البحث

عبارات مقترحة:

القهار

كلمة (القهّار) في اللغة صيغة مبالغة من القهر، ومعناه الإجبار،...

البر

البِرُّ في اللغة معناه الإحسان، و(البَرُّ) صفةٌ منه، وهو اسمٌ من...

المبين

كلمة (المُبِين) في اللغة اسمُ فاعل من الفعل (أبان)، ومعناه:...

หะดีษที่ 32 - การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات زكاة الفطر
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 32 - การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 32 การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู     عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : فَرَضَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ، عَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ، وَالذَّكَرِ وَالأُنْثٰى، وَالصَّغِيرِ وَالْكَبِيرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلاَةِ. (البخاري رقم 1407)   ความว่า จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดให้บรรดามุสลิมต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยอินทผลัมแห้งหรือข้าวสาลีจำนวนหนึ่งศออฺ ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นเสรีชนหรือเป็นทาส ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เด็กและคนแก่ ในหมู่คนที่เป็นมุสลิม(ทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺทั้งสิ้น) ท่านได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้าวันอีด  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1407)   คำอธิบายหะดีษ             อิมามอัน-นะวะวีย์กล่าวว่า อุละมาอ์มีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “فَرَضَ” (การกำหนดให้เป็นฟัรฎู) อุละมาอ์ส่วนใหญ่จากชนรุ่นแรกและรุ่นหลังได้ให้ความหมายว่า “ลาซิมและวาญิบ” (จำเป็นและบังคับต้องทำ) เหตุที่ซะกาตฟิฏเราะฮฺสำหรับพวกเขามีหุก่มวาญิบ นั่นก็เนื่องจากถูกรวมอยู่ในภาพรวมคำสั่งของอัลลอฮฺ และเนื่องจากการใช้คำ “فرض”  แต่ก็มีอุละมาอ์บางท่านเห็นว่าซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้นสุนัตไม่ใช่วาญิบ             ท่านอิบนุ กุตัยบะฮฺกล่าวว่า ที่หมายถึงซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้นคือ ซะกาตสำหรับตนเอง ซึ่งมาจากคำว่า “ฟิฏเราะฮฺ” (อัล-ฟัตหุ อัร-ร็อบบานีย์  มะอะ ชัรฮิฮี 9/138)                         หะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ซะกาตฟิฏเราะฮฺไม่เป็นเงื่อนไขของถึงการนิศอบ(การกำหนดพิกัด)  ทั้งนี้ มันวาญิบสำหรับผู้ยากจนและผู้ร่ำรวยที่จะต้องจ่ายทุกคน             อัล-อิมาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า หากมีเหลือจากค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและครอบครัวในเช้าตรู่ของวันอีดและกลางคืนของวันอีด  จึงเป็นวาญิบสำหรับเขาในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ชัรหุ อัส-สุนนะฮฺ ของ อัล-บะเฆาะวีย์ 6/71)             ที่ถูกต้องตามสุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คือ จะต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺในวันอีดก่อนออกไปสู่ที่ละหมาด แต่ถ้าหากว่าจะให้ซะกาตฟิฏเราะฮฺทันทีหลังจากเข้าเราะมะฎอนก่อนถึงวันอีดก็ถือว่าทำได้ เพราะท่านอุมัรเคยฝากซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่ผู้จัดเก็บฟิฏเราะฮฺก่อนวันอีดสองหรือสามวัน (อัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/285 สายสืบของรายงานนั้นเศาะฮีหฺ ดู ชัรหุส สุนนะฮฺ 6/76)   บทเรียนจากหะดีษ 1.      กำหนดให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และเป็นการช่วยเหลือคนยากจน 2.      การจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺถูกบัญญัติขึ้นในปีที่สองหลังจากการฮิจญ์เราะฮฺไปยังนครมะดีนะฮฺ 3.      มุสลิมที่วาญิบต้องจ่ายซะกาตได้แก่ ผู้ชาย ผู้หญิง มุสลิมที่เป็นเสรีชน คนแก่ หนุ่มสาว จนถึงเด็กทารกที่เพิ่งเกิดในช่วงปลายเราะมะฎอนก็จะต้องจ่ายซะกาตเช่นเดียวกัน 4.      ประเภทซะกาต ได้แก่ ลูกอินทผลัมหรือแป้งสาลี ส่วนข้าวสารนั้นเป็นการกิยาส(การเปรียบเทียบ)กับแป้งสาลีที่เป็นอาหารหลัก 5.      อัตราซะกาตที่จะต้องจ่าย คือ 1 ศออฺ (หนึ่งกันตังของชาวมะดีนะฮฺ ซึ่งเท่ากับ 3 ลิตร กับ  1  กระป๋องนมของบ้านเรา) 6.      ซะกาตจะต้องจ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนละหมาดอีด 7.      ผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือบุคคลแปดจำพวกเหมือนกับจำพวกที่สามารถรับซะกาตทั่วไปได้ 8.      เวลาที่สามารถจ่ายซะกาตคือ เริ่มตั้งแต่ต้นเราะมะฎอนจนถึงเช้าวันอีดก่อนละหมาดอีด 9.      ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้ประชาชาติมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะคนที่มีฐานะร่ำรวยจะต้องช่วยเหลือคนที่ยากจน เพื่อให้เกิดความรักใคร่ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

المرفقات

2

หะดีษที่ 32 - การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู
หะดีษที่ 32 - การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู