البحث

عبارات مقترحة:

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

الشاكر

كلمة (شاكر) في اللغة اسم فاعل من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

الإله

(الإله) اسمٌ من أسماء الله تعالى؛ يعني استحقاقَه جل وعلا...

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดกและค่าสินไหมชดใ้ช้

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบรอฮีม มุฮัมมัด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات المعاملات
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็น ซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตีและทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลาม เกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดกและค่าสินไหมทดแทนกรณีฆาตกรรม คัดมาจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

التفاصيل

สิทธิของสตรีในเรื่องมรดก การชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากฆาตกรรม ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดก﴿شبهة حول حقوق المرأة في الميراث والدية﴾อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺแปลโดย : อิบรอฮีม มุฮัมมัดผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมานعبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحةترجمة: إبراهيم  محمدمراجعة: صافي عثمانด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ สิทธิของสตรีในเรื่องมรดกอิสลามได้ให้สิทธิแก่สตรีในเรื่องมรดกที่ทำให้เธอสามารถรับส่วนแบ่งของมรดกได้ ซึ่งก่อนหน้านั้น สิทธิการรับมรดกจะเป็นของผู้ชายที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองชนเผ่าจากผู้รุกรานเท่านั้น มิหนำซ้ำ ตัวนางเองยังตกเป็นมรดกตกทอดเหมือนทรัพย์สินเงินทอง  จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวต่ออายะฮฺที่ว่า﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ يَحِلُّ لَكُمْ أَن تَرِثُواْ النِّسَاء كَرْهاً وَلاَ تَعْضُلُوهُنَّ لِتَذْهَبُواْ بِبَعْضِ مَا آتَيْتُمُوهُنَّ﴾ (النساء : 19 )ความว่า “โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันกับการที่พวกเจ้าจะบีบเค้นบรรดาพวกนางทั้งหลาย เพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง...” [1]อิบนุ อับบาสกล่าวว่า เมื่อชายคนหนึ่งเสียชีวิต คนที่มีสิทธิต่อภรรยาผู้ตายคือหัวหน้าครอบครัวของเขา กล่าวคือ หัวหน้าครอบครัวของสามีมีสิทธิจะรับเอานางเป็นภรรยาของเขา หรือไม่ก็เขาจะให้นางแต่งงานกับผู้อื่น หรือเขาไม่อยากให้นางแต่งงานกับใครก็ได้ ซึ่งหัวหน้าครอบครัวของสามีมีสิทธิมากกว่าครอบครัวของนาง  ด้วยเหตุนี้โองการนี้จึงถูกประทานลงมา... [2]เมื่ออิสลามมา อิสลามได้ห้ามการกระทำนี้ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา กล่าวว่า﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ يَحِلُّ لَكُمْ أَن تَرِثُواْ النِّسَاء كَرْهاً وَلاَ تَعْضُلُوهُنَّ لِتَذْهَبُواْ بِبَعْضِ مَا آتَيْتُمُوهُنَّ﴾ (النساء : 19 )ความว่า “โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันกับการที่พวกเจ้าจะบีบเค้นบรรดาพวกนางทั้งหลาย เพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง...”[3]และอิสลามได้ให้สิทธิแก่นางในการรับมรดก โดยได้กำหนดข้อบัญญัติไว้ อัลลอฮฺตรัสว่า  ﴿لِّلرِّجَالِ نَصيِبٌ مِّمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأَقْرَبُونَ وَلِلنِّسَاء نَصِيبٌ مِّمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأَقْرَبُونَ مِمَّا قَلَّ مِنْهُ أَوْ كَثُرَ نَصِيباً مَّفْرُوضاً﴾ (النساء : 7 )ความว่า “สำหรับบรรดาชายนั้น มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับบรรดาหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนได้รับที่ถูกกำหนดอัตราส่วนไว้”[4]ซัยยิด กุฏบ์  ขออัลลอฮฺเมตตาแก่ท่านด้วย ได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานของท่านต่อโองการนี้ว่า “นี่คือพื้นฐานโดยรวมที่อิสลามได้ให้แก่สตรีในห้วงเวลากว่า 14 ศตวรรษมาแล้วซึ่งสิทธิในการรับมรดกได้เหมือนบุรุษ ก็เหมือนที่อิสลามได้ปกป้องสิทธิของเด็กกำพร้าที่เสียพ่อตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งสมัยก่อนอิสลามนั้นพวกเขาต่างได้ริบเอาทรัพย์สินของเด็กไปใช้  และปฏิบัติต่อเด็กเหล่านี้อย่างไม่ยุติธรรม เพราะสมัยก่อนอิสลามนั้น การพิจารณาคุณค่าของคนคนหนึ่งโดยประเมินจากความสามารถในการทำสงคราม  และความสามารถในการผลิตเป็นสำคัญ แต่อิสลามได้นำเอาแนวทางแห่งพระผู้อภิบาล ซึ่งมองมนุษย์โดยเอาคุณค่าของความเป็นมนุษย์เป็นอันดับแรก และนี่คือค่าพื้นฐานที่ไม่แยกแยะสถานภาพของเขา แม้จะอยู่ในสถานภาพใดก็ตาม แล้วหลังจากนั้นก็จะพิจารณาที่ความรับผิดชอบที่เขามี ทั้งภายในครอบครัวของเขาและภายในชุมชนของเขาโดยรวม เป็นกรณีถัดไปด้วย....[5]อัลลอฮฺตรัสว่า  ﴿يُوصِيكُمُ اللهُ فِي أَوْلاَدِكُمْ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الأُنثَيَيْنِ﴾ (النساء : 11)ความว่า “อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้เกี่ยวกับลูกๆ ของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” [6]บางทีอาจจะมีความรู้สึกไม่สบายใจสำหรับคนที่ไม่เข้าใจเหตุผลของอิสลามเมื่ออ่านโองการข้างต้นก็เป็นได้ เพราะเข้าใจว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้หญิงที่แบ่งส่วนมรดกให้ผู้หญิงเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ชายได้อย่างไร?ความจริงแล้ว อัลลอฮฺได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการรับมรดกของผู้หญิงไว้อย่างละเอียดและสมบูรณ์แล้ว ซึ่งพระองค์ได้แบ่งสถานภาพของผู้หญิงไว้เป็น 3 กรณี1. ส่วนแบ่งของนางจะได้เท่า ๆ กับส่วนแบ่งของผู้ชาย2. ส่วนแบ่งของนางจะได้เท่า ๆ กับส่วนแบ่งของผู้ชายหรือน้อยกว่านั้นนิดหน่อย3. ส่วนแบ่งของนางจะได้ครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งของผู้ชาย นี่เป็นกรณีส่วนใหญ่สำหรับท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านสามารถอ่านดูในหนังสือที่พูดถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างครบถ้วนก่อนที่จะตัดสินว่าอิสลามได้ลิดรอนสิทธิของสตรีหรือไม่นั้น เรามายกสักหนึ่งตัวอย่างเพื่อให้เห็นชัดเจนถึงเหตุผลที่อิสลามได้กำหนดส่วนแบ่งของผู้หญิงให้ครึ่งหนึ่งของผู้ชายกันสมมุติว่า ชายคนหนึ่งเสียชีวิตโดยมีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 1 คน และมีสินทรัพย์ที่เป็นมรดก 300,000 บาท ส่วนแบ่งของลูกชายจะได้ 200,000 บาท ส่วนแบ่งของลูกสาวจะได้ 100,000 บาท เรามาสังเกตการใช้เงินหลังการแบ่งเงินมรดกเหล่านี้ทั้งในส่วนของลูกชายและในส่วนของลูกสาวไปสักระยะเวลาหนึ่งสำหรับในส่วนของลูกชาย เงินที่ได้รับจากส่วนแบ่งของเขานั้นจะลดลงเนื่องจากเขาต้องจ่ายค่าสินสอดให้กับสตรีที่เขาปรารถนาจะแต่งงานด้วย  เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เขาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกินของใช้ ค่าใช้จ่ายในครัว ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของภรรยา ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของลูกๆ และเขาต้องรับผิดชอบความต้องการต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว เขาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมดโดยที่ภรรยาของเขาไม่ต้องลงขันในเรื่องนี้เลย ถึงแม้ภรรยาจะเป็นคนที่มีเงินทองมากมายก็ตาม และเป็นกรณีเดียวกัน หากพ่อแม่ พี่น้อง และญาติที่ใกล้ชิดของเขาเป็นคนขัดสนหรือเป็นคนที่ไม่มีความสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้ เขายังต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลเหล่านี้หากเขามีความสามารถอีกด้วยสำหรับในส่วนของลูกสาว ทรัพย์สินของเธอจะถูกโอบอุ้ม ถูกรักษาไว้ด้วยความหวงแหน ได้รับการดูแล และใช้ไปในทางที่ไม่ใช่การชำระความจำเป็น เธอไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายใดๆ แม้แต่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นส่วนตัวของเธอเองก็ตาม ดังนั้นทรัพย์สินที่เธอได้รับส่วนแบ่งจากมรดกนั้นจะไม่ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะเธอยังจะได้รับสินสอดจากฝ่ายชายเมื่อเธอแต่งงานอีกด้วย แม้ในกรณีที่เธอต้องแยกทางกับสามี สามียังคงต้องรับผิดชอบโดยกฎหมายในเรื่องค่าเลี้ยงดู  และรับผิดชอบความจำเป็นต่างๆ ของลูกๆ และทรัพย์สินของเธอยังสามารถนำไปเป็นเงินลงทุน  และสามารถพอกพูนขึ้นจากการค้าขายหรือทำกิจรรมที่คล้ายๆ กันนี้  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นได้จากที่กล่าวมาขั้นต้น เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ส่วนแบ่งของผู้หญิงยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ลดลง เธอยังคงครอบครองสินทรัพย์นั้นอยู่ครบเต็มจำนวน แต่สำหรับส่วนแบ่งของผู้ชายนั้นย่อมลดลงและพร่องไป อันเนื่องมาจากภาระความรับผิดชอบที่เขามีกฎหมายอิสลามจะแตกต่างกับระบบอื่นๆ ในโลก และแตกต่างกับระบบที่พ่อจะพ้นจากความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกสาวเมื่อเธอถึงวัยที่กำหนดที่เธอสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้ แต่การเลี้ยงดูลูกสาวในอิสลามได้บังคับพ่อโดยกฎหมายให้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูจนกว่าเธอจะแต่งงาน หลังจากนั้นก็ให้สามีรับผิดชอบความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ของเธอในการดำรงชีพ หลังจากนั้นก็ให้ลูกของนางรับผิดชอบในกรณีถัดไปกฎหมายทั่วไปที่แบ่งมรดกให้เท่าๆ กันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้นจะต้องเท่าๆ กันในเรื่องภาระความรับผิดชอบอีกด้วย และภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะต้องออกคนละครึ่ง ถ้าหากเรียกร้องส่วนแบ่งของมรดกให้แบ่งเท่าๆ กันระหว่างหญิงและชาย แต่ไม่ได้เรียกร้องความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เท่าๆ กันแล้ว  ก็ไม่ใช่ความยุติธรรมและความชอบธรรมแน่ หากแต่เป็นความอยุติธรรมต่อผู้ชายด้วยซ้ำ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาตในกฎหมายอิสลามดังนั้น เป็นความยุติธรรมและความชอบธรรมแล้วที่ส่วนแบ่งมรดกให้ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยได้สละภาระแก่ผู้หญิงในเรื่องออกค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายของลูกๆ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ หากแต่เราเห็นว่า เป็นความเอื้อเฟื้อ  และให้เกียรติสตรีด้วยซํ้าที่อิสลามได้สละภาระเหล่านี้แก่เธอทั้งหมด และให้ภาระนี้แก่ผู้ชายรับผิดชอบเพียงผู้เดียว โดยไม่ได้งดเว้นส่วนแบ่งมรดกของเธอไปด้วย ซึ่งเธอยังได้รับครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งของผู้ชายอีกต่างหาก นี่ไม่ใช่ความยุติธรรมและความชอบธรรมดอกหรือ ?ด้วยเหตุนี้ จึงควรแยกส่วนแบ่งมรดกให้ต่างกันระหว่างบุคคลแต่ละคนไว้ให้ดี ไม่ว่าชายหรือหญิง ที่ไม่อาจจะลิดรอนสิทธิของกันและกันได้ เพราะฉะนั้น เป็นบรรทัดฐานที่อิสลามได้สั่งเสียด้วย “หนึ่งในสาม” อะไรที่เกินกว่านี้ถือว่าลิดรอนสิทธิของบุคคลที่เป็นญาติ  และเป็นความเสียหายแก่พวกเขาด้วย รายงานจาก อามิรฺ บิน ซะอัด บิน อบีวักกอศ จากพ่อของเขา (ขออัลลอฮฺประทานความเมตตาแก่เขาด้วย) กล่าวว่า ท่านศาสนทูต (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้ไปเยี่ยมฉันเมื่อปีหัจญ์วะดาอฺ (หัจญ์อำลา) ขณะที่ฉันป่วยหนัก ฉันจึงบอกกับท่านว่า “ฉันป่วยหนักแล้ว และฉันเป็นคนที่มีทรัพย์สินมากพอ และไม่มีใครที่สามารถรับมรดกของฉันนอกจากลูกสาวของฉันเพียงคนเดียว ฉันจะบริจาคสองในสามได้ไหม?”  ท่านกล่าวว่า “ไม่ได้” แล้วท่านกล่าวต่ออีกว่า “หนึ่งในสาม หนึ่งในสามนั้นเยอะแล้ว เจ้ามีทายาทที่สืบทอดจากเจ้าที่มีอันจะกินยังดีกว่าเจ้ามีทายาทที่อนาถาซึ่งจะเป็นภาระแก่ผู้คน และเจ้าไม่ใช้จ่ายอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความโปรดปรานจากอัลลอฮฺนอกจากพระองค์จะตอบแทนสิ่งนั้นแก่เจ้าทั้งหมด ไม่ว่าอาหารที่เจ้าป้อนให้แก่ภรรยาของเจ้าเองก็ตาม”[7]ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) หมั่นชี้แนะ และสั่งให้รักษาสิทธิของสตรีมาโดยตลอดเพื่อกอบกู้ให้เธอมีชีวิตอย่างมีเกียรติเรื่องส่วนแบ่งมรดกนี้ยังสามารถเกี่ยวโยงได้อีกในเรื่อง “การชดใช้อันเนื่องจากฆาตกรรม (ดิยะฮฺ)” รวมถึงเรื่องความรับผิดชอบด้วยเงินทองที่มีต่อผู้อื่นทั้งหมด และผลกระทบที่เกิดจากเหตุฆาตกรรม ซึ่งคนรับภาระล้วนแต่เป็นผู้ชาย ไม่ใช่ผู้หญิง การชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากฆาตกรรมในกฎหมายอิสลาม การชดใช้อันเนื่องจากฆาตกรรมสำหรับผู้หญิงจะได้ครึ่งหนึ่งของค่าชดใช้ของผู้ชาย และนั่นเป็นกรณีเดียวเท่านั้น คือกรณีฆ่าโดยไม่เจตนาที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายซึ่งไม่ถึงระดับที่ต้องโทษฆ่ากลับ ส่วนในกรณีของฆ่าโดยเจตนานั้นต้องลงโทษด้วยการฆ่ากลับเพียงสถานเดียวหากไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ ไม่ว่าผู้ที่ฆ่าหรือผู้ที่ถูกฆ่านั้นเป็นผู้ชายหรือหญิง เนื่องจากเป็นประเด็นในด้านความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันสำหรับกรณีฆ่าโดยไม่เจตนาที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เป็นไปได้มากที่ค่าชดใช้สำหรับผู้หญิงจะได้รับครึ่งหนึ่งเท่าของค่าชดใช้ของผู้ชาย ทั้งนี้ จะอยู่ที่ระดับความสูญเสียของครอบครัวที่เกี่ยวข้องที่เป็นผลมาจากการฆาตกรรมชายหรือฆาตกรรมหญิงนั้นด้วยครอบครัวที่พ่อของพวกเขาถูกฆ่าโดยไม่เจตนาจะสูญเสียคนที่ทำหน้าที่ผู้นำ ผู้เลี้ยงดู ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ผู้รับภาระความต้องการต่างๆ ของครอบครัวนั้นๆ เป็นความสูญเสียด้านวัตถุที่รวมไปถึงสูญเสียความเป็นผู้นำและคนดูแล และยังรวมไปถึงด้านจิตใจที่มีผลต่อความเศร้าโศกเสียใจ ส่วนครอบครัวที่แม่ถูกฆ่าโดยไม่เจตนานั้น จะสูญเสียความเป็นแม่ในด้านจิตใจเท่านั้นซึ่งต้องชดในเรื่องความเศร้าโศกเสียใจ ความเอ็นดูเมตตาและที่คล้ายๆ กันนี้เป็นเรื่องในด้านความรู้สึกที่มีต่อผู้หญิง ซึ่งจะมีไม่มากเท่าหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ชาย และนี่เป็นผลกระทบในด้านจิตใจ หากไปทดแทนด้วยอำนาจเงินทองก็ไม่อาจทดแทนกันได้การชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการฆาตกรรมนั้น ในขอบข่ายของตัวมันเองแล้วไม่ใช่ค่าของตัวผู้ตายนั้นๆ แต่อย่างใด หากแต่เป็นค่าสมมุติฐานจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในครอบครัวของผู้ตาย หากเรารู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในครอบครัวของผู้ตายจากการสูญเสียพ่อหรือสูญเสียแม่แล้วละก็ เราก็จะเข้าใจประเด็นในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับค่าชดใช้ของผู้หญิงที่เป็นครึ่งหนึ่งของค่าชดใช้ของผู้ชายด้วยเช่นกัน[1]  อัน-นิสาอ์ 19[2]  เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 4  หน้าที่ 1670  หมายเลข  4303[3]  อัน-นิสาอ์  19[4] อัน-นิสาอ์  7[5] หนังสือฟีซีลาลิลกุรอาน เล่มที่ 1 หน้าที่ 588[6] อัน-นิสาอ์  5[7] เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 435 หมายเลข   1233

المرفقات

2

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดกและค่าสินไหมชดใ้ช้
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในเรื่องมรดกและค่าสินไหมชดใ้ช้