البحث

عبارات مقترحة:

البر

البِرُّ في اللغة معناه الإحسان، و(البَرُّ) صفةٌ منه، وهو اسمٌ من...

العليم

كلمة (عليم) في اللغة صيغة مبالغة من الفعل (عَلِمَ يَعلَمُ) والعلم...

المؤخر

كلمة (المؤخِّر) في اللغة اسم فاعل من التأخير، وهو نقيض التقديم،...

คุณลักษณะนิสัยที่ดี

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل الأخلاق
อธิบายความหมายของการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี ความสำคัญและความประเสริฐของมัน โดยยกหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ และตัวอย่างจากกัลยาณชนรุ่นแรก อาศัยการอธิบายที่เรียบง่าย กระชับ แต่แฝงด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การใช้สำหรับตักเตือนในโอกาสต่างๆ ได้

التفاصيل

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   คุณลักษณะนิสัยที่ดี               มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ การสรรเสริญและความศานติจงมีแต่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ อนึ่ง  โดยแน่นอน หนึ่งในการงานที่ประเสริฐยิ่งที่ศาสนาได้เรียกร้องและแนะนำ นั่นคือ “การมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี” เพราะมันคือหนึ่งในจำนวนของขวัญอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่บ่าวของพระองค์             อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้พรรณนาถึงท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า ﴿وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ﴾ ความว่า “และแท้จริง เจ้านั้นอยู่บนคุณลักษณะนิสัยอันยิ่งใหญ่” (สูเราะฮฺ อัล-เกาะลัม : 4)                         จากท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «مَا شَيْءٌ أَثْقَلُ فِي مِيزَانِ الْمُؤْمِنِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ خُلُقٍ حَسَنٍ، وَإِنَّ اللَّهَ لَيُبْغِضُ الْفَاحِشَ الْبَذِيءَ» ความว่า “ไม่มีการงานที่ดีใดๆ จะหนักยิ่งในตาชั่งของบรรดาผู้ศรัทธาในวันแห่งการพิพากษามากกว่า “การมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี” และแท้จริง อัลลอฮฺนั้นทรงรังเกียจต่อผู้ที่มีมารยาทอันเลวทรามและหยาบช้าทั้งหลาย” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2002)   คุณลักษณะนิสัยที่ดีนั้นได้ครอบคลุมในทุกแง่มุมของชีวิตผู้ศรัทธาเลยทีเดียว ไม่ว่าในด้านคำพูดและการกระทำของเขา ทั้งในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิสัมพันธ์กับปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า ﴿وَقُل لِّعِبَادِي يَقُولُواْ الَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِنَّ الشَّيْطَانَ يَنزَغُ بَيْنَهُمْ إِنَّ الشَّيْطَانَ كَانَ لِلإِنْسَانِ عَدُوًّا مُّبِينًا﴾ ความว่า “และจงกล่าวแก่ปวงบ่าวของข้าให้พวกเขากล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่ง เพราะแท้จริง ชัยฏอนนั้นจะยุแหย่ระหว่างพวกเขา แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่เปิดเผยของมนุษย์” (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์ : 53)   พระองค์ได้ตรัสอีกว่า ﴿وَقُولُواْ لِلنَّاسِ حُسْناً﴾ ความว่า “และจงกล่าวคำพูดที่ดีแก่ผู้คนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 83)   และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า ﴿ادْفَعْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ فَإِذَا الَّذِي بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ عَدَاوَةٌ كَأَنَّهُ وَلِيٌّ حَمِيمٌ﴾ ความว่า “เจ้าจงตอบโต้ด้วยสิ่งที่ดีกว่าที่สุด แล้วเมื่อนั้นผู้ที่ระหว่างเจ้ากับระหว่างเขาเคยเป็นอริกันก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน” (สูเราะฮฺ ฟุศศิลัต : 34)   ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงสั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาให้มีความอดทนเมื่ออยู่ในสภาวะโกรธ และให้ระงับอารมณ์โมโหเมื่ออยู่ในสภาวะที่โดนข่มเหง และหมั่นให้อภัยเมื่อมีคนมาทำอะไรที่ไม่ดีต่อตัวเขา ดังนั้น หากพวกเขา(บรรดาผู้ศรัทธา)ปฏิบัติสิ่งดังกล่าวแล้วไซร้ อัลลอฮฺก็จะทรงคุ้มครองพวกเขา และจะทำให้ศัตรูเพลี่ยงพล้ำต่อพวกเขา” (ตัฟสีร อิบนุกะษีร 4/101)   คำสั่งเสียบางประการที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยให้กับเศาะหาบะฮฺผู้ทรงเกียรติทั้งสองท่าน นั่นคือ ท่านอบู ซัรฺ และท่านมุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ไว้ว่า «اتَّقِ اللَّهَ حَيْثُمَا كُنْتَ، وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا، وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ» ความว่า “ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม และจงตามหลังความชั่วด้วยการปฏิบัติความดีเพื่อลบล้างมัน(ความชั่ว) และจงคลุกคลีกับผู้คนทั้งหลายด้วยคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 1987)   ท่านอิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รวมความยำเกรงต่ออัลลอฮฺและการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดีงามเข้าด้วยกัน เพราะความยำเกรงนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ่าวและพระผู้เป็นเจ้าของเขา ส่วนนิสัยที่ดีนั้นจะเป็นสิ่งที่ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างปวงบ่าวด้วยกันเอง โดยแน่แท้ ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺนั้นจะทำให้เขาได้ความรักจากพระองค์ และการมีนิสัยที่ดีนั้นจะเรียกร้องผู้คนให้มีความรักต่อตัวเขา” (อัลฟะวาอิด : 84-85) ความศรัทธาของบ่าวคนหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์หากไม่สอดคล้องกับคุณลักษณะนิสัยที่ดี ดังมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِينَ إِيمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا، وَخِيَارُكُمْ خِيَارُكُمْ لِنِسَائِهِمْ خُلُقًا» ความว่า “"บรรดามุอ์มินที่มีศรัทธาที่สมบูรณ์ยิ่ง คือ บุคคลที่มีคุณลักษณะนิสัยดีที่สุดในหมู่พวกเขา และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้า คือผู้ที่มีนิสัยดีที่สุดในหมู่พวกเจ้าต่อภรรยาของพวกเขา” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 1162)   ชาวสะลัฟบางท่านได้กล่าวว่า “คุณลักษณะนิสัยที่ดีนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่งคือ “การมีคุณลักษณะนิสัยที่ดีกับอัลลอฮฺนั่นคือ การตระหนักว่าสิ่งใดก็ตามที่เกิดมาจากตนล้วนต้องขออภัยจากอัลลอฮฺ และสิ่งใดที่มีมาจากอัลลอฮฺจำเป็นต้องขอบคุณ(ชุกูร)ต่อพระองค์” ประเภทที่สองคือ “การมีคุณลักษณะนิสัยที่ดีต่อคนอื่น โดยสรุปแล้วมี 2 รูปแบบนั่นคือ หนึ่ง การทำความดีต่อผู้คนด้วยคำพูดและการกระทำ  สอง การยับยั้งโดยไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อผู้คนไม่ว่าจะด้วยคำพูดและการกระทำ” (ตะฮฺซีบุสสุนัน โดยอิบนุล ก็อยยิม อธิบาย สุนัน อบีดาวูด 13/130) ดังนั้น มีความเหมาะสมยิ่งนักสำหรับผู้ที่มีความมุ่งมั่นต่อสิ่งนี้ ที่เขาจะก้าวสู่ระดับเดียวกันกับบรรดาผู้ปฏิบัติความดีทั้งหลาย ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إِنَّ الْمُؤْمِنَ لَيُدْرِكُ بِحُسْنِ خُلُقِهِ دَرَجَةَ الصَّائِمِ الْقَائِمِ» ความว่า “แท้จริงมุอ์มินที่มีคุณลักษณะนิสัยที่ดีนั้นย่อมบรรลุถึงระดับขั้นของผู้ที่ถือศีลอดและลุกขึ้นทำอิบาดะฮฺในยามค่ำคืนอย่างแน่นอน” (บันทึกโดยอบีดาวูด หมายเลขหะดีษ 4798)   โดยแน่แท้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นคือผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยอันดีงามเป็นเลิศที่สุด ดังนั้น ผู้ใดรักที่จะมีคุณลักษณะนิสัยอันสูงส่ง ก็จงตามแบบอย่างของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เถิด จากท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า خَدَمْتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- عَشْرَ سِنِينَ فَمَا قَالَ لِى أُفٍّ قَطُّ وَمَا قَالَ لِشَىْءٍ صَنَعْتُهُ لِمَ صَنَعْتَهُ وَلاَ لِشَىْءٍ تَرَكْتُهُ لِمَ تَرَكْتَهُ ความว่า “ฉันได้รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นเวลาสิบปี ท่านไม่เคยกล่าว “อุฟ –แสดงความไม่พอใจ-” ต่อฉันเลย และท่านไม่เคยกล่าวว่าใดๆ ในสิ่งที่ฉันได้ทำว่า “ทำไมเจ้าถึงทำเช่นนี้ ?” และในสิ่งที่ฉันไม่ได้ทำว่า “ทำไมเจ้าถึงไม่ทำเช่นนั้น ?” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2015)   จากท่านอะฏออ์ บิน ยะสารฺ ได้เล่าว่า لَقِيتُ عَبْدَ اللَّهِ بْنَ عَمْرِو بْنِ الْعَاصِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا، قُلْتُ: أَخْبِرْنِي عَنْ صِفَةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي التَّوْرَاةِ، قَالَ: أَجَلْ، وَاللَّهِ، إِنَّهُ لَمَوْصُوفٌ فِي التَّوْرَاةِ بِبَعْضِ صِفَتِهِ فِي الْقُرْآنِ، ﴿يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ شَاهِدًا وَمُبَشِّرًا وَنَذِيرًا﴾، وَحِرْزًا لِلْأُمِّيِّينَ، أَنْتَ عَبْدِي وَرَسُولِي، سَمَّيْتُكَ المتَوَكِّلَ، لَيْسَ بِفَظٍّ وَلَا غَلِيظٍ، وَلَا سَخَّابٍ فِي الْأَسْوَاقِ، وَلَا يَدْفَعُ بِالسَّيِّئَةِ السَّيِّئَةَ، وَلَكِنْ يَعْفُو وَيَغْفِرُ، وَلَنْ يَقْبِضَهُ اللَّهُ حَتَّى يُقِيمَ بِهِ الْمِلَّةَ الْعَوْجَاءَ بِأَنْ يَقُولُوا لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ، وَيَفْتَحَ بِهَا أَعْيُنًا عُمْيًا وَآذَانًا صُمًّا وَقُلُوبًا غُلْفًا. ความว่า “ฉันได้พบกับท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ฉันจึงกล่าวว่า จงบอกแก่ฉันเกี่ยวกับคุณลักษณะของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์เตารอฮฺเถิด ท่านอับดุลลอฮฺจึงกล่าวว่า “ได้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงพรรณนาถึงคุณสมบัติ(ของท่านนบี)ในคัมภีร์เตารอฮฺเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ทรงพรรณนาในคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นคือ ตามพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า ﴿يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ شَاهِدًا وَمُبَشِّرًا وَنَذِيرًا﴾ “โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเรา(อัลลอฮฺ)ได้ส่งเจ้า(มุหัมมัด) มาเพื่อเป็นพยานและเพื่อเป็นผู้แจ้งข่าวดีและผู้แจ้งข่าวร้าย” (อัล-อะหฺซาบ 45) และเพื่อเป็นผู้ปกป้องแก่กลุ่มชนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็น(อุมมียีน) เจ้าคือบ่าวและศาสนทูตของข้า ซึ่งฉันได้ตั้งชื่อแก่เจ้าว่า “อัลมุตะวักกิล-ผู้ที่มอบหมายต่ออัลลอฮฺ-” ไม่ใช่เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่กระด้างและแข็งกร้าว ไม่ชอบการตะโกนอย่างเสียงดังในท้องตลาด ท่านจะไม่ตอบโต้สิ่งที่ไม่ดีด้วยกับสิ่งที่ไม่ดี แต่ท่านจะให้อภัยและยกโทษให้เสมอ อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ท่านตายไปจนกว่าพระองค์จะได้ทรงทำให้ศาสนาที่หันเหได้โดดเด่นยืนหยัดขึ้นเพราะท่าน ด้วยการที่มนุษย์ทั้งหลายจะได้กล่าวว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” และด้วยถ้อยคำดังกล่าวนั้น อัลลอฮฺจะทรงเปิดดวงตาที่มืดบอด หูที่หนวก และหัวใจที่ถูกปกปิดอยู่ ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 2125)   ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัล-มุบาร็อก เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “คุณลักษณะนิสัยที่ดีคือการมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส การทำดีต่อคนอื่น การยับยั้งไม่ทำร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่น และการอดทนต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้คน” (ญามิอุล อุลูม วัลหิกัม หน้า 160) ผู้ศรัทธาย่อมต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมากมายในชีวิตของเขา ดังนั้น หากเขาไม่มีคุณลักษณะนิสัยที่ดีอยู่ในตัวแล้วไซร้ เขาย่อมประสบกับความล้มเหลวในการเผชิญหน้ากับมันอย่างแน่นอน ซึ่งหลักการหนึ่งที่สามารถใช้ในเรื่องนี้คือ อย่าได้รีบเร่งในการตำหนิผู้ที่ทำไม่ดีต่อท่าน หรือได้ลิดรอนสิทธิของท่าน แต่ท่านจงคลุกคลีกับเขาด้วยการคิดในทางที่ดี และช่วยหาข้ออ้างให้เขา ในทางกลับกัน ท่านจงอย่ากล่าวถ้อยคำใดและอย่าได้ทำสิ่งใดอันเป็นเหตุให้ท่านจำเป็นต้องขออภัยจากเขาในภายหลัง ดังที่มีหะดีษ ซึ่งรายงานจากท่านอะนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إياك وكلَّ أمرٍ يعتذرُ منه» ความว่า “จงรักษาตัวท่านจากทุกสิ่งที่จำเป็นต้องขอโทษจากมันเถิด” (อัฎ-ฎิยาอ์ ฟิลมุคตาเราะฮฺ หมายเลข 2199 ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ในสิลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1/689 หมายเลข 354)   ตัวอย่างของบางเรื่องราวที่มีการใช้คุณลักษณะนิสัยที่ดี กระทั่งทำให้เกิดผลที่น่ายกย่องตามมานั่นคือ มีการรายงานว่า “ชายคนหนึ่งได้มาพบท่านอะลี บิน อัลหุสัยนฺ แล้วก็ได้ด่าทอท่าน ทำให้ บรรดาบ่าวไพร่ของท่านอะลีโกรธเคืองและมุ่งทำร้ายชายคนนั้น  แต่ท่านอะลีกลับกล่าวว่า “ช้าก่อน” แล้วท่านก็เดินเข้าใกล้ชายคนนั้นแล้วกล่าวกับเขาว่า “สิ่งที่ท่านไม่รู้เกี่ยวกับตัวเรานั้นมีมากกว่า(ที่ท่านด่าทอ)เสียอีก ว่าแต่ว่า ท่านมีธุระอันใดที่เราสามารถช่วยเหลือท่านได้กระนั้นหรือ?” ด้วยเหตุนี้ชายคนนั้นจึงเกิดความละอาย แล้วท่านอะลีจึงได้มอบผ้าคลุมไหล่ที่มีอยู่กับท่านให้แก่เขา และสั่งให้มอบเงิน 1,000 ดิรฺฮัมแก่เขาด้วย หลังจากนั้นต่อมา ชายคนนั้นจึงได้กล่าวว่า “ฉันขอยืนยันว่าตัวท่านนั้นคือลูกหลานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อย่างแท้จริง” (มุคตะศ็อร มินฮาญุลกอศิดีน หน้า 238)   มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ พระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก และขอโปรดให้อัลลอฮฺทรงประทานการสรรเสริญและความศานติแด่ท่านนบีของเรา “มุหัมมัด” และแด่เครือญาติของท่าน ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งปวง  

المرفقات

2

คุณลักษณะนิสัยที่ดี
คุณลักษณะนิสัยที่ดี