البحث

عبارات مقترحة:

السبوح

كلمة (سُبُّوح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فُعُّول) من التسبيح،...

العلي

كلمة العليّ في اللغة هي صفة مشبهة من العلوّ، والصفة المشبهة تدل...

الكبير

كلمة (كبير) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل، وهي من الكِبَر الذي...

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรี

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบรอฮีม มุฮัมมัด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็น ซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตีและทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลาม เกี่ยวกับการอนุญาตให้ตีสตรีในอิสลาม คัดมาจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

التفاصيل

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรี ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรี﴿شبهة حول ضرب المرأة﴾อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺแปลโดย : อิบรอฮีม มุฮัมมัดผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมานعبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحةترجمة: إبراهيم  محمدمراجعة: صافي عثمانด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรีอัลลอฮฺตรัสว่า ﴿وَاللاَّتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ وَاهْجُرُوهُنَّ فِي الْمَضَاجِعِ وَاضْرِبُوهُنَّ فَإِنْ أَطَعْنَكُمْ فَلاَ تَبْغُواْ عَلَيْهِنَّ سَبِيلاً﴾ (النساء : 34 )ความว่า “และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน และจงเฆี่ยนนาง แต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง”[1]อิสลามได้ห้ามการตีสตรี และได้เตือนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างมาก นั่นก็เพราะสถานภาพของเธอโดยปกตินั้นอ่อนแอ ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ท่านศาสนทูต (ขอความสันติสุขมีแด่ท่าน) กล่าวว่า “เจ้าอย่าได้ทุบตีภรรยาของเจ้าเหมือนตีทาส แล้วหลังจากนั้นเจ้าก็ประเวณีกับนางในตอนกลางคืน”[2]และในขณะที่ห้ามตีนี้ อิสลามอนุญาตให้ตีเล็กน้อยเพื่อเป็นการตักเตือนแต่มิใช่ให้เจ็บที่ร่างกายหรือผิวหนัง  แต่มีเป้าหมายเพื่อให้นางสำนึกตน ซึ่งเป็นการตีในขอบเขตที่แคบมาก เฉพาะกรณีที่จำเป็นเฉพาะเจาะจง นั่นคือกรณีที่ภรรยาฝ่าฝืนสามี คือ ไม่เชื่อฟังสามีโดยขาดเหตุผลที่ยอมรับได้ มีรายงานจากอุมมุ กัลษูม บุตรีของ อบู บักรฺ (ขออัลลอฮฺประทานความโปรดปรานแก่ท่านทั้งสอง) กล่าวว่า[3] :บรรดาชายถูกห้ามไม่ให้ตีบรรดาหญิงที่เป็นภรรยาของพวกเขา  หลังจากนั้นพวกเขาต่างไปฟ้องร้องต่อท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ท่านจึงอนุญาตให้ตีพวกนางได้ แล้วท่านก็กล่าวว่า “ผู้หญิงหลายคนต่างมาร้องเรียนกับครอบครัวของมุฮัมมัด  พวกนางทั้งหมดถูกตีทั้งนั้น” ยะหฺยาผู้รายงานหะดีษกล่าวว่า : ฉันคิดว่า อัลกอซิมเคยกล่าวว่า : หลังจากนั้นพวกเขาได้ถูกกล่าวว่า “และคนที่ประเสริฐสุดในบรรดาพวกท่านจะไม่ตีบรรดาภรรยาของเขาเลย”  ในโองการข้างต้น อัลลอฮฺได้อธิบายอย่างชัดเจนถึงแนวทางแก้ปัญหาการฝ่าฝืนของภรรยาที่มีต่อสามี และบางครั้งวิธีเเก้ปัญหาว่านี้อาจจะสร้างความเจ็บปวดบ้าง แต่มนุษย์ก็ย่อมรับมันได้เพื่อเป็นแนวทางในการเเก้ปัญหาที่เกิดผลตามความคาดหมายและวิธีนี้มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน : ขั้นที่ 1 :  ขั้นตักเตือนว่ากล่าว ให้คำเตือนถึงโทษที่อัลลอฮฺได้บอกไว้  และบอกกล่าวถึงสิทธิของสามีและความจำเป็นที่เธอต้องเชื่อฟังสามี และนี่เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความนุ่มนวลและความรักในการใช้คำพูดหากวิธีนี้ไม่เป็นผล จึงต้องใช้ขั้นที่ 2: ขั้นแยกที่นอน คือ ไม่นอน ไม่ร่วมประเวณีกับเธอ และไม่พูดคุยกับเธอ ในขั้นนี้ต้องใช้ความนุ่มนวลร่วมกับความเด็ดขาดหากวิธีนี้ยังไม่ได้ผล จึงต้องใช้ขั้นที่ 3 :ขั้นตี คือ เป็นการตีที่ไม่สร้างบาดแผล กระดูกไม่แตกหัก และไม่เกิดรอยฟกช้ำ และหลีกห่างจากการตีที่ใบหน้า เพราะสาเหตุการตีก็เพื่อตักเตือนเท่านั้น ไม่ใช่การทรมาน และเป็นการบอกให้รู้ว่า การกระทำของเธอนั้นเป็นที่ไม่พึงปรารถนา เพราะศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่ได้ถามท่านเกี่ยวกับสิทธิของภรรยาที่มีต่อสามีว่า “สามีต้องให้เธอได้กินเมื่อสามีได้กิน สามีต้องให้เธอได้นุ่งห่มเมื่อสามีนุ่งห่ม หลังจากนั้นก็อย่าได้ตีที่ใบหน้าของเธอ และอย่าได้ทำความไม่ดีกับเธอ และจะไม่แยกที่นอนกับเธอนอกจากภายในบ้านเท่านั้น” [4]และอิสลามได้วางข้อกำหนดในการตีนี้ ว่าต้องเป็นการตีที่ไม่ใช่เพื่อการข่มขวัญ ข่มเหง รังแกหรือเป็นการเหยียดหยามศักดิ์ศรีเธอ หรือเป็นการตีเพื่อทรมาน เป็นต้น มีรายงานจากอิบนุ อับบาส (ขออัลลอฮฺประทานความโปรดปรานแก่ท่าน) ได้อธิบายการตีที่ว่านี้ คือการตีด้วยไม้แปรงฟันหรือสิ่งที่คล้าย ๆ กัน[5]   สำหรับการตีเพื่อการทรมานนั้นอิสลามได้ห้ามการตีลักษณะนี้ ท่านศาสนทูต (ขอความสันติสุขแด่ท่าน) กล่าวว่า “จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺในเรื่องภรรยา เพราะท่านได้รับนางเป็นภรรยาด้วยอาณัติแห่งอัลลอฮฺ และอวัยวะสงวนของนางได้เป็นที่อนุมัติแก่เจ้าด้วยถ้อยคำแห่งอัลลอฮฺ และสิทธิของเจ้าที่มีเหนือนางนั้นคือ นางจะต้องไม่อนุญาตให้ผู้อื่นที่เจ้าไม่พึงพอใจได้เหยียบพรมของเจ้า(หมายถึงเข้ามาในบ้าน) หากนางทำเช่นนั้น เจ้าจงตีนางโดยการตีที่ไม่สร้างบาดแผล และสิทธิของนางที่มีเหนือเจ้านั้นคือการที่เจ้าต้องหาปัจจัยยังชีพและอาภรณ์ให้นางด้วยดี” [6]และขั้นนี้ (ขั้นตี) เป็นขั้นตอนที่มีผลต่อสตรีสองกลุ่ม ตามที่นักจิตวิทยาได้ยืนยันไว้ คือกลุ่มที่ 1 : กลุ่มสตรีที่อยากตั้งตัวเป็นผู้คุมสามี  พวกนางเหล่านี้ช่างมีความสุขและสนุกสนาน ถ้าเมื่อไหร่พวกนางได้คุมสามีของพวกนางให้เป็นไปตามใจชอบ พวกนางจะควบคุมพวกเขาให้อยู่ภายใต้อิทธิพลและคําสั่งของพวกนาง กลุ่มที่ 2 : กลุ่มสตรีที่อ่อนแอและเชื่อฟัง เป็นพวกที่มีความสุขและชอบเมื่อไหร่ที่พวกนางถูกตีหรือถูกสั่งสอนด้วยความเข้มงวดรุนแรง G- A Hodfield หนึ่งในบรรดานักจิตวิทยาชาวยุโรปกล่าวในหนังสือของเขาเรื่องจิตวิทยาและจรรยา ว่า : อารมณ์ที่ยอมจํานนอาจจะเพิ่มขึ้นสูงในบางครั้ง ซึ่งจะพบว่า เจ้าของอารมณ์นี้จะมีความสุขมากเมื่อถูกคนมีอํานาจมาควบคุมเขา ยอมรับความเจ็บปวดด้วยปิติยินดี ความรู้สึกเช่นนี้พบมากในบรรดาสตรีแม้นว่าพวกนางไม่รู้ตัว  ด้วยเหตุนี้เองพวกนางเป็นที่รู้จักว่า เป็นกลุ่มคนที่ทนกับความเจ็บปวดมากกว่าบรรดาชาย และภรรยาดังที่ว่านี้ คือบุคคลที่พึงชอบสามีของเธอทุกครั้งที่สามีเธอตีนางหรือรุนแรงกับนาง และไม่มีอะไรที่จะทําให้สตรีเสียใจมากกว่าการที่เธอมีสามีผู้อ่อนโยนตลอดเวลา ไม่มีความรู้สึกใดๆ แม้จะถูกท้าทายด้วยวิธีไหนก็ตามการตีนั้นจะใช้ในขั้นสุดท้ายในการสั่งสอนระเบียบวินัย อิสลามไม่อนุญาตให้ใช้มันนอกจากในกรณีที่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะตักเตือน หรือไม่มีผลจากการแยกที่นอนแล้วเท่านั้น การตีเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการอบรมสั่งสอนระเบียบวินัย อย่างเช่น พ่อตีลูก ครูตีนักเรียนเพื่อจุดประสงค์สั่งสอนระเบียบวินัยเท่านั้นเอง หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้แจ้งในตอนท้ายของโองการว่า การตีนั้นต้องหยุดทันทีถ้าหากจบลงด้วยการเชื่อฟังจากภรรยาต่อสามีของนาง อัลลอฮฺสั่งว่า “ถ้าหากนางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นางอีก”สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในขั้นตอนการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นการสั่งสอนที่ว่านั้น อิสลามได้ตั้งจุดประสงค์เอาไว้เบื้องหลังนั้นว่าต้องการปกปักษ์รักษาความเป็นครอบครัวไม่ให้เกิดการแตกแยกและสูญสลาย ไม่ให้ลูกหลานมีปัญหา หรือได้รับความรู้สึกที่ไม่ดีในจิตใจของพวกเขา ซึ่งเป็นผลกระทบที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหย่าร้างกันเป็นเรื่องที่เราคิดว่าเหมาะสมที่จะนำสถิติของประเทศอังกฤษมาเปิดเผยให้ทราบ ซึ่งตัวเลขของภรรยาที่ถูกสามีทุบตีที่เป็นแผลสาหัสสากรรจ์สูงถึง 6,400 คน ในปี 1990 และถึง 30,000 คน ในปี 1992 หลังจากนั้น ตัวเลขเพิ่มถึง  65,400 คน ในปี 1995 และพวกเขาคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีก ถึง 124,400 คน ในท้ายศตวรรตที่ 20และนี่ เป็นสถิติที่รวบรวมผ่านสถานีตำรวจในอังกฤษเพียงทางเดียวเท่านั้น แล้วจะมีจำนวนอีกเท่าไรที่การตีภรรยานั้นไม่ได้แจ้งความให้ตำรวจรู้ และ ณ วันนี้ ยังมีภรรยาที่ถูกทุบตีอีกจำนวนเท่าไร ถ้าหากจะนับจากทั่วทุกมุมโลก ? [7][1] อัน-นิสาอ์  34[2] เศาะฮีหฺ อัลบุคอรีย์ เล่มที่ 5 หน้าที่ 1997 หมายเลข  4908[3] อัลมุสตัดร็อก อะลัศ เศาะฮีหัยนฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 208 หมายเลข  2775[4] เศาะฮีหฺ อิบนุ หิบบาน เล่มที่ 9 หน้าที่ 482 หมายเลข 4175[5] ฮุกูกุนนิสาอ์ ฟิล อิสลาม / มุฮัมมัด เราะชีด ริฎอ[6] เศาะฮีหฺ อิบนิ คุซัยมะฮฺ เล่ม 4 หน้า 251 หมายเลข 2809[7] วารสารอัลอุสเราะฮฺ ฉบับเดือน ญะมาดิลอุลา 1416

المرفقات

2

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรี
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีสตรี