البحث

عبارات مقترحة:

السبوح

كلمة (سُبُّوح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فُعُّول) من التسبيح،...

الحي

كلمة (الحَيِّ) في اللغة صفةٌ مشبَّهة للموصوف بالحياة، وهي ضد...

المنان

المنّان في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) من المَنّ وهو على...

สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบนุรอมลี ยูนุส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة
อิสลามได้บังคับใช้ให้กระทําความดีต่อสตรี ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวว่า “คนมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)กับมุอ์มินด้วยกัน เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่แต่ละคนต่างเสริมสร้างความแข็งแรงซึ่งกันและกัน” แล้วท่านก็เอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน สตรี ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพี่น้องทางพ่อหรือทางแม่ หรือญาติใกล้ชิด พวกเขาคือ เครือญาติที่อัลลอฮฺสั่งให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ควรตัดขาดกัน เพราะการตัดขาดกันในเรื่องนี้ถือว่า เป็นการเผชิญกับโทษมหันต์

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม   อิสลามได้บังคับใช้ให้กระทําความดีต่อสตรี  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวว่า “คนมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)กับมุอ์มินด้วยกัน เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่แต่ละคนต่างเสริมสร้างความแข็งแรงซึ่งกันและกัน”  แล้วท่านก็เอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน [1] - สตรี ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพี่น้องทางพ่อหรือทางแม่  หรือญาติใกล้ชิด  พวกเขาคือ เครือญาติที่อัลลอฮฺสั่งให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ไม่ควรตัดขาดกัน เพราะการตัดขาดกันในเรื่องนี้ถือว่า เป็นการเผชิญกับโทษมหันต์ซึ่งอัลลอฮฺตรัสว่า ﴿فَهَلْ عَسَيْتُمْ إِن تَوَلَّيْتُمْ أَن تُفْسِدُوا فِي الْأَرْضِ وَتُقَطِّعُوا أَرْحَامَكُمْ﴾ (محمد : 22 ) ความว่า “ดังนั้น หวังกันว่า หากพวกเจ้าผินหลังให้(กับการอีมานแล้ว)พวกเจ้าก็จะก่อความเสียหายในแผ่นดินและตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้นหรือ?” [2]   ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “คนที่ตัดขาดทางเครือญาติจะไม่เข้าสวรรค์” [3] การทําดีต่อเครือญาติจะได้รับผลบุญเป็นสองเท่า  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “การบริจาคทานให้กับคนยากไร้ได้ผลบุญแห่งการบริจาคทาน  ถ้าได้บริจาคแก่ญาติผู้ใกล้ชิดจะได้รับสองผลบุญ คือ ผลบุญของการบริจาคทาน  และผลบุญของการเชื่อมมิตรไมตรีในหมู่เครือญาติ” [4]   - ถ้านางเป็นเพื่อบ้านที่อยู่ใกล้ชิด  สําหรับนางคือสองสิทธิที่สมควรได้รับ  คือ สิทธิแห่งอิสลาม  และสิทธิแห่งเพื่อนบ้าน   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า ﴿وَاعْبُدُواْ اللهَ وَلاَ تُشْرِكُواْ بِهِ شَيْئاً وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً وَبِذِي الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَى وَالْجَارِ الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالجَنبِ﴾ (النساء : 36 ) ความว่า “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง”[5]   หน้าที่ของผู้ที่ใกล้ชิดนาง ในฐานะเพื่อนบ้าน คือต้องทําดีต่อนาง  หมั่นรักษาคํามั่นสัญญาต่อกัน  ส่งความช่วยเหลือในยามที่นางต้องการความช่วยเหลือ  ทั้งในด้านความจําเป็นในการดําเนินชีวิต หรือ เรื่องอื่นๆ ที่นางต้องการความช่วยเหลือ  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “มลาอิกะฮฺญิบรีล(เทวทูตของอัลลอฮฺ)ได้สั่งเสียฉันอยู่เสมอเป็นเนืองนิจเพื่อให้ทำดีต่อเพื่อนบ้าน  จนทำให้ฉันคิดเหมือนว่าเขาต้องการให้เพื่อนบ้านสามารถที่จะรับส่วนแบ่งของมรดกได้ด้วย” [6] นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปกป้องเกียรติ  และตัวของนาง  ไม่ทําร้ายและกล่าวละเมิดด้วยวาจาที่ไม่สุภาพหรือการปฏิบัติต่อนางอย่างไม่ชอบธรรม  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน-  กล่าวว่า “วัลลอฮฺ ! (ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ) เขาคนนั้นไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺ ! เขายังไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺ ! เขายังไม่ศรัทธาพอ (ท่านได้สาบานกับนามของอัลลอฮฺสามครั้ง)”   มีคนถามว่า ใครเล่าโอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ?  ท่านตอบว่า “ผู้ซึ่งเพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากความชั่วของเขา” [7]    - เพื่อประกันสิทธิความชอบธรรมของนางในฐานะสตรีคนหนึ่ง   อิสลามจึงประกาศแก่มุสลิมทุกคนให้รับรู้ว่า  การทําดีต่อนางตลอดจนการช่วยเหลือนาง  คือสิ่งที่มุสลิมทุกคนควรแข่งกันทํา และเช่นนี้คือการงานที่ประเสริฐยิ่ง  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “ผู้ที่ออกตระเวนหาหญิงหม้ายและผู้ยากจน(เพื่อช่วยเหลือ) เปรียบเสมือนคนที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺหรือคนที่หมั่นละหมาดกลางคืนและถือศีลอดกลางวัน” [8] เหล่าสาวกของท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้ออกตระเวนอย่างสมํ่าเสมอเพื่อไต่ถามข่าวคราวความทุกข์สุขของเพื่อนบ้านของพวกเขา โดยเฉพาะผู้ยากไร้  และพวกเขาให้ความสําคัญต่อบรรดาสตรีเป็นพิเศษ รายงานโดยฏ็อลหะฮฺ - ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานแก่ท่านด้วยเถิด- ซึ่งกล่าวว่า ท่านอุมัรฺ บิน อัลค็อฏฏอบ - ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานแก่ท่านด้วยเถิด- ได้ออกเดินจากบ้านในคํ่าคืนหนึ่ง ฉันจึงตามหลังเขาไปด้วย  ท่านได้เข้าบ้านหลังหนึ่งแล้วอีกบ้านหนึ่งถัดไป   เมื่อถึงรุ่งเช้าฉันได้เดินผ่านบ้านหลังนั้น ฉันเลยเข้าไปดู  ปรากฎว่ามีหญิงวัยชราตาบอดคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่  ฉันถามนางว่า  ชายคนนั้นที่มาเมื่อวานเพื่อเหตุใด? นางตอบว่า เขาคือผู้ชายที่ได้สัญญากับฉันเมื่อวันก่อนที่ผ่านมาว่าต้องการช่วยเหลือในสิ่งที่ฉันต้องการ  สร้างบ้านให้ฉัน และขจัดสิ่งเลวร้ายทั้งปวงให้ออกห่างจากตัวฉัน  ฏ็อลหะฮฺกล่าวแก่ตัวเอง ว่า  “ฉันกําลังเสาะหาความผิดของอุมัรฺอีกหรือ ?” ที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่การยกอ้างถึงสิทธิและหน้าที่ของสตรีอย่างกว้าง ๆ  เพราะนอกจากนี้ยังมีสิทธิและหน้าที่อื่นๆ อีกมากมายซึ่งแตกแขนงมาจากสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว   แต่จะขอไม่อธิบายรายละเอียดลึกลงไปในหนังสือฉบับนี้เพราะเกรงว่าจะยืดยาว   กระนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้ทำให้ประจักษ์แก่เราแล้วถึงภาพลักษณ์อันดีงามของอิสลามที่มีต่อบรรดาสตรี [1] เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/182 เลขที่ 467 [2] มุฮัมมัด 22 [3] เศาะฮีฮฺ มุสลิม 4/ 1981 เลขที่ 2556 [4] เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 3/ 278 หมายเลข 2067 [5] อัลกุรอาน บท อัน-นิสาอ์ 36 [6] อัลบุคอรีย์ 5/ 2239 หมายเลข  5668 [7] อัลบุคอรีย์ 5/2240 เลขที่ 5670 [8] เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรีย์ 5/2047 หมายเลข 5038

المرفقات

2

สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม
สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม