเช่น ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา นอกจากนี้ท่านอิบนุกุดามะฮฺยังได้ระบุไว้ในหนังสืออัลมุฆนีย์ (3/37) ว่ามีรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เช่นกัน # หลักฐานของทัศนะที่สาม 1- มีรายงานซึ่งบันทึกโดยอบูดาวุด (2318) จากท่านอิบนุอับบาสว่า : อายะฮฺที่ว่า(وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ) (البقرة : 184 )ความว่า "และบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น เขาต้องชดเชยด้วยการให้อาหารแก่คนยากไร้หนึ่งคน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 184)คือข้ออนุโลมสำหรับชายและหญิงชรา ที่ต้องประสบความยากลำบากในการถือศีลอด โดยให้เขาทั้งสองงดเว้นการถือ แล้วบริจาคอาหารแก่คนยากไร้หนึ่งต่อหนึ่งวันที่ขาดไปแทน สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน หากว่านางทั้งสองกลัว" ท่านอบูดาวุดกล่าวว่า : หมายถึง ถ้านางทั้งสองเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ก็ให้งดเว้นการถือ แล้วบริจาคอาหารชดเชย ท่านนะวะวีย์ กล่าวว่า : สายรายงานนี้หะสัน 2- และรายงานนี้ยังได้รับการบันทึกโดยอัลบัซซาร โดยเพิ่มในตอนท้ายว่า : "และ ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวแก่มารดาของลูกท่าน (ภรรยาที่เป็นทาสี) ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ว่า : เธอเปรียบได้กับผู้ที่ได้รับความยากลำบากในการถือศีลอด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่เธอต้องบริจาคอาหาร และไม่ต้องถือศีลอดชด" อัลหาฟิซกล่าวในอัตตัลคีศว่า อัดดาเราะกุฏนีย์ระบุว่าสายรายงานนี้เศาะหีหฺ อัลญัศศอศ ได้ระบุในหนังสือ "อะหฺกามุลกุรอาน" ว่าเศาะหาบะฮฺมีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นนี้ : "บรรดาชาวสลัฟ (ชนยุคแรก) ได้มีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นดังกล่าวเป็นสามทัศนะ : โดยท่านอะลีมีทัศนะว่า จำเป็นที่นางทั้งสองต้องถือศีลอดชด ในกรณีที่นางทั้งสองงดเว้นการถือศีลอด โดยไม่ต้องบริจาคอาหาร ส่วนท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า จำเป็นที่นางทั้งสองต้องบริจาคอาหารโดยไม่ต้องถือศีลอชด ในขณะที่ท่านอิบนุอุมัรเห็นว่า จำเป็นต้องบริจาคอาหารพร้อมทั้งถือศีลอดชด" สิ้นสุดข้อความจากหนังสือเล่มดังกล่าว ## ส่วนผู้ที่มีทัศนะว่าจำเป็นที่นางทั้งสอง ต้องถือศีลอดชดเพียงอย่างเดียว ได้ยึดหลักฐานดังต่อไปนี้: 1- รายงานซึ่งบันทึกโดยอันนะสาอีย์ (2274) จากท่านอนัส เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านกล่าวว่า : "แท้จริงอัลลอฮฺได้ยกเว้นแก่ผู้เดินทางซึ่งครึ่งหนึ่งของการละหมาด และได้ยกเว้นการถือศีลอด สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรก็เช่นกัน" เชคอัลบานีย์ระบุในเศาะหีหฺอันนะสาอีย์ ว่าเป็นหะดีษเศาะหีหฺ ในหะดีษบทนี้ ท่านนบีได้หุก่มสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรนั้น เหมือนกับหุก่มของผู้เดินทาง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้เดินทางนั้น อนุญาตให้ละศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด ดังนั้น สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน (ดู อะหฺกามุลกุรอาน โดยอัลญัศศอศ) 2- กิยาส (เทียบหุก่ม) กับคนป่วย ในเมื่อผู้ที่เจ็บป่วยนั้น อนุญาตให้เขาละศีลอดโดยจำเป็นต้องถือชด ดังนั้นสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน (ดู อัลมุฆนีย์ : 3/37 และ อัลมัจญฺมูอฺ : 6/273)ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่อุละมาอ์หลายๆ ท่านให้น้ำหนัก เชคบินบาซกล่าวว่า : "สตรี มีครรภ์และสตรีให้นมบุตรนั้น หุก่มของทั้งสองคือหุก่มเดียวกับคนป่วย เมื่อการถือศีลอดเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับนางทั้งสอง ก็อนุญาตให้งดเว้นการถือได้ และจำเป็นที่นางทั้งสองต้องถือศีลอดชดหากมีความสามารถที่จะทำได้ เช่นเดียวกับคนป่วย ทั้งนี้ อุละมาอ์บางท่านมีทัศนะว่า เพียงทั้งสองบริจาคอาหารแก่คนยากไร้หนึ่งคนต่อหนึ่งวันที่ขาดไป ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะที่เฎาะอีฟ (อ่อน) และมัรฺญูหฺ (มีน้ำหนักน้อย) ที่ถูกต้องคือ จำเป็นที่นางทั้งสองต้องถือศีลอดชด เช่นเดียวกับผู้เดินทาง และคนป่วย ดังที่อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า(وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ) (البقرة : 185 )ความว่า 'และผู้ใดเจ็บป่วย หรืออยู่ระหว่างการเดินทาง ก็ให้(ละศีลอดได้และ) ถือชดในวันอื่น' (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185) (หนังสือรวมฟัตวา 15/225) และท่านยังกล่าวว่า: "ที่ถูกต้องในประเด็นนี้คือ จำเป็นที่สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรต้องถือศีลอดชด ส่วนรายงานจากท่านอิบนุอับบาส และท่านอิบนุอุมัร ว่าให้สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรบริจาคอาหารนั้น เป็นทัศนะที่มีน้ำหนักน้อย และขัดกับบรรดาหลักฐานตามบทบัญญัติศาสนา และอัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า(وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ) (البقرة : 185 )ความว่า 'และผู้ใดเจ็บป่วย หรืออยู่ระหว่างการเดินทาง ก็ให้(ละศีลอดได้และ) ถือชดในวันอื่น' (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185) ซึ่งสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรนั้น อยู่ในกลุ่มผู้ที่เจ็บป่วย ไม่ได้อยู่ในข่ายของคนชราที่ไม่มีความสามารถ นางทั้งสองอยู่ในข่ายผู้เจ็บป่วย จึงจำเป็นที่นางทั้งสองต้องถือศีลอดชดถ้าหากว่าทำได้ แม้ว่าการถือชดจะล่าช้าไปบ้างก็ไม่เป็นไร" (หนังสือรวมฟัตวา15/227)และคณะกรรมการถาวรเพื่อการฟัตวา (ซาอุฯ) ระบุว่า : "สตรีมีครรภ์นั้น หากนางเกรงว่าการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน จะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือต่อเด็กในท้อง ก็ให้นางละศีลอดได้ และจำเป็นต้องถือศีลอดชดเพียงอย่างเดียว กรณีของนางก็ไม่ต่างอะไรจากคนป่วยซึ่งไม่สามารถถือศีลอดได้ หรือกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า(وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ) (البقرة : 185 )ความว่า 'และผู้ใดเจ็บป่วย หรืออยู่ระหว่างการเดินทาง ก็ให้(ละศีลอดได้และ) ถือชดในวันอื่น' (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185) สตรีให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน หากนางเกรงว่าการให้นมบุตรในเดือนเราะมะฎอนจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง หรือเกรงว่าการถือศีลอดแล้วไม่ให้นมบุตรจะเป็นอันตรายต่อบุตรของนาง ก็ให้นางละศีลอด โดยจำเป็นต้องถือชดเพียงอย่างเดียว" (หนังสือรวมฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการฟัตวา 10/220)และมีระบุในฟัตวาคณะกรรมการถาวรฯ เช่นเดียวกันว่า: "ส่วนสตรีมีครรภ์นั้น จำเป็นที่นางต้องถือศีลอดในขณะที่นางตั้งครรภ์ เว้นแต่ว่านางจะกลัวว่าการถือศีลอดจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเอง หรือต่อลูกในครรภ์ ก็อนุโลมให้นางละศีลอดได้ โดยจำเป็นที่นางต้องถือศีลอดชดหลังจากที่นางคลอดบุตร และพ้นช่วงนิฟาสแล้ว... ส่วนการบริจาคอาหารแทนการถือศีลอดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ จำเป็นต้องถือศีลอดเท่านั้น" (หนังสือฟัตวาฯ 10/226)เชคอิบนุ อุษัยมีน กล่าวใน อัชชัรหุลมุมติอฺ (6/220) หลังจากที่ท่านยกทัศนะต่างๆของอุละมาอ์ในประเด็นนี้ และเลือกให้น้ำหนักทัศนะที่เห็นว่าจำเป็นต้องถือศีลอดชดเท่านั้น ว่า: "และสำหรับข้าพเจ้า ทัศนะนี้ คือทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดจากทัศนะต่างๆ เพราะสภาพของนางทั้งสองนั้นไม่ต่างอะไรจากคนป่วย หรือผู้เดินทาง จึงจำเป็นที่นางทั้งสองต้องถือศีลอดชดเท่านั้น" วัลลอฮุอะอฺลัมเว็บอิสลาม ถาม-ตอบ

المرفقات

2

สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด
สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรงดเว้นการศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด