البحث

عبارات مقترحة:

الرءوف

كلمةُ (الرَّؤُوف) في اللغة صيغةُ مبالغة من (الرأفةِ)، وهي أرَقُّ...

الودود

كلمة (الودود) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعول) من الودّ وهو...

المعطي

كلمة (المعطي) في اللغة اسم فاعل من الإعطاء، الذي ينوّل غيره...

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงด้านการจัดการพิธีเเต่งงาน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบรอฮีม มุฮัมมัด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็น ซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตีและทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลาม เกี่ยวกับการสิทธิด้านการจัดการแต่งงานของผู้หญิงตามบทบัญญัติอิสลาม คัดมาจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงด้านการจัดการพิธีเเต่งงาน   สำหรับชายที่มีความพร้อมในการเลือกคู่ครองแล้ว การจะหาสตรีซึ่งเหมาะสมสำหรับเขาเป็นภารกิจที่ยากพอสมควร และเช่นกันนี้ก็เป็นการยากกว่าสำหรับสตรีที่จะเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับเธอ เพราะเมื่อผู้ชายแต่งงานกับหญิงที่ไม่เหมาะสมสำหรับเขา เขาก็ยังมีโอกาสเลือกหญิงคนใหม่เพื่อแต่งงานอีกครั้งได้โดยไม่ยากนัก ต่างจากผู้หญิงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ สตรีมักจะเป็นฝ่ายที่อ่อนแอกว่าในสังคมมนุษย์ อิสลามจึงได้ปกป้องคุ้มครองเธอจากความเลวร้ายต่างๆ และได้สั่งเสียให้ระมัดระวังในการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการสมรสที่ล้มเหลว เพราะสิ่งนี้จะกลายเป็นความเดือดร้อนที่สาหัสมาก อิสลามจึงได้วางเงื่อนไขในการแต่งงานว่าจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือตัวแทนผู้ปกครองอยู่ด้วยเท่านั้น และการแต่งงานจะเป็นโมฆะหากไม่มีบุคคลเหล่านั้น เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ไม่มีการแต่งงานนอกจากมีวะลี(ผู้ปกครองฝ่ายหญิง)และพยานสองคนที่ยุติธรรม และการแต่งงานใดๆ ที่นอกเหนือ จากนี้ล้วนแต่ใช้ไม่ได้ทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าหากเกิดความขัดแย้งกัน(ในเรื่องวะลี) ให้ผู้นำเป็นวะลีสำหรับผู้ไม่มีวะลี” ข้อบัญญัติเเห่งอิสลามได้กำหนดว่าการแต่งงานจะถูกต้องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับวะลี ในทำนองเดียวกันการแต่งงานจะถูกต้องได้ก็ต่อเมื่อผู้หญิงยินยอมที่จะเเต่งงานเเละอนุญาตให้วะลีจัดพิธีแต่งงานให้เธอ แต่ถ้าปรากฏว่าฝ่ายหญิงไม่ยินยอมในการแต่งงานเเล้ว เธอมีสิทธิที่จะฟ้องร้องไปยังศาลได้ เพื่อขอยกเลิกการแต่งงานนั้นได้ เพราะมีหลักฐานจากท่านนบีซึ่งผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อค็อนสาอ์ บินติ ญุซาม กล่าวว่า “พ่อของเธอได้แต่งเธอในขณะที่เธอเป็นหม้าย เธอไม่เห็นชอบกับการแต่งงานนั้น แล้วเธอก็ไปหาศาสนาทูต แล้วเธอก็เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านฟัง ท่านจึงได้ยกเลิกการแต่งงานของเธอ” และอิสลามยังได้วางเงื่อนไขสำหรับวะลีเพื่อความถูกต้องของการแต่งงานอีกด้วย คือ วะลีย่อมเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์ของผู้ที่อยู่ใต้ปกครองของเขา และใครก็ตามที่กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นการละเมิดความเป็นอิสระของสตรีในการเลือกคู่ครองที่เธอพอใจแล้วละก็ เราขอกล่าวว่า อิสลามได้ให้สิทธิแก่สตรีที่บรรลุวัยตามข้อกำหนดของศาสนาและมีสติปัญญา ไม่ว่าเธอจะเป็นหญิงสาวหรือหญิงหม้าย ในการที่จะตอบรับหรือไม่รับชายซึ่งเสนอจะเป็นคู่ครองของเธอ และอิสลามไม่อนุญาตให้วะลีของเธอบังคับเธอ ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือบังคับจิตใจเพื่อให้ตอบรับคนที่เธอไม่พอใจ เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “หญิงหม้ายจะไม่ถูกแต่งงาน จนกว่านางจะกล่าววาจา (ออกความเห็น) และหญิงสาวจะไม่ถูกแต่งงาน จนกว่าจะขออนุญาตจากเธอก่อน” เหล่าสาวกถามว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ การอนุญาตจากเธอเป็นอย่างไร” ท่านตอบว่า “คือการที่เธอนิ่งเงียบ” ในขณะที่ข้อบทบัญญัติได้เรียกร้องและส่งเสริมสนับสนุนในการแต่งงานนั้น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุขสำราญแค่ชั่วครู่และระยะเวลาสั้นๆ หากแต่มีความมุ่งหมายในการสร้างสัมพันธภาพที่ยืนยาวและยั่งยืน เมื่อผู้หญิงอยู่อีกมุมหนึ่งในสัมพันธภาพนี้จึงเป็นข้อบัญญัติจะต้องได้รับการยอมรับและพอใจจากเธอด้วย แต่เนื่องด้วยสาเหตุที่สตรีอ่อนไหวง่ายต่ออิทธพลของสิ่งรอบข้าง ง่ายต่อการที่เธอจะถูกชักจูง ซึ่งปกติแล้วเหตุการณ์ดังกล่าว เธอจะเป็นฝ่ายเสียทีซะมากกว่า ข้อบัญญัติจึงให้สิทธิแก่วะลีของเธอที่จะปฏิเสธบุคคลที่เสนอเป็นคู่ครองของเธอได้หากชายคนนั้นไม่คู่ควรกับเธอ เพราะปกติผู้ชายจะรู้เรื่องผู้ชายด้วยกันมากกว่าผู้หญิงอยู่แล้ว และเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ชายด้วยกันอีกด้วย ถ้าหากมีผู้ชายที่คู่ควรกับเธอมาสู่ขอและเธอรับการสู่ขอนั้น แต่วะลีของเธอปฏิเสธอย่างไม่มีเหตุผลนอกจากการเอาชนะเธอเท่านั้น การเป็นวะลีของเขาต้องยกเลิกไป และให้หาญาติ – ที่ดี - ที่ใกล้ชิดที่สุดเป็นวะลีแทน หากญาติที่ใกล้ชิดไม่มี ก็ให้กอฎี(ผู้พิพากษา)เป็นคนจัดการแต่งงานให้เธอแทน อิสลามได้ห้ามผู้หญิงแต่งงานกับผู้ชายที่ไม่คู่ควรและไม่เหมาะสมกับเธอและกับครอบครัวเธอด้วยเพราะผู้หญิงและครอบครัวจะอับอายกับสามีของเธอที่ไม่คู่ควรจนเป็นเหตุให้เธอและครอบครัวของเธอมีปมด้อยเพราะฉะนั้นการแต่งงานของผู้หญิงกับผู้ชายที่วะลีของเธอไม่เห็นด้วยและญาติใกล้ชิดของเธอไม่พึงพอใจจะเป็นผลทำให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวถูกตัดขาด ซึ่งอัลลอฮฺได้สั่งให้เชื่อมสัมพันธ์ไว้และในทางตรงกันข้ามสำหรับชายที่คู่ควรอย่างที่ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “หากมีชายที่พวกเจ้าพอใจในกริยามารยาทและศาสนามาสู่ขอกับพวกเจ้า ก็จงจัดการแต่งงานให้เขาเถิดหากเจ้าปฎิเสธก็จะเกิดการความวุ่นวาย(ฟิตนะฮฺ)บนแผ่นดินและความชั่วร้ายจะตามมา”   เพราะสามีที่มีศาสนาและมีมารยาทนั้นหากเขารักภรรยาของเขาเขาจะให้เกียรติภรรยาของเขาหากเขาไม่รักเขาก็จะไม่เยียดหยามและไม่ดูถูกเธอและเขามีความเกรงกลัวอัลลอฮฺในเรื่องนี้   เศาะฮีหฺอิบนิ หิบบานเล่มที่ 9 หน้าที่ 386 หมายเลข 4075 เศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์เล่มที่ 6 หน้าที่ 2547 หมายเลข  6546 เศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์เล่มที่5หน้าที่1974หมายเลข 4843 อัลมุสตัดร็อกอะลัศ เศาะฮีหัยนฺเล่มที่ 2 หน้าที่ 179 หมายเลข 2695

المرفقات

2

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงด้านการจัดการพิธีเเต่งงาน
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงด้านการจัดการพิธีเเต่งงาน