ถาม อนุญาติให้เราเอาหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานได้หรือไม่ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าเฎาะอีฟ โดยยึดถือว่าเป็นเรื่องความประเสริฐของการปฏิบัติอะมัล ด้วยการถือศีลอดในตอนกลางวันละหมาดกิยามในตอนกลางคืนของกลางเดือนชะอฺบาน เพราะเป็นที่รู้ว่าการถือศีลอดและการละหมาดกลางคืนเป็นสุนนะฮฺในการแสดงถึงการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ?
التفاصيل
> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ จะถือศีลอด นิศฟูชะอฺบาน ทั้งที่รู้ว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟได้หรือไม่ ? ถาม อนุญาติให้เราเอาหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานได้หรือไม่ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าเฎาะอีฟ โดยยึดถือว่าเป็นเรื่องความประเสริฐของการปฏิบัติอะมัล ด้วยการถือศีลอดในตอนกลางวันละหมาดกิยามในตอนกลางคืนของกลางเดือนชะอฺบาน เพราะเป็นที่รู้ว่าการถือศีลอดและการละหมาดกลางคืนเป็นสุนนะฮฺในการแสดงถึงการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ? ตอบ อัลหัมดุลิลลาฮฺ ประการแรก หลักฐานที่บอกถึงคุณค่าของการละหมาด การถือศีลอด และการอิบาดะฮฺในตอนกลางเดือนชะอฺบานไม่ใช่เป็นประเภทเฎาะอีฟ แต่ทว่าเป็นประเภทเมาฎูอฺและบาฎิล (โมฆะ) ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นที่อนุญาติให้ยึดเอามาเป็นหลักฐานและนำมาปฏิบัติ ไม่ว่ากรณีที่ยึดว่าเป็นความประเสริฐของการงานหรือว่าเพราะเหตุผลอันอื่นก็ตาม มีข้อชี้ขาดว่าสายรายงานต่างๆ ที่มีปรากฏจากบรรดานักวิชาการว่าเป็นสายรายงานล้วนโมฆะ ส่วนหนึ่งของบรรดานักวิชาการมี อิบนุ อัลเญาซียฺ ในหนังสือ “อัลเมาฎูอาต” (2/440-445), อิบนุ ก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ ในหนังสือ “อัลมะนาร อัลมุนีฟ” หมายเลข (174-177) , อบู ชามะฮฺ อัชชาฟิอียฺ ในหนังสือ “อัลบาอิษ อะลา อิงการ อัลบิดะอฺ วัลหะวาดิษ” หมายเลข (124-137), อัลอิรอกียฺ ในหนังสือ “ตัครีจ หิหฺยาอ์ อุลูม อัดดีน” หมายเลข (582) และชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้รายงานมติของบรรดานักวิชาการที่เห็นว่ามันเป็นโมฆะในหนังสือ “มัจมูอฺ อัลฟะตาวา” หมายเลข (28/138) เชค อิบนุ บาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือ “หุกุม อัลอิหฺติฟาล บิลัยละฮฺ อัลนิศฟฺ มิน ชะอฺบาน” ว่า “แท้จริงการเฉลิมฉลอง(จัดงาน)ในยามค่ำคืนของกลางเดือนชะอฺบานด้วยการละหมาดหรือกระทำการอื่นๆ และการเจาะจงกลางวันของวันนั้นด้วยการถือศีลอด บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นบิดอะฮฺที่น่าตำหนิ (บิดอะฮฺ มุงกะเราะฮฺ) ซึ่งมันไม่มีที่มาตามบทบัญญัติอันบริสุทธิ์” ท่านเชคยังได้กล่าวว่า “ในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบานไม่ปรากฏว่ามีหะดีษใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ทั้งหมดของบรรดาหะดีษที่มีปรากฏล้วนแล้วเป็นหะดีษเมาฎูอฺและเฎาะอีฟ ซึ่งไม่ได้ระบุแหล่งที่มา ในค่ำคืนนี้ ไม่มีการเจาะจงเป็นกรณีพิเศษให้อ่านอัลกุรอาน หรือละหมาด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำส่วนตัวหรือกระทำในลักษณะของญะมาอะฮฺ ถึงแม้ว่ายังมีนักปราชญ์บางกลุ่มเห็นว่ามีกรณีพิเศษอยู่ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นทัศนะที่อ่อน (เฎาะอีฟ) ดังนั้น ไม่อนุญาตให้กระทำสิ่งใดที่เป็นการเจาะจงเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งทัศนะนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด วะบิลลาฮิตเตาฟีก” (ฟะตาวาอิสลามียะฮฺ 4/511) โปรดดูคำถาม หมายเลข (8907) ประการที่สอง แม้นหากเรายอมรับตามกันไปว่าหลักฐานนั้นอยู่ในสถานะเฎาะอีฟ และไม่ได้ถึงสถานะเมาฎูอฺเลยก็ตาม แท้จริงแล้ว ตามทัศนะที่ถูกต้องจากทัศนะต่างๆ ของบรรดานักวิชาการ คือ ห้ามเอาหลักฐานที่อยู่ในสถานะเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานโดยเด็ดขาด ถึงแม้จะเป็นในเรื่องความประเสริฐของการงาน(ฟะฎออิล อะอฺมาล) เรื่องการกระตุ้นให้ทำความดี หรือเรื่องการห้ามปรามให้ออกห่างจากความชั่วก็ตามที และในบรรดาหะดีษเศาะฮีหฺที่มีอยู่นั้น ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับมุสลิม โดยไม่ต้องไปยึดเอาหะดีษเฎาะอีฟอีก และไม่เป็นที่รู้ว่าช่วงค่ำคืนหรือวันดังกล่าวมีบทบัญญัติใดเป็นลักษณะพิเศษ ไม่มีแบบอย่างอันใดจากท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และไม่มีแบบอย่างใดจากบรรดาเศาะฮาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม อัลอัลลามะฮฺ อะหฺมัด ชากิร กล่าวว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างเรื่องบทบัญญัติกับเรื่องความประเสริฐของการงาน และเรื่องอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ในประเด็นที่ว่าห้ามนำเอาสายรายงานที่อ่อนมาเป็นหลักฐาน ทว่า การอ้างเป็นหลักฐานนั้นจะใช้ไม่ได้นอกจากต้องเป็นหะดีษที่ถูกต้องจากท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นหะดีษเศาะฮีหฺหรือหะดีษหะสัน (อัลบาอิษ อัลหะษีษ 1/278) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ “อัลเกาลุ อัลมุนีฟ ฟี หุกมี อัลอะมัล บิลหะดีษ อัฎเฎาะอีฟ” และจงดูคำตอบของคำถาม หมายเลข (44877) วัลลอฮุ อะอฺลัม อิสลามถามตอบ islamqa.info ฟัตวาหมายเลข 49675