البحث

عبارات مقترحة:

الشافي

كلمة (الشافي) في اللغة اسم فاعل من الشفاء، وهو البرء من السقم،...

المؤمن

كلمة (المؤمن) في اللغة اسم فاعل من الفعل (آمَنَ) الذي بمعنى...

สาสน์อิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบนุรอมลี ยูนุส
القسم كتب وأبحاث
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الإسلام - حاجة البشرية إلى الإسلام
หนังสือที่อธิบายข้อมูลหลักพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและวจนะของท่านศาสนทูต เหมาะสำหรับผู้สนใจที่ต้องการศึกษาอิสลามจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง และใช้เพื่ออธิบายอิสลามแก่ผู้ไม่ใช่มุสลิมได้เป็นอย่างดี

التفاصيل

สาส์นอิสลาม บทนํา สาส์นอิสลาม สิทธิของพ่อเเม่ สิทธิของ เด็กกำพร้า สิทธิของลูกๆในครอบครัว สิทธิของคนป่วย สิทธิคนชรา สิทธิของคนที่ตกทุกข์และต้องการความช่วยเหลือ ด้านจิตใจในทัศนะอิสลาม การศรัทธาต่อ องค์อัลลอฮฺ การศรัทธาต่อ บรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ ( เทวทูต ) การศรัทธาต่อคัมภีร์ บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ มีดังนี้ : การศรัทธาต่อบรรดาศาสนาทูตของอัลลอฮฺ การศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺ ( วันปรโลก ) : บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺ ( วันปรโลก ) : การศรัทธาต่อกอฎออฺ และกอดัร ( ชะตากรรมและสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้) : หลักการอิสลาม หลักการปฏิบัติข้อที่หนึ่งคือ : การกล่าวสองคำปฏิญาณตน   ความหมายของคำปฏิญาณนี้ อธิบายได้ดังนี้ ความหมายของคำว่า شهادة أن محمدا عبد الله ورسوله ชะฮาดะตุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุลลอฮิ วะ รอซูลุฮฺ หลักการปฏิบัติข้อที่สองคือ การละหมาด: หลักการปฏิบัติข้อที่สามคือ การจ่ายซะกาต : หลักการปฏิบัติข้อที่สี่ คือการถือศีลอด เดือนรอมฎอน : หลักการปฏิบัติข้อที่ห้า คือ การประกอบพิธีฮัจญ์ : คุณลักษณะเฉพาะและคุณงามความดีของศาสนาอิสลาม คุณลักษณะเฉพาะและคุณงามความดีของศาสนาอิสลามมีดังนี้ : ในศาสนาอิสลามจะมีรากฐานและเเม่บททางศาสนาที่ชัดเเจ้ง  ปราศจากข้อบกพร่องและการปรับปรุง  ดัดแปลงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง   ดังนั้น รากฐานที่มาของศาสนาอิสลามจะมีดังนี้ อิสลามได้เสนอหลักการการควบคุมในเชิงส่วนตัวดังนี้ : *  ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งความบริสุทธิ์ : ด้านการเมืองในทัศนะอิสลาม บางจุดเกี่ยวกับด้านการเมืองในทัศนะอิสลาม : ดังนั้นผู้นำในทัศนะอิสลามคือตัวแทนของประชาชน ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ : รากฐานและหลักการปกครองในอิสลาม มีข้อพิเศษดังต่อไปนี้ : ด้านธุรกิจในอิสลาม บางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานด้านธุรกิจในอิสลาม : ดังนั้น อิสลามได้นำเสนอแผนการต่างๆซึ่งเรียกได้ว่าแนวทางสู่ชีวิตแห่งสันติสุข : ด้านสังคมในอิสลาม บางเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านสังคมในทัศนะอิสลาม :    สิทธิของผู้นำที่สมควรได้รับ :  หน้าที่ของผู้นำเเละสิทธิของปวงชนที่สมควรได้รับ :  สิทธิของพ่อแม่ สิทธิของสามีและหน้าที่ของภรรยาต่อสามี สิทธิของภรรยาและหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ด้านจริยธรรมอิสลาม ข้อควรปฏิบัติเเละเงื่อนไขสําหรับผู้ที่ต้องการชักชวนผู้อื่นให้กระทําความดีเเละละทิ้งความชั่ว : ส่วนหนึ่งของมารยาทในอิสลาม มารยาทการกิน : มารยาทในการขออนุญาต  ( เข้าบ้าน) มารยาทในการให้สลาม มารยาทในการเข้านั่งในสถานที่ส่วนรวม มารยาทในการประชุม มารยาทในการพูด มารยาทในการเยี่ยมเยียนผู้ป่วย มารยาทในการล้อเล่น  มารยาทในการตะอฺเซียะฮฺ ( ไว้ทุกข์ ) ส่วนหนึ่งของมารยาทในการไว้ทุกข์คือ : มารยาทในการนอน : มารยาทในการเข้าห้องน้ำห้องส้วม มารยาทในการร่วมหลับนอนระหว่างสามีภรรยา มารยาทในการเดินทาง มารยาทในการเดินผ่านไปมาบนถนนหนทาง มารยาทในการซื้อขาย  บทสรุป  สาส์นอิสลามดร.อับดุลเราะฮฺมาน อับดุลการีม อัซซีหะฮฺ : เขียนอิบนู  อันดาลุส : เเปลตักวา  อัซฮะรีย์ : ตรวจทาน บทนําด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี  ผู้ทรงเมตตาเสมอ      มวลการสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ  เราขอสรรเสริญแด่พระองค์ เราขอความช่วยเหลือจากพระองค์   เราขออภัยโทษจากพระองค์  ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากความชั่วร้ายในตัวของเรา  จากการงานที่เลวร้ายของเรา  ผู้ใดก็ตามที่อัลลอฮฺทรงนำทาง  เขาจะไม่หลงทาง   และผู้ใดที่อัลลอฮฺทำให้เขาหลง  ก็จะไม่มีผู้ใดนำทางเขา   ข้าพเจ้าขอปฎิญานตนว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น  และ ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์  และข้าพเจ้าขอปฎิญานตนว่ามุฮัมมัดคือบ่าวและศาสนาทูตแห่งพระองค์ ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านและครอบครัวของท่าน  สาวกของท่าน และบรรดาผู้ปฏิบัติตามเขาเหล่านั้นด้วยความดีงามพระเจ้าอัลลอฮฺได้ตรัสความว่า :  จงกล่าวเถิด (มูฮัมหมัด) ว่า โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ ! (ชาวยิวเเละชาวคริสต์) จงมายังถ้อยคำหนึ่งซึ่งเท่าเทียมกันระหว่างเราและพวกท่าน นั่นคือ เราจะไม่เคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น และเราจะไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺ  แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ (หลีกเลี่ยงจากการกระทำดังกล่าว)  ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นผู้น้อมตาม( อัลอิมรอน 64 ) ศาสนาอิสลามคือศาสนาที่เที่ยงเเท้ เพราะเป็นศาสนาที่ตรงกับฟิฏเราะฮฺของมนุษย์(ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์)  กล่าวคือเป็นศาสนาที่ชัดเจนโปร่งใสไม่สร้างความสับสนหรือยุ่งยากมากเกินไป ทุกคนมีสิทธิที่จะสอบถามในสิ่งที่ข้องใจเกี่ยวกับศาสนานี้  เเต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า :ทุกคนมีอิสระในการที่จะตอบคําถามเหล่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า :   จงกล่าวเถิด (มูฮัมหมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือ บรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจทั้งหลาย  ครอบคลุมทั้งสิ่งที่เปิดเผยและสิ่งที่ไม่เปิดเผย  สิ่งที่เป็นบาป  การข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม และการที่พวกเจ้านำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นภาคีต่ออัลลอฮฺ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นพระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมา  และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัยแก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้(อัลอะอฺ รอฟ 33 ) บุคคลที่มีสิทธิในการให้คําตอบเรื่องศาสนา คือ นักวิชาการหรือผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาเท่านั้นอัลลอฮฺได้ตรัส ความว่า :  ดังนั้น พวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้ หากพวกเจ้าไม่รู้ ( อันนะฮฺลุ 43 ) ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ – ขอความสันติจงประสบเเด่ท่าน-  ได้เตือนประชาชาติของท่านไม่ให้สอบถามเรื่องศาสนาจากผู้ที่ไม่มีความรู้  เเละท่านได้อธิบายถึงผลที่จะตามมาหากได้ทําสิ่งนั้น ความว่า :   เเท้จริงเเล้วอัลลอฮฺจะไม่ทรงเรียกความรู้จากบ่าวคืน  เเต่พระองค์จะเรียกความรู้คืนโดยเอาชีวิตบรรดานักปราชญ์ผู้รอบรู้ทั้งหลาย  จนกระทั้งไม่มีพวกเขาเเม้เเต่คนเดียว  ถึงเวลานั้นเเล้วพวกมนุษย์จะตามคนใหญ่คนโตที่โง่เขลา    พวกเขาจะสอบถามผู้คนเหล่านั้น   ผู้คนเหล่านั้นจะตอบโดยไม่มีความรู้ที่เเท้จริง   ทําให้พวกเขาหลงทาง เเละชักชวนคนอื่นให้หลงทางตามไปด้วย(เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/50  เลขที่100)ในอิสลามไม่มีคําว่ายุ่งยาก  สร้างความสับสนในการศรัทธาของเรา   เเละเราไม่จําเป็นต้องสอบถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งสมองมนุษย์ไม่สามารถที่จะให้คำตอบนั้นได้  เพราะมันคือสิ่งเร้นลับที่อัลลอฮฺไม่ทรงอธิบายให้เรารับรู้   เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้รับสาระอันใดจากการรับรู้ถึงสิ่งเหล่านั้น   เเต่หากสิ่งเร้นลับนั้นเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หากเขาได้รับรู้  อัลลอฮฺจะอธิบายสิ่งเหล่านั้นทันทีโดยผ่านวาจาท่านศาสดามูฮัมหมัด    เเละเเน่นอนพวกเรามุสลิมต่างมีข้อสักถามหลายๆข้อที่ต้องการคําตอบ    ฉะนั้นอิสลามได้เตรียมคําตอบมาพร้อมอย่างชัดเจนเพื่อความสะดวกในการเข้าใจ   ตัวอย่างเช่นสมมุติว่า   มนุษย์ได้ถามถึงความเป็นมาของเขาโดยเเท้จริง พวกเขาจะต้องได้รับคําตอบต่อไปนี้  ในโองการหนึ่งความว่า  :และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุแท้ของดิน  แล้วเราทำให้เขาเป็นเชื้ออสุจิ  อยู่ในที่พักอันมั่นคง (มดลูก)   คือให้ลูกหลานอาดัมเกิดจากเชื้ออสุจิที่มาจากกระดูกสันหลังของผู้ชาย   แล้วเราได้ทำให้เชื้ออสุจิกลายเป็นก้อนเลือด แล้วเราได้ทำให้ก้อนเลือดกลายเป็นก้อนเนื้อแล้วเราได้ทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ แล้วเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง.( อัลมุอฺมินูน 12-14 ) ·       ถ้ามนุษย์ถามถึงตำแหน่งและฐานะของพวกเขาในโลกนี้  แน่นอนคำตอบที่พวกเขาจะได้รับคือ  โองการของอัลลอฮฺเจ้าในโองการอัลลอฮฺ : ความว่า : “และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่”  ·       ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงจุดยืนของพวกเขาต่อสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺได้สร้างขึ้นมาในโลกนี้  พวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺความว่า :  “อัลลอฮฺ คือผู้ทรงทำให้ทะเลเป็นประโยชน์สำหรับพวกเจ้า เพื่อให้เรือเดินสมุทรแล่นไปตามน่านน้ำโดยพระบัญชาของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้แสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบท่านอัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยเดชานุภาพและเคล็ดลับของพระองค์ ทรงทำทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาลให้สงบราบเรียบเป็นประโยชน์สำหรับพวกเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้เรือเดินสมุทรได้แล่นไปในท้องทะเลโดยพระบัญชาของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เพื่อการค้าขาย การค้นคว้าหาทรัพยากรในท้องทะเล เช่น ไข่มุก และจับปลา และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ขอบท่านพระองค์ในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเจ้า”( อัลญาซียะฮฺ 12-13 ) ·       ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงเหตุผลที่พวกเขาถูกสร้างมา    แน่นอนพวกเขาจักต้องได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ    ความว่า :  “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า    ข้าไม่ต้องการปัจจัยยังชีพจากพวกเขา และข้าก็ไม่ต้องการให้พวกเขาให้อาหารแก่ข้า   แท้จริงอัลลอฮฺ คือผู้ประทานปัจจัยยังชีพอันมากหลาย ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง”( อัลซาริยาต 56 -58 ) ·       ถ้ามนุษย์ได้สอบถามถึงพระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งในจักรวาลนี้   ซึ่งมวลการภักดีต้องมีแด่พระองค์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีผู้ใดนอกเหนือพระองค์   แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ  อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง    พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์”( อัลอิคลาส 1-4 ) ·       ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงหนทางแห่งความสงบสุข  ทั้งจิตใจและกายแน่นอนคำตอบก็คือ  โองการอัลลอฮฺ    ความว่า :  “บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ พึงทราบเถิด! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ”( อัรเราะอฺดุ 28 ) ·       ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงหนทางที่นำมาซึ่งความจำเริญ ความสำเร็จ  และความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺความว่า :  “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้”( อันนะฮฺลุ 97 ) ·       ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงผลตอบแทนของคนที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมา  แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ :ความว่า :  “และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺในสภาพของคนตาบอด    เขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์จึงทรงให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนตาดี มองเห็น   พระองค์ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน : เช่นนั้นแหละ เมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม”  ( ฏอฮา 124-126 ) * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงศาสนาที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมทุกกฎระเบียบช่วยพัฒนาสังคมและบุคคล  ทั้งโลกนี้และโลกหน้า  พวกเขาย่อมจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ :ความว่า :  “วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว” ( อัลมาอิดะฮฺ 3 ) * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงศาสนาที่ถูกต้อง   ที่สมควรแก่การนับถือ และยึดเป็นหนทางหนึ่งเพื่อไปสู่พระเจ้าและสวนสวรรค์ของพระองค์ พวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ    ความว่า : “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน”( อัลอิมรอน 85 )   * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงลักษณะความสัมพันธ์ระว่างเขากับคนอื่นๆ จากพี่น้องมนุษย์ด้วยกัน  พวกเขาย่อมจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน  แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ.นั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า”( อัลฮุจญ์รอต 13 ) * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงจุดยืนของเขาต่อวิชาความรู้  พวกเขาย่อมจะพบคำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “อัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทิดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”( อัลมุญาดะละฮฺ 11 ) * ถ้ามนุษย์ได้สอบถามถึงจุดจบของเขาในชีวิตนี้  แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :   “แต่ละชีวิตนั้น จะได้ลิ้มรสแห่งความตาย และแท้จริงที่พวกเจ้าจะได้รับรางวัลของพวกเจ้าโดยครบถ้วนนั้น คือวันปรโลก แล้วผู้ใดที่ถูกให้ห่างไกลจากไฟนรก และถูกให้เข้าสวรรค์แล้วไซร้ แน่นอน เขาก็ชนะแล้ว และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งอำนวยประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น” ( อาละอิมรอน 185 ) *ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงความเป็นไปได้ในการฟื้นชีพอีกครั้งหลังความตาย  และถึงกระนั้นแล้วพวกเขาจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง  พวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “และเขาได้ยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบแก่เรา และเขาได้ลืมต้นกำเนิดของเขา เขากล่าวว่า “ใครเล่าจะให้กระดูกมีชีวิตขึ้นมาอีกในเมื่อมันเป็นผุยผงไปแล้ว   จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด “พระผู้ทรงให้กำเนิดมันครั้งแรกนั้น ย่อมจะทรงให้มันมีชีวิตขึ้นมาอีก และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้การบังเกิดทุกสิ่ง   ผู้ทรงทำให้มีไฟสำหรับพวกเจ้าจากต้นไม้เขียวสด (แล้วจงดูซิ) พวกเจ้าก็ได้จุดมันจากเชื้อไฟนั้น   พระองค์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน จะไม่ทรงสามารถที่จะสร้างเช่นเดียวกับพวกเขากระนั้นหรือ ? แน่นอน และพระองค์เป็นผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงรอบรู้  แท้จริงพระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ก็จะตรัสแก่มันว่า “จงเป็น” แล้วมันก็จะเป็นขึ้นมา” ( ยาซีน 78-82 ) * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงการงานที่ได้รับการยอมรับจากอัลลอฮฺเจ้าในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ  แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติความดีสำหรับพวกเขานั้นคือสวนสวรรค์ชั้นฟิรเดาสฺ เป็นที่พำนัก” ( อัลกะฮฺฟุ 107 ) * ถ้ามนุษย์ได้ถามถึงความเป็นอยู่หลังการฟื้นคืนชีพ  แน่นอนพวกเขาจะได้คำตอบที่บ่งบอกว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่คงที่เด็ดขาด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง    เพราะมันคือสองทางเท่านั้นไม่มีสาม   สวรรค์หรือนรกเท่านั้น  อัลลอฮฺตรัส  ความว่า :  แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในหมู่อะฮฺลุลกิตาบและบูชาเจว็ดนั้นจะอยู่ในนรกญะฮันนัม พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่ง  แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้น พวกเขาเป็นมนุษย์ที่ดียิ่ง   การตอบแทนของพวกเขา ณ ที่พระเจ้าของพวกเขาคือสวนสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ณ เบื้องล่างของมันมีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล อัลลอฮฺทรงปิติต่อพวกเขา และพวกเขาก็ยินดีในพระองค์ นั่นคือสำหรับผู้ที่กลัวเกรงพระเจ้าของพวกเขา( อัลบัยยินะฮฺ 6-8 ) ท่านผู้อ่านที่เคารพ ...ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่า อิสลามย่อมมีทางออกทีดีสำหรับทุกปัญหาที่เราพบเห็นในโลกทุกวันนี้   การยึดเอาอิสลามแล้วนำมาปฏิบัติเพียงพอแล้วที่จะเป็นตัวกำจัดปัญหาเหล่านั้น   แท้จริงแล้วโลกได้ทดลองทุกระบบที่เคยมีมา ซึ่งกาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าระบบเหล่านั้นไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้  - ถึงแม้ว่าในบางครั้งบางระบบอาจแก้ปัญหาในบางเรื่อง -   ทำไมเล่าโลกนี้ไม่ยอมรับอิสลามมาปฏิบัติ ?      เอฟ ฟิลเวียส( F . Filweas )- นายพลเรือเชื้อสายอังกฤษ   ผู้เคยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งทีหนึ่งและสอง   ผู้ซึ่งเติบโตในสังคมคริสต์และเคยชินในวัฒนธรรมชาวคริสต์   แต่ท่านได้เข้ารับอิสลามหลังจากที่ได้ศึกษาอัลกุรอ่านและหนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม   ปีค.ศ  1923-  ( ดูหนังสือ  กอลู อะนิล อิสลาม  ดร. อิมาดุดดีน อัล คอลีล )  - ได้กล่าวว่า แท้จริงได้มีการลงข่าวในหนังสือพิมพ์หลายๆเล่มช่วงระยะหลังๆนี้ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่านักปรัชญาและนักเขียนชาวยุโรปได้อ้างว่า ทุกศาสนาในสมัยนี้ได้สูญหายและถูกทอดทิ้งไปแล้ว จำจะต้องละทิ้งเสีย   บ่งบอกถึงอาการท้อใจอย่างแรงของบรรดานักเขียนเหล่านั้น  สืบเนื่องมาจากอุปสรรคต่างๆ ที่เขาพบเห็น  ความยุ่งยากและความไม่ชัดเจนในหลักคำสอนของศานาคริสต์นั้นเอง    แต่พวกเขาได้กระทำความผิด   ดังนั้นอิสลามเท่านั้นคือคำตอบที่ดีที่สุด  ซึ่งจนถึงเวลานี้ยังคงอยู่  พร้อมที่จะเป็นทางออกที่ดีสำหรับอุปสรรคดังกล่าว . ท่านผู้อ่านที่เคารพ  ....คงไม่ผิดไปจากความเป็นจริงเท่าใดนักถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวว่า  มีมุสลิมจำนวนมากในยุคนี้ที่ยังห่างไกลจากการปฏิบัติตามหลักการอิสลามที่ถูกต้อง   เพราะสิ่งต่างๆที่มุสลิมได้ปฏิบัติในสังคมทุกวันนี้มันช่างห่างไกลจากหลักการอิสลามเหลือเกิน   ไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่อิสลามต้องการ     อิสลามไม่ได้เป็นเพียงแค่พิธีทางศาสนาที่ควรปฏิบัติเฉพาะบางเวลาแล้วก็จบตามที่บางคนเข้าใจ  แต่อิสลามคือการเชื่อมั่น  ระเบียบ   หลักอิบาดะฮฺ (หลักการภักดี)    ดังนั้นอิสลามจึงเป็นศาสนาและเป็นประเทศชาติอย่างเต็มความหมาย  ได้มีการกล่าวกันว่า   มันช่างยิ่งใหญ่เหลือเกินถ้าศาสนานั้นมีผู้คนเลื่อมใสมากมายคอยดำเนินตามรอยศาสนา และปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของมัน    ละทิ้งการกระทำใดๆที่ศาสนาห้าม     และได้ทำการเผยแผ่ศาสนานี้ให้กับชาวโลกตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า”( อันนะฮฺลุ 125 )  เจ เอส เรสต์เลอร์ ( J . S . Restler )  ได้กล่าวในบทนำของหนังสือเล่มหนึ่งของเขาที่ชื่อ   อารยธรรมชาวอาหรับ  “ คำว่า อิสลาม สามารถที่จะตีความความหมายได้ในสามแง่ด้วยกัน   ความหมายที่หนึ่ง  คือ ศาสนาหรือความเชื่อมั่น    ความหมายที่สองคือ  ประเทศชาติ   สามคือ  ความรู้และวัฒนธรรม    ซึ่งกล่าวโดยสรุป อิสลามคือความรู้และวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียว”แท้จริงหลักการศรัทธา   หลักการภักดี  หลักการปฏิบัติ  และคำสั่งสอนทั่วไปในศาสนาอิสลาม  ตั้งแต่ยุคของท่านศาสนทูตอัลลอฮฺมุฮัมมัด -ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน-จนถึงบัดนี้ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ  แต่ปัจจัยที่ทำให้ใครหลายคนมองภาพศาสนาอิสลามเปลี่ยนไปคือ คนที่อ้างตนว่าเป็น”มุสลิม”นั่นเอง   จึงอยากให้เข้าใจว่า เรื่องผิดๆที่เกิดขึ้นมานั้น  สืบเนื่องจากฝีมือของคนที่อ้างตนว่าเป็นมุสลิม   ไม่ได้หมายความว่า :อิสลามสั่งให้ทำหรือยอมรับการกระทำดังกล่าว  เราจะยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้   สมมุติว่า เรามอบเครื่องมืออะไรบางอย่างที่เพิ่งผลิตมาจากโรงงานและยังไม่ได้ประกอบให้กับคนๆหนึ่ง   โดยมีคู่มือบอกวิธีและขั้นตอนในการประกอบไว้ให้  ถ้าเจ้าของประกอบเครื่องมือที่ให้ไม่ตรงกับคำชี้แจงในคู่มือ   เราจะบอกว่าข้อมูลที่ให้มาในคู่มือผิดกระนั้นหรือ ? คงเป็นไปไม่ได้  ฉะนั้นเรื่องคงไม่พ้นจากสามกรณีต่อไปนี้๑-     เจ้าของไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่มีในคู่มืออย่างถูกต้อง๒-   หรือไม่  เขาก็ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในคู่มืออย่างสมบูรณ์แบบ  คือปฏิบัติตามไม่ครบขั้นตอน๓-  หรือ เขาไม่เข้าใจขั้นตอนที่ได้ชี้แจงในหนังสือคู่มือ  ในกรณีนี้เขาควรกลับไปหาบริษัทผู้ผลิตเพื่อขอคำชี้แจงให้ชัดเจน   อิสลามก็เช่นกัน  ใครที่ต้องการรับรู้เละเข้าใจอิสลามอย่างแท้จริง ก็ต้องกลับไปสู่แหล่งที่มาของอิสลามอย่างถูกต้อง   เนื่องจากความรู้ด้านศาสนาต้องเอาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ    ตัวอย่างเช่น  คนป่วยก็ต้องไปหาหมอ    ใครต้องการสร้างบ้านก็ต้องไปหาวิศวกร    เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าทุกเรื่องต้องกลับไปหาผู้เชี่ยวชาญของมันเป็นการเฉพาะ   จุดประสงค์ของข้าพเจ้าในหนังสือเล่มนี้คือต้องการจะบอกกล่าวไปยังผู้อ่านว่า   อย่าเอาความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัวมาเกี่ยวข้องในเรื่องศาสนา   ข้าพเจ้าหวังให้ทุกท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยจุดประสงค์ของผู้ซึ่งต้องการแสวงหาความสัจธรรม    มิใช่เพื่อสืบหาความผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง    ขอให้ท่านเป็นผู้อ่านที่พิจารณาข้อความต่างๆเหล่านี้ด้วยสติปัญญา  มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของตัวเอง    มิฉะนั้นแล้วท่านจะเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงตําหนิในโองการอัลลอฮฺ   ความว่า :“และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิดพวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ เราจะปฏิบัติสิ่งที่เราได้เห็นบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และแม้ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใด และทั้งไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องก็ตามกระนั้นหรือ”( อัลบะเกาะเราะฮฺ 170 ) เพราะคนที่อาศัยอยู่ในความเจริญและในสังคมที่ได้รับการพัฒนา   มีเเนวคิดที่อยู่บนฐานเเห่งตรรกวิทยาเเละสติปัญญา คือคนที่ไม่ตัดสินใจอย่างรีบร้อนโดยไม่ใช้สติปัญญา  คนที่ไม่ยอมรับบางเรื่องเพราะขาดการเรียนรู้หรือเพราะไม่รู้จริงเขาจะตอบรับและยอมรับทันทีเมื่อเขาได้รับรู้และพึงพอใจ   และเเน่นอนสิ่งนี้จะไม่เพียงเเต่เป็นประโยชน์เฉพาะเขาคนเดียวเท่านั้น เพราะเขามีหน้าที่ที่จะต้องเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นต่อไปด้วย ดังนั้นคนในสังคมต้องได้รับประโยชน์ไปด้วย   ฉะนั้นนี่คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มีความรู้ที่จะต้องสอนผู้ที่ขาดความรู้ หรือช่วยแนะนำข้อ ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เขากระทำผิด    ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่า  สิ่งที่จะเสนอต่อไปนี้ได้ครอบคลุมสิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  แต่กระนั้นหนังสือเล่มนี้ก็มิใช่หนังสือที่สมบูรณ์แบบอันเนื่องมาจากข้าพเจ้าไม่อาจกล่าวถึง “ศาสนาอิสลาม” ทั้งหมดได้ในหนังสือเพียงเล่มเดียวเพราะอิสลามคือระบบชีวิตที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในด้านศาสนาและทางโลก  การที่จะพูดถึงเรื่องราวทั้งหมดนั้น คงต้องทำหนังสือออกมาอีกหลายเล่มจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว  ฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงมีเพียงแค่การชี้แนะในบางประเด็นด้านหลักการและมารยาทหลักๆในอิสลาม ซึ่งพอที่จะเป็นกุญแจสำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้ในศาสนาอิสลามได้.บางคนอาจจะข้องใจว่า  กฎระเบียบที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ใช้ในการพัฒนาสังคมก็คล้ายๆกันกับกฎระเบียบที่อิสลามนำมามิใช่หรือ? เช่นนี้แล้วเราต้องพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่มาก่อนระหว่างอิสลามกับกฎระเบียบดังกล่าว ? และแน่นอนบทบัญญัติอิสลามย่อมมาก่อน จะเห็นได้ว่าอิสลามมีกฎเกณฑ์ที่ได้ปฏิบัติกันมาเนิ่นนานมากกว่า 15 ศตวรรษ  ฉะนั้นอะไรก็ตามที่มาหลังอิสลามซึ่งอาจคล้ายหรือเหมือนกับที่อิสลามก็ถือว่าเป็นการอ้างอิงมาจากศาสนาอิสลาม   ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ายุคเเรกๆที่อิสลามเข้ามา ได้มีบุคคลต่างศาสนิกเข้ามาศึกษาอิสลามและสนใจอิสลามเป็นพิเศษ เช่นนักบูรพาคดี    ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีจุดประสงค์ที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม.อับดุลเราะฮฺมาน  บิน อับดุลการีม อัซซีหะฮฺซาอุดีอารเบียริยาด / 11535รหัสไปรษณีย์ 59565 สาส์นอิสลามหลักการขั้นพื้นฐานในศาสนาอิสลามท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม – ได้กล่าวไว้ในครั้งที่ท่านประกอบพิธีฮัจญ์อําลาความว่า :   “พวกเจ้ารู้ไหมว่าวันนี้เป็นวันอะไร    พวกเขาตอบว่า อัลลอฮฺและศาสนทูตของอัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้ดี    ท่านกล่าวต่อว่า  แท้จริงแล้ววันนี้เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงห้าม    แล้วพวกเจ้ารู้ไหมว่าเมืองนี้เป็นเมืองอะไร    พวกเขาตอบว่าอัลลอฮฺและศาสนทูตของท่านเท่านั้นที่รู้ดี   ท่านกล่าวว่า เมืองนี้คือเมืองที่อัลลอฮฺทรงห้าม    แล้วพวกเจ้ารู้ไหมว่าเดือนนี้เป็นเดือนอะไร  พวกเขาตอบว่า อัลลอฮฺและศาสนทูตของอัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้ดี   ท่านกล่าวว่า เดือนนี้คือเดือนที่อัลลอฮฺทรงห้าม   ท่านกล่าวต่ออีกว่า  แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงห้ามพวกเจ้าซึ่งเลือดของพวกเจ้า  ทรัพย์สินของพวกเจ้า   เกียรติศักดิ์ของพวกเจ้า  ประดุจดังวันนี้ที่อัลลอฮฺทรงห้าม  ในเดือนนี้   ณ  เมืองแห่งนี้”( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 5/2247  เลขที่ 5687 ) ฉะนั้นหลักขั้นพื้นฐานในอิสลามคือ  คือการรักษาชีวิต  เกียรติศักดิ์   ทรัพย์สิน    สติปัญญา   และเผ่าพันธุ์  ผู้อ่อนแอและผู้ด้อยโอกาส   ; ·       อัลลอฮฺได้ตรัสถึงการห้ามข่มเหงรังเเกชีวิตมนุษย์ด้วยกัน   ความว่า : “และพวกเจ้าอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮทรงห้ามไว้ เว้นแต่ด้วยความเที่ยงธรรม .( อัลอิสรออฺ 33 ) ·       อัลลอฮฺทรงห้ามการกระทำล่วงเกินศักดิ์ศรีคนอื่น ในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :  “และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้การผิดประเวณีแท้จริงมันเป็นการลามกและทางอันชั่วช้า” ( อัลอิสรออฺ 32 ) ·       อัลลอฮฺทรงห้ามการกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินเงินทอง  ในโองการอัลลอฮฺ    ความว่า : “และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์ สมบัติของพวกเจ้า ระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ .( อัลบะเกาะเราะอฺ 188 ) ·       อัลลอฮฺทรงห้ามทุกการกระทำที่สร้างความเสื่อมเสียเเก่สติปัญญา ในโองการอัลลอฮฺ   ความว่า :“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ”( อัลมาอิดะฮฺ 90 ) ·       และอัลลอฮฺได้ทรงห้ามทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์  ในโองการอัลลอฮฺ  ความว่า :“และ เมื่อเขาให้หลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายามในแผ่นดิน เพื่อก่อความเสียหายในนั้นและทำลายพืชผล และเผ่าพันธุ์และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหาย” ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 205 ) ·    ส่วนเรื่องสิทธิผู้อ่อนแอที่ควรได้รับในทัศนะอิสลาม  อัลลอฮฺเจ้าได้ประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหลายๆโองการดังต่อไปนี้ สิทธิของพ่อเเม่  อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า : “และ พระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา  เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน”( อัลอิสรออฺ 23-24 )  สิทธิของ เด็กกำพร้าอัลลอฮฺได้ตรัส   ความว่า :“ดังนั้นส่วนเด็กกำพร้าเจ้าอย่าข่มขี่” ( อัฎฎุฮา 9 ) พระองค์ได้ประกันความคงอยู่ของทรัพย์สินเด็กกำพร้าโดยตรัส  ซึ่งความว่า :“และจงอย่าเข้าใกล้ทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า นอกจากด้วยวิถีทางที่ดียิ่ง.( อัลอันอาม 152 )  สิทธิของลูกๆในครอบครัวอัลลอฮฺตรัส   ความว่า : “และอย่าฆ่าลูกของพวกเจ้า เนื่องจากความจน เราเป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า และแก่พวกเขา” ( อัลอันอาม 151 )  สิทธิของคนป่วยท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  -ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- ได้กล่าวความว่า :  “จงปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ  จงช่วยเหลือคนยากจน และ เยี่ยมเยียนคนป่วย” สิทธิคนชราท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  -ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- ได้กล่าวความว่า :  “เขาคนนั้นไม่ใช่พวกฉัน ถ้าเขาไม่เคารพผู้ใหญ่  ไม่เมตตาเด็กเล็ก  ไม่ชักชวนให้คนทำความดี  และละทิ้งความชั่ว” สิทธิของคนที่ตกทุกข์และต้องการความช่วยเหลืออัลลอฮฺตรัส   ความว่า : “และส่วนผู้เอ่ยขอนั้น เจ้าอย่าตวาดขับไล่”( อัฎฎุฮา 10 )  ด้านจิตใจในทัศนะอิสลามศาสนาอิสลาม คือ ศาสนาหนึ่งที่นำเอาหลักการและความเชื่อมั่นมามอบให้ผู้นับถือได้เคารพศรัทธาและปฏิบัติตาม และชักชวนให้ปฏิบัติตาม โดยไม่มีการบังคับ   จากโองการของอัลลอฮฺ ความว่า :“ไม่มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฏ-ฏอฆูต(หมายถึงปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคําชี้นําของซัยฏอน) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใด ๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้”( อัลบะเกาะเราะฮฺ 256 ) อิสลามได้แนะนำให้ผู้นับถืออิสลามทำการเผยแพร่ศาสนานี้ด้วยวิธีทางที่เปี่ยมด้วยการกระทำที่สง่างามที่สุด  อัลลอฮฺได้ตรัส  ความว่า :“จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า”( อันนะฮฺลุ 125 ) ฉะนั้น การยอมรับด้วยดี คือสิ่งสำคัญยิ่งในมุมมองอิสลาม   เพราะการปฏิบัติตามเนื่องจากการบังคับ  ทำให้ผู้ถูกบังคับกล่าวด้วยวาจาโดยไม่ตรงกับสิ่งที่อยู่ในใจเขา   เพราะเช่นนี้คือการนิฟากคฺ ( การบิดพลิ้วเเละกลับกลอก ) ซึ่งอิสลามถือว่า ไม่สนับสนุนและจัดให้อยู่ในกลุ่มการงานที่ร้ายแรงกว่ากุฟุรฺ(ปฏิเสธศาสนา ) อัลลอฮฺได้ตรัส   ความว่า :“แท้จริงบรรดามุนาฟิกนั้นอยู่ในชั้นต่ำสุดจากนรก และเจ้าจะไม่พบผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับพวกเขาเป็นอันขาด”( อันนิซาอฺ 145 ) การเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺในทัศนะอิสลามอิสลามได้บัญญัติแนวทางการเคารพภักดี หลายด้านด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นด้านวาจา  การกระทำ   และการเชื่อมั่น    ส่วนการเคารพภักดีด้านความเชื่อมั่นอิสลามได้เสนอหลักการศรัทธา  ซึ่งมีห้าประการดังนี้ : การศรัทธาต่อ องค์อัลลอฮฺเป็นการให้ความเอกภาพเเด่องค์อัลลอฮฺ  ใน สามข้อดังนี้-การให้เอกภาพต่อองค์อัลลอฮฺในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์   คือ การยอมรับว่าอัลลอฮฺทรงมีจริง   พระองค์คือผู้ทรงเอกะ  และพระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้   และพระองค์เท่านั้นคือผู้บริหารและผู้มีสิทธิในการครองสรรพสิ่งดังกล่าว    พระองค์คือผู้ทรงสร้างเพียงพระองค์เดียว     ทุกอย่างจะอยู่ในความต้องการของพระองค์    ทุกอย่างจะไม่เกิดขึ้นนอกเสียจากว่าพระองค์ต้องการให้เกิดเท่านั้น. อัลลอฮฺตรัส   ความว่า : “พึงรู้เถิดว่าการสร้างและกิจการทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺพระผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”(อัลอะอฺรอฟ 54 ) อัลลอฮฺได้อธิบายเกี่ยวกับความเอกภาพของพระองค์พร้อมเน้นว่า  นอกเหนือจากพระองค์ไม่มีใครอีกแล้ว  อัลลอฮฺตรัส   ความว่า : “อัลลอฮฺ มิได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นพระบุตรและไม่มีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับพระองค์ ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางพระองค์ในหมู่พวกเขาก็จะมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์  มหาบริสุทธิ์ยิ่งแห่งอัลลอฮฺ ให้พ้นจากที่พวกเขากล่าวหา”( อัลมุอฺมินูน 91 ) -  การให้เอกภาพเเด่พระองค์ในเรื่องการเคารพภักดีต่อพระองค์  คือการเชื่อมั่นว่า  อัลลอฮฺเท่านั้นคือพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง   ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์    ไม่มีพระเจ้าองค์ใดที่สมควรได้รับการเคารพภักดีอีกแล้ว   ไม่มีการมอบหมายนอกจากกับพระองค์เท่านั้น  ไม่มีการวิงวอนขอนอกจากจากพระองค์เท่านั้น   ไม่มีการขอความช่วยเหลือในยามตกทุกข์ยกเว้นจากพระองค์เท่านั้น  ไม่มีการตอบรับเพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น   ไม่มีการสาบานใดๆนอกจากกับพระองค์เท่านั้น    ทุกการกระทำด้านศาสนกิจต้องมอบหมายไปยังพระองค์เท่านั้น   อัลลอฮฺตรัส    ความว่า :“ และเรามิได้ส่งศาสนทูตอัลลอฮฺคนใดก่อนหน้าเจ้านอกจากเราได้วะฮีแก่เขาว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า”( อัลอัมบิยาอฺ 25 )   -การให้เอกภาพต่อพระองค์ในพระนามและคุณลักษณะต่างๆของพระองค์   หมายถึง  การเชื่อมั่นว่า  อัลลอฮฺทรงมีนามเรียกที่ดีงาม  มีคุณลักษณ์ที่สูงส่ง   พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดจากความบกพร่องทั้งมวล .  พระองค์ได้ตรัส   ความว่า :“และอัลลอฮฺนั้นมี บรรดาพระนามอันสวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกหาพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉ ในบรรดาพระนามของพระองค์เถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ”( อัลอะอฺ รอฟ 180 ) เราศรัทธาต่อคุณลักษณะของอัลลอฮฺ พระองค์ไม่ทรงเหมือนกับลักษณะสิ่งต่าง ๆ ที่มีขึ้นมาใหม่    พระองค์บริสุทธิ์เเละปราศจากการอธิบายถึงคุณลักษณะของพระองค์   หรือ การปฏิเสธคุณลักษณะของพระองค์  หรือ การ เปรียบเทียบคุณลักษณะของพระองค์กับสิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวล   อัลลอฮฺตรัส    ความว่า :“ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น”( อัซซูรอ 11 )  การศรัทธาต่อ บรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ ( เทวทูต ) คือ  การศรัทธาว่า  อัลลอฮฺทรงมีบรรดามะลาอิกะฮฺมากมาย  ไม่มีใครรู้จำนวนของพวกเขานอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น   พวกเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺในการบริหารและรักษาจักรวาลนี้   ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดมาแล้ว ( ดู อิฆอซาตุล ละฮฺฟาน 2/120 ) พวกเขาถูกมอบหน้าที่เพื่อบริหารฟากฟ้าและเเผ่นดินนี้   ทุกๆความเคลื่อนไหวในโลกนี้เป็นหน้าที่ของพวกเขาดังที่อัลลอฮฺประสงค์จะให้เป็น   อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :“แล้วพวกเขา (มะลาอิกะฮฺ) ผู้บริหารกิจการ” ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานอีก ความว่า :“ขอสาบานต่อมะลาอิกะฮฺ ผู้จัดสรรการงาน”( อัซซาริยาต 4 ) บรรดามะลาอิกะฮฺถูกสร้างขึ้นมาจากรัศมี   ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน -   กล่าว ความว่า :   “มะลาอิกะฮฺถูกสร้างมาจากเเสงรัศมี   ส่วนญินถูกสร้างมาจากเปลวไฟ   ส่วนอาดัม( มนุษย์ ) ถูกสร้างมาจากสิ่งที่ได้อธิบายไป(ดิน)”( เศาะฮีฮฺ มุสลิม 4/2294 เลขที่ 2996  ) พวกเขาถือได้ว่าเป็นสิ่งเร้นลับ  มองเห็นกับตาไม่ได้  แต่อัลลอฮฺก็ทรงให้ลักษณะพิเศษแก่พวกเขาคือ พวกเขาสามารถที่จำแลงร่างเป็นสิ่งอื่นซึ่งสามารถมองเห็นได้    ดังที่อัลลอฮฺได้เเจ้งให้เราทราบถึงเรื่องราวของญิบรีลครั้นไปพบพระนางมัรยัมในลักษณะที่เขาจำแลงเป็นมนุษย์   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : “แล้วนางได้ใช้ม่าน กั้นให้ห่างพ้นจากพวกเขาแล้วเราได้ส่งวิญญาณของเรา (ญิบรีล) ไปยังนางแล้วเขาได้จำแลงตนแก่นาง ให้เป็นชายอย่างสมบูรณ์   นางกล่าวว่า “แท้จริงฉันขอความคุ้มครองต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานีให้พ้นจากท่าน หากท่านเป็นผู้ยำเกรง    เขา (ญิบรีล) กล่าวว่า “แท้จริงฉันเป็นเพียงทูตแห่งพระเจ้าของเธอ เพื่อฉันจะให้ลูกชายผู้บริสุทธิ์แก่เธอ” ( มัรยัม 17 -19 )  “ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้เห็นญิบรีลมาแล้วครั้งหนึ่งในลักษณะดั้งเดิมของเขาที่ได้ถูกสร้างมา    ซึ่งเขามีปีก 600 ปีก  ปิดบังฟากฟ้าเนื่องจากความยิ่งใหญ่ของเขา”  ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 4/1840 เลขที่ 4575 ) ฉะนั้นบรรดามะลาอิกะฮฺดังกล่าวจะมีปีกสอง หรือ สาม หรือ มากกว่านั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : “บรรดาการสรรเสริญเป็น ของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน  ผู้ทรงแต่งตั้งมะลาอิกะฮฺให้เป็นผู้นำข่าว ผู้มีปีกสอง สาม และสี่ ทรงเพิ่มในการสร้างตามที่พระองค์ทรงประสงค์” ( ฟาฏีร 1 )  ส่วนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับพวกเขาถือว่าเป็นความลับที่อัลลอฮฺรับรู้เพียงผู้เดียว วันเวลาของพวกเขาคือ การรําลึกถึงอัลลอฮฺ  หรือการกล่าวสรรเสริญในความบริสุทธิ์ของพระองค์  หรือ การกล่าวยกย่องพระองค์เท่านั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :“พวกเขาจะแซ่ซ้องสดุดีพระองค์ในเวลากลางคืน และกลางวัน โดยไม่ขาดระยะ” ( อัลอัมบิยาอฺ 20 ) อัลลอฮฺทรงสร้างบรรดามะลาอิกะฮฺเพื่อทำการภักดีต่อพระองค์  อัลลอฮฺคตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า : “อัล-มะซีห์นั้นจะไม่หยิ่งเป็นอันขาดที่จะเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ และมลาอิกะฮ์ผู้ใกล้ชิด (พระองค์) ก็ไม่หยิ่งด้วย( อันนิซาอฺ 172 ) พวกเขาคือ ทูตที่ทำหน้าที่ระหว่างพระองค์กับบรรดาศาสนทูตของพระองค์”   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“อัรรูห์ (เทวทูตอัลลอฮฺ มีนามว่า อัรรูห์ ) ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา    ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง   เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง”( อัซซุอะรออฺ 193-195 ) หน้าที่ของพวกเขา คือ ปฏบิติทำทุกการงานที่อัลลอฮฺทรงบัญชาให้ปฏิบัติตาม   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“พวกเขาจะกลัวพระเจ้าของพวกเขา ผู้ทรงอำนาจเหนือพวกเจ้า ปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาถูกบัญชา”( อันนะฮฺลุ 50 ) พวกเขาไม่ใช่ลูกของพระองค์อัลลอฮฺ  ที่เราควรเคารพหรือรักพวกเขา อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“และพวกเขา (มุชริกูน) กล่าวว่า พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงยึดมะลาอิกะฮฺเป็นพระบุตร มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ แต่ว่าพวกเขา (มะลาอิกะฮฺ) เป็นบ่าวผู้มีเกียรติ  พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์”( อัลอัมบิยาอฺ 26-27 )  พวกเขาไม่คล้ายคลึงอัลลอฮฺและ ไม่ได้เป็นผู้ร่วมมือกับพระอฃค์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“และ เขาจะไม่ใช้พวกเจ้าให้ยึดเอามะลาอิกะฮฺและบรรดาศาสดาเป็นพระเจ้า เขาจะใช้พวกเจ้าให้ปฏิเสธศรัทธา หลังจากที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมแล้วกระนั้นหรือ?”( อาละอิมรอน 80 ) อัลลอฮฺได้ทรงตั้งชื่อพวกเขาและแบ่งภาระหน้าที่  ส่วนหนึ่งที่อัลลอฮฺเเจ้งให้เราทราบคือ - ญิบรีล   ( ขอความสันติจงประสบเเด่เขาด้วยเถิด ) รับหน้าที่เป็นผู้รับโองการจากอัลลอฮฺ  ( วะฮฺยู )  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า : “อัรรูห์ (เทวทูตอัลลอฮฺ มีนามว่า อัรรูห์ ) ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมายังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง” ( อัซซุอะรออฺ ) - มีกาอีล  (ขอความสันติจงประสบเเด่เขาด้วยเถิด ) รับหน้าที่ดูเเลฝนและพืชพันธุ์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“ใครที่เป็นศัตรูต่ออัลลอฮฺ และมะลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์และเป็นศัตรูต่อญิบรีล และมีกาอีลนั้น แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงเป็นศัตรูแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย”( อัลบะเกาะเราะฮฺ 98 ) - มะลิกุ้ลเมาตฺ  ( รับหน้าที่เป็นผู้เอาชีวิตมนุษย์ ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด มะลักผู้ปลิดชีวิต ผู้ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับพวกท่าน จะปลิดชีวิตของพวกท่าน แล้วพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระเจ้าของพวกท่าน” ( อัซซัจดะฮฺ 11 ) - อิสรอฟีล  รับหน้าที่เป็นผู้เป่าสังข์ในวันฟื้นคืนชีพ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“ดังนั้นเมื่อสังข์ได้ ถูกเป่าขึ้น ดังนั้นจะไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างพวกเขาในวันนั้น และพวกเขาจะไม่ไต่ถามซึ่งกันและกัน” ( อัลมุอฺมินูน 101 ) - มาลิก  รับหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูนรก อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“และ พวกเขาจะร้องเรียกขึ้นว่า โอ้มาลิก (ยามเฝ้าประตูนรก) โปรดให้พระเจ้าของท่านจัดการให้เราตายเสียเถิด เขา (มาลิก) จะกล่าวว่า แท้จริงส่วนมากของพวกเจ้าเป็นผู้พำนักอยู่ตลอดไป” ( อัซซุครุฟ 77 ) -  อัซซะบานียะ   พวกเขาคือผู้รับหน้าที่ลงโทษชาวนรก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :  “แล้วให้เขาเรียกที่ประชุมของเขา   เราก็จะเรียกผู้คุมนรก”( อัลอะลัก 17-18 ) - มะลาอิกะฮฺที่อยู่กับมนุษย์ โดยปกติแล้วมนุษย์ทุกคนจะมีสองมะลาอิกะฮฺ  มะลักหนึ่งจะจดบันทึกการงานที่ดี  อีกมะลักหนึ่งจะจดบันทึกเต่การงานที่ไม่ดี  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“จงรำลึกขณะที่มะลาอิกะฮฺผู้บันทึกสองท่านบันทึก ท่านหนึ่งนั่งทางข้างขวา และอีกท่านหนึ่งนั่งทางข้างซ้าย     ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา เว้นแต่ใกล้ ๆ เขานั้นมี (มะลัก) ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อม (ที่จะบันทึก)”( ก็อฟ 17-18 ) -  ริฏวาน  ผู้เฝ้าประตูสวรรค์  และมะลาอิกะฮฺอื่นที่รับหน้าที่เพื่อปกป้องและดูเเลมนุษย์  เป็นต้น  ซึ่งจะถูกกล่าวในคุมภีร์กุรอ่านและวัจนะท่านศาสนทูต    ส่วนบางมะลาอิกะฮฺที่ไม่อัลลอฮฺไม่ทรงแจ้งให้เราทราบ  เราก็จำต้องศรัทธาต่อพวกเขาทั้งหมด.ประโยชน์ของการศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะฮฺ :1.      ได้ทราบถึงความยิ่งใหญ่  ความเกรียงไกร  และความรับรู้ของอัลลอฮฺต่อทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้  เพราะความยิ่งใหญ่ของจักรวาลนี้บ่งบอกถึงความยิ่งของผู้สร้างมัน2.      เน้นให้เรากระทำความดี  หลีกเลี่ยงความชั่ว  ทั้งเวลาลับและเวลาเปิดเผย   เนื่องจากมนุษย์รู้ว่ามีมะลาอิกะฮฺกำลังจับจ้องและสังเกตการกระทำและการพูดของเขาอยู่   3.      หลีกเลี่ยงการตกหลุมเรื่องไร้สาระและผิดพลาด  ซึ่งส่วนมากคนที่ไม่เชื่อในสิ่งเร้นหลับจะตกหลุมนี้เสมอ 4.   ความเมตตาและความเอาใจใส่ของอัลลอฮฺต่อบ่าวซึ่งได้ทรงมอบมายหน้าที่ให้กับบรรดามะลาอิกะฮฺเพื่อดูเเลและบริหารกิจการมนุษย์ . การศรัทธาต่อคัมภีร์ คือ การเชื่อว่า อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์ลงมาจากฟากฟ้าจากพระองค์เองมายังศาสนทูตของพระองค์ เป็นสารสำหรับมนุษย์    ซึ่งมีเนื้อหาแห่งสัจธรรม    ให้ความเอกภาพเเด่พระองค์ทั้งในด้านความเป็นพระเจ้าของพระองค์เองหรือ ด้านการภักดีต่อพระองค์หรือ ด้านพระนามต่างๆของพระองค์  และด้านคุณลักษณะของพระองค์   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :“โดยแน่นอนเราได้ส่ง บรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราได้ประทาน คัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความ เที่ยงธรรม” ( อัลฮะดีด 25 ) มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ที่ลงจากฟากฟ้าทั้งหมดก่อนกุรอ่าน    ซึ่งเป็นบรรดาคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮฺทั้งหมด   แต่หลังจากคัมภีร์กุรอ่านได้ประทานลงมาคัมภีร์เหล่านั้นก็ไม่มีการปฏิบัติตามอีกแล้ว  เพราะคัมภีร์เหล่านั้นได้ถูกประทานลงมาในช่วงเวลาหนึ่งและสำหรับชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น    บรรดาคัมภีร์ที่ว่านี้คือ 1.      คัมภีร์ของท่านศาสนทูตอับราฮัมและโมเสส – ขอความสันติจงประสบเเด่ท่านทั้งสอง -  ซึ่งกุรอ่านได้อธิบายบางส่วนของหลักคำสอนในคัมภีร์นี้ว่า  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“หรือว่าเขามิได้รับข่าวคราวที่มีอยู่ในคัมภีร์ของมูซา   และ (ในคัมภีร์ของ) อิบรอฮีม ผู้ซึ่งปฏิบัติตามสัญญาอย่างครบครัน   ว่าไม่มีผู้แบกภาระคนใดที่จะแบกภาระของผู้อื่นได้  และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้     และแท้จริงการขวนขวายของเขาก็จะได้เห็นในไม่ช้า   แล้วเจ้าก็จะได้รับการตอบแทนด้วยการตอบแทนที่ครบถ้วนสมบูรณ์”( อันนัจมฺ 36-41 ) 2.      เตารอตฺ   : คือ คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้ประทานให้กับศาสนทูตโมเสส  อัลลอฮฺตรัสในกุรอาน   ความว่า :“แท้จริงเราได้ให้อัต-เตารอตลงมา โดยที่ในนั้นมีข้อแนะนำและแสงสว่าง ซึ่งบรรดาศาสดาที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัต-เตารอตตัดสินบรรดาผู้ที่เป็นยิว และบรรดาผู้ที่รู้แล้วในอัลลอฮฺ และนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ใช้อัต-เตารอต ตัดสินด้วย เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้รักษาไว้ (นั่นคือ) คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และพวกเขาก็เป็นพยานยืนยันในคัมภีร์นั้นด้วย ดังนั้นพวกเจ้า จงอย่ากลัวมนุษย์แต่จงกลัวข้าเถิด และจงอย่าแลกเปลี่ยนบรรดาโองการของข้ากับราคาอันเล็กน้อยและผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา” ( อัลมาอิดะฮฺ 44 ) ในคัมภีร์อัลกุรอ่านได้อธิบายถึงบางเรื่องที่ได้กล่าวมาในคัมภีร์เตารอตฺ  อาทิ  การอธิบายถึงคุณลักษณะของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด  ศ็อลลัลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   ซึ่งผู้ไม่หวังดีพยายามที่จะบิดบังเรื่องนี้มาตลอด  อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รุกั๊วะอฺ ผู้สุญูด(ผู้โค้งคํานับ เเละผู้กราบในยามละหมาด ) โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากร่องรอยแห่งการสุญูด นั่นคืออุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัตเตารอต” ( อัลฟัตฮฺ 29 ) อีกทั้ง อัลกุรอ่านได้กล่าวถึงบางส่วนของบทบัญญัติที่มีอยู่คัมภีร์เตารอตฺ   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :“และ เราได้บัญญัติแก่พวกเขาไว้ในคัมภีร์นั้นว่า ชีวิตด้วยชีวิต และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟันและบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน และผู้ใดให้การชดเชยนั้นเป็นทาน มันก็เป็นสิ่งลบล้างบาปของเขา และผู้ใดมิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้อธรรม”( อัลมาอิดะฮฺ 45 ) 3.      อัซซะบูรฺ : คือพระคัมภีร์ที่ได้ประทานให้กับท่านศาสนทูตดาวูด   อัลลอฮฺ ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :“และเราได้ให้ ซะบูรฺ แก่ดาวูด” ( อันนิซาอฺ 163 ) 4.      อัลอินญีล คือพระคัมภีร์อันบริสุทธิ์ได้ประทานลงมาให้กับท่านศาสนทูตอีซา ( เยซูคริสต์ ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“และ เราได้ให้อีซาบุตรของมัรยัมตามหลังพวกเขามาในฐานะผู้ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเขาคือ อัต-เตารอตและเราได้ให้อัล-อินญีลแก่เขา ซึ่งในนั้นมีคำแนะนำและแสงสว่าง และเป็นที่ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้ามัน คืออัต-เตารอต และเป็นคำแนะนำ และคำตักเตือนแก่ผู้ยำเกรงทั้งหลาย” ( อัลมาอิดะฮฺ 46 ) พระคัมภีร์กุรอ่านได้เล่าถึงเรื่องราวบางส่วนที่ถูกกล่าวในพระคัมภีร์เตารอตฺและอัลอินญีล    ตัวอย่างเช่น  กล่าวถึงข่าวดีเกี่ยวกับการมาของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน)อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :“และการเอ็นดูเมตตาของ ข้านั้น กว้างขวางทั่วทุกสิ่งซึ่งข้าจะกำหนดมันให้แก่บรรดาผู้ที่ยำเกรง และชำระซะกาต และแก่บรรดาผู้ที่พวกเขาศรัทธาต่อบรรดาโองการของเรา  คือบรรดาผู้ปฏิบัติ ตามศาสนทูตอัลลอฮฺผู้เป็นศาสดาที่เขียนอ่านไม่เป็นที่พวกเขา พบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีลโดยที่เขาจะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบและ จะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขา ซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา”( อัลอะอฺ รอฟ 156-157 ) อย่างเช่น การกล่าวถึงการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ  เพื่อเชิดชูนามอัลลอฮฺอันสูงส่ง    ซึ่งการต่อสู้ในลักษณะนี้ ( ญิฮาด ) ไม่เพียงแต่มีในอิสลามเท่านั้น ทว่ามีการบอกกล่าวถึงมันในหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆแห่งฟากฟ้าด้วย   ก่อนที่อัลกุรอ่านจะถูกประทานลงมา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :“แท้จริงอัลลอฮฺนั้นได้ทรงซื้อแล้วจากบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งชีวิตของพวกเขาและทรัพย์สมบัติของพวกเขา โดยพวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์เป็นการตอบแทน พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺแล้วพวกเขาก็จะฆ่าและถูกฆ่า เป็นสัญญาของพระองค์เองอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เตารอต อินญีล และกรุอาน และใครเล่าจะรักษาสัญญาของเขาให้ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกท่านจงชื่นชมยินดีในการขายของพวกท่านเถิด ซึ่งพวกท่านได้ขายมันไป และนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง”( อัตเตาบะฮฺ 111 ) 5- อัลกุรอ่าน  คือพระคัมภีร์ที่จำต้องศรัทธาว่า  คือโองการของอัลลอฮฺ  ถูกประทานลงมาโดยสื่อผ่านญิบรีลถึงท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ด้วยภาษาอาหรับอย่างชัดเเจ้ง อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“อัรรูห์ (เทวทูตอัลลอฮฺ มีนามว่า อัรรูห์ ) ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมายังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง  เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง . ( อัซซุอะรออฺ 193-195 ) ซึ่งพระคัมภีร์กุรอ่านจะมีความเเตกต่างกับบรรดาคัมภีร์อื่นๆดังนี้ : 1.       กุรอ่าน คือ คัมภีร์ล่าสุดเป็นสักขีพยานให้กับคัมภีร์อื่นจากฟากฟ้าก่อนกุรอ่าน   ไม่มีการดัดแปลงแก้ไขแต่ประการใดในเรื่องการให้ความเอกภาพและการแสดงความภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :“และเราได้ให้คัมภีร์ ลงมาแก่เจ้าด้วยความจริงในฐานะเป็นที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้อง หน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(เบื้องหน้า) นั้น”( อัลมาอิดะฮฺ 48 ) 2.      อัลกุรอ่านได้ยกเลิกคำสั่งสอนที่ได้ถูกกล่าวมาในคัมภีร์ก่อนๆ  อันเนื่องจากว่า กุรอ่านได้ครอบคลุมทุกหลักสั่งสอนของพระเจ้าและบทบัญญัติของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์เล่มล่าสุดที่คงอยู่ชั่วนิรันดร์และเหมาะสมกับทุกกาลเวลาและทุกสถานที่  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :“วันนี้ข้าได้ให้ สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว”( อัลมาอิดะฮฺ 3 ) 3.      กุรอ่านได้ถูกประทานลงมาเพื่อมนุษย์ทุกคนไม่เว้นใคร  ไม่ใช่เฉพาะชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า : “อะลีฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า เพื่อให้เจ้านำมนุษย์ออกจากความมืดมนทั้งหลาย สู่ความสว่าง  ด้วยอนุมัติของพระเจ้าของพวกเขา.( อิบรอฮีม 1 ) ส่วนคัมภีร์อื่นๆนอกจากกุรอ่านหากมีอะไรที่เหมือนกันในด้านรากฐานแท้ของศาสนา ก็เป็นเพียงคำสั่งสอนที่กล่าวเฉพาะคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า คำสั่งสอนดังกล่าวก็แค่สำหรับชนเหล่านั้นเอง  ในสมัยของพวกเขาโดยไม่สามารถทำการเผยแผ่ให้กับคนอื่นได้   ท่านมูซา ( โมเสส ) (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวใน ไบเบิ้ล มาตตา 15/24 ความว่า :  “ฉันไม่ถูกส่งมานอกจากสำหรับคนโง่เง่าหลงใหลจากพวกอิสราเอลเท่านั้น” 4.       กุรอ่านเป็นคัมภีร์ที่ต้องแสดงการภักดีด้วยการอ่านและท่องมัน  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว ความว่า : “คนใดที่อ่านแค่อักษรเดียวในคัมภีร์กุรอ่านเขาย่อมได้หนึ่งการตอบแทน  และหนึ่งการตอบแทนที่ว่านี้เท่ากับสิบเท่าของมัน   ฉันไม่ได้หมายความว่า : อะลีฟ ลาม มีม  คือหนึ่งตัวอักษร  แต่ฉันหมายความว่า : อะลีฟคือหนึ่ง ลามคือสอง และมีม คือ สาม ( ทั้งหมดสามตัวอักษร )” 5.      อัลกุรอ่านจะครอบคลุมทุกบทบัญญัติที่สังคมอันทรงเกียรติต้องการ   รีสต์เลอร์ ( J. S. Restler  ) – หนึ่งในบรรดานักวิจัยฝรั่งเศส  เป็นอาจารย์ในศูนย์การศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงปารีส  พวกเขาได้กล่าวยกย่องอิสลาม  (อ้างจากหนังสือที่ชื่อ กอลู  อะนิล อิสลาม   ของ อิมาดุดดีน คอลีล หน้า 66) -  เขากล่าวว่า แท้จริงแล้วอิสลามได้เสนอทุกแนวทางในการแก้ปัญหาของทุกเรื่อง  เป็นตัวเชื่อมต่อกันระหว่างกฎหมายศาสนาและกฎหมายมารยาท    สร้างสรรค์ระเบียบและความเป็นหนึ่งเดียวกันในสังคม   ช่วยบรรเทาความเคราะห์ร้าย  ความโหดเหี้ยม  และความเหลวไหลทั้งปวง     หมั่นเอาใจใส่คนอ่อนแอมาตลอด   สั่งเสียให้ทำความดี   สนับสนุนความเมตตา  ฯลฯ   ในแง่วิชาหลักศาสนาอิสลามได้ตั้งหลักการการทำงานร่วมกันอย่างละเอียดอ่อนมาก อีกทั้งอิสลามได้จัดระบบการทำสัญญาการค้าขายและจัดสรรมรดกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนในด้านชีวิตครอบครัว อิสลามได้ตั้งพื้นฐานการปฏิบัติของแต่ละบุคคลต่อคนอื่นอื่น อาทิ ต่อทารกและเด็ก รวมทั้งการปฏิบัติต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตรอบตัว  ตลอดจนเรื่องการเอาใจใส่เรื่องสุขภาพและการแต่งกายรายวัน  เป็นต้น ฯลฯ6.   กุรอ่านคือคัมภีร์ที่เปรียบเสมือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกถึงขั้นตอนความเป็นมาของศาสนาถึงมือบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย   และแสดงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขากับกลุ่มชนของพวกเขานับตั้งแต่สมัยศาสนทูตอาดัมจนถึงสมัยศาสนทูตคนสุดท้ายมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวสัลลัม7.      อัลลอฮฺทรงรักษาคัมภีร์กุรอ่านให้รอดพ้นจากการกระทำที่สร้างความเสื่อมเสีย อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือลดทอนให้น้อยลง   การเปลี่ยนแปลงและดัดแปลง   ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้กุรอ่านนั้นคงอยู่เคียงคู่มนุษย์ตลอดกาลในเเผ่นดิน  ซึ่งเป็นมรดกจากอัลลอฮฺยังบ่าวพระองค์ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอ่าน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน” ( อัลฮิจรฺ 9 ) ส่วนบรรดาคัมภีร์อื่นนอกเหนือจากกุรอ่าน  อัลลอฮฺไม่ทรงรับประกันการรักษาไว้ เพราะคัมภีร์เหล่านั้นถูกประทานลงมายังกลุ่มชนบางกลุ่มในระยะเวลาบางช่วงเท่านั้น  ซึ่งบรรดาคัมภีร์เหล่านั้นได้ถูกบิดเบือนและดัดแปลง  อัลลอฮฺ ได้กล่าวถึงการบิดเบือนของคัมภีร์เตารอตฺด้วยนํ้ามือพวกยิว   ซึ่งความว่า : “พวกเจ้ายังโลภที่จะให้พวกเขาศรัทธาต่อพวกเจ้าอีกกระนั้นหรือ ? ทั้ง ๆ ที่กลุ่มหนึ่งในพวกเขาเคยสดับฟังดำรัสอัลลอฮฺแล้วพวกเขาก็บิดเบือนมันเสีย หลังจากที่พวกเขาเข้าใจแล้ว ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็ตระหนักดีอยู่”( อัลบะเกาะเราะฮฺ 75 ) และอัลลอฮฺได้ตรัสถึงเรื่องราวการบิดเบือนของคัมภีร์ไบเบิ้ลด้วยนํ้ามือชาวคริสต์  ซึ่งความว่า : “และ จากบรรดาผู้ที่กล่าวว่า พวกเราเป็นคริสต์นั้น เราได้เอาสัญญาจากพวกเขา แต่แล้วพวกเขาก็ลืมส่วนหนึ่งจากสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนไว้  เราจึงได้ให้เกิดขึ้นระหว่างพวกเขาซึ่งการเป็นศัตรูและการเกลียดชังกันจนกระ ทั่งวันกิยามะฮ์ และอัลลอฮฺจะทรงบอกเขาเหล่านั้นถึงสิ่งที่เขาเหล่านั้นได้กระทำมาก่อน” บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย !  แท้จริงศาสนทูตอัลลอฮฺของเราได้มายังพวกเจ้าแล้ว โดยที่เขาจะแจกแจงแก่พวกเจ้า ซึ่งมากมายจากสิ่งที่พวกเจ้าปกปิดไว้จากคัมภีร์ และเขาจะระงับไว้มากมาย แท้จริงแสงสว่างจากอัลลอฮ์ และคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว   บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย !  แท้จริงศาสนทูตอัลลอฮฺของเราได้มายังพวกเจ้าแล้ว โดยที่เขาจะแจกแจงแก่พวกเจ้า ซึ่งมากมายจากสิ่งที่พวกเจ้าปกปิดไว้จากคัมภีร์ และเขาจะระงับไว้มากมาย แท้จริงแสงสว่างจากอัลลอฮฺ และคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว( อัลมาอิดะฮฺ 14-15 ) ตัวอย่างการบิดเบือนของชาวยิวและชาวคริสต์ที่มีต่อศาสนาของพวกเขา คือ  การที่ชาวยิวอ้างว่า คนที่ชื่ออุซัยร์ เป็นบุตรชายของพระเจ้า   และชาวคริสต์กล่าวอ้างว่า อีซา ( พระเยซูคริสต์ ) เป็นบุตรชายของพระเจ้า  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า : “และ ชาวยิวได้กล่าวว่า อุซัยร์เป็นบุตรของอัลลอฮฺ และชาวคริสต์ได้กล่าวว่า อัล-มะซีห์เป็นบุตรของอัลลอฮฺ( หมายถึงท่านศาสนทูตอัลลอฮฺอีซา ) นั่นคือถ้อยคำที่พวกเขากล่าวขึ้นด้วยปากของพวกเขาเอง ซึ่งคล้ายกับถ้อยคำของบรรดาผู้ที่ได้ปฏิเสธการศรัทธามาก่อน ขออัลลอฮฺทรงละอฺนัตพวกเขาด้วยเถิด พวกเขาถูกหันเหไปได้อย่างไร?”( อัตเตาบะฮฺ 30 ) พระคัมภีร์กุรอ่านได้ตอบโต้และแก้ไขความเชื่อที่หลงผิดของพวกเขาในโองการของอัลลอฮฺ  ซึ่งความว่า :“จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ  อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง  พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ    และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์”( อัลอิคลาส 1-4 ) ด้วยหลักฐานข้างต้นนี้  บ่งบอกให้รู้ว่า คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับที่มีปัจจุบันมิใช่เป็นคำกล่าวของอัลลอฮฺ   มิใช่เป็นคำกล่าวของพระเยซูคริสต์ ทว่ามันเป็นคำพูดของบรรดาผู้ตามและบรรดาลูกศิษย์ที่ได้ทำการจารึกประวัติของพระเยซูและคำสั่งเสียของท่าน  โดยพวกเขาเหล่านั้นได้บิดเบือนและดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์บางอย่าง   บาทหลวงคนหนึ่งที่ชื่อ ตี จี ตาเกร์ ( ดูหนังสือ อัลอิสลาม วัล มะซีเฮียะ /อิสลามและคริสต์ แต่งโดย อาซีซ อัศเศาะมัด )  เขากล่าวว่า " ดังนั้น พระคัมภีร์ไบเบิ้ลได้ถูกนำเสนอสู่สายตาสังคมอย่างชัดเเจ้งเพื่อตอบสนองความต้องการในภาคปฏิบัติของคนในสังคมตามความประสงค์ที่สังคมใฝ่หา   คัมภีร์ที่ว่านี้จะประกอบด้วยวัตถุทางวิชาการที่หนักแน่น  แต่ทั้งนี้ในแก่นแท้ของมันได้รับการดัดแปลงและถูกบิดเบือนอย่างไม่ต้องสงสัย  พร้อมทั้งได้ผ่านขั้นตอนการเติมใส่หรือลบออกในส่วนที่ไม่เหมาะกับเป้าหมายของผู้แต่ง มัน "   บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ มีดังนี้ :·        ได้รับรู้ถึงความเมตตาของพระองค์อัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาบ่าว   ความรักใคร่ที่อัลลอฮฺทรงให้แก่บ่าว  ซึ่งพระเจ้าได้ประทานบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายให้กับพวกเขาเพื่อต้องการชี้นำพวกเขาสู่แนวทางที่พระองค์ยินยอมและยอมรับ   พระองค์ไม่ได้ละเลยพวกเขาจนเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายของซาตานหรือเป็นเหยื่อของ จิตสำนึกอันเลวร้ายของตัวเอง ·        ได้รับรู้ถึงจุดมุ่งหมายที่อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา  ซึ่งในทุกหมู่ชนของมนุษย์  อัลลอฮฺได้ทรงให้หลักปฏิบัติที่เหมาะสมกับพวกเขาในทุกสถานการณ์·       จำแนกมนุษย์ผู้มีสัจธรรมออกจากมนุษย์ผู้อธรรม   กล่าวคือ ผู้มีสัจธรรมหมายถึงผู้ที่ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายก่อนหน้า เขาจะศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาในภายหลังด้วย ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องราวข่าวดีเกี่ยวกับการมาของบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ  และสำหรับผู้อธรรมนั้นเขาได้ปฏิเสธ·    เป็นการเพิ่มพูนด้านผลบุญแก่บ่าว เพราะบุคคลใดก็ตามถ้าได้เชื่อมั่นและศรัทธาต่อคัมภีร์ดังกล่าวตลอดจนเนื้อหาของมัน  เขาย่อมจะได้ผลบุญเท่ากับสองเท่า . การศรัทธาต่อบรรดาศาสนาทูตของอัลลอฮฺ คือการศรัทธาว่า  อัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจากบรรดามนุษยชาติที่จะมาเป็นศาสนทูตของพระองค์  โดยพวกเขาเหล่านั้นได้รับเอาหลักคำสั่งสอนจากอัลลอฮฺมายังมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ทุกคนได้รู้จักการภักดีต่อพระองค์  ยึดถือศาสนาของพระองค์และให้ความเป็นเอกภาพต่อพระองค์ในด้านต่างๆ  กล่าวคือ ด้านการเป็นพระเจ้าของพระองค์  ด้านการภักดีต่อพระองค์  ด้านพระนามของพระองค์ และสุดท้ายด้านคุณลักษณะของพระองค์   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า : “อัลลอฮฺได้สั่งให้บรรดาศาสนทูตเหล่านั้นเผยแพร่สารแห่งอัลลอฮฺในสังคมมนุษย์  ซึ่งจะไม่เป็นข้ออ้างสำหรับมนุษย์ต่อไปอีกแล้วหลังจากการมาเยียนของบรรดาศาสนทูต และศาสนทูต    เพราะพวกเขาได้ทำหน้าที่ใต้ความยินยอมของอัลลอฮฺ    ชักชวนมนุษย์ทั้งปวงเพื่อกลับไปสู่หนทางแห่งสวรรค์ ซึ่งสำหรับคนที่ศรัทธาต่อพวกเขาและสารที่พวกเขานำมา ผลตอบแทนนั้นคือสวนสวรรค์ ในทางกลับกันพวกเขาจะกำชับและเตือนคนที่ปฏิเสธพวกเขาและสิ่งที่พวกเขานำมาว่าสำหรับเขาคือความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺและการลงโทษอย่างสาสมที่สุด” ( อัลอัมบิยาอฺ 25 ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า : และเราจะไม่ส่งบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺมา นอกจากในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือนเท่านั้น ดังนั้นผู้ใดที่ศรัทธาและปรับปรุงแก้ไขแล้ว ก็ไม่มีความกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ( อัลอันอาม 48-49 ) และบรรดาศาสนทูต  มีจำนวนมากมาย ไม่มีผู้ใดสามารถรับรู้ได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า : และโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺมาก่อนหน้าเจ้าบางคนในหมู่พวกเขามีผู้ที่เราบอกเล่าแก่เจ้า และบางคนในหมู่พวกเขามีผู้ที่เรามิได้บอกเล่าแก่เจ้า( ฆอฟิร 78 )  อิสลามสั่งใช้ให้เราศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย  พวกเขามาจากกลุ่มมนุษย์เหมือนกัน  พวกเขาไม่มีคุณลักษณ์พิเศษใดๆยกเว้นคุณลักษณ์ต่างๆของความเป็นมนุษย์เท่านั้น. อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเขาปรารถนาที่จะวางแผนร้ายแก่เขา แต่เราได้ทำให้พวกเขาประสบกับความสูญเสียมากยิ่งกว่า( อัลอัมบิยาอฺ 7-8 ) อัลลอฮฺตรัสถึงท่านศาสนทูตมุฮัมมัด   ความว่า  :จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด “แท้จริง ฉันเป็นเพียงสามัญชนคนหนึ่งเยี่ยงพวกท่าน มีวะฮีแก่ฉันว่าแท้จริง พระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย ( อัลกะฮฺฟู 110 ) และทรงตรัสถึงท่านศาสนทูตอีซา   ความว่า :อัล-มะซีห์บุตรของมัรยัม  นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นศาสนทูตอัลลอฮฺคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺก่อนเขาก็ได้ล่วงลับไปแล้ว และมารดาของเขานั้นคือหญิงที่มีสัจจะวาจา ซึ่งทั้งสองนั้นรับประทานอาหาร จงดูเถิด(มุฮัมมัด) ว่าอย่างไรเล่าที่เราได้แจกแจงโองการต่าง ๆ แก่พวกเขา? และจงดูเถิดว่าอย่างไรเล่าพวกเขาจึงถูกหันเหไปได้ ( อัลมาอิดะฮฺ 75 ) บรรดาศาสนทูตที่กล่าวมาข้างต้น  มิได้มีคุณลักษณะใดๆเสมอเหมือนกับพระผู้เป็นเจ้า  พวกเขาไม่สามารถให้คุณประโยชน์หรือ ให้โทษใดๆได้ ไม่สามารถควบคุมจักรวาลนี้หรือมีความสามารถเทียบเคียงพระองค์เลยแม้แต่น้อย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :อัล-มะซีห์บุตรของมัรยัม  นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นศาสนทูตอัลลอฮฺคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺก่อนเขาก็ได้ล่วงลับไปแล้ว  และมารดาของเขานั้นคือหญิงที่มีสัจจะวาจา ซึ่งทั้งสองนั้นรับประทานอาหาร  จงดูเถิด(มุฮัมมัด) ว่าอย่างไรเล่าที่เราได้แจกแจงโองการต่าง ๆ แก่พวกเขา? และจงดูเถิดว่าอย่างไรเล่าพวกเขาจึงถูกหันเหไปได้( อัลมาอีดะฮฺ 75 ) พวกเขาต่างทำหน้าที่ในการเผย่แพร่สารแห่งพระผู้เป็นเจ้า  พวกเขาคือมนุษย์ที่มีวิทยปัญญาและการกระทำที่สมบูรณ์กว่ามนุษย์ทั่วไป   อัลลอฮฺทรงปกป้องพวกเขาจากนิสัยและการกระทำที่ไม่ดี  อาทิ การโป้ปด  การบิดพลิ้ว และความเกียจคร้านในการเผยแพร่สารแห่งพระผู้เป็นเจ้า  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :และไม่บังควรแก่ศาสนทูตอัลลอฮฺที่จะนำมาซึ่งสัญญาณ (ปาฏิหาริย์) ใดๆ เว้นแต่โดยอนุมัติของอัลลอฮ สำหรับทุกสิ่งอย่างนั้น มีบันทึกไว้แล้ว ( อัรเราะอฺดุ 38 )เราจะต้องศรัทธาต่อพวกเขาทั้งหลายโดยไม่เว้นใคร  บุคคลใดที่เลือกศรัทธาเพียงกลุ่มหนึ่งจากจำนวนพวกเขาและละทิ้งคนอื่นๆ ถือว่าเป็นการออกนอกศาสนาและถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้คนที่ปฏิเสธอัลลอฮฺ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์และต้องการที่จะแยกระหว่างอัลลอฮฺ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคนและปฏิเสธศรัทธาในบางคน และพวกเขาต้องการที่จะยึดเอาในระหว่างนั้น ซึ่งทางใดทางหนึ่งนั้น ( อันนิสาอฺ 150-151 ). คัมภีร์กุรอ่านได้กล่าวถึงนามของบรรดาศาสนทูตทั้งหมด  25 ท่านด้วยกัน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :และนั่นคือ หลักฐานขอวงเราที่ได้ให้มันแก่อิบรอฮีม โดยมีฐานะเหนือกลุ่มชนของเขา เราจะยกขึ้นหลายขั้น ผู้ที่เราประสงค์ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น เป็นผู้ทรงปรีชาญาณผู้ทรงรอบรู้ และเราได้ให้เขา ซึ่งอิสฮาก และยะอ์กูบ ทั้งหมดนั้นเราได้แนะนำแล้ว และนูฮเราก็ได้แนะนำแล้วแต่ก่อนโน้น และจากลูกหลานของเขานั้น คือดาวูด และสุลัยมาน และอัยยูบและยูซุฟและมูซา และฮารูน และในทำนองนั้นแหละ เราจะตอบแทนแก่ผู้กระทำดีทั้งหลาย  และซะกะรียา และยะฮ์ยา และอีซา และอิลยาส ทุกคนนั้นอยู่ในหมู่คนดี และอิสรออีล และอัล-ยะสะอ์ และยูนุสและลูฏ แต่ละคนนั้นเราได้ให้ดีเด่นเหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย .( อัลอันอาม 83-86 ) อัลลอฮฺทรงเอ่ยนามของท่านศาสนทูตอาดัม โดยกล่าว  ความว่า : แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงคัดเลือก อาดัมและนูห์ และวงศ์วานของอิบรอฮีม และวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย ( อาละอิมรอน 33 ) และทรงเอ่ยถึงนามของท่านศาสนทูตฮูด  ความว่า : และยังอ๊าด (เราได้ส่ง) พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือฮูด เขากล่าวว่า “โอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย! พวกท่านจงเคารพอิบาดะฮ์อัลลอฮ์เถิดพวกท่านไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พวกท่านมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นพวกอุปโลกน์เท่านั้น( ฮูด 50 ).และทรงเอ่ยนามของท่านศาสนทูตเศาะลีฮฺ  ความว่า : และยังษะมูด (เราได้ส่ง) พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือซอและฮ์ เขากล่าวว่า “โอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย! พวกท่านจงเคารพอิบาดะฮ์อัลลอฮ์เถิด พวกท่านไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ( ฮูด 61 ) อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงท่นาศาสนทูตชุอัยบฺ  ความว่า : และยังกลุ่มชนของมัดยัน เราได้ส่งพี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือชุอัยบ์ เขากล่าวว่า “โอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย! พวกท่านจงเคารพอิบาดะฮ์อัลลอฮ์เถิด พวกท่านนั้นไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ( ฮูด 84 ) อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงท่านศาสนทูตอิดรีส  ความว่า :และจงรำลึกถึงเรื่องราวของอิสมาอีลและอิดรีส และซัลกิฟลิ แต่ละคนอยุ่ในหมู่ผู้อดทนขันติ( อัลอัมบิยาอฺ 85 ) อัลลอฮฺตรัสถึงท่านศาสนทูตท่านสุดท้ายคือมุฮัมมัด  พร้อมทั้งยํ้าว่าท่านคือศาสนทูตคนสุดท้ายในโลกนี้   ไม่มีศาสนทูตคนไหนอีกแล้วหลังจากท่านจนถึงวันแห่งสิ้นโลก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นศาสนทูตอัลลอฮฺของอัลลอฮฺและคนสุดท้ายแห่งบรรดานะบี ( อัลอะฮฺซาบ 40 )  “พึงรู้เถิดว่า  ศาสนาของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด คือเป็นศาสนาที่มาสานต่อถัดจากศาสนาอื่นที่ผ่านมา และเป็นศาสนาที่มาท้ายสุดไม่มีศาสนาอื่นอีกแล้วที่พระเจ้ายอมรับนอกเหนือจากอิสลาม  ฉะนั้นอิสลามเท่านั้นคือศาสนาที่เที่ยงแท้และสมบูรณ์ที่จำต้องยึดถือตลอดจนถึงวันปรโลก”ในบรรดาศาสนาทูตที่กล่าวมานั้น มีห้าท่านที่ได้ชื่อว่า อุลิล อัซฺมี กล่าวคือ ท่านเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นศาสนทูตที่เข้มเเข็งที่สุดในการเเบกภาระหน้าที่การเผยเเพร่สารให้กับมนุษย์ทั้งมวล  และมีความอดทนที่เหนือกว่า   ห้าท่านนี้ได้แก่ท่านศาสนทูตนูฮฺ ขอความสันติจงประสบเเด่ท่าน ท่านศาสนทูต อิบรอฮีม ขอความสันติจงประสบเเด่ท่าน ท่านศาสนทูตมูซา  ขอความสันติจงประสบเเด่ท่าน ท่านศาสนทูตอีซา ขอความสันติจงประสบเเด่ท่าน ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด  ขอความสันติจงประสบเเด่ท่านอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้เอาคำมั่นสัญญาของพวกเขาจากบรรดานะบี และจากเจ้าและจากนูหฺและอิบรอฮีม และมูซาและอิซา อิบนฺมัรยัม( อัลอะอฺซาบ7 ) บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อบรรดาท่านศาสนทูตมีดังนี้ :·       รับรู้ถึงความเมตตาและความรักใคร่ของอัลลอฮฺเจ้าต่อปวงบ่าว   ซึ่งพระองค์ได้ส่งบรรดาศาสนทูตมายังพวกเขาเพื่อทำการเผยแพร่สารแห่งพระองค์  และพวกเขาคือแบบอย่างที่ดีแก่บ่าวทั้งหลายในด้านการเผยแพร่สารจากอัลลอฮฺ·    จำแนกบรรดาผู้ศรัทธาที่มีสัจจะออกจากปวงชนอื่น  เพราะถ้าใครที่ศรัทธาต่อศาสนทูตท่านใดเขาย่อมศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตท่านอื่นๆด้วย  ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนถูกกล่าวมาแล้วในบรรดาคัมภีร์ของพวกเขา ·    ได้ผลบุญจากอัลลออฮฺอย่างมหาศาล  เพราะใครที่ศรัทธาต่อศาสนทูตของพระองค์ตลอดจนคำสั่งสอนที่ได้นำมา เขาจะได้รับผลบุญเป็นสองเท่า การศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺ ( วันปรโลก ) :คือการเชื่อมั่นว่า  ชีวิตบนโลกนี้มีวันอันจบสิ้นและล่มสลาย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมแตกดับ  และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่ ( อัรเราะฮฺมาน 26-27 ) เมื่อใดที่อัลลอฮฺประสงค์ให้โลกสูญหาย   พระองค์จะทรงบัญชาให้เทวทูตที่ชื่ออิสรอฟีลเป่าสังข์   ดังนั้นมนุษย์ในโลกจะเผชิญกับความตาย   แล้วพระองค์จะทรงบัญชาให้อิสรอฟีลป่าวสังข์ครั้งที่สอง  มนุษย์ทุกคนจะฟื้นชีพและลุกขึ้นมาจากหลุมฝั่งศพในทันที พวกเขาจะมีชีวิตใหม่และร่างมนุษย์จากทั่วทุกแห่งบนเเผ่นดินนี้จะถูกรวบรวมขึ้นมาอีกครั้ง  นับตั้งแต่ชนรุ่นก่อนสมัยท่านศาสนทูตอาดัม( มนุษย์คนเเรกที่อัลลอฮฺสร้าง )  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :และสังข์ได้ถูกเป่าขึ้น แล้วบรรดาผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินจะล้มลงตายเว้นแต่ผู้ที่อัลลอฮฺประสงค์  แล้วสังข์ได้ถูกเป่าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วพวกเขาก็ลุกขึ้นยืนมองดู( อัซซุมัร 68 ) การศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺจะต้องครอบคลุมไปถึงการศรัทธาต่อทุกเรื่องราวที่อัลลอฮฺทรงชี้แจงให้เราทราบในคัมภีร์ของพระองค์  และเรื่องราวของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) หลังจากที่ท่านเสียชีวิต เรื่องดังกล่าวเช่น : 1.      การศรัทธาต่อการมีชีวิตใหม่อีกครั้งในโลกบัรซัคฺ หมายถึง ช่วงระยะเวลาระหว่างหลังความตายของมนุษย์กับวันกิยามะฮฺ( วันปรโลก ) ซึ่งในช่วงนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจะได้รับความกรุณาจากอัลลอฮฺให้มีชีวิตอย่างสุขสบาย  ส่วนบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาจะอยู่อย่างคับเเคบ ทุกข์ยากและได้รับการลงโทษตลอดกาล อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า ::อัลลอฮฺได้ทรงคุ้มครองเขาให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายที่พวกเขาวางแผนไว้ และการลงโทษที่ชั่วช้าก็จะห้อมล้อมบริวารของฟิรเอานฺ  ไฟนรกนั้นพวกเขาจะถูกนำมาให้เห็นทั้งในยามเช้า และยามเย็น และวันกิยามะฮฺนั้น จะมีเสียงกล่าวว่า จะให้บริวารของฟิรเอานฺเข้าไปรับการลงโทษอันสาหัสยิ่ง ( ฆอฟีร 45-46 ) 2.      การศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นชีพและกลับไปสู่อัลลอฮฺ  หมายถึงวันที่อัลลอฮฺทรงให้ปวงบ่าวได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งในลักษณะที่พวกเขาไม่สวมใส่ร้องเท้า  เปลือยร่าง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวอ้างว่าพวกเขาจะไม่ถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกจงกล่าวเถิดมุฮัมมัดหาเป็นเช่นนั้นไม่ !ขอสาบานต่อพระเจ้าของข้าพระองค์ พวกท่านจะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน แล้วพวกท่านจะได้รับแจ้งตามที่พวกท่านได้ประกอบกรรมไว้ และนั่นเป็นการง่ายดายสำหรับอัลลอฮฺ( อัตตะฆอบุน 7 ) เนื่องจากว่ามนุษย์ชอบปฏิเสธในเรื่องการฟื้นคืนชีพและการกลับไปสู่อัลลอฮฺหลังความตาย พระองค์จึงทรงชี้แจงความจริงเหล่านั้นในคัมภีร์กุรอ่านอย่างละเอียดพร้อมทั้งโต้ตอบข้อสงสัยของบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลาย   ตัวอย่างเช่น -          ชวนให้สำนึกถึงคุณค่าของการปรับปรุงพื้นดินที่ถูกปล่อยละเลยไป  แล้วอัลลอฮฺทรงทำให้มันกลายเป็นดินที่สามารถออกพืชผลได้  อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :และเจ้าจะเห็นแผ่นดินแห้งแล้ง ครั้นเมื่อเราได้หลั่งน้ำฝนลงมาบนมัน มันก็จะเคลื่อนไหวขยายตัวและพองตัวและงอกเงยออกมาเป็นพืช ทุกอย่างเป็นคู่ ๆ ดูสวยงาม  นั่นก็เพราะว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นพระองค์คือผู้ทรงสัจจะ และแท้จริงพระองค์ทรงให้ผู้ตายมีชีวิตขึ้น และแท้จริงพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง  และแท้จริงวันอวสานจะมาถึงอย่างแน่นอน ปราศจากข้อสงสัยในมัน และแท้จริงอัลลอฮ์จะทรงให้ผู้ที่อยู่ในสุสานฟื้นคืนชีพขึ้นมา  ( อัลฮัจญ์ 5-7 ) -          ชวนให้สำนึกถึงยามที่มนุษย์นอนหลับและตื่นขึ้นมาใหม่  ซึ่งดุจดังการมีชีวิตใหม่อีกครั้งหลังจากที่ตายไป   เพราะการนอนหลับคือการตายชั่วคราว อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :อัลลอฮฺทรงปลิดชีวิตในยามตายของมันเเละมัน ( ชีวิต ) จะยังไม่ตาย ในยามนอนหลับของมัน พระองค์จะทรงปลิดชีวิตที่พระองค์ทรงกําหนดความตายให้เเก่มัน เเละพระองค์ทรงยืดชีวิตอื่นไปจนถึงเวลาที่ถูกกําหนดไว้  แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นสัญญาสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ ( อัซซุมัร 42 )-          ชวนให้รําลึกถึงความเป็นมาของมนุษย์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน : ความว่า :และเขาได้ยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบแก่เรา และเขาได้ลืมต้นกำเนิดของเขา เขากล่าวว่า “ใครเล่าจะให้กระดูกมีชีวิตขึ้นมาอีกในเมื่อมันเป็นผุยผงไปแล้ว จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด “พระผู้ทรงให้กำเนิดมันครั้งแรกนั้น ย่อมจะทรงให้มันมีชีวิตขึ้นมาอีก และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้การบังเกิดทุกสิ่ง ( ยาซีน 78-79 ) 3.      การศรัทธาต่อวันแห่งการชุมนุมและการเปิดเผยการงานที่ได้กระทำมา  ซึ่งในวันนั้นอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกสรรพสิ่งมารวมตัวกันเพื่อทำการตัดสิน  และทรงเปิดเผยการงานของเขา  อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และ(จงรำลึก) วันที่เราให้เทือกเขาเคลื่อนย้ายไป และเจ้าจะเห็นแผ่นดินราบเรียบและเราจะชุมนุมพวกเขา ดังนั้น เราจะไม่ให้ผู้ใดออกไปจากพวกเขาเลย  และพวกเขาจะถูกนำมารวมเป็นแถวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า โดยแน่นอน พวกเจ้าจะถูกนำมายังเราดั่งที่เราให้บังเกิดพวกเจ้าในครั้งแรก แต่พวกเจ้าอ้างว่าเราไม่ได้กำหนดเวลาสำหรับพวกเจ้า( อัลกะฮฺฟุ 47-48 ) 4.      การศรัทธาต่อวันที่อวัยวะร่างกายจะเอ่ยปากเป็นสักขีพยานได้   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จนกระทั่งเมื่อพวกเขามาถึงนรก หูของพวกเขา และตาของพวกเขาและผิวหนังของพวกเขาก็จะเป็นพยานคัดค้านพวกเขาตามที่พวกเขาได้กระทำไว้  และพวกเขากล่าวแก่ผิวหนังของพวกเขาว่า ทำไมพวกเจ้าจึงเป็นพยานคัดค้านแก่เราล่ะ ? พวกมันกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงให้เราพูด ซึ่งพระองค์ทรงให้รู้ทุกสิ่งที่พูด และพระองค์ทรงสร้างพวกเจ้าเป็นครั้งแรก และยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไป และพวกเจ้าก็ไม่เคยปิดปัง (การทำความชั่ว) ว่าหูของพวกเจ้า และตาของพวกเจ้าและผิวหนังของพวกเจ้าจะเป็นพยานคัดค้านพวกเจ้า แต่พวกเจ้านึกคิดว่าอัลลอฮฺไม่ทรงรอบรู้ส่วนมากในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ( ฟุศศิลัต 20-22 ) 5.      การศรัทธาต่อการสอบสวน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :และจงยับยั้งพวกเขาไว้ เพราะพวกเขาจะต้องถูกสอบสวน(จะมีเสียงถามขึ้นว่า) “เกิดอะไรขึ้นแก่พวกเจ้า ทำไมจึงไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” แต่ว่าพวกเขาในวันนั้น เป็นผู้ยอมจำนนโดยสิ้นเชิง( อัศศ็อฟฟาต 24-26 )   6.      การศรัทธาต่อวันที่ต้องข้ามสะพานในนรก อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเจ้า นอกจากจะเป็นผู้ผ่านเข้าไปในมัน มันเป็นสิ่งที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วสำหรับพระเจ้าของเจ้า   แล้วเราจะให้บรรดาผู้ยำเกรงรอดพ้นแล้วเราจะปล่อยให้บรรดาผู้อธรรมคุกเข่าอยู่ในนั้น  ( มัรยัม 71-72 ) 7.      การศรัทธาต่อวันแห่งการชั่งน้ำหนักของการงานที่กระทำไว้  ซึ่งผลตอบแทนที่ดีจะประสบแก่บรรดาผู้ประกอบคุณงามความดี  เป็นสิ่งตอบแทนที่พวกเขาศรัทธาและปฏิบัติตามบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺของพวกเขา  และการลงโทษจะประสบแก่บรรดาผู้ที่กระทำความผิดหรือปฏิเสธ  และทรยศต่อบรรดาศาสนทูตของพวกเขา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮ์ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน( อัลอัมบิยาอฺ 47 ) 8.      การศรัทธาต่อวันแห่งการแสดงสมุดบันทึกความดี-ความชั่ว อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ส่วนผู้ที่ถูกยื่นบันทึกของเขาให้ทางเบื้องขวาของเขา เขาก็จะถูกชำระสอบสวนอย่างง่ายดาย  และเขาจะกลับไปยังครอบครัวของเขาด้วยความดีใจ และส่วนผู้ที่ถูกยื่นบันทึกของเขาให้ทางเบื้องหลังของเขา แล้วเขาก็จะร้องเรียกหาความหายนะ และเขาจะเข้าไปในเปลวเพลิง ( อัลอินซิก็อก 7-12 )  9.      การศรัทธาต่อวันแห่งการตอบแทนคือสวนสวรรรค์และนรก สำหรับการมีชีวิตที่ถาวรชั่วนิรันดร์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในหมู่อะฮฺลุลกิตาบและบูชาเจว็ดนั้นจะอยู่ในนรกญะฮันนัม พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่ง  แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้น พวกเขาเป็นมนุษย์ที่ดียิ่ง  การตอบแทนของพวกเขา ณ ที่พระเจ้าของพวกเขาคือสวนสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ณ เบื้องล่างของมันมีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล อัลลอฮฺทรงปิติต่อพวกเขา และพวกเขาก็ยินดีในพระองค์ นั่นคือสำหรับผู้ที่กลัวเกรงพระเจ้าของพวกเขา ( อัลบัยยินะฮฺ 6-8 ) 10.  การศรัทธาต่อการนัดพบที่ฮาวฎฺ (สระน้ำ) และการขอชะฟาอะฮฺ ( การขอไถ่โทษ ) และอื่นๆตามที่ท่านศาสนทูตได้กล่าวไว้  บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺ ( วันปรโลก ) :·        เตรียมพร้อมเพื่อวันดังกล่าวโดยหมั่นทำความดีอย่างสมํ่าเสมอ   เเข่งขันกันทำความดีโดยหวังผลตอบแทนและผลบุญ   หลีกห่างจากการกระทำบาปเพราะหวาดกลัวโทษของอัลลอฮฺในวันนั้น  ·    เพื่อมอบให้แก่บรรดาผู้ศรัทธาสำหรับสิ่งที่เขาขาดไปในโลกนี้ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ดีที่เขาได้หวังไว้ในวันปรโลก ·        เป็นการจำแนกระหว่างผู้ที่ศรัทธากับผู้ไม่ศรัทธา  การศรัทธาต่อกอฎออฺ และกอดัร ( ชะตากรรมและสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้) :คือการศรัทธาว่าอัลลอฮฺเท่านั้นผู้ทรงรอบรู้ทุกอย่างแห่งนิจนิรันดร์ก่อนที่สิ่งนั้นจะถูกสร้างเสียอีก  หรือสิ่งที่เป็นไปในอนาคต  และอัลลอฮฺทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นมาตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงทุก ๆ สิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วน ( อัลเกาะมัร 49 ) .ฉะนั้นทุกสรรพสิ่งในโลกนี้  ไม่ว่าที่เกิดขึ้นมาแล้ว  กำลังดำเนินอยู่ หรือกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ทั้งหมดนั้นอัลลอฮฺทรงรอบรู้  แล้วอัลลอฮฺทรงทำให้มันเกิดขึ้นตามความประสงค์และตามสัดส่วนที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว     ความว่า : “ความศรัทธาของบ่าวจะไม่สมบูรณ์ นอกจากบ่าวจะศรัทธาต่อกอดัร ทั้งในเรื่องที่ดี และร้าย  และรู้ว่าสิ่งใดที่อัลลอฮฺประสงค์ให้มันประสบกับตัวเขาสิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้นเเละเขาไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้   และสิ่งใดที่อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้มันเกิดขึ้นกับตัวเขา   สิ่งนั้นไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขาได้ . ” ( ดูซูนัน ติรมิซี 4/451 ลําดับที่ 2144 ) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า :มันขัดกับความพยายามหรือการกระทำของเรา ตัวอย่างง่ายๆคือ ใครที่ต้องการสืบพันธุ์เขาจำเป็นต้องหาแนวทางปฏิบัติซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว  นั่นก็คือ  การแต่งงาน   แต่ทั้งนี้ให้เข้าใจว่า วิธีการที่เขาเลือกทำนั้นอาจบรรลุผลคือการได้ลูกหลานหรืออาจจะไม่บรรลุผลก็เป็นได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของอัลลอฮฺ  ฉะนั้นแนวทางหรือวิธีการที่เราเลือกนั้นมิใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เราบรรลุผลอย่างแท้จริงนอกจากความประสงค์ของอัลลอฮฺที่จะทรงให้มันเกิดขึ้น   จะเห็นได้ว่าวิธีการที่เราเลือกทำและพยายามได้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎชะตากรรมของอัลลอฮฺผู้สูงส่ง  ด้วยเหตุนี้เองท่านศาสนทูตมุฮัมมัดจึงได้ตอบคำถามของบรรดาสาวกของท่าน ที่ถามว่า  “ท่านคิดอย่างไรกับตัวยาและรุคยะฮฺ( เวทมนตร์คาถา ) ที่เรานำมาใช้ในการบําบัดโรคป่วยไข้  มันช่วยระงับกฎชะตากรรมแห่งพระเจ้าหรือไม่ ?  ท่านศาสนทูตตอบว่า ใช่สิ่งเหล่านั้นก็คือส่วนหนึ่งของกอดัรของอัลลอฮฺนั่นเอง”  ( ดูใน มุสตัดรอกอะลัศเศาะฮีฮัยน์ 4/221 ลําดับที่ 7431 ) ความหิว  ความกระหายน้ำ  ความหนาวเหน็บคือส่วนหนึ่งของกอดัรของอัลลอฮฺ  ซึ่งมนุษย์ก็พยายามแก้ความหิวด้วยวิธีการกิน   แก้กระหายน้ำด้วยการดื่มน้ำ  แก้หนาวด้วยการหาที่อบอุ่น  กล่าวคือพวกเขาจะทุ่มเทเพื่อแก้ปัญหาสิ่งต่างๆเหล่านี้ โดยเป็นไปตามสัดส่วนของอาหาร เครื่องดื่ม  และความอบอุ่นไม่เกินกว่าที่โชคชะตาได้กำหนดไว้อย่างแน่นอน  กล่าวคือ  พวกเขาจะสรรหาสิ่งต่างๆ เท่าสัดส่วนที่ได้ถูกกำหนดไว้ .บทเรียนที่ได้จากการศรัทธาต่อกอฎออฺ และกอดัร :1- ความพึงพอใจกับสิ่งที่ได้  ตามสัดส่วนที่ถูกกำหนดไว้  ทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจและสงบ  ไม่วิตกกังวลกับเรื่องที่ผ่านพ้นไป และเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าความรู้สึกกังวลรวมถึงจิตใจที่ไม่สงบ คือที่มาของโรคภัยต่างๆ ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกาย  และสร้างความบกพร่องทางด้านความศรัทธาต่อกอฎออฺและกอดัร  ดังที่อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ เพื่อพวกเจ้าจะได้ไม่ต้องเสียใจต่อสิ่งที่ได้สูญเสียไปจากพวกเจ้าและไม่ดีใจต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้า  และอัลลอฮมิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด.  ( อัลฮะดีด 22-23 ) 2- ชักชวนให้เรียนรู้และค้นคว้าหลายๆสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่เราในโลกนี้  การที่มนุษย์ประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิด เช่น ความเจ็บป่วย ถือว่าเป็นกอดัรอย่างหนึ่งซึ่งส่งเสริมให้เราคว้าหาแนวทางรักษามันในขอบเขตและปริมาณของกอดัร  3- สร้างความสบายใจกับมนุษย์เมื่อได้ประสบกับเคราะห์กรรมบางอย่างในโลกนี้ เช่น การขาดทุนด้านธุรกิจส่วนตัว   แน่นอนการขาดทุนถือว่าเป็นการประสบเคราะห์กรรม  และถ้าเรามีความรู้สึกกังวลใจหรือทุกข์ใจกับมัน  เคราะห์กรรมก็จะเพิ่มเป็นสองเท่า  คือ  เคราะห์กรรมจากการขาดทุน  และเคราะห์กรรมจากความรู้สึกกังวลทำให้เกิดความทุกข์ตลอดเวลา   ฉะนั้นถ้าใครศรัทธาต่อกอฎออฺ และกอดัรความทุกข์ความกังวลเนื่องจากการขาดทุนก็จะหมดไปเพราะเขารับรู้ได้ว่าเรื่องเหล่าคือสิ่งที่ได้ถูกกำหนดให้เกิดขึ้นกับตัวเขาโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้   ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ได้กล่าว     ความว่า :“ผู้ศรัทธาที่เข้มเเข็งดีกว่าและเป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺมากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ  ทั้งสองอย่างมีส่วนดี   จงทุ่มเททำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเจ้า   และขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺด้วย   อย่าท้อแท้เป็นอันขาด   และเมื่อใดที่เจ้าประสบภัยหรือเคราะห์ร้ายจงอย่าได้กล่าวว่า  ถ้าฉันทำแบบนี้น่าจะเกิดแบบนี้หรือแบบนั้น  ทว่าจงกล่าวว่า ป็นกอดัรของอัลลอฮฺที่ได้กำหนดไว้ให้กับฉัน   อะไรที่พระองค์ประสงค์ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน   แท้จริงแล้ว  การกล่าวว่า ถ้า...หากว่า ...เป็นการเปิดช่องทางให้ชัยฏอน”( เศาะฮีฮฺมุสลิม 4/ 2052 ลําดับที่ 2664 ) “การศรัทธาต่อกอดัรไม่ได้หมายความตามความเข้าใจของบางคน  ที่ว่าเชื่อมั่นแบบไม่ต้องทุ่มเทและละทิ้งการแสวงหาแนวทาง  การปฏิบัติในเชิงที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลาม ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้ตอบคำถามของบางคนที่ถามท่านว่า  ถ้าเช่นนั้นฉันจะปล่อยอูฐของฉันแล้วเชื่อมั่นและวางใจอัลลอฮฺ กระนั้นหรือ ? ท่านตอบว่า ผูกมันไว้ให้ดีแล้วจึงเชื่อมั่นอัลลอฮฺ”( ดู ใน เศาะฮีฮฺ อิบนุ ฮิบบาน 2/510 เลขที่ 731 ). หลักการอิสลามการแสดงความภักดีต่อเอกอัลลอฮฺด้านวาจาเละการกระทำ คือสิ่งที่เรียกว่า อัรกานุล อิสลาม( หลักการอิสลาม) คือหลักสำคัญที่แสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เป็นบ่าวในอิสลาม  หลักการอิสลามที่ว่านี้ หมายถึงหลักการปฏิบัติ (คือการเเสดงออกถึงการยอมจํานนต่ออัลลอฮฺโดยปฏิบัติในหลายๆประการต่อไปนี้)จะประกอบ :ด้วยหลักการทางวาจา คือ การกล่าวคำปฏิญาณตนที่เรียกว่า อัซชชะฮาดะตาน  และหลักการด้านการปฏิบัติตามด้วยอวัยวะร่างกายคือ การกระทำละหมาดและการถือศีลอด    และบางหลักการจะเกี่ยวข้องกับการออกเงินทองคือ การจ่ายซะกาต( บริจาคทานให้กับคนยากไร้ตามข้อบังคับในอิสลาม )  และบางหลักการจะเกี่ยวกับการทุ่มเทด้วยพลังกายและเงินควบคู่กัน คือการประกอบพิธีฮัจญ์ . การสั่งใช้ให้ผู้นับถืออิสลามกระทำตามหลักการปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่เป็นการชักชวนในเชิงรูปธรรมเท่านั้น  ทว่าเป็นการขัดเขลาสภาพจิตใจพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์  ฉะนั้นพึงเข้าใจว่า อิสลามต้องการให้หลักการปฏิบัติดังกล่าวนั้นเป็นหนทางหนึ่งเพื่อปรับปรุงพัฒนาคุคคลและสังคม    อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :เจ้าจงอ่านสิ่งที่ถูกวะฮีย์(ประทาน)แก่เจ้าจากคัมภีร์และจงดำรงการละหมาด (เพราะ) แท้จริงการละหมาดนั้นจะยับยั้งการทำลามกและความชั่วและการรำลึกถึงอัลลอฮ์นั้นยิ่งใหญ่มาก และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ( อัลอังกะบูต 45 ) อัลลอฮฺตรัสเกี่ยวกับการออกซะกาต     ความว่า :(มุฮัมมัด) เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยส่วนตัวที่เป็นทานนั้น และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการขอพรของพวกเจ้านั้น ทำให้เกิดความสุขใจแก่พวกเขา และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้.( อัตเตาบะฮฺ  103 ) และได้ตรัสเกี่ยวกับ การถือศีลอด     ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 183 ) การถือศีลอดถือว่าเป็นการฝึกหัดความอดทนของเราต่อตัณหาและความต้องการของจิตใจ  ท่านศาสนทูตได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ใครที่ไม่ละทิ้งการพูดปดหรือยึดเอามันมาใช้ เป็นการโง่เขลา( ในขณะถือศีลอด) อัลลอฮฺมิได้พอพระทัยใดๆจากการที่เขาละอาหารหรือเครื่องดื่มอีกแล้ว” (เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 5/ 2251 เลขที่ 5710 ) อัลลอฮฺทรงตรัสเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์      ความว่า :(เวลา) การทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ใดที่ได้ให้การทำฮัจญ์จำเป็นแก่เขาในเดือนเหล่านั้น แล้ว ก็ต้องไม่มีการสมสู่ และไม่มีการละเมิด และไม่มีการวิวาทใด ๆ ใน (เวลา) การทำฮัจญ์ และความดีใด ๆ ที่พวกเจ้ากระทำนั้น อัลลอฮ์ทรงรู้ดี และพวกเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความยำเกรง และพวกเจ้าจงยำเกรงข้าเถิด โอ้ ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ! ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 197 ) หลักการปฏิบัติเพื่อการภักดีต่ออัลลอฮฺมีส่วนในการเสริมสร้างมารยาทอันสูงส่ง  หลักการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ หลักการปฏิบัติข้อที่หนึ่งคือ : การกล่าวสองคำปฏิญาณตน  คือ การกล่าวว่า شهادة أن لاإله إلا الله และ شهادة أن محمدا عبد الله ورسولهอ่านว่า ชะฮาดะตุ อัน ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺหมายถึง ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และ ชะฮาดะตุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุลลอฮิ วะ รอซูลุฮฺ หมายถึง  การปฏิญาณตนว่า ท่านมุฮัมมัด คือบ่าวและศาสนทูตของอัลลอฮฺ ความหมายของ " لا إله إلا الله " ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺนี่คือคำที่แสดงความเป็นเอกะของพระองค์อัลลอฮฺ  ด้วยจุดประสงค์นี้เองทุกสรรพสิ่งจึงถูกสร้างขึ้น   และด้วยเป้าหมายนี้เองสวรรค์-นรกจึงถูกสร้างขึ้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า( อัซซาริยาต 56 ) “คำนี้เป็นแก่นแท้ของบรรดาศาสนทูตอัลลอฮฺในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามนับตั้งแต่สมัยท่านศาสนทูตนูฮฺจนถึงสมัยศาสนทูตองค์ท้ายสุดคือมุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน)” อัลลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเรามิได้ส่งศาสนทูตอัลลอฮฺคนใดก่อนหน้าเจ้านอกจากเราได้วะฮี(ประทานโองการของข้า)แก่เขาว่า “แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า ( อัลอัมบิยาอฺ 25 )  ความหมายของคำปฏิญาณนี้ อธิบายได้ดังนี้1.      ไม่มีพระเจ้าในจักรวาลนี้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น2.      สิทธิในการควบคุมและบริหารคืออัลลอฮฺเท่านั้น 3.      ไม่มีพระเจ้าที่สมควรแก่การภักดีนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น 4.      อัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด บริสุทธิ์จากความบกพร่องทั้งมวล ความจำเป็นของคำว่า " لا إله إلا الله " ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ1.      การรับรู้ว่าสิ่งบูชาทั้งหมดนอกเหนืออัลลอฮฺถือว่าโมฆะ  กล่าวคือไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การเคารพบูชานอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น  พระองค์คือพระผู้ทรงสิทธิ์สำหรับการภักดีทั้งมวล เริ่มจากการละหมาด  การวิงวอนขอ  การเชือดสัตว์  และการสัญญา  พร้อมสาบานตน  เป็นต้น   ผู้อื่นไม่มีสิทธิในสิ่งนี้  ถึงเเม้เขาผู้นั้นจะเป็นถึงศาสนทูตหรือ มะลัก( เทวทูต)ของอัลลอฮฺหรือทูตสววรค์ ) ก็ตาม  ผู้ใดมอบการกระทำเหล่านี้ให้กับคนอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ  พร้อมทั้งยกย่องและแสดงการภักดีต่อมัน ถือว่าตกเป็นกุฟุรฺ ( ผู้ปฏิเสธศาสนา ) ขัดกับคำปฏิญาณตนในข้อนี้ 2.      มีการเชื่อมั่นที่แน่นเเฟ้นแบบไม่ต้องสงสัยและลังเลในหลักการนี้อีกแล้ว  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงศรัทธาชนที่แท้จริงนั้น คือ บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ. และศาสนทูตของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่สงสัยเคลือบแคลงใจ แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ดิ้นรนด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮ.  ชนเหล่านั้นแหละคือบรรดาผู้สัตย์จริง ( อัลฮุจญ์รอต 15 ) 3.      ยอมรับตามหลักการนี้และไม่ปฏิเสธ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นเมื่อได้มีการกล่าวแก่พวกเขาว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ พวกเขาก็หยิ่งผยอง ( อัศศอฟฟาต 35 ) 4.      ปฏิบัติตามหลักการนี้พร้อมการน้อมรับที่ดี  และปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ  ละทิ้งสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และผู้ใดยอมนอบน้อมใบหน้าของเขายังอัลลอฮฺ โดยที่เขาเป็นผู้กระทำดี  แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว  และบั้นปลายของกิจการทั้งหลายย่อมกลับไปหาอัลลอฮฺ ( ลุกมาน 22 ) 5.      การเชื่อมั่นในหลักการนี้ด้วยความสัจจะ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :พวกเขากล่าวด้วยลิ้นของพวกเขาโดยไม่มีอะไรในหัวใจของพวกเขา ( อัลฟัตฮฺ 11 ) 6.      การแสดงการภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียวด้วยความบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงและดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม ( อัลบัยยินะฮฺ 5 ) 7.      รักอัลลอฮฺ  ศาสนาทูตและบรรดาผู้ซึ่งพระองค์ทรงรัก และบ่าวผู้ภักดีทั้งหลาย   และเกลียดชังคนที่ต่อต้านอัลลอฮฺและบรรดาศาสนทูตของพระองค์    และยึดเอาความรักต่อพระองค์และศาสนทูตของพระองค์เป็นอันดับเเรกถึงแม้มันจะขัดกับความรู้สึกส่วนตัวก็ตาม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากบรรดาบิดาของพวกเจ้า และบรรดาลูก ๆ ของพวกเจ้า และบรรดาพี่น้องของพวกเจ้า และบรรดาคู่ครองของพวกเจ้า และบรรดาญาติของพวกเจ้า และบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออก และบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และการต่อสู้ในทางของพระองค์แล้วไซร้ ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งกำลังของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด  (อัตเตาบะฮฺ 24 )นอกจากนี้ ต้องเชื่อมั่นว่า สิทธิในการออกบทบัญญัติด้านหลักการปฏิบัติเพื่อการภักดีและการจัดระเบียบการเป็นอยู่ในระดับบุคคลและสังคม เป็นของอัลลอฮฺเท่านั้น   เช่นเดียวกันการอนุมัติและการห้ามสิ่งใดคือสิทธิของพระองค์เท่านั้น  และเรื่องเหล่านี้ถูกอธิบายอย่างชัดเเจ้งผ่านท่านศาสนทูตของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และสิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงให้ศาสนทูตของพระองค์ยึดมาได้จากชาวเมือง(พวกกุฟฟาร)เป็นสิทธิของอัลลอฮฺและศาสนทูตอัลลอฮฺและญาติสนิทและเด็กกำพร้าและผู้ขัดสนและผู้เดินทาง เพื่อมันจะมิได้หมุนเวียนอยู่ในระหว่างผู้มั่งมีของพวกเจ้าเท่านั้น และอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ ( อัลฮัซรฺ7).  ความหมายของคำว่า شهادة أن محمدا عبد الله ورسوله ชะฮาดะตุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุลลอฮิ วะ รอซูลุฮฺ หมายถึง  การปฏิญาณตนว่า ท่านมุฮัมมัด คือบ่าวและศาสนทูตของอัลลอฮฺ ·       แสดงการจงรักภักดีต่อคำบัญชาของท่านศาสนทูต  และเชื่อมั่นในสิ่งที่ท่านบอก   และหลีกห่างจากสิ่งที่ท่านทรงห้ามปราม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ใดเชื่อฟังศาสนทูตอัลลอฮฺ แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดผินหลังให้ เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะเป็นผู้ควบคุมพวกเขาไม่ ( อันนิสาอฺ 80 ) ·       เชื่อมั่นในสารที่ท่านนำมา  และเชื่อมั่นว่าท่านคือศาสนทูตท่านสุดท้าย และท่านคือผู้ประเสริฐกว่าท่านอื่นๆในบรรดาศาสนทูต   ไม่มีศาสนทูตองค์ใดหลังจากท่านอีก  เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นศาสนทูตอัลลอฮฺของอัลลอฮฺและคนสุดท้ายแห่งบรรดานะบี  ( อัลอะฮฺซาบ 40 ) ·       การเชื่อมั่นว่า ท่านไม่มีการปกปิดในสิ่งที่ท่านเผยแพร่  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเขามิได้พูดตามอารมณ์  อัลกุรอานมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย.ที่ถูกประทานลงมา ( อันนัจมุ 3-4 ) ส่วนการกระทำในทางโลกถือว่า ท่านเป็นเพียงแค่มนุษย์คนหนึ่ง  ซึ่งนั้นเเปลว่าความเป็นอยู่ของท่านและการตัดสินของท่าน คือส่วนหนึ่งที่มาจากการวินิจฉัยของท่านเอง   ท่านได้กล่าว   ความว่า :“แท้จริงแล้วฉันเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง   เเละพวกท่านได้ยกคดีให้ฉันตัดสิน  แต่ฉันรู้ดีว่าในบรรดาพวกท่านมีคนที่เชี่ยวชาญด้านการยกอ้างหลักฐานมากกว่า   ฉันจึงตัดสินให้เขาตามที่ฉันได้ฟัง  ใครก็ตามซึ่งข้าตัดสินให้เขาได้รับสิทธิของเพื่อนเขาโดยไม่ชอบธรรม  จงคืนสิทธินั้นเสียและอย่ารับมัน  เพราะสิ่งที่ฉันให้เขาในกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไฟนรก. ( รายงานโดย บุคอรีย์ 6/ 2555 เลขที่ 6566  ) ·       การศรัทธาว่า สารที่ท่านนำมานั้น สู่ปวงชนทั้งสองฝ่ายคือ มนุษย์และญิน จนกว่าวันปรโลกจะมาถึง อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลาย ( สะบะอฺ 28 ) ·       ปฏิบัติตามแบบอย่างของท่าน  พร้อมยึดมั่นปฏิบัติตามอย่างหนักแน่น โดยไม่มีการเพิ่มเติมใดๆ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ( อาละอิมรอน 31 )  หลักการปฏิบัติข้อที่สองคือ การละหมาด: การละหมาดคือ เสาหลักของอิสลาม  ซึ่งอิสลามยั่งยืนได้เพราะหลักการปฏิบัติในข้อนี้   และใครที่ละทิ้งจะถือว่าตกเป็นกุฟุรฺ ( ผู้ปฏิเสธ ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว    ความว่า :“หัวหลักของทุกสิ่งคือ  อิสลาม  และเสาหลักของอิสลามคือ การทำละหมาด  และยอดสูงสุดในอิสลามคือการญิฮาด” ( ดุซูนั้นติรมีซี 5/ 11 เลขที่ 2516  ) การละหมาดคือการปฏิบัติที่ประกอบด้วยการกล่าวคำและการกระทำ  เริ่มด้วยการกล่าวตักบีรฺ(ตักบีรฺ  คือการกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร เป็นการกล่าวเปิดพิธีละหมาด) จบสิ้นด้วยการกล่าวสลาม  เป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ  พร้อมทั้งยกย่องความสูงส่งของพระองค์    ซึ่งปฏิบัติด้วยความสงบเป็นการส่วนตัวระหว่างบ่าวกับอัลลอฮฺ   และมีสมาธิด้วยจิตอันแน่วแน่    การละหมาดคือ ความผูกพันระหว่างผู้เป็นบ่าวต่อพระเจ้าของเขาอย่างสมํ่าเสมอ ครั้งใดที่บ่าวเริ่มหลงใหลกับความสุขทางโลก เเสงศรัทธาในหัวใจเขาเริ่มริบหรี่ลง  แต่เมื่อเขาได้ยินเสียงอะซานดังขึ้น เเสงแห่งศรัทธาก็เริ่มส่องระยิบระยับขึ้นอีกครั้ง  เช่นนี้แล้วความผูกพันก็กลับคืนมาอีกครั้งและคงอยู่แบบนี้ตลอดเวลา   การละหมาดคือการปฏิบัติตามห้าเวลาในแต่ละวัน   ทำเป็นญะมาอะฮฺ ( ละหมาดเป็นกลุ่ม ) ในมัสญิด  นอกจากคนที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น   ด้วยเหตุนี้พวกเขาจะนัดพบกันเสมอๆ  และผลดีที่จะตามมาคือ การทำความรู้จักซึ่งกันและกัน  กระชับมิตรไมตรีระหว่างกัน  เกิดความรักใคร่ระหว่างกัน   ถามข่าวคราวซึ่งกันเละกัน  หากมีใครที่เจ็บไข้ได้ป่วยในบรรดาพวกเขาก็พากันไปเยี่ยมเยียน ใครที่ยากไร้ก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   ใครที่กำลังประสบกับความทุกข์พวกเขาก็ต่างให้กำลังใจกัน   ใครที่ละเลยในการงานใดพวกเขาก็จะให้คำตักเตือนซึ่งกันและกัน   ทั้งหมดนี้คือการประกาศมิให้มีการแบ่งชนชั้นในสังคมเพราะทุกคนต่างอยู่เคียงคู่ซึ่งกันและกัน  ไม่ว่าจะเป็น เด็ก  ผู้ใหญ่   คนรวย  คนจน ทั้งหมดล้วนเท่าเทียมกันในด้านการภักดีต่อองค์อภิบาลและต่างหันหน้าไปในทิศเดียวกันคือทางกิบละฮฺ ( ณ นครมักกะฮฺ) ทำการละหมาดอย่างเดียวกัน  การอ่านที่ตรงกัน  ในเวลาที่เหมือนกัน หลักการปฏิบัติข้อที่สามคือ การจ่ายซะกาต :หมายถึง การออกส่วนหนึ่งของเงินตามปริมาณที่อิสลามได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนหากเขาร่ำรวย เพื่อแสดงถึงการภักดีต่ออัลลอฮฺและช่วยเหลือพี่น้องผู้ยากไร้ในสังคมเช่น  คนจน หรือคนที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความอดยาก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงและดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม(อัลบัยยินะฮฺ 5 ) ใครปฏิเสธข้อบัญญัติในเรื่องซะกาตถือว่าตกกุฟุรฺ  เพราะเขาปฏิเสธสิทธิของคนที่ยากไร้ในสังคมซึ่งมีทั้งคนอ่อนแอ  คนยากจนขัดสน   ทั้งนี้ให้เข้าใจว่าการออกซะกาตไม่ใช่การออกภาษีให้กับประเทศมุสลิม (ตามที่คนต่างศาสนิกมักเข้าใจผิด)   เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วก็แสดงว่า การออกภาษีย่อมต้องเก็บจากทุกคนโดยไม่เว้นใคร  ทั้งมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอิสลาม   ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้วมันคือการบริจาคทานตามเงื่อนไขที่อิสลามกำหนด   ไม่มีการบังคับกับคนนอกศาสนา   เงื่อนไขที่ว่านี้มีดังนี้ 1.      ครองนิศอบ  หมายถึง การที่เขามีเงินถึงอัตราที่อิสลามกำหนดให้ออกซะกาต  นั่นคือ ประมาณ 85 กรัมของทองเเท่ง 2.   ครบปี  เงื่อนไขนี้เฉพาะปศุสัตว์  เงินและสินค้า   ฉะนั้นสิ่งไหนหากยังไม่ครบปีถือว่าไม่ต้องออกซะกาตอีกจนกว่าจะครบปี  ส่วนเมล็ดพืชและผลไม้ก็ต้องรอให้มันสุกพอพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้  อัลลอฮฺได้จำกัดประเภทของผู้มีสิทธิที่สมควรได้รับซะกาต  ซึ่งพระองค์ตรัส   ความว่า :แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮ์ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ( อัตเตาบะฮฺ 60 ) เปอร์เซ็นต์ที่ต้องออกคือ 2.50 % จากต้นทุนทั้งหมด  จุดประสงค์ในการออกซะกาต คืออิสลามต้องการแก้ปัญหาความยากจน  และป้องกันเหตุร้ายต่างๆที่เกิดมาจากเพราะความยากจนอาทิเช่น การลักขโมย การฆ่าฟัน การทำลายเกียรติคนอื่น  และในทำนองเดียวกันอิสลามต้องการสร้างความเป็นกลุ่มในสังคมและเน้นหนักปัญหาคนจนและคนยากไร้   ความเเตกต่างระหว่างการออกซะกาตกับการเก็บภาษีคือ  การออกซะกาตคือหน้าที่ของมุสลิมที่บริจาคด้วยความสมัครใจ สิ่งที่ผลักดันให้กระทำสิ่งดังกล่าวคือจิตสำนึกที่ดีที่เห็นว่าจำเป็นต้องบริจาคเพื่อขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์จากนิสัยต่างๆที่ไม่ดี อาทิ ความโลภ   ช่วยขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์จากความผูกพันทางโลกที่มากเกินไปซึ่งอาจทำให้หลงลืมสิทธิผู้ยากไร้และผู้ยากจนในสังคมรอบตัว  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขาชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ( อัลฮัซรฺ 9 ) นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การออกซะกาตเป็นการขัดเกลาจิตใจผู้ยากไร้และผู้อับจนให้บริสุทธิ์ออกห่างจากความเลวทราม  อาทิ  การเป็นศัตรู  ต้องการแก้เเค้น หรือ เกลียดชังคนรวย เป็นต้น  เพราะพวกเขาจะรู้สึกพึงพอใจในเมื่อเห็นคนรวยรับผิดชอบในหน้าที่ด้านการช่วยเหลือพวกเขา  ทำดีกับพวกเขาตลอดจนการเอาใจใส่ที่ดีต่อพวกเขา  แท้จริงแล้วในอิสลามได้มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงการห้ามการละเมิดหน้าที่ด้านนี้  ส่วนหนึ่งคือ โองการอัลลอฮฺ   ซึ่งความว่า :และบรรดาผู้ที่ตระหนี่ในสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานให้แก่พวกเขาจากความกรุณาของพระองค์นั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่ามันเป็นการดีแก่พวกเขา หากแต่มันเป็นความชั่ว แก่พวกเขา ซึ่งพวกเขาจะถูกคล้องสิ่งที่พวกเขาได้ตระหนี่มันไว้ในวันกิยามะฮ์ และสำหรับอัลลอฮ์นั้น คือมรดกแห่งบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน  ( อาละอิมรอน 180 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว  ความว่า :“ไม่มีบุคคลใดที่เป็นเจ้าของทองเหลืองและเงินแต่ไม่ให้สิทธิแก่มันเท่าที่มันสมควรได้รับ  นอกจากในวันกิยามัต( ปรโลก) ได้จัดเตรียมแผ่นเหล็กแท่งหนึ่งจากนรกแล้วนำไปเผาในไฟนรกญะฮัมนัม( ชื่อนรกในวันกิยามะฮฺ ) หลังจากนั้นนำแผ่นเหล็กร้อนมาจี้ข้างเคียงตัวเขา  และหน้าผากเขา  และหลังเขา  ทุกครั้งที่แท่งเหล็กเย็นขึ้นถูกเผาให้ร้อนอีกเพื่อเตรียมเฉพาะเขา  ในวันหนึ่งวันนั้นเท่ากับ ห้าหมื่นวันในโลกนี้  จนกว่าอัลลอฮฺได้ตัดสินบ่าวครั้งสุดท้าย ซึ่งในวันนั้นบางคนเห็นทางของตัวเองไปสวรรค์ และบางคนเห็นทางไปยังนรก” ( ดูเศาะฮีฮฺ มุสลิม 2/680  เลขที่ 987 )  หลักการปฏิบัติข้อที่สี่ คือการถือศีลอด เดือนรอมฎอน :หนึ่งเดือนเต็มๆในรอบปีที่มุสลิมทั่วโลกจะทำการถือศีลอด คือการละอาหารและเครื่องดื่ม และสิ่งต้องห้ามเช่นการร่วมหลับนอนระหว่างสามีภรรยา เพื่อการแสดงการภักดีต่อองค์อัลลอฮฺ   นับตั้งแต่ตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกดิน    ทั้งนี้พึงรู้เถิดว่าการถือศีลอดไม่ใช่เรื่องที่ถูกคิดค้นใหม่ในอิสลาม  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 183 ) การถือศีลอดใช่ว่าเพียงการละอาหารร่างกายเท่านั้น หากแต่จะรวมถึงการละอาหารภายในคือการละทิ้งการกระทำที่มีผลเสียต่อการถือศีลอดด้วยเช่น การโป้ปด  กานนินทาผู้อื่น  การใส่ร้าย  การฉ้อโกงและการหลอกลวง   ตลอดจนการละทิ้งการพูดคุยที่ไร้สาระ  เพราะการงานเหล่านี้ถือว่าต้องห้ามในทัศนะอิสลามไม่เฉพาะรอมฎอมเท่านั้น   แต่ในรอมฎอนถือว่าบังคับให้ละทิ้งเป็นเด็ดขาด  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวความว่า : “ใครที่ไม่ละทิ้งคำพูดที่เบี่ยงเบนโกหก และยังทำกันอยู่ในเดือนรอมฎอน ถือว่าอัลลอฮฺไม่ได้หวังอะไรจากการละอาหารและเครื่องดื่มของเขา” การถือศีลอดคือ การต่อสู้กับจิตใจและความต้องการโดยไม่มีขอบเขต  ช่วยขัดเกลาจิตใจมนุษย์ให้บริสุทธิ์  ห่างไกลจากคำพูดที่หยาบคายและการกระทำที่ชั่วร้าย   ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :“อัลลอฮฺตรัสว่า : ทุกการการงานของมนุษย์ล้วนแล้วสำหรับเขา  นอกจากการถือศีลอดซึ่งเป็นสิทธิของข้า  ข้าเท่านั้นที่ตอบแทนมัน  พึงรู้เถิดว่าการถือศีลอดเปรียบเสมือนถูกหุ้มเกราะ  เมื่อใดที่เขาคนหนึ่งในบรรดาพวกเจ้าถือศีลอดจงอย่าได้พูดจาหยาบคายและตะโกนเสียงดัง  ถ้ามีใครสักคนต่อว่าเขาหรือไล่ฆ่าเขา  ให้เขากล่าวว่า  ฉันถือศีลอดอยู่นะ   แท้จริงฉัน( ศาสนทูตมุฮัมมัด ) ขอสาบานกับอัลลอฮฺผู้ซึ่งครองตัวฉันในกำมือของพระองค์ ว่าแท้จริงแล้วกลิ่นปากของคนที่ถือศีลอดนั้น คือกลิ่นหอมที่หอมฉ่ำมากสำหรับอัลลอฮฺ  มากกว่ากลิ่นน้ำหอมมิสกีย์(ชะมดเชียง)เสียอีก   แท้จริงแล้วผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีสองประการที่เขาสมควรได้รับ  หนึ่งคือ เมื่อเขาเริ่มละศีลอดเขาจะรู้สึกดีใจ  สองเมื่อเขาได้พบเจอพระเจ้าเขาในวันกิยามัตเขาจะรู้สึกดีใจ” ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 2/673 ลําดับที่ 1805 ) ด้วยการถือศีลอดทำให้มุสลิมได้รำลึกถึงความยากลําบากของพี่น้องของเขาที่ยากไร้และขัดสน  ซึ่งในที่สุดเขาย่อมเข้าหาพวกเขาและย่อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเขาควรได้   และพยายามสอบถามข่าวคราวความทุกข์สุขพวกเขา . หลักการปฏิบัติข้อที่ห้า คือ การประกอบพิธีฮัจญ์ :คือการเดินทางไปยังบ้านของอัลลอฮฺ (หมายถึงไปยังกะบะฮฺ ณ นครมักกะฮฺ) เพื่อประกอบพีธีฮัจญ์ที่ได้กำหนดไว้ในสถานที่เฉพาะและในเวลาที่เฉพาะ     คือหลักการในเชิงบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนที่มีสติปัญญาเละบรรลุนิติภาวะทั้งชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน   เป็นการบังคับเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตด้วยเงื่อนไขที่ว่า จะต้องมีความสามารถทั้งสองด้าน คือ  ด้านร่างกาย และด้านการเงิน   ดังนั้นใครที่เจ็บไข้ได้ป่วยโดยอาการไม่สามารถทุเลาลงได้ก็ถือว่าไม่บังคับสำหรับเขา แต่ถ้าเขามีทรัพย์สินเงินทองร่ำรวยก็สามารถให้คนอื่นทำแทนได้     เช่นกันคนที่ยากจนไม่มีเงินทองหรือมีไม่เพียงพอสำหรับการครองชีพรายวันแก่เขาและครอบครัว  ถือว่าไม่บังคับสำหรับเขาจนกว่าเขาจะมีความสามารถ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า : “การประกอบพิธีฮัจญ์คือการรวมตัวของมุสลิมโลกครั้งใหญ่ ณ ที่เดียวกัน เพื่อกระทำการภักดีอัลลอฮฺในเวลาเดียวกัน   วิงวอนขออัลลอฮฺองค์เดียวกันในลักษณะที่พวกเขาอยู่ในชุดเดียวกัน”  ต่างกล่าวคำว่า لبيك اللهم لبيك , لبيك لا شريك لك لبيك , إن الحمد والنعمة لك والملك لا شريك لك .อ่านว่า  “ลับบัยกัลลอฮุมมะ ลับบัยกฺ  ลับบัยกะ ลา ชารีกะลัก  ลับบัยกะ  อินนัลฮัมดะ วันเนียะมะตะ  ละกะวัลมุลกฺ  ลา ชะรีกะลัก” ความว่า :  “โอ้อัลลอฮฺพวกเราได้มาถึง ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อน้อมรับคำบัญชาของพระองค์  และหวังในโปรดปรานจากพระองค์  ด้วยความเชื่อมั่นต่อความเอกะของพระองค์   แท้จริงพระองค์คือผู้ควรแก่การเคารพภักดีโดยไม่มีสิ่งใดเทียบเคียง  ในวันนี้ทุกคนเท่าเทียมกันไม่ว่าสูงตํ่า   ดำขาว   ชนชาวอาหรับและคนนอก   ล้วนอยู่ต่อหน้าพระองค์ด้วยความตักวา ( การมีจิตศรัทธา) อันแน่แท้   ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะอื่นใดนอกจากเป็นการยํ้าถึงความเป็นพี่น้องระหว่างมุสลิมด้วยกัน” คุณลักษณะเฉพาะและคุณงามความดีของศาสนาอิสลามอิสลามคือศาสนาที่ถูกประทานลงมาจากฟากฟ้าล่าสุด  ย่อมมีจุดเด่นที่เต็มไปด้วยคุณงามความดีแน่นอน  มีความเป็นพิเศษกว่าศาสนาอื่นๆก่อนอิสลาม   ข้อพิเศษส่วนนี้เพียงพอแล้วและเหมาะสมกับทุกกาลเวลาและทุกหนแห่งจนถึงวันปรโลก   และด้วยคุณงามความดีจุดนี้ถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่ความสงบสุขของมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า คุณลักษณะเฉพาะและคุณงามความดีของศาสนาอิสลามมีดังนี้ :·       มีตัวบทบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า อิสลามคือศาสนาที่อัลลอฮฺทรงยอมรับ  และพระองค์ได้ส่งบรรดาศาสนทูตของพระองค์ซึ่งแต่ละท่านทำหน้าที่สืบทอดต่อจากศาสนทูตท่านก่อน เริ่มตั้งแต่สมัยศาสนทูตนูฮฺจนถึงสมัยท่านศาสนทูตมุฮัมมัด  ท่านกล่าวความว่า :“เปรียบตัวฉันกับบรรดาศาสนทูตเสมือนชายหนุ่มคนหนึ่งที่สร้างบ้านอย่างดีและสวยงาม เหลือเพียงก้อนอิฐที่ยังขาดที่มุมหนึ่ง  ซึ่งคนที่เดินรอบๆบ้านต่างกล่าวชมว่า  ถ้าคุณเอาก้อนอิฐก้อนหนึ่งมาเสริมตรงนี้น่าจะครบสมบูรณ์  ท่านกล่าวว่าฉันคือก้อนอิฐก้อนนั้น  และฉันคือศาสนทูตคนสุดท้าย” ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 3/1300  เลขที่ 3342 )ยกเว้นท่านศาสนทูตอีซา ผู้ซึ่งจะลงจากฟากฟ้าเมื่อใกล้วันอวสานโลก  เพื่อลงมาเผยแพร่ความยุติธรรมบนโลกนี้แทนความอธรรมที่มีอยู่  แต่ท่านไม่ได้เอาศาสนาใหม่ลงมาเพราะท่านจะลงมาและปกครองด้วยศาสนาอิสลามตามแบบอย่างของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด  เพราะท่านได้กล่าว ความว่า : “วันกิยามะฮฺ ( วันปรโลก ) จะไม่บังเกิดขึ้นนอกจากบุตรของมัรยัมจะลงมาจากฟากฟ้าแล้วปกครองโลกนี้ด้วยความยุติธรรม   ดังนั้นเขาจะทำลายไม้กางเขน  ฆ่าหมู   ยกเลิกระบบภาษี   จนกระทั่งเงินทองมีอย่างเหลือเฟือ  ไม่มีคนรับ”   ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 2/875 เลขที่ 2344 ) บรรดาศาสนทูตทุกท่านจะชักชวนคนให้เชื่อมั่นเอกภาพของอัลลอฮฺ  ห่างไกลจากการตั้งภาคีต่อพระองค์   หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบพระองค์กับมัคลู้ก(สรรพสิ่งที่ถูกสร้าง )   พวกเขาจะชักชวนคนไปสู่แนวทางการภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ  พร้อมทั้งชี้แนะมนุษย์ให้เดินทางไปสู่แนวทางที่สงบสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูหฺ และที่เราได้วะฮียฺ(ทรงประทานโองการของข้า)แก่เจ้าก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮิม และมูซา(โมเสส) และอีซา(เยซู)ว่า พวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้คงมั่น และอย่าแตกแยกกันในเรื่องศาสนา ( อัซซูรอ 13 ) อิสลามคือศาสนาซึ่งท้ายสุด  ดังนั้นอัลลอฮฺจึงสัญญาจะรักษามันไว้ให้คงอยู่ตลอดไป  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน( อัลฮิจรฺ 9 ) ซึ่งหมายความว่า : ศาสนทูตท่านสุดท้ายในศาสนาอิสลามต้องเป็นมุฮัมมัด   ไม่มีศาสนทูตอีกหลังจากท่าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นศาสนทูตอัลลอฮฺของอัลลอฮฺและคนสุดท้ายแห่งบรรดานะบี ( อัลอะฮฺซาบ 40 ) ที่กล่าวไม่ได้หมายความว่า :  เราไม่ศรัทธาและไม่เชื่อต่อบรรดาศาสนทูตและบรรดาคัมภีร์ก่อนหน้านี้  ดังนั้นอีซาคือผู้สืบต่อจากศาสนาของท่านมูซา  และมุฮัมมัดคือผู้สืบต่อจากศาสนาของอีซาและท่านคือศาสนทูตท่านสุดท้าย  มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์และบรรดาศาสนทูตก่อนท่านศาสนทูตมุฮัมมัด   ถ้าใครไม่ศรัทธาต่อพวกเขาหรือเลือกที่จะศรัทธาต่อบางคนเท่านั้นถือว่าเขาได้ออกนอกศาสนาอิสลามไปแล้ว อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์และต้องการที่จะแยกระหว่างอัลลอฮฺ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคนและปฏิเสธศรัทธาในบางคน และพวกเขาต้องการที่จะยึดเอาในระหว่างนั้น ซึ่งทางใดทางหนึ่งนั้น  ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธศรัทธาโดยแท้จริง และเราได้เตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย ( อันนิซาอฺ 150-151 ) ·    แท้จริงแล้วศาสนาอิสลามคือศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดที่นำมาด้วยบทบัญญัติที่ครบสมบูรณ์ในทุกแง่ชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว ผู้ใดได้รับความคับขันในความหิวโหย โดยมิใช่เป็นผู้จงใจกระทำบาปแล้วไซร้ แน่นอนอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ ( อัลมาอิดะฮฺ 3 )  ด้วยเหตุดังกล่าวอิสลามจึงเป็นศาสนาที่ดีและประเสริฐที่สุด อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษย์ชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และถ้าหากว่าบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ศรัทธากันแล้ว แน่นอนมันก็เป็นการดีแก่พวกเขา จากพวกเขานั้นมีบรรดาผู้ที่ศรัทธา และส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ละเมิด ( อาละอิมรอน 110 ) ·       ศาสนาอิสลามคือศาสนาสากลจักรวาลสำหรับมนุษย์ทั้งปวงไม่เว้นใคร   ในทุกยุคทุกที่   อิสลามไม่ได้ลงเฉพาะบางเชื้อชาติ หรือบางชนชั้น  หรือแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ในบางเวลาเท่านั้น  หากแต่อิสลามคือศาสนาที่รวบรวมมนุษย์ทุกคนไม่แบ่งสีผิว ภาษา  อาณาเขต เผ่าพันธุ์  เวลาและสถานที่   ในพื้นฐานการศรัทธาเดียวกัน    ฉะนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่เชื่อว่าอัลลอฮฺคือพระเจ้า  อิสลามคือศาสนา  มุฮัมมัดคือท่านศาสนทูตเขาย่อมอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งอิสลามไม่ว่าเขาจะอยู่แห่งใดและสมัยไหนก็ตาม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลาย( สะบะอฺ 28 ) ส่วนบรรดาศาสนทูตท่านอื่นๆก่อนมุฮัมมัดได้ถูกส่งเพื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น   อัลลอฮฺได้ตรัสถึงท่านศาสนทูต นูฮฺ    ความว่า :และแท้จริงเราได้ส่งนูฮ์ไปยังประชาชาติของเขา แล้วเขาได้กล่าวว่า โอ้ประชาชาติของฉันจงเคารพสักการะอัลลอฮ์เถิดไม่มีผู้ได้รับการเคารพสักการะใด ๆ สำหรับพวกท่านอีกแล้วอื่นจากพระองค์ แท้จริงฉันกลัวการลงโทษในวันอันยิ่งใหญ่จะประสบแก่พวกท่าน”( อัลอะอฺรอฟ 59 ) และอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และยังประชาชาติอ๊าดนั้น เราได้ส่งฮูด ซึ่งเป็นพี่น้องของพวกเขาไปเขากล่าวว่า โอ้ประชาชาติของฉัน! จงเคารพสักการะอัลลอฮ์เถิด ไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใด ๆ สำหรับพวกท่านอีกแล้วอื่นจากพระองค์ พวกท่านไม่ยำเกรงดอกหรือ?” (  อัลอะอฺรอฟ 65 ) และได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และยังประชาชาติซะมูตนั้น เราได้ส่งซอและฮ์ซึ่งเป็นพี่น้องของพวกเขาไป เขากล่าวว่าโอ้ประชาชาติของฉัน! จงเคารพสักการะอัลลอฮ์เถิด ไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใด ๆ สำหรับพวกท่านอีกแล้วอื่นจากพระองค์( อัลออฺรอฟ 73 ) และได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงรำลึกถึงลูฏขณะที่เขาได้กล่าวแก่ประชาชาติของเขาและได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และยังประชาชาติมัดยันนั้น เราได้ส่งชุอัยบ์ ซึ่งเป็นพี่น้องของพวกเขาไป(อัลอะฮฺรอฟ 85 ) และได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แล้วหลังจากพวกเขาเราได้ส่งมูซาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเราไปยังฟิรอาวน์และบรรดาบุคคลชั้นนำของเขา แต่พวกเขาได้ปฏิเสธศรัทธาต่อสัญญาณเหล่านั้น ดังนั้นเจ้าจงมองดูเถิดว่าบั้นปลายของบรรดาผู้ก่อความเสียหายนั้นเป็นอย่างไร( อัลอะอฺรอฟ 103 ) และได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงรำลึก เมื่ออีซา อิบนฺ มัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นศาสนทูตอัลลอฮฺของอัลลอฮฺมายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอฮฺก่อนหน้าฉัน ( อัศศ็อฟ 6 ) เพราะความเป็นสากลของศาสนาอิสลามที่ไม่เจาะจงกาลเวลาและสถานที่  อิสลามจึงสั่งให้มุสลิมทุกคนทำการเผยแพร่สารนี้แก่มนุษย์ทุกคนบนโลกไม่เว้นใคร  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และศาสนทูตอัลลอฮฺ ก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 143 ) ·    ศาสนาอิสลามจะคงอยู่ตลอดไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านบทบัญญัติและคำสอนต่างๆ ไม่ใช่ศาสนาที่ถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ผู้ซึ่งต้องเผชิญกับความอ่อนแอ   ความผิดพลาด  และตกอยู่ใต้อิทธิผลของหลายสิ่งรอบด้านเช่น ประสบการณ์  การสืบทอด และสังคม  เหล่านี้คือสิ่งที่เราพบเห็นกับตาตามความเป็นจริงในสังคม  การเปลี่ยนแปลงของระบบสังคมและกฎหมายต่างๆซึ่งเหมาะกับชนกลุ่มหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับกลุ่มอื่นๆ  เหมาะกับยุคหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับยุคอื่น  ตัวอย่างเช่น การปกครองแบบทุนนิยมที่เราเห็นจะไม่เหมาะกับการปกครองในระบบสังคมนิยม   ฉะนั้นทุกระบบการปกครอง ถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือคนตามความคิดเห็นและทัศนะส่วนตัวของเขา   ต่อมาระบบที่ว่านี้ก็ต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วยฝีมือคนที่มีประสบการณ์และความรู้มากกว่า .  ส่วนศาสนาอิสลามก็ตามที่เราได้กล่าวมาว่า  เป็นศาสนาแห่งพระเจ้า  ผู้ก่อตั้งคือพระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งมวล   ผู้ซึ่งรอบรู้ถึงความเหมาะสมของสถานการณ์มนุษย์และความต้องการของมนุษย์ในทุกเรื่อง   มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธและเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติของอัลลอฮฺได้ถึงเเม้เขาจะมีฐานะสูงส่งก็ตาม  เพราะอิสลามเป็นศาสนาที่รักษาสิทธิของทุกคน . อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ข้อตัดสินสมัยญาฮิลีญะฮ์ กระนั้นหรือ ที่พวกเขาปรารถนา และใครเล่าที่จะมีข้อตัดสินดียิ่งกว่าอัลลอฮ์สำหรับกลุ่มชนที่เชื่อมั่น( อัลมาอิดะฮฺ  50 ) ·       ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สามารถเข้ากับสถานการณ์   ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงเป็นศาสนาที่เหมาะสมกับทุกกาลเวลาและสถานที่ ซึ่งได้นำเสนอหลักการพื้นฐานทั่วไปและกฎเกณท์ที่ครอบคลุมทุกเรื่องอย่างมั่นคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยแวดล้อมใดๆ ดังเช่นหลักการด้านอะกีดะฮฺ ( หลักศรัทธา ) และหลักการด้านปฏิบัติเพื่อความภักดี ตัวอย่างเช่นการละหมาด  ทั้งจำนวนร็อกฺอัต ( จำนวนยืนนั่งในละหมาด )  เวลา และการเเจกจ่ายซะกาต พร้อมทั้งอัตราของมัน และสิ่งที่จำต้องเเจกจ่าย  การถือศีลอดพร้อมทั้งเวลาของมัน  และการประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมทั้งรูปแบบการปฏิบัติ  รวมถึงเวลาและขอบเขต  เป็นต้น        ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและทุกเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันล้วนแล้วมีการกล่าวถึงในคัมภีร์กุรอ่านซึ่งเราสามารถที่จะนำมาใช้ได้  ส่วนบางสิ่งที่ไม่บอกในกุรอ่านเราจะค้นหาสิ่งนั้นจากสายรายงานที่ถูกต้องจากท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) ซึ่งถ้าได้พบเจอในสิ่งนั้น  เราก็จะนำมาปฏิบัติ   แต่ถ้าไม่พบขั้นต่อไปคือเป็นหน้าของนักวิชาการอิสลามที่ต้องวินิจฉัยและค้นคว้าโดยอาศัยหลักการทั่วไปในกุรอ่านและวจนะท่านศาสนทูตมุฮัมมัด  และนำเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคมมาเทียบกับกฎแห่งศาสนาที่มีรากฐานมาจากกุรอ่านและวจนะท่านศาสนทูต   เช่น กฎที่ชื่อว่า : รากแท้ของทุกเรื่องคือ การอนุมัติ และกฎที่ว่า: รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ และกฎที่ว่า:การเน้นความสะดวกและละทิ้งความลําบากและกฎที่ว่า:การขจัดสิ่งที่เป็นภัย และกฎที่ว่า:  ปิดกั้นประตูนำสู่ความพินาศ และกฎที่ว่า: ความจำเป็นทั้งมวล อนุญาตให้ทำในสิ่งที่ต้องห้าม และกฎที่ว่า : ความจำเป็นทั้งมวล กำหนดปริมาณให้พอเพียงกับมัน และกฎที่ว่า :การป้องกันสิ่งอันตราย  ต้องมาก่อนการรวบรวมสิ่งมีประโยชน์ และกฎที่ว่า: การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่มีอันตรายน้อยกว่า  และกฎที่ว่า: อันตรายย่อมไม่กำจัดด้วยอันตราย และกฎที่ว่า : สละภัยส่วนตัวเพื่อกำจัดภัยส่วนรวม และกฎอื่นๆ การวินิจฉัยที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่า : จะสามารถทำตามความปรารถนาของจิตใจและความต้องการเเบบไม่มีขอบเขต  แต่การวินิจฉัยที่ว่านี้คือการเข้าไปถึงจุดมุ่งหมายที่นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ดีต่อมนุษย์โดยไม่ขัดเเย้งกับบทบัญญัติแห่งอิสลาม   เป้าหมายคือต้องการให้อิสลามเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้  และเหมาะสมกับความต้องการของสังคม ·    ศาสนาอิสลามไม่แบ่งชนชั้นและความเเตกต่างในการบริหารและปฏิบัติตามกฎหมายเพราะอิสลามถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีความเเตกต่างกันระว่างคนรวยกับคนจน   ระหว่างคนที่ฐานะสูงกว่ากับคนที่มีฐานะตํ่ากว่า  ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนธรรมดา   หรือระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ  ทุกคนเสมอกันในระบบการปกครองแบบอิสลาม  “ครั้งหนึ่งชาวกุร็อยชฺกำลังพูดถึงเรื่องราวหญิงคนหนึ่งจากเผามัคซูเมียะฮฺซึ่งโดนข้อหาขโมย  พวกเขากล่าวว่า ใครบ้างที่จะช่วยเจรจาเรื่องนี้กับท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ? พวกเขาตอบว่า  ไม่มีใครกล้าหรอกนอกจากคนที่ชื่ออุซามะฮฺ ลูกของ ซัยด์เท่านั้น เป็นที่รักของท่านศาสนทูต   หลังจากนั้นอุซามะฮฺได้ไปเจรจากับท่านศาสนทูตมุฮัมมัด และท่านตอบว่า  เจ้าต้องการขอให้ช่วยเหลือให้พ้นโทษของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ? ท่านได้ลุกขึ้นยืน และกล่าวปราศรัยว่า โอ้มนุษย์ทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า แท้จริงแล้วกลุ่มชนยุคก่อนพวกท่านได้ประสบความหายนะเพราะเมื่อผู้มีฐานะในจำนวนพวกเขาขโมย  พวกเขาละเลยไม่เอาผิด  และถ้าเมื่อไหร่คนอ่อนแอในจำนวนพวกเขาขโมยพวกเขาลงโทษเขา  ฉันขอสาบานว่า ถึงแม้ฟาตีมะฮฺลูกสาวของมุฮัมมัดขโมย  ฉันจะตัดมือเขา” ( เศาะฮีฮฺ มุสลิม 3/1315 เลขที่ 1688 )  ในศาสนาอิสลามจะมีรากฐานและเเม่บททางศาสนาที่ชัดเเจ้ง  ปราศจากข้อบกพร่องและการปรับปรุง  ดัดแปลงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง   ดังนั้น รากฐานที่มาของศาสนาอิสลามจะมีดังนี้ 1.      คัมภีร์กุรอ่าน อันทรงเกียรติ2.      ซุนนะฮฺศาสดามุฮัมมัด  ( แบบอย่างของท่าน ) ส่วนอัลกุรอ่าน นับตั้งแต่ที่ได้ประทานลงมาให้กับท่านศาสนทูตมุฮัมมัดจนถึงวันนี้  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และถูกดัดแปลง  ไม่ถูกปรับเพิ่มหรือลบบางส่วนได้   ท่านมุฮัดมัดได้ตระหนักใจการจดจำมันอย่างละเอียดโดยที่ท่านคัดเลือกบรรดาเหล่าสาวกของท่านมาเป็นผู้บันทึกและจารึกกุรอ่านอย่างดี พวกเขาคือ ท่านอะลี มุอาวียะฮฺ  อุบัย บิน กะอับ  และ ซัยดฺ บินซาบิต   ซึ่งทุกครั้งที่มีโองการอัลลอฮฺถูกประทานลงมาท่านจะสั่งบรรดาสาวกดังกล่าวจดบันทึกและแนะนำบททีควรบันทึกไว้   ดังนั้นโองการดังกล่าวจะถูกจารึกเป็นเล่ม  และถูกจารึกในทรวงอกเหล่าสาวกของท่าน   มุสลิมทุกคนจะให้ความสำคัญกับกุรอ่านมาก  พวกเขาต่างเเข่งขันเพื่อเรียนรู้กุรอ่านและสอนมันโดยหวังอย่างที่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว ความว่า : ผู้ประเสริฐสุดในจำนวนพวกคุณคือ ผู้ที่เรียนรู้กุรอ่านและสอนกุรอ่าน ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 4/ 1919 เลขที่ 4739 ) มุสลิมจะทุ่มเททั้งด้วยร่างและสรรพสิ่งเพื่อรับใช้และเอาใจใส่กุรอ่านให้คงอยู่ตลอดไปสืบต่อๆกันจนถึงยุคปัจจุบัน   พวกเขาจะท่องและอ่านกุรอ่านเพราะถือว่าการท่องและการอ่านเป็นการกระทำเพื่อแสดงความภักดีอย่างหนึ่ง  ท่านศาสนทูตกล่าว ความว่า : ใครที่อ่านส่วนหนึ่งของกุรอ่านแค่อักษรเดียวจะได้หนึ่งผลบุญ  และหนึ่งผลบุญเท่ากับสิบเท่า  ฉันไม่ได้กล่าวว่า ألم   (อะลีฟ ลาม มีม) คือหนึ่งตัวอักษร แต่ฉันคิดว่า  อะลีฟ (أ ) คือหนึ่งอักษร  ลาม (ل) หนึ่งอักษร และมีม ( م ) คือหนึ่งอักษร ( ทั้งหมดสาม แต่ละอักษรได้หนึ่งผลบุญ ) ( สุนัน ติรมีซี 5/175 เลขขที่ 2913 ) ส่วนซุนนะท่านศาสนทูต ( แบบอย่าง ) ถือว่าเป็นรากฐานข้อมูลของอิสลามอันดับที่สอง   ทำหน้าที่เพื่ออธิบายกุรอ่าน  และชี้แจงบทบัญญัติที่มีอยู่ในกุรอ่าน  แบบอย่างของท่านได้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีด้วยสายรายงานที่ดีจากบรรดาเหล่าสาวกของท่านผู้ซึ่งสละร่างและชีวิตของพวกเขาเพื่อการเรียนรู้แบบอย่างของท่านอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาเกี่ยวสายรายงานของมัน หรือเเม่บทของมัน  หรือทำการศึกษาระดับความถูกผิดของมัน  ตลอดคนเรื่องราวที่เกี่ยวกับสายรายงานของมันและระดับของพวกเขา   ฉะนั้นพวกเขาจะรายงานทุกการกระทำของท่านศาสนทูตมุฮัมมัดอย่างละเอียด   พวกเขาจะไม่ยึดเอานอกจากสิ่งที่พบว่ามีการรายงานอย่างถูกต้องจากท่านศาสนดามุฮัมมัด   อะไรที่ถึงมือเราถือว่าบริสุทธิ์ปราศจากการใส่ร้าย   บุคคลใดอยากจะศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจดบันทึกซุนนะท่านศาสนทูตก็สามารถที่จะศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับวิชานี้โดยเฉพาะ ซึ่งอิสลามเรียกวิชานี้ว่า (มุซเฏาะละฮฺ ฮะดิษ  )  ซึ่งเป็นวิชาเฉพาะเพื่อรับใช้ด้านนี้ ทั้งนี้บ่งบอกว่า แบบอย่างของท่านศาสนทูตมุอัมมัดทั้งวาจา การกระทำ  การยอมรับ ล้วนแล้วมีการายงานอย่างชัดเเจ้ง  ถึงมือเราอย่างถูกต้องแบบไม่ต้องสงสัย  จุดนี้แสดงให้เห็นว่า การทุ่มเทเพื่อรับใช้ด้านนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย . ·       ศาสนาอิสลาม ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกคนด้านความเป็นมา  ทั้งชายและหญิง   ขาวดํา  อาหรับหรือไม่ก็ตาม  ดังนั้นคนเเรกที่ถูกสร้างขึ้นมาคือ ท่านศาสนทูตอาดัม ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งมนุษย์ทั้งปวง   จากตัวของอาดัมได้สร้างภรรยาเขาที่ชื่อ ฮาวาอฺ  เจ้าเเม่แห่งมนุษย์  ซึ่งมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ต้องมาจากเชื้อสายของท่านทั้งสอง  ดังนั้นเสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีที่มาอันเดียวกัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้น ซึ่งบรรดาชายและบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกัน ด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ ( อันนิซาอฺ 1 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวซึ่งความว่า : แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ขจัดความหยิ่งยะโสและ ความโอ้อวดด้านเครือญาตของยุคญะฮิเลียะฮฺ ( ยุคแห่งความงมงายของอาหรับก่อนอิสลาม )  ทั้งมุอฺมิน ( ผู้ศรัทธา ) ผู้ยําเกรง  คนเลวผู้โชคร้าย  และมนุษย์ทั้งปวงล้วนแล้วมาจากอาดัม และอาดัมมาจากดิน( ดู มุสนัด อิมามอะฮฺมัด 2/361 เลขที่ 8721 ) ดังนั้น  มนุษย์ทุกคนที่มีอยู่และกำลังจะมีต่อไปในเเผ่นดินนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากเชื้อสายอาดัม  ซึ่งเดิมแล้วอยู่ในศาสนาอันเดียวกัน  ภาษาเดียวกัน  แต่ด้วยเหตุที่พวกเขามีจำนวนมากและเพิ่งขึ้นเรื่อยๆก็เลยเเยกเเยะกันอยู่บนเเผ่นดิน   แพร่กระจ่ายไปทั่วโลก  ส่งผลให้เกิดความเเตกต่างทางด้านภาษา  สีผิว  และพฤติกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะสถานการณ์ความเป็นอยู่ของแต่ละที่ถือว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเเตกต่าง   และแน่นอนความเเตกต่างในลักษณะนี้จะส่งผลให้เกิดความเเตกต่างด้านความคิด   ความเป็นอยู่   สุดท้ายส่งผลให้เกิดความเเตกต่างด้านความเชื่อ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และมนุษย์นั้นไม่ใช่อื่นใด นอกจากเป็นประชาชาติเดียวกัน และพวกเขาก็แตกแยกกัน และหากมิใช่ลิขิตได้บันทึกไว้ที่พระเจ้าของพวกเจ้าแล้วแน่นอนก็คงถูกตัดสินระหว่างพวกเขา ในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน ( ยูนุส 19 ) คำสอนอิสลามให้ความเสมอภาคเเด่ทุกคนต่อหน้าองค์อภิบาลอัลลอฮฺ  โดยไม่แบ่งเเยกกันเพราะปัจจัยด้านเชื้อชาติ  สีผิว ภาษาและประเทศ  ทุกคนเท่าเทียมกันในการปฏิบัติตามบทบัญัติแห่งอิสลาม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง  และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน  แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ.นั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า  แท้จริงอัลลอฮ.นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน( อัลฮุจญ์รอต 13 )   เนื่องด้วยความเเตกต่างที่ว่านี้  อิสลามจึงมีความเห็นว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันในด้านความอิสระที่มีขอบเขตเป็นอันดับเเรก  หมายถึงขอบเขตในศาสนาปราศจากความอิสระที่เหมือนสัตว์  ความอิสระที่ว่านี้  ส่งผลให้มนุษย์ได้รับสิทธิดังต่อไปนี้ :1.   อิสระด้านความคิด และแสดงเหตุผล   ดังนั้นอิสลามเน้นให้ทุกคนที่นับถืออิสลามกล่าวแต่ความดีและเสนอความคิดและแนวคิดที่สร้างสรรค์มีจุดประสงค์   ให้พวกเขายืนยัดกับสัจธรรมอย่างแน่แท้ไม่หวาดหวั่นคำตําหนิของคน . ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวความว่า :  การญีฮาด( การต่อสู้ในหนทางอัลลอฮฺ ) ที่ดีเลิศคือการที่เจ้ากล้าพูดความจริงต่อหน้าผู้มีอํานาจหรือหัวหน้าผู้อธรรม(ดูสุนันอะบีดาวูด 4/124 เลขที่4344 ) บรรดาสาวกท่านศาสนทูตมุฮัมมัดต่างเเข่งขันเพื่อปฏิบติตามหลักการอันนี้  คนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านอุมัร  ผู้ปกครองอิสลามสมัยนั้น ว่า โอ้อามีรมุมินีน(ผู้ปกครองของมุสลิม ) เจ้าจงยําเกรงอัลลอฮฺเถิด   แล้วอีกคนที่ฟังก็ลุกขึ้นปฏิเสธและกล่าวทันที่ว่า  นี่คุณว่าอามีร  จงยําเกรงด้วยกระนั้นเหรอ ? ท่านอุมัรตอบทันทีว่า ปล่อยเขาเถอะ ให้เขาพูดออกมา เพราะความดีจะไม่บังเกิดขึ้น ถ้าพวกคุณไม่ว่าอะไรเรา   และความดีจะไม่บังเกิดขึ้นเหมือนกันถ้าพวกเราไม่ยอมรับจากพวกคุณ .   ในเหตุเช่นนี้เหมือนกันครั้งหนึ่งท่านอาลีได้ทำการตัดสินในบางเรื่องโดยใช้ความคิดส่วนตัวของท่าน  เมื่อท่านอุมัรได้ถูกถามถึงเรื่องดังกล่าว ท่านตอบว่า ถ้าให้ฉันตัดสิน ฉันคงตัดสินในลักษณะอื่น   มีคนถามว่า  แล้วมีเหตุอันใดที่ห้ามท่านไม่ให้โต้ตอบอาลีวันนั้น ? ท่านตอบว่า ถ้าเรื่องนั้นมีในอัลกุรอ่านและแบบอย่างของท่านศาสนทูตมุฮัมมัดฉันโต้ตอบแน่  แต่มันเป็นแค่ความคิด  และแน่นอนความคิดย่อมเท่าเทียมกัน   ไม่มีใครรู้หรอกว่า ความคิดไหนที่ถูกต้องกว่าในสายตาของพระองค์อัลลอฮฺ   2.      ทุกคนมีอิสระเท่าเทียมกันในการแสวงหาและครองปัจจัยยังชีพ  อัลลออฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงอย่าปรารถนาในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้แก่บางคนในหมู่พวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคน สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้ และสำหรับหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้ ( อันนิซาอฺ 32 ) 3.      ทุกคนมีโอกาสในการรับรู้และศึกษา  และอิสลามถือว่าเป็นสิ่งที่บังคับให้ทำด้วย ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวความว่า :  การแสวงหาวิชาความรู้เป็นเรื่องวาญิบ ( บังคับให้ทำ ) กับมุสลิมทุกคน( ดูสุนัน อิบนุ มาญะฮฺ 1/81 เลขที่ 228 ) 4.      ทุกคนมีสิทธิได้รับประโยชน์จากสิ่งรอบด้านในจักรวาลนี้อย่างเท่าเทียมกันแต่ในขอบเขตที่ศาสนากำหนด  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พระองค์คือผู้ทรงทำแผ่นดินนี้ให้ราบเรียบสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นจงสัญจรไปตามขอบเขตของมันและจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระองค์ และยังพระองค์เท่านั้นการฟื้นคืนชีพ( อัลมุลกฺ 15 ) 5.      ทุกคนมีสิทธิในการรับตําเเหน่งการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน แต่ด้วยเงื่อนไขที่ว่า มีสิทธิและมีความสามรถพอ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :ใครได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำชาวมุสลิม แล้วแต่งตั้งบุคคลใดสักคนเนื่องจากความรู้สึกรักใคร่ต่อกันเพื่อดูเเลเรื่องราวของมุสลิม  สำหรับเขาคือคำสาปเเช่งของอัลลอฮฺ   และพระองค์ไม่ทรงตอบรับความบริสุทธิ์และความยุติธรรมจากเขาอีกจนกว่าจะไล่เขาให้เข้านรกญะฮัมนัม ( ชื่อนรก ) และใครได้มอบให้กับบุคคลอื่นซึ่งของต้องห้าม  แน่นอนเขาได้ละเมิดของที่อัลลอฮฺห้ามโดยไม่ชอบธรรม  สำหรับเขาคือการสาปเเช่งของอัลลอฮฺ  หรือ ท่านกล่าวว่า ฉันไม่สนใจเขาภายใต้ความรับผิดชอบของอัลลอฮฺอิสลามได้บอกแก่เราว่า   การมอบอำนาจให้คนที่ไม่เหมาะสมคือการทำลายความซื่อสัตย์ซึ่งเป็นการเตือนว่า  โลกนี้ใกล้สูญเสียทุกทีแล้ว  และวันกิยามัตจะเกิดขึ้นอีกไม่นาน( วันสิ้นสุดของโลกนี้ )  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :   เมื่อความซื่อสัตย์หายไปจงรอวันกิยามัต    มีคนถามว่า โอ้ ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺความซื่อสัตย์หายไปอย่างไร?  ท่านตอบว่า  เมื่อให้หน้าที่ความรับผิดชอบเเด่คนที่ไม่เหมาะสมจงรอวันกิยามัตเถิด ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 5/2382 เลขที่ 6131 ) ·     ในศาสนาอิสลามไม่มีคำว่า  อํานาจวิญญาณ  เหมือนอํานาจที่ให้เฉพาะแก่ผู้นำศาสนาอย่างที่เราพบเห็นในศาสนาอื่น   เหตุผลคือ อิสลามมาเพื่อกำจัดทุกสื่อที่เป็นตัวกลางระหว่างพระองค์อัลลอฮฺกับบ่าวพระองค์  อัลลอฮฺได้ตําหนิพวกมุซรีกีน( คนที่ทำภาคีต่ออัลลอฮฺ ) ที่นำสื่อมาเป็นตัวกลางระหว่างอัลลอฮฺกับบ่าว  ดังนั้นอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พึงทราบเถิด การอิบาดะฮฺ(การปฏิบัติตามคําสั่งของอัลลอฮฺเพื่อการภักดี)โดยบริสุทธิ์ใจนั้นเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว  ส่วนบรรดาผู้ที่ยึดถือเอาบรรดาผู้คุ้มครองอื่นจากอัลลอฮฺ โดยกล่าวว่าเรามิได้เคารพภักดีพวกเขา เว้นแต่เพื่อทำให้เราเข้าใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ( อัซซุมัร   3 ) อัลลอฮฺได้อธิบายให้เราว่า  บรรดาสื่อทั้งหมดไม่ได้ให้เกิดผลดี ผลร้ายแก่พวกเขาหรอก   เพราะมันเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺสร้างขึ้นมาเหมือนพวกเขาไม่มีผิด   ดังนั้นพระองค์ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ที่พวกเจ้าวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮ์นั้นคือ ผู้ที่เป็นบ่าวเยี่ยงพวกเจ้านั้นเอง จงวิงวอนขอต่อพวกเขาเถิด แล้วจงให้พวกเขาตอบรับพวกเจ้าด้วย หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง( อัลอะอฺรอฟ 194 ) อิสลามสนับสนุนให้เราผูกพันอัลลอฮฺโดยตรงไม่มีสื่อช่วย  เป็นการผูกพันที่ยืนบนรากฐานเเห่งอิมาน ( การศรัทธา ) และการมอบตัวอย่างบริสุทธิ์ในทุกเรื่อง อาทิเช่น การขอความช่วยเหลือ  การขอไถ่โทษ    ใครที่มีบาปจงยกมือวิงวอนขออัลลอฮฺ  เรียกร้องพระองค์อย่างจริงจัง   ขอความกรุณาให้พระองค์ปลดบาปให้ไม่ว่าบ่าวจะอยู่ที่ไหน  และในสถานการณ์ใด  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และผู้ใดที่กระทำความชั่วหรืออธรรมแก่ตัวเอง แล้วเขาขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่าอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยโทษเป็นผู้ทรงเมตตา( อันนิซาอฺ 110 ) ดังนั้น ในอิสลามไม่มีคนที่เรียกว่า ( ริญาลุดดีน ) เจ้าแห่งศาสนาที่คอยให้การอนุมัติหรือห้าม   หรือ ปลดบาป  โดยตั้งตัวเองว่าเป็นทูตแทนพระเจ้ายังบ่าว   คอยแต่งบทบัญญัติให้คน หรือ คิดค้นหลักศรัทธาขึ้นมา  หรือคอยปลดบาปพวกเขา   ให้สิทธิแก่คนเข้าสวรรค์ตามใจชอบ    ออกคำสั่งห้ามใครที่พวกเขาต้องการ   เพราะอิสลามถือว่า ผู้มีสิทธิในการออกบัญญัติคือพระองค์เท่านั้นเพียงผู้เดียว . ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด กล่าวในขณะที่ท่านอธิบายโองการอัลลอฮฺซึ่งความว่า :พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาดหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ ( อัตเตาบะฮฺ 31 ) ท่านกล่าวว่า  พึงรู้เถิดว่า พวกเขาไม่ได้เคารพบูชาบุคคลเหล่านั้นที แต่เมื่อไหร่ที่บุคคลเหล่านั้นอนุมัติสิ่งใดพวกเขาจะตาม   และเมื่อไหร่ที่บุคคลเหล่านั้นห้ามพวกเขาทำตาม  ( ดูสุนัน ติรมีซี 5/278 เลขที่ 3095 ) ·        ศาสนาอิสลาม คือศาสนาที่ยึดเอาแนวการซูรอย์ ( ขอคำแนะนำและปรึกษาร่วมกัน ) ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับด้านศาสนาและทางโลก อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้ตอบรับต่อพระเจ้าของพวกเขาและดำรงละหมาด และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขาและเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เครื่องปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา( อัซซูรอ 38 ) ระบบซูรอย์  คือสิ่งปรารถนาหลักในบัญญัติแห่งอิสลาม  ด้วยเหตุนี้ท่านศาสนทูตอิสลาม จึงได้สั่งให้ปฏิบัติตาม   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขาและถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ( อาละอิมรอน  159 ) ระบบซุรอย์  เป็นระบบหนึ่งที่นำไปสู่ความถูกต้องและผลประโยชยน์ที่ดีเลิศ   มุสลิมสมัยอิสลามเพิ่งมาเเรกๆได้ปฏิบัติหลักการซุรอย์นี้กับเรื่องศาสนาและดุนยา ( ทางโลก ) ของพวกเขา  จนทำให้เรื่องราวของพวกเขารุ่งโรจน์และไปด้วยดี  เมื่อไหร่ที่พวกเขาเฉออกจากหลักการนี้พวกเขาเลยต้องเผชิญกับความตํ่าต้อยในเรื่องศาสนาและทางโลกของพวกเขา ·       ศาสนาอิสลาม ได้บัญญัติสิทธิความชอบธรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ในทุกระดับชั้น  เพื่อที่พวกเขาจะอยู่อย่างมีความรักใคร่ระหว่างกัน   บรรลุผลประโยชน์ทางศาสนา  รุ่งเรืองในทางโลก   เริ่มด้วยสิทธิของพ่อเเม่   และสิทธิของลูกหลาน   สิทธิของบรรดาญาติ และคนใกล้บ้าน   สิทธิของเพื่อนฝูง ...เป็นต้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด( อันนิซาอฺ 36 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า จงอย่าได้อิจฉาระหว่างกัน  หรือเเกล้งให้ราคาสิ้นค้าเเพงขึ้น หรือ สร้างความโกรธระหว่างกัน หรือ หันหน้าเพื่อนสหายเมื่อเจอกัน  หรือ การเสนอสิ้นค้าตัวเองในราคาที่ถูกกว่าให้กับคนซื้อที่กำลังจะซื่อสิ้นค้าคนอื่น   และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺอย่างเป็นพี่น้องกัน  มุสลิมคือพี่น้องของมุสลิม  ไม่กดขี่เขา  ไม่ทอดทิ้งเขา ไม่ดูถูกเขา   การศรัทธาอยู่ที่นี้และท่านได้ชี้ไปที่หน้าอกสามครั้ง   บุคคลหนึ่งจะดูถูกเพื่อนมุสลิมด้วยกันตามระดับความเลวที่เขามี  มุสลิมกับมุสลิมเป็นที่ต้องห้ามเพราะเลือด   สรรพสิ่ง  และศักดิ์ศรี   ( เศาะฮีฮฺ มุสลิม4/1986 เลขที่ 2564 ) ท่านได้กล่าวอีกว่า :คนหนึ่งในจำนวนพวกเจ้าจะไม่ศรัทธา นอกจากเขาจะรักเพื่อพี่น้องเขาดังที่เขารักเพื่อตัวเอง  ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/14 เลขที่ 13 ) ถึงแม้ศัตรูอิสลามย่อมมีสิทธิของพวกเขา  พ่อของอะซีซ บิน อุมัยรฺพี่น้องมัศอับ บิน มุมัยรฺ  เล่าว่า ครั้งหนึ่งฉันตกเป็นเฉลยสงครามในสงครามบะดัร  และท่านศาสนทูตมูฮัมมัดกล่าวว่า  จงทำดีกับเฉลยทุกคน  และครั้งหนึ่งฉันอยู่กับบรรดาพวกชนอันศอร( เหล่าสาวกท่านศาสนทูตที่พํานัก ณ นครมะดีนะฮฺ ) เมื่อพวกเขายกอาหารกลางวันและอาหารกลางคืนให้ฉัน   พวกเขาจะกินแค่ลูกอินทผาลัมแล้วจะเสียสละขนมปังให้ฉันกิน เนื่องจากคำสั่งเสียของท่านศาสนทูตที่ให้กับพวกเขา ( ดูอัลมุอฺญัม เศาะฆีร 1/250 เลขที่ 409 ) และยิ่งไปกว่านั้น อิสลามได้ให้สิทธิแก่สัตว์เช่นกัน  ท่านศาสนทูตกล่าว  ความว่า : ผู้ใดฆ่านกตัวเดียวอย่างไร้สาระ  มันจะกลับไปหาอัลลอฮฺวันกิยามัตและกล่าวว่า  โอ้พระเจ้าของฉันแท้จริงแล้วคนนั้นได้ฆ่าฉันไปอย่างไร้สาระ  ไม่ได้ฆ่าฉันเพื่อประโยชน์อันใด  ( เศาะฮีฮฺ อิบนุฮิบบาน 13/214 เลขที่ 5894 ) และรายงานจากอิบนุอุมัร ซึ่งวันหนึ่งท่านได้เดินผ่านกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่ง  พวกเขากำลังรวมตัวกันยิงเป้าไปยังนกตัวหนึ่งแล้วทิ้งจำนวนลูกศรที่ไม่โดนให้กับเจ้าของนก  เมื่อพวกเขาเห็นท่านอุมัรเลยเเยกย้ายกันวิ่งหนี   ท่านอุมัรกล่าวว่า ใครเป็นคนทำ ? การสาปเเช่งอัลลอฮฺเเด่คนที่ทำ  แท้จริงแล้วท่านศาสนทูตมุฮัมมัดทรงสาปเเช่งคนที่นำสัตว์ที่มีวิญญาณมาเป็นจุดยิงเป้า  ( เศาะฮีฮฺมุสลิม 3/ 1550 เลขที่ 1958 ) วันหนึ่งท่านศาสนทูตได้เดินผ่านแล้วพบเจออูฐตัวหนึ่งซึ่งท้องของมันบางเกือบจรดหลังของมันเพราะความหิว ท่านกล่าวว่า  จงยําเกรงอัลลอฮฺให้แก่สัตว์เดียรัจฉาน จงขับขี่มันในฐานะที่มันดี จงกินเนื้อมันในฐานะที่มันดี( เศาะฮีฮฺ อิบนุคุซัยมะฮฺ 4/143 เลขที่ 2545 ) อิสลามได้ให้สิทธิเเด่กลุ่มชนมากกว่าคนเดียว  และเเด่คนเดียวมากกว่ากลุ่มชนในบางกรณี   บุคคลหนึ่งทำงานเพื่อบุคคลส่วนรวม   ส่วนบุคคลส่วนรวมทำงานเพื่อบุคคลหนึ่ง   ท่านศาสนทูต กล่าวว่า คนมุอฺมิน ( คนศรัทธา ) กับมุอฺมินเปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างซึ่งแต่ละคนต่างเสริมสร้างให้เเข็งแรงซึ่งกันและกัน  แล้วท่านเอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน ( เศาฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/182 เลขที่ 467 ) ในกรณีที่เกิดความขัดเเย้งกันระหว่างผลผระโยชน์สวนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมให้ยึดเอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน  เช่นการทำลายบ้านที่เอนเอียงทำท่าจะล้มเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหลังจากจ่ายค่าเสียหาย  รายงานจากสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ ว่า เขามีต้นไม้อินทผาลัมใกล้รั้วของคนอันศอร์  เขาเล่าว่า พร้อมคนอันศอร์มีภรรยาเขาด้วย  ทุกครั้งที่สามุเราะฮฺเข้าไปหาต้นอินทผาลัมของเขาสร้างความรบกวนแก่เขามาก   เลยเขาขอให้สะมุเราะฮฺขายให้เขา  หรือไม่ก็ อนุญาติให้ค้นย้ายได้  แต่สะมุเราะฮฺไม่ยอม  คนอันศอรฺได้ฟ้องท่านสาสนทูตถึงเรื่องดังกล่าว  ท่านศาสนทูตขอให้สะมุเราะฮฺขายให้เขา หรือ ปล่อยให้คนอันศอร์ค้นย้ายต้นอินทผาลัมให้  แต่สะมุเราะฮฺไม่ยอม   ท่านศาสนทูตขอให้เขามอบให้ท่านและพร้อมที่ให้ค่าทดแทนให้  แต่สะมเราะฮฺยังดื้อดึงไม่ยอมทำตาม  สุดท้ายท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  คุณคือตัวสร้างปัญหา  จากนั้นท่านจึงสั่งให้คนอันศอร์ไปถอนต้นอินทผาลัมทันที ( สุนันบัยฮะกีย์ 6/157 เลขที่ 11663 )        ·        ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งความเมตตา  ชักชวนคนให้ทิ้งห่างความรุนแรงในหลักสั่งสอนอิสลาม  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า บรรดาผู้เมตตาทั้งหลายอัลลอฮฺเมตตา จงเมตตาต่อมนุษย์ชาวโลก  บรรดาชนที่อยู่บนฟากฟ้าย่อมเมตตาท่าน  ความเมตตาเป็นส่วนหนึ่งของนามอัลลอฮฺ  ผู้ใดรักษามัน อัลลอฮฺรักษาเขา  ผู้ใดตัดขาดมัน อัลลอฮฺตัดขาดเขา ( อัลมุสตัดรอกฺอะลัศเศาะฮีฮัยนฺ 4/175เลขที่7274 ) อิสลามไม่ได้เจาะจงว่าให้เมตตาต่อมนุษย์เท่านั้น ทว่าจะรวมถึงสัตว์ด้วย   ผู้หญิงคนหนึ่งได้เข้านรกเพราะทารุนต่อสัตว์  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  ผู้หญิงคนหนึ่งได้ถูกลงโทษเพราะเเมวที่เขาขังไว้จนตาย แล้วเข้านรก  เธอไม่ได้ให้อาหารมัน  ไม่ให้น้ำมันตลอดเวลาที่กะขังมัน  และไม่ปล่อยมันเพื่อมันจะได้หาอาหารกินเอง ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 3/1284 3295 ) ในทางตรงข้าม ความเมตตาต่อสัตว์คือหนทางสู้สวรรค์ได้ ท่านศาสนทูตได้กล่าวความว่า : ในขณะที่ชายหนุ่มคนหนึ่งได้เดินบนท้องถนนเขารู้สึกกระหายอย่างแรง  แล้วไปเจอบ่อน้ำแห่งหนึ่ง  เขาจึงลงไปในบ่อแล้วดื่มน้ำ  หลังจากที่เขาปีนขึ้นมาเขาเจอหมาตัวหนึ่งเเลบลิ้นด้วยความกระหายกำลังเลียดินเปียก  เขากล่าวในใจว่า  แน่นอนหมาตัวนี้กระหายน้ำเหมือนที่ฉันเคยกระหายน้ำ  เขารีบลงไปในบ่อทันทีและเอาร้องเท้าใส่น้ำแล้วให้หมากิน   อัลลอฮฺชมเชยการกระทำของเขาเลยพระองค์ปลดบาปเขา   บรรดาเหล่าสาวกที่ฟังอยู่ถามท่านว่า  แล้วเราได้ผลบุญด้วยเหรอจากการกระทำของเราต่อสัตว์? ท่านตอบว่า ใช่ การทำดีต่อสัตว์มีชีวิตทุกชนิดได้ผลบุญ ( บุคอรีย์ 2/870 เลขที่ 2334 ) ที่ผ่านมาคือความเมตตาปราณีที่อิสลามมีต่อสัตว์   ซึ่งเน้นหนักอย่างดี   ฉะนั้นการเมตตาของอิสลามที่มีต่อมนุษย์ย่อมมากกว่านั้นอีกในฐานะที่มนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุด  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่ ( อัลอิสรออฺ 70 ) ·       ศาสนาอิสลามไม่มีระบบบวชเป็นพระหรือชีและการตัดขาดทางโลกโดยไม่สนใจแม้แต่นิดเดียว  หรือไม่ลิ้มรสชาติของสิ่งดีๆที่อัลลอฮฺสร้างมาเพื่อบริการบ่าว   ท่านศาสนาทูตอิสลามกล่าวความว่า :  พวกเจ้าอย่าเข้มงวดกับตัวพวกเจ้ามากเกินไปดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงเข้มงวดกับพวกเจ้าด้วย  แท้จริงแล้วชนกลุ่มหนึ่งได้เคร่งและเข้มงวดกับตัวพวกเขามากเกินไปเลยอัลลอฮฺเข้มงวดกับพวกเขา  เหล่านั้นคือลักษณะนิสัยของบุคคลที่พํานักอยู่ในกุฏิและอาศรม   ( การบวชเป็นพระหรือชีคือสิ่งที่พวกเขาคิดค้นมาเอง  เราไม่ได้บัญญัติให้พวกเขาปฏิบัติทํา )  ( สุนันอะบีดวูด 4/276 เลขที่ 4904 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวความว่า :  พวกเจ้าจงกินและดื่มแล้วจงบริจาคทานไม่ฟุ่มเฟือยหรือ ชิงดีกัน  แท้จริงแล้วอัลลอฮฺชอบเห็นร่องรอยเนียะอฺมัตพระองค์ ( สิ่งที่อัลลอฮฺให้บ่าวทั้งมวล ) บนตัวบ่าวพระองค์ ( อัลมุสตัดรอกฺ 4/150 เลขที่ 7188 ) อิสลามไม่ใช่ศาสนาที่เน้นหนักทางโลกอย่างเดียว  เพียงแต่หมกมุ่นอยู่กับรสชาติและความสนุกสนานในโลกนี้เกินขอบเขต   ทว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ยึดแนวกลางแบบพอดีๆ  รวบรวมทั้งสองทาง ทางศาสนาและทางโลก   ไม่เน้นให้เน้นหนักกับทางหนึ่งแล้วละอีกทาง   ดังนั้นอิสลามสั่งให้ปฏิบัติต่ออย่างพอเพียงกันระหว่างร่างกายกับจิตใจ   เมื่อไหร่ที่มุสลิมมั่วแต่หมกมุ่นกับทางโลกมากเกินไปอิสลามสอนให้นึกถึงด้านจิตใจและความต้องการของมันโดยทำในสิ่งที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้( อัลญุมอะฮฺ 9 ) เมื่อไหร่ที่มุสลิมมั่วแต่หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องการทำอิบาดะฮฺ ( การงานที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺ ) ให้คำนึงถึงสภาพความต้องการของร่างกายบ้าง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ( อัลญุมอะฮฺ 10 ) อิสลามได้ยกย่องคนที่ยึดเอาสองลักษณะดังกล่าวข้างบน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :บรรดาชายผู้ที่การค้าและการขายมิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการดำรงละหมาด และการจ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น( อันนูร 37 ) อิสลามได้นำหลักสูตรที่รักษาทั้งสองด้าน ร่างกายและจิตใจ  จะเห็นได้ว่า สมองก็มีสิทธิของเขาตามที่อิสลามกำหนดสิทธิให้มันโดยไม่ให้มากเกินไป หรือละเลยไป  ดังนั้นอิสลามกำหนดให้มุสลิมทุกคนหมั่นตรวจสอบตนเองและไตร่ตรองในสิ่งที่ตัวเองทำไปหรือทุกการกระทำที่ออกมาจากตัวเขา   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน ( อัลซัลซะละฮฺ 7-8 ) และมุสลิมทุกคนไม่ควรเอาใจใส่เพียงแต่ความสุขของร่างกาย ด้วยการแสวงสุขเท่านั้น เอาแต่เน้นเรื่องกิน  ดื้ม  การแต่งกาย และการแต่งงาน  ตามคำสั่งที่อัลลอฮฺตรัส    ความว่า : จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าผู้ใดเล่าที่ให้เป็นที่ต้องห้าม ซึ่งเครื่องประดับร่างกาย  จากอัลลอฮ์ ที่พระองค์ได้ทรงให้ออกมาสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดาสิ่งดี ๆ จากปัจจัยยังชีพ( อัลอะอฺรอฟ 32 ) อิสลามไม่ทรงห้ามนอกจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในทุกด้านอาทิเช่น  ด้านสมอง   ด้านร่างกาย   สรรพสิ่งเงินทอง  หรือสังคม        ดังนั้นอิสลามได้สร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ก็เพื่อให้ใช้ในทางที่เป็นการภักดีต่อ อัลลอฮฺ และเพื่อให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม   บุคคลใดก็ตามย่อมไม่มีสิทธิที่จะทำลายมันเด็ดขาด นอกจากตามสิทธิความชอบธรรมที่อิสลามกำหนด    และอัลลอฮฺได้สร้างร่างพร้อมจิตวิญญาณด้วยอย่างสมบูรณ์เข้ากันได้ดี  จุดประสงค์คือให้จิตวิญญาณทำการภักดีอัลลอฮฺผ่านร่างที่อัลลอฮฺสร้างมา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง( อัตตีน  4 ) ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺบังคับให้เราอนุรักษ์ร่างกายและเอาใจใส่มันอย่างดีให้อยู่ในขอบเขตแห่งศาสนา  โดยการปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้ : 1-      ทำความสะอาดร่างกาย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด( อัลบะเกาะเราะฮฺ 222 ) ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามสั่งให้อาบน้ำละหมาดทุกครั้งที่ต้องการละหมาด ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด กล่าวว่า :ไม่มีการตอบรับ การละหมาดที่ไร้ความสะอาด  และไม่มีการตอบรับการบริจาคทานที่มาจากการคดโกงกัน ( เศาะฮีฮฺ มุสลิม 1/ 204 เลขที่ 224 ) เช่นเดียวกัน  อิสลามบังคับให้อาบด้วยน้ำหลังร่วมประเวณี  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ (คือจะด้วยการสมสู่กับภริยาหรือมีอสุจิหลั่งออกด้วยเหตุใดก็ตาม) ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด( อัลมาอิดะฮฺ 6 ) แล้วอิสลามจัดให้การอาบน้ำเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ทำในบางพิธีทางศาสนาเช่น ก่อนละหมาดญุมอะฮฺ( ละหมาดวันศุกร์)ก่อนละหมาดในวันอีด( ละหมาดในวันรื่นเริงของอิสลามทั้งสอง คือ  อีดิ้ลฟิตริ  และ  อีดิ้ลอัฎฮา ) และในช่วงทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ( เป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งโดยมุ่งไปทำที่ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบีย )  เป็นต้น  2-หมั่นทำความสะอาดอวัยวะร่างกาย  เช่น - การล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร และหลัง  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด กล่าวว่า  “ความบะร่อกะฮฺ ( ความจำเริญ ) ของอาหารคือการล้างมือก่อนและหลังกิน”  ( สุนันติรมีซีย์ 4/281 เลขที่ 1846 ) - การทำความสะอาดปากหลังรับประทานอาหาร  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า "ผู้ใดรับประทานอาหาร  อันไหนที่ฟังเคี้ยวได้จงกลืนมันไป  อันไหนที่หลงเหลือเเละออกมาจากปากเนื่องจากการเเคะฟันจงคายมัน  ใครทำถือว่าเป็นการดี  ใครไม่ทำถือว่าไม่เป็นไร” (อัลมุสตัดรอกฺ 4/152 เลขที่ 719 ) - เอาใจใส่เรื่องทำความสะอาดฟันและปาก   เช่นการใช้ซิวาก ( ใช้เเปรงฟัน ) เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ถ้าไม่เป็นการลําบากสำหรับประชาชาติของฉัน  ก็จงใช้ซิวากในทุกครั้งก่อนละหมาด” (มุสลิม 1/220 เลขที่ 7199 ) - ทำความสะอาดหรือขจัดสิ่งสกปรกที่เป็นต้นเหตุของเชื้อโรค ท่านศาสนาทูตกล่าวว่า  อัลฟิตเราะฮฺ ( สิ่งควรทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ) มีห้าอย่าง หนึ่ง การขลิบปลายองค์ชาติ สอง การไว้ทุกข์ สามการถอนขนรักเร้  สี่การขลิบขนหนวด ห้าการตัดเล็บ . ( บุคอรีย์ 5/2320 เลขที่ 5939 ) 3-การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน     ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮ์เถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 172 ) ส่วนวิธีการที่ดีที่สุดในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม คือ ตามที่ท่านศาสนทูตอธิบาย  ความว่า : “ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์ใส่อาหารจนเต็มจะเลวร้ายไปกว่าท้องของมนุษย์เอง  เพียงพอเเล้วโอ้มนุษย์เอ่ย เเค่สองสามคําที่จะทําให้กระดูกสันหลังของคุณเเข็งเเรง  ถ้าหากจําเป็นต้องกินก็ขอให้เเบ่งสามส่วน  หนึ่งส่วนสามสำหรับอาหารของเขา  หนึ่งส่วนสามสําหรับเครื่องดื่มของเขา  เเละหนึ่งส่วนสามสําหรับลมหายใจของเขา”  ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 12/41 เลขที่ 4236 )  4-ห้ามรับประทานอาหารหรือเสพสิ่งที่สกปรกและไม่บริสุทธิ์ เช่น สัตว์ที่ตายโดยไม่เชือด   เลือด  สุกร  สุรา  ยาเสพติด  และบุหรี่   ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความปลอดภัยของร่างกายมนุษย์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ที่จริงที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มันเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ  ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 173 ) และอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานอีก ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอนดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ  ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนันเท่านั้นและมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่   ( อัลมาอิดะฮฺ90-91 ) 5- หมั่นเล่นกีฬาที่มีสาระ  เช่น มวยปลํ้า  ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตเเข่งเล่นมวยปลํ้ากันกับสาวกท่านหนึ่งที่ชื่อรุกานะฮฺ  ท่านสามารถเอาชนะเขาได้    หรือ การเเข่งขันความเร็วหรือความเเข็งแรง  รายงานจากท่านหญิงอาอิซะฮฺภรรยาท่านศาสนทูต กล่าวว่า “ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺมุฮัมมัดได้เเข่งวิ่งเร็วกับฉัน  แต่ฉันเเซงท่านได้  เราหยุดพักชั่วเวลาหนึ่ง จนกระทั่งฉันรู้สึกว่าตัวฉันเริ่มอวบขึ้น ท่านเเข่งวิ่งเร็วกับฉันอีกครั้ง  ท่านสามารถเเซงฉันได้   ท่านกล่าวว่า : อันนี้คู่กับครั้งที่เเล้ว” ( เศาะฮีฮฺ  อิบนุฮิบบาน 10/545 เลขที่ 4691 ) นอกจากนี้ให้หมั่นเล่นกีฬาอื่นๆด้วยอาทิ การว่ายนํ้า ยิงธนู  ขี่ม้า  ได้มีการรายงานจากท่านอุมัร บิน อัลค็อตฏ็อบ   คอลีฟะฮฺที่สอง ( ผู้นำคนที่สองหลังจากท่านศาสนทูตมุฮัมมัดเสียชีวิต)  ท่านกล่าวว่า  : “พวกท่านจงสอนลูกๆ ให้เรียนการยิงธนู  การว่ายนํ้า และ การขับขี่ม้า” -  หมั่นรักษาสุขภาพร่างกายเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นไข้  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ประทานโรคและยารักษา  และในแต่ละโรคมียารักษา  พวกเจ้าจงรักษา  และอย่ารักษากับสิ่งที่ทรงห้าม” ( สุนัน อบีดาวูด 4/ 7 เลขที่ 3874 )  อัลลอฮฺสั่งให้กระทำการภักดีต่อพระองค์ ตามที่พระองค์ทรงใช้ให้ทำ และเพื่อเป็นอาหารสำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์  ซึ่งช่วยขัดเกลาจิตใจให้ออกห่างจากความกังวลที่จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ พึงทราบเถิด!ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ      ( อัรเราะอฺดุ 28 ) อิสลามถือว่า การไม่เอาใจใส่ต่อสุขภาพ  ไม่ให้สิทธิแก่มันอย่างพอเพียงไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหาร  การพักผ่อน  การผ่อนคลายทางเพศอย่างถูกต้องตามที่ศาสนากำหนด  เป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น รายงานโดยอานัส บิน มาลิก   กล่าวว่า “มีบุคคลสามกลุ่มมาที่บ้านภรรยาของท่านศาสนทูตมุฮัมมัดเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของท่าน   ครั้นเมื่อพวกเขาได้คําตอบ พวกเขาต่างพูดคุยกันว่า พวกเราจะกระทำในส่วนใดตามแบบอย่างของท่านศาสนทูตมุฮัมมัดเพื่อให้อัลลอฮฺทรงอภัยโทษในบาปของเรา  บุคคลหนึ่งในจำนวนพวกเขากล่าวว่า  ฉันจะละหมาดตลอดคืน   อีกคนกล่าวว่า  ฉันจะถือศีลอดตลอดวันจะไม่ละศีลอดเป็นอันขาด  คนต่อไปกล่าวว่า ฉันจะไม่เข้าใกล้ผู้หญิง  และจะไม่แต่งงานตลอดไป   ทันทีที่ท่านศาสนทูตผ่านมาได้ยิน ท่านกล่าวว่า พวกท่านได้กล่าวเช่นนั้น  พึงรู้เถิดว่า ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ฉันคือคนที่ยําเกรงต่อพระองค์มากกว่าพวกท่าน  แต่ฉันนั้นถือศีลอดและละศีลอด  ฉันละหมาดและพักผ่อนนอนหลับ  และฉันได้แต่งงาน  ใครก็ตามที่เกลียดชังแบบอย่างของฉัน  ถือว่าเขาไม่ใช่พวกฉัน” ·       อิสลามคือศาสนาเห่งความรู้   สนับสนุนให้แสวงหาความความรู้และเรียนรู้  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ที่เขาเป็นผู้ภักดีในยามค่ำคืน ในสภาพของผู้สุญูด และผู้ยืนละหมาดโดยที่เขาหวั่นเกรงต่อโลกอาคิเราะฮฺ และหวังความเมตตาของพระเจ้าของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกระนั้นหรือ?) จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ?  แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ ( อัซซุมัร  9 )   อิสลามได้แบ่งความรู้ที่ต้องแสวงหาออกเป็นสองประเภทด้วยกัน  หนึ่งความรู้ที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน คือ  เรื่องของศาสนาและการดำเนินชีวิตของเขา   สองความรู้ที่จำเป็นต่อส่วนรวม  คือ ความรู้ที่บุคคลในสังคมได้เรียนรู้แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ระหว่างกัน    ไม่มีสิ่งใดทางโลกที่อัลลอฮฺสั่งให้ท่านศาสนทูตแสวงหามัน นอกจากสิ่งนั้นเป็นความรู้อย่างหนึ่ง ดังนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และจงกล่าวเถิด “ข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย( ฏอฮา 114 ) อิสลามให้เกียรติความรู้และบรรดาผู้รอบรู้ทั้งหลาย   ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ผู้ใดไม่เคารพผู้ใหญ่ หรือไม่เมตตาคนที่อ่อนวัยกว่า และไม่รู้จักสิทธิที่บรรดาผู้รอบรู้ของเราควรได้รับ  ถือว่าเขาไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากประชาชาติฉัน” (มุสนัด อิมามอะฮฺมัด 5/323 เลขที่ 22807 ) อิสลามได้ยกฐานะบรรดาผู้มีความรู้ทั้งหลาย  และให้เกียรติพวกเขาอย่างมาก  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว  ความว่า : “ความประเสริฐของคนที่มีความรู้ย่อมมากกว่าความประเสริฐของคนที่ขยันทำการภักดีเพื่อส่วนตัวเท่านั้น  เหมือนๆตัวของฉันเองที่ประเสริฐกว่าคนอื่นๆในจำนวนพวกท่าน”( ดูสุนันติรมีซีย์ 5/50 เลขที่ 2685 ) อิสลามเน้นหนักในการเผยแพร่ความรู้และการแสวงหาความรู้  ถือว่าการเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ และการเผยแพร่ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺที่ดียิ่ง   ซึ่งผลตอบแทนสำหรับเขานั้นมากมาย  และอิสลามถือว่าการแสวงความรู้คือหนทางหนึ่งสู่ประตูสวรรค์  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าว  ความว่า :  “ใครที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้   เขาย่อมอยู่ในหนทางอัลลอฮฺจนกระทั่งเขากลับถึงบ้าน. ( สุนัน ติรมีซีย์ 5/29 เลขที่ 2647 ) และท่านได้กล่าวอีกว่า  “ไม่มีผู้ใดที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้นอกจากอัลลอฮฺจะให้ความสะดวกแก่เขาเนื่องจากการกระทําดังกล่าวในการเดินทางไปสู่สวรรค์  และผู้ใดที่การงานของเขามีความล่าช้าเเละเถลไถล( เพราะความมักง่ายของเขา )   ต้นตระกูลของเขาจะไม่ทำให้มันรวดเร็วได้”( หมายถึงการงานของเเต่ละคน จะดีหรือชั่วหรือมากน้อยเพียงใดไม่ได้ขึ้นอยู่กับญาติตระกูลของเขา )  ( อัลมุสดัดรอกฺ  1/165 เลขที่ 229 ) อิสลามไม่ได้ส่งเสริมเฉพาะการศึกษาความรู้ด้านศาสนาเท่านั้น  แต่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ในด้านอื่นๆด้วย   เพราะการแสวงหาความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺเช่นกัน     ความรู้ดังกล่าวคือความรู้ที่จำเป็นต้องแสวงหาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มนุษย์ปรารถนาที่จะรู้   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน     ความว่า :เจ้ามิได้พิจารณาดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วเราได้ให้พืชผลงอกเงยออกมาด้วยกัน (จากน้ำ) สีสรรของมันแตกต่างกันไป  และในหมู่ภูเขาทั้งหลายมีชนิดต่าง ๆ ขาวและแดง หลากหลายสี  และสีดำสนิท( ฟาฏีร 27 ) จากโองการข้างต้นชวนให้คิดและใคร่ครวญเพื่อให้ได้ซึ่งการยอมรับว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมมีผู้สร้าง   และขณะเดียวกันก็เป็นการเชิญชวนให้เราใช้ประโยชน์ของมันอย่างคุ้มค่า   เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ที่มีความรู้เกี่ยวเนื่องกับโองการข้างต้นมิใช่นักวิชาการศาสนา  แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะซึ่งมีความสามารถที่จะค้นคว้าสิ่งต่างๆในจักรวาล  และชี้แนะประโยชน์จากสิ่งนั้น    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องนี้  เช่น เราไม่สามารถรับรู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเมฆ  หรือการเกิดเมฆ  แล้วกลายเป็นฝนได้ นอกจากจะเรียนรู้วิชาเคมีและฟิสิกส์  เราไม่สามารถรับรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกต้นไม้  พืชผัก นอกจากเราต้องเรียนรู้วิชาเกษตร   เราจะไม่สามารถรับรู้เกี่ยวกับภูเขาและเเผ่นดินตลอดจนความหลากหลายของมันได้นอกจากว่าเราจะต้องเรียนรู้วิชาธรณีวิทยา   และเราไม่สามารถรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์  นิสัยและเชื้อชาติของพวกเขา  หรือเกี่ยวกับสัตว์มีชีวิตนานาและธรรมชาติของมันได้นอกจากเราจำต้องเรียนรู้วิชาชีวะวิทยา  เป็นต้น.   *  อิสลาม คือศาสนาที่เน้นการควบคุมในเชิงส่วนตัว  ด้วยเหตุนี้เองมุสลิมทุกคนจึงต้องพยายามควบคุมวาจาและการงานของเขาให้อยู่ในกรอบที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานหรือห่างไกลจากสิ่งพระองค์กริ้ว เพราะมุสลิมรู้ว่าเขาอยู่ภายใต้การมองเห็นของอัลลอฮฺตลอดเวลา    ดังนั้นเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ  และจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่อัลลอฮทรงห้าม   เช่น  มุสลิมหลีกห่างจากการขโมยเพราะยําเกรงอัลลอฮฺ  ไม่ใช่เพราะหวาดกลัวต่อตํารวจ   เช่นนี้เป็นต้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากว่าเจ้ากล่าวเสียงดัง เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับ และสิ่งซ่อนเร้น ( ฏอฮา 7 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวอธิบายคำว่า “อิหฺซาน”  ว่า  “( อิหฺซานคือ ระดับหนึ่งของการภักดีต่ออัลลอฮฺ )  ในขณะที่ท่านกระทำการงานที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺ ( เช่นละหมาด ) จงกระทำเสมือนกับว่าท่านมองเห็นอัลลอฮฺ   ถ้าท่านไม่รู้สึกว่าท่านกำลังมองเห็นพระองค์  ให้นึกเถิดว่าพระองค์ทรงเห็นท่าน”  ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/27 เลขที่ 50 ) อิสลามได้เสนอหลักการการควบคุมในเชิงส่วนตัวดังนี้ : * การศรัทธาว่า มีพระเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพเพียงองค์เดียวเท่านั้น  ผู้ทรงสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาล   ทุกอย่างเป็นไปด้วยความปรารถนาของพระองค์  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เข้าไปในแผ่นดิน และสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน  และสิ่งที่ลงมาจากฟากฟ้าและสิ่งที่ขึ้นไปสู่ฟากฟ้าและพระองค์ทรงอยู่กับ พวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และ อัลลอฮ.ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ( อัลหะดีด 4 ) การรอบรู้ของพระองค์จะครอบคลุมเรื่องต่างๆที่ไม่มองเห็นกับตาได้ เช่นจิตใจและการกระซิบกระซาบของมัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และโดยแน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา  และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก.( ก็อฟ 16 ) *  การศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นชีพและการกลับไปสู่อัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน    ความว่า :และพระองค์คือผู้ที่ทรงให้พวกเจ้าตายในเวลากลางคืน และทรงรู้สิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำขึ้นในเวลากลางวัน แล้วก็ทรงให้พวกเจ้าฟื้นคืนชีพในเวลานั้น เพื่อว่าเวลาแห่งอายุที่ถูกกำหนดไว้นั้นจะได้ถูกใช้ให้หมดไป แล้วยังพระองค์นั้นคือการกลับไปของพวกเจ้า แล้วพระองค์จะทรงบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน ( อัลอันอาม 60 ) *  การศรัทธาต่อวันแห่งการสอบสวนเป็นการส่วนตัว  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และไม่มีผู้แบกภาระคนใดจะแบกภาระของผู้อื่นได้( อัลอันอาม 164 ) *  ทุกคนย่อมได้รับการสอบสวนในทุกการกระทำและการพูดของเขา  การงานที่ดีย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดี  การงานที่เลวย่อมได้รับการลงโทษที่สาสม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน  ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน( อัลซัลซะละฮฺ 7-8 ) * การยอมรับว่า  ความรักเละการภักดีต่อเอกองค์อัลลอฮฺและท่านศาสนทูตพระองค์ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากบรรดาบิดาของพวกเจ้า และบรรดาลูก ๆ ของพวกเจ้า และบรรดาพี่น้องของพวกเจ้า และบรรดาคู่ครองของพวกเจ้า และบรรดาญาติของพวกเจ้า และบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออก และบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และการต่อสู้ในทางของพระองค์แล้วไซร้ ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งกำลัง  ของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด" ( อัตเตาบะฮฺ 24 )  *  ศาสนาอิสลามได้เพิ่มผลบุญของการงานที่ดีเท่าตัว  หรือเป็นหลายเท่า  ส่วนการงานที่เลวนั้น การตอบแทนก็เพียงเท่าตัวของมัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ใดที่นำความดีมา เขาก็จะได้รับสิบเท่าของความดีนั้น และผู้ใดนำความชั่วมาเขาจะไม่ถูกตอบแทน นอกจากเท่าความชั่วนั้นเท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรม ( อัลอันอาม 160 ) อิสลามได้ให้ผลตอบแทนกับเนียตที่ดี ( เจตนาที่ดี ) แม้นว่าเขายังไม่ลงมือทำ   ถ้าเขาเนียตอยากทำสิ่งดีแต่ยังไม่ได้ทำเขาย่อมได้ผลบุญส่วนนี้หรืออาจจะเกินกว่านี้  เมื่อใดที่มุสลิมปรารถนาจะกระทำสิ่งที่ไม่ดีแต่เขายังไม่ได้ลงมือกระทำเนื่องจากความหวาดกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮฺ  เขาย่อมได้รับการตอบแทนส่วนนี้เพราะเขาได้ละทิ้งสิ่งดังกล่าวด้วยเจตนาที่ดีเพื่ออัลลอฮฺ  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า :  “เมื่อบ่าวของข้าปรารถนาจะกระทำสิ่งที่ไม่ดี พวกเจ้าอย่าได้บันทึกมันจนกว่าเขาจะลงมือทำ  หากเขาลงมือทำก็จงบันทึกทันที  และถ้าเขาละทิ้งมันเพื่อข้า  พวกเจ้าจงบันทึกมันด้วยการตอบแทนที่ดีต่อเขา  และหากบ่าวของข้าปรารถนากระทำสิ่งที่ดีแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ  พวกเจ้าจงบันทึกแก่เขาซึ่งผลตอบแทนที่ดี  และถ้าเขาได้ลงมือทำมัน  พวกเจ้าจงบันทึกแก่เขาเป็นสิบเท่าของการตอบแทน จนถึงเจ็ดร้อยเท่า” (เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 6/2724 เลขที่ 7062 ) บางครั้งความต้องการทางอารมณ์ที่อิสลามอนุมัติย่อมเปลี่ยนไปเป็นการภักดีอย่างหนึ่งถ้าได้ทำมันด้วยเนียตและความตั้งใจที่ดี ตัวอย่างเช่น การกินการดื่มของมุสลิมถ้าเขาทำเพื่อหวังรักษาสุขภาพร่างกายหรือต้องการเสริมสร้างพลังเพื่อให้สามารถใช้ในการแสวงปัจจัยยังชีพได้  หรือ เพื่อใช้พลังส่วนนั้นในการปฏิบัติตามคําสั่งของอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่แสดงถึงการภักดีต่ออัลลอฮฺหรือการงานอื่นๆ อาทิ  การเลี้ยงดูครอบครัวและคนที่อยู่ภายใต้ความผิดชอบของเขา  การกระทำของเขาในเชิงที่ว่านี้ถือว่าได้รับการตอบเทน  ท่านศาสนทูตได้กล่าว  ความว่า : “เมื่อใดที่ชายคนหนึ่งได้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อครอบครัวของเขาด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่  สำหรับเขาคือ ผลบุญเท่ากับการบริจาคทาน” ( เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/30 เลขที่ 55 ) กรณีเดียวกันถ้ามุสลิมได้ปฏิบัติเพื่อตอบสนองอารมณ์ทางเพศกับภรรยาของเขาซึ่งเป็นวิธีการที่อนุญาตให้กระทำ โดยจุดประสงค์ของเขาคือ ต้องการความบริสุทธิ์และห่างไกลจากการประพฤติชั่ว เขาจะได้รับการตอบแทนที่ดีและการกระทำของเขาถือว่าเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺอย่างหนึ่ง ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ณ ที่อวัยวะเพศของพวกท่าน คือการบริจาคทานอย่างหนึ่ง   พวกเขาถามว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ  บางคนในหมู่พวกเราได้แสวงหาความสุขทางเพศของเขา  เขาจะได้ผลบุญเพราะการกระทำดังกล่าวด้วยหรือ ? ท่านตอบว่า พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า  ถ้าเขาใช้มันในหนทางที่ไม่อนุญาต เขาจะได้รับบาปจากการกระทำนั้น ดังนั้น ถ้าเขาใช้มันในหนทางที่อนุญาตให้กระทำ  เขาย่อมได้ผลบุญด้วย” ( มุสลิม 2/697 เลขที่ 1006 ) เช่นกัน ทุกการกระทำของมุสลิม  หากได้ลงมือทำมันด้วยความตั้งใจที่ที่ดี  ถือว่าเป็น เศาะดาเกาะฮฺ ( การบริจาคทานอย่างหนึ่ง ) ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “มุสลิมทุกคนต้องบริจาคทาน  พวกเขาถามว่า ถ้าไม่มีสิ่งใดเล่า ? ท่านตอบว่า ดังนั้นจงทำงานด้วยสองมือของท่านที่เป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน  แล้วจึงบริจาคทาน   พวกเขาถามอีกว่า: จะทำอย่างไรหากไม่สามารถกระทำได้ ?   ท่านตอบว่า : ดังนั้นให้ท่านช่วยเหลือคนที่ยากไร้  พวกเขาถามอีกว่า : ถ้าไม่สามารถกระทำได้ ? ท่านตอบว่า : ดังนั้นให้ชักชวนคนให้ทำดีหรือพูดแต่ความดี  พวกเขาถามอีกว่า : ถ้าไม่กระทำได้อีกเล่า ?  ท่านตอบว่า ให้เขาหยุดการกระทำที่ไม่ดี  สำหรับเขาคือ การเศาะดาเกาะฮฺ เช่นกัน” ( บุคอรีย์ 5/2241 เลขที่ 5676 ) *  อัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ผู้ที่เตาบะฮฺ (สำนึกผิดและกลับใจ) กับสิ่งที่ได้กระทำผิดไป  และเสียใจกับกระทำที่ผ่านมา  และมีความรู้สึกว่าจะไม่กลับไปหามันอีกแล้ว  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮ์ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮ์ทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม เละพวกเขาไม่ผิดประเวณี  เเละผู้ใดกระทําเช่นนั้นเขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์  การลงโทษในวันกิยามะฮ์จะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว และศรัทธาและประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละอัลลอฮ์จะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ( อัลฟุรกอน 68-70 ) ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของอัลลอฮฺ  ส่วนสิทธิของมนุษย์นั้นแน่นอนต้องคืนสิทธิให้มนุษย์ตามที่เขาสมควรได้รับ  หรือขออภัยในสิ่งที่ได้กระทำผิดต่อเขา. อิสลามได้เสนอทางออกที่ดีแก่คนที่กระทำผิดและได้แนะนำวิธีการแก้ปัญหาจิตใจของคนประเภทนี้โดยการเปิดประตูเตาบะฮฺ ( กลับตัว ) แก่เขา ให้เขารู้สึกเข็ดกลัวและไม่อยากกลับไปหามันอีก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ  แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ( อัซซุมัร 53 ) อิสลามได้เปิดประตูเตาบะฮฺแก่เขาด้วยความสะดวกง่ายดาย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และผู้ใดที่กระทำความชั่วหรืออธรรมแก่ตัวเอง แล้วเขาขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่าอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยโทษเป็นผู้ทรงเมตตา( อันนิซาอฺ 110 ) ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือกรณีของผู้ที่เป็นมุสลิม ส่วนผู้ที่รับอิสลามใหม่  อิสลามได้ให้รางวัลแก่เขาด้วยการตอบแทนแก่เขาเป็นสองเท่าเนื่องจากความศรัทธาที่เขามีต่อท่านศาสนทูตมุฮัมมัดหรือต่อสาส์นของท่าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :บรรดาผู้ที่เราประทานคัมภีร์แก่พวกเขามาก่อนมัน (อัลกุรอาน) พวกเขาศรัทธาในมัน (อัลกุรอาน)  และเมื่อ (อัลกุรอาน) ได้ถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขากล่าวว่า “เราศรัทธาในมัน แท้จริงมันคือสัจธรรมมาจากพระเจ้าของเรา แท้จริงเราเป็นผู้นอบน้อมมาก่อนนี้   ชนเหล่านั้นจะได้รับรางวัลของพวกเขาสองครั้งเนื่องจากเขาได้อดทนและพวกเขาป้องกันความชั่วด้วยความดีและพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา( อัลเกาะศ็อศ 52-54 )  ไม่เฉพาะสิ่งดังกล่าวเท่านั้นทีเขาสมควรได้รับ  เพราะนอกจากนั้นแล้วเขาจะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺทั้งหมด รวมทั้งความผิดที่เขาได้กระทำมาก่อนเข้ารับอิสลาม เพราะท่านศาสนทูตได้กล่าวต่ออัมรฺ บิน อัลอาศ ครั้นที่เขาให้สัตยาบันกับท่านด้วยเงื่อนไขคือต้องการให้ปลดบาป   ว่า “ท่านไม่ทราบดอกหรือว่าอิสลามจะขจัดบาปทั้งหมดที่ผ่านมา” ( มุสลิม 1/112 เลขที่ 121 ) อิสลามให้ประกันการงานที่ดีของผู้นับถือด้วยการตอบแทนที่ดีหลังความตาย   โดยยึดเอาการงานที่ดีของเขาเป็นหลักในการตอบแทน   ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “เมื่อใดที่มนุษย์ตายไป  ทุกการงานของเขาจะจบสิ้นนอกจากสามสิ่งเท่านั้น คือ การบริจาคทานของเขา   ความรู้ที่มีสาระ  และลูกที่ดีที่วิงวอนขอเพื่อเขา”  (มุสลิม 3/1255 เลขที่ 1631 ) และท่านได้กล่าวว่า “ใครที่ชักชวนคนไปสู่ทางนำแห่งอิสลาม  เขาย่อมได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของคนที่ตามเขา  ไม่มีการลดให้ตํ่ากว่า  ส่วนใครที่ชักชวนคนไปในทางที่หลงผิด  สำหรับเขาคือบาปกรรมเท่ากับบาปกรรมของคนที่ตามเขาไม่มีการลดให้ต่ำกว่าแม้เพียงน้อยนิด” ( มุสลิม 4/2060 เลขที่ 2674 ) ด้วยเหตุนี้เอง  สิ่งที่ผลักดันให้มุสลิมทุกคนหมั่นพัฒนาสังคมด้วยการเสนอสิ่งดีๆหรือ ช่วยเหลือในสิ่งที่ดี หรือ ขับไล่สิ่งต่างๆที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของสังคม   คือความบริสุทธิ์ในสมุดบันทึกของเขาในวันปรโลกนั่นเอง* อิสลามให้ความเคารพสติปัญญาและความคิด  ส่งเสริมให้ใช้มันอย่างถูกวิธี อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และในการบังเกิดพวกเจ้า และสิ่งที่พระองค์ทรงให้สัตว์แต่ละชนิดแพร่สะพัดออกไปนั้นย่อมเป็นสัญญาณหลากหลายสำหรับหมู่ชนผู้เชื่อมั่น และการสับเปลี่ยนของกลางคืนและกลางวัน และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงหลั่งลงมาจากฟากฟ้า เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพนั้น พระองค์ทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาโดยน้ำฝนหลังจากการแห้งแล้งของมัน และการเปลี่ยนทิศทางเดินของลมย่อมเป็นสัญญาณหลากหลายสำหรับหมู่ชนผู้ใช้สติปัญญา ( อัลญาซียะฮฺ 4-5 )   ดังกล่าว  คือลักษณะเด่นของอายะฮฺกุรอานซึ่งส่วนมากจะกล่าวเรียกร้องให้ใช้สติปัญญาในการใคร่ครวญ  เช่นจะกล่าวว่า “สูเจ้าไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญบ้างหรือ ?  สูเจ้าไม่ไตร่ตรองดอกหรือ  ? สูเจ้าไม่คิดบ้างหรือ?” เป็นต้น   อิสลามสอนให้ใช้สติปัญญาคิดและใคร่ครวญแต่เฉพาะในสิ่งที่เห็นกับตาและสัมผัสมันได้  ส่วนเรื่องราวซึ่งเป็นเรื่องเร้นลับถือว่าเป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ยกเว้นบางเรื่องที่พระองค์ทรงบอกเเก่บรรดาท่านศาสนทูตของพระองค์  ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาอธิบายเรื่องดังกล่าวให้กับประชาชาติของพวกเขา  การคิดและใคร่ครวญในสิ่งที่รู้สึกมันไม่ได้   สติปัญญาส่องไม่ถึง หรือการใช้สมองไปในสิ่งนั้นถือว่าสูญเสียพลังสมองและทุ่มเทมันในสิ่งที่ไร้สาระอิสลามให้ความเคารพสติปัญญา ให้เกียรติ  และปลดปล่อยสติปัญญาออกจากการเป็นผู้ตามโดยไร้เหตุผล  ฉะนั้นอิสลามได้ตําหนิคนที่ตามคนอื่นโดยไม่ใช้วิทยปัญญา  หรือคนที่ตามรอยบรรพชนรุ่นก่อนๆโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องทางวิทยปัญญาและหลักฐานที่ชัดเจน   การกระทำในเชิงที่ว่านี้ถูกตําหนิด้วยโองการอัลลอฮฺที่ว่า  ความว่า :และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่าจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาเถิดพวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ เราจะปฏิบัติสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้นและแม้ได้ปรากฏว่า บรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใด และทั้งไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องก็ตามกระนั้นหรือ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 170 ) *ศาสนาอิสลาม คือศาสนาแห่งธรรมชาติตามวิสัยของมนุษย์ที่ถูกต้อง ไม่ขัดกับธรรมชาติหรือวิสัยของมนุษย์ที่อัลลอฮฺสร้างมา  อิสลามเรียกสิ่งนี้ว่า ฟิฏเราะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์บนฟิฏเราะฮฺดังกล่าว  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ธรรมชาติของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ ( อัรรูม 30 ) แต่ธรรมชาติดั้งเดิมที่ว่านี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการรอบด้าน  ซึ่งอาจทำให้มนุษย์หันเหออกจากแนวทางที่เที่ยงตรงได้   ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้กล่าวว่า “ไม่มีลูกคนใดที่ถูกคลอดนอกจากเขาจะถูกคลอดออกมาในธรรมชาติดั้งเดิมของเขา  ดังนั้นพ่อแม่เขาจะเปลี่ยนเขาให้เป็นยิวบ้าง  หรือให้เป็นคริสต์บ้าง  หรือ เป็นมะญูซีบ้าง ( ศาสนาที่บูชาไฟเป็นหลัก )”  จากจุดนี้แสดงให้เห็นว่า อิสลามคือศาสนาที่เที่ยงตรง อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงฉันนั้น พระเจ้าของฉันได้แนะนำฉันไปสู่ทางอันเที่ยงตรง คือศาสนที่เที่ยงแท้อันเป็นแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาความจริง และเขา(อิบรอฮีม) ไม่เป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ให้มีภาคีขึ้น ( อัลอันอาม 161 ) ไม่มีสิ่งใดในอิสลามที่สติปัญญายอมรับไม่ได้   สติปัญญาที่บริสุทธิ์ย่อมเป็นสักขีพยานที่ดีต่อศาสนบัญญัติแห่งอิสลาม  ดังนั้นข้อบังคับและข้อห้ามในอิสลามคือความยุติธรรม ไม่มีการกดขี่  ไม่ห้ามปรามสิ่งใดนอกจากว่าสิ่งนั้นมีภัย เป็นอันตราย หรือความเสื่อมเสียของมันมากกว่าผลประโยชน์  ใครที่ได้พิจารณาจากโองการต่างๆ ในกุรอ่านหรือจากวัจนะท่านศาสนทูตย่อมรับรู้ถึงความหมายที่ว่านี้อย่างไม่ต้องสงสัย.ศาสนาอิสลามได้ปลดปล่อยจิตใจมนุษย์จากการเป็นทาสต่อคนอื่นๆนอกเหนือจากอัลลอฮฺไม่ว่าเขาจะเป็นท่านศาสนทูตผู้นำสารอัลลอฮฺมาก็ตาม  หรือถึงขั้นมลัก( เทวทูต ) ผู้ใกล้ชิดก็ตาม   อิสลามปลดปล่อยจากการเป็นทาสพร้อมชี้นำไปสู่แนวทางแห่งอิมาน( การศรัทธา )  เป็นพลังทางจิตใจของมุสลิม  ถึงขั้นนั้นแล้วเขาจะไม่หวาดกลัวต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว   เขาจะเชื่อว่าไม่มีใครที่จะให้คุณประโยชน์และโทษใดๆ แก่เขาได้นอกจากอัลลอฮฺ   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พวกเขาได้เคารพบูชาพระเจ้าอื่นๆ จากพระองค์ โดยที่พระเจ้าเหล่านั้นมิได้สร้างสิ่งใดทั้ง ๆ ที่พวกเขาถูกสร้างขึ้นมา และพวกเขาไม่มีอำนาจที่จะให้โทษและให้คุณแก่ตัวเองได้ และพวกเขาไม่มีอำนาจควบคุมความตายและความเป็นและการฟื้นคืนชีพ( อัลฟุรกอน 3 ) อิสลามถือว่า ทุกสิ่งอยู่ในพระประสงค์ของอัลลอฮฺเท่านั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกข์ภัย ประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดปลดเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนาความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์จะทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์  และพระองค์จะเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ( ยูนุส 107 ) ส่วนท่านศาสนทูตมุฮัมมัดก็คือคนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยฐานะที่สูงส่ง ณ ที่อัลลอฮฺ  แต่มีคุณลักษณะไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : จงกล่าวเถิดว่า (มุอัมมัด) ว่าฉันไม่มีอำนาจที่จะครอบครองประโยชน์ใด ๆ และโทษใด ๆ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตัวของฉันได้ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์เท่านั้น และหากฉันเป็นผู้ที่รู้สิ่งเร้นลับแล้ว แน่นอนฉันก็ย่อมกอบโกยสิ่งที่ดีไว้มากมายแล้ว และความชั่วร้ายก็ย่อมไม่ต้องฉันได้ ฉันมิใช้ใครอื่น นอกจากผู้ตักเตือนและผู้ประกาศข่าวดีแก่กลุ่มชนที่ศรัทธาเท่านั้น”(อัลอะอฺรอฟ 188 ) * อิสลามได้ปลดปล่อยจิตใจมนุษย์ออกจากความทุกข์   ความหวาดกลัว  ความสับสน  เพื่อให้ได้มาซึ่งการแก้ไขปัญหาต่อไปนี้ ตัวอย่างเช่น *ถ้าหวาดกลัวความตาย อัลลอฮฺตรัสให้เรารับรู้ว่า    ความว่า :และมิเคยปรากฏแก่ชีวิตใดที่จะตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่ถูกกำหนดไว้ และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในโลกนี้ เราก็จะให้แก่เขาจากโลกนี้ และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในปรโลก เราก็จะให้แก่เขาจากปรโลกและจะตอบแทนแก่ผู้กตัญญูทั้งหลาย ( อาละอิมรอน 145 ) *ถ้าหวาดกลัวความยากจนและทุกข์ยาก อัลลอฮฺตรัสให้เรารับรู้     ความว่า :และไม่ว่าสัตว์ตัวใดที่เหยียบย่ำอยู่ในแผ่นดิน เว้นแต่เครื่องยังชีพของมันเป็นหน้าที่ของอัลลอฮ์ และพระองค์ทรงรู้ที่พำนักของมันและที่พักชั่วคราวของมัน ทุกสิ่งอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้ง ( ฮูด 6 ) *ถ้าหวาดกลัวการเจ็บไข้หรือการได้รับเคราะห์กรรม  อัลลอฮฺตรัสให้เรารับรู้    ความว่า :ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ( อัลฮะดีด 22-23 ) *ถ้าหวาดกลัวมนุษย์ที่จะมาทำอันตรายต่อตนเอง  ท่านศาสนทูตของเรากล่าวให้เรารับรู้ว่า   “หมั่นรักษาสิทธิต่ออัลลอฮฺเถิด  แล้วอัลลอฮฺจะทรงรักษาท่าน  หมั่นนึกถึงอัลลอฮฺเสมือนพระองค์อยู่ต่อหน้าท่าน   รู้จักอัลลอฮฺในยามสบายเถิด  แล้วอัลลอฮฺจะรู้จักท่านในยามยาก  ถ้าท่านวิงวอนขอ  จงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ   หากท่านต้องการความช่วยเหลือจงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ   ปากกาได้จดบันทึกทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาแล้ว   ดังนั้นถ้ามนุษย์พยายามจะให้คุณประโยชน์ท่านในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงกำหนดให้เกิดขึ้น  พวกเขาไม่สามารถให้อะไรกับท่านได้   ถ้ามนุษย์พยายามจะทำร้ายท่านในสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ได้กำหนดให้เกิดขึ้น  พวกเขาก็ไม่สามารถทำอะไรกับท่านได้    ดังนั้นถ้าท่านสามารถทำสิ่งใดด้วยความอดทนอย่างแน่วแน่ท่านจงทำ   ถ้าไม่สามารถทำท่านจงอดทนไว้   เพราะการอดทนต่อสิ่งไม่พึงปรารถนาย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า   พึงรู้เถิดว่าสิ่งที่มาพร้อมกับความอดทนนั้นคือชัยชนะ  และพึงรู้เถิดว่าสิ่งที่มาพร้อมกับความทุกข์นั้นคือทางออก  และพึงรู้เถิดว่าสิ่งที่มาพร้อมกับความยากลําบากนั้นคือความสะดวกสบาย”  ( อัลมุสดัดเราะกฺ 3/623 เลขที่ 6323 ) *  ศาสนาอิสลาม คือศาสนาแห่งการประนีประนอมและเน้นกึ่งกลางทางด้านศาสนาและทางโลก   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และศาสนทูตอัลลอฮฺ ก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 143 ) - อิสลามคือศาสนาที่เน้นความสะดวกและง่ายดายในการปฏิบัติ  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  “แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงส่งฉันมาเพื่อนำความยุ่งยากให้กับบ่าวของอัลลอฮฺ  แต่ฉันถูกส่งมาเพื่อเป็นผู้สอนและผู้ให้ความสะดวก” ( มุสลิม 2/1104 เลขที่ 1478 ) หลักสั่งสอนของอิสลามเน้นความสะดวกง่ายดายเป็นหลัก และสนับสนุนให้แสวงหาความสะดวกสบาย ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “พวกเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่ทุกคน  อย่าทำให้เขาผินหน้าไป   พวกเจ้าจงให้ความสะดวกแก่เขา  อย่าสร้างความยุ่งยากแก่พวกเขา”  ( มุสลิม 3/1358 เลขที่ 1732 ) - อิสลามคือศาสนาที่เผื่อเเผ่และเมตตา  รายงานโดยท่านหญิงอาอิซะฮฺ ภรรยาท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ท่านกล่าวว่า “ได้มีบุคคลสามกลุ่มจากชาวยิวมาเข้าพบท่านศาสนทูต พวกเขากล่าวว่า อัซซามุอะลัยกุม ( ความหายนะจงมีเเด่พวกท่าน )   ท่านหญิงอาอิซะฮฺกล่าวว่า ฉันเข้าใจความหมายที่พวกเขากล่าวได้ดี  ฉันเลยตอบว่า  วะอะลัยกุมุซซาม  วะ ละอฺนะฮฺ  ( เช่นกันสำหรับพวกท่านคือความหายนะและความสาปเเช่ง ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดตําหนิฉันเเละกล่าวว่า : ค่อย ๆหน่อย โอ้ อาอิซะฮฺ  แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงชอบความเมตตาปรานีในทุกเรื่อง   ฉันก็ตอบว่า : โอ้ ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ท่านไม่ได้ยินคำที่พวกเขาว่าดอกหรือ ? ท่านตอบว่า : ฉันได้ตอบแล้วว่า และสำหรับพวกเขานั้นคือความหายนะ” (บุคอรีย์ เลขที่ 6024 )  - อิสลาม คือศาสนาที่บังเกิดความรักและความดีแก่มนุษย์   ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ซึ่งเป็นที่รักใคร่ที่สุด  ณ ที่อัลลอฮฺคือ ผู้ที่ให้คุณประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด  และการกระทำซึ่งเป็นที่รักที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺคือ ความสุขที่ท่านมอบให้กับมุสลิมคนหนึ่ง  หรือ ช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์  หรือ ช่วยจ่ายหนี้ให้เขา หรือช่วยบรรเทาการอดอยากของเขา  การที่ฉันได้เดินอยู่กับพี่น้องฉันมุสลิมเพื่อช่วยเหลือเขาในสิ่งที่เขาต้องการ ย่อมดีกว่าการที่ฉันได้นั่งในมัสยิดเป็นเวลาหนึ่งเดือน   และใครก็ตามที่สกัดกั้นความโกรธเเค้นของเขาแน่นอนอัลลอฮฺจะทรงปกปิดความลับของเขา  และใครที่สกัดกั้นความโกรธเเค้นของเขาทั้งๆที่เขาสามารถจะปล่อยหรือระบายมันออกมาได้ แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงเพิ่มพูนความโปรดปรานของพระองค์ในใจเขาในวันปรโลก  ใครที่เดินพร้อมกับเพื่อนมุสลิมเนื่องจากต้องการช่วยเหลือเขาในสิ่งที่เขาปรารถนา จนกระทั่งเขาประสบความสำเร็จ แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงให้เขายืนหยัดบนเท้าของเขาได้ในวันซึ่งเท้าทั้งหลายลื่นไถล  และแท้จริงแล้วมารยาทที่เลวทรามจะทำลายการกระทำที่ดีมีคุณธรรมดุจดังน้ำส้มที่ทำลายน้ำผึ้ง”(รายงานโดยอัตเฏาะบะรอนีย์และอะบุดดุนยาและได้รับการยอมรับว่าเศาะฮีฮฺโดยอัลบานีย์ในหนังสือของท่านที่ชื่อ เศาะฮีฮฺอัลญามีอฺ ) -อิสลามคือศาสนาที่ยึดเอาทางสายกลาง  มีความเรียบง่ายพอดี  ปราศจากความยุ่งยาก อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 286 ) หลักคำสอนอิสลามจะตั้งหลักอยู่บนฐานนี้เอง  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “สิ่งใดซึ่งฉันห้ามปรามมันจงหลีกห่าง  และสิ่งใดที่ฉันใช้ให้ทำจงปฏิบัติเท่าความสามารถของท่าน  แท้จริงแล้วบรรพชนรุ่นก่อนได้รับความหายนะเนื่องจากการไต่ถามที่เกินขอบเขตของพวกเขาและการโต้เถียงของพวกเขากับเหล่าศาสนทูตของพวกเขา”( มุสลิม4/1830  เลขที่ 1337 ) หลักฐานอันชัดแจ้งที่ยืนยันได้ในเรื่องนี้คือประวัติของสาวกท่านหนึ่ง  ซึ่งได้มาพบท่านศาสนทูตมุฮัมมัดแล้วกล่าวว่า :โอ้ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ฉันจะต้องตายแน่ๆ   ท่านถามว่า : ท่านเป็นอะไร  เขาตอบว่า ฉันได้ร่วมประเวณีกับภรรยาของฉันในขณะที่ฉันถือศีลอดอยู่  ท่านถามว่า : ท่านสามารถหาทาสแล้วปล่อยมันให้เป็นอิสระหรือไม่ ? เขาตอบว่า ไม่  ท่านถามต่อว่า : แล้วท่านสามารถที่จะถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันหรือไม่? เขาตอบว่า ไม่  ท่านถามต่อว่า : ท่านสามารถเลี้ยงอาหารคนยากจนหกสิบคนได้หรือไม่ ? เขาตอบว่า ไม่  หลังจากนั้น ท่านหยุดสักครู่หนึ่งและในระหว่างที่พวกเรานั่งรอท่านอยู่นั้น  เราเห็นท่านเดินมาพร้อมกับถือตระกร้าบรรจุอินทผลัม แล้วท่านกล่าวว่า : ไหนละคนที่ถาม ? เขาตอบว่า : ฉันเอง  ท่านกล่าวว่า  : ท่านเอาอินทผลัมในตระกร้านี้ไป แล้วบริจาคมัน   เขากล่าวว่า : โอ้ ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺฉันควรบริจาคมันให้กับคนที่จนกว่าฉันหรือ ? ฉันขอสาบานด้วยนามอัลลอฮฺว่า ระหว่างสองหมู่บ้านนี้ไม่มีครอบครัวใดจนกว่าครอบครัวฉันอีกแล้ว   หลังจากนั้นท่านศาสนทูตมุฮัมมัดหัวเราะจนเห็นฟันเขี้ยวของท่านแล้วท่านกล่าวว่า : เจ้าจงเอามันไปให้ครอบของท่านเถิด ทุกคำสอนของอิสลามทั้งข้อบังคับหรือการงานแสดงถึงการภักดีต่ออัลลอฮฺ  ล้วนแล้วแต่ได้ถูกสั่งใช้เพื่อความสมดุลกับความสามารถของมนุษย์ โดยที่จะไม่สั่งใช้นอกจากเท่าพลังความสามารถของมนุษย์   แต่คำสั่งใช้ที่ว่าอาจจะมีข้อยกเว้นได้ในบางกรณีต่อไปนี้ : -  การละหมาด ซึ่งโดยปกติแล้วให้ทำในขณะที่ผู้ละหมาดสามารถที่จะยืนได้  แต่ถ้าเขาไม่สามารถที่จะยืนได้ก็สามารถที่จะทำละหมาดในท่านั่งได้  ถ้าไม่สามารถนั่งได้ก็ให้เขาทำในท่านอน  และถ้าไม่สามารถทำในท่านอนได้ก็เขาทำโดยใช้สัญญาณแทน -  ให้ข้อยกเว้นสำหรับผู้ป่วย  หญิงตั้งครรภ์  หญิงมาประจำเดือน  และหญิงหลังคลอดบุตรในการถือศีลอด  -ให้ข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่ไร้ความสามารถด้านการเงินและไม่มีความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายในการประกอบพิธีอัจญ์  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :สิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้นอันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย ( อาละอิมรอน 97 ) - เมื่อมนุษย์อยู่ในกรณีจำเป็นกลัวจะมีอันตรายต่อชีวิตเขาสามารถเลือกกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่อัลลอฮฺทรงห้ามได้แต่ให้เป็นไปตามความจำเป็น  เช่น  จำเป็นต้องบริโภคเลือดหรือเนื้อสุกร  หรือ ดื่มสุรา   ก็สามารถบริโภคได้แต่ในปริมาณตามความจำเป็นเท่านั้น เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 173 ) ท่านซัยดฺ กุฎ ( ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ) ได้อธิบายโองการนี้ไว้ว่า “มันคือหลักศรัทธาอย่างหนึ่งที่ยอมรับความเป็นมนุษย์ของมนุษย์  ยอมรับความเป็นมนุษย์ของพวกเขาที่ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่มลัก( เทวทูต ) ไม่ใช่เป็นมารร้าย  ยอมรับความเป็นมนุษย์ของพวกเขาในยามที่พวกเขาอ่อนแอ  หรือในยามที่พวกเขามีพลัง  และมันคือหลักการศรัทธาที่หมั่นเอาใจใส่มนุษย์ทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  และจิตวิญญาณ  แล้วแบ่งปันภาระหน้าที่ให้มนุษย์ทำตามความสามารถที่พวกเขามี  โดยคำนึงถึงความสมดุลกันระหว่างภาระหน้าที่กับพลังความสามารถ  โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและเข้มงวดเกินไป”*  ศาสนาอิสลามให้ความเคารพศาสนาอื่นๆที่มาจากฟากฟ้า  โดยให้มุสลิมทุกคนศรัทธาต่อศาสนาดังกล่าวพร้อมทั้งให้ความเคารพและให้ความยอมรับต่อมัน  สั่งการให้รักใคร่บรรดาศาสนทูตก่อนๆที่ถูกส่งมายังผู้นับถือศาสนาดังกล่าวด้วย   อิสลามได้สั่งห้ามการด่าว่าต่อหลักการศรัทธาของคนต่างศาสนิกรวมทั้งทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกศาสนกิจที่พวกเขาได้ยึดเอามาเป็นแนวปฏิบัติ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขอ อื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้( อัลอันอาม 108 ) อิสลามใช้ให้มุสลิมทุกคนทำการโต้เเย้งและสนทนากับผู้ปฏิเสธอิสลามด้วยสุขุมและอ่อนโยน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน   ความว่า :จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง( อันนะฮฺลุ 125 ) อิสลามได้เรียกร้องสู่แนวทางการสนทนาที่มีเป้าหมายเพื่อรวบรวมให้เป็นเดียวกันบนฐานที่พระเจ้ายอมรับ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ ! จงมายังถ้อยคำหนึ่งซึ่งเท่าเทียมกัน ระหว่างเราและพวกท่าน คือว่าเราจะไม่เคาระสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น และเราจะไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นผู้น้อมตาม( อาละอิมรอน 64 ) * ศาสนาอิสลาม คือศาสนาแห่งสันติภาพที่ครอบคลุมทุกความหมายที่เเฝงอยู่ภายในตัวของคำว่าอิสลาม  ไม่ว่าจะเป็นสันติภาพภายในสังคมมุสลิม  ดังเช่นคำกล่าวของท่านศาสนทูตซึ่งมีความว่า : “พึงประสงค์ไหมถ้าฉันจะบอกพวกท่านเกี่ยวกับคนมุอฺมิน  อัลมุอฺมินคือผู้ที่มอบความสงบแก่มนุษย์ด้านทรัพย์สินของพวกเขา   และตัวของพวกเขา  และมุสลิมคือผู้ซึ่งผู้อื่นปลอดภัยจากลิ้นและมือของเขา  อัลมุญาฮิด คือผู้ที่ต่อสู้กับตนเองเพื่อการภักดีต่ออัลลอฮฺ  และอัลมุฮาญิร คือผู้ที่ละทิ้งการกระทำที่เลวทรามและเป็นบาป” ( เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 11/203 เลขที่4862 ) หรือสันติภาพระหว่างประเทศที่ยืนหยัดบนฐานความสัมพันธ์แห่งความเป็นพี่น้องกัน  เพื่อสร้างความสงบและหลีกเลี่ยงการรุกรานฆ่าฟันระหว่างสังคมมุสลิมกับสังคมภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมที่ให้อิสระในการนับถือศาสนา  ไม่เป็นอุปสรรคในการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงเข้าอยู่ในความสันติ โดยทั่วทั้งหมด และจงอย่าทำตามบรรดาก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า( อัลบะเกาะเราะฮฺ 208 ) เนื่องจากความเน้นหนักของอิสลามต่อสันติภาพ  อิสลามได้สั่งใช้ให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามยึดเอาหลักสันติ  ประนีประนอมและยุติการรบราฆ่าฟันเมื่อศัตรูพึงประสงค์เช่นนั้น   อัลลอฮฺตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้    ความว่า :และหากพวกเขาโอนอ่อนมาเพื่อการประนีประนอมแล้ว เจ้าก็จงโอนอ่อนตามเพื่อการนั้นด้วย และจงมอบหมายแต่อัลลอฮฺเถิด แท้จริงนั้นพระองค์คือผู้ทรงได้ยินทรงรอบรู้”( อัลอันฟาล 61 ) ทั้งนี้หาใช่ว่าอิสลามต้องการให้เหล่าผู้นับถือแสวงหาสันติวิธีด้วยการต้องโดนเหยียดหยามศักดิ์ศรีของความเป็นมุสลิม แต่ทว่าอิสลามสั่งให้แสวงหาสันติพร้อมทั้งรักษาฐานะความสูงส่งของอิสลามและศักดิ์ศรีของศาสนาอิสลามไว้  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ดังนั้น พวกเจ้าอย่าท้อแท้และเรียกร้องไปสู่การสงบศึก เพราะพวกเจ้าเป็นผู้อยู่เหนือสุด และอัลลอฮ.ทรงอยู่ร่วมกับพระเจ้าและพระองค์จะไม่ทรงลิดรอนผลตอบแทนแห่งการงานของพวกเจ้า( มุฮัมมัด 35 ) *  ศาสนาอิสลามมิได้ปรารถนาให้คนต่างศาสนิกยอมรับนับถือศาสนาอิสลามโดยการถูกกดขี่บังคับ  นอกเสียจากเขาจะนับถือด้วยจิตใจที่ศรัทธาและยินยอมน้อมตาม  ทั้งนี้อิสลามรู้ดีว่า การบังคับมิใช่แนวทางในการเผยแผ่อิสลามและคำสอนของมัน    ดังโองการของอัลลอฮฺ    ซึ่งความว่า :ไม่มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด( อัลบะเกาะเราะอฮฺ 256 ) เมื่อการเรียกร้องสู่เเนวทางอิสลามได้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของชนต่างศาสนิกหรือเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาแล้ว   สำหรับพวกเขาคือความอิสรเสรีในการเลือกศรัทธาโดยอาศัยหลักอิสรภาพของมนุษย์นั่นเอง  ซึ่งอาจจะเลือกตามคำเรียกร้องหรือไม่ก็ปฏิเสธมัน   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ( อัลกะฮฺฟุ 29 ) ทั้งนี้เนื่องจากการศรัทธาและการได้รับการชี้นำไปสู่แนวทางอันเที่ยงตรงนั้น  ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของอัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากพระเจ้าของเจ้าจงประสงค์แน่นอนผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวลจะศรัทธา เจ้าจะบังคับมวลชนจนกว่าพวกเจ้าจะเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ?( ยูนุส 99 ) ส่วนหนึ่งของข้อพิเศษในอิสลามคือ  ให้สิทธิแก่ชนต่างศาสนิก  เช่น  ชาวคริสต์  ให้เขาสามารถปฏิบัติตามศาสนกิจเฉพาะตัวอย่างอิสระเต็มที่  เพราะท่านสาวกอาวุโสอบูบักรฺเคยกล่าวว่า  “ต่อไปพวกท่านจำต้องเเวะผ่านระหว่างการเดินทางชนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้สละตัวเพื่อพํานักในโบสถ์  ฉะนั้นพวกท่านจงปล่อยพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ” ( อัตเฏาะบะรีย์ 3/226 ) ความอิสระที่อิสลามเปิดทางให้ในที่นี้จะรวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกินที่ศาสนาพวกเขายอมรับว่ากระทำได้   ฉะนั้นอิสลามไม่ได้สั่งให้ฆ่าสุกร หรือ ทำลายเครื่องดื่มอย่างสุรา เป็นต้น  ส่วนทางด้านธุรการ  เช่น  เรื่องการแต่งงาน  การหย่าร้าง  การค้าขายและการทำธุรกิจต่างๆ  อิสลามให้ความอิสระพวกเขาในการเลือกปฏิบัติตามหลักความเชื่อมั่นและหลักศาสนกิจของพวกเขา  ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่อิสลามได้วางไว้ . อิสลามได้ปลดปล่อยระบบทาสเป็นอิสระและสนับสนุนให้ปลดปล่อยทาสและอิสลามถือว่าการกระทำดังกล่าวคือผลบุญและค่าตอบแทนอันมหาศาล  อีกทั้งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเข้าสวรรค์  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า ผู้ใด “ปลดปล่อยทาสหนึ่งคนอัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยทุกๆชิ้นส่วนของอวัยวะเขาให้รอดพ้นจากไฟนรก  เท่าๆกับทุกชิ้นส่วนของอวัยวะของทาส  จนกระทั่งอวัยวะเพศต่ออวัยวะเพศ”  ( มุสลิม 2/1147 เลขที่1509 ) อิสลามได้สั่งห้ามทุกวิถีทางที่นำไปสู่การเป็นทาสยกเว้นทางเดียวเท่านั้น คือ การเป็นทาสด้วยกับการถูกจับเป็นเชลยในศึกสงคราม  แต่ภายใต้เงื่อนไขที่อิมาม ( ผู้นำศึกมุสลิม )ได้วางไว้เพราะการตกเป็นเชลยในทัศนะอิสลามมีรายละเอียดซึ่งอัลลอฮฺทรงอธิบาย  โดยตรัส   ความว่า :และเมื่อพวกเจ้าพบบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาก็จงฟันที่คอ (จงฆ่าเสีย) จนกระทั่งเมื่อพวกเจ้าปราบพวกเขาจนแพ้แล้ว ก็จงจับพวกเขาเป็นเชลยหลังจากนั้นจะปล่อยเป็นไทหรือจะเรียกเอาค่าไถ่ก็ได้ จนกระทั่งการทำสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการวางอาวุธ  เช่นนั้นแหละ และหากอัลลอฮ.ทรงประสงค์แน่นอน พระองค์จะทรงตอบแทนการลงโทษพวกเขา  แต่ทั้งนี้เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบบางคนในหมู่พวกเจ้ากับอีกบางคน ส่วนบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าตายในทางของอัลลอฮ. พระองค์จะไม่ทรงทำให้การงานของพวกเขาไร้ผลเป็นอันขาด( มุฮัมมัด 4 ) อิสลามได้ปิดกั้นแนวทางการเป็นทาสยกเว้นเพียงทางเดียวดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น  ในทางตรงข้ามอิสลามได้เปิดแนวทางการปลดทาสอย่างกว้างขวาง  ส่งเสริมให้ปลดปล่อยทาสและทรงยํ้าอีกว่าการกระทำดังกล่าวคือวิธีการหนึ่งของการปลดบาปเนื่องจากการกระทำผิดบางอย่าง  เช่น : -  การฆ่าคนผิดโดยไม่เจตนา  เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และมิใช่วิสัยของผู้ศรัทธาที่จะฆ่าผู้ศรัทธาคนหนึ่งคนใด นอกจากด้วยความผิดพลาดเท่านั้นและผู้ใดที่ฆ่าผู้ศรัทธาด้วยความผิดพลาดแล้ว ก็ให้มีการปล่อยทาสหญิงที่ศรัทธาคนหนึ่งให้เป็นไท และให้มีค่าทำขวัญ ซึ่งถูกมอบให้แก่ครอบครัวของเขานอกจากว่าครอบครัวของพวกเขาจะทำทานให้เท่านั้น  แต่ถ้าหากเขาอยู่ในหมู่ชนที่เป็นศัตรูของพวกเจ้า โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธาก็ให้มีการปล่อยทาศหญิงที่ศรัทธาคนหนึ่งให้เป็นไท และถ้าเขาอยู่ในหมู่ชนที่มีพันธะสัญญาระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขาแล้ว ก็ให้มีการทำขวัญ ซึ่งถูกมอบให้แก่ครอบครัวของเขา และให้มีการปล่อยทาสหญิงที่ศรัทธาคนหนึ่ง ( อันนิซาอฺ 92 ) -  การผิดสัญญากับคำสาบาน  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :อัลลอฮ์จะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกเจ้าด้วยถ้อยคำที่ไร้สาระในการสาบานของพวกเจ้า แต่ทว่าพระองค์จะทรงเอาโทษแก่พวกเจ้าด้วยถ้อยคำที่พวกเจ้าปลงใจสาบาน แล้วสิ่งไถ่โทษมันนั้นคือการให้อาหารแก่มิสกีนสิบคนจากอาหารปานกลางของสิ่งที่พวกเจ้าให้เป็นอาหารแก่ครอบครัวของพวกเจ้า หรือไม่ก็ให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา หรือไถ่ทาสคนหนึ่งให้เป็นอิสระ( อัลมาอิดะฮฺ 89 ) - การซิฮารฺ ( การเปรียบเทียบภรรยาว่าเสมือนแม่ของฝ่ายสามี ) เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้เปรียบเทียบภรรยาของพวกเขาก็เสมือนแม่ของพวกเขานั้น แล้วพวกเขาจะคืนสู่ถ้อยคำที่พวกเขาได้กล่าวไว้ ดังนั้น (สิ่งที่จำเป็นแก่เขาต้องปฏิบัติคือ) การปล่อยทาสหนึ่งคนก่อนที่เขาทั้งสองจะแตะต้องต่อกัน (ร่วมหลับนอน( อัลมุญาดะละฮฺ 3 ) - การร่วมประเวณีในเดือนร่อมะฎอน  รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า  มีชายผู้หนึ่งได้ร่วมประเวณีกับภรรยาเขาในเดือนร่อมะฎอนแล้วเขาได้ไปสอบถามท่านศาสนทูตมุฮัมมัดเกี่ยวกับบทบัญญัติในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า : ท่านสามารถปลดปล่อยทาสบ้างไหม? เขาตอบว่า : ไม่   ท่านศาสนทูตถามต่อว่า : แล้วท่านสามารถที่จะถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันไหม? เขาตอบว่า : ไม่  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า : ดังนั้นท่านจงเลี้ยงอาหารผู้ยากไร้ 60 คน  ( รายงานโดยมุสลิม2/782 เลขที่ 1111 ) - การปลดปล่อยทาสคือวิธีการปลดบาปหากได้รังเเกทาส  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า ใครตบหน้าบ่าวไพร่ของเขาหรือทุบตีเขา  การปลดบาปนั้นคือการปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ ( รายงานโดยมุสลิม 3/ 1278 เลขที่ 1658 ) ส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงการเน้นตระหนักของอิสลามในการปลดปล่อยทาสคือ :1- การที่อิสลามสั่งให้มีการมุกาตะบะฮฺ  คือ การทำสัญญากันระหว่างทาสกับเจ้าของทาสซึ่งจะมีการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระเมื่อเขารวบรวมเงินได้ตามที่ได้ตกลงกันทั้งสองฝ่าย  บางนักวิชาการด้านฟิกฮฺ(ด้านศาสนบัญญัติ) มีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงขั้นบังคับให้ทำมุกาตะบะฮฺเมื่อทาสต้องการทั้งนี้เนื่องจากโองการอัลลอฮฺ ความว่า :และจงบริจาคแก่พวกเขาซึ่งทรัพย์สมบัติของอัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้า  และพวกเจ้าอย่าบังคับบรรดาทาสีของพวกเจ้าให้ผิดประเวณี หากนางประสงค์จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ แต่พวกเจ้าต้องการผลประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้ และผู้ใดบังคับพวกนางเช่นนั้น ดังนั้นหลังจากการบังคับพวกนาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ( อันนูร 33 ) 2- การไถ่ทาส คือแนวทางหนึ่งของการชําระซะกาต  หมายถึงการปลดปล่อยทาสให้พ้นจากการเป็นทาสหรือปลดปล่อยเชลยให้พ้นจากการเป็นเชลย  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮ์ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ( อัตเตาบะฮฺ 60 ) * ศาสนาอิสลามคือศาสนาที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมทุกแง่ชีวิต ฉะนั้นอิสลามได้จัดระบบและระเบียบต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำธุรกิจ   การทำสงคราม  การแต่งงาน  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครองและด้านการงานที่แสดงถึงความภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยในการสร้างสังคมให้เจริญงอกงาม  ซึ่งมนุษย์ทุกวันนี้ยังหาปัจจัยเหล่านั้นไม่พบ  เมื่อมนุษย์ห่างไกลจากระเบียบหรือระบบดังกล่าวฉันใด  ขีดปริมาณความตํ่าต้อยของมนุษย์ก็เพื่มปริมาณขึ้นฉันนั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และวันที่เราจะตั้งพยานขึ้นจากทุกประชาชาติ (เพื่อเป็นพยาน) ต่อพวกเขาจากหมู่พวกเขาเอง และเราก็นำเจ้ามาเป็นพนานต่อเขาเหล่านั้นและเราได้ให้คัมภีร์แก่เจ้าเพื่อชี้แจงแก่ทุกสิ่ง และเพื่อเป็นทางนำและเป็นความเมตตา และเป็นข่าวดีแก่บรรดามุสลิม ( อันนะฮฺลุ  89 ) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอิสลามได้จัดระบบความผูกพันระหว่างมุสลิมกับพระองค์อัลลอฮฺและกับสังคมรอบด้านที่เขาอยู่  ทั้งมนุษย์และสิ่งเเวดล้อม คำสอนของอิสลามจะไม่มีสิ่งใดที่ขัดกับธรรมชาติแท้จริงของมนุษย์หรือมันสมองอันบริสุทธิ์ของมนุษย์  หลักฐานชัดเจนที่เสดงถึงความสมบูรณ์แบบของอิสลามคือ การที่อิสลามตระหนักและเอาใจใส่เป็นพิเศษกับวิถีทางในการดําเนินชีวิตและส่วนย่อยๆอื่นที่เกี่ยวโยงกับชีวิตมนุษย์  อาทิ  มารยาทในการเข้าห้องน้ำหรือสุขาซึ่งอิสลามได้ชี้แนะอย่างละเอียดเริ่มจากก่อนเข้า  ระหว่างเข้าและสุดท้ายหลังออกจากสุขา  ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บิน ซัยดฺ ( ขออัลลอฮฺประทานความโปรดปรานแก่ท่านด้วย ) ได้กล่าวว่า  ได้มีคนกล่าวแก่ซัลมานว่า : ท่านศาสทูตของท่านได้สอนท่านทุกเรื่องแม้กระทั่งเรื่องอุจจาระ  ซัลมานตอบว่า ใช่ ท่านได้ห้ามไม่ให้เราหันหน้าไปยังกิบละฮฺ ( กิบละฮฺ คือกะอฺบะฮฺที่อยู่ ณ นครมักกะฮฺ  ) เวลาถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ  หรือห้ามเราไม่ให้ทำความสะอาดเพื่อชําระล้างด้วยมือขวา ห้ามทำความสะอาดกับกรวดหินที่น้อยกว่าสามเม็ด  และห้ามทำความสะอาดโดยใช้เศษอาหารที่หลงเหลือหรือเศษกระดูกที่พบเจอ* ศาสนาอิสลามให้เกียรติสตรีและเชิดชูศักดิ์ศรีของเธอ  โดยอิสลามถือว่าการให้เกียรติเธอเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่สูงส่งและดีงาม  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “ผู้ศรัทธาที่ความศรัทธาของเขาสมบูรณ์ยิ่งคือผู้ซึ่งมีจริยธรรมที่ดีงาม และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ทำดีที่สุดกับภรรยาของเขา” ( เศาะฮีฮฺอิบนิ ฮิบบาน9/483 เลขที่4176 ) อิสลามคงรักษาสิทธิด้านมนุษยธรรมของสตรีไว้  ไม่ได้ถือว่าเธอคือต้นเหตุแห่งบาปกรรม  ทำให้มนุษย์คนเเรกที่ชื่ออาดัมโดนไล่ออกจากสวนสวรรค์เหมือนคำพูดของคนในศาสนาอื่นสมัยก่อนๆ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้น ซึ่งบรรดาชายและบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกัน ด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ( อันนิซาอฺ 1 ) อิสลามได้ประกาศยกเลิกระบบที่คุกคามสิทธิสตรีอย่างไร้มนุษยธรรม   โดยเฉพาะระบบที่มองสตรีเหมือนมนุษย์ที่ตํ่าต้อยกว่าผู้ชาย  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า : แท้จริงแล้วเหล่าสตรีคือพี่น้องร่วมชีวิตกับเหล่าผู้ชาย ( สุนันอบีดาวูด 1/61 เลขที่ 236 ) อิสลามหมั่นรักษาศักดิ์ศรีสตรีและเกียรติของเธอมาตลอด  อิสลามถือว่า การกล่าวหาใส่ร้ายเธออย่างไม่ชอบธรรมหรือการล่วงเกินเกียรติของเธอ  คือสาเหตุอันสมควรที่ผู้กล่าวหาจะต้องได้รับการลงโทษ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ แล้วพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมา พวกเจ้าจงโบยพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน( อันนูร 4 ) อิสลามประกันสิทธิเสรีภาพของเธอด้านมรดกเหมือนสิทธิที่ผู้ชายได้รับหลังจากที่เธอถูกห้ามสิทธิด้านนี้  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :สำหรับบรรดาชายนั้น มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับบรรดาหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนได้รับที่ถูกำหนดอัตราส่วนไว้( อันนิซาอฺ 7 ) และอิสลามได้ให้สิทธิแก่สตรีด้านการแสดงความสามารถของเธอ  และให้สิทธิเธอดําเนินงานด้านการเงินเช่นการครองทรัพย์  การชื้อขายและอื่นๆ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งใครหรือภายใต้ขอบเขตใดๆ ตราบใดที่การดําเนินการดังกล่าวไม่ขัดกับศาสนา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงบริจาคส่วนหนึ่งจากบรรดาสิ่งดี ๆ  ของสิ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหาไว้ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 267 ) อิสลามได้ใช้ให้เหล่าสตรีแสวงหาความรู้  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “การแสวงหาความรู้นั้น เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคน” ( สุนันอิบนุมาญะฮฺ 1/ 81 เลขที่ 224 ) อิสลามได้สั่งให้เราเอาใจใส่สตรีเป็นพิเศษและเน้นให้เราดูเเลเธอด้วยดี  เพราะการดูเเลเธออย่างดีคือส่วนหนึ่งของแนวทางไปสู่สวรรค์ ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ผู้ใดเลี้ยงดูลูกผู้หญิงสามคน  แล้วเขาได้สั่งสอนพวกเธอเป็นอย่างดี  และจัดการเรื่องการแต่งงานให้แก่เธอ  และทำดีกับพวกเธอ  แน่นอนผลตอบแทนสำหรับเขาคือสวรรค์” ( สุนันอบีดาวูด 4/338  เลขที่ 5147 )  *  ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งความบริสุทธิ์ :  1-  บริสุทธิ์ด้านความเชื่อและจิตวิญญาณภายใน เช่นการบริสุทธิ์จากชิริก( การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน ( ลุกมาน 13 ) หรือบริสุทธิ์จากริยาอฺ ( ทำสิ่งใดเพื่อโอ้อวดคนอื่น  ไม่มีเจตนาเพื่ออัลลอฮฺ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้น ความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำละหมาด ผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา ผู้ที่พวกเขาโอ้อวดกัน และพวกเขาหวงแหนเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ (แก่เพื่อนบ้าน)( อัลมาอูน 4-7 )  หรือบริสุทธิ์จากอุญับ ( หยิ่งยะโสและยกย่องตัวเองมากเกิน) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด” ( ลุกมาน 18 ) หรือบริสุทธิ์จากคุยะลาอฺ ( หยี่งและจองหอง ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “ผู้ใดดึงเสื้อเขาเพราะเยิ่อหยิ่งอัลลอฮฺจะทรงไม่มองเขาในวันปรโลก”( รายงานโดยบุคอรีย์ 3/1340เลขที่ 3465 ) 2- บริสุทธิ์ด้านภายนอก   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นจะไปละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า และล้างเท้าของพวกเจ้าถึงตาตุ่มทั้งสอง และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ  ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด  และหากพวกเจ้าป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง หรือคนใดในหมู่พวกท่านมาจากการถ่ายทุกข์ หรือได้สัมผัสหญิงมา  แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งสู่ดินที่ดี  แล้วลูบใบหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้า  จากดินนั้น อัลลอฮฺนั้นไม่ทรงประสงค์เพื่อจะให้มีความลำบากใด ๆ แก่พวกเจ้า แต่ทว่าทรงประสงค์ที่จะให้พวกเจ้าสะอาด และเพื่อให้ความกรุณาเมตตาของพระองค์ครบถ้วนแก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ ( อัลมาอิดะฮฺ 6 ) รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ ( สาวกท่านหนึ่งของศาสนทูต- ขอความโปรดปรานจากอัลลอฮฺจงมีเเด่ท่านด้วย - ) จากท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  โองการนี้ถูกประทานลงมากับชนกุบาอฺ( กุบาอฺ คือกลุ่มชนหนึ่งที่อาศัยอยู่ ณ เมืองกุบาอฺ   ใกล้นครมะดีนะฮฺ  ประเทศซาอุปัจจุบัน ) โองการที่ว่า   ความว่า : เจ้าอย่าไปร่วมยืนละหมาดในมัสยิดนั้นเป็นอันขาด แน่นอน มัสยิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกนั้นสมควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะเข้าไปยืนละหมาดในนั้น เพราะในมัสยิดนั้นมีคณะบุคคลที่ชอบจะชำระตัวให้บริสุทธิ์ และอัลลอฮ์นั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ( อัตเตาบะฮฺ 108 ) ท่านกล่าวว่า พวกเขาต่างทำความสะอาดด้วยน้ำดั้งนั้นโองการนี้จึงถูกประทานลงมาเนื่องจากการกระทำของพวกเขานั่นเอง * ศาสนาอิสลามคือศาสนาที่มั่งคงด้วยพลังภายในซึ่งสามารถที่จะเข้าถึงจิตใจคนและมันสมองคนได้ดี  ด้วยเหตุนี้เองศาสนาอิสลามจึงได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายรวดเร็ว   ผู้คนจำนวนมากต่างเข้ารับอิสลามถึงแม้ว่าการทุ่มเทของมุสลิมเพื่อเผยแพร่อิสลามยังน้อยไปเมื่อเทียบกับความทุ่มเทของเหล่าศัตรูทั้งทางด้านการเงินและพลังเพื่อต่อต้านศาสนาอิสลาม   ใส่ร้ายอิสลามและสกัดกั้นไม่ไห้ผู้คนเข้าหาอิสลาม   ถึงกระนั้นก็ตามผู้คนมากมายต่างก็ยังเข้าหาอิสลามเป็นระยะๆไม่ขาดสาย   และใครที่เข้ารับอิสลามแล้วออกไปถือเป็นส่วนน้อยมาก  ด้วยพลังอันเข้มเเข็งของอิสลามนี้เองคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักบูรพาคดีหันเข้ารับอิสลามทั้งๆที่พวกเข้าได้ทำการศึกษาเรียนรู้อิสลามด้วยเจตนาที่ต้องการสืบหาข้อบกพร่องของอิสลามเป็นประการเเรกและประการต่อมาคือการต่อต้านศาสนาอิสลาม    ฉะนั้นสิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพวกเขาคือความงดงามของศาสนาอิสลามนั่นเอง  ประกอบกับความสัจธรรมด้านหลักการและอุดมการณ์ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติมนุษย์และมันสมองของพวกเขา  บรรดาเหล่าศัตรูอิสลามร่วมเป็นสักขีพยานในเรื่องนี้อย่างชัดเเจ้ง  ท่านหนึ่งในบรรดาพวกเขาคือ  Margoliouth ผู้ซึ่งได้ประกาศตนเป็นศัตรูต่ออิสลาม  แต่ความยิ่งใหญ่ของกุรอ่านมีผลทำให้เขาต้องออกมาประกาศโดยกล่าวว่า  สิ่งที่นักวิจัยได้ตกลงกันคือ  พระคัมภีร์กุรอ่านได้ถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงส่งเมื่อเทียบกับพระคัมภีร์อื่นๆ  แม้นว่าได้ถูกประทานลงมาท้ายสุดก็ตาม   กุรอ่านได้นำหน้าคัมภีร์อื่นๆมีผลสะท้อนเเละสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คน  และได้คิดค้นแนวคิดสำหรับมนุษย์ในรูปแบบใหม่   จัดตั้งกฎแห่งจริยธรรมอันลํ้าเลิศ  .*อิสลามคือศาสนาแห่งการผูกพันทางสังคม  บังคับให้มุสลิมเน้นหนักกับความเป็นอยู่ของพี่น้องร่วมศาสนาไม่ว่า ณ ที่แห่งใด  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้กล่าวว่า  “ท่านจะได้เห็นพี่น้องผู้ศรัทธาในความปรานี  ความรักใคร่  และความเมตตาซึ่งกันและกันเปรียบเสมือนร่างอันหนึ่งเดียวกัน  เมื่อใดที่อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมีอาการเจ็บปวด  ทุกส่วนของร่างกายจะเจ็บปวดตามไปด้วย”  ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 5/2238 เลขที่ 5665 ) อิสลามได้ใช้ให้มีการปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเเจกจ่ายสิ่งของบริจาคที่วาญิบ( จำเป็นต้องปฏิบัติ ) หรือที่มุสตะฮับ ( ให้ทางเลือก ) ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “บุคคลใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่มีความศรัทธาที่สมบูรณ์  นอกเสียจากว่าเขาจะต้องรักเพื่อพี่น้องเขาเสมือนที่เขารักตัวเขาเอง” ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 1/14เลขที่ 13 ) อิสลามใช้ให้มุสลิมด้วยกันเน้นหนักในเรื่องพี่น้องร่วมศาสนาในยามที่พวกเขาตกทุกข์ ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “คนมุอฺมิน( ผู้ศรัทธา) กับคนมุอฺมินด้วยกันเปรียบเสมือนอาคารหลังหนึ่ง  ต่างเสริมสร้างความเข้มเเข็งซึ่งกันเเละกัน  แล้วท่านได้เอานิ้วมือทั้งสองข้างสอดเข้าหากัน”  ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 2/863 เลขที่ 2314 ) อิสลามสั่งให้ปกป้องและช่วยเหลือพวกเขาในยามที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และอพยพและต่อสู้ทั้งด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ให้พักอาศัย และช่วยเหลือนั้น ชนเหล่านี้แหละคือบางส่วนของพวกเขาย่อมเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน  และบรรดาผู้ที่ศรัทธา และมิได้อพยพนั้นก็ไม่เป็นหน้าที่แก่พวกเจ้าแต่อย่างใดในการช่วยเลือพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะอพยพ และถ้าหากเขาขอให้พวกเจ้าช่วยเหลือในเรื่องศาสนา  ก็จำเป็นแก่พวกเจ้าซึ่งการช่วยเหลือนั้น  นอกจากในการต่อต้าน  พวกที่ระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขามีสัญญากันอยู่ และอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน”( อัลอันฟาล 72 ) อิสลามได้ห้ามการทรยศต่อมุสลิมด้วยกัน  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  “ไม่มีบุคคลใดซึ่งทรยศต่อมุสลิมด้วยกันในสิ่งที่สร้างความเสียหายแก่เกียรติของเขาหรือ ศักดิ์ศรีของเขานอกจากอัลลอฮฺจะทรงทรยศต่อเขาในเหตุการณ์ที่เขาต้องการ  ไม่มีบุคคลใดซึ่งให้ความช่วยเหลือมุสลิมด้วยกันในสถานการณ์ที่เกียรติยศเขาหรือศักดิ์ศรีเขาโดนคุกคามและรังเเกนอกจากอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือเขาในสถานการณ์ที่เขาต้องการความช่วยเหลือ”* ศาสนาอิสลามได้นำระบบการแบ่งมรดกซึ่งจะจัดสรรมรดกหลังจากที่ได้เเจกจ่ายค่าหนี้ของผู้ตายและตามคำสั่งเสียของเขา  แบ่งส่วนให้กับผู้สืบทอดมรดกที่มีสิทธิซึ่งอาจจะเป็นทั้งเด็ก  ผู้ใหญ่  หญิงชาย  อย่างเทียมเท่ากันสร้างความพึงพอใจกับทุกคน  และร่วมเป็นสักขีพยานโดยบรรดาผู้อาวุโสที่มีความรอบคอบ    การแบ่งส่วนนั้นจะคำนึงความใกล้เคียงกับผู้ตายเป็นหลักหรือตามขอบเขตของคุณประโยชน์ที่ผู้ตายประสงค์  คนอื่นไม่มีสิทธิมาก้าวก่ายการแบ่งในส่วนนี้ตามอําเภอใจหรือตามเจตนารมณ์ของตนเอง.  ข้อดีของระบบนี้คือการจัดสรรกับจำนวนทรัพย์สินมรดกที่เป็นก้อนใหญ่ให้ออกมาเป็นส่วนย่อย  แล้วแบ่งส่วนให้กับผู้ที่มีสิทธิอย่างยุติธรรม   โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  อัลกุรอ่านได้อธิบายอัตราส่วนของลูกหลาน  พ่อแม่  สามีภรรยาและพี่น้องอย่างละเอียด สำหรับผู้ที่สนใจจะเรียนรู้สามารถค้นหาความรู้ในตําราด้านฟะเราะอีฎ ( วิชาการแบ่งปันมรดก ) ได้. ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺได้จัดสัดส่วนของแต่คนที่มีสิทธิตามสัดส่วนที่เขาสมควรได้รับ  ดังนั้นไม่มีคำว่าวะเศียะฮฺ( สั่งเสียให้ทำพินัยกรรม )แก่ผู้ครองมรดกคนเดียวอีกแล้ว” * ศาสนาอิสลามได้ตั้งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันมรดกฉะนั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จำต้องสั่งเสียในเรื่องทรัพย์สินเงินทองของเขาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต  ซึ่งอาจจะจัดส่วนหนึ่งเพื่อทำบุญกุศลหรือการงานที่ดีอย่างหนึ่ง  เพราะเงินเหล่านี้คือเงินบริจาคที่มีผลบุญถึงตัวเขาหลังจากที่เขาเสียชิวิตไป   แต่การสั่งเสียที่ว่านี้ต้องไม่เกินจำนวนหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินทั้งหมด  เพราะตามที่ได้รายงานโดยสาวกท่านหนึ่งที่ชื่อ อะมีรฺ บิน สะอัด ( ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านด้วย ) กล่าวว่า “ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตได้มาเยี่ยมเยียนฉันถึงบ้านในขณะที่ฉันป่วยที่นครมักกะฮฺ  ฉันกล่าวว่า ฉันมีทรัพย์สินอยากจะสั่งเสียโดยการบริจาคมันให้หมด  ท่านตอบว่า ไม่ได้  ฉันกล่าวว่า แล้วครึ่งหนึ่งได้ไหม?  ท่านตอบว่าไม่ได้  ฉันกล่าวว่าแล้วถ้าหนึ่งส่วนสาม  ท่านตอบว่า หนึ่งส่วนสามใช่  และหนึ่งส่วนสามนั้นมากพอแล้ว  การที่ท่านอําลาพวกเขาโดยให้พวกเขาร่ำรวยย่อมดีกว่าการที่ท่านอําลาพวกเขาโดยที่พวกเขายากจน เที่ยวเร่ร่อนขอทานจากคนอื่นๆ  ฉันใดที่ท่านทิ้งมรดกไว้สำหรับพวกเขา  ฉันนั้นเเหละคือผลบุญของการบริจาค  แม้กระทั่งอาหารมือเดียวที่ท่านได้ให้แก่ภรรยาของท่าน  อัลลอฮฺก็จะทรงยกฐานะท่าน  แต่คนกลุ่มหนึ่งอาจได้รับคุณประโยชน์จากท่าน   และอีกกลุ่มหนึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ท่านก็ได้” ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 1/435 เลขที่ 1233 )   แต่การสั่งเสียที่ว่านี้ต้องเป็นไปด้วยเงื่อนไขคือ ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้ครองมรดกอื่นๆ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายใด ๆ เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงหนักแน่น( อันนิซาอฺ 12 ) * ศาสนาอิสลามได้นำระบบการลงโทษที่ถูกต้องซึ่งมีสองรูปแบบด้วยกัน รูปแบบที่หนึ่งเรียกว่าอัลฮูดูด ( บทโทษแบบจำกัดขอบเขตของมัน ) รูปแบบที่สองเรียกว่า อัตตะซีรอต ( บทลงโทษแบบไม่จำกัดขอบเขตของมัน) ซึ่งระบบนี้สร้างความสงบสุขแก่สังคมเละป้องกันอาชญากรรมและการนองเลือดได้ดี   รักษาเกียรติ  ศักดิ์ศรี  ทรัพย์สินเงินทอง   ป้องกันการกระทำของคนเลว  ป้องกันการเกิดอาชญากรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกันในสังคม  หรือเสนอทางแก้และแนวทางเพื่อเยียวยาสิ่งเหล่านั้น   อิสลามได้กำหนดบทโทษสำหรับอาชญากรรมทุกชนิดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับชนิดของมัน   สำหรับการฆ่าคนโดยเจตนาอิสลามได้กำหนดโทษของมันคือการกิศอซ(ประหารชีวิต )  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การประหารฆาตกรให้ตายตามในกรณีที่มีผู้ถูกฆ่าตายนั้น ได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 178 ) ยกเว้นกรณีที่ญาติพี่น้องผู้ตายได้ให้อภัยเพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แล้วผู้ใดที่สิ่งหนึ่งจากพี่น้องของเขาถูกอภัยให้แก่เขาแล้ว ก็ให้ปฏิบัติไปตามนั้นโดยชอบ และให้ชำระแก่เขาโดยดี นั่นคือการผ่อนปรนจากพระเจ้าของพวกเจ้า และคือการเอ็นดูเมตตาด้วย แล้วผู้ใดละเมิดหลังจากนั้นเขาก็จะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ( อัลบะเกาะเราะฮฺ  178 ) สำหรับการลักขโมย  อิสลามได้กำหนดโทษคือ การตัดมือ   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และขโมยชายและขโมยหญิงนั้นจงตัดมือของเขา  ทั้งสองคน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่ทั้งสองนั้นได้แสวงหาไว้ (และ) เพื่อเป็นเยี่ยงอย่างการลงโทษ จากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นทรงเดชานุภาพ ทรงปรีชาญาณ ( อัลมาอิดะฮฺ 38 ) โจรขโมยเมื่อทราบว่าเขาจะโดนตัดมือถ้าเขาขโมย  เขาย่อมไม่ลงมือกระทำ  ฉะนั้นเขาจึงรักษามือของเขาและในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาทรัพย์สินคนอื่นให้พ้นจากการถูกขโมยอิสลามได้กำหนดบทโทษแก่อาชญากรรมด้านการล่วงเกินเกียรติและศักดิ์ศรีคนด้วยการข่มขืน คือ การโบยสำหรับคนที่ยังมิได้แต่งงาน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที(อันนูร 2 ) และอิสลามได้กำหนดบทลงโทษแก่อาชญากรรมด้านการล่วงเกินเกีรยติและศักดิ์ศรีผู้อื่น ด้วยการกล่าวหาว่ามีชู้ คือ การโบยตีเหมือนกัน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ แล้วพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมา พวกเจ้าจงโบยพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน( อันนูร 4 )แล้วอิสลามได้ตั้งกฎทั่วไปเกี่ยวกับการลงโทษ  นั่นก็คือ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ   ซึ่งความว่า :และการตอบแทนความชั่วคือความชั่วเยี่ยงมัน ( อัซซูรอ 40 ) ทุกบทลงโทษที่กล่าวมาขั้นต้นมีเงื่อนไขและมีกฎที่อิสลามได้วางไว้  และเปิดโอกาสการให้อภัยหรือลดโทษให้เบาลงได้  ถ้าความผิดที่ทำลงไปเกี่ยวโยงกับสิทธิของมนุษย์   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แต่ผู้ใดอภัย และไกล่เกลี่ยคืนดีกันรางวัลตอบแทนของเขาอยู่ที่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้อธรรม( อัซซูรอ 40 ) บทลงโทษที่อิสลามนำมาปฏิบัตินั้นไม่ได้เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าอิสลามนิยมความรุนแรง  ทว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ รักษาซึ่งสิทธิของมนุษย์ทั้งปวง  หรือสร้างความสงบสุขในสังคม  ป้องกันไม่ให้มีใครสร้างความเสียหายต่อความสงบสุขในสังคม  เมื่อผู้ที่ฆ่าผู้อื่นรับรู้ว่าเขาจะถูกประหารชีวิต  หรือผู้ขโมยเมื่อรับรู้ว่าเขาจะถูกตัดมือ  หรือผู้ที่กระทำซินา ( ผิดประเวณี ) หรือกล่าวหาว่าคนอื่นกระทำซินารับรู้ว่าเขาจะถูกลงโทษ  แน่นอนพวกเขาจะรู้สึกหวาดกลัวต่อบทลงโทษดังกล่าวและพวกเขาจะไม่ลงมือกระทำ  พวกเขาจะสงบสุข  คนอื่นๆจะสงบสุขไปด้วย   ฉะนั้นมันคือความจริงตามที่อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย! เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง( อัลบะเกาะเราะฮฺ 176 ) บางคนอาจจะตั้งข้อสังเกตว่า บทลงโทษที่อิสลามได้บัญญัตินั่นมันช่างรุนแรงเหลือเกิน  คำตอบที่สมควรที่สุดสำหรับคำถามที่ว่านี้คือ ทุกคนย่อมมีความเห็นที่ตรงกันว่า  บรรดาอาชญากรล้วนแล้วแต่มีผลในแง่ร้ายต่อสังคม  และควรที่จะต้องกำจัดหรือหาทางสกัดกั้นความชั่วร้ายของพวกเขาพร้อมทั้งจัดหาบทลงโทษที่เด็ดขาดตามอาชญากรรมที่ก่อขึ้น  ทุกคนน่าจะตั้งคําถามกับตัวเองว่า ระหว่างบทลงโทษที่อิสลามกำหนดกับบทลงโทษที่มนุษย์กำหนด รูปแบบใดที่ดีกว่ากันเเละมีผลดีที่สุดในการแก้หรือลดปัญหาอาชญากรรม  แน่นอนอวัยวะที่เป็นโรคควรจะต้องตัดทิ้งเพื่อความอยู่รอดของอวัยวะอื่นในร่างกายมิใช่หรือ ?* อิสลามได้อนุมัตินานารูปแบบเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านการเงินและธุรกิจอาทิเช่น การค้าขาย  การเข้าหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ  การเช่าซื้อและการเเลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งนี้ก็เนื่องจากต้องการให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน   แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่าด้วยการปกป้องสิทธิและไม่ทำให้คนอื่นได้รับความเสียหาย   ฉะนั้นทุกอย่างจะต้องเป็นไปด้วยความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย  หรือทั้งสองรับรู้รายละเอียดสินค้า รวมทั้งเงื่อนไขของมัน  อิสลามไม่ได้ห้ามอะไรนอกจากสิ่งที่สร้างความเสียหายให้กับบุคคลอื่นหรือเบียดเบียนผู้อื่น  เช่น  ระบบดอกเบี้ย  การเล่นพนัน   และระบบการซื้อขายแบบไม่ชัดเจน .   อิสลามได้ให้ความอิสระเต็มที่ในการดําเนินงานด้านการเงินและการครองทรัพย์  ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอิสลามได้สั่งห้ามสิทธิส่วนนี้กับผู้คนบางกลุ่มเนื่องจากการกระทำของเขาอาจส่งผลไม่ดีต่อผู้อื่น เช่น  การสั่งห้ามคนที่สติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ   ผู้อ่อนวัยหรือเด็ก  ไม่ให้ดําเนินกิจการใดเพราะจะสร้างความเสียหายกับผู้คนรอบข้าง     หรือ การสั่งห้ามผู้คนที่ติดหนี้จำนวนมากไม่ให้เขาดําเนินกิจการใดๆนอกจากเขาจะจ่ายหนี้ได้  ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นไปในหนทางที่ดีและรักษาสิทธิความชอบธรรมของคนในสังคม  ทุกคนที่มีสติปัญญาย่อมคิดได้ดีว่าการป้องกันในลักษณะนี้ก็เพื่อต้องการกำจัดกลุ่มคนที่ชอบฉกฉวยโอกาสลักขโมยหรือเล่นงานสิทธิของผู้อื่น* อิสลามคือศาสนาที่ชักชวนให้คนไปสู่หนทางแห่งความเป็นหนึ่งเดียวและการร่วมมือกัน  และรักใคร่ปรองดอง    เหล่านี้คือสิ่งที่อิสลามเรียกร้องเพื่อต้องการให้พวกเขาอยู่ร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  เสริมสร้างพลังแห่งความเข้มเเข็งและสูงส่งให้กับพวกเขาเอง   เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย   ซึ่งอิสลามได้นำเสนอแนวทางต่อไปนี้ : การละทิ้งอารมณ์ใฝ่ต่ำและความต้องการส่วนตัวซึ่งเป็นที่มาของความอคติด้านมัซฮับ(ลัทธิ ) เผ่าและเชื้อชาติ  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเเตกเเยกระหว่างกัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้วและชนเหล่านี้แหละสำหรับพวกเขา คือการลงโทษอันใหญ่หลวง( อาละอิมรอน 105 ) ดังนั้น การเเตกเเยกกันมิได้เป็นระบบศาสนาที่ถูกต้อง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้นเจ้า (มุฮัมมัด) หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้น ย่อมไปสู่อัลลอฮ์แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน( อัลอันอาม 159 ) เพราะการขัดเเย้งและเเตกเเยกกันคือสาเหตุหนึ่งที่ทำลายความเข้มเเข็งและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เหล่าศัตรูเข้ามารังเเกได้ง่าย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน จำทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย( อัลอันฟาล 46 ) ขัดเกลาหลักความเชื่อให้บริสุทธิ์และห่างไกลจากสิ่งสกปรกอย่างชิริก  ( ตั้งภาคีอัลลอฮฺ ) หรือบิดอะฮฺ( การคิดค้นใหม่ในเรื่องศาสนา ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :พึงทราบเถิด การอิบาดะฮฺโดยบริสุทธิ์ใจนั้นเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว  ส่วนบรรดาผู้ที่ยึดถือเอาบรรดาผู้คุ้มครองอื่นจากอัลลอฮฺ โดยกล่าวว่าเรามิได้เคารพภักดีพวกเขา เว้นแต่เพื่อทำให้เราเข้าใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ ( อัซซุมัร 3 ) การประสานงานระหว่างมุสลิมด้วยกันเพื่อดําเนินกิจการร่วมกันทางด้านการเมือง  ธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบสุขสำหรับพวกเขาเองในสังคม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน( อาละอิมรอน 103 ) * ศาสนาอิสลามได้นำเสนอเรื่องราวที่ซ่อนเร้นให้มนุษย์เข้าใจและบอกเล่าเรื่องราวของประชาชาติก่อนๆ   ดังนั้นโองการของอัลลอฮฺหลายๆโองการจะอธิบายถึงเรื่องราวของศาสนทูตสมัยก่อนๆและความเป็นอยู่ของพวกเขารวมทั้งปัญหาที่พวกเขาประสบพบเจอ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และโดยแน่นอนเราได้ส่งมูซา  พร้อมด้วยสัญญาณต่างๆ ของเราและหลักฐานอันชัดแจ้ง ยังฟิรเอาน์ และบรรดาบุคคลชั้นนำของเขา พวกเขาได้ปฏิบัติตามคำสั่งของฟิรเอาน์ และคำสั่งของฟิรเอาน์ นั้นไม่เหมาะสม ( ฮูด 96-97 ) และอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานอีก ความว่า :และจงรำลึก เมื่ออีซา อิบนฺ มัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นศาสนทูตอัลลอฮฺของอัลลอฮฺมายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอฮฺก่อนหน้าฉันและเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงศาสนทูตอัลลอฮฺคนหนึ่งผู้จะมาภายหลังฉัน ชื่อของเขาคือ อะหมัด( อัศศอฟ 6 )  และตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :  และยังอ๊าด (เราได้ส่ง) พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือฮูด ( ฮูด 50 ) และตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และยังษะมูด( (เราได้ส่ง) พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือซอและฮ์ ( ฮูด 61 ) และเช่นเดียวกันเรื่องราวของบรรดาศาสนทูตอื่นๆ  กุรอ่านได้อธิบายเรื่องราวของพวกเขาอย่างละเอียด* ศาสนาอิสลามได้ประกาศท้าทายทุกหมู่เหล่าทั้งโลกมนุษย์และโลกญิน ให้พวกเขาเขียนโองการต่างๆที่เหมือนกุรอ่านขึ้นใหม่ถ้าพวกเขาเเน่จริง  การท้าทายที่มีอย่างต่อเนื่องจนถึงบัดนี้และจนถึงวันปรโลก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม( อัลอิสรออฺ 88 ) การท้าทายที่ว่านี้จะรวมไปถึงการยกและการอ้างส่วนหนึ่งของบทต่างๆของกุรอ่าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ความว่า :หรือพวกเขากล่าวว่า “เขา(มุฮัมมัด) ได้ปลอมแปลงอัลกุรอานขึ้นมา” (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิด “ดังนั้น พวกท่านจงนำมาสักสิบซูเราะฮ์ที่ถูกปลอมแปลงขึ้นให้ได้อย่างอัลกรุอาน และพวกท่านจงเรียกผู้ที่มีความสามารถในหมู่พวกท่านอื่นจากอัลลอฮ์(ให้มาช่วย) ถ้าพวกท่านเป็นพวกสัตย์จริง  ( ฮูด 13 )   และการท้าทายที่หนักกว่านั้นคือ  การขอให้พวกเขายกบทหนึ่งที่เหมือนกับบทกุรอ่าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่ง ที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว ก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่ง(บทหนึ่ง)เยี่ยงสิ่งนั้น และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 23 ) * ศาสนาอิสลามคือสัญญาณหนึ่งที่เตือนว่า  วันกิยามะฮฺ( วันสิ้นโลก ) ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว  ท่านศาสนทูตได้เล่าให้เราฟังว่า  ท่านคือศาสนทูตแห่งวันสิ้นโลก  การมาของท่านคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าวันสิ้นโลกใกล้เข้ามา   รายงานโดยสาวกท่านหนึ่งชื่อ อะนัส (ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านด้วย )  กล่าวว่า  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า ฉันถูกส่งมาพร้อมๆกับวันกิยามะฮฺเสมือนสองนิ้วนี้   อะนัสกล่าวว่า  แล้วท่านชูนิ้วชี้และนิ้วกลาง ( รายงานโดยมุสลิม ) บ่งบอกให้เห็นว่าท่านคือ ศาสนทูตคนสุดท้าย . ด้านการเมืองในทัศนะอิสลาม บางจุดเกี่ยวกับด้านการเมืองในทัศนะอิสลาม :  อิสลามได้จัดระบบการเมืองการปกครอง  เช่นเดียวกับแง่มุมต่างๆที่อิสลามได้เน้นหนัก บนฐานหลักและกฎส่วนรวมซึ่งเปรียบเสมือนหลักแก่นแท้ที่ใช้ในการก่อตั้งรัฐอิสลาม    ผู้ปกครองในทัศนะอิสลามคือผู้ที่น้อมรับคำสั่งของอัลลอฮฺแล้วนำมาปฏิบัติโดยอาศัยหลักการและกฎทั่วไปด้านการเมืองการปกครองในอิสลาม   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ข้อตัดสินสมัยญาฮิลีญะฮ์ กระนั้นหรือ ที่พวกเขาปรารถนา และใครเล่าที่จะมีข้อตัดสินดียิ่งกว่าอัลลอฮ์สำหรับกลุ่มชนที่เชื่อมั่น( อัลมาอิดะฮฺ 50 )  ดังนั้นผู้นำในทัศนะอิสลามคือตัวแทนของประชาชน ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ :  1- นำคำสั่งของอัลลอฮฺนำมาปฏิบัติตามความสามารถที่อัลลอฮฺให้   และแสวงหาแนวทางที่สร้างความสุขในชีวิตแก่ประชาชน   หมั่นรักษาความสงบและดูแลศาสนาแก่พวกเขา   พร้อมทั้งประกันความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ไม่มีบ่าวคนใดซึ่งอัลลอฮฺทรงเลือกเขาให้ปกครองประชาชนแล้วเขาไม่หมั่นดูแลและตักเตือนพวกเขาอย่างดีพอ  นอกจากเขาจะไม่ได้สัมผัสกลิ่นไอของสวรรค์” ( เศาะฮีฮฺมุสลิม ) ดังนั้นผู้ปนครองในอิสลามจำจะต้องวางตัวในลักษณะดังที่ท่านอุมัร (ขออัลลอฮฺโปรดปรานท่านด้วย) เคยกล่าวกับบรรดาเหล่าสาวกท่านอื่นๆว่า “พวกท่านจงชี้แนะฉันหรือเสนอผู้ใดผู้หนึ่งที่เหมาะสมเพื่อที่ฉันจะได้แต่งตั้งเขาทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวของมุสลิมที่ฉันกังวลใจอยู่   พวกเขาตอบว่า อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาฟฺ  ท่านกล่าวว่า เขาอ่อนแอ  พวกเขากล่าวว่า คนนั้น   ท่านตอบว่าฉันไม่ต้องการเขา   พวกเขาถามว่าแล้วท่านต้องการใคร? ท่านตอบว่าฉันต้องการผู้ซึ่งเวลาเขาเป็นผู้นำแล้วเขาจะอยู่เหมือนคนทั่วไป  และถ้าเขาไม่ได้เป็นผู้นำเขาจะอยู่เหมือนเขาเป็นผู้นำ   พวกเขาตอบว่าพวกเราไม่รู้จักคนในลักษณะนี้นอกจากอัรเราะบีอฺ บิน อัล ฮารีซ เท่านั้น  ท่านตอบว่าใช่พวกท่านพูดถูกต้อง   แล้วท่านก็แต่งตั้งเขาเป็นผู้นำ”2- ในทัศนะอิสลามถือว่า ผู้ใดไม่มีความสามารถในสิ่งที่เขารับผิดชอบเขาจะไม่มีสิทธิที่จะถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว  ตัวอย่างเช่น การแต่งตั้งคนหนึ่งคนใดเพราะเป็นสหายหรือเป็นญาติกัน  โดยไม่สนใจคนที่มีสิทธิมากกว่าเขา   ลองดูแบบอย่างของท่านอบูบักรฺ ( ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านด้วย ) ผู้นำคนแรกของมุสลิมหลังจากท่านศาสนทูตเสียชีวิต  ท่านกล่าวแก่ซัยดฺ บินซุฟยาน  เมื่อท่านส่งไปยังนครชาม ( แถวซีเรีย )  “โอ้ ท่านซัยดฺ ท่านมีญาติพี่น้องมากมาย  ฉันกลัวว่าพวกเขาจะมีอิทธิพลต่อการแต่งตั้งคนที่รับผิดชอบภายใต้การปกครองของท่าน  พึงรู้เถิดว่า ท่านศาสนทูต (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) เคยกล่าวว่า ผู้ใดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบในระหว่างมุสลิมแล้วเขาได้แต่งตั้งคนเพราะความผูกพันที่ดีที่มีต่อเขาสำหรับเขาคือการสาปแช่งของอัลลอฮฺ   อัลลอฮฺไม่ทรงรับซึ่งการงานฟัรฎู ( การงานที่บังคับให้ทำ )และนาฟีละฮฺ( การงานในเชิงสนับสนุนให้ทำ ) ของเขา  จนกระทั่งเขาถูกส่งไปยังนรก” ( อัลมุสตัดรอกฺ 4/ 104 เลขที่ 7024 )  รากฐานและหลักการปกครองในอิสลาม มีข้อพิเศษดังต่อไปนี้ :  - ร็อบบานียะฮฺ ; หมายถึง ระบบที่สร้างด้วยพระเจ้าทุกคนเท่าเทียมกันต่อหน้าพระองค์ทั้งผู้นำและผู้ตาม  รวยจน  สูงตํ่า  ดําขาว  ไม่มีใครที่จะขัดขืนระบบนี้ได้ถึงแม้เขาจะเป็นผู้มีฐานะสูงส่งก็ตาม  และไม่มีใครที่จะสร้างระบบอื่นๆที่ขัดกับระบบนี้ได้หรือปฏิเสธมัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว สำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา  และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง  ( อัลอะฮฺซาบ 36 ) เป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามและเคารพมัน  ไม่ว่าในระดับผู้นำหรือ ผู้ตาม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า “เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม” และชนเหล่านี้พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ  ( อันนุร 51 ) ในระบบการปกครองในอิสลามไม่มีคำว่า อํานาจไร้ขอบเขตที่ครอบครองโดยคนๆเดียว  แม้นว่าเขาจะเป็นผู้นำก็ตาม อํานาจของเขามีขีดจำกัดและต้องอยู่ในขอบเขตที่ศาสนาได้วางไว้   ถ้าเขาไม่ปฏิบัติตามจะไม่มีการเชื่อฟังและแสดงความภักดีต่อคำสั่งของเขา  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า  “มีการบังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่งของมุสลิมในเรื่องที่เขาพึงชอบและเกลียด  ตราบใดที่เขาไม่สั่งการให้ลงมือกระทำในสิ่งที่เป็นบาป  เมื่อเขาทำเช่นนั้นแล้ว จะไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตามและเชื่อฟังเขาอีกแล้ว”( รายงานโดยบุคอรีย์ 3/1469 เลขที่ 1839 )  -ยึดเอาระบบซูรอ ( ประชุมและรวบรวมความคิดเห็นแล้วพิจารณาร่วมกัน ) ซึ่งคือหัวใจหลักของระบบการเมืองการปกครองในอิสลาม  ด้วยระบบนี้เองประเทศอิสลามจึงมั่นคง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และบรรดาผู้ตอบรับต่อพระเจ้าของพวกเขาและดำรงละหมาด และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขาและเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เครื่องปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา( อัซซูรอ 38 ) และอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขาและถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย  ( อาละอิมรอน 159 ) ในโองการที่หนึ่งอัลลอฮฺได้กล่าวคำว่าซูรอหลังคำว่าเศาะลาต( ละหมาด ) ซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักในอิสลาม   บ่งบอกให้รู้ว่าระบบซูรอมีความสำคัญมาก  ทุกเรื่องที่เกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ของประชาชาติควรได้รับการสอบถามข้อคิดเห็นจากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์   สุดท้ายอัลลอฮฺทรงยกย่องผู้ศรัทธาที่ยึดเอาระบบซูรอมาปฏิบัติตามในทุกการงานของพวกเขา.ในโองการที่สองพระองค์อัลลอฮฺได้ขอให้ท่านศาสนทูตในฐานะผู้ปกครองประเทศทำการซูรอในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชาติที่ไม่มีบทบัญญัติของพระเจ้าในเรื่องดังกล่าว   ส่วนเรื่องที่มีบทบัญญัติชัดเจนไม่จำเป็นต้องใช้ระบบซูรอ  ตัวอย่างหนึ่งคือ ท่านศาสนทูตได้ทำการซูรอและขอความคิดเห็นจากบรรดาเหล่าสาวกของท่านซึ่งท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺอธิบายให้เราฟัง โดยกล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดที่ใช้ระบบซูรอมากกว่าท่านศาสนทูต” ( สุนันติรมีซีย์ 4/213 เลขที่ 1714 ) นักวิชาการอิสลามด้านศาสนบัญญัติได้มีมติตรงกันว่า บังคับให้ผู้นำมุสลิมทำการซูรอกับบรรดาผู้ตามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของพวกเขา  เมื่อไหร่ที่พวกเขาละเลยระบบนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของพวกเขาต้องฟ้องร้องและเรียกร้องเพื่อให้พวกเขาได้ใช้สิทธิส่วนนี้  พวกเขาสามารถที่จะอ้างสองโองการข้างต้นมาเป็นหลักฐานได้  เพราะในทัศนะอิสลามถือว่า ผู้นำต้องอยู่ในฐานะตัวแทนที่ต้องทำหน้าที่ให้สมกับที่ได้มอบหมายไว้    ทำนองเดียวกันเป็นหน้าที่ของประชาชนทั่วไปต้องค่อยจับจ้องจับตาการปฏิบัติงานของผู้นำว่าได้ปฏิบัติตามตามคำสั่งของศาสนาหรือไม่   ฉะนั้นอิสลามจึงเปิดโอกาสให้ทุกคนมีอิสระในการนำเสนอแนวคิด และค้านความคิดเห็นด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามกฎกติกาที่พระองค์อัลลอฮฺวางไว้  และต้องห่างไกลจากฟิตนะฮฺด้วย ( ไม่สร้างความเสียหายในสังคม  เช่น  ไม่กดขี่ใคร เป็นต้น ) ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “พึงรู้เถิดว่า การต่อสู้ที่ดีที่สุดคือ การกล่าวสัจธรรมต่อหน้าผู้นำผู้เลวทราม” ( มุสดัดรอกฺ 4/ 551 เลขที่ 8543 ) ท่านอบูบักรฺ ผู้นำคนแรกในอิสลามหลังการเสียชีวิตของศาสทูตมุฮัมมัด  กล่าวว่า “โอ้มนุษย์เอ่ยฉันได้ถูกแต่งตั้งให้รับหน้าที่การงานของพวกเจ้า  ฉันไม่ได้ดีกว่าพวกเจ้า  ดังนั้นถ้าพวกเจ้าเห็นว่าฉันอยู่บนหลักสัจธรรมพวกเจ้าจงช่วยเหลือฉัน   ถ้าพวกเจ้าเห็นว่าฉันอยู่บนหลักแห่งอธรรมพวกเจ้าจงตักเตือนฉัน   พวกเจ้าจงทำการภักดีต่อฉันตราบใดที่ฉันยังภักดีอัลลอฮฺ  ถ้าฉันทำความผิดและทรยศอัลลอฮฺพวกเจ้าอย่าภักดีต่อฉัน . ท่านอุมัร ผู้นำอิสลามรองจากท่านอบูบักรฺ  วันนึ่งท่านได้ลุกขึ้นยืนบนมิมบัรฺ(เวทีในมัสยิด ) แล้วกล่าวให้โอวาทว่า : “โอ้ปวงมนุษย์เอ่ยถ้าพวกเจ้าเห็นตัวฉันเอนเอียงไปในทางที่ไม่ดี  พวกเจ้าจงชักชวนฉันไปในทางที่เที่ยงตรง   ทันทีได้มีคนหนึ่งในบรรดาพวกเขาลุกขึ้นยืนแล้วกล่าวว่า : วัลลอฮฺ ( สาบานด้วยนามอัลลอฮฺ ) ถ้าเราเห็นว่าท่านเอนเอียงพวกเราจะชักชวนท่านด้วยดาบของเรา  ท่านอุมัรมิได้โกรธใดๆ แต่ยกมือขึ้นบนฟากฟ้าแล้วกล่าวว่า : ขอบคุณพระเจ้าที่ส่งคนจากบรรดาประชาชาติของฉันให้เป็นคนที่คอยดัดตัวอุมัรให้ไปในทางที่เที่ยงตรง”ยิ่งไปกว่านั้น  อิสลามสั่งให้ทำการสอบสวนผู้นำและถามไถ่เขา   ซึ่งวันหนึ่งท่านอุมัรเองเคยกล่าวว่า “โอ้ท่านทั้งหลาย  พวกท่านจงเชื่อถือฉันและเชื่อฟังฉันเถิด  พลันได้มีชายคนหนึ่งยืนขึ้น และกล่าวว่า : จะไม่มีการเชื่อถือและการเชื่อฟัง ! อุมัรกล่าวว่า : ทำไมล่ะ ? ชายคนนั้นกล่าวว่า : เพราะเจ้ามีเสื้อใส่สองตัว  เรามีแค่หนึ่ง (ซึ่งท่านอุมัรได้สั่งการก่อนหน้านี้ให้ใส่ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น) ท่านอุมัรจึงร้องตะโกนเรียกว่า : โอ้อับดุลลอฮฺ บุตรอุมัร โปรดอธิบายแก่เขา  ท่านอับดุลลอฮฺกล่าวว่า แท้จริงมันคือเสื้อของฉันอีกตัวหนึ่งซึ่งฉันมอบให้เขา  ชายคนนั้นกล่าวว่า: ตอนนี้พวกเราจะเชื่อถือและจะเชื่อฟังท่าน” อิสลามได้ปกป้องรักษาด้วยระบบแห่งสิทธิและเสรีภาพ  ด้วยเหตุนี้เองอิสลามจึงปกป้องรักษาหลักศาสนบัญญัติให้ผ่านพ้นฝีมือผู้คิดค้นที่มีอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะแน่แท้แล้วการก่อตั้งกฎระเบียบของเขาย่อมมาจากอารมณ์ส่วนตัว   ส่วนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปกครองซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อย  อิสลามเปิดทางให้มุสลิมวางกฎระเบียบและข้อปฏิบัติเองโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับชีวิตประจำวันของพวกเขาตามขีดจำกัดของคุณประโยชน์ที่พวกเขาควรได้รับ ทุกที่ทุกสมัย  ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายและระเบียบการดังกล่าวจะต้องไม่ขัดกับรากฐานแท้และหลักการทั่วไปของอิสลาม . ด้านธุรกิจในอิสลาม บางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานด้านธุรกิจในอิสลาม : ทรัพย์สมบัติคือรากแท้ของการมีชีวิต  ศาสนาอิสลามพยายามเน้นตระหนักกับมัน  โดยหวังที่จะจัดตั้งสังคมที่สมดุลเปี่ยมด้วยความยุติธรรมทางสังคม  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการสร้างแนวทางการดําเนินชีวิตอันทรงเกียรติแก่สมาชิกในสังคม  ฉะนั้น ทรัพย์สมบัติก็เหมือนดังคำตรัสของพระองค์   ซึ่งความว่า :ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้ และความดีทั้งหลายที่จีรังนั้น เป็นการตอบแทนที่ดียิ่ง ณ ที่พระเจ้าของเจ้า และเป็นความหวังที่ดียิ่ง ( อัลกะฮฺฟุ 46 ) อิสลามถือว่า ทรัพย์สมบัติคือปัจจัยจำเป็นที่ทุกคนขาดไม่ได้  ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺได้สั่งการให้หาแนวทางเพื่อให้ได้มาหรือใช้จ่ายมันอย่างเหมาะสม  ในขณะเดียวกันอิสลามสั่งให้เราจ่ายประมาณ 2.50 เปอร์เซ็นต์  ของจำนวนทรัพย์ซึ่งเรียกว่าการออกซะกาต  เป็นการเก็บรวบรวมเงินและทรัพย์สินของคนรวยในรอบหนึ่งปีแล้วแจกจ่ายให้กับคนยากไร้ในสังคม  ซึ่งเราได้อธิบายเรื่องนี้ผ่านมาแล้ว. ทั้งนี้อย่าเข้าใจว่าอิสลามไม่ได้ให้ความอิสระส่วนบุคคลในการครอบครองทรัพย์  หรือการทำธุรกิจส่วนตัว  อิสลามให้ความอิสระเต็มที่ด้านนี้และเคารพสิทธิส่วนนี้ดี  ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติทางศาสนาหลายบทที่ห้ามการล่วงเกินทรัพย์สมบัติคนอื่น   เช่นโองการอัลลอฮฺ ความว่า :และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์ สมบัติของพวกเจ้า ระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ(อัลบะเกาะเราะฮฺ )  ดังนั้น อิสลามได้นำเสนอแผนการต่างๆซึ่งเรียกได้ว่าแนวทางสู่ชีวิตแห่งสันติสุข :  1- ห้ามระบบดอกเบี้ย  เพราะมันเป็นการฉกฉวยโอกาสและการเอารัดเอาเปรียบทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่นโดยไม่มีการชดใช้  ทำให้ความผูกพันที่ดีระหว่างมนุษย์หายไป  ทรัพย์เงินทองจะตกภายใต้อํานาจคนรวยเท่านั้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา   และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า ซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้านะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม( อัลบะเกาะเราะฮฺ 278-279 ) 2- อิสลามสนับสนุนให้มีการกู้ยืมเงิน และได้ส่งเสริมมันอย่างมากเพื่อป้องกันระบบดอกเบี้ยนั่นเอง  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใด้ให้มุสลิมยืมเงินเขาสองครั้งสำหรับเขาคือผลบุญของการบริจาคเงินดังกล่าวหนึ่งครั้ง” ( มุสนัด อบูยุอฺลา 8/443 เลขที่ 5030 )  และท่านได้กล่าวอีกว่า “ผู้ใดช่วยเหลือมุสลิมให้พ้นทุกข์หนึ่งครั้ง  อัลลอฮฺจะทรงให้เขาพ้นทุกข์ในวันปรโลก” อิสลามได้สั่งให้เราเปิดโอกาสและให้เวลาแก่ผู้ติดหนี้ที่ยากไร้จริงๆ  โดยไม่ต้องกดดันให้เขาจ่ายอย่างเข้มงวด  สำหรับผู้ที่ไม่ยากไร้แต่ผลัดวันประกันพรุ่ง  อิสลามไม่ได้สนับสนุนประการใด  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ก็จงให้มีการรอคอยจนกว่าจะถึงคราวสะดวก และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้นย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 280 ) ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ขอความสันติจงปะสบแด่ท่าน) ได้กล่าวความว่า : “ผู้ใดให้เวลาแก่คนยากไร้  สำหรับเขาคือผลบุญของการบริจาคทานในทุกๆวันที่ผ่านไป  และผู้ใดให้โอกาสผู้ติดหนี้ผู้ยากไร้เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้ สำหรับเขาคือผลบุญของการบริจาคเหมือนกันในทุกๆวัน”  ( สุนันอิบนิมาญะฮฺ 2/808 เลขที่ 2418 ) อิสลามสนับสนุนให้เราช่วยเหลือผู้ยืมเงินถ้าเขาไม่สามารถที่จะจ่ายคืนได้  และสำหรับเขาคือผลบุญ  ซึ่งอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้นย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้(อัลบะเกาะเราะฮฺ 280 ) และท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ผู้ใดต้องการให้อัลลอฮฺทรงปลดทุกข์จากตัวเขาในวันปรโลก  ให้เขาแสวงหาผู้ยากไร้ที่ไม่มีทางจ่ายนี้หรือ ยกเลิกหนี้ของเขา” ( สุนันบัยฮะกีย์ อัลกุบรอย์ 5/356 เลขที่ 10756 ) 3-ห้ามไม่ให้กักตุนสินค้าในทุกวิถีทาง  เพราะผู้ที่กักตุนสินค้าคือผู้ที่กักขังสินค้าและปัจจัยยังชีพของคนจนกระทั่งหมดตลาดแล้วตั้งราคาสินค้าให้แพงขึ้นเนื่องจากความโลภส่วนตัว   แน่นอนการกระทำในเชิงนี้สร้างความลําบากแก่คนในสังคมทั้งรวยและจน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดกักตุนสินค้าเขาคือผู้ผิด ( ทำบาป )” (เศาะฮีฮฺมุสลิม 3/1227 เลขที่ 1605 ) นักวิชาการที่ชื่ออบูยูซุฟ สหายท่านอบูฮะนีฟะฮฺ กล่าวว่า ทุกการกีดกั้นที่สร้างความเสียหายแก่ผู้คนถือว่า อิฮติการฺ ( กักตุนสินค้า )  แม้นว่าสิ่งนั้นเป็นทองหรือเงิน  และผู้ใดกักตุนสินค้าถือว่าเขาใช้สิทธิที่เขามีอย่างไม่ชอบธรรม  เพราะจุดประสงค์ของการห้ามการกักตุนสินค้าคือ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน และตามที่รู้กันว่าทุกคนล้วนแล้วมีความต้องการที่แตกต่างกัน  และพึงรู้เถิดว่าการกักตุนสินค้าทำให้ทุกคนได้รับความเสียหายแน่นอน หน้าที่ของผู้นำมุสลิม คือ บังคับนักธุรกิจที่กักตุนสินค้าจนกว่าพวกเขาจะปล่อยสินค้าออกมาขายในท้องตลาดโดยหวังกำไรเพียงเหมาะสมไม่สร้างความเสียหายให้กับพ่อค้าและผู้บริโภค   ถ้านักธุรกิจคนใดปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว  ผู้นำมุสลิมมีสิทธิเต็มที่ในการยึดสินค้าของเขาแล้วนำมาขายในท้องตลาดด้วยราคาที่สมควร  ทั้งนี้ก็เพราะต้องการยับยั้งการกระทำของคนที่ชอบกักตุนสินค้าและกีดขั้นผลประโยชน์ส่วนรวม 4-ไม่อนุญาตเก็บภาษีจากพ่อค้า  เพื่อเเลกเปลี่ยนกับการอนุญาตให้เขาทำการค้าขายได้หรือ นำสินค้าเข้าประเทศได้  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “เจ้าของเก็บภาษีจะไม่เข้าสวรรค์” ( อิบนุคุซัยมะฮฺ 4/51 เลขที่ 2333 ) หมายถึงการยึดเอาเงินจากคนในขณะที่ไม่มีการอนุญาตให้เอาจากเขา และมอบเงินนั้นให้อีกคนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิได้รับมัน   ทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับการนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รวบรวม  ผู้จดบันทึก  ผู้เป็นพยาน หรือ ผู้รับ  ล้วนแล้วเข้ากับวจนะท่านศาสนทูตที่กล่าวว่า “แท้จริงแล้วเลือดเนื้อที่เจริญเติบโตด้วยสิ่งซึ่งถูกห้าม นรกเหมาะที่สุดสำหรับเขา” (เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 12/378 เลขที่ 5567 )5-ไม่อนุญาตให้ครองทรัพย์สมบัติจนกระทั่งไม่ยอมแจกจ่ายไปในหนทางของอัลลอฮฺเพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและสมาชิกในสังคม  เพราะแท้จริงแล้วฐานะของเงินที่ถูกต้องคือ การหมุนเวียนในสังคมเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ  ส่งผลในเวลาต่อมาให้ทุกคนได้รับประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามต้องการ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน :ความว่า :และบรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในทางของอัลลอฮ์นั้น จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิด ด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด ( อัตเตาบะฮฺ 34 ) อิสลามยอมรับสิทธิส่วนบุคคลในการครอบครองทรัพย์  ในทำนองเดียวกันอิสลามได้นำเสนอสิทธิและหน้าที่ในการครอบครองทรัพย์ส่วนตัว  อาทิ หน้าที่ของผู้ครองทรัพย์เอง  เช่น การใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและเพื่อครอบครัวของเขาตลอดจนญาติพี่น้องของเขาที่จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือ  และหน้าที่ของเขาที่มีต่อสมาชิกในสังคมโดยการแจกจ่ายซะกาตและบริจาคให้พวกเขา  และลำดับต่อไปคือหน้าที่ของเขาที่มีต่อสังคม  เช่น  การทุ่มเทเงินเพื่อสร้างโรงเรียน  สร้างโรงพยาบาล  สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และมัสญิด  รวมถึงทุกอย่างที่มีประโยชน์ต่อสังคมโดยเฉพาะในยามต้องการความช่วยเหลือ  การปฏิบัติทำในเชิงนี้ถือว่าเป็นการหมุนเวียนทรัพย์สินให้มีการเคลื่อนไหวมิใช่เฉพาะการยึดครองมันโดยคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  6-ห้ามพร่องเวลาตวงและชั่ง เพราะมันเป็นการลักขโมยยักยอก ฉ้อโกง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ความหายนะจงประสบแด่บรรดาผู้ทำให้พร่อง (ในการตวงและการชั่ง)  คือบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาตวงเอาจากคนอื่นก็ตวงเอาเต็ม   และเมื่อพวกเขาตวงหรือชั่งให้คนอื่นก็ทำให้ขาด ( อัลมุฏ็อฟฟิฟีน 1-3 )   ไม่อนุญาตให้ยึดครองสมบัติสาธารณะหรือของส่วนรวมอาทิ นํ้า  สถานที่เฉพาะเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ซึ่งเป็นของส่วนรวม   และห้ามขัดขวางการได้รับประโยชน์ส่วนนี้  เพราะท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “บุคคลสามจำพวกซึ่งพระองค์อัลลอฮฺจะไม่จดจำเขา  ไม่มองเขา หนึ่ง ผู้ซึ่งสาบานเท็จเพื่อสินค้าบางอย่างที่เขาจะได้รับค่าของมันมาก และผู้ที่สาบานตนเพื่อยืนยันคำสาบานที่เป็นเท็จหลังละหมาดอัสริเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของมุสลิมคนหนึ่ง  และผู้ซึ่งขัดขวางผู้อื่นไม่ให้ได้รับประโยชน์จากนํ้าที่เหลือใช้  ดังนั้นในวันปรโลกอัลลอฮฺจะกล่าวแก่เขาว่า  วันนี้ฉันจะห้ามเจ้าซึ่งการได้รับประโยชน์จากฉันเหมือนกับที่เจ้าห้ามเขาซึ่งการได้รับประโยชน์จากสิ่งซึ่งเจ้าไม่ได้ทำมันด้วยมือเจ้าเอง” ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า มุสลิมทุกคนจำต้องได้รับประโยชน์ร่วมกันจากสามสิ่งต่อไปนี้ คือ หญ้า  น้ำ  และไฟ  7-อิสลามได้นำเสนอระบบการแบ่งปันมรดก  จัดการเรื่องมรดกให้กับผู้รับมรดกแล้วแต่ความใกล้ชิดของญาติพี่น้องและการได้ประโยชน์ของเจ้าของมรดก   คนอื่นไม่มีสิทธิในการแบ่งปันมรดกตามอําเภอใจและอารมณ์ของเขา  ข้อดีของระบบนี้คือ การจัดแบ่งทรัพย์สินที่เป็นก้อนใหญ่ให้เป็นปลีกย่อยตามสิทธิที่ทุกคนควรได้รับ  เพราะการระดมทรัพย์ให้อยู่ภายใต้การครอบครองของคนเพียงกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้จัดแบ่งปันมรดกแก่ทุกคนตามที่เขามีสิทธิ  ดังนั้น จะไม่มีการสั่งเสียให้แก่ผู้รับมรดกคนเดียวอีกแล้ว” ( สุนันอบีดาวูด 3/ 114 เลขที่ 2870 ) 8-ระบบวัคฟฺ ( อุทิศ และบริจาคเพื่อส่วนรวม ) ซึ่งอิสลามได้สนับสนุนให้อุทิศทรัพย์สินหรือบริจาคมันเพื่อส่วนรวม  มีทั้งหมด สองชนิดด้วยกัน :การวัคฟฺเฉพาะญาติพี่น้องเท่านั้นเพื่อไม่ให้พวกเขาตกยากลําบากหรือต้องขอทานจากผู้อื่น  เงื่อนไขของมันคือ คุณประโยชน์ของมันหลังการจากไปของญาติพี่น้องต้องขึ้นเป็นของกลาง .การวัคฟฺเพื่อส่วนรวม หมายถึงคุณประโยชน์ของมันเพื่อคนส่วนรวมในสังคมไม่เจาะจงใคร  อาทิ การสร้างโรงพยาบาล  โรงเรียน ถนนหนทาง ห้องสมุดทั่วไป  มัสญิด  สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “เมื่ออิบนุอาดัม ( มนุษย์ ) สิ้นชีวิตทุกการงานของเขาจะจบสิ้นนอกจากสามสิ่งด้วยกัน คือ  ของบริจาคทานที่มีผลบุญรินไหลไปหาเขา  ความรู้ที่ยังประโยชน์  และลูกหลานที่ดีได้ขอพรให้แก่เขา”  9-ระบบวะเศียะฮฺ ในอิสลาม( การสั่งเสียเรื่องมรดกเพื่อมอบให้ใครสักคน ) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเปิดทางให้มุสลิมสั่งเสียเรื่องการแบ่งส่วนมรดกหลังจากที่เขาเสียชีวิต  และอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้เขาบริจาคไปในทางที่เป็นกุศล  ระบบที่ว่านี้ต้องเป็นไปด้วยเงื่อนไขคือ ต้องไม่เกินอัตรา หนึ่งส่วนสามของมรดกทั้งหมด  ทั้งนี้เพื่อมิให้ทำร้ายต่อญาติพี่น้องคนอื่นๆ  จากอะมีรฺ บิน ซะอดฺ  กล่าวว่า วันหนึ่งท่านศาสนทูตได้ไปเยี่ยมเยียนฉันที่บ้านในขณะที่ฉันกำลังป่วย ที่มักกะฮฺ  ฉันกล่าวว่า  ฉันมีทรัพย์สมบัติ  ฉันต้องการสั่งเสียโดยการบริจาคทั้งหมด ท่านกล่าวว่า ไม่  ฉันกล่าวว่าแล้วครึ่งหนึ่งล่ะ  ท่านตอบว่าไม่  ฉันกล่าวว่าแล้วหนึ่งส่วนสามล่ะ ท่านตอบว่า หนึ่งส่วนสามนั้นมากพอ การที่ท่านอําลาจากพวกเขาในขณะที่ท่านทำให้พวกเขาร่ำรวยย่อมดีกว่าการที่ท่านทิ้งพวกเขาอยู่อย่างยากจนต้องขอทานจากผู้อื่น  เช่นนั้นแล้วหากท่านได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกเขามากเพียงใด  สำหรับท่านคือผลบุญของการเศาะดาเกาะฮฺ(บุญบริจาคทาน )   แม้กระทั่งอาหารมื้อหนึ่งสำหรับภรรยาของท่าน  อัลลอฮฺก็จะทรงยกฐานะท่าน  แต่สำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากท่าน อีกกลุ่มหนึ่งอาจจะทำร้ายท่านก็เป็นได้” ( เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ 3/1255 เลขที่ 1631 )10-อิสลามได้ห้ามทุกการกระทำที่ถูกกล่าวในโองการอัลลอฮฺ  ซึ่งความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้า ในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ (อันนิซาอฺ 29 ) การกระทำที่ห้ามดังกล่าว  อาทิ การได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเนื่องจากการฉกชิงมันมาโดยไม่ชอบธรรม ไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวคือการกดขี่พี่น้องมุสลิมด้วยกันและเป็นการทำลายสังคม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดที่ยึดเอาสิทธิมุสลิมมาด้วยการสาบานตนเท็จ แน่แท้อัลลอฮฺได้เตรียมนรกสำหรับเขา  ห้ามเขาไม่ให้เข้าสวรรค์อย่างเด็ดขาด  ชายคนหนึ่งกล่าวว่า แม้สิ่งนั้นเป็นเพียงน้อยนิดหรือโอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ? ท่านตอบว่า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่กิ่งรากไม้อะรอกฺ ( อะรอกฺ คือต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งคนอารับจะเอารากมันมาใช้ในการทำความสะอาดฟันได้ )”  ( รายงานโดยมุสลิม 1/123 เลขที่ 137 ) -การได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการลักขโมย  มันคือการยึดครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “คนมุอฺมินไม่กระทำซินาในขณะที่เขาต้องการทำซินา ( ผิดประเวณี )  และเขาจะไม่ลักขโมยในขณะที่เขากำลังจะขโมย  และเขาจะไม่ดื่มสุราในขณะที่เขาปรารถนาดื่มสุรา  และประตูเตาบะฮฺ( กลับตัว )ยังรออยู่หลังจากนั้น” ( มุสลิม 1/77 เลขที่ 57 ) -การได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการหลอกลวงและฉ้อโกง ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ยกเอาอาวุธมาขู่ในระหว่างพวกเรา เขาไม่ใช่พวกเรา  และผู้ใดฉ้อโกงพวกเรา  เขาไม่ใช่พวกเรา” ( มุสลิม 1/ 99 เลขที่ 101 ) -การได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการติดสินบน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์ สมบัติของพวกเจ้า ระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ และจงอย่าจ่ายมัน ให้แก่ผู้พิพากษา เพื่อที่พวกเจ้าจะได้กินส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินสมบัติของผู้อื่น ด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นบาปทั้งๆ ที่พวกเจ้ารู้กันอยู่ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 188 ) และเพราะคำกล่าวของท่านศาสนทูตซึ่งความว่า : “อัลลอฮฺสาปแช่งผู้ให้และผู้รับสินบนเพื่อตัดสินคดี” ( เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 11/ 467 เลขที่ 5076 )ผู้ให้สินบนคือคนที่มอบสินบนแก่ผู้อื่น  ผู้รับสินบนคือ ผู้ได้รับสินบนจากผู้มอบสินบน ในบางรายงานกล่าวว่า อัรรออิซ หมายถึง ผู้เป็นกลางระหว่างผู้ให้กับผู้รับ  อัลลอฮฺสาปแช่งผู้ให้สินบนเพราะเขาคือต้นเหตุแห่งการแพร่กระจายการกระทำอันเลวทรามนี้ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคม  เพราะถ้าเขาไม่ให้คงไม่มีผู้รับสินบน  อัลลอฮฺสาปแช่งผู้รับสินบนเพราะ เขาทำร้ายผู้ให้สินบนโดยการที่เขารับสินบนอย่างไม่ชอบธรรม  และเพราะเขาได้ทำลายเกียรติหน้าที่ของเขาเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องทำตามหน้าที่อยู่แล้ว  รวมทั้งความเสียหายของฝ่ายตรงข้าม  ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี   ส่วนคนกลางระหว่างสองคนเพราะเขาได้รับสินบนจากทั้งสองโดยไม่ชอบธรรม และให้การสนับสนุนในการแพร่กระจายอาชญากรรมนี้ - ห้ามมิให้มีการขายสินค้าแซงคิวผู้ขายด้วยกัน นอกจากเขาจะยินยอมให้กระทำได้   เพราะการกระทำในเชิงนี้คือต้นเหตุแห่งการเป็นศัตรูและสร้างความโกรธแค้นระหว่างสมาชิกในสังคม  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  “ชายคนหนึ่งจะไม่ขายสินค้าตัดหน้าเพื่อนเขา และจะไม่สู่ขอหรือหมั้นตัดหน้าเพื่อนเขานอกจากเขาจะยินยอมให้”   (มุสลิม 2/ -/ เลขที่ 1412 )  ด้านสังคมในอิสลาม บางเรื่องที่เกี่ยวข้องด้านสังคมในทัศนะอิสลาม : อิสลามคือระบบที่มาจัดการสังคมให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  มีการจัดสรรภาระหน้าที่ตามความรับผิดชอบของแต่ละคนในสังคม  ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขของสังคม  สิทธิหน้าที่ในสังคมมีทั้งเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคล  และมีแบบส่วนรวมทั่วไป  สิทธิหน้าที่แบบเฉพาะเจาะจงแก่ส่วนบุคคล มีดังนี้ :     สิทธิของผู้นำที่สมควรได้รับ :-การภักดีต่อเขาและเชื่อฟังเขาในเรื่องที่ไม่ขัดกับข้อห้ามของพระเจ้าอัลลอฮฺ  และตลอดใดที่เขาไม่ได้สั่งการให้ทำในสิ่งที่ผิดข้อห้ามของพระเจ้า  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังศาสนทูตอัลลอฮฺเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย ( อันนิซาอฺ 59 )  - ให้คำตักเตือนเขาเเละไม่หลอกลวงเขาด้วยการประนีประนอม  กล่าวคือ พยายามแนะนำเขาไปสู่แนวทางที่ให้ประโยชน์ต่อตัวเขาเองและสมาชิกในสังคมที่อยู่ใต้การปกครองของเขา และให้การชี้แนะเขาในสิ่งที่ประชาชนต้องการ  ลองพิจารณาคำตรัสของอัลลอฮฺที่ทรงมอบให้ท่านศาสนทูตมูซาและน้องชายของท่านคือศาสนทูตฮารูณ โดยให้ท่านกล่าวคำนี้แก่ฟิรเอาน์   พระองค์ตรัส    ความว่า :แล้วเจ้าทั้งสองจงพูดกับเขาด้วยคำพูดที่อ่อนโยน บางทีเขาอาจจะรำลึกขึ้นมา หรือเกิดความยำเกรงขึ้น ( ฏอฮา 44 ) และท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ศาสนาคือการตักเตือน  พวกเราถามว่า เพื่อใครหรือ ? ท่านตอบว่า เพื่ออัลลอฮฺ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ  บรรดาศาสนของทูตอัลลอฮฺ  บรรดาผู้นำของปวงชนมุสลิม และบุคคลทั่วไป” ( เศาะฮีฮฺมุสลิม 1/74 เลขที่ 55 ) - อยู่เคียงข้างเขาในยามตกทุกข์และวิกฤต  ไม่ควรประกาศออกนอกคำสั่งเขา  ให้ความช่วยเหลือเขาและอย่าทอดทิ้งเขาเพียงลำพัง  แม้ว่าเขาจะมาจากกลุ่มคนที่ท่านไม่ให้สัตยาบันแก่เขา เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ใครที่มาในบรรดาพวกท่าน  ในขณะที่เรื่องต่างๆ ของพวกท่านอยู่ในกำมือผู้นำคนหนึ่ง โดยเขาต้องการมาทำลายความเป็นหนึ่งของพวกท่าน หรือ สร้างความแตกแยกในระหว่างพวกท่าน  ก็จงฆ่าเขาเสีย” ( เศาะฮีฮฺมุสลิม 3/1480 เลขที่ 1852 )   หน้าที่ของผู้นำเเละสิทธิของปวงชนที่สมควรได้รับ : - ให้ความยุติธรรมระหว่างพวกเขาอย่างเทียมเท่ากัน  กล่าวคือ ให้ตามสิทธิที่พวกเขาสมควรได้รับด้วยความยุติธรรม  ไม่ว่าจะเป็นด้านภาระหน้าที่  ด้านการแบ่งงานความรับผิดชอบ  ด้านการตัดสิน   ทุกคนเท่าเทียมกันต่อหน้าผู้นำ  ไม่มีใครได้เปรียบมากกว่าใครหรือ ไม่มีการเอนเอียงไปยังกลุ่มหนึ่งแล้วทอดทิ้งอีกกลุ่มหนึ่ง  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “แท้จริงแล้วผู้ที่เป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮฺที่สุดและได้ประทับอยู่ใกล้พระองค์มากที่สุดในวันปรโลกคือ ผู้นำที่มีความยุติธรรม  และผู้ซึ่งถูกกริ้ว  ณ  ที่อัลลอฮฺและโดนลงโทษสาหัสที่สุดในวันปรโลกคือ ผู้นำที่อธรรม”  ( สุนันอัตติรมีซีย์ 3/ 671 เลขที่ 1329 ) - ไม่อธรรมต่อปวงชนที่อยู่ภายใต้การดูแล  และไม่หลอกลวงพวกเขา ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ไม่มีบ่าวอัลลอฮฮคนใดที่อัลลอฮฺทรงฝากให้เขาดูแลประชาชน  เมื่อเขาได้เสียชีวิตไปในขณะที่เขาเป็นผู้หลอกลวงประชาชนของเขา นอกจากอัลลอฮฺจะทรงห้ามเขาไม่ให้เข้าสวรรค์  ( เศาะฮีฮฺมุสลิม 1/ 125 เลขที่ 142 ) - รับฟังความคิดเห็นของพวกเขาในเรื่องที่มีความสำคัญต่อพวกเขาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง  ความเป็นอยู่ในสังคม  และเรื่องเศรษฐกิจ เป็นต้น  การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในเรื่องที่ไม่มีบทบัญญัติแน่นอน  พร้อมให้โอกาสพวกเขาเสนอความคิดเห็นหรือ เจรจาอย่างอิสระ  และเขาควรจะพิจารณาและรับความความคิดเห็นที่ใกล้กับผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด  ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกำลังอยู่ในช่วงสงครามบะดัรซึ่งท่านได้นำทัพมาถึงที่แห่งหนึ่งก่อนถึงแหล่งน้ำ   ทันทีมีสาวกท่านหนึ่งถามว่า การกระทำนี้มันคือคำสั่งที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาแก่ท่านหรือว่า มันเป็นกลยุทธ์ในการทำสงคราม? ท่านตอบว่า นี่คือกลยุทธ์ในการทำสงคราม  แล้วสาวกคนนั้นกล่าวว่า  ทางที่ดี สถานที่ซึ่งเราจะหยุดพักต้องเป็นหลังแหล่งน้ำเพื่อขวางกั้นเหล่าศัตรู  ท่านจึงเห็นด้วยกับความคิดของเขา  ท่านเลยปฏิบัติตาม.-แหล่งที่มาและกฎหมายหลักของเขาที่ใช้ในการปกครองประชาชนคือ กฎหมายอิสลาม ไม่ใช่ความคิดเห็นและอารมณ์ส่วนตัวหรือ กฏธรรมเนียมทั่วไปซึ่งบางครั้งผิดบางครั้งถูกต้อง  ท่านอุมัร อัลค็อฏฏ็อบหลังจากท่านได้เป็นคอลีฟะฮฺ( ผู้นํามุสลิม ) ท่านได้บอกกับอบูมัรยัม อัสสะลูลี ผู้ที่ฆ่าน้องชายเขาที่ชื่อซัยดฺ บิน อัลค็อฏฏ็อบว่า : วัลลลอฮฺ ( สาบานด้วยนามอัลลอฮฺ ) ฉันจะไม่รักเจ้าตลอดไปจนกว่าพื้นดินจะชุ่มไปด้วยเลือด  เขาตอบว่า แล้วสิ่งนั้นสามารถที่จะห้ามฉันได้จริงหรือ ? ท่านตอบว่า ไม่  เขาตอบว่า ถ้าเช่นนั้นคงไม่มีปัญหา เพราะคนที่เสียใจเพราะขาดความรักคือ บรรดาผู้หญิง . - เขาจะต้องไม่ปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าหา หรือปิดประตูห้องโดยไม่อนุญาตให้พวกเขาเข้าหา  หรือ แสดงความหยิ่งยโสต่อปวงชนของเขา  หรือการจัดให้มีคนเฝ้าประตูเพื่อให้อนุญาตเฉพาะคนที่เขาต้องการพบเท่านั้น ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดได้ถูกแต่งตั้งให้รับผิดชอบดูแลประชาชนมุสลิม แล้วเขาได้ห้ามประชาชนของเขาเข้าหาเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ต้องการ  หรือห้ามร้องทุกข์ แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงห้ามเขาเข้าหาอัลลอฮฺเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการหรือร้องทุกข์ในวันปรโลก” (อัลมุสดัดรอกฺ 4/105 เลขที่ 7027 ) - เขาควรเมตตาประชาชนและไม่มอบภาระแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาไม่มีความสามารถ หรือ สร้างความลําบากแก่การดํารงชีพของพวกเขา  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “โอ้ ข้าแต่พระองค์ ผู้ใดที่รับผิดชอบดูแลประชาชาติของฉันเล้วเขาได้สร้างความลําบากแก่พวกเขา  จงให้เขาลําบากด้วย  และผู้ใดที่รับผิดชอบประชาชาติฉันแล้วเขาได้เมตตาปรานีพวกเขา  จงเมตตาเขาด้วยเถิด” ( มุสลิม 3/ 1458 เลขที่ 1828 ) ท่านอุมัร ได้อธิบายถึงความสำคัญของเรื่องนี้ว่า “วัลลอฮฺ ถ้าม้าตัวหนึ่งพลาดเท้าหรือสะดุดเท้าในเมืองอิรัก ฉันกลัวเหลือเกินว่าอัลลอฮฺจะสอบสวนฉันว่า ทำไม ฉันไม่ทำทางเฉพาะให้มัน” แท้จริงแล้วผู้นำในทัศนะอิสลามควรจะวางตัวให้เหมือนกับคำกล่าวของฮะซัน อัลบัศรีย์ ซึ่งท่านได้เขียนในจดหมายเล่มหนึ่งที่ส่งไปยังอุมัรบิร อับดุลฮะซีซ ท่านกล่าวว่า จงรู้เถิดโอ้อะมีรรุลมุอฺมินีน ( เป็นชื่อเรียกของคนที่เป็นผู้นำมุสลิม ) แท้จริงอัลลอฮฺทรงแต่งตั้งผู้นำที่มีความยุติธรรมเพื่อเป็นผู้ที่คอยปรับเปลี่ยนคนที่เอนเอียงออกนอกแนวทาง  เป็นผู้ที่ปรับปรุงนิสัยของคนชั่ว  เป็นพลังที่สร้างความเข้มแข็งแก่คนอ่อนแอ  เป็นผู้ให้ความยุติธรรมแก่คนถูกรังแก  และเป็นผู้ช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์.ผู้นำผู้มีความยุติธรรมและมีคุณธรรม โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีนเอ่ย  เปรียบดังเจ้าของอูฐที่เลี้ยงมันด้วยความเมตตาปรานี คอยเอาใจใส่มันโดยเลือกทุ่งหญ้าที่ดีที่สุดให้มัน  ปกป้องมันให้ห่างไกลจากเหตุร้าย   และสัตว์ดุร้ายนานาชนิดที่จะมาทำร้ายมัน  และดูแลมันมิให้โดนแดดร้อนหรือหนาวเย็น . ผู้นำที่ดีมีคุณธรรม โอ้  ท่านอะมีรุลมุอฺมินีน ประดุจดังบิดาที่คอยเมตตาบุตร คอยแสวงหาแต่สิ่งที่ดีมอบให้พวกเขา  หมั่นสั่งสอนพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาเติบใหญ่พร้อมทั้งชี้แนะแนวทางเพื่อการแสวงหาปัจจัยยังชีพ  และหมั่นเก็บรักษาสิ่งดีๆให้พวกเขาก่อนที่จะเสียชีวิตไป.และผู้นำที่ดีมีคุณธรรม โอ้  ท่านอะมีรุลมุอฺมินีน ประดุจดังมารดาที่คอยเมตตาลูกและทำดีกับเขา ตั้งท้องเขามาด้วยความลําบาก  คลอดเขาด้วยความยากเย็น  เลี้ยงดูเขาตอนอ่อนวัย   นอนดึกเพราะเขา  รู้สึกปลื้มใจเมื่อเขามีความสุข   ให้น้ำนมแก่เขาในระยะหนึ่ง  แล้วหย่านมให้เขาระยะถัดไป  มีความสุขเมื่อเขาสุขสบาย   มีทุกข์เมื่อเขาตกทุกข์.   และผู้นำที่ดีมีคุณธรรม โอ้  ท่านอะมีรุลมุอฺมินีน คือ ผู้รับหน้าที่ในการดูแลเด็กกำพร้า  ผู้รักษาคลังทรัพย์เพื่อคนยากไร้   ผู้ดูแลสั่งสอนบรรดาเด็กๆ  และผู้ให้การชี้นำเหล่าผู้ใหญ่ .และผู้นำที่ดีมีคุณธรรม โอ้  ท่านอะมีรุลมุอฺมินีน  เปรียบเสมือนหัวใจก้อนหนึ่งของร่างกายมนุษย์  อวัยวะในร่างกายดีเพราะมัน  หรือเสื่อมเสียเพราะมันได้ .และผู้นำที่ดีมีคุณธรรม โอ้  ท่านอะมีรุลมุอฺมินีน คือ ผู้ทำหน้าที่ระหว่างพระเจ้าและบ่าวของพระองค์  เขาจะฟังคำตรัสของพระองค์แล้วไปเล่าให้พวกเขาฟัง   เขาจะมองดูทุกสิ่งในหนทางของอัลลอฮฺแล้วไปแนะนำให้พวกเขาเห็นและมองตาม  เขาจะนำตัวของเขาให้ภักดีต่ออัลลอฮฺแล้วชักชวนพวกเขาให้ภักดีตาม  .ดังนั้น  โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีน  เจ้าอย่าได้ใช้สิทธิที่อัลลอฮฺให้เจ้ามาเสมือนทาสคนหนึ่งซึ่งนายของเขาได้มอบหน้าที่มาเพื่อรับผิดชอบในการรักษาทรัพย์และดูแลครอบครัวของนาย  แต่เขากลับทำลายทรัพย์สินเหล่านั้นและขับไล่ครอบครัวของนายออกไป  เขาได้ทำให้ครอบครัวของนายยากจนอีกทั้งได้ทำลายทรัพย์สินของนายเขาไปด้วย .พึงรู้เถิด โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีน แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติบทโทษต่างๆเพื่อหวังที่จะยับยั้งการกระทำอันเลวทรามและสกปรก  จะเป็นเช่นใดเล่าถ้าผู้ที่ดูแลนั้นลงมือกระทำเอง?  แท้จริงอัลลอฮฺได้บังคับให้ดําเนินกิศอซ( ประหารชีวิต) เพื่อการธํารงไว้ซึ่งชีวิตของปวงบ่าว  แล้วจะเป็นเช่นใดเล่าถ้าผู้ที่ฆ่าพวกเขาคือผู้ที่รับหน้าที่ดําเนินกิศอซเอง ?จำไว้  โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีน ความตายและชีวิตหลังความตาย ในขณะที่เจ้ามิอาจหลีกเลี่ยงมันได้ ดังนั้นเจ้าจงเตรียมพร้อมเพื่อรับวันแห่งความหวาดกลัวนั้นและเพื่อชีวิตของเจ้าหลังจากมัน .พึงรู้เถิด  โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีน แท้จริงสำหรับเจ้านั้นสถานที่พํานักที่มิใช่สถานที่ที่เจ้าได้พำนักในวันนี้ แต่เป็นสถานที่พํานักซึ่งยาวนานกว่า  เจ้าต้องทิ้งเพื่อนสหายของเจ้าในวันนั้นซึ่งต่างคนต่างให้สลามเจ้าแล้วทิ้งเจ้าอยู่ตามลําพังเพียงผู้เดียว ดังนั้นเจ้าจงทำการเตรียมพร้อมเพื่อวันนั้น มันเป็นวันที่ใครคนหนึ่งต้องหนีจากพี่น้องของเขา  พ่อแม่ของเขา และเพื่อนฝูงตลอดจนลูกหลานของเขา . จงจำไว้เถิด  โอ้  อะมีรุลมุอฺมินีน วันแห่งการฟื้นชีพจากหลุมฝังศพทุกสิ่งทุกอย่างในหัวอกถูกเปิดเผย  ในวันนั้นสมุดบันทึกจะถูกกางออก  และสิ่งที่ถูกบันทึกแม้เพียงน้อยนิดก็จะถูกสอบสวน  ดังนั้น ตอนนี้เจ้ายังมีเวลาเหลือพอก่อนที่จะถึงวันแห่งการจบสิ้นลมหายใจ . เจ้าจงอย่าตัดสินบ่าวอัลลอฮฺด้วยกฎญะฮีลียะฮฺ( ยุคอารับก่อนอิสลามซึ่งเรียกว่ายุคมืดมนเพราะความโง่เขลาและ ขาดความรู้)  เจ้าอย่านำทางพวกเขาไปสู่หนทางของเหล่าผู้อธรรม  เจ้าอย่าให้โอกาสพวกคนหยิ่งยโสมีอิทธิพลต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า  แท้จริงแล้วพวกเขาจะไม่คำนึงถึงเครือญาติและพันธะใดๆ กระทั่งผู้ศรัทธาคนหนึ่งคนใด  ดังนั้นเจ้าจงเตรียมพร้อมแบกความผิดต่างๆและความผิดของเจ้า .  เจ้าอย่าได้หลงกลพวกที่คอยเเอบมีความสุขในยามที่เจ้าตกทุกข์  หรือพวกที่คอยเกาะกินแต่สิ่งดีๆโดยหวังเพียงแค่ต้องการให้ความดีของเจ้าต้องสูญเสียไปในวันปรโลก   เจ้าอย่าดูถูกความสามารถของเจ้าวันนี้   ทว่าเจ้าจงมองมันในอนาคตอันไกล   และพึงรู้เถิดว่าเจ้านั้นถูกผูกมัดด้วยสายเชือกแห่งความตาย  ถูกให้ยืนคุกเข่าต่อหน้าองค์อภิบาล  ซึ่งเป็นที่ที่มีทั้งบรรดามลาอิกะฮฺและบรรดาเหล่าศาสนทูตและศาสนทูตอัลลอฮฺคอยจับจ้องเจ้า  ในวันนั้นซึ่งใบหน้าทั้งหลายได้สยบต่อพระผู้ทรงเป็นอยู่เสมอ  พระผู้ทรงอมตะ . แท้จริงแล้ว โอ้ อะมีรุลมุอฺมินีน คำเตือนของฉันอาจจะไม่ทั่วถึงเช่นเดียวกันกับข้อห้ามของฉัน แต่ฉันก็ไม่ได้ละความพยายามในความปรารถนาดีและให้คำตักเตือนต่อท่าน  ฉันจึงได้ส่งจดหมายฉบับนี้ซึ่งเปรียบเสมือนยาบําบัดแก่เพื่อนสหายของฉัน  เหมือนตัวยาอื่นๆที่ท่านอาจจะเกลียดชังมัน  แต่ด้วยความหวังที่ว่า อยากให้ท่านหายป่วยและมีความสุขสบาย  และสุดท้ายขอความสันติจากอัลลอฮฺจงมีแด่ท่านโอ้อะมีรุลมุอฺมินีน  ตลอดจนความเมตตาและความจำเริญของพระองค์ด้วยเถิด.  สิทธิของพ่อแม่  คือ การแสดงความจำนงและภักดีต่อพ่อแม่ตราบใดที่ท่านทั้งสองไม่ใช้ให้กระทำในสิ่งที่ผิดและเป็นบาป  ห้ามทรยศท่านทั้งสองแต่ให้หมั่นทำดีกับท่านทั้งสองด้วยความทุ่มเท  หรือมอบสิ่งดีๆต่อท่านพร้อมทั้งดูแลให้ท่านได้รับสิ่งที่จำเป็น  อาทิ  เรื่องอาหารการกิน  เครื่องดื่ม  เครื่องแต่งกายและที่พักอาศัย  จงเชื่อฟังในคำพูดของท่าน  ไม่แสดงความหยิ่งยโสต่อหน้าท่าน  อดทนอดกลั้นในการดูแลท่าน  ตระนักถึงความรู้สึกของท่านเสมอ  ไม่พูดจาในสิ่งที่สร้างความเสียหายหรือกระทบต่อความรู้สึกของท่านทั้งสอง  ไม่แสดงกิริยาอาการโกรธเคืองต่อหน้าท่าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน   และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า “ข่าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย” ( อัลอิสรออฺ 23-24 ) อิสลามถือว่าทรยศพ่อแม่นั้น คือบาปใหญ่หลวง  จากท่านอับดุลลอฮฺบิน อัมรฺ (ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านทั้งสองด้วย) กล่าวว่า : ได้มีคนอารับคนหนึ่งมาพบท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ : อะไรคือบาปใหญ่ ? ท่านตอบว่า การตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺ  เขาถามอีกว่าแล้วอะไรอีก? ท่านตอบว่า แล้วการทรยศต่อพ่อแม่ เขากล่าวว่า แล้วอะไรอีก?  ท่านตอบว่า คำสาบานที่เป็นเท็จ  ฉันถามว่าอะไรคือ คำสาบานที่เป็นเท็จ? ท่านตอบว่า คือผู้ที่ยึดเอาทรัพย์สินเงินทองคนอื่นมาด้วยการพูดเท็จ” ( มุสลิม 6/2535 เลขที่ 6522 ) อิสลามได้อธิบายถึงความสูงส่งของพ่อแม่และบอกสิทธิที่ทั้งสองควรได้รับ  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ความโปรดปรานของอัลลอฮฺขึ้นอยู่กับความโปรดปรานของพ่อแม่   ความกริ้วของอัลลอฮฺขึ้นอยู่กับความโกรธของพ่อแม่”( เศาะฮีฮฺ อิบนุฮิบบาน 2/ 172 เลขที่ 429 ) สิทธิของพ่อแม่ดังกล่าวนี้เป็นที่บังคับให้กระทำต่อพ่อแม่  แม้ว่าท่านทั้งสองจะอยู่ในศาสนาอื่นก็ตาม  จากท่านหญิงอัสมาอฺบินติ อบูบักรฺ (ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานทั้งสองด้วย) กล่าวว่า “แม่ของฉันได้มาหาฉันในขณะที่นางยังเป็นมุชริกะฮฺอยู่ ( ยังไม่รับอิสลาม) ในสมัยท่านศาสนทูตยังมีชีวิตอยู่ ฉันจึงถามท่านเกี่ยวกับแม่ฉันว่า “แท้จริงแล้วแม่ฉันมาแล้วนางต้องการเชื่อมสัมพันธ์กับฉัน  ฉันควรจะทำอย่างไร? ท่านตอบว่า  เจ้าจงเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับแม่เจ้าเถิด” ( อัลบุคอรีย์ 2/924 เลขที่ 2477 ) และผู้เป็นแม่ย่อมต้องมาก่อนผู้เป็นพ่อในเรื่องเกี่ยวกับการทำดี การผูกพัน  ความเมตตาปรานี  เนื่องจากหะดีษหนึ่งรายงานโดย อบูฮุร็อยเราะฮฺ (ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านด้วยเถิด) กล่าวว่า วันหนึ่งได้มีชายคนหนึ่งกล่าวแก่ท่านศาสนทูตว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺใครคือบุคคลที่ฉันจะต้องทำดีต่อเขาถัดจากอัลลอฮฺและศาสนทูตอัลลอฮฺ  ท่านตอบว่า แม่ของท่าน  แล้วก็แม่ของท่าน  แล้วก็แม่ของท่าน ถัดจากนั้นคือพ่อของท่าน  และผู้ที่ตํ่ากว่านั้น ถัดๆไป” ( มุสลิม 4/ 1974 เลขที่ 2548 ) จากหะดีษข้างต้น ได้ให้สิทธิแก่ผู้เป็นแม่ถึงสามครั้งด้วยกัน  ทั้งนี้ด้วยเหตุผลคือ เพราะแม่คือผู้ที่รับแบกภาระและความยากลําบากมากกว่าพ่อ  เขาคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงกล่าว     ซึ่งความว่า :และเราได้สั่งเสียมนุษย์ให้ทำดี ต่อบิดามารดาของเขา มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความเหนื่อยยาก และได้คลอดเขาด้วยความเจ็บปวด( อัลอะฮฺก็อฟ 15 ) แม่จะรับกับความลําบากในยามตั้งครรภ์  ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่ลูกอยู่ในครรภ์  ในยามที่คลอด จนกระทั่งความยากเย็นในการเลี้ยงดู  การให้น้ำนม และการอดนอนเพื่อลูกหลังคลอด เป็นต้น สิทธิของสามีและหน้าที่ของภรรยาต่อสามี  - สิทธิในการปกครองเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัว  ในฐานะผู้นำ  แต่ไม่ใช่ผู้ใช้อํานาจเพื่อการทารุณ ปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัวในเรื่องที่เป็นคุณประโยชน์ต่อพวกเขา  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งความว่า : บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺ ได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนและด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา ( อันนิซาอฺ 34 ) ทั้งนี้เนื่องจากว่า บรรดาชายนั้นจะกระทำและรับต่อสถานการณ์ด้วยสติปัญญาของเขา  ต่างจากเหล่าสตรีซึ่งความรู้สึกของเธอต้องมาก่อนและมีอิทธิพลต่อการกระทำของเธอ แต่ทั้งนี้อย่าเข้าใจว่า เธอจะไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือหรือยอมรับความคิดเห็นของเธอที่เกี่ยวโยงกับเรื่องสามีภรรยา - ภรรยาจะต้องภักดีต่อสามีและเชื่อฟังเขา ตราบใดที่เขาไม่สั่งให้ทำในสิ่งที่ผิดและละเมิดข้อห้ามของอัลลอฮฺ  จากท่านอาอิซะฮฺภรรยาท่านศาสนทูต (ขออัลลอฮฺทรงโปรดปรานนางด้วยเถิด) กล่าวว่า ฉันได้กล่าวแก่ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺว่า “ผู้ใดคือผู้ที่สมควรได้รับสิทธิในการทำดีจากเหล่าสตรีมากที่สุด? ท่านตอบว่า สามีของเธอ  ฉันถามอีกว่า  แล้วผู้ใดคือคนที่สมควรได้รับสิทธิในการทำดีจากเหล่าผู้ชาย ?ท่านตอบว่า แม่ของเขา”(อัลมุสดัดรอกฺ 4/ 167 เลขที่ 7244 ) - การไม่ขัดคำสั่งสามีหรือไม่บ่ายเบี่ยงในการตอบสนอง เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “เมื่อใดที่สามีของเธอเรียกให้เธอไปที่เตียง แล้วเธอปฏิเสธจนกระทั่งสามีของเธอนอนด้วยความโกรธเพราะเธอ  มลาอิกะฮฺทั้งหลายจะสาปแช่งเธอตลอดทั้งคืนจนกระทั่งถึงเช้าตรู่” ( มุสลิม 2/1060 เลขที่ 1436 ) - อย่าให้สามีรับหน้าที่แบกงานที่เกินความสามารถของเขา  และอย่าขอให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เพื่อสร้างความลําบากเเก่เขา   หมั่นดูแลและสร้างความพึงพอใจแก่เขา  ช่วยเหลือเขาเพื่อให้เขาได้มาซึ่งความสำเร็จลุล่วงในสิ่งที่เขาคาดหวัง ท่านศาสนทูต กล่าวว่า “ถ้าฉันมีสิทธิที่จะบังคับใครสักคนให้ก้มกราบเท้าคนใดคนหนึ่ง  แน่นอนฉันจะบังคับให้ภรรยาก้มกราบเท้าสามีของเธอ” ( อัตติรมีซีย์ 3/465 เลขที่ 1159 ) - ภรรยาต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ต่อทรัพย์สมบัติและลูกๆของเธอ  และรักษาเกียรติยศ  ศักดิ์ศรีของสามี ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “หญิงที่ดีที่สุดคือ  เมื่อท่านเห็นนางแล้วรู้สึกปลื้มใจ   เมื่อใดที่ท่านสั่งนางแล้วนางปฏิบัติตาม  เมื่อใดที่ท่านอยู่นอกบ้านนางจะสงวนรักษาตัวและทรัพย์สมบัติของท่าน”  แล้วท่านจึงอ่านโองการอัลลอฮฺ ความว่า : บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง ( อันนิซาอฺ 34 )    ( ดูหนังสืออัฏเฏาะยาละซี 1/306 เลขที่ 2325 ) - ภรรยาต้องไม่ออกนอกบ้านนอกจากความยินยอมของสามีหรือนอกจากเขาจะรับทราบก่อน   และห้ามนำผู้คนซึ่งเขาไม่พึงพอใจเข้ามาในบ้าน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “แท้จริงสำหรับพวกท่าน  สิทธิที่ท่านสมควรได้รับจากเหล่าสตรีของพวกท่าน  และสิทธิที่สตรีของพวกท่านสมควรได้รับจากพวกท่าน  คือ  การที่เธอไม่นำใครที่ท่านไม่พึงพอใจเข้ามาในบ้าน และเธอไม่อนุญาตให้ใครสักคนซึ่งพวกท่านไม่ชอบเขาเข้ามาในบ้าน  พึงรู้เถิดว่า สิทธิของพวกเธอที่สมควรได้รับจากพวกท่านคือ การที่พวกท่านทำดีกับพวกเธอทั้งในเรื่องการแต่งกายและอาหารการกินของพวกเธอ” ( สุนันอิบนิมาญะฮฺ 1/ 593 เลขที่ 1851 ) บรรดามุสลิมยุคก่อนๆได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ดี  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ท่านหญิงที่ชื่อ เอาฟฺ บินติ มะฮฺลัม อัซซัยบานีย์  ซึ่งนางได้สั่งเสียลูกสาวของนางในวันแต่งงานของเธอว่า  “โอ้ ลูกสุดที่รักของฉัน  แท้จริงเจ้าได้อําลาบ้านของเจ้าซึ่งเจ้าเคยพํานักอยู่   ก้าวไปสู่ชายหนุ่มซึ่งเจ้าไม่เคยรู้จักเลย  เจ้าจงพักอาศัยในบ้านแม้ว่าเจ้าไม่เคยชินกับมัน   เจ้าจงอยู่กับเขาดังทาสที่คอยรับใช้เจ้านาย  เขาจะเป็นบ่าวที่คอยรับใช้เจ้าด้วย  เจ้าจงหมั่นรักษาสิบประการเหล่านี้เพื่อเขา  แน่นอนสิ่งอันมีค่าย่อมเป็นของเจ้า : หนึ่ง และสอง คือ การถ่อมตนและน้อมรับสิ่งที่มาจากเขาด้วยความปลื้มใจ  และการจงรักภักดีต่อเขาสามและสี่ คือ คอยจับตาดูที่ซึ่งเป็นที่พักสายตาของเขา และที่ซึ่งจมูกเขาได้กลิ่นตามมัน  ระวังอย่าให้สายตาเขาจับจ้องมองไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวเจ้าซึ่งสร้างความน่ารังเกียจแก่เขา  อย่าให้เขาได้กลิ่นส่วนใดจากเธอนอกจากเขาจะรับกลิ่นหอมจากเธอเท่านั้นห้าและหก คือ คอยจับตาดูเวลาที่เขาเข้านอนและเวลาที่เขารับประทานอาหาร เพราะความหิวโหยอย่างมากคือการลุกไหม้ดังเปลวไฟ  การรบกวนการนอนหลับคือ การโกรธเคืองเจ็ดและแปด คือ การมุ่งมั่นรักษาทรัพย์สมบัติของเขา  และหลีกเลี่ยงการกระทำที่สร้างความละอายแก่ครอบครัวของเขา  ข้อสำคัญในการรักษาทรัพย์คือ การรู้จักกะประมาณ  และข้อสำคัญในการปกป้องครอบครัวคือ การดูแลรักษาที่ดี  เก้าและสิบ คือ อย่าขัดคำสั่งของสามีและอย่าเปิดเผยความลับของเขา เมื่อใดที่เจ้าขัดคำสั่งเขาหรือเปิดเผยความลับเขา เจ้าจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการหลอกลวงของเขาแน่.อย่าแสดงความดีใจต่อหน้าเขาในขณะที่เขากำลังเข้มงวดอยู่กับงาน  และอย่าแสดงความโศกเศร้าต่อหน้าเขาในขณะที่เขาดีใจและมีความสุข     สิทธิของภรรยาและหน้าที่ของสามีต่อภรรยา - มะหัรรฺ  คือ สินสอดที่เป็นการบังคับให้สามีมอบให้เจ้าสาวในวันแต่งงาน  ซึ่งพิธีแต่งงานจะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่มีสินสอดจากฝ่ายชาย  แม้ว่าฝ่ายหญิงจะยินยอมแล้วก็ตาม เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรของนาง ด้วยความเต็มใจ แต่ถ้านางเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากมะฮัรนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้นด้วยความเอร็ดอร่อยและโอชา( อันนิซาอฺ 4 ) - ความยุติธรรมและความเสมอภาคกัน (สำหรับใครที่มีภรรยาเกินหนึ่ง) ดังนั้นหน้าที่ของสามีคือต้องให้ความยุติธรรมกับพวกเธอทั้งหมด  ในด้านอาหารการกิน  เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย  ที่พักอาศัย  และการหลับนอน เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดที่มีภรรยาสองคนแล้วเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่า  ในวันกิยามัตไหล่ของเขาจะเอียงไปอีกข้างหนึ่ง” ( อบูดาวูด 2/242 เลขที่ 2133 ) - การดูแล  รับผิดชอบภรรยาและลูกๆ เป็นหน้าที่ของสามี  หาที่พักอาศัยที่เหมาะสม  หาปัจจัยยังชีพให้พวกเขา  อาทิ อาหารการกิน  เครื่องดื่ม  เครื่องแต่งกาย  และมอบค่าใช่จ่ายให้พวกเขาตามความต้องการพอเพียงกับความสามารถของสามี  เพราะอัลลอฮฺตรัสความว่า  ความว่า :ควรให้ผู้มีฐานะร่ำรวยจ่ายตามฐานะของเขา ส่วนผู้ที่การยังชีพของเขาเป็นที่คับแค้นแก่เขาก็ให้เขาจ่ายตามที่อัลลอฮฺทรงประทานมาให้แก่เขา อัลลอฮฺมิได้ทรงให้เป็นที่ลำบากแก่ชีวิตใด เว้นแต่ตามที่พระองค์ทรงประทานมาแก่ชีวิตนั้น หลังจากความยากลำบาก อัลลอฮฺจะทรงทำให้เกิดความสะดวกสบาย (อัฏเฏาะล็าก 7 )  อิสลามได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้มาก   ซึ่งอิสลามถือว่าการเลี้ยงดูและการออกค่าใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวเป็นการเศาะดาเกาะฮฺอย่างหนึ่ง (การบริจาคทาน ) มีผลบุญมหาศาล    ท่านศาสนทูตได้กล่าวแก่สะอัดบิน อบีวักกอศ ความว่า : :  แท้จริงแล้วถึงคุณจะบริจาคทานมากน้อยเพียงใดก็ตาม  มันคือการเศาะดาเกาะฮฺอย่างหนึ่ง แม้กระทั่งอาหารคำหนึ่งที่คุณตักใส่ปากภรรยาคุณ ..... ( อัลบุคอรีย์ 3/1006 เลขที่ 2591 ) ภรรยามีสิทธินำเงินของสามีมาเก็บไว้และใช้จ่าย  ถึงแม้ว่าเขาไม่รู้เลยก็ตามในกรณีที่สามีละเลยความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่าย   จากฮินดุน บินติ อุตบะฮฺ  เธอได้ถามท่านศาสนทูตว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แท้จริงแล้วอบูซุฟยาน คือผู้ชายที่ตระหนี่คนหนึ่ง  เขาไม่ได้ให้ฉันให้ครบเพียงพอต่อความต้องการของฉันและลูกๆ  ฉันจึงลักเอาจากเขาด้วยของเล็กๆน้อยๆ โดยที่เขาไม่รับรู้เลย   ท่านตอบว่าเธอจงเอาเถิดให้ครบกับความต้องการของเธอและลูกๆ” ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2052 เลขที่ 5049 ) - การหลับนอนร่วมกันและการอยู่ร่วมกัน  เป็นหน้าที่สำคัญที่สามีควรปฏิบัติทำต่อภรรยา   ภรรยาคือคนหนึ่งที่ต้องการใครสักคนดูแลหัวใจ  ให้ความรักและเอาใจใส่เธอ  คอยหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน  คอยสนองตอบความต้องการทางอารมณ์  คอยทำให้อิ่มใจจนเธอไม่หันไปสนใจเรื่องอื่นๆที่ไร้สาระซึ่งจะบังเกิดผลร้ายตามมา   ท่านศาสนทูตได้กล่าวแก่ญาบิร ความว่า : “ท่านแต่งงานแล้วหรือญาบิร?ฉันตอบว่า ใช่  ท่านถามว่า เป็นหญิงโสดหรือหญิงหม้าย ? ฉันตอบว่า หญิงหม้าย  ท่านถามต่อว่า ไฉนไม่เลือกหญิงโสด เพื่อท่านจะได้หยอกล้อเธอ  และเธอหยอกล้อเจ้า  หรือ เจ้าล้อเล่นกับเธออย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน  และเธอก็ล้อเล่นกับเจ้าอย่างเพลิดเพลินสนุกสนานกัน ” ( อัลบุคอรีย์ 5/2347 เลขที่ 6024 )- หมั่นรักษาและปิดบังความลับของภรรยา  ไม่เปิดเผยสิ่งที่เขาเห็นและฟังจากเธอ  หรือความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเธอ  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “แท้จริงแล้วผู้ที่มีฐานะตํ่าต้อย ณ ที่อัลลอฮฺในวันปรโลกมากที่สุดคือ ชายหนุ่มที่เข้าหาภรรยาเขา  แล้วเธอเข้าหาเขา ต่อไปเขาก็เปิดเผยความลับของเธอ” ( มุสลิม 2/1060 เลขที่ 1437 ) -การอยู่ร่วมกันและคลุกคลีกับเธอด้วยแบบอย่างที่ดีและทำดีกับเธอ  ปรึกษาเธอในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตของเธอ  ไม่ควรบังคับเธอและรังแกเธอ  หรือบังคับให้เธอทำตามการตัดสินใจของเขาตลอด   เขาควรแสวงหาหนทางสู่การมีชีวิตที่สุขสบายให้เธอ   แสดงความจริงใจและความรักแท้ที่มีต่อเธอ  หมั่นคลุกคลีกับเธออย่างสนุกสนาน  มีการหยอกล้อบ้าง  ล้อเล่นบ้าง  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาที่มีรัศมีแห่งศรัทธาสมบูรณ์ที่สุด คือ ผู้ซึ่งมีมารยาทดีงาม   และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือ ผู้ที่ทำดีกับบรรดาภรรยาพวกเขามากที่สุด . ( เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 9/483 เลขที่ 4176 ) - อดทนต่อการกระทำของเธอที่ไม่ดี  ยอมรับความผิดพลาดของเธอ  ไม่เที่ยวไปสนใจและติดตามแต่ความผิดพลาดของเธอ  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “ผู้ศรัทธาชายจะไม่เกลียดชังผู้ศรัทธาหญิง  เมื่อใดที่เขาเกลียดเธอเพราะมารยาท  เขาอาจจะชอบอย่างอื่นของตัวเธอก็ได้ ( มุสลิม 2/ 1091 เลขที่ 1469 ) - มีความรู้สึกหึงหวงในตัวเธอ  และไม่นำพาเธอไปในสถานที่ที่ไม่ดี  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน ( อัตตะฮฺรีม 6 ) - มอบให้เธอดูแลทรัพย์ส่วนตัวของเธอโดยเฉพาะ  ไม่เอามันนอกจากด้วยความยินยอมของเธอ   ไม่ใช้มันนอกจากต้องได้รับอนุญาตจากเธอและเธอรับทราบก่อน  ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า  “ทรัพย์สินเงินทองของมุสลิมสักคนเป็นเรื่องที่ไม่อนุญาตยกเว้นแต่ด้วยความยินยอมใจอันบริสุทธิ์”  สิทธิของเครือญาติ - พวกเขาคือญาติใกล้ชิดฝ่ายชายหรือเครือญาติของเขาที่สมควรได้รับการผูกพันตามบทบัญญัติอิสลาม   อิสลามส่งเสริมให้ช่วยเหลือพวกเขาเมื่อพวกเขาตกทุกข์  อาจจะเป็นในลักษณะการแจกจ่ายซะกาตหรือบริจาคทานที่อิสลามได้สนับสนุน   หรืออาจจะคอยติดตามข่าวคราวความเป็นอยู่ของพวกเขา  เอาใจใส่พวกเขา  เข้าสมาคมกับพวกเขาและอยู่เคียงคู่กับพวกเขาเสมอทั้งในยามที่พวกเขาตกทุกข์ หรือมีความสุข อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกัน ด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ ( อันนิซาอฺ 1 ) มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องสร้างความผูกพันที่ดีกับเครือญาติถึงแม้ว่าพวกเขาจะออกห่างและตัดขาดไปก็ตาม  เขาจะต้องให้อภัย  ถ้ามีเหตุผิดพลาดประการใดก็ต้องพยายามเข้าหาพวกเขา  ทั้งนี้เนื่องจากคำกล่าวของท่านศาสนทูตซึ่งความว่า : “คนที่ติดต่อกับเครือญาติมิใช่คนที่คอยตอบแทนการกระทำของคนอื่นด้วยการกระทำที่เหมือนกัน   แต่ผู้ที่ติดต่อกับเครือญาติคือผู้ซึ่งเมือไรความสัมพันธ์ทางเครือญาติของเขาโดนตัดขาด เขาจะเริ่มติดต่อกับพวกเขาทันที”( อัลบุคอรีย์ 5/ 2233 เลขที่ 5645 ) อิสลามถือว่าการตัดขาดความสัมพันธ์กับเครือญาติหรือไม่ติดต่อกับพวกเขา เป็นบาปมหันต์  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงสร้างสรรพสิ่งหลังจากเสร็จสิ้นแล้ว  ตัวเครือญาติได้ลุกขึ้น  พระองค์กล่าวว่า  เจ้าว่าอะไร?  มันกล่าวว่า  นี่คือที่พํานักอาศัยของผู้ที่ขอจากเจ้าให้รอดพ้นจากการตัดขาดกับเครือญาติ  พระองค์กล่าวว่า  เจ้ายินยอมหรือไม่ถ้าฉันจะทำดีกับคนที่ทำดีกับเจ้า  และฉันจะตัดความสัมพันธ์กับคนที่ตัดขาดกับเจ้า  มันตอบว่า ใช่แล้วโอ้พระเจ้าของข้า   พระองค์กล่าวว่า ดังนั้นสำหรับเจ้าคือสิ่งที่เจ้าต้องการ.    หลังจากนั้นท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺได้อ่านโองการอัลลอฮฺ    ซึ่งความว่า :ดังนั้น หวังกันว่า หากพวกเจ้าผินหลังให้(กับการอีมานแล้ว)พวกเจ้าก็จะก่อความเสียหายในแผ่นดินและตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้นหรือ?( มุฮัมมัด 22 )                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               สิทธิของลูกๆ-เอาใจใส่พวกเขาหรือดูแลพวกเขาให้ครบสมบูรณ์ด้านปัจจัยในการดําเนินชีวิต  อาทิ  เรื่องอาหารการกิน  เครื่องดื่ม  เครื่องแต่งกาย และที่พักอาศัย  เนื่องจากคำกล่าวของท่านศาสนทูตซึ่งความว่า : “เป็นที่สมควรแล้วสำหรับการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีบาปเนื่องจากการไม่สนใจของเขาต่อบุคคลที่เขาเลี้ยงดู”  ( อัลมุสดัดรอก 4/ 545 เลขที่ 8526 )-ควรเลือกชื่อที่ไพเราะสำหรับพวกเขา  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : “แท้จริงแล้วพวกท่านจะถูกเรียกชื่อในวันปรโลกด้วยชื่อเฉพาะของพวกท่าน และชื่อบิดาของพวกท่าน  ดังนั้นจงเลือกชื่อที่ดีสำหรับพวกท่าน” ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 13/ 135 เลขที่ 5818 ) - หมั่นอบรมสั่งสอนพวกเขาด้วยมารยาทอันดีงาม  เลี้ยงดูพวกเขาด้วยแบบอย่างของอิสลาม  และจะต้องเลือกมิตรสหายที่ดีแก่พวกเขาด้วย  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :“แต่ละคนในหมู่พวกท่านคือผู้ดูแลและผู้รับผิดชอบต่อคนที่อยู่ภายใต้การดูแล   ผู้นำคือผู้ดูแลและผู้รับผิดชอบต่อประชาชนของเขา   ผู้ชายคือผู้ดูแลครอบครัวของเขา  ผู้หญิงคือผู้ดูแลภายในบ้านของสามีเธอ  และเธอคือผู้รับผิดชอบต่อทุกคนภายในบ้าน   บ่าวผู้รับใช้นายเขาคือผู้ดูแลทรัพย์สมบัติของนายเขา และเขาคือผู้รับผิดชอบต่อทรัพย์สมบัติเหล่านั้น”( อัลบุคอรีย์ 2/902 เลขที่ 2419 ) -หมั่นขอพรให้พวกเขาประสบกับความสงบสุขและความปลอดภัย  ห้ามสาปแช่งพวกเขา  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “พวกท่านอย่าได้สาปแช่งตนเอง  อย่าได้สาปแช่งลูกๆของพวกท่าน  อย่าได้สาปแช่งบรรดาผู้รับใช้พวกท่าน  และอย่าได้สาปแช่งทรัพย์สมบัติของพวกท่าน   เพราะคำสาปแช่งนั้นอาจจะตรงกับช่วงเวลาหนึ่งซึ่งอัลลอฮฺจะทรงตอบรับ” ( อบูดาวูด 2/ 88 เลขที่ 1532 )- พวกเขาต้องได้รับความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน  ไม่มีการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมอบหรือให้ของรางวัล  หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการติดต่อระหว่างกัน  เพราะการไม่เท่าเทียมกันคือต้นเหตุแห่งการทรยศต่อผู้เป็นพ่อเอง   อีกทั้งยังสร้างความบาดหมางระหว่างกัน   รายงานจากอันนุอฺมาน บิน บะซีร กล่าวว่า “พ่อของฉันได้มอบให้ฉันซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติของท่าน  แม่ฉันอุมเราะฮฺ บินติ เราะวาฮะฮฺ  กล่าวว่า ฉันไม่ยอมยกเว้นเรื่องนี้ต้องมีท่านศาสนทูตเป็นสักขีพยานด้วย  พ่อฉันจึงไปหาท่านศาสนทูตเพื่อให้ท่านร่วมเป็นสักขีพยานกับสิ่งที่พ่อฉันได้มอบให้ฉัน  ท่านศาสนทูตกล่าวแก่พ่อฉันว่า  ท่านได้ทำแบบนี้กับลูกของท่านคนอื่นๆหรือไม่ ? พ่อฉันตอบว่า ไม่ ท่านกล่าวว่า  เจ้าจงยําเกรงอัลลอฮฺและจงยุติธรรมระหว่างลูกๆของเจ้า” ( มุสลิม 3/1243 เลขที่ 1623 ) เมื่อพ่อฉันกลับบ้านท่านได้ขอของที่มอบให้กลับคืน .สิทธิของเพื่อนบ้าน -อิสลามได้ยกฐานะความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้าน  และให้สิทธิแก่พวกเขาอย่างชัดเจน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า อัลลอฮฺได้สั่งเสียญิบรีลเป็นระยะๆเพื่อให้ทำดีต่อเพื่อนบ้าน  จนทำให้ฉันคิดว่า พระองค์อัลลอฮฺต้องการให้พวกเขาได้รับส่วนเเบ่งของมรดกด้วย  ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2239 เลขที่ 5668 ) อิสลามสั่งให้เรากระทำดีต่อเพื่อนบ้านอย่างดีที่สุด  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด ( อันนิซาอฺ 36 ) -ไม่อนุญาตให้ทำร้ายพวกเขาทั้งด้วยวาจาและการกระทำ  รายงายโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า “ได้มีคนถามท่านศาสนทูตว่า แท้จริงแล้วมีคนหนึ่ง  เขาจะถือศีลอดตลอดทั้งวัน  ละหมาดตลอดทั้งคืน แต่เขาจะทำร้ายเพื่อนบ้านเขาด้วยวาจาเขา  ท่านเลยตอบว่า ไม่มีผลดีแก่เขาเลย  เขาอยู่ในนรก   ท่านถูกถามอีกว่า แท้จริงแล้วผู้หญิงคนนั้นจะกระทำละหมาดห้าเวลา  และเธอจะถือศีลอดในเดือนร่อมะฎอน และเธอจะบริจาคเนยที่มากพอ  และเธอไม่ทำร้ายเพื่อนบ้านด้วยวาจา  ท่านตอบว่า เธออยู่ในสวรรค์”( อัลมุสดัดรอก 4/ 184 เลขที่ 7305 ) การทำร้ายเพื่อนบ้านสร้างความบกพร่องต่อความศรัทธาของมุสลิม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “วัลลอฮฺ เขาคนนั้นไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺเขาไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺเขาไม่ศรัทธาพอ ( ท่านได้สาบานกับนามของอัลลอฮฺสามครั้ง )   มีคนถามว่า ใครเหรอโอ้ท่านศาสนทูต  ท่านตอบว่า ผู้ซึ่งเพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากความชั่วของเขา” ( อัลบุคอรีย์ 5/2240 เลขที่ 5670 ) บางครั้งเราอาจจะเจอเพื่อนบ้านที่ประพฤติไม่ดีต่อเรา   แต่ถึงเช่นนั้นก็ตาม  อิสลามก็ยังส่งเสริมให้เราทำดีกับพวกเขา  มีชายคนหนึ่งถามท่านอิบนุอับบาส (ขออัลลอฮฺโปรดปรานท่านด้วย) แท้จริงแล้วฉันมีเพื่อนบ้านซึ่งกระทำชั่วต่อฉัน  ด่าว่าฉัน   สร้างความรําคาญใจแก่ฉันมาก  ท่านกล่าวเก่ชายคนนั้นว่า  เจ้าไปหาเขาเถิด  ถ้าเขาละเมิดคำสั่งอัลลอฮฺในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเจ้าก็ตาม  เจ้าจงตามคำสั่งอัลลอฮฺโดยการทำดีกับเขา” ( ดูหนังสือ อิฮฺยาอฺอุลูมิดดีน 2/ 212 ) เพื่อนบ้านมีสามประเภทด้วยกัน  ซึ่งต่างก็มีความแตกต่างด้านสิทธิที่ควรได้รับ  : -เพื่อนบ้านที่เป็นเครือญาติ  ควรได้รับสิทธิสามประการด้วยกัน สิทธิทางเครือญาติ  สิทธิด้านความใกล้ชิดในฐานะที่เขาเป็นเพื่อนบ้าน  สุดท้ายสิทธิด้านศาสนาอิสลาม- เพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิม  เขาควรได้รับสองสิทธิด้วยกัน หนึ่งคือ สิทธิด้านความใกล้ชิด   สองสิทธิด้านศาสนา - เพื่อนบ้านที่ไม่ใช่มุสลิม  เขาได้รับเพียงสิทธิเดียวเท่านั้น คือ สิทธิด้านความใกล้ชิดในฐานะเพื่อนบ้าน  ครั้งหนึ่งท่านอัลดุลลอฮฺบิน อัมรฺได้มีการเชือดแพะหนึ่งตัวสำหรับครอบครัวเขา  เมื่อท่านกลับมาท่านถามครอบครัวของท่านว่า พวกท่านได้นำไปให้แก่เพื่อนบ้านของเราที่เป็นยิวแล้วหรือยัง ( ท่านถามสองครั้ง ) เพราะฉันได้ยินท่านศาสนทูตอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน : ท่านญิบรีล ( เทวทูตอัลลอฮฺ ) ได้สั่งเสียให้ทำดีต่อเพื่อนบ้านอย่างสมํ่าเสมอ  จงทำให้ฉันคิดว่า  เขาต้องการให้เขาได้รับส่วนเเบ่งของมรดกด้วย” ( ตีรมิซีย์ 4/ 333 เลขที่ 1943 ) สิทธิของเพื่อนฝูง :อิสลามได้ให้การสนับสนุนเพื่อเอาใจใส่ต่อเพื่อนฝูงอย่างมาก  ด้วยเหตุนี้เองอิสลามจึงให้สิทธิต่างๆที่เพื่อนฝูงควรได้รับ  ส่วนหนึ่งของสิทธิเหล่านั้นคือ การทำดีกับเพื่อนฝูง  และการตักเตือนพวกเขา  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน : “เพื่อนที่ดีที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺคือ เพื่อนที่คอยทำดีต่อเพื่อนมากที่สุด  และเพื่อนบ้านที่ดีที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺ คือ เพื่อนบ้านที่ทำดีกับเพื่อนบ้านด้วยกันดีที่สุด” ( เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 4/ 140 เลขที่ 2539 ) สิทธิของเพื่อนฝูงไม่จบสิ้นเพียงแค่ชีวิตบนโลกนี้เท่านั้น  ทว่าสิทธิเหล่านี้ยังคงอยู่ตลอดไปจนกระทั่งหลังการเสียชีวิต   ชายหนุ่มคนหนึ่งจากเผ่าบะนี สะลามะฮฺ ได้ถามท่านศาสนทูตว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ  มีสิ่งใดที่ฉันต้องทำดีกับพ่อแม่หลังจากการเสียชีวิตของทั้งสองบ้างไหม ?  ท่านตอบว่า ใช่ คือการละหมาดให้ท่านทั้งสอง  การขอพรให้ท่านทั้งสอง  การปฏิบัติตามคำสั่งเสียของท่านทั้งสอง  การทำดีกับเครือญาติตามที่ท่านทั้งสองเคยทำกับพวกเขา   การทำดีและให้เกียรติแก่เพื่อนฝูงของท่านทั้งสอง” ( อบูดาวูด 4/336 เลขที่ 5142 ) สิทธิของแขกผู้มาเยียน :สิทธิของแขกในทัศนะอิสลาม คือการได้รับการต้อนรับที่ดี  ทั้งนี้เนื่องจากคำกล่าวของท่านศาสนทูตซึ่งความว่า : “ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวันอาคิเราะฮฺ( วันปรโลก) เขาจำต้องให้เกียรติแก่เพื่อนบ้าน และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวันอาคิเราะฮฺ  เขาจำต้องให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยี่ยมเยียนเขาและให้ญาอีซะฮฺแก่เขาด้วย  มีคนถามว่า ญาอีซะฮฺคืออะไรหรือ โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ? ท่านตอบว่า คือ หนึ่งวันหนึ่งคืน  การรับแขกคือสามวัน  ถ้าเกินกว่านั้นถือว่าเป็นการเศาะดะเกาะฮฺ ( เป็นการทำกุศลสำหรับเขา ) และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวันอาคิเราะฮฺ  ให้เขาเลือกพูดแต่สิ่งที่ดี  หรือหากเป็นสิ่งไม่ดีก็จงเงียบเสีย” ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2240 เลขที่ 5673 ) การเคารพและการทำดีต่อแขก คือการงานที่ประเสริฐยิ่งและมีผลบุญอันใหญ่หลวง  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ในหมู่มนุษย์นั้น  มีบุคคลสองประเภทด้วยกัน  บุคคลประเภทที่หนึ่ง  เขาเปรียบเสมือนคนที่ขี่ม้าเพื่อออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺและหลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมอันชั่วร้าย  และบุคคลประเภทที่สอง  เขาเปรียบเสมือนคนที่ใช้เวลาส่วนมากอยู่กับแพะของเขาเพื่อคอยต้อนรับแขกเของเขาและบริการเขา” ( อัลมุสดัดรอก 2/76 เลขที่2738 ) มารยาทในการต้อนรับแขก :อิสลามได้เสนอมารยาทในการต้อนรับแขก  อาทิ การต้อนรับเขาด้วยดี  ด้วยสีหน้าที่ชื่นบาน  และให้การลาเขาด้วยมารยาทที่ดี   ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งของแบบอย่างที่ดี  คือ การที่บุคคลหนึ่งออกไปพร้อมกับแขกจนถึงประตูบ้าน” ( อิบนุมาญะฮฺ 2/1114 เลขที่3358 ) สำหรับหน้าที่ของแขกคือไม่ควรเพิ่มภาระและความลําบากแก่เจ้าของบ้าน  ไม่เรียกร้องให้เขาทำในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ   ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้มุสลิมค้างในฐานะเป็นแขกในบ้านเพื่อนเขาจนกระทั่งทำให้เขาต้องทำบาป  พวกเขาถามว่า โอ้ท่านศาสนทูต ทำให้เขาทำบาปแบบไหนกันเล่า? ท่านตอบว่า อาศัยในบ้านเขาจนกระทั่งเขาไม่มีอะไรที่จะมาต้อนรับเขาอีกแล้ว” ( มุสลิม 3/ 1353 เลขที่ 48 ) ท่านฆอซาลีได้กล่าวในหนังสือของเขาที่ว่า อิฮฺยาอิอุลูมิดดีน จากท่านศาสนทูตมุฮัมมัดในฐานะแบบอย่างของปวงชนมุสลิมทั้งหลาย : แท้จริงท่านศาสนทูตได้ให้การต้อนรับแขกที่มาหาท่าน ท่านจะปูเสื้อผ้าของท่านให้แขกนั่งแม้ว่าเขาจะไม่ใช่ญาติ หรือพี่น้องของท่านก็ตาม  บางครั้งท่านจะยกเสื่อที่ท่านนั่งอยู่ให้แขกนั่ง  ถ้าแขกไม่ยอมท่านจะพยายามทำให้เขานั่ง   ไม่มีใครสักคนที่เคยเป็นแขกของท่านนอกจากว่าเขาคนนั้นจะบอกว่า ท่านคือคนใจบุญที่สุด จนกระทั่งท่านจะให้ความสนใจแก่จำนวนแขกทั้งหมดทั้งในลักษณะการนั่ง  การได้ยิน  การสนนา  เรื่องสาระที่มาจากท่าน  และการหันหน้าของเขาไปหาจำนวนแขกทั้งหมด  บรรยากาศในห้องรับแขกของท่านเป็นไปด้วยบรรยากาศที่เหนียมอาย  ถ่อมตน และซื่อสัตย์   ท่านจะเรียกบรรดาสาวกของท่านด้วยนามแฝงที่ใช้แทนชื่อของพวกเขา  ถือว่าเป็นการเคารพแก่พวกเขา  ท่านคือผู้โกรธยากที่สุด  และจะพอใจเร็วที่สุดส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงาน และแรงงาน  อิสลามได้นำเสนอเงื่อนไขต่างๆของมัน  พร้อมทั้งได้ชี้แจงถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของงานกับ คนที่ทำงานให้เขา  หรือ คนงานกับเจ้าของงาน  เงื่อนไขและสิทธิที่พวกเขาสมควรได้รับมีดังนี้ : สิทธิของคนงาน ในทัศนะอิสลาม  ความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและเจ้าของงานต้องเป็นไปด้วยความเป็นพี่น้องกัน  ความเท่าเทียมกันด้านการเคารพทางมนุษยชน  ทั้งนี้ก็เนื่องจากคำกล่าวของท่านศาสนทูตมุฮัมมัดซึ่งความว่า :  พี่น้องของท่าน คือ ผู้รับใช้พวกท่าน  อยู่ภายใต้การดูแลของพวกท่าน  ดังนั้นถ้าใครมีเพื่อนซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของเขา จงเตรียมอาหารให้เขาตามที่เขากิน   ให้เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมแก่เขา   ไม่มอบงานที่เกินความสามารถของเขา  เมื่อไหร่ที่พวกคุณมอบงานให้เขา  พยายามช่วยพวกเขาด้วย  ( อัลบุคอรีย์ 1/ 20 เลขที่ 30 ) อิสลามได้รับรองสิทธิของลูกจ้างในการได้รับค่าตอบแทน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน : “สามคนข้าประกาศเป็นศัตรูกับพวกเขาในวันปรโลก  ชายคนหนึ่งซึ่งได้สาบานด้วยนามของข้าแล้วผิดสัญญา  ชายซึ่งขายผู้ใดที่อิสระแล้วกินเงินที่เขาขายมา   และชายที่ว่าจ้างคนงานมาแล้วได้ประโยชน์จากเขา แต่ไม่ให้สิทธิอันสมควรเก่เขา”( อัลบุคอรีย์ 2/776 เลขที่2114 ) อิสลามสั่งให้มีการบอกรายละเอียดของค่าตอบแทนก่อนที่เขาจะเริ่มทำงาน  เพราะท่านศาสนทูต”ห้ามไม่ให้จ้างคนงานมาจนกระทั่งจะชี้แจงค่าตอบแทนให้เขา” (มุสนัด อิมามอะฮฺหมัด 3/ 59 เลขที่ 11582 ) อิสลามสั่งให้มอบค่าจ้างแก่คนงานทันทีหลังจากที่เขาทำงานเสร็จตามหน้าที่  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “จงมอบค่าตอบแทนแก่คนงานก่อนที่เหงื่อของเขาจะแห้ง” . ( สุนันอิบนิมาญะฮฺ2/ 817 เลขที่ 2443 ) เช่นกัน อิสลามไม่อนุญาตให้เขาแบกภาระเกินความสามารถของเขา  ถ้าจำเป็นต้องทำจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือแก่เขา อาทิ เพิ่มค่าจ้างให้เขา หรือให้การช่วยเหลือด้านกำลัง  คือ ช่วยเหลือเขาทำ เพราะท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “และอย่าสั่งให้พวกเขาทำในสิ่งที่พวกเขาไม่มีความสามารถ  ถ้าพวกท่านได้มอบงานให้พวกเขาทำในสิ่งเกินความสามารถของพวกเขา  พวกท่านจำเป็นต้องช่วยเหลือพวกเขา” ( อัลบุคอรีย์ 1/ 20 เลขที่ 30 ) อิสลามถือว่าการหางานทำแล้วได้ค่าตอบแทนมาเพราะงาน เป็นแนวทางสู่การแสวงหารายได้ที่ดี  ถ้าเป็นไปด้วยวิธีทางที่อิสลามอนุมัติ  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ใครคนใดคนหนึ่งไม่กินอาหารที่ดีกว่าเลยนอกจากการที่เขาได้รับอาหารมาด้วยมือเขาเอง  แท้จริงแล้วศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ดาวูด ได้อาหารกินด้วยมือของเขาเอง” (อัลบุคอรีย์ 2/730 เลขที่ 1966 ) อิสลามส่งเสริมให้แสวงหางานและสนับสนุนให้ทำงานเต็มที่  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า การที่เขาผู้ใดสักคนในบรรดาพวกคุณเอาเชือดมาแล้วหาไม้ฟืนสักมัดหนึ่งแบกบนหลังเขา  แล้วเอามันไปขาย  อัลลอฮฺจะทรงปกป้องหน้าเขา  ย่อมดีกว่าการที่เขาไปขอทานกินจากคนอื่นๆ  บางครั้งพวกเขาให้บ้าง  บางครั้งไม่ให้บ้าง . ( อัลบุคอรีย์ 2/535 เลขที่ 1402 )  สิทธิของเจ้าของงาน อิสลามได้ให้สิทธิแก่เจ้าของงานเหมือนๆกับที่ได้ให้สิทธิแก่คนงานหรือลูกจ้าง  ฉะนั้นส่วนหนึ่งของสิทธิที่เจ้าของงานควรได้รับคือ การรับผิดชอบของคนงานต่องานที่พวกเขาถูกสั่งให้ทำ  พวกเขาจำเป็นต้องทำงานด้วยสุดฝีมือ  สุดความสามารถ  ไม่ล่าช้าหรือ ละเลยงาน  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรักเมื่อผู้ใดในหมู่พวกท่านทำงานแล้วเขาจะทำด้วยสุดฝีมือ” ( มุสนัดอบูยุอฺลา 7/ 349 เลขที่ 4386 ) อิสลามส่งเสริมให้คนที่รับงานทำปรับปรุงตัวและความสามารถในการทำงานเรื่อยๆ  สนับสนุนให้พวกเขาทำงานอย่างสุดฝีมือ  ฉะนั้น การทำงานอย่างดีถือว่า แนวทางที่ดีที่สุดในการขวนขวายปัจจัยยังชีพ  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “การได้มาที่ดีสุดคือการได้มาด้วยฝีมือคนงานที่ทำงานอย่างดี”  ( มุสนัดอิมามอะฮฺมัด 2/ 334 เลขที่ 8393 ) สิทธิและหน้าที่ทั่วไปหน้าที่ทั่วไปของมุสลิม คือ การเอาใจใส่พี่น้องมุสลิมด้วยกัน  แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ความเมตตาของมุสลิมด้วยกันในระหว่างพวกเขา  ความรักใคร่ และความปรานีที่มีต่อกันในระหว่างพวกเขาเปรียบเสมือนร่างอันเดียวกัน  ส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บปวด  ทุกส่วนของร่างกายก็รู้สึกเจ็บปวดตามไปด้วย”( อัลบุคอรีย์ 5/ 2238 เลขที่ 5665 ) เช่นเดียวกัน  มีการสนับสนุนให้ปรับปรุงความเป็นอยู่ของพวกเขาเป็นระยะๆ ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “บุคคลใดจะยังไม่ศรัทธานอกจากเขาจะรักเพื่อพี่น้องเขาเสมือนกับที่เขารักตัวเขาเอง” อัลบุคอรีย์ 1/ 14 เลขที่ 13 ) เช่นเดียวกัน อิสลามสั่งให้เราเอาใจใส่พี่น้องมุสลิมในทุกสถานการณ์ทั้งในยามตกทุกข์ และยามมีสุข  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ระหว่างผู้ศรัทธาด้วยกันเสมือนสิ่งก่อสร้างหลังหนึ่ง  ต่างพึ่งพาซึ่งกันและกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งระหว่างกัน  แล้วท่านก็เอานิ้วมือสองข้างมาสอดเข้าหากัน” ( อัลบุคอรีย์ 2/863 เลขที่ 2314 ) อิสลามสั่งให้ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมด้วยกันเเละปกป้องพวกเขา ในยามที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือและการปกป้อง  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺตรัสความว่า ความว่า :และถ้าหากพวกเขาขอให้พวกเจ้าช่วยเหลือในเรื่องศาสนา  ก็จำเป็นแก่พวกเจ้าซึ่งการช่วยเหลือนั้น  นอกจากในการต่อต้าน พวกที่ระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขามีสัญญากันอยู่ และอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน”  ( อันอันฟาล 72 ) ในทางตรงข้าม อิสลามไม่ให้มีการทรยศต่อมุสลิมด้วยกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดซึ่งทรยศและไม่ให้การช่วยเหลือมุสลิมในยามที่ศักดิ์ศรีของเขาโดนเหยียดหยาม  เกียรติแห่งเขาโดนล่วงเกิน นอกจากอัลลอฮฺจะทรงทอดทิ้งเขาในยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ  และไม่มีผู้ใดซึ่งช่วยเหลือมุสลิมในยามที่ศักดิ์ศรีของเขาโดนเหยียดหยาม  เกียรติแห่งเขาโดนล่วงเกิน นอกจากอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือเขาในยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ” ( สุนันอบิดาวูด 4/271 เลขที่ 4884 ) . ด้านจริยธรรมอิสลามอิสลามมาเพื่อเสริมสร้างมารยาทและจริยธรรมที่ดีงาม  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  “ฉันได้ถูกส่งมาเพื่อเพิ่มพูนจริยธรรมที่ดีงาม” ( อัลมุสดัดรอกฺ 2/670 เลขที่ 4221 ) ไม่มีมารยาทไหนที่ดีงามนอกจากอิสลามจะสนับสนุนให้ยึดเอามาปฏิบัติ  ในทางตรงข้ามอิสลามไม่สนับสนุนให้ยึดเอามารยาทที่เลวทราม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : เจ้า (มุฮัมมัด) จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลัง ให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด ( อัลอะอฺรอฟ 199 ) อิสลามได้วางระเบียบการเป็นอยู่เพื่อให้มุสลิมนำมันมาใช้ในการติดต่อกับสมาชิกทั่วไปในสังคม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ท่านจงยําเกรงอัลลอฮฺเถิด แน่นอนท่านจะเป็นบ่าวที่ภักดีต่ออัลลอฮฺมากที่สุด  ท่านจงพึงพอใจกับสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานมาให้ แน่นอนท่านจะเป็นผู้ที่รํ่ารวยที่สุดในบรรดามนุษย์  ท่านจงทำดีต่อเพื่อนบ้าน  แน่นอนท่านจะเป็นผู้ศรัทธาที่ดี  ท่านจงรักเพื่อนคนอื่นๆเสมือนกับที่ท่านรักตัวท่านเอง  แน่นอนท่านจะเป็นมุสลิมที่ดี และท่านอย่าหัวเราะมากจนเกินไปเพราะการหัวเราะมากเกินไปนั้นทำให้หัวใจแข็งกระด้าง” ( สุนันติรมีซีย์ 4/ 551 เลขที่ 2305 ) และท่านศาสนทูตกล่าวว่า มุสลิมคือ “ผู้ซึ่งคนอื่นปลอดภัยจากลิ้นของเขาและมือของเขา   อัลมุฮาญิร คือ ผู้ที่อพยพย้ายเพื่อหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่อัลลอฮฺห้าม” (อัลบุคอรีย์ 1/13 เลขที่ 10 ) และท่านได้กล่าวความว่า : “พวกท่านรู้ไหมว่าใครคือ ผู้ ที่ล้มละลาย ? พวกเขากล่าวว่า ผู้ที่ล้มละลายในบรรดาพวกเราคือ คนที่ไม่มีดิรฮัม ( เงิน ) และไม่มีสินค้าใดๆ ท่านจึงตอบว่า ผู้ที่ล้มละลายในบรรดาประชาชาติของฉันคือ ผู้ที่ในวันปรโลกการละหมาดของเขา  ซะกาต( การบริจาคทาน)  การถือศีลอดของเขา  และความดีของเขา  ได้ถูกมอบแก่บรรดาผู้ที่ถูกเขาด่าว่า  กล่าวหา  และทำร้าย  ถ้าความดีของเขาหมดก่อนที่จะทดแทนไปยังพวกเขาได้  บาปกรรมของพวกเขาก็จะถูกโยนมาที่เขา  แล้วมันจะนำเขาไปสู่ไฟนรก” ( มุสลิม 4/ 1997 เลขที่ 2581 ) . บทบัญญัติแห่งอิสลามทั้งที่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามหรือข้อสั่งใช้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มาช่วยในการจัดระเบียบสังคมให้เปี่ยมด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  รักใคร่และเมตตาปรานีซึ่งกันและกัน  ต่อไปนี้คือตัวอย่างสิ่งที่เป็นที่ห้ามในทัศนะอิสลาม  เช่น :  -ห้ามตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น  ( อันนิซาอฺ 48 )  - ห้ามไสยศาสตร์  จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ซึ่งท่านศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นบาปใหญ่  คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และไสยศาสตร์” ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2175 เลขที่ 5431 ) - ห้ามการคุกคามและการข่มเหงรังแกอย่างไม่ชอบธรรม กล่าวคือ การข่มเหงรังแกผู้อื่นด้วยวาจา หรือการกระทำ และไม่ชดใช้สิทธิที่ได้สัญญาไว้  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม( อัลอะอฺ รอฟ  33 )  - ห้ามฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันโดยไม่ชอบธรรม  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยจงใจ การตอบแทนแก่เขาก็คือ นรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงละนัตเขา และได้ทรงเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง ( อันนิซาอฺ  93 )  ยกเว้นการฆ่าผู้อื่นเพราะการปกป้องตัวเอง ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดถูกฆ่าเพื่อปกป้องทรัพย์สินส่วนตัวของเขา  เขาคือชะฮีด ( ตายในหนทางของอัลลอฮฺ)  ผู้ใดถูกฆ่าเพราะปกป้องครอบครัวของเขา เลือดของเขา หรือ ศาสนาของเขา  เขาคือชะฮีด” ( สุนันอบีดาวูด 4/ 246 เลขที่ 4772 ) - ห้ามการตัดขาดระหว่างเครือญาติ   เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้น หวังกันว่า หากพวกเจ้าผินหลังให้(กับการอีมานแล้ว)พวกเจ้าก็จะก่อความเสียหายในแผ่นดินและตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้นหรือ?ชนเหล่านี้คือบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงสาปแช่งพวกเขา ดังนั้นพระองค์จึงทรงทำให้พวกเขาหูหนวก และทรงทำให้พวกเขาตาบอด ( มุฮัมมัด 22-23 )  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ที่ตัดขาดความสัมพันธ์ทางเครือญาติจะไม่ได้เข้าสวรรค์” ( มุสลิม 4/ 1981 เลขที่ 2556 ) การตัดความสัมพันธ์ ณ ที่นี้ หมายถึง ไม่มีการเยี่ยมเยียนพวกเขา  ไม่แสวงหาและรับรู้ข่าวคราวความทุกข์สุขของพวกเขา  แสดงความหยิ่งยโสกับพวกเขา  ไม่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและบรรดาผู้ยากจนในจำนวนพวกเขา  ถ้าพวกเขารวยก็ไม่ทำดีกับพวกเขา  การบริจาคทานแก่คนยากจนคือ ผลบุญ   การบริจาคทานแก่ญาติใกล้ชิด คือผลบุญของการบริจาค และ ผลบุญในการติดต่อทางเครือญาติด้วย  ถ้าเขาไม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาเนื่องจากความยากจนของเขา    เขาต้องพยายามฝากสลามถึงพวกเขา  ไถ่ถามข่าวคราวพวกเขา  เมตตาปรานีพวกเขา  ส่งรอยยิ้มดีๆแก่พวกเขาทุกครั้งที่เจอกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : “พวกท่านจงเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกท่าน   ถึงแม้ด้วยการให้สลามก็ตาม” ( มุสนัด 1/ 379 เลขที่ 654 ) - ห้าม กระทำซินา(ผิดประเวณี ) และทุกวิธีทางที่นำไปสู่การซินา อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้การผิดประเวณีแท้จริงมันเป็นการลามกและทางอันชั่วช้า( อัลอิสรออฺ 32 ) จุดประสงค์ที่ห้ามกระทำซินาคือ ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งมนุษย์  ไม่ทำให้พวกเขาต้องอับอายจากการถูกล่วงเกินและถูกคุกคามเนื่องด้วยการกระทำอันเลวทราม  และมารยาทอันสกปรก ในขณะเดียวกันก็เป็นการปกป้องสังคมจากความสับสนปั่นป่วน  การผสมผสานด้านเชื้อสายอย่างไม่เป็นระบบ  ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆอาทิ การสืบทอดมรดกของคนที่ไม่มีสิทธิ  การผิดประเวณีระหว่างพี่น้องกัน  รักษาความบริสุทธิ์ของประชาชาตินี้ให้ห่างไกลจากการกระทำอันเลวทรามที่สร้างความสกปรกแก่สังคม  เป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ  ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “โอ้บรรดามุฮาญิรีน(บรรดาสาวกของท่านที่ได้ทุ่มเทในทุกด้านเพื่ออพยพพร้อมกับท่าน ) ห้าสิ่งซึ่งถ้าพวกท่านโดนทดสอบด้วยกับมัน ฉันขอให้อัลลอฮฺทรงปกป้องพวกท่านให้รอดพ้นจากมัน  สิ่งลามกทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นในหมู่ชนจนกระทั่งพวกเขาจะถูกเปิดเผยในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำมัน  นอกจากจะมีการระบาดในหมู่พวกเขาซึ่งโรคภัยและโรคติดต่อ ซึ่งไม่เคยพบเจอในสมัยชนรุ่นก่อนๆที่ผ่านมา” (สุนันอิบนิมาญะฮฺ 2/ 1332 เลขที่ 4019 ) การซินาที่เลวทรามที่สุดคือ การกระทำซินากับพี่น้องด้วยกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ผู้ใดร่วมประเวณีกับพี่น้องที่ต้องห้าม  พวกเจ้าจงฆ่าเขาเสีย”( อัลมุสดัดรอก 4/ 397 เลขที่ 8054 )- ห้ามการลิวาฏ ( การร่วมสังวาสทางทวารหนัก ) อัลลอฮฺได้ตรัสถึงเรื่องราวที่เกิดกับประชาชาติของศาสนทูตลูฏ   ซึ่งความว่า : ดังนั้น เมื่อพระบัญชาของเราได้มาถึง เราได้ทำให้ข้างบนของมันเป็นข้างล่าง และเราได้ ให้ก้อนหินแกร่งหล่นพรูลงมา(  ถูกตราเครื่องหมายไว้ ณ ที่พระเจ้าของท่าน และมัน ไม่ไกลไปจากบรรดาผู้อธรรม ( ฮูด 82-83 ) หมายถึงว่า  ผู้ใดกระทำเช่นเดียวกับพวกเขา  ก็ได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน .ท่านศาสนทูตกล่าวว่า อัลลอฮฺสาปแช่งบุคคล 7 กลุ่มจากบ่าวของพระองค์ แล้วท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้กล่าวตอบรับมันแด่แต่ละคนสามครั้งด้วยกัน แล้วท่านกล่าวว่า  โดนสาปแช่ง โดนสาปแช่ง โดนสาปแช่ง  ใครกระทำตามที่ชนศาสนทูตลูฏทำโดนสาปแช่ง  ใครรวมหญิงสตรีพร้อมกับลูกสาวเธอ(แต่งงานพร้อมกัน )โดนสาปแช่ง  ใครด่าพ่อแม่เขาแม้แต่สิ่งใดก็ตาม  โดนสาปแช่ง ใครร่วมสังวาสกับสัตว์โดนสาปแช่ง ใครเปลี่ยนขอบเขตพื้นที่ที่ได้จัดแบ่งไปแล้ว  โดนสาปแช่ง ใครที่เชือดไม่ใช่ด้วยนามอัลลอฮฺ  โดนสาปแช่ง  ใครที่อ้างตัวเองเป็นของคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้านายเขา”(  อัลมุสดัดรอก 4/ 396 เลขที่ 8053 )ทำนองเดียวกัน  ห้ามกระทำซิฮาค ( ร่วมสังวาสระหว่างผู้หญิงด้วยกัน )  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “การร่วมสังวาสระหว่างผู้หญิงด้วยกัน คือการซินา” ( มุสนัดอบูยุอฺลา 13/ 476 เลขที่ 7491 ) -ห้ามกินทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า เพราะการกระทำที่ว่า ถือว่าละเมิดสิทธิผู้ที่ด้อยกว่า  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์ของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหากและพวกเขาก็จะเข้าไปสู่เปลวเพลิง ( อันนิซาอฺ 10 ) แต่อัลลอฮฺทรงยกเว้นผู้ดูแลเด็กกำพร้าที่ยากจน  เพราะเขาสามารถที่จะเอาทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้ามาใช้ได้  ด้วยวิธีการที่ดี  ซึ่งถือว่าเป็นการทดแทนสิ่งที่เขาได้สละตัวเพื่อเอาใจใส่เด็กกำพร้า  หรือได้เลี้ยงดูและดูแลพวกเขาอย่างดี  ทั้งเรื่องอาหารการกิน  เรื่องการแต่งกาย    เรื่องการรักษาทรัพย์สมบัติหรือลงทุนเพื่อเขา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน  ซึ่งความว่า :และผู้ใดเป็นผู้มั่งมีก็จงงดเว้นเสีย และผู้ใดเป็นผู้ยากจนก็จงกินโดยชอบธรรม ครั้นเมื่อพวกเจ้าได้มอบทรัพย์ของพวกเขาให้แก่พวกเขาไปแล้ว ก็จงให้มีพยานยืนยันแก่พวกเขา และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสอบสวน ( อันนิซาอฺ 6 ) - ห้ามการเป็นสักขีพยานที่โกหก  เพราะการกระทำแบบนี้อิสลามถือว่าเป็นบาปมหันต์  ทำลายสิทธิอันชอบธรรมในสังคม  เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายของนิสัยการเอารัดเอาเปรียบและรังแกคนอื่น  นอกจากนี้ก็ถือว่าเป็นการทำร้ายทั้งสองฝ่าย  ฝ่ายที่เป็นสักขีพยานให้กับเขา กล่าวคือเป็นฝ่ายสนับสนุนเขาให้รังแกผู้อื่น  อีกฝ่ายคือ ผู้ที่ถูกรังแกและโดนยึดสิทธิโดยไม่ชอบธรรม  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “พวกท่านอยากทราบไหม  หากฉันจะบอกพวกท่าน เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นบาปมหันต์ ? พวกเราตอบว่า แน่นอน โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ  ท่านได้ตอบว่า : การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การทรยศต่อพ่อแม่  ในขณะที่ท่านยืนอยู่แล้วนั่ง  แล้วท่านกล่าวต่อว่า พึงรู้เถิดว่า ( สาม ) การพูดเท็จ  การเป็นสักขีพยานที่เท็จ  ท่านกล่าวแบบนั้นเรื่อยๆ จนกระทั่งฉันกล่าวว่า  ท่านไม่หยุด”( อัลบุคอรีย์ 5/2229 เลขที่ 5631 )  - ห้ามเล่นพนันนานาชนิด  เพราะการพนันคือ การทำลายพลังมนุษย์และทรัพย์สมบัติต้องสูญเสียไป  สร้างความเสียหายกับสังคมและสมาชิกในสังคม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ ( อัลมาอิดะฮฺ 90 ) ถึงแม้ว่าผู้เล่นพนันจะมีกำไรมากมายแต่ก็ถือว่า เขาได้กินเงินทองคนอื่นโดยไม่ชอบธรรม  บางครั้งชัยชนะของเขาแต่ละครั้งเป็นตัวการที่จะชักชวนเขาให้แสวงหาทุกวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งการชัยชนะครั้งต่อไป  เขาอาจจะใช้วิธีการฉ้อโกงและหลอกลวงคนอื่นตลอด   ถ้าเขาขาดทุนก็แสดงว่าเขากำลังทำลายทรัพย์สมบัติส่วนตัว  หรือเขาได้ใช้มันไปในแนวทางที่ไร้สาระ  ซึ่งบางครั้งสถานการณ์ก็บังคับให้เขาต้องลักขโมยทรัพย์สินของคนอื่นเนื่องจากหมดทรัพย์สมบัติที่เขาเคยมีอยู่ในมือ เพราะความต้องการของเขาคือ การกลับมาเล่นอีกครั้งเพื่อให้ได้ชัยชนะดังที่เคยได้รับ -ห้ามปล้นหรือจี้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นในระหว่างทางหรือ ปล้นฆ่าผู้อื่น  หรือ สร้างความหวาดกลัวแก่ผู้คนที่เดินทางไปมา  เพราะการกระทำแบบนี้ถือว่า ทำลายความสงบสุขของสังคมและสมาชิกในสังคม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงการตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่ทำสงครามต่ออัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และพยายามบ่อนทำลายในแผ่นดิน นั้นก็คือการที่พวกเขาจะถูกฆ่า หรือถูกตรึงบนไม่กางเขน หรือมือของพวกเขาและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง หรือถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน นั้นก็คือพวกเขาจะได้รับความอัปยศในโลกนี้ และจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวงในปรโลก ( อัลมาอิดะฮฺ 33 ) ผู้ใดมีความผิดเพราะการกระทำดังกล่าว  เขาจำต้องได้รับโทษตามความเหมาะสม  รายงานโดยอิบนิอับบาส กล่าวว่า “โทษของคนที่จี้ปล้นคนอื่นถ้ามีการปล้นรวมทั้งการยึดเอาทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถูกปล้น  คือ พวกเขาจะถูกฆ่าและโดนตรึงบนไม้กางเขน   ถ้าพวกเขาฆ่าคนแต่ไม่ยึดเอาทรัพย์สมบัติ  พวกเขาจะถูกฆ่าอย่างเดียว ไม่ถูกตรึง  ถ้าพวกเขาแค่ยึดเอาเงินและทรัพย์สินอย่างเดียว มือของพวกเขาและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง  ถ้าพวกเขาทำให้คนเดินผ่านไปมาหวาดกลัว แต่ไม่ยึดเอาทรัพย์ของคนอื่น พวกเขาจะถูกเนรเทศออกจากแผ่นดิน” ( สุนันอัลบัยฮะกีย์ อัลกุบรอย์ เลขที่ 17090 ) -ห้ามสาบานฆอมุส ( เท็จและชั่วร้าย ) หมายถึง การสาบานตนแบบแกล้งพูดเท็จเพื่อหวังเอาเปรียบคนอื่นหรือยึดสิทธิคนอื่นอย่างไม่ชอบธรรม  ได้ชื่อว่าฆอมุส เพราะมันทำให้เจ้าตัวต้องทิ่มหัวลงไปในนรก  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :แท้จริงบรรดาผู้ที่นำสัญญาของอัลลอฮ์และการสาบานของพวกเขาไปขายด้วยราคาอันเล็กน้อยนั้นชนเหล่านี้แหละไม่มีส่วนได้ใด ๆ แก่พวกเขาในปรโลก และอัลลอฮ์จะไม่ทรงพูดแก่พวกเขา และจะไม่ทรงมองดูพวกเขาในวันกิยามะฮ์ และทั้งจะไม่ทำให้พวกเขาสะอาดด้วย และพวกเขาจะได้รับโทษอันเจ็บแสบ ( อาละอิมรอน 77 ) ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ผู้ใดได้ยึดเอาสิทธิของคนอื่นด้วยการสาบานตนที่ชั่วร้าย  เขาเป็นชาวนรก   ชายคนหนึ่งถามว่า ถึงแม้สิ่งที่เขาได้รับไป แค่นิดเดียวเท่านั้นหรือ โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ? ท่านตอบว่า ถึงแม้ขนาดกิ่งรากไม้อะรอกก็ตาม”-ห้ามฆ่าตัวเอง  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน     ความว่า : และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ ( อันนิซาอฺ 29 )  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า “ผู้ใดฆ่าตัวเองด้วยสิ่งใด เขาจะได้รับการลงโทษด้วยสิ่งนั้นในวันปรโลก”( มุสลิม 1/104 เลขที่ 110 )  - ห้ามโกหก หลอกลวง ฉ้อโกง  ผิดสัญญา  หรือไม่รับผิดชอบตามที่ได้สัญญาไว้ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :  บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าทุจริต ต่ออัลลอฮฺ และศาสนทูตอัลลอฮฺ และจงอย่าทุจริตต่อบรรดาของฝากของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้ารู้กันอยู่  ( อัลอันฟาล 27 ) ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวความว่า : “สี่ประการถ้าผู้ใดมีส่วนหนึ่งของมันถือว่าเป็นคนมุนาฟิก( กลับกลอก ) อย่างแท้จริง  จนกว่าเขาจะทิ้งมันเสีย  เมื่อใดที่มอบหน้าที่ให้เขารักษาไว้เขาจะทรยศ  เมื่อใดที่เขาพูดเขาจะโกหก  และเมื่อใดที่เขาสัญญา เขาจะผิดสัญญา  และเมื่อใดที่เขาทะเลาะ เขาจะแสดงความชั่วร้าย” ( อัลบุคอรีย์ 1/21 เลขที่ 34 ) เช่นกันรายงานโดยมุสลิม ซึ่งความว่า : “แม้ว่าเขาได้ละหมาด  ถือศีลอด  และอ้างว่าเขาเป็นมุสลิมแล้ว” ( มุสลิม 1/78 ) -ห้ามตัดขาดความสัมพันธ์และอิจฉาระหว่างสมาชิกในสังคมมุสลิม เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า พวกเจ้าอย่าทะเลาะและสร้างความบาดหมางระหว่างกัน  และอย่าอิจฉาต่อกัน  อย่าวางแผนเพื่อก่อประทุษร้ายกัน  พวกเจ้าจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่รักใคร่กัน ไม่เป็นการอนุญาตให้มุสลิมทอดทิ้งกันไม่ไปหาสู่กันในเวลามากกว่าสามวัน” ( มุสลิม 4/ 1983 เลขที่ 2559 ) ท่านศาสนทูตของเราได้อธิบายถึงผลร้ายที่จะตามมาเนื่องจากการกระทำดังกล่าว ความว่า : “จงหลีกเลี่ยงการอิจฉาต่อกัน  แท้จริงแล้วการอิจฉานั้น จะกลืนกินความดีงามเหมือนกับเปลวไฟที่เผากินไม้ฟืนหรือ ต้นหญ้า” ( สุนันอบีดาวูด 4/ 276 เลขที่ 4903 ) - ห้ามการสาปแช่ง และด่าทอผู้อื่น เพราะท่านศาสนทูตกล่าวว่า  “ผู้ศรัทธาจะไม่สาปแช่ง  ไม่ด่าทอ  ไม่เป็นคนที่ทำชั่ว  ไม่เป็นคนที่ปากร้าย” ( มุสนัดอิมามอะฮฺมัด 1/ 416 เลขที่ 3948 )แม้กระทั่งกับเหล่าศัตรูก็ไม่ควรใช้วาจาที่ไม่สุภาพ รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ ท่านกล่าวว่า ได้มีคนกล่าวแก่ท่านศาสนทูตว่า  “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ท่านจงสาปแช่งบรรดาพวกมุชริกีน( พวกที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺและบรรดาผู้ที่ปฏิเสธอัลลอฮฺ )เถิด  ท่านตอบว่า : ฉันไม่ได้ถูกส่งเพื่อสาปแช่ง  แท้จริงแล้วฉันถูกส่งมาเพื่อความเมตตา”( มุสลิม 4/ 2006 เลขที่ 2599 ) - ห้ามมีนิสัยโลภและตระหนี่ เพราะอิสลามถือว่า ทรัพย์สมบัติเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น  พระองค์ได้มอบให้กับมนุษย์เพียงแค่ให้มนุษย์รักษามันและรับผิดชอบโดยอนุญาตให้ใช้จ่ายเพื่อส่วนตัวและเพื่อคนอื่นๆที่เขาดูแล  และให้เขาบริจาคมันเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า ผู้ที่เอื้อเฟื้อ อยู่ใกล้อัลลอฮฺ  ใกล้สวนสวรรค์  ใกล้ผู้คนทั่วไป  ห่างไกลจากไฟนรก  ผู้ที่ตระหนี่ห่างไกลจากอัลลอฮฺ  ห่างไกลจากสวนสวรรค์  ห่างไกลจากผู้คน  ใกล้ไฟนรก  และสำหรับผู้ที่โง่เขลา แต่เอื้อเฟื้อเป็นที่รักใคร่ของอัลลอฮฺมากกว่าผู้ที่กระทำอิบาดะฮฺ ( งานต่างๆที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺ ) แต่ตระหนี่” ( สุนันติรมีซีย์ 4/ 342 เลขที่ 1961 ) ท่านศาสนของทูตอัลลอฮฺ ได้ชี้แจงถึงผลเสียของนิสัยตระหนี่และโลภในสังคม ซึ่งท่านกล่าวความว่า : “พวกท่านจงละอายต่อการรังแกผู้อื่นเถิด เพราะการรังแกในโลกนี้คือความมืดมนในวันปรโลก  พวกเจ้าจงละอายต่อความโลภเพราะมันได้ทำลายชนก่อนๆมาแล้ว  ผลักดันให้พวกเขาฆ่าฟันและนองเลือดระหว่างกัน  และพวกเขาได้ละเมิดสิ่งที่อัลลอฮฺห้ามไว้”  (มุสลิม 4/1996 เลขที่ 2578 )อิสลามถือว่า คนที่รํ่ารวยมีฐานะเเละมีความสามารถที่จะให้การช่วยเหลือพี่น้องซึ่งตกทุกข์ได้ยากเเต่ไม่ยอมให้การช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาพ้นจากความทุกข์เเละความเจ็บปวดดังกล่าว  อิสลามถือว่า พวกเขาเหล่านั้นมีข้อบกพร่องเเละห่างไกลจากรัศมีแห่งการศรัทธา   เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  สองบุคลิกภาพด้วยกัน ที่จะไม่รวมตัวในเวลาเดียวกันในหัวอกของผู้ศรัทธา คือ การตระหนี่ เเละการมีมารยาทที่เลวทราม.( สุนันตีรมีซี 4/343 เลขที่ 1962 )   -อิสลามเตือน  ให้ระวังนิสัยฟุ่มเฟือย และใช้จ่ายในทางที่ไร้สาระ  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงให้สิทธิแก่ญาติที่ใกล้ชิด และผู้ขัดสน และผู้เดินทาง และอย่าสุรุ่ยสุร่ายอย่างฟุ่มเฟือย27.แท้จริง บรรดาผู้สุรุ่ยสุร่ายนั้นเป็นพวกพ้องของเหล่าชัยฏอน และชัยฏอนนั้นเนรคุณต่อพระเจ้าของมัน  แท้จริงบรรดาผู้สุรุ่ยสุร่ายนั้นเป็นพวกพ้องของเหล่าชัยฏอน และชัยฏอนนั้นเนรคุณต่อพระเจ้าของมัน.( บทอิสรออฺ โองการที่26-27 ) ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  เเท้จริงเเล้วอัลลอฮฺห้ามการอกตัญญูต่อพ่อเเม่  ห้ามในสิ่งที่เขาไม่มีสิทธิเเละการขอในสิ่งที่เขาไม่มีสิทธิ    การฆ่าลูกผู้หญิง   เเละอัลลอฮฺทรงเกลียดชังการบอกเล่าโดยไม่รู้ความจริง  การไต่ถามเกินขอบเขต  เเละการใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างไร้สาระ  ( มุสลิม 2/ 848 เลขที่ 2277 )  ·        ห้ามคลั่งไคล้ในเรื่องศาสนา จนเลยขอบเขตของมัน  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า( บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185 ) ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้วศาสนาคือ ความสะดวกง่าย  ไม่มีผู้ใดคลั่งไคล้ในศาสนานอกจากศาสนาจะบังคับเขาเอง  ฉะนั้นพวกคุณจงชักชวนซึ่งกันเเละกันเพื่อความถูกต้องเเละเข้าใกล้กับสัจธรรม  พวกเจ้าจงบอกเล่าข่าวดีกัน  เเละจงหาเวลายามเช้าตรู่เพื่อปฏิบัติอามาล  รวมทั้งช่วงเวลาเย็นๆ  เเละส่วนหนึ่งของกลางคืน . (มุสลิม 1/23 เลขที่ 39 ) ·       ห้ามมีนิสัยหยิ่งยโส โอ้อวด เเละดูเเคลนผู้อื่น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด” และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณ และจงลดเสียงของเจ้าลง  แท้จริง เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง(ร้อง) ของลา .    ( บทลุกมาน โองการ18-19 )ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ได้กล่าวถึงนิสัยที่เย่อหยิ่งยโส ว่า ผู้ซึ่งในหัวใจของเขามีความหยิ่งยโส เเม้เเต่เเค่ละอองธุลีก็จะไม่ได้เข้าสวรรค์  ชายคนหนึ่งถามว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  ผู้ชายเขาต้องการให้เสื้อของเขาดูสวย  ร้องเท้าดูสวย  ท่านกล่าวว่า เเท้จริงเเล้ว อัลลอฮฺดูดี พระองค์ชอบสิ่งที่ดูดีเเละสวยงาม  การเย่อหยิ่งคือ การไม่ยอมรับสัจธรรม  เเละดูถูกเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  . ( มุสลิม  1/93 เลขที่ 91 ) ท่านได้กล่าวถึงคนที่ชอบโอ้อวดเเละเดินต่อหน้าผู้อื่นอย่างโอหัง ความว่า : ผู้ใดลากเสื้อเขาอย่างโอหัง  อัลลอฮฺจะไม่มองหน้าเขาในวันปรโลก ( อัลบุคอรีย์ 3/ 1340เลขที่ 3465 )  ·        ห้ามสอดรู้สอดเห็นเรื่องราวเเละพิจารณาความผิดของผู้อื่น  รวมทั้งกล่าวหาเเละนินทาพวกเขา  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย  แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป  และพวกเจ้าอย่าสอดแนม  และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน  คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ? พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน  และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ(บทอัลฮุจญร๊อต โองการที่ 12 )  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  พวกคุณรู้ไหมว่าอะไรคือการนินทา?   พวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺเเละศาสนทูตของพระองค์เท่านั้นที่รอบรู้ดี  ท่านตอบว่า การนินทาคือการกล่าวถึงเพื่อนของคุณ ซึ่งถ้าเขาได้ยิน เขาจะโกรธกริ้ว  มีคนถามว่า เเล้วท่านไม่เห็นดอกหรือหากเพื่อนของฉันมีสิ่งตามที่ฉันว่าเขาจริง ?   ท่านตอบว่า ถ้าเขามีสิ่งตามที่เจ้าว่าจริง  เเสดงว่าเจ้าได้นินทาเขา  เเละถ้าไม่มีจริงตามที่เจ้าว่า เเสดงว่าเจ้าได้กล่าวหาเขา . (มุสลิม 4/2001เลขที่ 2589 ) เเละอิสลามสั่งห้ามไม่ให้เเอบฟังการพูดคุยของผู้อื่นโดยที่เจ้าตัวไม่อนุญาต เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ใครเเอบฟังการพูดคุยของชนกลุ่มหนึ่งโดยที่พวกเขาไม่ปรารถนาหรือพวกเขาพยายามหลีกหนีไม่ให้เขาฟัง  ในวันปรโลกจะถูกเทตะกั่วเลวเข้าในหูของเขา (อัลบุคอรีย์ 6/2581 เลขที่6635 ) ·       ห้ามดีใจในความล้มเหลวของผู้อื่น หรือดีใจในความเคราะห์ร้ายของผู้อื่น  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : อย่าเเสดงความรู้สึกดีใจเมื่อพี่น้องของคุณได้รับเคราะห์ร้าย  เพราะอัลลอฮฺจะทรงเมตตาต่อเขา เเล้วกลับทดสอบคุณเเทน ( สุนันอัตตีรมีซี 4/ 662 เลขที่ 2506 ) ·       ห้ามยุ่งเกี่ยวเรื่องผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเองหรือไม่ให้ผลดีเเก่ตนเอง  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  เเท้จริงเเล้ว ส่วนหนึ่งของความดีในอิสลามคือ การที่คนใดคนหนึ่งละทิ้งสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่อตัวเขา  ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 1/466 เลขที่ 229 ) ·       ห้ามเรียกผู้อื่นด้วยฉายาที่เขาไม่ชอบ หรือตําหนิผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวาจา หรือการกระทํา หรือด้วยสัญญาณใดๆ  อย่าดูถูกเเละดูเเคลนผู้อื่น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ( อัลฮุจญร๊อต โองการที่11 )  ·    ห้ามการตัดสินคดีเเบบเลวทราม เพราะผู้พิพากษาในทัศนะอิสลามคือบุคคลที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ  หรือทําตามคําสั่งของพระองค์  เขาคือ ผู้ปฏิบัติมิใช่ผู้ออกคําสั่งหรือผู้ออกกฎหมายของตัวเอง  เมื่อใดที่พวกเขาไม่มีสัจธรรมในการตัดสิน ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ตัดสินสองคนจะตกนรก  ส่วนผู้ตัดสินหนึ่งคนจะเข้าสวรรค์  กล่าวคือ ผู้ตัดสินคนหนึ่งที่ตัดสินด้วยสัจธรรม เขาจึงเข้าสวรรค์  ผู้ตัดสินคนหนึ่งซึ่งตัดสินด้วยอธรรม เขาจึงเข้านรกไป  เเละอีกคนซึ่งตัดสินด้วยความโง่เขลา  เขาจึงเข้านรกเหมือนกัน  บรรดาสาวกถามว่า  ผู้ตัดสินที่โง่เขลาเขาผิดอะไรจึงได้เขานรก  ท่านตอบว่า ความผิดของเขาคือ เขาจะไม่เป็นผู้ตัดสินจนกว่าเขาจะมีความรู้  ( อัลมุสตัดรอก 4/ 102  ) ·       ห้ามมีนิสัยเงียบเฉยหรือไม่หวงเเหนต่อภรรยาของตนเอง  เเละยินยอมกับการมีชู้ของเธอ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : บุคคลสามกลุ่มซึ่งอัลลอฮฺจะไม่มองหน้าพวกเขาเลยในวันปรโลก  คือ ผู้ที่อกตัญญูต่อพ่อเเม่ของเขา  ผู้หญิงที่เปลี่ยนเพศเป็นชาย  เเละผู้มีนิสัยดัยยูส ( ไม่หวงเเหนภรรยาตนเอง เเละเงียบเฉยกับการมีชู้ของเธอ ) ...( สุนันอันนสาอี 5/ 80 )  ·       ห้ามผู้ชายเลียนเเบบผู้หญิง หรือผู้หญิงเลียนเเบบผู้ชาย  รายงานจากอิบนิอับบาส – ขอความสันติจงมีแด่ท่านทั้งสอง – กล่าวว่า : ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้สาปเเช่งเหล่าผู้ชายที่เลียนเเบบเหล่าผู้หญิง  เเละเหล่าผู้หญิงที่เลียนเเบบเหล่าผู้ชาย . ( อัลบุคอรีย์ 5/2207 เลขที่ 5546 ) ·     ห้ามพูดด้วยการลําเลิก (ทวงบุญคุณ) สิ่งที่ได้ให้ไปกับคนอื่นหรืออวดอ้างความดีของตัวเองที่ได้ทําไปเพื่อคนอื่น  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า :  พวกเจ้าจงห่างไกลจากการลําเลิกความดี เพราะมันจะทําให้มวลการสรรเสริญของคนอื่นที่มีต่อพวกเจ้าไร้ผล เเละทําให้ผลบุญของความดีนั้นจางหายไป เเล้วท่านอ่านโองการอัลลอฮฺ    ความว่า :บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าให้บรรดาทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน·       ห้ามทวงคืนสิ่งที่ได้มอบให้กับคนอื่น ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : คนที่ขอของที่มอบไปกลับคืน เหมือนสุนัขตัวหนึ่งที่อาเจียนออกมาเเล้วกลืนเข้าไปอีก . ( อัลบุคอรีย์ 2/915 เลขที่ 2449 ) ·       ห้ามนินทาใส่ร้ายคนอื่น  เเละสําหรับใครที่นินทาใส่ร้ายคนอื่นมีโทษมหันต์ อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :ผู้ที่นินทาใส่ร้ายคนอื่นจะไม่ได้เข้าสวรรค์  (มุสลิม 1/101 เลขที่ 105 ) การนินทาเเละตระเวนไปในสังคมเพื่อใส่ร้ายคนอื่นคือต้นเหตุที่ทําให้เกิดการทะเลาะเบาะเเว้งกัน  มีเรื่องบาดหมางใจกันในสังคม  ต่อไปก็ต่างคนต่างไม่เข้าใกล้กัน  เหล่านี้คือสิ่งที่ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺทรงห้ามปราม ดังปรากฏในวจนะของท่านความว่า : : ไม่เป็นการอนุญาตเเก่มุสลิมที่จะตัดความสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามคืน  ทั้งสองเจอกันเเล้วหันหลังต่อกัน  ผู้ที่ดีที่สุดจากทั้งสองคือผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน . ( อัลบุคอรีย์ 5/2256 เลขที่ 5727 ) สิ่งที่จะตามมาคือ ต่างคนต่างสงสัยซึ่งกันเเละกัน  เเต่ละคนอยากจะสืบหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น  เช่นนี้ถือว่าเขาได้ละเมิดข้อห้ามซึ่งอัลลอฮฺไม่ทรงโปรดปราน  อัลลอฮฺ ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย  แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป  และพวกเจ้าอย่าสอดแนม  และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน( อัลฮุจญ์รอด 12 )·       ห้ามรังเเกผู้ที่ด้อยกว่า  ไม่ว่าเขาจะอ่อนเเอด้านร่างกายเฉกเช่น คนป่วย  คนชรา  คนสูงอายุ  หรืออ่อนเเอด้านฐานะการเงิน เฉกเช่นคนยากจน  คนยากไร้  หรือบุคคลใกล้ตัวเขาที่คอยรับใช้เขา  ทั้งนี้ก็เพราะต้องการเสริมสร้างสังคมให้ปรองดองกัน  มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ผูกพันซึ่งกันเเละกัน  มีเมตตาต่อกัน  รักใคร่ระหว่างกัน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด( อันนิซาอฺ 36 ) วันหนึ่งท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้เรียกหาคนรับใช้ของท่านในขณะที่มือท่านกำลังถือไม้เรียว  เเต่เขากลับมาหาท่านช้าหน่อย  ท่านกล่าวว่า ถ้าฉันไม่กลัวกิศอศฺ ( กิศอศ คือ ลงโทษด้วยการประหารชีวิตผู้กระทำผิด )  ฉันคงจะตีเจ้าด้วยไม้เรียวอันนี้เเน่  ( มุสนัด อะบียุอฺลา 12/360เลขที่ 6928 ) ·       ห้ามทําร้ายคนอื่นด้วยการวะเศียะฮฺ ( สั่งเสียก่อนตาย ) เช่น กล่าวว่า ฉันวะเศียะฮฺว่า ฉันมีหนี้ที่ต้องชดใช้  เเต่ตามความเป็นจริงเเล้วไม่มี   เพียงเพราะต้องการสร้างความเสียหายเเก่ผู้สืบทอดมรดกเท่านั้น  เป็นต้น อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายใดๆ เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงหนักแน่น ( อันนิซาอฺ 12 )ประเภทของอาหาร  เครื่องดื่ม  เเละเครื่องเเต่งกายที่ต้องห้ามในอิสลาม : ·       ห้ามดื่มสิ่งมึนเมา เเละสิ่งอื่นที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา ซึ่งหมายความรวมถึงอาหาร  เครื่องดื่ม  สิ่งสูบดม  หรือฉีดเข้าไปในร่างกาย  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ผู้ ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ   ที่จริงชัยฏอนนั้น เพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้า ในสุราและการพนันเท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่ ( อัลมาอีดะฮฺ 90-91 ) เพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ อิสลามจึงสั่งห้ามเข้าใกล้สิ่งเหล่านี้ เเละสิ่งอื่นที่เข้ากับความหมายที่ว่านี้ รวมทั้งยาเสพติดด้วย  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : อัลลอฮฺสาปเเช่งสุรา  เเละผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุรา ซึ่งหมายความรวมถึง ผู้ดื่ม ผู้ผลิต ผู้สั่งให้ผลิต ผู้นำพาหรือขนส่ง ผู้สั่งให้ขนส่ง ผู้ขาย  ผู้ซื้อ ผู้ที่ได้รับผลกําไรหรือประโยชน์จากสุราเหล่านี้  ( อัลมุสดัดรอก 2/ 37 เลขที่ 2235 ) ด้วยบทบัญญัติข้างต้น อิสลามถือว่าเป็นเเนวทางหนึ่งในการที่จะป้องกัน มันสมองเเละสติปัญญาอันลํ้าค่าของมนุษย์ไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมเสีย จนกระทั้งเกิดผลเสียจากการกระทําของพวกเขา   บทบัญญัตินี้ถือว่าอิสลามได้ยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์  ไม่ปล่อยปละละเลยพวกเขาจนกระทั้งต้องตกเป็นพวกที่ไม่มีสติปัญญาดังเช่นสัตว์ที่ไร้ซึ่งความคิดไตร่ตรอง  เเน่นอนว่าผู้ที่ติดยาเสพติดเเละสุราปกติเเล้วจะขวนขวายหาวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเสพยาหรือดื่มสุรา  เเม้จะต้องลักขโมยหรือฆ่าผู้อื่นก็ตาม  หรือมากกว่านั้นเขาอาจกระทำสิ่งต้องห้ามต่างๆ ที่ขวางหน้า  เช่นนี้เเหละที่อิสลามเรียกบาปกรรมมหันต์.      ·       ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ตายก่อนเชือด เเละหมู  ทั้งหมดนั้นอัลลอฮฺทรงห้ามในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า แล้ว ซึ่งสัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ ที่มัน (ขณะเชือด) และสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และสัตว์ที่ถูกตีตาย และสัตว์ที่ตกเหวตายและสัตว์ที่ถูกขวิดตาย และสัตว์ที่สัตว์ร้ายกัดกิน นอกจากที่พวกเจ้าเชือดกัน และสัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นหินบูชา และการที่พวกเจ้าเสี่ยงทายด้วยไม้ติ้ว เหล่านั้นเป็นการละเมิด ( อัลมาอิดะฮฺ 3 )  เช่นเดียวกัน อิสลามห้ามการเชือดสัตว์โดยไม่กล่าวนามอัลลอฮฺอย่างเจตนา หรือการเชือดที่กล่าวนามอื่นเเทนนามอัลลอฮฺ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และ พวกเจ้าจงอย่าบริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์มิได้ถูกกล่าวบนมัน และแท้จริงมัน(เป็นการละเมิดแน่ๆ และแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหายของมัน เพื่อพวกเขาจะได้โต้เถียงกับพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังพวกเขา แน่นอนพวกเจ้าก็เป็นผู้ให้มีภาคีขึ้น ( อัลอันอาม 121 ) ·       ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่มีสัญชาตญาณดุร้าย  เช่น สิงโต  เสือ  หมาป่า เป็นต้น  และนกบางชนิดที่มีกรงเล็บ เช่น เหยี่ยว เเละนกอินทรีย์ เป็นต้น·        ห้ามเเสวงหาทุกสิ่งที่ทําลายสุขภาพร่างกายอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งอาหาร  เครื่องดื่ม  สิ่งมึนเมาต่างๆ เเละสิ่งอื่นๆ ที่ทําลายสุขภาพ  เช่น บุหรี่ เป็นต้น อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ ( อันนิสาอฺ 29 )·         ห้ามสุภาพบุรุษสวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากไหมเเละทอง  เเต่อนุญาตให้สุภาพสตรีสวมใส่ได้     ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : อนุญาตให้ประชาชาติของฉันที่เป็นสตรีสวมใส่ไหมเเละทอง เเต่ไม่เป็นการอนุญาตสำหรับพวกผู้ชาย  ( มัสนัดอิมาม อะฮฺมัด 4/ 407 เลขที่ 19662 )อิสลามสนับสนุนให้ปฏิบัติ  ดังนี้ : ·       ความยุติธรรม  ทั้งด้านวาจาเเละการกระทํา อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้ให้รักษาความยุติธรรมและทำดี และการบริจาคแก่ญาติใกล้ชิดและให้ละเว้นจากการทำลามกและการชั่วช้า และการอธรรม พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจักได้รำลึก(อันนะฮฺลุ 90 )ความยุติธรรมเป็นสิ่งจําเป็นสำหรับบุคคลใกล้ชิดเเละบุคคลไกลห่าง  เนื่องจากโองการอัลลอฮฺ  ซึ่งความว่า : ความยุติธรรมต้องเสมอต้นเสมอปลายกับทุกคน ทั้งมุสลิมเเละไม่ใช่มุสลิม ทั้งในยามที่จิตใจปกติสุขหรือในยามที่จิตใจเร้าร้อนด้วยความโกรธแค้น  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเพื่ออัลลอฮ์ เป็นพยานด้วยความเที่ยงธรรมและจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า และพึงยำเกรง อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน( อัลมาอิดะฮฺ 8 )·       การเสียสละ  คือสัญญาณแห่งความรักใคร่ที่ส่งผลดีต่อสังคม  เสริมสร้างความสามัคคีเเละความเป็นปึกแผ่นในสังคม  อัลลอฮฺทรงยกย่องบรรดาผู้ทําประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์  เเละบุคคลผู้เสียสละสร้างคุณงามความดีเพื่อสังคม ในโองการอัลลอฮฺ ความว่า :และพวกเขาจะให้สิทธิผู้อื่น ก่อนตัวของพวกเขาเองถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตามและผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขาชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ( อัลหัซรฺ 9 ) ·       ส่งเสริมให้คบหามิตรสหายที่ดี  เเละคบหาพวกเขาอย่างดี  หลีกเลี่ยงมิตรสหายที่ชั่วช้าเเละรวมกลุ่มกับพวกเขา  การคบหาบุคคลสองชนิดที่ว่านี้ มีความเเตกต่างด้านผลพวงที่จะตามมาภายหลัง ซึ่งท่านศาสนทูตกล่าวอธิบาย ความว่า : อุปมาการเปรียบเทียบระหว่างเพื่อนที่ดีที่นั่งคุยด้วยกันกับเพื่อนที่ชั่ว อุปมัยดังสองคนซึ่งคนหนึ่งคือผู้ที่ถือน้ำหอมมิสกี้( ขี้ชะมดเชียง ) เเละอีกคนคือผู้ที่เป่าไฟเพื่อเผ่าเหล็ก  ส่วนผู้ที่ถือมิสกี้เขาอาจจะมอบให้คุณหรือคุณอาจจะขอซื้อจากเขาได้ หรือคุณอาจได้รับกลิ่นหอมจากมัน   ส่วนผู้ที่เป่าไฟ เขาอาจจะเผาเสื้อผ้าคุณจนไหม้หรือคุณอาจได้รับกลิ่นเหม็นจากมันได้ ( อัลบุคอรีย์ 5/2104 เลขที่ 5214 )·       ส่งเสริมให้ทําการประนีประนอม ระหว่างบุคคลที่มีเรื่องบาดหมางกัน  เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ไม่มีความดีใด ๆ ในการพูดซุบซิบอันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำงานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น และผู้ใดกระทำดังกล่าวเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺแล้ว เราจะให้แก่เขาซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง( อันนิซาอฺ 114 ) การมีส่วนทำให้บุคคลทั้งสองดังกล่าวคืนดีกัน ถือว่าเป็นการงานที่ดียิ่งในทัศนะอิสลาม  เหมือนกับการทําเศาะลาต ( ละหมาด ) หรือการถือศีลอด หรือทํากุศลอื่นๆ ที่อิสลามบังคับใช้  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : พึงประสงค์ไหมถ้าฉันจะบอกพวกคุณ ถึงการงานที่ประเสริฐยิ่งซึ่งไม่ด้อยกว่าการถือศีลอด  การละหมาด  เเละการบริจาคทาน?  นั้นคือ การประนีประนอมระหว่างพี่น้อง ที่มีเรื่องบาดหมางกันให้กลับคืนดีกัน  เเท้จริงเเล้ว การไม่ประนีประนอมระหว่างสองฝ่าย  คือ การตัดขาดความสัมพันธ์ซึ่งเป็นการทำลายความผูกพันทั้งด้านญาติมิตรเเละศาสนา   ( สุนันตีรมีซี 4/ 663 เลขที่ 2509 )    อิสลามเปิดโอกาสให้บุคคลซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างสองฝ่ายทำการประนีประนอมสามารถกล่าวเท็จได้ ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีกัน   สนิทสนมกัน  ไม่มีเรื่องบาดหมางกันอีก  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  ฉันไม่ถือว่าเป็นการกล่าวเท็จ สําหรับชายคนหนึ่งที่เเสวงหาเเนวทางเพื่อการประนีประนอมระหว่างมนุษย์ด้วยกัน  เขาได้กล่าวคําหนึ่งไปซึ่งเขาไม่มีจุดประสงค์อื่นใดนอกจากต้องการความประนีประนอมเท่านั้น เเละชายคนหนึ่งซึ่งเขากล่าวเท็จในเหตุการณ์สงคราม  เเละชายคนหนึ่งซึ่งเขากล่าวเท็จต่อภรรยาเขา  เเละหญิงคนหนึ่งซึ่งเธอกล่าวเท็จต่อสามี  ( สุนันอะบีดาวูด 4/ 281 เลขที่ 4921 ) ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ไม่ใช่คนที่กล่าวเท็จ สําหรับผู้ที่ต้องการประนีประนอมระหว่างมนุษย์     ดังนั้นเขาจึงปล่อยเเต่ข่าวดีที่มีผลในเเง่ดีหรือกล่าวเเต่สิ่งดีๆ  ( อัลบุคอรีย์ 2/958 เลขที่ 2546 ) ·       การเรียกร้องให้ทําความดี เเละละทิ้งสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  ตามความสามารถเเละตามความสะดวกของบุคคล   การเชิญชวนในลักษณะนี้เป็นการเปิดโอกาสเเก่เหล่าผู้โง่เขลาให้เเสวงหาความรู้  เเละปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น   เป็นการเตือนสติคนที่หลงทาง  เเละขจัดคนเลวในสังคม   ในทํานองเดียวกันเป็นการสนับสนุนผู้คนที่กระทําความดีทั้งมวล ชักชวนผู้อื่นให้ทําดีละทิ้งความชั่วคือการปฏิบัติตามบทบัญญัติศาสนา  ซึ่งมวลมนุษย์จะไม่พบหนทางที่เที่ยงตรงได้นอกจากต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติศาสนา  การปฏิบัติตามคําสั่งของพระเจ้า เเละละทิ้งข้อห้ามของพระองค์คือหนทางสู่ความสงบสุขในสังคม  ซึ่งจะทำให้สิ่งเลวร้ายเเละสิ่งไม่ดีทั้งมวลออกห่างไป  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ใดในบรรดาพวกคุณเห็นสิ่งชั่วช้า ให้เขาห้ามมันเสียด้วยมือเขาเอง  ถ้าไม่สามารถทําได้ให้เขาห้ามมันด้วยวาจาเขา  ถ้าทำไม่ได้อีก ให้เขาห้ามมันด้วยจิตใจซึ่งถือว่าเป็นการศรัทธาที่อ่อนเเอที่สุดแล้ว . ( มุสลิม 1/69 เลขที่ 49 ) อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบและชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความ สำเร็จ ( อาละ อิมรอน 104 ) ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้ยกตัวอย่างพร้อมทั้งได้ชี้เเจงถึงผลเสียที่จะตามมาถ้าไม่มีการเรียกร้องผู้อื่นให้ทําความดีเเละละทิ้งความชั่ว โดยกล่าวความว่า : อุปมาการเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ยืนหยัดบนขอบเขตแห่งอัลลอฮฺกับผู้ที่ล่วงเกิน   อุปมัยดังคนกลุ่มหนึ่งซึ่งทั้งหมดอยู่ในเรือลําเดียวกัน บางคนได้อยู่ชั้นบน  บางคนได้อยู่ชั้นล่าง  สําหรับคนที่อยู่ชั้นล่างต้องเดินผ่านคนชั้นบนเมื่อต้องการตักน้ำมาใช้  ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า  ถ้าพวกเราเจาะรูที่ไหนสักเเห่งใกล้ตัวเรา  พวกเราคงไม่จําเป็นต้องไปรบกวนคนชั้นบน  ฉะนั้นถ้าพวกเขาละเลยเเละวางเฉย กระทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ห้ามปรามกัน  พวกเขาทั้งหมดต้องเผชิญกับความหายนะ   หากพวกเขาต่างห้ามปรามซึ่งกันและกัน พวกที่อยู่ชั้นล่างเเละทุกคนจะปลอดภัย  ( อัลบุคอรีย์ 2/ 882 เลขที่ 2361 ) การละทิ้งการงานอันประเสริฐนี้ จะได้รับโทษจากอัลลอฮฺตามโองการอัลลอฮฺ ความว่า :บรรดาผู้ที่ปฏิเสธ ศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปโดยถ้อยคำของดาวูด และอีซาบุตรของมัรยัม นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืน และที่พวกเขาเคยละเมิดกัน ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งไม่ชอบที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำ .                              ( อัลมาอิดะฮฺ 78-79 )  ข้อควรปฏิบัติเเละเงื่อนไขสําหรับผู้ที่ต้องการชักชวนผู้อื่นให้กระทําความดีเเละละทิ้งความชั่ว :-ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้จริงเกี่ยวกับคําสั่งที่ให้ปฏิบัติตามเเละคําสั่งห้าม    เพราะการไม่รอบรู้จริงคือการทําลายศาสนา  รายงานโดยท่านซุฟยาน บิน อับดิลลาฮฺ อัศศะเกาะฟีย์ กล่าวว่า ฉันได้กล่าวเเก่ท่าน ศาสนทูตอัลลอฮฺว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ท่านจงสอนข้าเรื่องศาสนาเพื่อฉันจะได้ยึดมั่นด้วยความถูกต้อง ท่านตอบว่า เจ้าจงกล่าวว่า พระเจ้าของฉันคืออัลลอฮฺ  จากนั้น เจ้าจงยืนหยัดในเเนวทางที่เที่ยงตรง  ฉันกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ สิ่งใดที่ท่านทรงหวาดระเเวงในตัวฉันมากที่สุด?  ท่านดึงลิ้นออกมาเเล้วกล่าวว่า นี่ไง !  อะบูฮาติมกล่าวอธิบายว่า สาเหตุที่ท่านดึงลิ้นออกมา ทั้งๆ ที่ท่านสามารถที่จะพูดออกมาด้วยวาจา   คือท่านทราบดีถึงความรู้ที่ท่านต้องการถ่ายทอดให้กับผู้อื่น  เลยต้องการปฏิบัติตาม ก่อนที่จะเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวเเก่ผู้อื่น  ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้สั่งให้พึงระวังลิ้นเอาไว้  อย่าได้ปล่อยมันพูดตามใจชอบ  ฉะนั้นท่านได้ปฏิบัติตามความรู้ที่ท่านได้รับมา เพื่อต้องการเเยกเเยะระหว่างการได้รับความรู้กับการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น  ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 13/6 เลขที่ 5699 )-          การชักชวนคนให้ละทิ้งความชั่ว ต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดเรื่องที่ร้ายเเรงกว่าสิ่งที่ต้องการห้าม -          ไม่สมควรกระทําในสิ่งที่เขาได้ห้ามผู้อื่นไม่ให้กระทําเพราะอัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ทำไมพวกเจ้าจึงกล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ  เป็นที่น่าเกลียดยิ่งที่อัลลอฮฺ การที่พวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ( อัศศ็อฟ 2-3 ) -          ต้องชักชวนผู้อื่นด้วยมารยาทที่ดีงาม  อ่อนโยน เมตตา เเละกรุณา เพราะท่านศาสนทูตกล่าว    ความว่า :  เเท้จริงเเล้ว ความเมตตาจะไม่อยู่ในสิ่งใดนอกจากว่ามันจะตกเเต่งสิ่งนั้นให้ดูดี  เเละความเมตตาจะไม่ถูกดึงออกมาจากสิ่งใดนอกจากว่าสิ่งนั้นมีความบกพร่อง ( มุสลิม 4/2004 เลขที่ 2594 ) -          ต้องมีความอดทนกับภาระหน้าที่ที่ต้องเผชิญ  ตลอดจนเหตุร้ายที่ไม่คาดคิดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และจงใช้กันให้กระทำ ความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า  แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง( ลุกมาน 17 ) -     เป็นเเบบอย่างที่ดีโดยการแสดงมารยาทอันดีงาม  พร้อมทั้งสนับสนุนให้ยึดมั่นหลักจริยธรรมที่ดีงาม ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้วผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์เเบบคือ ผู้ซึ่งมารยาทของเขาดีเลิศ      เเละผู้ซึ่งอ่อนโยนกับภรรยาเขามากที่สุด  ( สุนันติรมีซี 4/370 เลขที่ 2018 )ผู้ที่มีจริยธรรมที่ดีงาม จะได้รับผลตอบเเทนที่ดี ดังคํากล่าวของท่านศาสนทูตความว่า : เเท้จริง ผู้ที่ฉันรักใคร่และจะได้อยู่ใกล้ชิดตัวฉันมากที่สุดในวันปรโลกคือ บรรดาผู้ซึ่งมีจริยธรรมอันดีงามที่สุด เเละเเท้จริงบรรดาผู้ที่ฉันเกลียดชังที่สุดเเละต้องอยู่ห่างไกลจากตัวฉันมากที่สุดในวันปรโลกคือ บรรดาผู้ที่พูดมากเสแสร้ง  เเละผู้ที่พูดมากพร้อมอ้าปากกว้าง เเละผู้ที่พูดมากในทํานองดูถูกผู้อื่น  บรรดาสาวกถามว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ในส่วนของผู้ที่พูดมาก เเละผู้ที่อ้าปากกว้าง   เราทราบดีมาก เเต่ผู้ที่พูดดูถูกผู้อื่นคือคนเเบบไหน ?  ท่านตอบว่า พวกเขาคือผู้ที่เย่อหยิ่งยโส   ( สุนันติรมีซี 4/370 เลขที่ 2018 ) -          ศาสนาสั่งใช้ให้ทําความดีเเละหมั่นทุ่มเท่เพื่อความดี  รายงานโดยยะอฺฟัรบิน มุฮัมมัด จากพ่อเขา จากปู่เขา กล่าวว่า ท่านศาสนทูตได้กล่าวความว่า : เจ้าจงทําดีเเก่คนที่สมควรทําดี  ดังนั้นถ้าคุณทําดีถูกคน เขาคือคนที่สมควรได้รับการทําดี  ถ้าคุณทําดีผิดคน คุณนั้นเเหละคือคนที่สมควรได้รับการทําดี (มุสนัด อัซซิฮาบ1/ 436 เลขที่ 747 ) -          บังคับให้เน้นความชัดเจนถูกต้องเป็นหลักเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารหรือปล่อยข่าวออกไป  เพราะอัลลอฮฺทรงตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ! หากคนชั่วนำข่าวใดๆ มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด  หาไม่แล้วพวกเจ้าก็จะก่อเคราะห์กรรมแก่พวกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว แล้วพวกเจ้าจะกลายเป็นผู้เสียใจในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไป( อัลฮุจญ์ร็อต 6  ) -          สั่งใช้ให้ตักเตือนซึ่งกันเเละกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ศาสนาคือ การตักเตือน  พวกเรากล่าวว่า ตักเตือนเพื่อใครโอ้ท่านศาสนทูต? ท่านตอบว่า  เพื่ออัลลอฮฺ  คัมภีร์อัลลอฮฺ  ศาสนทูตอัลลอฮฺ  เหล่าผู้นำมุสลิม เเละหมู่ชนทั้งมวล . (มุสลิม 1/ 74 เลขที่ 55 ) -          การตักเตือนเพื่ออัลลอฮฺ หมายถึง การศรัทธาต่อพระองค์  ภักดีต่อพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น  ไม่ตั้งภาคีต่อพระองค์  ยกย่องพระองค์ทั้งพระนามของพระองค์ เเละคุณลักษณะเฉพาะของพระองค์ให้บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งแปะเปื้อนทุกอย่าง -          การตักเตือนเพื่อคัมภีร์ของพระองค์ หมายถึง การเชื่อมั่นต่อคัมภีร์ว่าเป็นคํากล่าวของพระองค์อัลลอฮฺ  ถูกประทานลงมาจากพระองค์  เป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายที่ลงมาจากฟากฟ้า  บัญญัติไว้ซึ่งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต  เเละทรงห้ามทุกสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม   เป็นกฎหมายที่พระองค์ทรงบังคับให้ปฏิบัติตาม -          การตักเตือนเพื่อท่านศาสนทูตของพระองค์ หมายถึง การศรัทธาต่อท่านด้วยการภักดี ปฏิบัติตามคําสั่ง  ยอมรับในสิ่งที่ท่านเเจ้งให้ทราบ  หลีกเลี่ยงสิ่งที่ท่านสั่งห้ามเเละปราม   รักใคร่เคารพ  เเละให้เกียรติท่าน   ปฏิบัติตามตามเเบบอย่างของท่าน  เเละเผยแพร่เเบบอย่างของท่านในหมู่มวลมนุษย์  -          การตักเตือนเพื่อเหล่าผู้นํามุสลิม  หมายถึง การเเสดงการภักดีต่อพวกเขา ตราบใดที่พวกเขาไม่สั่งให้กระทําในสิ่งที่ผิดหลักศาสนา   ชี้เเนะเเละช่วยเหลือพวกเขา  ห้ามประกาศเป็นกบฏต่อพวกเขา   เเนะนําเเละตักเตือนพวกเขาด้วยสันติวิธี  อ่อนโยน  เเละตักเตือนให้พวกเขาเคารพสิทธิเสรีภาพของปวงชน -          การตักเตือนเพื่อหมู่ชนทั้งมวล  โดยการชี้เเนะพวกเขาไปสู่เเนวทางที่ดี เป็นประโยชน์เเก่พวกเขาเเละศาสนาของพวกเขา   รวมทั้งการใช้ชีวิตของพวกเขา  ช่วยเหลือพวกเขาในยามที่พวกเขาต้องการ  ปกป้องพวกเขาจากเหตุร้ายทั้งปวง   รักใคร่พวกเขาเหมือนกับที่รักใคร่ตัวเอง  เเละเกลียดชังเพื่อพวกเขาเหมือนกับที่เกลียดชังเพื่อตนเอง   อยู่ร่วมกับพวกเขาด้วยวิธีการที่ดีงาม -          สั่งใช้ให้มีนิสัยใจบุญ ชอบทําดี เเละการกุศล  เพราะจะช่วยสร้างความรักใคร่ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน  เเสดงความรักชอบพวกเขา  เเละสนิทสนมพวกเขา  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : จริยธรรมที่ดีงามสองชนิดที่อัลลอฮฺรักใคร่มาก คือ การมีจริยธรรมที่ดีงาม  การเอื้อเฟื้อเผื่อเเผ่   เเละจริยธรรมสองชนิดที่เลวทราม คือ มารยาทที่เลวทรามเเละการตระหนี่ เมื่อใดที่อัลลอฮฺพึงประสงค์ให้บ่าวพระองค์ได้ดี พระองค์จะทรงชี้นําเขาให้เขาช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เงื่อนไขของการเอื้อเฟื้อเผื่อเเผ่ ตามโองการอัลลอฮฺ   ซึ่งความว่า :และอย่าให้มือของเจ้าถูกตรึงอยู่ที่คอของเจ้า และอย่าแบมันจนหมดสิ้น มิฉะนั้นเจ้าจะกลายเป็นผู้ถูกประนาม เศร้าโศกเสียใจ( อัลอิสรออฺ 29 ) -          สั่งใช้ให้ปกปิดความลับของผู้อื่น เเละส่งเสริมให้ช่วยเหลือผู้คนให้พ้นภัยเเละความเคราะห์ร้ายของพวกเขา  ให้การช่วยเหลือพวกเขา  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ใดปลดปล่อยความทุกข์ของผู้อื่นในโลกนี้  อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยความทุกข์ของเขาในวันปรโลก  เเละผู้ใดให้ความสะดวกเเก่ผู้อื่นในยามที่เขาทุกข์ยาก  อัลลอฮฺจะทรงให้ความสะดวกเเก่เขาในโลกนี้เเละโลกหน้า  เเละผู้ใดปกปิดความลับของมุสลิมสักคน อัลลอฮฺจะทรงปกปิดความลับของเขาในโลกนี้เเละโลกหน้า  เเละพระองค์อัลลอฮฺทรงช่วยเหลือบ่าวพระองค์เสมอตราบใดที่บ่าวคนนั้นช่วยเหลือพี่น้องเขาเสมอ  ( มุสลิม 4/ 2074 เลขที่ 2699 ) -          จําเป็นต้องอดทน เเละควรส่งเสริมอย่างยิ่งให้มีความอดทน   ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการภักดีต่ออัลลอฮฺ หรือการอดทนกับการละทิ้งสิ่งต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงห้าม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ดังนั้น จงอดทนต่อพระบัญชาของพระเจ้าของเจ้า เพราะแท้จริง เจ้านั้นอยู่ในเบื้องสายตาของเรา และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้าขณะเมื่อเจ้าลุกขึ้นยืน ( อัฎฎูร 48 ) หรืออดทนกับชะตากรรมที่อัลลอฮฺกําหนดให้เกิดขึ้น อาทิ การอดทนกับความหิวโหย  การอดทนกับความเจ็บปวด  ความหวาดกลัวจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวและด้วยความสูญเสีย(อย่างใดอย่างหนึ่ง)จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด( อัลบะเกาะเราะฮฺ 155 ) - บังคับให้ข่มโทษเเละให้อภัยเเก่ผู้อื่นหากมีความสามารถ  ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นระหว่างหมู่ชนในสังคม  ป้องกันการเกิดเรื่องที่สร้างความบาดหมางต่อกัน  หรือการตัดขาดระหว่างกัน จนกระทั้งก่อให้เกิดการคิดวางเเผนร้ายเพื่อทําลายอีกฝ่ายหนึ่ง   ดังนั้นนิสัยที่ดีข้างต้นเป็นที่ยกย่องในทัศนะของอัลลอฮฺ ในโองการอัลลอฮฺ ความว่า : และ พวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง คือบรรดาผู้ที่บริจาค ทั้งในยามสุขสบาย และในยามเดือดร้อนและบรรดาผู้ข่มโทษและบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ และอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย ( อาละอิมรอน 133-134 ) -          บังคับให้ขับไล่ความชั่วด้วยสิ่งที่ดีกว่า  เพื่อให้จิตใจเกิดความรู้สึกโอบอ้อมอารี  ลบล้างความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจระหว่างกัน  ขจัดความโกรธเเค้นที่เเฝงอยู่ในหัวใจ .  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และ ความดีและความชั่วนั้นหาเท่าเทียมกันไม่ เจ้าจงขับไล่ (ความชั่ว) ด้วยสิ่งที่มันดีกว่า แล้วเมื่อนั้นผู้ที่ระหว่างเจ้ากับระหว่างเขาเคยเป็นอริกันก็จะกลับกลายเป็น เยี่ยงมิตรที่สนิทกัน ( ฟุศศิลัต 34 ) ส่วนหนึ่งของมารยาทในอิสลามบทบัญญัติเเห่งอิสลามเปี่ยมด้วยมารยาทที่ดีงามซึ่งจําเป็นต่อมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพอิสลาม  ส่วนหนึ่งของมารยาทที่ดีงามในอิสลามคือ .  มารยาทการกิน :กล่าวนามอัลลอฮฺเมื่อต้องการกินอาหาร ( โดยกล่าวว่า บิสมิลละฮฺ ) เเละขอบคุณพระเจ้าเมื่อกินเสร็จ (โดยกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลละฮฺ) เริ่มหยิบอาหารที่ใกล้ตัวก่อน เเละกินด้วยมือข้างขวา  เพราะมือข้างซ้ายส่วนมากเเล้วถูกใช้ในสิ่งที่สกปรก  ท่านอุมัร บิน อะบีสะลามะฮฺ กล่าวว่า ครั้นเมื่อฉันยังเด็กอาศัยอยู่ในบ้านท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  มือของฉันว่อนไปมาในถาดอาหาร  ท่านเลยกล่าวเเก่ฉันว่า นี่เด็กหนุ่ม จงกล่าวบิสมิลละฮฺ ( ด้วยนามอัลลอฮฺ ) เเละเจ้าจงกินด้วยมือขวา  เเละเลือกกินของที่อยู่ใกล้ตัวก่อน  ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2056 เลขที่ 5061 )  ·       ไม่ตําหนิอาหารไม่ว่าลักษณะไหนก็ตาม  รายงานโดยอะบีฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺไม่ทรงตําหนิอาหารเลยเเม้เเต่ครั้งเดียว  ถ้าท่านชอบท่านจะกิน ถ้าท่านไม่ชอบท่านจะไม่กิน ( อัลบุคอรีย์ 5/2065 เลขที่ 5093 ) ·       ไม่สมควรกินอาหารหรือเครื่องดื่มเกินความจําเป็น  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า : ลูกหลาน ของอาดัมเอ๋ย ! จงเอาเครื่องประดับกายของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย ( อัลอะอฺรอฟ 31 ) เเละท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์ใส่อาหารจนเต็มจะเลวร้ายไปกว่าท้องของมนุษย์เอง  เพียงพอเเล้วโอ้มนุษย์เอ่ย เเค่สองสามคําที่จะทําให้กระดูกสันหลังของคุณเเข็งเเรง  ถ้าหากจําเป็นต้องกินก็ขอให้เเบ่งสามส่วน  หนึ่งส่วนสามสำหรับอาหารของเขา  หนึ่งส่วนสามสําหรับเครื่องดื่มของเขา  เเละหนึ่งส่วนสามสําหรับลมหายใจของเขา . ( เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 12/ 41 เลขที่ 5236 ) ·       ไม่สูดลมหายใจหรือเป่าลมเข้าไปในภาชนะที่ใส่อาหารอยู่  รายงานโดยท่านอิบนิอับบาส ว่า ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺห้ามไม่ให้สูดลมหายใจหรือเป่าลมหายใจในภาชนะที่ใส่อาหารอยู่   ( สุนันอะบีดาวูด 3/338 เลขที่ 3728 ) ·       ไม่สร้างความน่ารังเกลียดเเก่คนที่จะกินหรือดื่มหลังจากเขา  ท่านศะอีดอัลคุดรีย์กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านศาสนทูตห้ามไม่ให้ดื่มนํ้าจากปากถุงใส่น้ำ  ( อัลบุคอรีย์ 5/2132 เลขที่ 5303 ) ·       ควรรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น  ไม่ควรกินคนเดียวตามลําพัง  ชายคนหนึ่งได้ถามท่านศาสนทูตว่า ทำไมฉันกินอาหารเเต่ไม่อิ่ม !    ท่านถามว่าพวกคุณกินอาหารเป็นกลุ่มพร้อมๆกัน หรือเเยกย้ายกันกินตามลำพัง?  พวกเขาตอบว่า พวกเราต่างเเยกย้ายกันกิน  ท่านกล่าวว่า พวกเจ้าจงรวมกลุ่มกินอาหารร่วมกัน เเละจงกล่าวนามอัลลอฮฺ เเน่นอนอัลลอฮฺทรงให้ความจําเริญเเก่อาหารของพวกเจ้า .·       ควรขออนุญาตจากเจ้าของอาหารก่อนเมื่อถูกเชิญให้ไปทานอาหารที่บ้านเขาหากมีเพื่อนติดตามมาด้วย  วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งจากกลุ่มอัลอันศอร์ ( อัลอันศอร์ คือกลุ่มมุสลิมที่สนับสนุนเเละช่วยเหลือท่านศาสนทูตเมื่อท่านอพยพมายังนครมะดีนะห์ ) มีฉายาเรียกว่า อะบา ซุอัยบฺ ซึ่งเขาได้เชิญท่านศาสนทูตอัลลอฮฺเเละสาวกของท่านบางคนมาที่บ้านเขา  เเต่ได้มีชายอีกคนเดินตามหลังมากับพวกเขาด้วย  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า เเท้จริงเเล้วชายคนนี้ได้ตามหลังพวกเรามา  ถ้าคุณต้องการที่จะอนุญาตให้เขาร่วมรับประทานด้วยคุณอนุญาตได้ แต่ถ้าคุณต้องการให้เขากลับ  เขากลับได้  อะบา ซุอัยบฺ เลยตอบว่า ไม่  เเต่ทว่าฉันอนุญาตให้เขาร่วมรับประทานด้วย  ( อัลบุคอรีย์ 2/ 732 เลขที่ 1975 )  มารยาทในการขออนุญาต  ( เข้าบ้าน)มีสองประเภทด้วยกัน ดังนี้ : -          การขออนุญาตเมื่ออยู่นอกบ้าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า :โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เอ๋ย พวกเจ้าอย่าเข้าไปในบ้านใดอื่นจากบ้านของพวกเจ้า จนกว่าจะขออนุญาติและให้สลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน เช่นนั้นแหละเป็นการดีสำหรับพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะใคร่ครวญ( อันนูร 27 ) -          การขออนุญาตเมื่ออยู่ภายในบ้าน  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :และเมื่อเด็ก ๆ ในหมู่พวกเจ้าบรรลุศาสนภาวะ ก็จงให้พวกเขาขออนุญาตเช่นเดียวกับบรรดาชนก่อนหน้าพวกเขาได้ขออนุญาต เช่นนั้นแหละอัลลอฮ์ทรงชี้แจงโองการทั้งหลายของพระองค์ให้เป็นที่ชัดแจ้งแก่ พวกเจ้า และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ( อันนูร 59 ) ทั้งหมดนั้นเพื่อเป็นการเคารพรักษาความลับภายในบ้าน เเละปกปิดซึ่งข้อพิเศษของบ้าน  มีชายคนหนึ่งได้มองทะลุถึงห้องหนึ่งภายในบ้านท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  ท่านเลยกล่าว- ในขณะที่ในมือของท่านมีเเท่งเหล็ก ( ใช้ในการหวีผมในสมัยก่อน ) ความว่า : ถ้าฉันรู้ว่าเจ้ากําลังเเอบมอง ฉันจะเเทงตาเจ้าสองข้างด้วยสิ่งนี้  เเท้จริงเเล้วอิสลามได้บัญญัติไว้เรื่องการขออนุญาตเพื่อละสายตา . ( อัลบุคอรีย์ 5/2304 เลขที่ 5887 ) -          ไม่สมควรคะยั้นคะยอเเละรบกวนเจ้าของบ้านเมื่อขออนุญาต  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า :  การขออนุญาตนั้นสามครั้งเท่านั้น  ถ้าเขาอนุญาตให้คุณ หรือไม่ก็คุณจงหันกลับ . -          ผู้ที่ขออนุญาตจําต้องเเนะนําตัวให้เจ้าของบ้านได้ยิน  รายงานโดยญาบิร – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- กล่าวว่า วันหนึ่งฉันได้ไปหาท่านศาสนทูตเพื่อจ่ายหนี้ของพ่อฉัน  ฉันเคาะประตูบ้านของท่าน  ทันทีท่านตอบว่า  ใครเหรอ ? ฉันตอบว่า ฉันเอง  ท่านถามว่า ฉัน  ฉัน เหมือนจะบอกว่า  ท่านไม่ชอบให้ตอบเเบบนี้   ( อัลบุคอรีย์ 5/2306 เลขที่ 5896 )  มารยาทในการให้สลามอิสลามสนับสนุนให้มีการให้สลามทุกครั้งที่พบเจอพี่น้องมุสลิมในสังคม  เพราะการให้สลามคือสัญลักษณ์เเห่งความรักใคร่เเละความเป็นพี่น้องกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ด้วยนามพระองค์ซึ่งชีวิตฉันอยู่ในกํามือของพระองค์  พวกคุณจะไม่ได้เข้าสวรรค์นอกจากพวกคุณต้องศรัทธา เเละพวกคุณจะไม่ศรัทธานอกจากพวกคุณต้องรักใคร่ระหว่างกัน   ต้องการหรือไม่ถ้าฉันจะบอกสิ่งหนึ่งซึ่งถ้าพวกคุณได้ลงมือปฏิบัติเเล้วพวกคุณจะรักใคร่ซึ่งกันเเละกัน  พวกคุณจงให้สลามซึ่งกันและกัน  ( สุนันอะบีดาวูด 4/ 350เลขที่ 5193 ) -          ศาสนาบังคับให้ตอบรับสลามเเก่คนที่ให้สลาม  เพราะอัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :เเละเมื่อใดที่พวกเจ้าได้รับคําอวยพรด้วยคําอวยพรใดๆ ก็ตาม ก็จงกล่าวคําอวยพรตอบที่ดีกว่านั้น  หรือไม่ก็กล่าวคําอวยพรนั้นตอบกลับไป  ( อันนิซาอฺ 86 ) -          อิสลามได้อธิบายถึงมารยาทเเละกฎเกณฑ์การให้สลามดังนี้ :          ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะควรให้สลามเเก่ผู้ที่เดิน  เเละผู้ที่เดินอยู่ควรให้สลามเเก่ผู้ที่นั่ง   เเละคนที่มีจํานวนน้อยควรให้สลามเเก่คนที่มีจํานวนมากกว่า  ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2301 เลขที่ 5878 ) มารยาทในการเข้านั่งในสถานที่ส่วนรวม - ควรให้สลามเเก่บุคคลที่นั่งอยู่ ทุกครั้งที่เข้าเเละออกจากสถานที่ส่วนรวม :        ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เมื่อบุคคลใดในหมู่พวกคุณได้ไปถึง ณ สถานที่ส่วนรวมสักเเห่งหนึ่ง เขาจงให้สลาม  ถ้าเขาคิดว่าจะนั่งก็ขอให้เขานั่ง  ถ้าเขาคิดว่าจะยืนเเละขอตัวออกไป ก็ให้เขาให้สลาม  ดังนั้นมิใช่ว่าสลามครั้งที่หนึ่งมีสิทธิเหนือกว่าสลามครั้งสุดท้าย ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 2/ 247 เลขที่ 494 ) - ให้ที่นั่งเเก่เพื่อนร่วมนั่งด้วยกัน  อัลลอฮฺ ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงหลีกที่ให้ในที่ชุมนุม พวกเจ้าก็จงหลีกที่ให้เขาเพราะอัลลอฮฺจะทรงให้ที่กว้างขวางแก่พวกเจ้า (ในวันกิยามะฮฺ) และเมื่อมีเสียงกล่าวว่าจงลุกขึ้นยืนจากที่ชุมนุมนั้น พวกเจ้าก็จงลุกขึ้นยืน เพราะอัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทอดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ( อัลมุญาดะละฮฺ 11 ) - ไม่บังคับให้เพื่อนร่วมนั่งด้วยกันให้ลุกขึ้นยืนจากที่นั่งของเขา  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ชายคนหนึ่งจะไม่สั่งให้ชายอีกคนลุกขึ้นจากที่นั่งเขา  เเล้วเขานั่งเเทน  เเต่พวกคุณจงให้โอกาสแก่บุคคลอื่นได้นั่งด้วย  ( มุสลิม 4/1714 เลจที่ 2177 ) -          ผู้ใดได้ลุกขึ้นยืนจากที่นั่งของของเเล้วเขาได้กลับมาอีกครั้ง เขาย่อมมีสิทธิในการครองที่นั่งมากกว่า  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ใดลุกขื้นยืนจากที่นั่งเเล้วกลับมาอีกครั้งเขาย่อมมีสิทธิในการครองที่นั่งมากกว่า  (มุสลิม 4/1715 เลขที่ 2179 ) -          ไม่สมควรแบ่งเเยกระหว่างผู้คนที่นั่งด้วยกัน นอกจากด้วยความยินยอมจากพวกเขาเท่านั้น ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ไม่เป็นการอนุญาตให้ชายคนหนึ่งแบ่งเเยก ระหว่างเพื่อนที่ร่วมนั่งด้วยกัน  ยกเว้นด้วยความยินยอมของทั้งสองเท่านั้น  ( สุนันอบีดาวูด4/ 262 เลขที่ 4845 ) -          ไม่สมควรกระซิบกับเพื่อนร่วมนั่งตามลําพังสองคนเท่านั้น  โดยไม่ชวนคนที่สามที่นั่งด้วยกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ถ้าพวกคุณมีกันสามคน  พวกคุณอย่าได้กระซิบเบาๆ เพียงสองคนตามลําพังโดยไม่ชวนคนที่สาม  ยกเว้นถ้าพวกคุณเข้าร่วมคลุกคลีกับคนอื่นเเล้ว  เพราะเช่นนั้นคือ การทําให้เขา( บุคคลที่สาม )ไม่สบายใจ ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2319 เลขที่ 5932 ) -          ไม่สมควรนั่งตรงกลางผู้คนเมื่อมีการนั่งเเบบรวมกลุ่มเป็นวงกลม  ทั้งนี้เพราะ  เเบบอย่างของท่านศาสนทูตอัลลอฮฺซึ่งรายงานโดยฮุซัยฟะฮฺ ว่า เเท้จริงเเล้วท่านทรงสาปเเช่งผู้ที่นั่งตรงกลางกลุ่มคนที่นั่งรวมกันเป็นวงกลม  ( สุนันอบีดาวูด 4/ 258  เลขที่4826 ) -     ไม่สมควรปล่อยให้เกิดบรรยากาศการนั่งรวมกันเพียงเพื่อการพูดคุยเรื่องที่ไร้ประโยชน์ปราศจากการรําลึกถึงอัลลอฮฺ หรือไม่มีการสนทนาถึงเรื่องราวที่ให้ประโยชน์เเก่ทุกคนเลย ทั้งในด้านศาสนาเเละทางโลก  ท่านศานทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ไม่มีกลุ่มชนใดซึ่งได้เเยกย้ายออกจากสถานที่ประชุมโดยไม่ได้รําลึกถึงอัลลอฮฺเเม้เเต่คําเดียว การแยกย้ายดังกล่าวเท่ากับว่าพวกเขาได้เเยกย้ายกันอย่างซากลาตัวหนึ่งที่มีกลิ่นเหม็น  ซึ่งสําหรับพวกเขานั้นคือการเศร้าโศกเสียใจในวันปรโลก ( เพราะคําพูดของพวกเขาคือสิ่งชั่วร้าย จะได้รับการลงโทษในวันปรโลก )  ( สุนันอบีดาวูด 4/ 264 เลขที่ 4855 ) -          ไม่ควรรบกวนเพื่อนร่วมนั่งด้วยกันโดยการเสนอเรื่องหรือทำตัวน่ารังเกลียด  รายงานโดยอนัสบินมาลิก ว่า มีชายคนหนึ่งได้เข้าหาท่านศาสนทูตอัลลอฮฺในขณะที่ตัวเขามีซะอฺฟะรอน    ( สีเหลืองเนื่องจากการย้อมสีด้วยหญ้าฝรั่น )  ซึ่งปกติเเล้วท่านไม่พอใจที่จะเจอกับใครสักคนด้วยสีหน้าที่น่าเกลียด  เมื่อชายคนนั้นออกไป ท่านเลยกล่าวเเก่เหล่าสาวกของท่านว่า  ถ้าพวกคุณสั่งให้เขาล้างเเขนเขาสองข้างบ้างก็จะดี   ( สุนันอบีดาวูด 4/81 เลข4182 ) . มารยาทในการประชุม เเท้จริงเเล้วอิสลามได้เน้นหนักให้เคารพความรู้สึกของคนที่เข้าร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน    ทั้งนี้เพื่อต้องการให้บรรยากาศในการประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น  บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ทุกคนคาดหวัง  เเละป้องกันสาเหตุต่างๆ ที่จะนํามาซึ่งความเกลียดชังในที่ห้องประชุมดังกล่าว   ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มด้วยการสนับสนุนให้มีการคํานึงถึงความสะอาดเป็นหลักก่อน กล่าวคือ ผู้ร่วมประชุมต้องเข้าร่วมประชุมในขณะที่ตัวของเขาสะอาด ไม่ส่งกลิ่นเหม็นต่อผู้เข้าร่วมประชุมอื่น เเต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด  ไม่เป็นที่น่ารังเกียจเเก่ผู้เข้าร่วมอื่น  นอกจากนี้อิสลามสั่งให้ตั้งใจฟังอีกฝ่ายหนึ่งที่กําลังพูด  ไม่รีบขัดจังหวะคนที่กําลังพูด  ควรรักษามารยาทในการเข้าห้องประชุมเเละปฏิบัติตามกำหนดการห้องประชุม เมื่อใดที่เข้ามาช้ากว่าผู้อื่น ควรหาที่นั่งที่เหมาะสมถัดจากคนที่มาก่อน  ไม่ควรเบียดเสียดเข้าไปเพื่อหาที่นั่งเเถวหน้า  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวเเก่บรรดาสาวกของท่านในโอกาสการประชุมสุดสัปดาห์ของวันศุกร์ว่า  ผู้ใดทําการชําระล้างร่างกายในวันศุกร์ เเละได้ทําความสะอาดฟัน  ใส่น้ำหอมนิดหน่อยตามที่เขามี  เเล้วสวมใส่ชุดเเต่งกายที่ดีที่สุด  ต่อจากนั้นเขามายังมัสยิดเเล้วหาที่นั่งโดยไม่เบียดบรรดาผู้ที่นั่งอยู่แล้วเขาทำละหมาดเท่าที่เขาประสงค์เเละเขาพยายามนิ่งเฉยไม่ส่งเสียงพูดเมื่อเห็นอิมามเข้ามาจนกระทั้งเขาละหมาดเสร็จ  เเน่นอนสําหรับเขาคือการปลดบาปกรรมที่ได้ก่อไว้ระหว่างศุกร์นี้กับศุกร์ที่ผ่านมา ( เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 3/ 130 เลขที่ 1762 ) - หากผู้ใดจามให้กล่าวคําว่า อัลฮัมดูลิลละฮฺ ( หมายถึง มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเท่านั้น ) ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  เมื่อผู้ใดจาม ให้เขากล่าวคําว่า  อัลฮัมดูลิลละฮฺ   เเละเพื่อนเขาที่อยู่ใกล้ควรกล่าวตอบว่า ยะรฺฮะมุกัลลอฮฺ  ( อัลลอฮฺทรงเมตตาคุณ )  เมื่อเพื่อนเขากล่าวว่า ยะรฺฮะมุกัลลอฮฺ  เเล้ว เขาควรตอบไปว่า ยะฮฺดีกุมุลลอฮฺ วะ ยุศลิฮุ บาละกุม . ( อัลบุคอรีย์ 5/2298 เลขที่ 5870 ) ส่วนหนึ่งของมารยาทอีกคือ  ตามที่ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺรายงานจากท่านศาสนทูตซึ่งท่านกล่าวความว่า : เมื่อใครสักคนในบรรดาพวกคุณจาม  ให้เขาเอาฝ่ามือสองข้างปิดหน้าไว้ เเละให้เขาลดเสียงด้วย( อัลมุสดัดรอกฺ 4/ 294 เลขที่ 7684 ) - ผู้ใดมีอาการหาวบ่อยๆ  ต้องพยายามห้ามมันเรื่อยๆ  เพราะมันคือสัญลักษณ์เเห่งความขี้เกียจ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้ว อัลลอฮฺชอบคนที่จามเเต่ไม่ชอบคนที่หาว  ดังนั้นเมื่อไรที่คุณจาม ให้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ   เเละจําเป็นสําหรับมุสลิมทุกคนที่ได้ยินเสียงจามต้องกล่าวอวยพรเเก่เขา  ส่วนคนที่หาวเเท้จริงเเล้วเป็นการงานของซัยตอน ดังนั้นให้คุณห้ามมันเท่าที่จะทําได้   ถ้าคุณออกเสียงหาวว่า ฮาหฺ  ซัยตอนจะหัวเราะทันที  ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2297 เลขที่ 5869 ) -ห้ามเเสดงอาการเรอต่อหน้าผู้อื่น  เพราะท่านอุมัร ได้กล่าวว่า ชายคนหนึ่งเรอต่อหน้าท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ท่านเลยกล่าวว่า ห้ามอาการเรอของท่านไว้  เพราะผู้ที่อิ่มท้องมากเกินไปในโลกนี้ คือผู้ที่หิวโหยมากที่สุดในวันปรโลก(สุนันติรมีซีย์ 4/ 649 เลขที่ 2478 )  มารยาทในการพูด - จงสดับฟังเสียงผู้ที่กําลังพูด  ให้ความสนใจ  เเละไม่ควรขัดจังหวะการพูดของเขา จนกว่าเขาจะพูดจบ  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวในช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ว่า จงสั่งทุกคนให้นิ่งเงียบ ( อัลบุคอรีย์ 1/ 56 เลขที่ 121 ) - พูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนเพื่อให้คนฟังเข้าใจง่ายขึ้น  รายงานโดยท่านหญิงอาอิซะฮฺ ( ภรรยาท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ )เธอกล่าวว่า เเท้จริงเเล้ว คําพูดของท่านศาสนทูตนั้นชัดเจนเป็นที่เข้าใจเเก่ผู้ฟังทุกคน .( สุนันอบีดาวูด 4/ 26 เลขที่4839 ) - เเสดงสีหน้าที่เบิกบานเเจ่มใส ทั้งคนพูดเเละคนฟัง  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : จงอย่าดูเเคลนแม้เป็นเพียงความดีเล็กน้อย   เมื่อคุณจะเผชิญหน้ากับเพื่อนคุณด้วยสีหน้าที่เบิกบาน (  มุสลิม 4/2026 เลขที่ 2626 ) -   การใช้วาจาที่สุภาพ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :ทุกชิ้นกระดูกของมนุษย์จําเป็นต้องบริจาคทานในทุกๆ วันที่เเสงตะวันขึ้น เพื่อเป็นการขอบคุณพระเจ้าที่ได้ให้มันมา  ความยุติธรรมในการตัดสินระหว่างสองฝ่ายได้ผลบุญเหมือนกับบริจาคทาน  การช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เขาขึ้นบนหลังสัตว์ ( ที่ใช้ขี่มันในการเดินทาง) หรือช่วยยกของขึ้นบนหลังสัตว์ของเขา  ได้ผลบุญเหมือนการบริจาคทาน   คําพูดที่ดี ได้ผลบุญเหมือนการบริจาคทาน  ทุกย่างก้าวที่เดินไปมัสยิด ได้ผลบุญเหมือนการบริจาคทาน  กำจัดสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายบนถนนหนทาง ได้ผลบุญเหมือนการบริจาคทาน  ( อัลบุคอรีย์ 3/ 1090 เลขที่ 2827 )  มารยาทในการเยี่ยมเยียนผู้ป่วยอิสลามส่งเสริมให้ทําการเยี่ยมเยียนผู้ป่วย  เเละถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จําเป็นต้องทํา  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :  หน้าที่ของมุสลิมต่อมุสลิมมีห้าประการด้วยกัน คือ การตอบรับสลาม  การเยี่ยมเยียนผู้ป่วย  การเดินตามหลังศพผู้ตาย  การตอบรับคําเชิญชวน  เเละการกล่าวอวยพรเเก่ผู้ที่จาม (อัลบุคอรีย์ 1/ 418 เลขที่ 1183)  อิสลามตอบแทนผู้ที่เยี่ยมเยียนผู้ป่วยให้ได้รับผลบุญที่ดีงาม ซึ่งท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ กล่าวความว่า : ใครที่เยี่ยมผู้ป่วยเขาจะอยู่ในคุรฟะฮฺสวรรค์  มีคนถามว่า โอ้ท่านศาสนทูต คุรฟะฮฺ คืออะไรเหรอ ?  ท่านตอบว่า หมายถึง เขาจะอยู่ในหนทางสู่ส่วนสวรรค์ . ( มุสลิม  4/ 1989 เลขที่ 2568 ) -          เเสดงความรู้สึกรักใคร่เเละเมตตาผู้ป่วย ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : การเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ดีสมบูรณ์ คือ การที่ผู้เยี่ยมคนหนึ่งในจํานวนพวกคุณตั้งฝ่ามือของเขาบนหน้าผากผู้ป่วยหรือบนมือผู้ป่วยเเล้วถามคนป่วยว่า เป็นไงบ้าง (สุนันอัตตีรมีซีย์ 5/ 76 เลขที่ 2731 ) -          กล่าวคําอวยพรเเก่คนป่วย ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ใดเยี่ยมผู้ป่วยซึ่งยังไม่เสียชีวิต เเล้วเขากล่าวบทอวยพรนี้ 7 ครั้งأسأل الله العظيم رب العرش العظيم أن يشفيك( คําอ่าน  อะสฺอะลุลลอฮะลฺ อะซีม  รอบบัลอัรซิลอะซีม  อันยุซฟีกะ ) หมายถึง ฉันขอวรจากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่  พระองค์คือเจ้าของบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ ขอให้ท่านหายป่วย  นอกจากอัลลอฮฺจะทรงให้เขาหายป่วย  ( อัลมุสดัดรอก 1/493 เลขที่ 1269 )  มารยาทในการล้อเล่น  เเท้จริงเเล้วการใช้ชีวิตตามเเบบอย่างอิสลามมิใช่ต้องเข้มงวดตลอดเวลาตามที่บางคนเข้าใจ  จนไม่มีเเง่มุมความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือช่วงเวลาเพื่อหาความสุขใส่ตัวเลย  รายงานโดยฮันเซาะละฮฺ อัลอะซะดีย์  กล่าวว่า อะบูบักรฺได้เจอฉันครั้งหนี่งเเล้วท่านกล่าวเเก่ฉันว่า  คุณเป็นไงบ้างโอ้ฮันเซาะละฮฺ ?  ฉันตอบว่า ฮันเซาะละฮฺเป็นคนที่บิดพลิ้วในเรื่องศาสนาไปเเล้ว ! ท่านอะบูบักรฺกล่าวว่า   ซุบฮานัลลอฮฺ ( อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์ ) คุณว่าอะไรนะ  ฉันตอบว่า เราได้อยู่ต่อหน้าท่านศาสนทูตท่านได้เตือนเราให้นึกถึงนรกเเละสวรรค์ จนเสมือนว่าเราได้เห็นมันทั้งสองกับตาเราเอง  เเต่เมื่อพวกเราอําลาจากท่านศาสนทูตกลับไปที่บ้านเราเราได้หยอกล้อเเละคลุกคลีกับภรรยาเราเเละลูกๆของเรา  เราได้ทํางานทําการจนทําให้เราลืมหมด  ท่านอะบูบักรฺกล่าวว่า วัลลอฮฺ (สาบานด้วยนามอัลลอฮฺ ) พวกเราก็เจอเเบบนี้เหมือนกัน   ดังนั้นฉันเเละอะบูบักรฺได้ไปหาท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  ฉันกล่าวเเก่ท่านศาสนทูตว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ฮันเซาะละฮฺได้เป็นคนที่บิดพลิ้วในเรื่องศาสนาไปเเล้ว !  ท่านกล่าวว่า อะไรทำให้เขาเป็นเช่นนั้น   ฉันตอบว่า ท่านได้เตือนเราให้นึกถึงนรกเเละสวรรค์ จนเสมือนว่าเราได้เห็นมันทั้งสองกับตาของเราเอง  เเต่เมื่อพวกเราอําลาท่านกลับไปที่บ้านเราเราได้หยอกล้อเเละคลุกคลีกับภรรยาเเละลูกๆของเรา  เราได้ทํางานทําการจนทําให้เราลืมหมด   ท่านเลยตอบว่า โอ้พระเจ้าผู้ซึ่งชีวิตฉันอยู่ในกํามือของพระองค์ ถ้าพวกคุณได้อยู่เเบบนั้นตลอดเหมือนๆที่พวกคุณอยู่กับฉันเเละจดจํามันได้  เเน่นอนบรรดามะลาอิกะฮฺ ( เทวทูตอัลลอฮฺ ) ต้องจับมือเเสดงความเคารพเเก่พวกคุณในยามที่พวกคุณอยู่บนเตียงของพวกคุณ หรือเมื่อเจอพวกคุณในระหว่างทาง  เเต่ทั้งนี้โอ้ฮันเซาะละฮฺ  ให้เเบ่งเป็นชั่วโมง.. ชั่วโมง ..  ท่านได้กล่าว  สามครั้ง  ( มุสลิม 4/ 2106 เลขที่ 2750 ) ดังนั้น จากหลักฐานที่กล่าวมาบ่งบอกว่า การสนุกสนานเพลิดเพลินกับความสุขส่วนตัวในขอบเขตที่ได้อนุญาตถือว่าจําเป็นเพื่อเป็นพลังเเก่หัวใจให้มีชีวิตชีวาขึ้น  ท่านศาสนทูตได้อธิบายถึงมารยาทในการละเล่นเเละการหยอกล้อกันเมื่อบรรดาสาวกของท่านถามว่า  โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  ท่านได้หยอกล้อและสนุกสนานกับเรา  ท่านตอบว่า ใช่  นอกจากว่าฉันจะไม่พูดเกินจากความจริงเท่านั้น  ( สุนันอัตติรมีซีย์ 4/ 357 เลขที่ 1990 ) -   การหยอกล้อกันไม่ใช่เฉพาะเพียงเเค่การพูดคุยเท่านั้น  เเต่จะรวมไปถึงการเเสดงออกท่าทางเเละการกระทํา  รายงานโดยอนัสบินมาลิก กล่าวว่า  มีชายคนหนึ่งมาจากหมู่บ้านเเห่งหนึ่งในชนบท มีนามว่า ซาฮิรัน ซึ่งเขาได้มอบของรางวัลชิ้นหนึ่งเเด่ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  เเละท่านศาสนทูตก็ได้เตรียมของรางวัลเเก่เขาด้วยก่อนที่เขาจะออกไป  ซึ่งท่านกล่าวว่า เเท้จริงเเล้ว ซาฮิรันได้มอบของจากชนบทให้เรา  เราก็เตรียมของในเมืองเพื่อที่จะให้เขาด้วย  วันหนึ่งท่านศาสนทูตได้เเอบไปหาเขาเเละไปเจอเขาในขณะที่เขากําลังขายสินค้าของเขา  ทันทีท่านศาสนทูตเเกล้งเอาของของเขาจากด้านหลังโดยที่เขาไม่เห็นว่าใครเอาไป  เขาเลยถามว่า นี่ใครเหรอ ส่งมาให้ฉันเดี๋ยวนี้  เขาหันไปมองเลยทราบว่าคือท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ  เขาเอาหลังเเนบอกท่านศาสนทูต  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า ใครต้องการซื้อบ่าวคนนี้บ้าง? ซาฮีรันกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ฉันเป็นคนไร้ค่า ขายไม่ออก  ท่านศาสนทูตกล่าวว่า เเต่คุณไม่ใช่คนที่ไร้ค่าสําหรับอัลลอฮฺ  คุณเป็นคนที่มีคุณค่าสําหรับอัลลอฮฺ  (เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 13/106 เลขที่ 5790 ) - การหยอกล้อกันต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือทําลายเกียรติของคนอื่น  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ไม่อนุญาตให้มุสลิมสร้างความหวาดกลัวเเก่มุสลิม  ( มุสนัดอิมาม อะฮฺหมัด 5/ 362 เลขที่ 23114 ) - การหยอกล้อต้องไม่ออกห่างจากสัจธรรม  ดังนั้นไม่ควรหยอกล้อกันถ้าต้องโกหกเพื่อให้คนอื่นหัวเราะ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ความวิบัติจะเกิดขึ้นกับผู้ที่พูดโกหกเพียงต้องการให้ผู้อื่นหัวเราะ  สําหรับเขาคือความวิบัติ   สําหรับเขาคือความวิบัติ  ( สุนันอะบีดาวูด 4/ 297 เลขที่ 4990 )  มารยาทในการตะอฺเซียะฮฺ ( ไว้ทุกข์ ) อิสลามได้บัญญัติให้มีการไว้ทุกข์เเก่ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต  โดยการปลอบใจพวกเขาให้หายจากความโศกเศร้าเสียใจ  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ กล่าวความว่า : ไม่มีผลตอบแทนใดอีกต่อผู้ศรัทธาซึ่งเขาได้ตะเซียะฮฺเพื่อนเขาเนื่องจากการประสบเคราะห์ร้าย นอกจากอัลลอฮฺจะให้เขาสวมใส่เครื่องประดับของเหล่าผู้มีเกียรติในวันปรโลก  (สุนันอิบนิมาญะฮฺ 1/ 511 เลขที่ 1601 )  ส่วนหนึ่งของมารยาทในการไว้ทุกข์คือ : - การอวยพรเเก่ญาติพี่น้องผู้ตาย ปลอบโยนพวกเขาให้อดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น  ซึ่งการอดทนคือผลบุญที่ใหญ่หลวง รายงานโดยอุซามะฮฺ บิน ซัยด์ กล่าวว่า  พวกเราอยู่พร้อมกับท่านศาสนทูตอัลลอฮฺพลันได้มีชายคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งข่าวจากหญิงคนหนึ่งมาเข้าพบท่านศาสนทูตเเละบอกว่าลูกชายของเธอกําลังจะเสียชีวิต  ท่านศาสนทูตกล่าวเเก่ผู้นำข่าวคนนั้นว่า เจ้าจงกลับไปบอกเธอว่า เเท้จริงเเล้วอัลลอฮฺมีสิ่งที่พระองค์ต้องยึดเอากลับคืน  เเละมีสิ่งที่พระองค์ทรงมอบให้ ทุกสิ่ง ณ ที่พระองค์มีสัดส่วนเเน่นอน  เจ้าจงบอกให้เธออดทนเพื่อรอคอยการตอบเเทนดีๆจากพระองค์   ต่อมาผู้นำข่าวคนนั้นได้กลับมาหาท่านศาสนทูตอีกครั้ง เเล้วกล่าวว่า เธอสาบานว่า ต้องการให้ท่านไปหาเธอจนได้  อุซามะฮฺกล่าวว่า ท่านศาสนทูตได้ลุกขึ้นยืนทันที  มีสะอัดบินอุบาดะฮฺ เเละมุอาซฺ บินญะบัล เเละฉันไปพร้อมกับท่านศาสนทูต  มีคนส่งเด็กคนนั้นให้ท่านศาสนทูต ในขณะที่วิญญาณของเด็กนั้นเคลื่อนไปมามีเสียงคล้ายน้ำที่กําลังถูกเทลงในถุง   น้ำตาของท่านไหลออกมา สะอัดกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูต มันคือเสียงอะไรเหรอ ? ท่านตอบว่า นี่คือความเมตตาซึ่งอัลลอฮฺทรงมอบให้กับบรรดาบ่าวของพระองค์  เเละเเท้จริงเเล้ว อัลลอฮฺทรงเมตตาปวงบ่าวของพระองค์ที่มีความเมตตาเท่านั้น  ( มุสลิม 2/ 635 เลขที่ 923 ) -          ขอดุอาอฺอัลลอฮฺให้พระองค์ปลดบาปเเด่คนป่วย   ท่านนักปราชญ์อิสลามอิมามซาฟีอีย์ ส่งเสริมให้กล่าวเเก่ผู้ป่วยว่า  عظم الله أجرك وأحسن عزائك وغفر لميتكอ่านว่า  อัซเซาะมัลลอฮุ อัจญ์เราะกะ  วะอะฮฺสะนะ อะซาอะกะ  วะ เฆาะฟะเราะ ลิ มัยยิติกะ หมายถึง  อัลลอฮฺทรงเพิ่มพูนผลบุญให้เเเก่ท่าน  อัลลอฮฺทรงเมตตาท่านในสิ่งที่ท่านได้รับทุกข์   อัลลอฮฺทรงอภัยโทษเเก่ผู้ตายของท่าน -          ส่งเสริมให้ทําอาหารเพื่อเลี้ยงญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า :  พวกเจ้าจงเตรียมอาหารเเก่ครอบครัวของญะอฺฟัร  เพราะพวกเขากําลังเผชิญกับสิ่งที่ทําให้พวกเขายุ่งยาก ( อัลมุสดัดรอก 1/ 527 เลขที่ 1377 ) มารยาทในการนอน :ควรกล่าวคําว่า บิสมิลละฮฺ ( ด้วยนามอัลลอฮฺ ) เเล้วเริ่มนอนตะเเคงขวา  หลังจากที่ได้ตรวจที่นอนเรียบร้อยเเล้ว  ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าไม่มีสิ่งเป็นอันตรายใดๆ รอบที่นอน  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ กล่าวความว่า : เมื่อผู้ใดสักคนในจํานวนพวกคุณเริ่มเข้าที่นอนของเขา ให้เขาเอาผ้าชิ้นหนึ่งของเขา เเล้วสะบัดเตียงนอนของเขา  เเละให้เขากล่าวบิสมิลละฮฺ ( เริ่มด้วยนามอัลลอฮฺ ) เพราะเขาไม่อาจรู้ได้ว่าสิ่งใดที่จะตามมาบนเตียงนอนของเขาหลังจากนั้น   เเละเมื่อเขาต้องการนอนให้เขานอนตะเเคงขวา เเล้วให้เขากล่าวว่า سبحانك ربي بك وضعت جنبي وبك ارفعه إن أمسكت نفسي فاغفرلها وإن أرسلتها فاحفظها بما حفظت به عبادك الصالحين( อ่านว่า  ซุบฮานะกะ รอบบี บิกะ วะเดาะอฺตุ ญัมบียฺ  วะบิกะ อะรฺฟะอฺตุ   อิน อัมซักตะ นัฟซียฺ  ฟะฆฺฟิรละฮา  วะอิน อะรฺซัลตะฮา ฟะฮฺฟัซฮา บิมา ฮะฟิซตะ บิฮิ อิบาดะกัศศอลิฮีน . )  ความหมาย มหาบริสุทธิ์เจ้า พระองค์ของข้า  ด้วยพระองค์ฉันได้ตั้งร่างของฉัน (นอน)  ด้วยพระองค์ฉันยกมันขึ้น (ลุกขึ้น)  ถ้าพระองค์ได้ขอวิญญาณฉันกลับไปขอให้พระองค์จงอภัยเเก่ฉันด้วย   เเละถ้าพระองค์ปล่อยมันอีกครั้งขอให้พระองค์รักษามันเหมือนที่พระองค์ได้ทํากับบรรดาบ่าวที่ดีของพระองค์  ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 12/ 344 เลขที่ 5534 ) -          เมื่อลุกขึ้นจากการหลับนอนให้กล่าวดังที่ท่านศาสนทูตสอนกล่าวไว้  ซึ่งรายงานโดยฮุซัยฟะฮฺ กล่าวว่า  เเท้จริงเเล้ว เมื่อท่านศาสนทูตอัลลอฮฺต้องการหลับนอนในตอนกลางคืน ท่านจะวางเเก้มขวาของท่านบนฝ่ามือขวาของท่านเเล้วกล่าวพรว่าاللهم باسمك أموت وأحيا( อ่านว่า อัลลอฮุมมะ บิสมิกะ อะมูตุ วะอะฮฺยาอฺ   ความหมาย คือ ข้าเเต่พระองค์อัลลอฮฺ  ด้วยนามของพระองค์ฉันเสียชีวิต  เเละด้วยนามของพระองค์ฉันมีชีวิต ) เมื่อท่านตื่นนอนจะกล่าวว่า الحمد لله الذي أحيانا بعدما أماتنا وإليه النشور( อ่านว่า  อัลฮัมดูลิลลาฮิลละซี อะฮฺยานา บะอฺดะมา อะมาตะนา  วะ อิลัยฮินนุซูร .ความหมาย:มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ซึ่งทําให้ฉันมีชีวิตอีกครั้ง หลังจากที่พระองค์ทําให้ฉันเสียชีวิต  เเละยังพระองค์เท่านั้น การฟื้นคืนชีพ -  หมั่นเข้านอนตั้งเเต่หัวคํ่านอกจากมีเหตุจําเป็นที่ต้องนอนดึกเท่านั้น  มีการรายงานจากท่านศาสนทูตว่า ท่านไม่ชอบให้นอนก่อนละหมาดอิซาอฺ เเละการพูดคุยหลังละหมาดอิซาอฺ ( อัลบุคอรีย์ 1/208 เลขที่ 543 ) -          ตรวจความปลอดภัยก่อนเข้านอน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้วไฟคือศัตรูของพวกคุณ ดังนั้นถ้าพวกคุณจะเข้านอนจงปิดหรือดับมันเสีย  (เศาะฮีฮฺอิบนิฮิบบาน 12/ 357 เลขที่ 5549 ) มารยาทในการเข้าห้องน้ำห้องส้วม - กล่าวนามอัลลอฮฺ ( บิสมิลละฮฺ ) เเละอ่านดุอาอฺก่อนเข้าห้องน้ำเเละเวลาออกจากห้องน้ำ   รายงานโดยท่านอนัส ว่า เมื่อท่านศาสนทูตอัลลอฮฺต้องการเข้าห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า بسم الله اللهم إني أعوذ بك من الخبث والخبائث .( คําอ่าน  อัลลอฮุมมะ  อินนี อะอูซุบิกะ  มินัล คุบุซิ วะลฺ เคาะบาอิซ หมายถึง  ด้วยนามของอัลลอฮฺ   ข้าเเต่พระองค์อัลลอฮฺ  ฉันขอหลีกห่างจากบรรดาซัยฎอน( ซาตานเเละมารร้าย ) ชายเเละหญิง.  ( มุศอนนิฟ อิบนิซัยบะฮฺ 6/ 114 เลขที่ 29902 )  เเละรายงานจากอนัสเหมือนกันกล่าวว่า เมื่อท่านศาสนทูตอัลลอฮฺออกจากห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า  الحمد لله الذي أذهب عني الأذى وعافاني( อ่านว่า  อัลฮัมดูลิลละฮิลละซี  อะซฺฮะบะ อันนีล อะซา วะ อาฟานียฺ หมายถึง  มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ  ซึ่งได้ขจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวฉัน เเละทําให้ฉันมีพลานามัยที่ดี( สุนันอิบนิมาญะฮฺ 1/ 110 เลขที่ 301 ) รายงานจากท่านหญิงอาอิซะฮฺ ภรรยาท่านศานทูต กล่าวว่า ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺจะกล่าวหลังจากเข้าห้องน้ำว่า غفرانك( อ่านว่า ฆุฟรอนะกะ   ความว่า:ฉันขอให้พระองค์ทรงอภัยเเก่ฉันด้วย( เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 1/ 48 เลขที่ 90 ) -          ไม่หันหน้าไปทางกิบละฮฺ ( กิบละฮฺ คือ กะอฺบะฮฺที่อยู่ ณ นครมักกะฮฺ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการกระทําภักดีต่ออัลลอฮฺของมุสลิมทั่วโลก) หรือหันหลังทางกิบละฮฺ  รายงานโดยอะบูฮุรอยเราะฮฺจากท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ กล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้วระหว่างฉันกับพวกคุณเปรียบเสมือนพ่อกับลูกๆ ดังนั้นพวกเจ้าอย่าหันหน้าไปหากิบละฮฺเเละอย่าหันหลังให้ในขณะที่คุณกําลังอยู่ในห้องน้ำ  เเละอย่าทําความสะอาดน้อยกว่าหินสามเม็ด เเละต้องไม่ใช่เศษมูลของสัตว์เเละเศษกระดูก  ( เศาะฮีฮฺอิบนิคุซัยมะฮฺ 1/43 เลขที่80 ) -          ปิดบังให้พ้นสายตามนุษย์  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ...ผู้ใดเข้าห้องน้ำจงปิดบังให้มิดชิด....( สุนันอิบนิมาญะฮฺ 1/ 121 เลขที่ 337 ) -          ไม่สมควรใช้มือขวาของเขากับสิ่งสกปรก  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งดื่มน้ำจงอย่าเป่าลมเข้าไปในภาชนะ  เเละเมื่อใดที่เขาเข้าห้องน้ำ ไม่ควรจับต้องอวัยวะเพศของเขาด้วยมือขวา  เเละเมื่อใดที่เขาชําระล้างอย่าชําระล้างด้วยมือขวา .  (เศาะฮีฮฺอิบนิคุซัยมะฮฺ 1/43 เลขที่78  ) -     ทําความสะอาดทั้งหน้าหลังเมื่อเสร็จธุระส่วนตัว ไม่ว่าเขาจะใช้น้ำเเละก้อนหินด้วยก็ตามซึ่งถือว่าดีที่สุด หรือใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเเละเเน่นอนการใช้น้ำถือว่าดีกว่าเพราะน้ำสามารถชําระล้างดีกว่าหิน  มารยาทในการร่วมหลับนอนระหว่างสามีภรรยา-          การกล่าวบิสมิลละฮฺ ( เริ่มด้วยนามอัลลอฮฺ ) เมื่อต้องการร่วมประเวณี ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : เมื่อผู้ใดในบรรดาพวกคุณต้องการเข้าหาภรรยาเขา ให้เขากล่าวว่า บิสมิลละฮฺ   เเล้วอ่านว่า اللهم جنبنا الشيطان وجنب الشيطان ما رزقتنا( อ่านว่า อัลลอฮุมมะ ญันนิบนะซฺซัยฎอน วะญันนิบนะ  มาเราะซักตะนา  ความว่า :  ข้าเเต่พระองค์อัลลอฮฺ ฉันขอให้พระองค์ทรงทําให้เราสองคนห่างไกลจากซัยฎอน ( มารร้าย ) เเละให้ลูกของข้าทั้งสองที่พระองค์จะทรงมอบให้ห่างไกลจากการรบกวนของซัยฎอน )ถ้าอัลลอฮฺได้กําหนดให้เขาทั้งสองมีลูก ซัยฎอนจะไม่รบกวน ( อัลบุคอรีย์ 1/65 เลขที่ 141 ) -          การหยอกล้อเเละการสนุกสนานระหว่างกัน  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้กล่าวเเก่ญาบิรความว่า :  เจ้าเเต่งเเล้วเหรอ ญาบิร?  ฉันตอบว่า ใช่ ท่านกล่าวว่า หญิงสาวหรือหญิงหม้าย? ฉันตอบว่า หญิงหม้าย  ท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใดเจ้าไม่เลือกหญิงสาว เผื่อว่าเจ้าจะได้หยอกล้อกับนาง เเละเธอได้หยอกล้อกับเจ้า  เจ้าจะได้ล้อเล่นสนุกสนานเเละหัวเราะกับนาง เเละนางก็เช่นกัน ( อัลบุคอรีย์ 5/ 2053 เลขที่ 5052 ) -          เเสดงความรักใคร่เเละความอ่อนโยนต่อภรรยาเขาด้วยวิธีจูบเเละดูดลิ้นนาง  รายงานโดยท่านหญิงอาอิซะฮฺ กล่าวว่า เเท้จริงเเล้วท่านศาสนทูตอัลลอฮฺจะจูบเธอในขณะที่ท่านถือศีลอดเเละท่านจะดูดลิ้นเธอด้วย ( เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 3/ 246 เลขที่ 203 ) -     ให้เขาเเละภรรยาเขาเเสวงหาความสุขด้วยวิธีใดก็ได้ที่ทั้งสองประสงค์เเต่ด้วยเงื่อนไขตามที่ท่านศาสนทูตได้ชี้เเจงให้กับท่านอุมัรซึ่งท่านไปหาท่านศาสนทูตเเล้วกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ ฉันหายนะเเล้ว? ท่านกล่าวว่า อะไรที่ทําให้เจ้าต้องหายนะ ? อุมัรตอบว่า ฉันได้เปลี่ยนทิศทางของเธอเมื่อคืน  อุมัรกล่าวว่า ท่านอยู่นิ่งเฉยไม่ตอบใดๆ  หลังจากนั้นโองการอัลลอฮฺได้ถูกประทานเเก่ท่านศาสนทูต โองการอัลลอฮฺ    ซึ่งความว่า:บรรดาผู้หญิงของพวกเจ้านั้น คือแหล่งเพาะปลูกของพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงมายังแหล่งเพาะปลูกของพวกเจ้าตามแต่พวกเจ้าประสงค์ ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 223 ) ท่านศาสนทูตกล่าวต่อว่า  เจ้าจะหันหน้าหรือกลับหลังเเล้วเเต่ความประสงค์ เเต่จงยําเกรงทางทวารหนักเเละในระยะมีประจําเดือน( สุนันอัตติรมิซีย์ 5/ 216 เลขที่ 2980 ) - ปิดบังความลับของทั้งสอง   ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เเท้จริงเเล้วหนึ่งในจํานวนคนที่มีสถานะเลวที่สุดในวันปรโลก ณ ที่อัลลอฮฺ คือ ชายผู้หนึ่งซึ่งเขาจะเข้าหาภรรยาเขาเเละเธอเข้าหาเขา  เเล้วเขาก็บอกความลับเรื่องดังกล่าว ( แก่ผู้อื่น )(มุสลิม 2/ 1060 เลขที่ 1437 ) มารยาทในการเดินทาง-          ขออภัยโทษจากมิตรสหายที่เคยรังเเก  ส่งคืนกรรมสิทธิ์ของคนอื่นที่เขารับผิดชอบอยู่  จ่ายหนี้ให้เเก่เจ้าของหนี้ เเละจัดเตรียมสิ่งที่จําเป็นเเก่ครอบครัวของเขา  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ผู้ใดมีความผิดเนื่องจากเคยรังเเกผู้อื่นจงขออภัยจากเขา  เพราะในวันปรโลกไม่มีการจ่ายดินารฺเเละดิรฮัม ( เงินสมัยก่อน )  ก่อนที่ผลบุญของเขาจะถูกยึดเเละมอบให้กับเพื่อนเขาแทน  ถ้าเขาไม่มีผลบุญติดตัวจะต้องรับบาปกรรมของเพื่อนเขาไปแบกรับแทน( อัลบุคอรีย์ 5/ 2394 เลขที่ 6169 ) -     ไม่สนับสนุนให้เดินทางคนเดียวตามลําพัง  เพราะท่านศาสนทูตได้ห้ามการกระทําดังกล่าวยกเว้นคราวจําเป็นเท่านั้นหรือไม่มีเพื่อนสักคน  ท่านได้กล่าวเเก่บุคคลหนึ่งซึ่งเขาเพิ่งเดินทางมาถึง  คุณมากับใคร? เขาตอบว่า ฉันไม่ได้มากับใคร? ท่านกล่าวว่า คนที่ขับขี่เพื่อเดินทางคนเดียวเขามากับซัยฏอน  สองคนสองซัยฏอน สามคนคือกลุ่มผู้เดินทาง ( อัลมุสดัดรอก 2/ 112 เลขที่ 2495 ) -          ควรเลือกเพื่อนร่วมเดินทางที่ดี เเละควรเเต่งตั้งผู้นําในการเดินทาง  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เมื่อมีสามคนออกเดินทาง จงเเต่งตั้งใครสักคนในจํานวนสามคนเป็นผู้นํา ( สุนันอบีดาวูด 3/ 36 เลขที่ 2608  ) -          ควรเเจ้งเวลาเดินทางถึงบ้านเเก่ครอบครัวเขาให้ทราบล่วงหน้า  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺเคยปฏิบัติเช่นนั้น  เเละไม่ควรถึงบ้านตอนดึก ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ถ้าใครสักคนในบรรดาพวกคุณจําเป็นต้องจากกันนานๆ ก็อย่าให้เดินทางกลับมาหาครอบครัวของเขายามกลางคืน  ( อัลบุคอรีย์ 5/2008 เลขที่ 4946 ) -          ควรอําลาครอบครับรวมทั้งเพื่อนฝูงเเละมิตรสหาย  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : เมื่อผู้ใดต้องการออกเดินทาง ให้เขาให้สลามเเก่พี่น้องของเขา   เพราะพวกเขาจะสมนาคุณด้วยคําอวยพรดีๆ นอกเหนือจากคําอวยพรของตัวเขาเอง (มุสนัดอบียุอฺลา 12 / 42 เลขที่ 6686 ) -          ส่งเสริมให้รีบกลับถึงบ้านทันทีหลังจากเสร็จสิ้นธุระ  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : การเดินทางนั้น คือส่วนหนึ่งของอะซาบ ( โทษทันฑ์เเละความทรมาน ) มีอุปสรรคการกินอาหารเครื่องดื่มเเละการหลับนอนของเขา เมื่อใดที่เขาเสร็จธุระ ให้เขารีบกลับไปหาครอบครัวของเขาทันที  ( อัลบุคอรีย์ 2/ 639 เลขที่ 1710 )  มารยาทในการเดินผ่านไปมาบนถนนหนทาง ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้อธิบายเกี่ยวกับระเบียบเเละมารยาทในเรื่องนี้ โดยกล่าวความว่า : พวกเจ้าจงอย่านั่งบนถนนหนทาง  พวกเขาถามว่า โอ้ท่านศาสนทูต พวกเราไม่มีที่ที่จะพูดคุยระหว่างกันเลย !  ท่านกล่าวว่า ถ้าพวกคุณไม่ยอม นอกจากต้องนั่ง ดังนั้นพวกคุณจงเคารพสิทธิบนถนนหนทาง   พวกเขาตอบว่า โอ้ท่านศานทูต สิทธิบนถนนหนทางมีอะไรบ้าง? ท่านกล่าว การละสายตา  การละการรบกวนคนอื่น  การรับสลาม  การชักชวนให้ทําความดีเเละละทิ้งความชั่ว .     ( อัลบุคอรีย์ 2/870 เลขที่ 2333 ) บางสายรายงานบอกว่า เเละช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เเละชี้ทางแก่คนที่หลงทาง(มุสลิม 1/ 226 เลขที่ 267 )-          รักษาเเละดูเเลถนนหนทางเเละไม่ทําลายสถานที่ส่วนรวม  ท่านศานสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า :  พวกเจ้าจงยำเกรงสองสิ่งซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของการโดนสาปเเช่ง  พวกเขาถามว่า สองสิ่งดังกล่าวคืออะไรเหรอ ? ท่านตอบว่า ผู้ที่ถ่ายอุจจาระกลางทางที่ผู้คนเดินผ่านไปมา หรือสถานที่ซึ่งเป็นที่ร่มมีผู้คนอาศัย  ( มุสลิม 1/ 226 เลขที่ 267 ) -          ไม่ควรพกพาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้เดินทางไปมา  เพราะท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : เมื่อผู้ใดในบรรดาพวกคุณเดินผ่านมัสยิดหรือตลาด เเละมีธนูติดตัว  พวกเจ้าจงจับหัวลูกศรไว้ หรือบางที่ท่านกล่าว พวกเจ้าจงจับมันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนใครสักคนในบรรดามุสลิม (อัลบุคอรีย์ 6/ 2592 เลขที่6664 ) มารยาทในการซื้อขาย  ตามสภาพดั้งเดิมของการซื้อขาย คือ การอนุมัติในทุกกรณีที่การซื้อขายนั้นได้จัดอยู่บนพื้นฐานเเห่งการเเลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เเต่เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งมีเหตุจำเป็นได้รับความเสียหายหรือทั้งสองฝ่ายได้รับความเสียหาย  การอนุมัติดังกล่าวต้องโมฆะเเละเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่ต้องห้าม  อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า :ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้าในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ( อันนิซาอฺ 29 ) อิสลามถือว่า การค้าขาย เป็นอาชีพที่ดีเลิศเเละเป็นเเนวทางอันบริสุทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ   มีคนถามท่านศาสนทูตว่า อาชีพใดดีเเละประเสริฐที่สุด ? ท่านตอบว่า การที่ชายคนหนึ่งทํางานด้วยมือของเขาเองเเละทั้งหมดของการซื้อขายนั้นดี ( อัลมุสดัดรอก 2/ 12 เลขที่ 2158 )  อิสลามสอนให้มุสลิมทําการค้าขายด้วยสุจริตเเละซื่อตรง  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : นักธุรกิจที่ซื่อตรง สุจริต เเละเป็นมุสลิมที่ดี จะอาศัยอยู่กับบรรดาผู้ตายซาฮีด( ตายในสนามรบ ) ในวันปรโลก ( อัลมุสดัดรอก 2/ 7 เลขที่ 2142 ) -          ชี้เเจงข้อเสียของสินค้าถ้ามี  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ไม่อนุมัติเเก่ผู้ที่จะขายสินค้านอกจากเขาต้องอธิบายรายละเอียดของมัน เเละไม่อนุมัติเเก่ผู้ที่รับทราบถึงรายละเอียดของสินค้านอกจากเขาจะต้องบอกมัน( มุสนัดอะฮฺมัด 3/ 491 เลขที่ 16056 ) -          ไม่หลอกลวงสินค้า เเละควรชี้เเจงข้อเสียของสินค้าให้ผู้ซื้อรับทราบ  รายงานโดย อบีฮูรอยเราะฮฺ ว่า วันหนึ่งท่านศาสนทูตอัลลอฮฺได้เดินผ่านเเละเห็นสินค้ากองหนึ่ง  ท่านจึงเอามือลงไปในกองสินค้าดังกล่าว ทําให้มือของท่านเปียกน้ำ ท่านเลยกล่าวว่า สิ่งนี้คืออะไรโอ้เจ้าของอาหารกองนี้  เขาตอบว่า โอ้ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺ มันถูกฝนจากฟากฟ้า  ท่านกล่าวว่า ไม่นำมันขึ้นมาข้างบนดอกหรือเผื่อผู้คนทั่วไปจะมองเห็นมันได้  ใครที่หลอกลวง คนนั้นไม่ใช่ประชาชาติของฉัน  ( มุสลิม 1/ 99 เลขที่102 ) -          มีสัจธรรม สุจริต เเละไม่กล่าวเท็จ  ท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : ผู้ขายเเละผู้ซื้อทั้งสองมีอิสระในการเลือกตราบใดที่ทั้งสองไม่อําลาจากกัน หรือท่านกล่าวว่า จนกว่าเขาทั้งสองจะเเยกย้ายกันไป   ถ้าพวกเขาทั้งสองมีสัจธรรมเเละมีการชี้เเจงอย่างชัดเจน  อัลลอฮฺจะทรงให้ความจําเริญเเก่การซื้อขายของทั้งสอง   เเละถ้าพวกเขาทั้งสองปิดบังเเละกล่าวเท็จความจําเริญของการซื้อขายจะถูกลบออกทันที ( อัลบุคอรีย์ 2/ 732 เลขที่ 1973 ) -     มีความกรุณาเผื่อเเผ่  อ่อนโยนในการซื้อขาย  เพราะนิสัยเช่นนี้คือประการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทําให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ อีกทั้งเป็นวิธีการหนึ่งในการเยียวยาจิตใจที่ใฝ่ฝันเพียงทางโลกอย่างเดียวซึ่งเป็นตัวสกัดกั้นความเป็นพี่น้องเเละมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างกัน  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : อัลลอฮฺเมตตาชายคนหนึ่งซึ่งมีความกรุณาเมื่อเขาซื้อขาย เเละเมื่อเขารับสิทธิของเขา ( อัลบุคอรีย์ 2/730 เลขที่1970 ) -ไม่สาบานตนในการค้าขาย  เพราะท่านศาสนทูตอัลลอฮฺกล่าวความว่า : พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงซึ่งการสาบานอย่างฟุ่มเฟือยเมื่อมีการค้าขาย  เพราะเมื่อสินค้าหมดไปเเล้วความจําเริญก็จะขาดหายไป  ( มุสลิม 3/1228 เลขที่ 1607 ) -          อนุญาตให้ผู้ซื้อที่ไม่พอใจสินค้าส่งคืนได้  ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า : ผู้ใดให้โอกาสเเก่ผู้ซื้อที่ไม่พอใจสินค้า ยกเลิกการซื้อขายที่ผ่านไป  เเน่นอนพระองค์อัลลอฮฺจะทรงยกเลิกความผิดพลาดของเขาในวันปรโลก  ( เศาะฮีฮฺ อิบนิฮิบบาน 11/ 402 เลขที่ 5029 ) ทั้งหมดที่ผ่านมาคือบางส่วนของมารยาทเเละจริยธรรมที่สมควรปฏิบัติในอิสลาม ในส่วนที่ยังไม่กล่าว ณ ที่นี้ ยังมีอีกมากมาย  ถ้าจะให้เอ่ยถึงสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดคงทําให้เรื่องยืดยาวไปด้วย  ขอเพียงให้เราเข้าใจว่า ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์ต้องการไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม   ล้วนเเล้วมีการชี้นําเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยผ่านพระคัมภีร์กุรอานและวจนะท่านศาสนทูตของพระองค์  ซึ่งทั้งสองจะกําหนดขอบเขตเเละจัดระเบียบของมัน  จุดประสงค์คือ ต้องการให้การดํารงชีวิตของเหล่ามุสลิมทุกคนอยู่ในความภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺเเละได้รับผลตอบเเทนที่ดีเลิศ. บทสรุป            ขอปิดท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยคํากล่าวของบุคคลสองท่านซึ่งพระองค์อัลลอฮฺทรงชี้นําท่านทั้งสอง ซึ่งทั้งสองได้เข้ารับอิสลามเเล้ว ท่านเเรกคือ เอฟ ฟิลเวียส ( F.Filweas ) ท่านกล่าวว่า  ในโลกยุโรปนั้นมีความว่างเปล่าด้านจิตวิญญาณ  ไม่มีอุดมการณ์ไหนหรือความเชื่อมั่นใดๆ ที่จะนําพาพวกเขาสู่ความผาสุกที่เเท้จริง  เเม้นว่าความรํ่ารวยหรือสิ่งที่เราเรียกว่า ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ.....เเละความสะดวกสบายด้านวัตถุนั้นเหลือล้นทีเดียว  มนุษย์คนหนึ่งในยุโรปยังคงรู้สึกว่า ชีวิตเขากําลังเผชิญกับความหลงทาง  บางครั้งชวนให้เขาคิดว่า  : ฉันเกิดมาเพื่ออะไร? เเล้วฉันจะไปทางไหน ? เเล้วทําไม ? ไม่มีใครให้คําตอบเเก่พวกเขาได้จนถึง ณ บัดนี้  คนเช่นนี้ไม่รู้ดอกหรือว่า สาเหตุสําคัญคือ ศาสนาที่เขาคิดว่าจะนําพาเขาไปในทางที่เที่ยงตรงกลับทําให้เขาต้องสับสน  เเต่ปัจจุบันรัศมีเเห่งทางนําเริ่มส่องเเล้ว  เเสงเเห่งรุ่งเช้าเริ่มสว่างขึ้น  เมื่อมีผู้คนในเเถวยุโรปเริ่มเข้ารับอิสลาม  ชาวยุโรปเริ่มเห็นมุสลิมทั้งชายหญิงปฏิบัติตามอิสลามเเละใช้อิสลามเป็นวิถีชีวิตของพวกเขา   ทุกวันจะมีผู้เข้ารับอิสลาม ซึ่งมันคือศาสนาเเห่งสัจธรรม มันคือจุดเริ่มต้น .... จบ .อีกคนชื่อ ดี ปอตเตอร์ ( D.Potter ) – เกิด ค.ศ 1954  เป็นชาวอเมริกา – ท่านกล่าวว่า : ....อิสลาม คือ กฎหมายของพระเจ้าอัลลอฮฺ  เราสามารถมองเห็นมันอย่างชัดเเจ้งในธรรมชาติรอบๆตัวเรา  ทั้งหมดเป็นไปด้วยคําสั่งของอัลลอฮฺ  ภูเขา ทะเล  ดาวต่างๆ  เดินอย่างเป็นระบบ  ทั้งหมดยอมจํานนต่อการบริหารงานของอัลลอฮฺ   พระองค์ซึ่งสร้างมันมา   เหมือนกับวีรบุรุษหลายๆ คนที่ต้องจํานนต่อการจดบันทึกของเหล่านักเขียนทั้งหลาย    เเละสําหรับอัลลอฮฺมีตัวอย่างอันสูงส่ง  ซึ่งงานเขียนเหล่านั้นจะไม่พูดไม่จาไม่ทํา  นอกจากตามความต้องการของเหล่านักเขียนเท่านั้น  เช่นนั้นเเหละทุกๆ สิ่งในโลกนี้เเม้กระทั้งวัตถุล้วนเเล้วต้องจํานนเเละนอบน้อมต่อองค์อัลลอฮฺ   เพียงเเต่มนุษย์นั้นได้รับการยกเว้นจากกฎดังกล่าว  กล่าวคืออัลลอฮฺทรงทําให้มนุษย์มีอิสระในการเลือก  ดังนั้นเขาสามารถที่จะนอบน้อมเเละยอมจํานนต่ออัลลอฮฺ  หรือไม่ก็เขาอาจจะตั้งกฎเองเพื่อส่วนตัวของเขาเเละเลือกเดินบนหนทางศาสนาที่เขายินยอม  เเต่ส่วนมากเเล้วมนุษย์จะเลือกเดินบนหนทางที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างมาก ..... เเท้จริงเเล้วคนในยุโรปเเละอเมริกาต่างหันเหเข้ามานับถือศาสนาอิสลามเป็นจํานวนมากขึ้น    ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขากําลังกระหายความสงบสุขด้านจิตใจ  เเละพวกเขาต้องการเเสวงหาความสุขที่เเท้จริง  นอกจากนี้ยังมีบรรดานักบูรพาคดีเเละนักเผยเเพร่ศาสนาคริสต์หลายๆคนที่ต้องการทําลายศาสนาอิสลามเเละกล่าวหาหรือใส่ร้ายอิสลาม   ซึ่งต่อมาพวกเขาเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลาม  เเสดงให้เห็นว่า ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้...จบ . วัสสลาม