البحث

عبارات مقترحة:

الأحد

كلمة (الأحد) في اللغة لها معنيانِ؛ أحدهما: أولُ العَدَد،...

الحسيب

 (الحَسِيب) اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على أن اللهَ يكفي...

الحيي

كلمة (الحيي ّ) في اللغة صفة على وزن (فعيل) وهو من الاستحياء الذي...

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ฟัยซอล อับดุลฮาดี ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الوضوء - فضائل العبادات - فضل الوضوء
ระบุถึงความประเสริฐบางประการของการรักษาน้ำละหมาดหรือวุฎูอ์ตลอดเวลา ซึ่งส่งเสริมให้มุสลิมยึดปฏิบัติ พร้อมหลักฐานอ้างอิงจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด               การรักษาน้ำละหมาดหมายถึง การอาบน้ำละหมาดอย่างดีและสมบูรณ์ และอาจหมายถึงการรักษาให้มีน้ำละหมาดอยู่ตลอดเวลา               การรักษาน้ำละหมาดมีความประเสริฐหลายประการ และส่วนหนึ่งจากความประเสริฐเหล่านั้นคือ   1. อัลลอฮฺทรงรัก             พระองค์ได้ตรัสว่า: ﴿لَمَسْجِدٌ أُسِّسَ عَلَى التَّقْوَى مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ أَحَقُّ أَنْ تَقُومَ فِيهِ، فِيهِ رِجَالٌ يُحِبُّونَ أَنْ يَتَطَهَّرُوا وَاللهُ يُحِبُّ الْمُطَّهِّرِينَ﴾ ความว่า: “แน่นอน มัสญิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะเข้าไปยืนละหมาดในนั้น เพราะในมัสญิดนั้นมีคณะบุคคลที่ชอบจะชำระตัวให้บริสุทธิ์ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ” [อัต-เตาบะฮฺ : 108]   "ผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์" หมายถึงผู้ที่รักษาการอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ และรักษาจากการเปรอะเปื้อนของสิ่งสกปรกโสโครก [ตัฟสีรฺ อิบนุกะษีรฺ 4/216]   2. เป็นลักษณะของผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์             ท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: «وَلاَ يُحَافِظُ عَلَى الْوُضُوءِ إِلاَّ مُؤْمِنٌ» ความว่า: “และไม่มีผู้ใดรักษาน้ำละหมาดนอกจากผู้ศรัทธา” [บันทึกโดย อิบนุ มาญะฮฺ เลขที่: 277, และอะหฺมัด เลขที่: 22467 ]   อัล-มุนาวีย์กล่าว่า: "คือการดูแลรักษาน้ำละหมาดให้คงอยู่ตลอดเวลา"  และความหมายของผู้ศรัทธา ณ ที่นี้คือ "ผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาอย่างสมบูรณ์" [มิรฺอาตอัล-มะฟาตีหฺ 2/13]   3. เป็นลักษณะพิเศษของบรรดามุสลิมในวันกิยามะฮฺ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: «إِنَّ أُمَّتِي يُدْعَوْنَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ غُرًّا مُحَجَّلِينَ مِنْ آثَارِ الْوُضُوءِ» ความว่า: “แท้จริง ประชาติของฉันจะถูกเรียกเชิญในวันกิยามะฮฺในสภาพที่มีรัศมีเปล่งประกาย จากร่องรอยของการอาบน้ำละหมาด” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่: 136, มุสลิม เลขที่ 246]   4. อัลลอฮฺจะยกฐานะและลบล้างความผิด ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เล่าว่า: «أَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَمْحُو اللهُ بِهِ الْخَطَايَا وَيَرْفَعُ بِهِ الدَّرَجَاتِ. قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللهِ. قَالَ : إِسْبَاغُ الْوُضُوءِ عَلَى الْمَكَارِهِ ... » ความว่า: “เอาไหม ถ้าฉันจะบอกพวกท่านซึ่งการงานที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดและจะยกฐานะให้ บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า แน่นอนที่สุด โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านจึงตอบว่า : การอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ในช่วงที่ท่านไม่ชอบ (หมายถึงช่วงอากาศหนาวเย็น) ...”  [มุสลิม เลขที่: 251]               และจากอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า: «مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الوُضُوءَ خَرَجَتْ خَطَايَاهُ مِنْ جَسَدِهِ حَتَّى تَـخْرُجَ مِنْ تَـحْتِ أَظْفَارِهِ» ความว่า:  “ผู้ใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาด ด้วยลักษณะที่ดีที่สุด มวลบาปของเขาจะหลุดออกจากตัวเขา จนแม้กระทั่งบาปที่อยู่ใต้เล็บของเขา” [มุสลิม เลขที่: 245]   5. เป็นสาเหตุของการตอบรับดุอาอ์ ท่านมุอาซ อิบนุ ญะบัล ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: «مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَبِيتُ عَلَى ذِكْرٍ طَاهِرًا، فَيَتَعَارُّ مِنْ اللَّيْلِ فَيَسْأَلُ اللهَ خَيْرًا مِنْ الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ إِلَّا أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»  ความว่า:  “ไม่มีมุสลิมคนใดที่นอนในสภาพที่รำลึกถึงอัลลอฮฺและสะอาด(อาบน้ำละหมาด) เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนและเขาก็ได้ขอจากอัลลอฮฺซึ่งความดีงามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากพระองค์จะทรงให้ตามที่เขาได้ขอ” [อบู ดาวูด เลขที่: 5044]   6. ละหมาดสองร็อกอัตหลังจากอาบน้ำละหมาดคือสาเหตุที่ทำให้ได้เข้าสวนสวรรค์ ท่านอุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: «مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَتَوَضَّأُ فَيُحْسِنُ وُضُوءَهُ ثُمَّ يَقُومُ فَيُصَلِّى رَكْعَتَيْنِ مُقْبِلٌ عَلَيْهِمَا بِقَلْبِهِ وَوَجْهِهِ إِلاَّ وَجَبَتْ لَهُ الْجَنَّةُ» ความว่า: “ไม่มีมุสลิมคนใดที่อาบน้ำละหมาดซึ่งเขาก็ได้อาบน้ำละหมาดอย่างดีและประณีต หลังจากนั้นเขาได้ละหมาดสองร็อกอัตด้วยการมุ่งทั้งจิตและกาย นอกจากสวนสวรรค์จะเป็นที่แน่นอนแล้วสำหรับเขา” [มุสลิม เลขที่: 234]   และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามบิลาลว่า: «يَا بِلَالُ حَدِّثْنِي بِأَرْجَى عَمَلٍ عَمِلْتَهُ فِي الْإِسْلَامِ، فَإِنِّي سَمِعْتُ دَفَّ نَعْلَيْكَ بَيْنَ يَدَيَّ فِي الْجَنَّةِ، قَالَ : مَا عَمِلْتُ عَمَلًا أَرْجَى عِنْدِي، أَنِّي لَمْ أَتَطَهَّرْ طُهُورًا فِي سَاعَةِ لَيْلٍ أَوْ نَهَارٍ؛ إِلَّا صَلَّيْتُ بِذَلِكَ الطُّهُورِ مَا كُتِبَ لِي أَنْ أُصَلِّيَ» ความว่า: “โอ้บิลาลเอ๋ย ท่านจงบอกฉันถึงการงานที่ท่านหวังมากที่สุดกับมันที่ท่านได้ปฏิบัติมา แท้จริงฉันได้ยินเสียงร้องเท้าสองข้างของท่านเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหน้าฉันในสวนสวรรค์ บิลาลตอบว่า ฉันไม่ได้ปฏิบัติการงานใดเลยที่ฉันหวังมากที่สุดนอกจากว่า ฉันจะเคยไม่อาบน้ำละหมาดในช่วงเวลาไหนก็ตามทั้งกลางคืนและกลางวัน เว้นแต่ฉันจะต้องละหมาดด้วยน้ำละหมาดนั้นเท่าที่ถูกกำหนดให้ฉันสามารถละหมาดได้” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1149, มุสลิม 6478]

المرفقات

2

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด
ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด