البحث

عبارات مقترحة:

البصير

(البصير): اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على إثباتِ صفة...

الوارث

كلمة (الوراث) في اللغة اسم فاعل من الفعل (وَرِثَ يَرِثُ)، وهو من...

الحكم

كلمة (الحَكَم) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فَعَل) كـ (بَطَل) وهي من...

เราะมะฎอน อุทยานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตศรัทธาชน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات
เราะมะฎอน อุทยานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตศรัทธาชน เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอด มีจุดประสงค์เพื่อฝึกอบรมและหล่อหลอมให้ผู้ศรัทธามีความสำรวมตนจากความชั่วและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเป็นสุดยอดคุณลักษณะที่ประเสริฐ กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตในเดือนเราะมะฎอนจะไม่จบลงเพียงในภาคกลางวัน แต่จะต่อเนื่องไปจนถึงภาคกลางคืน ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะตักตวงและแสวงการอภัยโทษและพระเมตตาจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งในความเมตตากรุณาปรานีและผู้ทรงอภัย

التفاصيل

เราะมะฎอน อุทยานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตศรัทธาชน﴿رمضان : روضة روحانية تنمّي حياة المؤمن﴾]  ไทย – Thai – تايلاندي [ อาหมัด อัลฟารีตีย์ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมานที่มา : ชมรมส่งเสริมกิจการอิสลามปัตตานี2010 - 1431﴿رمضان : روضة روحانية تنمّي حياة المؤمن﴾« باللغة التايلاندية »أحمد حسين الفاريتيمراجعة: صافي عثمانالمصدر: الجمعية الخيرية للشؤون الإسلامية فطاني2010 - 1431ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอเราะมะฎอน อุทยานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตศรัทธาชนالحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه ومن والاه، وبعد:เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอด มีจุดประสงค์เพื่อฝึกอบรมและหล่อหลอมให้ผู้ศรัทธามีความสำรวมตนจากความชั่วและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเป็นสุดยอดคุณลักษณะที่ประเสริฐอัลลอฮฺได้ตรัสว่า﴿يَأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْن﴾ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! การถือศีลอดได้ถูกกำหนดสำหรับสูเจ้า ดั่งที่ได้ถูกกำหนดสำหรับบรรดาผู้คนก่อนหน้าสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว(ตักวา)” (อัลบะเกาะเราะฮฺ  2 : 183)ท่านรสูลุลลอฮฺ e กล่าวว่า«مَنْ صَامَ رَمَضانَ إيْمَانًا واحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»ความว่า  “ผู้ใดถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยศรัทธามั่นและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ  เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดของเขาที่ผ่านมา” (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์ เลขที่ 37 และมุสลิม เลขที่ 1268)กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตในเดือนเราะมะฎอนจะไม่จบลงเพียงในภาคกลางวัน แต่จะต่อเนื่องไปจนถึงภาคกลางคืน ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะตักตวงและแสวงการอภัยโทษและพระเมตตาจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งในความเมตตากรุณาปรานีและผู้ทรงอภัย นั่นก็คือ การกิยามเราะมะฎอน (ละหมาดตะรอเวียหฺและวิตรฺ) นั่นเอง ท่านรสูลุลลอฮฺ e กล่าวว่า«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»ความว่า “ผู้ใดลุกขึ้น (ละหมาดและประกอบอิบาดะฮฺ) ในเดือนเราะมะฎอนด้วยศรัทธามั่นและหวังในผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ  เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดของเขาที่ผ่านมา” (อัลบุคอรีย์ เลขที่ 36 และมุสลิม เลขที่ 1266 )เราะมะฎอนเดือนแห่งอัลกุรอานเดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่อัลลอฮฺทรงประทานอัลกุรอานลงมา  เพื่อเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตของมวลมนุษยชาติ  เป็นคำสอนที่ครอบคลุม สมบูรณ์และสอดคล้องกับมนุษย์ทุกยุคสมัย เป็นคัมภีร์ที่นิรันดร์ อัลลอฮฺตรัสว่า﴿شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِى أُنْزِلَ فِيْهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ﴾ความว่า “เดือนเราะมะฎอนคือ เดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา เป็นทางนำสำหรับปวงมนุษย์ และหลักฐานต่างๆ แห่งทางนำ และข้อจำแนกระหว่างความจริงและความเท็จ...” (อัลบะเกาะเราะฮฺ  2 : 185)ดังนั้น วิถีชีวิตของมุสลิมในเดือนเราะมะฎอนเป็นชีวิตที่แนบแน่นและใกล้ชิดกับอัลกุรอานเป็นอย่างมาก การอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนควรอ่านอย่างน้อย 1 จบ หรือมากกว่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ e จะอ่านและตะดัรรุส อัลกุรอาน (ผลัดกันอ่านให้ฟัง) ในเดือนเราะมะฎอน โดยการนำของมะลาอิกะฮฺญีบรีล มีรายงานว่า«كَانَ يَلْقَاهُ جِبْرِيْلُ فِى كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ القُرْآنَ»ความว่า “แท้จริงรสูลุลลอฮฺ e พบกับญิบรีลทุกคืนในเดือนเราะมะฎอนเพื่อทำตะดัรรุส (ผลัดกันอ่านและร่วมกันศึกษา) อัลกุรอาน” (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์ เลขที่ 6 )อาจกล่าวได้ว่าการมาของเราะมะฎอนและการกำหนดให้ถือศีลอดนั้นก็เพื่อให้มุสลิมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัลกุรอานเราะมะฎอนเดือนแห่งดุอาอ์ดุอาอ์เป็นอิบาดะฮฺเหมือนกับอิบาดะฮฺอื่นๆ ที่ผู้กระทำปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านรสูล e และกระทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์จะได้รับผลบุญ โดยเฉพาะสำหรับผู้ถือศีลอดดุอาอ์ของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ ท่านรสูล e กล่าวว่า«الدُّعَاءُ هُوَ الْعِبَادَة»ความว่า “ดุอาอ์นั้นคืออิบาดะฮฺ” (ในเศาะฮีหฺ อบูดาวูด เลขที่ 1329 )ท่านรสูล e กล่าวอีกว่า«ثَلاَثُ دَعْوَاتٍ لاَ تُرَدُّ : دَعْوَةُ الْوَالِدِ وَدَعْوَة الصَّائِمِ وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ»ความว่า “ดุอาอ์สามประเภทที่ไม่ถูกปฏิเสธคือดุอาอ์ของบุพการี ดุอาอ์ของผู้ถือศีลอด และดุอาอ์ของผู้เดินทาง” (รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์เลขที่ 6185, ในเศาะฮีหฺอัลญามิอฺ เลขที่ 3032 ) เราะมะฎอนเดือนแห่งลัยละตุลก็อดรฺอัลลอฮฺตรัสว่า﴿إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِى لَيْلَةِ الْقَدْرِ، وَمَا أَدْرَاك مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ، لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ، تَنَزَّلُ الْمَلاَئِكَةُ وَالرُّوْحُ فِيْهَا بِإِذْنِ رَبِّهِمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ، سَلاَمٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ ﴾ความว่า  “แท้จริง เราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนลัยละตุลก็อดรฺ อันใดจะทำให้เจ้าทราบว่า คืนลัยละตุลก็อดรฺคืออะไร? คืนลัยละตุลก็อดรฺนั้นดีกว่าพันเดือน  ปวงมะลาอิกะฮฺและอัรรูหฺ(ญีบรีล)ลงมาใน(คืน)นั้นโดยอนุมัติของพระผู้อภิบาลของพวกเขาพร้อมด้วย(พระบัญชา) แห่งกิจการทุกสิ่ง ศานติ! นี่ จนกระทั่งเบิกอรุณ” (อัล-ก็อดรฺ 97: 1-5)จากโองการนี้ ท่านรสูลุลลอฮฺ e  กล่าวว่า«تَحَرَّوْا لَيْلَةَ الْقَدْرِ فِى الْعَشْرِ الأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَانَ»ความว่า“จงแสวงหาลัยละตุลก็อดรฺอย่างจริงจังในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน” (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์ เลขที่ 1886 และมุสลิม เลขที่2006)ดุอาอ์สำหรับคืนลัยละตุลก็อดรฺท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ถามท่านรสูลุลลอฮฺว่า บอกฉันเถิด ถ้าหากคืนใดฉันรู้ว่าเป็นลัยละตุลก็อดรฺ จะให้ฉันกล่าวดุอาอ์ใด ? ท่านรสูล e ตอบว่า จงกล่าวว่า«اللهم إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْ»ความว่า “โอ้องค์อภิบาลแห่งข้า แท้จริง พระองค์นั้นทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง พระองค์ทรงรักการอภัย ดังนั้นได้โปรดอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” ( รายงานโดยอิบนุ มาญะฮฺ เลขที่ 3840)เราะมะฎอนเดือนแห่งการเอียะติก้าฟช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุดและเป็นนาทีทองสำหรับการตักตวงและแข่งขันการทำความดี ท่านรสูลุลลอฮฺ e จึงมีความกระตือรือร้นและจริงจังกับการฎออะฮฺต่ออัลลอฮฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานว่า«كَانَ رَسُول الله e يَجْتَهِدُ فِى الْعَشْرِ الأَوَاخِرِ مَا لاَ يَجْتَهِدُ فِى غَيْرِهِ»ความว่า “แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ จะกระตือรือร้นและจริงจังกับการอะมัล (ปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ) ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ซึ่งท่านไม่เคยกระทำมาเช่นนี้ในคืนอื่นๆ” (หะดีษรายงานโดยมุสลิม เลขที่ 2009)ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ท่านรสูลุลลอฮฺจะเอียะติก้าฟที่มัสยิดทุกปีไม่เคยขาดตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ดังหะดีษรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺความว่า«كَانَ النَّبِيُّ  eيَعْتَكِفُ العَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللهُ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ»ความว่า “แท้จริง ท่านนบี e เอียะติก้าฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนทุกปีตราบจนท่านเสียชีวิต  ต่อมาบรรดาภรรยาของท่านก็ได้สืบทอดต่อ” (อัลบุคอรีย์ เลขที่1886 และมุสลิม เลขที่2006)เราะมะฎอนเดือนแห่งความโอบอ้อมอารีและเอื้ออาทรเราะมะฎอนเป็นสถาบันแห่งการฝึกอบรมและพัฒนาคนให้มีความโอบอ้อมอารีและเอื้ออาทร ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานว่า«كَانَ رَسُولُ الله e أَجْوَدَ النَّاس وَكَانَ أَجْوَدَ مَا يَكُوْنُ فِى رَمَضَانَ»ความว่า “แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ e นั้นเป็นผู้มีจิตโอบอ้อมอารี และท่านจะมีจิตโอบอ้อมอารีมากในช่วงเดือนเราะมะฎอน” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ เลขที่ 6 และมุสลิม เลขที่ 2308)ส่วนหนึ่งของรูปธรรมแห่งความเอื้ออาทรในเดือนเราะมะฎอน ก็คือ การเลี้ยงอาหารแก่ผู้ละศีลอด«مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًأ»ความว่า“ผู้ใดให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญตอบแทนเหมือนกับผู้ที่ถือศีลอดและผลบุญที่เขาได้รับนั้นจะไม่ทำให้ผลบุญของผู้ที่ถือศืลอดบกพร่องเลยแม้แต่น้อย” (อัต-ติรมีซีย์ : 807 และอิบนุ มาญะฮฺ : 1619) คำเชิญชวนภารกิจอันประเสริฐที่มุสลิมพึงปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน คือ·     พึงให้เกียรติแก่เดือนเราะมะฎอนอันสูงส่งด้วยการไม่ละเมิดขอบเขตต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้·     เข้าใจและเข้าถึงแก่นแท้และสารัตถะของเราะมะฎอน·     นำไปปฏิบัติด้วยศรัทธาและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ

المرفقات

2

เราะมะฎอนอุทยานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ศรัทธา
เราะมะฎอนอุทยานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ศรัทธา