البحث

عبارات مقترحة:

الأعلى

كلمة (الأعلى) اسمُ تفضيل من العُلُوِّ، وهو الارتفاع، وهو اسمٌ من...

القدوس

كلمة (قُدُّوس) في اللغة صيغة مبالغة من القداسة، ومعناها في...

الفتاح

كلمة (الفتّاح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) من الفعل...

แนวคิดธุรกิจอิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อิสมาอีล อบูบักร์ ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات المعاملات
บทความที่กล่าวถึงแนวคิดหลักบางประการของอิสลามที่ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เนื่องจากอิืสลามให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอิสลามที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุม และอัลลอฮฺทรงบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างในโลกนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์และสร้างความสะดวกสบายแก่มวลมนุษย์ ซึ่งในหลักการของอิสลามถือว่าการประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือที่ดีในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว บทความแปลและเรียบเรียงจาก Islam & Business, By Nik Mohamed Affandi Bin Nik Yusoff, Edited by Ismail Noor

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   แนวคิดธุรกิจอิสลาม (Islamic Business Concepts) แปลและเรียบเรียงโดย  อิสมาอีล อบูบักรฺ   อิสลามให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอิสลามที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุม และกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในระบบเศรษฐกิจนั้น อัลลอฮฺทรงบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างในโลกนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์และสร้างความสะดวกสบายแก่มวลมนุษย์ ในหลักการของอิสลามการประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا نَفَّسَ اللهُ عَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَوْمِ الْقِيَامَةِ وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ اللهُ عَلَيْهِ فِى الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ» (رواه مسلم) ความว่า "ผู้ใดที่ปลดเปลื้องทุกข์ใดๆ ของผู้ศรัทธาคนหนึ่งจากความทุกข์ยากในโลกดุนยา อัลลอฮฺจะปลดเปลื้องหนึ่งความทุกข์ให้กับเขาจากความทุกข์ยากทั้งหลายในอาคิเราะฮฺ และผู้ใดที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ลำบากอัลลอฮฺจะทรงทำให้เขาพบความสะดวกง่ายดายในดุนยาและอาคิเราะฮฺ” (มุสลิม)   นอกจากอิสลามได้กำหนดให้การทำธุรกิจเป็นฟัรดูกีฟายะฮฺ ที่อย่างน้อยมุสลิมคนหนึ่งในชุมชนต้องปฏิบัติแล้ว อิสลามได้ให้สัญญาว่าผู้ทำธุรกิจจะได้รับรายได้มหาศาล ดังนั้นธุรกิจจัดว่าเป็นเครื่องมือหรือแนวทางที่ดีในการแสวงหาทรัพย์สินสมบัติ บรรลุความสำเร็จ สร้างสถานภาพทางสังคม และได้รับการยอมรับ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา กล่าวไว้ในอัล-กุรอานว่า «وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا» (البقرة : 275 ) ความว่า “และอัลลอฮฺได้อนุมัติการค้าและห้ามดอกเบี้ย” (อัล-บากอเราะฮฺ 2: 275)   ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «عليكم بالتجارة فإن فيها تسعة أعشار الرزق» (مرسل، تخريج الإحياء للعراقي 2 /79) ความว่า “สูเจ้าจงมีส่วนร่วมในธุรกิจ เพราะเก้าจากสิบส่วนของแหล่งรายได้มาจากกิจกรรมทางธุรกิจ” (หะดีษมุรสัล ดูใน ตัครีจญ์ อัล-อิหฺยาอ์ ของ อัล-อิรอกีย์ 2/79)   และท่านศาสนทูตเคยตอบคำถามเกี่ยวกับชนิดของงานที่ดีที่สุดว่า «عمل الرجل بيده، وكل بيع مبرور» (رواه البزار وصححه الحاكم) ความว่า “งานที่ทำด้วยมือของพวกท่านเองและการซื้อขายทุกรูปแบบที่ถูกต้องและได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ” (รายงายโดยอัล-บัซซาร และ วินิจฉัยว่าเศาะฮีหฺโดย อัล-หากิม)   เป็นที่ทราบกันดีว่า การเดินทางไปทำหัจญ์ ณ นครมักกะฮฺนั้นเป็นหนึ่งในรุก่นหรือเสาหลักของอิสลาม อย่างไรก็ตามการค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าวก็ยังเป็นที่อนุมัติ นั้นก็ชี้ให้เห็นถึงความกรุณาปรานีของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา และยังแสดงให้เห็นถึงความสูงส่งของการค้าขายอีกด้วย อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า «لَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ أَن تَبْتَغُواْ فَضْلاً مِّن رَّبِّكُمْ» (البقرة : 198 ) ความว่า “ไม่มีโทษใดๆ แก่พวกเจ้า การที่พวกเจ้าจะแสวงหาความกรุณาอย่างหนึ่งอย่างใดจากพระเจ้าของพวกเจ้า” (อัล-บากอเราะห์ 2: 198)   อันที่จริงแล้วอัล-กุรอานได้กล่าวถึงผู้ที่เดินทางเพื่อการค้าในอายะฮฺเดียวกับผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอิสลาม อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ดำรัสไว้ว่า «وَآخَرُونَ يَضْرِبُونَ فِي الْأَرْضِ يَبْتَغُونَ مِن فَضْلِ اللهِ وَآخَرُونَ يُقَاتِلُونَ فِي سَبِيلِ اللهِ» (المزّمِّل : 20 ) ความว่า “...และบางคนอื่นต้องเดินทางไปในดินแดนอื่นเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และบางคนอื่นต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ...” (อัล-มูซซัมมิล 73: 20)   ดังนั้นไม่เป็นเรื่องที่น่าฉงนแต่อย่างใดหากการทหารที่เข้มแข็งทำให้อิสลามขยายกว้างไกลไปถึงตะวันออกกลาง ยุโรปตอนใต้ แอฟริกาเหนือ และส่วนหนึ่งของเอเซียกลาง ในขณะที่พ่อค้าวาณิชมุสลิมสามารถเผยแผ่อิสลามจนถึงคาบสมุทรมาลายู และส่วนหนึ่งของประเทศจีนตอนเหนือ โดยอาศัยการค้าขายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ   จากการเกริ่นนำข้างต้น มุสลิมจึงจำเป็นต้องรู้ว่าแนวคิดทางธุรกิจที่อิสลามได้ให้ไว้มีอะไรบ้าง พร้อมทั้งสามารถนำแนวคิดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   แนวคิดทางธุรกิจในอิสลามที่สำคัญข้อแรก คือ ธุรกิจมีบทบาทที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และศาสนา นักธุรกิจมุสลิมที่ดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ นอกจากจะได้รับความเจริญงอกงามทางด้านเศรษฐกิจและทำให้สังคมมีความสมักสมานสามัคคีแล้วยังทำให้เขาได้ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากยิ่งขึ้นด้วย ธุรกิจที่ซื่อสัตย์มีส่วนช่วยให้อิสลามเป็นศาสนาที่สามารถนำสู่การปฏิบัติ มุ่งสู่การพัฒนา และยุติธรรมที่ยั่งยืนสำหรับมนุษยชาติได้อย่างดีอีกทางหนึ่ง   แนวคิดธุรกิจอิสลามข้อที่สอง เป็นผลพวงมาจากแนวคิดข้อแรก นั่นคือ การทำธุรกิจเป็นการให้บริการมวลมนุษย์ที่สำคัญมาก ในธุรกิจอิสลามการแสวงหากำไรต้องมีสมดุลกับการให้บริการที่ดีมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ มีคุณภาพและมีราคาที่เหมาะสมแก่ผู้บริโภค แนวคิดการให้บริการในอิสลามมีความหมายมากกว่าความจำเป็นที่จะให้บริการผู้บริโภค กิจกรรมธุรกิจในอิสลามยังต้องสร้างผลประโยชน์อื่นๆอีก ดังจะกล่าวเป็นข้อๆ ต่อไปนี้ 1.      สร้างโอกาสในการจ้างงานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะเป็นงานในตำแหน่ง ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่บริหาร และพนักงาน 2.      สร้างช่องทางธุรกิจแก่ผู้ที่มีความสามารถทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3.      ทำให้มีการบริจาคสำหรับผู้ยากไร้ในชุมชน 4.      ทำให้เกิดแหล่งที่มาของภาษีธุรกิจและภาษีอื่นที่มีความจำเป็นสำหรับรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากนักธุรกิจมุสลิมจ่ายภาษีต่างๆ ด้วยความซื่อสัตย์และตรงเวลา เพราะฉะนั้นธุรกิจในอิสลามมีพื้นฐานที่สำคัญ คือ 1.      เป็นแหล่งที่มาของรายได้เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่ชีวิตตัวเองและครอบครัว 2.      เป็นแนวทางในการจัดหาสินค้าที่ผู้บริโภคและสังคมต้องการ 3.      เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4.      ทำให้เกิดการสร้างงาน ดังที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปว่าองค์การภาคเอกชนในเศรษฐกิจแบบตลาดเปิดสามารถสร้างงานได้มากกว่าองค์การภาครัฐ ในอิสลามนั้นการหารายได้ด้วยความสามารถของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบ (จำเป็น) เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ นั่นหมายความว่าเขาสามารถสร้างงานแก่คนในสังคม และจะได้รับความโปรดปราณจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  อีกด้วย 5.      ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสในการสร้างงานให้ตัวเอง ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นมีความสนใจและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจได้ ดังนั้นมุสลิมที่ไม่สามารถหางานอื่นทำได้อาจสร้างงานให้ตัวเองด้วยการทำธุรกิจ และอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้สัญญาที่จะให้ความสำเร็จแก่ทุกๆ คนที่ทำงานอย่างหนัก และมีความพยายามในการประกอบอาชีพ อิสลามได้กล่าวถึงการซื้อขายในหลายๆโอกาส อัล-กุรอานได้ให้ความหมายของการซื้อขายไว้ชัดเจนว่า «يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ» (النساء : 29 ) ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้าในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าที่เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย...” (อัล-นิสาอ์ 4: 29)   ดังนั้นแนวคิดที่สำคัญอันที่สามของธุรกิจอิสลามได้แก่ การทำให้เกิดความพึงพอใจและความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย ผู้ซื้อและผู้ขาย นั่นก็หมายความว่าทุกๆ การซื้อขายที่ถูกกฎหมายนั้นต้องมีความยุติธรรม และ ความดีงาม ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต้องได้รับผลประโยชน์และความพึงพอใจ ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง และผู้ขาย ก็ต้องพยายามที่จะไม่ให้ผู้บริโภคต้องขาดทุนอย่างเด็ดขาด การขาดทุนในที่นี้อาจจะเกิดจาก 1.      ต้องซื้อสินค้าที่พวกเขาไม่ต้องการ หรือไม่ต้องการจำนวนมาก 2.      ต้องซื้อเนื่องจากข้อเสนอที่ว่าสินค้ามีคุณภาพดีกว่า หรือราคาต่ำกว่า 3.      ต้องซื้อเนื่องจากกลัวว่าสินค้าจะขาดตลาด หรือราคาจะสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าอิสลามได้ให้สัญญาถึงผลประโยชน์มหาศาลที่นักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจะได้รับแล้ว อิสลามก็ได้ตักเตือนถึงโอกาสมากมายที่นักธุรกิจมีที่จะหลอกลวงลูกค้า ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้บอกเล่าและตักเตือนในเวลาเดียวกันว่า «إِيَّاكُمْ وَكَثْرَةَ الْحَلِفِ فِي الْبَيْعِ، فَإِنَّهُ يُنَفِّقُ ثُمَّ يَمْحَقُ» (رواه مسلم) ความว่า “จงออกห่างจากการนำเสนอที่ไม่ถูกต้องในการซื้อขายด้วยการชอบสาบานบ่อยๆ เนื่องจากมันจะทำให้เกิดการขายที่มากขึ้น (ในระยะแรก) แต่จะทำให้ขาดทุนหลังจากนั้น” (มุสลิม)             «التَّاجِرُ الصَّدُوقُ الْأَمِينُ مَعَ النَّبِيِّينَ وَالصِّدِّيقِينَ وَالشُّهَدَاءِ» (رواه الترمذي) ความว่า “นักธุรกิจที่มีความซื่อสัตย์จะมารวมกัน (ในวันสิ้นโลก) กับศาสนทูต ผู้ที่มีสัจจะ และเหล่าชุฮะดาอ์ผู้ที่เสียชีวิตเพราะการต่อสู้ในหนทางอิสลาม” (อัต-ติรมิซีย์)   แนวคิดธุรกิจอิสลามที่สำคัญข้อที่สี่ คือ ความจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำการค้าทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ความซื่อสัตย์ในการค้าขายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะทำให้การค้าขายนั้นๆ ผู้ซื้อและผู้ขายได้รับความพึงพอใจ และมีความเห็นชอบ   แนวคิดธุรกิจอิสลามข้อที่ห้า คือ คำกล่าวของศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า “อัลลอฮฺเป็นผู้กำหนดราคา” ผ่านกลไกทางการตลาด ของอุปสงค์ และอุปทาน แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับในโลกตะวันตกเช่นกัน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเห็นพลังของอุปสงค์ และอุปทานผ่าน “มือที่มองไม่เห็น” แต่ในอิสลามเห็นว่านั้นเป็นความต้องการของอัลลอฮฺ ดังนั้นการเข้าไปก้าวก่ายกลไกของตลาดและการแข่งขันอย่างเปิดเผยไม่สามารถจะรับได้ในอิสลาม   ด้วยเหตุนั้นอิสลามได้นำเสนอกรอบแนวคิดธุรกิจมานานกว่า 14 ศตวรรษ ในห้วงเวลาที่ธุรกิจในโลกที่ไม่ใช่มุสลิม ไม่มีการวางกฎเกณฑ์ เต็มไปด้วยทุจริต และการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน   เป็นที่น่าสนใจว่าหลังจากโลกตะวันตกได้มีบทบาทในโลกธุรกิจ และ ได้มีการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจอย่างมากมาย ธุรกิจในปัจจุบันยังเต็มไปด้วยการหลอกลวงและการเอารัดเอาเปรียบ ทั้งๆ ที่ได้มีการวางกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดก็ตามที แน่นอนที่เดียวเหตุผลก็คือ แนวคิดธุรกิจของตะวันตกขาดความเข้าใจถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของมนุษย์อย่างลึกซึ้งนั่นเอง ในขณะที่ธุรกิจของโลกตะวันตกตั้งอยู่บนพื้นฐานของกำไรทางการเงินเป็นสำคัญ ธุรกิจอิสลามนั้นตั้งอยู่บนพื้นของทั้งกำไรทางการเงินและทางจิตวิญญาณธุรกิจตะวันตกให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์และการบริการที่ดีในระดับหนึ่ง ธุรกิจอิสลามตั้งอยู่บนพื้นฐานความซื่อสัตย์ที่สมบูรณ์และการบริการที่ดีเลิศ   ดังนั้นแนวคิดธุรกิจอิสลามยังเหมาะสมกับการแก้ปัญหาจริยธรรมธุรกิจของโลกปัจจุบัน นี่เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ว่าอิสลามเป็นศาสนาที่มีพลวัต สามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริง และมีความทันสมัยอยู่เสมอ   หากว่าแนวคิดต่างๆ ของธุรกิจอิสลามได้รับการปฏิบัติอย่างทั่วถึง แน่นอนทีเดียวมันจะทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจและที่สำคัญกว่านั้น คือ ความสุขสันติของมนุษยชาติ เนื่องจากว่าอิสลามสนับสนุนให้มุสลิมทำธุรกิจอย่างจริงจัง อาจเป็นสาเหตุให้มุสลิมใช้เวลาทั้งหมดของพวกเขาในการบริหารรธุรกิจ และแสวงหากำไรและความมั่งคั่ง จนเขาอาจลืมอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา และทำให้เขาลืมหน้าที่ของเขาต่อลูกค้า และชุมชนโดยรวม อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวด้วยการสรรเสริญนักธุรกิจที่มีความยึดมั่นต่ออิสลามว่า   «رِجَالٌ لَّا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلَا بَيْعٌ عَن ذِكْرِ اللهِ وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاء الزَّكَاةِ يَخَافُونَ يَوْماً تَتَقَلَّبُ فِيهِ الْقُلُوبُ وَالْأَبْصَارُ» (النور : 37 ) ความว่า “บรรดาชายผู้ที่การค้าและการขายมิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการดำรงละหมาด และการจ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น” (อัล-นูร 24: 37)ม