البحث

عبارات مقترحة:

العظيم

كلمة (عظيم) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعيل) وتعني اتصاف الشيء...

الرحمن

هذا تعريف باسم الله (الرحمن)، وفيه معناه في اللغة والاصطلاح،...

الحفي

كلمةُ (الحَفِيِّ) في اللغة هي صفةٌ من الحفاوة، وهي الاهتمامُ...

หนึ่งบทใคร่ครวญต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺจากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน อายะฮฺที่ 14-17

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، ยูซุฟ อบูบักรฺ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الرقائق والمواعظ - التفسير - تفسير القرآن
หนึ่งบทใคร่ครวญต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺจากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน อายะฮฺที่ 14-17 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสันดานมนุษย์ที่มีความปรารถนาในทรัพย์สินและลาภยศ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

التفاصيل

หนึ่งบทใคร่ครวญต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺ  ﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ﴾ ﴿وقفة مع قول الله عز وجل : زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ﴾ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมานที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอหนึ่งบทใคร่ครวญต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺ﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ﴾ “ได้ถูกทำให้สวยงาม(ลุ่มหลง)แก่มนุษย์ ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่หา”การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...              พระองค์อัลลอฮฺตะอะลาทรงมีดำรัสว่า ﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ مِنَ النِّسَاء وَالْبَنِينَ وَالْقَنَاطِيرِ الْمُقَنطَرَةِ مِنَ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ وَالْخَيْلِ الْمُسَوَّمَةِ وَالأَنْعَامِ وَالْحَرْثِ ذَلِكَ مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَاللّهُ عِندَهُ حُسْنُ الْمَآبِ * قُلْ أَؤُنَبِّئُكُم بِخَيْرٍ مِّن ذَلِكُمْ لِلَّذِينَ اتَّقَوْا عِندَ رَبِّهِمْ جَنَّاتٌ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا وَأَزْوَاجٌ مُّطَهَّرَةٌ وَرِضْوَانٌ مِّنَ اللّهِ وَاللّهُ بَصِيرٌ بِالْعِبَادِ * الَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا إِنَّنَا آمَنَّا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ * الصَّابِرِينَ وَالصَّادِقِينَ وَالْقَانِتِينَ وَالْمُنفِقِينَ وَالْمُسْتَغْفِرِينَ بِالأَسْحَارِ﴾ (آل عمران : 14 - 17)ความหมาย  “ได้ถูกทำให้สวยงาม(ทำให้เกิดความลุ่มหลง)แก่มวลมนุษยชาติซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่หา อันได้แก่ผู้หญิง บรรดาลูกชาย ทองคำและเงินอันมากมาย ม้าที่ดี ปศุสัตว์ และเรือกสวนไร่นา นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และยังพระองค์อัลลอฮฺต่างหากเล่าคือสถานที่กลับไปอันสวยงามยิ่ง  จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าจะให้ฉันบอกแก่พวกท่านถึงสิ่งที่ดียิ่งกว่านั้นไหม? สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์ ซึ่งมีธารน้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล และจะได้รับบรรดาคู่ครองที่มีความบริสุทธิ์ และความพอพระทัยจากอัลลอฮฺด้วย และพระองค์อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเห็นบรรดาปวงบ่าว บรรดาผู้ที่กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของพวกเรา แท้จริงพวกเราได้ศรัทธาแล้ว ดังนั้นโปรดทรงอภัยโทษให้แก่พวกเราต่อความผิดทั้งหลายของพวกเรา และโปรดได้ทรงปกป้องพวกเราให้รอดพ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด บรรดาผู้ที่อดทน บรรดาผู้ที่สัจจริง บรรดาผู้ที่ภักดี บรรดาผู้ที่บริจาค และบรรดาผู้ที่ขออภัยโทษในยามใกล้รุ่ง”  (อาล อิมรอน  14-17)               อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า  พระองค์อัลลอฮฺตะอะลาได้บอกพวกเราถึงความสวยงามเสน่หาที่ทำให้มวลมนุษยชาติลุ่มหลงในการดำเนินชีวิตในโลกดุนยานี้ ส่วนหนึ่งมาจากความเพลิดเพลินใจต่อบรรดานารีเพศ ลูกหลาน พระองค์เริ่มต้นโองการด้วยกับนารีเพศอันเนื่องมาจากจะเกิดความเสื่อมเสีย การถูกทดสอบที่จะมาจากพวกนางมีความร้ายแรงหนักหน่วงยิ่งนัก มีหะดีษบันทึกที่โดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม รายงานจากอุสามะฮฺ บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«مَا تَرَكْتُ بَعْدِي فِتْنَةً أَضَرَّ عَلَى الرِّجَالِ مِنْ النِّسَاءِ»ความว่า “ฉันไม่ได้ทิ้งบททดสอบ(ฟิตนะฮฺ)อันใดที่อันตรายยิ่งไว้เบื้องหลังฉัน ที่มันจะเลวร้ายยิ่งต่อเหล่าบุรุษเพศ มากไปกว่าความเสียหายที่เกิดจากบรรดาผู้หญิง” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ 3/361หมายเลขหะดีษ 5096 และเศาะฮีหฺมุสลิม 4/2098 หมายเลขหะดีษ 2741)แต่ถ้าหากว่าเป้าหมายในการครอบครองพวกนางนั้น เป็นไปเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของตัวเองและการสืบทายาทให้ขยายมากขึ้น สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ ดังที่มีหะดีษเศาะฮีหฺมากมายรายงานจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่วนหนึ่งบันทึกโดยมุสลิมจากหะดีษอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «الدُّنْيَا مَتَاعٌ، وَخَيْرُ مَتَاعِ الدُّنْيَا الْمَرْأَةُ الصَّالِحَةُ»ความหมาย “โลกดุนยานั้นเป็นความเพลิดเพลิน และความเพลิดเพลินที่งดงามดีที่สุดในดุนยาคือผู้หญิงที่ดี” (เศาะฮีหฺมุสลิม 2/1090 หมายเลขหะดีษ 1467)การหลงใหลต่อบุตรหลานนั้น บางครั้งเกิดขึ้นโดยการโอ้อวดและเป็นการประดับบารมี ลักษณะเช่นนี้จะเข้ารวมในความหมายของโองการข้างต้นนี้ด้วย แต่ในบางครั้งก็ทำเพื่อจะได้มีบุตรหลานมากๆ และเป็นการเพิ่มปริมาณประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นกลุ่มคนที่เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนใดๆ ต่อพระองค์ หากว่าจุดประสงค์ของการมีบุตรหลานมากเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญยกย่อง ดังมีบันทึกโดยอบู ดาวูดในหนังสือสุนันของเขา จากหะดีษมะอฺคิล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  «تَزَوَّجُوا الْوَدُودَ الْوَلُودَ فَإِنِّي مُكَاثِرٌ بِكُمْ الْأُمَمَ»ความหมาย “พวกท่านทั้งหลายจงแต่งงานกับคนที่รักและคนที่มีบุตรมาก เพื่อว่าฉันจะได้นำพวกท่านไปอวดกับบรรดาประชาชาติอื่น” (สุนัน อบู ดาวูด 2/220 หมายเลขหะดีษ 2050)การรักหรือหลงใหลในทรัพย์สินสมบัติก็เช่นเดียวกัน บางครั้งเกิดขึ้นด้วยความภาคภูมิใจ โอ้อวด คุยโวต่อบรรดาคนอ่อนแอกว่า หรือเพื่อข่มขวัญบรรดาคนที่ยากจน ในลักษณะเยี่ยงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ แต่ในบางครั้งก็เพื่อที่ใช้จ่ายไปในหนทางที่นำไปสู่การใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเครือญาติ และการสร้างความใกล้ชิดไปในหนทางแห่งความดีงามและแนวทางแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ ในลักษณะเยี่ยงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญยกย่องตามบทบัญญัติ...(ตัฟซีร อิบนุ กะษีรฺ 1/351)              พระดำรัสของอัลลอฮฺตะอะลาที่ว่า﴿وَالْقَنَاطِيرِ الْمُقَنطَرَةِ مِنَ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ﴾ความหมาย “ทองคำและเงินอันมากมาย”อิบนุ ญะรีรฺ ได้กล่าวหลังจากที่ท่านได้นำเสนอความขัดแย้งระหว่างบรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานทัศนะต่างๆ ว่า ที่ถูกต้องนั้น คือ การครอบครองทรัพย์สมบัติที่มากมาย ทำนองเดียวกันกับที่ อัร-เราะบีอฺ บิน อะนัส กล่าวไว้ ส่วนคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿وَالْخَيْلِ الْمُسَوَّمَةِ﴾ความหมาย “ม้าที่ดี”            อิบนุ ญะรีรฺ กล่าวว่า หมายถึง “ม้าที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและมีรูปทรงที่สวยงามแก่ผู้ที่พบเห็น”  (ตัฟซีร อิบนุ ญะรีรฺ 3/201)การเลี้ยงม้ามีหลายประเภท มีหะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิมรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «الْخَيْلُ ثَلاَثَةٌ : فَهِىَ لِرَجُلٍ أَجْرٌ، وَلِرَجُلٍ سِتْرٌ، وَلِرَجُلٍ وِزْرٌ، فَأَمَّا الَّتِى هِىَ لَهُ أَجْرٌ فَالرَّجُلُ يَتَّخِذُهَا فِى سَبِيلِ اللَّهِ وَيُعِدُّهَا لَهُ، فَلاَ تُغَيِّبُ شَيْئًا فِى بُطُونِهَا إِلاَّ كَتَبَ اللَّهُ لَهُ أَجْرًا، وَلَوْ رَعَاهَا فِى مَرْجٍ مَا أَكَلَتْ مِنْ شَىْءٍ إِلاَّ كَتَبَ اللَّهُ لَهُ بِهَا أَجْرًا، وَلَوْ سَقَاهَا مِنْ نَهْرٍ كَانَ لَهُ بِكُلِّ قَطْرَةٍ تُغَيِّبُهَا فِى بُطُونِهَا أَجْرٌ، - حَتَّى ذَكَرَ الأَجْرَ فِى أَبْوَالِهَا وَأَرْوَاثِهَا - وَلَوِ اسْتَنَّتْ شَرَفًا أَوْ شَرَفَيْنِ كُتِبَ لَهُ بِكُلِّ خَطْوَةٍ تَخْطُوهَا أَجْرٌ، وَأَمَّا الَّذِى هِىَ لَهُ سِتْرٌ فَالرَّجُلُ يَتَّخِذُهَا تَكَرُّمًا وَتَجَمُّلاً، وَلاَ يَنْسَى حَقَّ ظُهُورِهَا وَبُطُونِهَا فِى عُسْرِهَا وَيُسْرِهَا، وَأَمَّا الَّذِى عَلَيْهِ وِزْرٌ فَالَّذِى يَتَّخِذُهَا أَشَرًا وَبَطَرًا وَبَذَخًا وَرِيَاءَ النَّاسِ، فَذَاكَ الَّذِى هِىَ عَلَيْهِ وِزْرٌ»ความหมาย “การเลี้ยงม้านั้นแบ่งเป็นสามประเภท ประเภทที่หนึ่งได้รับภาคผลบุญสำหรับผู้เลี้ยง ประเภทที่สองจะมาเจือจุนสำหรับผู้เลี้ยง ประเภทที่สามจะเป็นบาปสำหรับผู้เลี้ยง สำหรับการเลี้ยงที่ได้รับภาคผลบุญ คือผู้ที่เลี้ยงดูและจัดเตรียมไว้ในหนทางของอัลลอฮฺ ไม่ว่าสิ่งใดที่มันรับประทานเข้าไปในท้อง นอกจากอัลลอฮฺจะบันทึกภาคผลบุญให้กับเขา และแม้ว่าเขาเลี้ยงมันไว้ในท้องทุ่งโดยที่มันหารับประทานสิ่งของตามลำพัง อัลลอฮฺก็จะบันทึกภาคผลบุญให้กับเขา และหากเขาให้มันดื่มน้ำจากลำธาร ทุกหยดที่เข้าไปในท้องของมันจะได้รับภาคผลบุญ –จนกระทั่งท่านได้กล่าวถึงภาคผลบุญที่อยู่ในปัสสาวะและมูลของมัน - หากท่านปล่อยให้มันปีนขึ้นเนินสูงชันหนึ่งหรือสองเนิน ทุกๆ ก้าวย่างของมันจะถูกบันทึกภาคผลบุญให้แก่เขา ส่วนการเลี้ยงประเภทที่ใช้จุนเจือเขา คือบุคคลที่เลี้ยงมันเพื่อจะได้ไม่ต้องไปขอผู้อื่นและเพื่อเป็นการประดับให้สวยงามแสดงถึงนิอฺมัตที่ได้รับจากอัลลอฮฺ และเขาไม่ได้ลืมหน้าที่ที่มีต่อหลังและท้องของมัน (ไม่บรรทุกมันหนักเกินไปและไม่ปล่อยให้มันหิว) ทั้งในยามที่มันลำบากหรือในยามที่มันสุขสบาย สำหรับการเลี้ยงที่เป็นบาป คือบุคคลที่เลี้ยงมันไว้เพื่อการโอ้อวดและเย่อหยิ่งต่อผู้อื่น อย่างนั้นแหละคือการเลี้ยงที่ได้รับบาป” (เศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺ 2/331 หมายเลขหะดีษ 2860 และเศาะฮีหฺมุสลิม 2/683 หมายเลขหะดีษ 987)               คำดำรัสของอัลลอฮฺตะอะลาที่ว่า﴿وَالأَنْعَامِ وَالْحَرْثِ﴾ความหมาย “ปศุสัตว์และเรือกสวนไร่นา”คำว่า “ปศุสัตว์” หมายถึง อูฐ วัว และแพะหรือแกะ ส่วนคำว่า “เรือกสวนไร่นา” หมายถึง ผืนดินที่ใช้สำหรับทำการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม               ต่อมาคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿ذَلِكَ مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا﴾ความหมาย “นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น”หมายถึง สิ่งดังกล่าวเป็นเสมือนพฤกษชาติในการดำเนินชีวิตในโลกดุนยานี้ และเป็นเสมือนเครื่องประดับที่รอวันสูญสลาย             คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿وَاللّهُ عِندَهُ حُسْنُ الْمَآبِ﴾ความหมาย “และยังพระองค์อัลลอฮฺนั้นคือสถานที่กลับไปอันสวยงาม”หมายถึง สถานที่กลับไปและการได้รับภาคผลบุญ             ต่อมาคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿ قُلْ أَؤُنَبِّئُكُم﴾ความหมาย “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าจะให้ฉันบอกแก่พวกท่าน”หมายถึง โอ้มุหัมมัดจงบอกกล่าวแก่มวลมนุษยชาติเถิดว่าบรรดาผู้ที่พวกเขาถูกทำให้ลุ่มหลงตามอารมณ์ใฝ่ต่ำต่อบรรดาสตรีเพศและลูกหลานหรือสรรพสิ่งอื่นๆ ที่ได้กล่าวผ่านมา จะให้ฉันบอกแก่พวกท่านถึงสิ่งที่ดีงามและมีคุณค่ามากยิ่งกว่าจากสรรพสิ่งทั้งหมดที่กล่าวมาแก่พวกท่าน﴿لِلَّذِينَ اتَّقَوْا عِندَ رَبِّهِمْ جَنَّاتٌ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الأَنْهَارُ ﴾ความหมาย “สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์ ซึ่งมีธารน้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง” หมายถึง จะมีธารน้ำผึ้ง ธารน้ำนม ธารสุรา ธารน้ำ และรวมถึงสรรพสิ่งอื่นๆ ที่จักษุไม่เคยได้เห็น โสตประสาทไม่เคยได้ยิน และหัวใจของมนุษย์ไม่เคยได้สัมผัสลิ้มลองมาก่อน              คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿خَالِدِينَ فِيهَا﴾ความหมาย “โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล”หมายถึง พวกเขาจะได้พำนักอยู่ในสวนสวรรค์อย่างจีรังไม่มีวันบุบสลาย             คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿وَأَزْوَاجٌ مُّطَهَّرَةٌ ﴾ความหมาย “และจะได้รับบรรดาคู่ครองที่มีความบริสุทธิ์”หมายถึง จะได้รับคู่ครองที่ปราศจากสิ่งสกปรก ความชั่วร้าย ความอันตราย ไม่มีเลือดประจำเดือน (หัยฏฺ) และเลือดที่เสีย (นิฟาส) ทั้งหลาย และรวมถึงสิ่งที่ไม่ดีอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในสรีระเรือนร่างของบรรดาสตรีเพศในโลกดุนยานี้             คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿وَرِضْوَانٌ مِّنَ اللّهِ﴾ความหมาย “และความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ”หมายถึง ความพอพระทัยของอัลลอฮฺจะเป็นที่อนุมัติแก่พวกเขาโดยที่พระองค์จะไม่ทรงโกรธกริ้วพวกเขาอีกแล้วหลังจากนี้ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้มีดำรัสไว้ในอีกโองการหนึ่งว่า﴿ وَرِضْوَانٌ مِّنَ اللّهِ أَكْبَرُ) (التوبة : 72 )ความหมาย “และความพอพระทัยจากอัลลอฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ใหญ่หลวงนัก” (เตาบะฮฺ  72) หมายถึง ความเปี่ยมสุขอันจีรังยั่งยืนที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานให้พวกเขาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากนัก             และคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า﴿وَاللّهُ بَصِيرٌ بِالْعِبَادِ﴾ความหมาย “และพระองค์อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเห็นบรรดาปวงบ่าว”หมายถึง พระองค์จะทรงตอบแทนทุกเรื่องราวตามสิทธิความเหมาะสมที่เขาควรจะได้รับต่อมาหลังจากที่อัลลอฮฺตะอะลาได้กล่าวเปรียบเทียบระหว่างความเสน่หาในโลกดุนยากับความบรมสุขในโลกอาคิเราะฮฺ พระองค์ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของบรรดาผู้ที่ยำเกรง ผู้ที่จะได้รับความบรมสุขในโลกอาคิเราะฮฺอันยั่งยืนเหนือความเสน่หาในโลกดุนยาอันไม่จีรัง ดังนั้น จงมาดูคุณลักษณะของพวกเขา และจงนำไปประดับไว้ในเรือนกายของท่าน หวังว่าท่านจะได้เป็นผู้หนึ่งจากพวกเขาและจะได้เป็นผู้ที่มีชัยอย่างยิ่งใหญ่ในเวลาอันใกล้ นั่นคือหนึ่ง มีความศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ ต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ครอบคลุมไปถึงการศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ ซึ่งในวันนั้นจะมีสรรพสิ่งต่างๆ ที่เป็นความโปรดปรานอย่างใหญ่หลวงโดยอัลลอฮฺจัดเตรียมไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา และในวันนั้นจะมีการลงโทษอย่างแสนสาหัสที่อัลลอฮฺจัดเตรียมไว้แก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธผู้หลงลืมสอง พวกเขายอมสารภาพต่อความผิด และพวกเขารู้ดีว่าความผิดจะไม่มีใครประทานอภัยโทษให้ได้นอกจากอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลของพวกเขาเพียงองค์เดียวเท่านั้นสาม พวกเขาศรัทธาต่อการมีอยู่ของนรกและเชื่อว่าจะมีการลงโทษในนั้น และการสอบสวนของพระผู้อภิบาลพวกเขาจะทำให้พวกเขารอดพ้นจากมันได้สี่ พวกเขามีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำในโลกดุนยาและต่อความเพลิดเพลินยั่วยุของมัน พวกเขาศรัทธามั่นว่าอัลลอฮฺจะทดแทนสิ่งที่ดีกว่านั้นให้แก่พวกเขาอย่างแน่นอน ความอดทนนับว่าเป็นความสุดยอดของประเภทการศรัทธา และการอดทนจะไม่เกิดความสมบูรณ์ขึ้นได้นอกจากต้องมีองค์ประกอบสามประการดังต่อไปนี้ กล่าวคือ ต้องอดทนในการเชื่อฟังปฏิบัติตามต่ออัลลอฮฺ ต้องอดทนจากการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ และต้องอดทนต่อกฎสภาวการณ์ของอัลลอฮฺห้า มีความสัจจริง เพราะความสัจจริงจะนำไปสู่ความดีงาม และความดีงามจะนำไปสู่สวนสวรรค์ สำหรับบรรดาผู้ที่สัจจริงจะได้อยู่ร่วมกับบรรดานบีและบรรดาผู้ที่ตายชะฮีด ซึ่งนับได้ว่าพวกเขาคือสุดยอดของกัลยาณมิตรอย่างแท้จริงหก พวกเขาเป็นผู้ที่ภักดีต่ออัลลอฮฺพระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล เหตุผลดังกล่าวจะนำพวกเขาไปสู่การรักใคร่ต่อพระองค์ พวกเขารู้สึกมีความต่ำต้อยเวลาอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ และพวกเขาต้องพึ่งพาต่อพระองค์โดยการมุ่งหวัง มีความหวั่นกลัว และมีความนอบน้อมเจ็ด การใช้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขาเป็นไปในหนทางของอัลลอฮฺ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าให้ได้รับความพอพระทัยจากพระองค์ โดยไม่ทำเพื่อการโอ้อวดหรือต้องการชื่อเสียงให้ผู้คนกล่าวขานแปด พวกเขาแสวงหาการอภัยโทษจากพระผู้อภิบาลในช่วงเวลาอันเงียบสงัดก่อนรุ่งอรุณ ขณะที่พระผู้อภิบาลทรงลงมายังฟากฟ้าแห่งโลกดุนยาในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของยามค่ำคืน โดยที่พระองค์จะตรัสว่า มีผู้พร่ำวอนหรือไม่ฉันจะได้ตอบรับคำพร่ำวอนของเขา? มีผู้ใดร้องขอหรือไม่ฉันจะได้ให้สิ่งที่เขาร้องขอ? มีผู้ขออภัยโทษหรือไม่ฉันจะได้ให้อภัยโทษแก่เขา? (ส่วนหนึ่งจากหะดีษในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺ หน้า 226 หมายเลขหะดีษ 1145 และเศาะฮีหฺ มุสลิม หน้า 298 หมายเลขหะดีษ 758) และพวกเขาก็จะวิงวอน ร้องขอ และขออภัยโทษต่อพระองค์ ส่วนบรรดาผู้ที่หลงลืมจะนอนอย่างหลับใหล          พระองค์อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า﴿أَمَّنْ هُوَ قَانِتٌ آنَاء اللَّيْلِ سَاجِداً وَقَائِماً يَحْذَرُ الْآخِرَةَ وَيَرْجُو رَحْمَةَ رَبِّهِ قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الَّذِينَ يَعْلَمُونَ وَالَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ﴾ (الزمر : 9 )ความหมาย “ผู้ที่เขาเป็นผู้ภักดีในยามค่ำคืน ในสภาพของผู้สุญูดและผู้ยืนละหมาด โดยที่เขาหวั่นเกรงต่อโลกอาคิเราะฮฺ และหวังความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกระนั้นหรือ?) จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) บรรดาผู้ที่มีความรู้และบรรดาผู้ที่ไม่มีความรู้จะเท่าเทียมกันกระนั้นหรือ? แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะพิจารณาใคร่ครวญ” (อัซ-ซุมัรฺ  9)การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงบรรดาวงศาคณาญาติ และบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมดเทอญ

المرفقات

2

หนึ่งบทใคร่ครวญอาลอิมรอน_14-17
หนึ่งบทใคร่ครวญอาลอิมรอน_14-17