البحث

عبارات مقترحة:

الشكور

كلمة (شكور) في اللغة صيغة مبالغة من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

الواسع

كلمة (الواسع) في اللغة اسم فاعل من الفعل (وَسِعَ يَسَع) والمصدر...

القاهر

كلمة (القاهر) في اللغة اسم فاعل من القهر، ومعناه الإجبار،...

อัล-อิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، ยูซุฟ อบูบักรฺ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الفقه الإسلامي - الدعوة إلى الإسلام - المذاهب السنية الأخرى - تعريف الإسلام
บทความอธิบายถึง ความจำเป็นที่มวลมนุษยชาติจะต้องมีอิสลาม ความแตกต่างระหว่างหลักการอิสลาม หลักการอีมาน และหลักการอิฮฺซาน ความหมายของอัลอิสลาม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   อัล-อิสลาม   ความจำเป็นที่มวลมนุษยชาติจะต้องมีอิสลาม สำหรับมวลมนุษยชาติแล้วพวกเขาจะไม่ได้รับความเปี่ยมสุขทั้งชีวิตในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺนอกจากจะต้องดำเนินวิถีชีวิตตามครรลองอิสลาม  ความจำเป็นของพวกเขาที่จะต้องมีอิสลามมีมากกว่าความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องมีอาหาร เครื่องดื่ม และอากาศลมหายใจเสียอีก  นับเป็นความจำเป็นที่ยิ่งยวดที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามจะต้องมีบทบัญญัติ  ดังนั้นเขาจะอยู่ระหว่างความเคลื่อนไหวสองอิริยาบถ  ความเคลื่อนไหวประการแรกคือ  พยายามดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ตัวเขา  และความเคลื่อนไหวอีกประการคือ  การปกป้องสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะเกิดกับตัวของเขา  ดังนั้นอิสลามคือแสงสว่างที่มาอธิบายแจกแจงสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นอันตราย ศาสนาอิสลาม  มีสามระดับชั้น  คือ  อัลอิสลาม  อัลอีมาน  และอัลอิฮฺซาน  และในแต่ละระดับชั้นมันก็มีหลักการ (รุกุน) เป็นองค์ประกอบ   ความแตกต่างระหว่างหลักการอิสลาม หลักการอีมาน และหลักการอิฮฺซาน          1. หลักการอิสลามและหลักการอีมาน เมื่อนำหลักการทั้งสองมาเปรียบเทียบ เป้าหมายของหลักการอิสลามคือ  การงานที่ปฏิบัติภายนอก ซึ่งมีหลักปฏิบัติอยู่ห้าประการ  ส่วนหลักการอีมาน (หลักศรัทธา)  เป็นการงานที่ปฏิบัติภายใน  ซึ่งมีหลักศรัทธาอยู่หกประการ  เมื่อทั้งสองหลักการแยกกันอยู่ความหมายและหุกุม (ข้อบัญญัติ) จะครอบคลุม  2.  บริบทของหลักการอิฮฺซานจะครอบคลุมบริบทของหลักการอีมาน  บริบทของหลักการอีมานจะครอบคลุมบริบทของหลักการอิสลาม  ดังนั้นหลักการอิฮฺซานจะมีความครอบคลุมกว่าหลักการอื่นๆ ด้วยกับตัวของมันเอง  เพราะว่ามันจะครอบคลุมถึงหลักการอีมาน  บ่าวจะไม่ก้าวถึงระดับของหลักการอิฮฺซานนอกจากเขาจะต้องบรรลุถึงหลักการอีมานเสียก่อน  และหลักการอิฮฺซานจะล้ำลึกยิ่งกว่าในด้านของผู้ที่ปฏิบัติ  เพราะว่าผู้ที่ก้าวไปถึงระดับหลักการอิฮฺซานพวกเขาเป็นกลุ่มหนึ่งของผู้ที่อยู่ในหลักการอีมาน  กล่าวคือทุกคนที่ก้าวสู่หลักการอิฮฺซานหรือเรียกว่ามุฮฺซินเขาคือมุอฺมิน  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นมุอฺมินจะเป็นมุฮฺซิน  3. หลักการอีมานจะกว้างกว่าหลักการอิสลามด้วยกับตัวของมันเอง  เพราะว่ามันจะครอบคลุมหลักการอิสลามด้วย  บ่าวจะไม่ก้าวถึงระดับของหลักการอีมานนอกจากเขาจะต้องบรรลุหลักการอิสลามเสียก่อน  และหลักการอีมานจะล้ำลึกยิ่งกว่าในด้านของผู้ที่ปฏิบัติ  เพราะว่าผู้ที่ก้าวไปถึงระดับหลักการอีมานพวกเขาเป็นกลุ่มหนึ่งของผู้ที่อยู่ในหลักการอิสลาม  แต่ไม่ใช่ทั้งหมด  กล่าวคือทุกคนที่เป็นมุอฺมินเขาคือมุสลิม  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นมุสลิมจะเป็นมุอฺมิน ความหมายของอัลอิสลาม อิสลาม  คือ  การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺอย่างศิโรราบด้วยการให้เอกภาพและน้อมรับพระองค์โดยการปฏิบัติตาม  พร้อมทั้งบริสุทธิ์จากการตั้งภาคีหุ้นส่วนและไม่ยุ่งเกี่ยวกับพลพรรคของผู้ที่ตั้งภาคี  ดังนั้นผู้ใดที่ยอมจำนนต่อพระองค์เพียงผู้เดียวแล้วเขาคือมุสลิม  ผู้ใดที่ยอมจำนนต่อพระองค์และจำนนต่อผู้อื่นควบคู่ไปด้วยเขาคือมุชริกผู้ตั้งภาคีหุ้นส่วน)  และผู้ใดที่ไม่ยอมจำนนเขาคือกาฟิร (ผู้ปฏิเสธ) ผู้อวดดีโอหัง