البحث

عبارات مقترحة:

الجبار

الجَبْرُ في اللغة عكسُ الكسرِ، وهو التسويةُ، والإجبار القهر،...

الفتاح

كلمة (الفتّاح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) من الفعل...

الوهاب

كلمة (الوهاب) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) مشتق من الفعل...

อิสลามสนับสนุนการทำงาน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الرقائق والمواعظ
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

التفاصيل

อิสลามเป็นศาสนาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพและการทำมาหากินอย่างสุจริต การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพเช่นนี้ อิสลามถือว่าเป็นสิ่งที่มีเกียรติ เพราะเป็นการเลี่ยงจากการขอทานผู้อื่นซึ่งทำให้ตัวเองดูต่ำต้อย มีหะดีษจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ได้กล่าวสนับสนุนการทำงานไว้มีความว่า “ผู้ใดผู้หนึ่งจะไม่รับประทานอาหารใดๆ ที่ประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้หามาด้วยการทำงานจากน้ำมือของตัวเอง” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์) การทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองแม้เพียงด้วยงานเล็กๆ ที่อาจจะดูไม่มีเกียรติใดๆ ทางสังคมเลย แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐในอิสลาม ดีกว่าการขอจากผู้อื่นโดยไม่ยอมทำงาน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า “การที่พวกท่านผู้ใดผู้หนึ่งหาฟืนแล้วแบกบนหลังเอาไปขายนั้น ย่อมดีกว่าการเที่ยวขอจากผู้อื่น ซึ่งเขาอาจจะให้หรือไม่ให้” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์) หะดีษข้างต้นนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุสลิมไม่ควรมีนิสัย  ขี้เกียจทำงาน หรืองอมืองอเท้าไม่ยอมทำอะไรเป็นการเป็นงาน เพราะนั่นเป็นนิสัยของความไม่เจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเที่ยวขอทานจากผู้อื่นยิ่งเป็นสิ่งที่อิสลามไม่สนับสนุน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า “เศาะดะเกาะฮฺนั้นไม่เหมาะสำหรับคนรวย คนที่สมบูรณ์พร้อมทางด้านร่างกาย หรือคนที่แข็งแรงและสามารถทำงานได้” (รายงานโดย อัด-    ดาเราะกุฏนีย์) อิสลามสนับสนุนให้ทำงานเพื่อจะได้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและสามารถแบ่งปันให้กับผู้อื่นด้วย ผู้ที่ให้นั้นย่อมต้องดีกว่าผู้ที่รับ เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า “มือข้างบน (ผู้ให้) ดีกว่ามือล่าง (ผู้รับ)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์) ดังนั้นเราจึงพบว่าบรรพบุรุษอิสลามสมัยก่อนทั้งบรรดานบีทั้งหลายก็เป็นคนที่ทำงาน เช่นนบีมูซาเคยรับจ้างทำงานเลี้ยงแพะ นบี  ดาวูดก็ทำงานและหาเลี้ยงชีพจากน้ำมือของตน “ท่านนบีดาวูดไม่เคยกินอาหารใดเว้นแต่ที่ได้มาจากการทำงานด้วยน้ำมือของตน” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เองก็เคยทำงานเช่นกัน สมัยที่ยังเป็นเด็กท่านเคยรับจ้างเลี้ยงแพะและเมื่อเป็นหนุ่มท่านเคยทำงานเป็นพ่อค้า และเคยเดินทางค้าขายถึงเมืองซีเรีย เศาะหาบะฮฺของท่านก็มีอาชีพต่างๆ หลากหลาย เช่น ท่านอบูบักรฺ นั้นเป็นช่างฝีมือและเป็นพ่อค้า ท่านอุมัรฺ เป็นชาวสวน ท่านอุษมานเป็นพ่อค้า บางท่านนั้นมีทรัพย์สินมากมายจากการค้าขาย ทุกคนล้วนขยันขันแข็งในการทำงาน ในขณะที่ไม่เคยละทิ้งภารกิจอื่นๆ ทางศาสนาเลยแม้แต่น้อย แบบอย่างต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับคนรุ่นหลัง เพราะอิสลามเป็นศาสนาที่เอาใจใส่ในทุกๆ เรื่องของมนุษย์ ซึ่งรวมทั้งการทำงานหาเลี้ยงชีพด้วย เห็นได้ชัดจากการที่อิสลามสนับสนุนให้ทำงาน และกำหนดจริยธรรมในการทำงาน เช่น ต้องซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ยักยอกคดโกง เป็นต้น - ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน 1.      การทำงานอย่างสุจริตเพื่อหาเลี้ยงชีพเป็นสิ่งที่อิสลามสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง 2.      การทำงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่มีเกียรติถึงแม้จะดูต่ำต้อยในสายตาผู้อื่น 3.      อิสลามไม่สนับสนุนให้ขอทานจากผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถจะทำงานได้ 4.      อิสลามต้องการให้มุสลิมเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ 5.      การทำงานเป็นสิ่งที่บรรดานบีและคนรุ่นก่อนได้ทำไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้ทำตาม - คำถามหลังบทเรียน 1.      ท่านคิดว่าการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองมีคุณค่าหรือไม่? อย่างไร? 2.      ท่านคิดว่าจริยธรรมในการทำงานมีอะไรบ้าง? กรุณายกตัวอย่าง