البحث

عبارات مقترحة:

القاهر

كلمة (القاهر) في اللغة اسم فاعل من القهر، ومعناه الإجبار،...

الغني

كلمة (غَنِيّ) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من الفعل (غَنِيَ...

الرب

كلمة (الرب) في اللغة تعود إلى معنى التربية وهي الإنشاء...

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮฺให้อยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อัสมัน แตอาลี ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الفضائل
คุฏบะฮฺวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี หนึ่งในจำนวนชุดคุฏบะฮฺญุมอัต ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย อัสมัน แตอาลี อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วอศ. มอ.ปัตตานี

التفاصيل

  إن الحمد لله نحمده ونستعينه ونستغفره ونتوب إليه ونعوذ بالله من شرور أنفسنا وسيئات أعمالنا من يهده الله فلا مضل له ومن يضلله فلا هادي له وأشهد أن لا إله الا الله وأشهد أن محمدا عبده ورسوله اللهم صل على نبينا محمد وعلى آله وصحبه ومن دعا بدعوته إلى يوم الدين أما بعد، فقال الله تعالى ياأيها الذين آمنوا اتقوا الله حق تقاته ولا تموتن الا وأنتم مسلمون. พี่น้องผู้ร่วมละหมาดญุมอัตที่เคารพทั้งหลาย             ก่อนอื่นก็ขอความสันติสุขจงมีแด่พวกเราทุกคนและขอให้เราทุกคนจงตักวาต่ออัลลอฮฺ(ซุบหานะฮุวะตะอาลา) เพื่อว่าพวกเรานั้นจะประสบความสำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า «واتقواالله لعلكم تفلحون» ความว่า พวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิดเพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบกับความสำเร็จ (อาล อิมรอน : 200)    พี่น้องผู้มีเกียรติทุกท่าน             เมื่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพมาถึง ซึ่งหมายถึงเมื่อมีสัญญาณเป่าครั้งที่สองเกิดขึ้น มวลมนุษย์ก็จะฟื้นขึ้นจากหลุมฝังศพของพวกเขาและเดินทางสู่ทุ่งมะหฺชัรเพื่อการสอบสวนและการตัดสินจากอัลลอฮฺ(ซุบฮานะฮุวะตะอาลา)พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักวาล  ในสภาพการเดินด้วยเท้าเปล่าและร่างกายที่เปลือยปราศจากเสื้อผ้าอาภรณ์ ดังหะดีษที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า قام فينا النبيّ صلى الله عليه وسلم فقال : «إنكم محشورون حُفَاةً عُرَاةًً» أخرجه البخاري ความว่า ท่านนบีได้ลุกขึ้นยืนต่อหน้าพวกเราและกล่าวว่า “ แท้จริงพวกท่านจะรวมตัวกัน ณ  ทุ่งมะหฺชัรในสภาพเดินด้วยเท้าเปล่าและเปลือยกาย”   และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า « كما بدأنا أوّل خلق ٍنعيده » ความว่า ดังเช่นที่เราได้เริ่มให้มีการบังเกิดครั้งแรก เราจะให้มันกลับเป็นขึ้นมาอีก (อัลอัมบิยาอ์ : 104) กล่าวคือพระองค์จะให้พวกเขาฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่งในสภาพของผู้เปลือยกายเหมือนกับวันที่เขาเกิดมา             ณ ที่ทุ่งมะหฺชัร(ทุ่งแห่งการรวมตัว)แห่งนี้  หัวใจทั้งหลายจะตื่นตระหนก ทุกสายตาจะมองลงต่ำ ต่างคนต่างก็ไม่สนใจที่จะดูสรีระของคนอื่น สิ่งที่ทุกคนใจจดใจจ่อก็คือคำตัดสินที่จะเกิดขึ้น   และ ณ ที่นั้นจะมีการแจกจ่ายสมุดบันทึกความดีและความชั่วของแต่ละคน ผู้ที่ศรัทธาจะรับด้วยมือขวาด้วยความปีติยินดีและดีใจเป็นที่สุด ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า « فأما من أوتي كتابه بيمينه فيقول هآؤم اقرءواْ كتابيه » ความว่า  สำหรับผู้ที่ได้รับสมุดบันทึกของเขาด้วยมือข้างขวา เขาจะกล่าวว่า มาอ่านบันทึกของฉันซิ (อัลห๊ากเกาะฮฺ : 19)      สำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธา จะรับด้วยมือซ้ายจากด้านหลังของเขาด้วยความโศกเศร้าเสียใจ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า « وأما من أوتي كتابه بشماله فيقول يليتني لمْ أوتَ كتابيه ، ولم أدرِ ما حسابيه  » ความว่า และสำหรับผู้ที่ได้รับสมุดบันทึกของเขาด้วยมือข้างซ้าย เขาจะกล่าวว่าฉันภาวนาที่จะไม่ให้สมุดบันทึกของฉันถูกนำมายื่นและฉันไม่รู้เลยว่าบัญชีของฉันจะเป็นเช่นใด   (อัลห๊ากเกาะฮฺ : 25-26)             ในวันนั้นดวงอาทิตย์จะเข้าใกล้สรรพสิ่งต่างๆ ซึ่งมีระยะห่างเพียงหนึ่งไมล์เท่านั้น ความร้อนระอุที่มนุษย์ทุกคนจะต้องรับรู้ถึงความรู้สึกคงไม่สามารถที่จะบรรยายได้ แม้แต่ความร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันบางคนก็ได้รับความเดือดร้อนจนไม่อาจที่จะต้านทานได้ ในวันนั้นทุกคนจะมีเหงื่อไหลออกมาในสภาพที่แตกต่างกัน บางคนเหงื่อไหลท่วมถึงตาตุ่ม บางคนก็ไหลท่วมถึงหัวเข่า บางคนก็ท่วมถึงเอว และบางคนเหงื่อไหลท่วมจนมิดศีรษะของเขา และวันนั้นเป็นวันที่ไม่มีร่มเงาใดๆนอกจากร่มเงาอัรช์ของพระองค์อัลลอฮฺและพระองค์ก็จะทรงให้ร่มเงาแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เท่านั้น   พี่น้องผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺทุกท่าน ในวันนั้นมนุษย์ทุกคนต่างก็ปรารถนาที่จะอยู่ภายใต้ร่มเงาของอัรช์เพื่อจะได้หลบจากแสงอาทิตย์อันร้อนระอุหลายพันเท่าถ้าเทียบกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่พี่น้องครับ...มิใช่ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะร้องขอที่จะอยู่ใต้ร่มเงานั้นได้ทั้งหมด  เพราะบรรดาผู้ที่จะได้รับอภิสิทธ์ที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัรชฺในวันแห่งการสอบสวนนั้น ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้ชี้แจงในหะดีษที่รายงานโดยท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ไว้ว่า «سبعة يظلهم الله في ظله يوم لا ظل الا ظله : الإمام العادل ، وشابٌ نشأ في عبادة ربه، ورجلٌ قلبه معلق في المساجد، ورجلان تحاباَ في الله اجتمعا عليه وتفرقا عليه، ورجل طلبت منه إمرأة ذات منصب وجمال فقال " إني أخاف الله "، ورجل تصَدّق أخفى حتى لا تعلم شماله ما تنفق يمينه، ورجل ذكر الله خالياً ففاضت عيناه» (أخرجه البخاري : 660) ความว่า  บุคคล 7 ลักษณะที่อัลลอฮฺจะทรงให้ร่มเงาของพระองค์ในวันที่ไม่มีร่มเงาใดๆนอกจากร่มเงาของพระองค์ คือ : ผู้นำที่ผดุงความยุติธรรม คนหนุ่มที่เติบโตด้วยความขยันทำอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา บุคคลที่มีใจผูกพันกับมัสยิด บุคคลสองคนที่มีความรักต่อกันเพื่ออัลลอฮฺ เขาทั้งสองจะคบหากันและจะแยกจากกันในหนทางของอัลลอฮฺ ผู้ชายที่ถูกผู้หญิงที่มีฐานะร่ำรวยและมีหน้าตาที่สวยงามชวนให้กระทำผิดประเวณีแต่เขาปฏิเสธและบอกกับนางว่าแท้จริงข้าเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ บุคคลที่บริจาคทานอย่างเงียบๆ(ไม่ป่าวประกาศ) จนกระทั่งมือข้างซ้ายของเขาไม่รู้ในสิ่งที่มือข้างขวาได้แจกจ่ายไป  และบุคคลที่นึกถึงอัลลอฮฺโดยลำพังและร้องไห้ออกมาด้วยความสำนึกผิดต่อพระองค์   จากหะดีษข้างต้นท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)ได้ชี้แจงถึงลักษณะของผู้ที่มีสิทธิที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัรช์ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรารถนาของทุกคนในวันนั้น 7 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้ ลักษณะที่ 1 คือ ผู้นำที่ผดุงความยุติธรรม กล่าวคือในช่วงที่เขาใช้ชีวิตในโลกดุนยาเขาได้รับอะมานะฮฺให้เป็นผู้นำ ท่านอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์  และอัลลอฮฺ(ซุบฮานะฮุวะตะอาลา)ทรงรักและทรงโปรดผู้ที่บริหารและปกครองด้วยความยุติธรรม ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า อธิบายว่าผู้นำในที่นี้หมายถึงทั้งที่เป็นผู้นำประเทศและผู้นำที่ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบในการงานของมุสลิมและเขาก็สามารถบริหารงานอย่างเป็นธรรมอยู่บนหลักการจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ « وإن حكمت فاحكم بينهم بالقسط ، إن الله يحب المقسطين » ความว่า และหากเจ้าตัดสิน ก็จงตัดสินพวกเขาด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ยุติธรรม (อัลมาอิดะฮฺ : 42)   อีกอายะฮฺหนึ่งพระองค์ตรัสอีกว่า « فأصلحوا بينهما بالعدل وأقسطوا ، إن الله يحب المقسطين » ความว่า พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรมและพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรม(แก่ทั้งสองฝ่ายเถิด) แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่ยุติธรรม (อัลหุญุร็อต : 9)             ดังนั้น พี่น้องท่านใดที่ได้รับอะมานะฮฺให้เป็นอิมามมัสยิด  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้จัดการ ครูใหญ่ หัวหน้าทีมงาน ตลอดจนหัวหน้าครอบครัวหรืออื่นๆในทำนองเดียวกัน  ถ้าต้องการที่จะได้อภิสิทธิอยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์  เขาจะต้องดำรงอยู่บนความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ให้ความรัก ความเมตตาต่อผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเท่าเทียมกัน ลักษณะที่ 2 คือ คนหนุ่มที่มีความขยันทำอิบาดะฮฺต่อองค์อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮุวะตะอาลา) กล่าวคือผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยรุ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพละกำลังที่แข็งแกร่งในขณะที่สิ่งที่ต้องรับผิดชอบก็ยังมีไม่มาก เขารู้จักใช้พละกำลังที่แข็งแกร่งและเวลาว่างอันมากมายของเขาในการทำอิบาดะฮฺต่ออัลอฮฺ(ซุบฮานะฮุ)  พี่น้องครับ...เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันส่วนหนึ่งเกิดจากวัยรุ่นที่ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่รู้จักใช้เวลาอันมีค่าของตน มีจำนวนไม่น้อยที่ใช้ไปในทางที่ไม่ดี สุดท้ายก็ตกเป็นเหยื่อของอบายมุขและตกเป็นทาสของยาเสพติด เป็นที่น่าเสียดายถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นรู้สักนิดว่า  ถ้าเขาสามารถละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคึกคะนองหาเรื่องทะเลาะวิวาทหรือไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอบายมุข  ละทิ้งความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ที่ไร้สาระ และสละความสุขที่ปรนเปรอแต่กามารมณ์  ถ้าเขาสามารถครองตนท่ามกลางการยั่วยุจากสื่อที่ไม่ดีต่างๆและอดทนจากการทดสอบทุกรูปแบบได้ อีกทั้ง เขาสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยหนุ่มวัยฉกรรจ์ของเขาด้วยการทำแต่อิบาดะฮฺทั้งที่เป็นวาญิบและสุนัตอยู่ตลอดเวลา ทุกการกระทำ ทุกคำพูด ทุกย่างก้าวที่เขาเดินเต็มไปด้วยความบะเราะกะฮฺ ความเป็นศิริมงคล เขาก็จะเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับอภิสิทธิอยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์ในวันกิยามะฮฺอย่างแน่นอน ลักษณะที่ 3 คือ บุคคลที่มีใจผูกพันกับมัสยิด  กล่าวคือเขาสามารถทำการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดได้ครบทั้งห้าเวลาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งหัวจิตหัวใจของเขาก็มีความรัก ความผูกพันกับมัสยิดอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ตัวของเขาจะอยู่ที่อื่นแต่หัวใจของเขาก็อยู่ที่มัสยิดเสมอ เมื่อใดที่เขาได้ยินเสียงอะซานหรือมีเวลาว่างจากการทำงานเขาจะรีบเข้าไปในมัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮุวะตะอาลา) บุคคลลักษณะดังกล่าวนี้อีกเช่นกันที่จะได้รับอภิสิทธิที่จะได้อยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์ในวันกิยามะฮฺ ลักษณะที่ 4  คือ  บุคคลสองคนที่เป็นเพื่อนกัน มีความรักต่อกันเพื่ออัลลอฮฺ เขาทั้งสองจะคบหากันและจะแยกจากกันในหนทางของอัลลอฮฺ  กล่าวคือ เขาทั้งสองคนจะคบเป็นเพี่อนกันและช่วยเหลือกันตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายกระทำในสิ่งที่เป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และหากเมื่อใดที่คนใดคนหนึ่งกระทำผิดฝ่าฝืนในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามและไม่ยอมรับฟังการตักเตือน  อีกฝ่ายหนึ่งก็จะเลิกคบทันที การคบหาของทั้งสองคนมิได้แอบแฝงด้วยผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น การคบหาในลักษณะดังกล่าวในปัจจุบันค่อนข้างหายาก เพราะส่วนใหญ่คบหากันก็เพื่อผลประโยชน์กันทั้งนั้น มิตรภาพอันบริสุทธิ์ในอิสลามเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สังคมมีความสงบสุข  และผลตอบแทนของบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ก็คือเขาจะได้รับอภิสิทธิอยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์ในวันกิยามะฮฺ ลักษณะที่ 5 คือ  ผู้ชายที่ถูกผู้หญิงที่มีฐานะร่ำรวยและมีหน้าตาที่สวยงามเชิญชวนให้กระทำผิดประเวณีกับนางแต่เขาปฏิเสธและบอกกับนางว่า แท้จริงข้ากลัวต่ออัลลอฮฺ  นี่คือตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่ผู้หญิงทั้งสวย ทั้งรวยเสนอตัวให้แก่ผู้ชายเพื่อกระทำชั่วต่อนาง มันคือฟิตนะฮฺจากสตรีเพศที่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจูงใจให้กับบรรดาผู้ชายที่ไร้อีมานและตกเป็นเหยื่อกันเป็นจำนวนมากเพราะไม่สามารถที่จะอดทนกับความงามอันจอมปลอมและทรัพย์สินที่นำมายั่วยุได้ เป็นฟิตนะฮฺหนึ่งที่เราไม่ควรประมาทเพราะถึงแม้ว่าเราสามารถบังคับจิตใจไม่เข้าใกล้ ไม่ไปหามัน แต่มันอาจจะมาหาเราโดยไม่รู้ตัวและเราอาจจะหลงกับความงาม  ทรัพย์สิน และยศถาบรรดาศักดิ์ก็เป็นได้ ดังนั้นอีมานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถบังคับจิตใจของเราได้  จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ  หากเราสามารถอดทนและปฏิเสธสิ่งดังกล่าว เราก็จะได้รับอภิสิทธิอยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์ในวันกิยามะฮฺเช่นเดียวกัน    ลักษณะที่ 6 คือ  บุคคลที่บริจาคทานอย่างเงียบๆ(ไม่ป่าวประกาศ) จนกระทั่งมือข้างซ้ายของเขาไม่รู้ในสิ่งที่มือข้างขวาได้แจกจ่ายไป กล่าวคือ เวลาเขาบริจาคทานไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของจะเป็นจำนวนมากหรือน้อย เขาก็จะปกปิดไม่เปิดเผยและไม่ป่าวประกาศในที่สาธารณะแม้แต่บุคคลที่ใกล้ชิด   ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)อุปมาอุปมัยในการปกปิดของผู้บริจาคในลักษณะดังกล่าวเสมือนหนึ่งว่ามือขวาได้ทำการบริจาคในขณะที่มือซ้ายไม่สามารถรู้ได้เลย นี่คือระดับของความอิคลาศ ความบริสุทธิ์ใจเพื่อแสวงหาผลบุญอันมหาศาลและหลีกเลี่ยงจากการริยาอ์  การโอ้อวด ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้การบริจาคนั้นสูญเปล่าไม่ได้รับผลบุญอะไรเลย  อัลลอฮฺได้ตรัสในเรื่องดังกล่าวนี้ว่า « وإن تخفوها وتؤتوها الفقراء فهو خير لكم » ความว่า และถ้าหากพวกเจ้าปกปิดการบริจาคนั้น และให้มันแก่บรรดาผู้ยากจนแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่ดีแก่พวกเจ้ายิ่งกว่า ( อัลบะเกาะเราะฮฺ : 271)   ลักษณะที่ 7 ซึ่งเป็นลักษณะสุดท้ายของผู้ที่จะได้รับอภิสิทธิ์ที่ระบุในหะดีษนี้  คือ บุคคลที่รำลึกถึงอัลลอฮฺในยามค่ำคืนโดยลำพังและร้องไห้ออกมาด้วยความสำนึกผิดและเกรงกลัวการลงโทษของพระองค์ นี่คือความประเสริฐของน้ำตาที่ไหลออกมาด้วยความรู้สึกตักวาต่ออัลลอฮฺ (ซุฮานะฮุวะตะอาลา) พระองค์ได้ตรัสว่า « ويخِرّون للأذقان يبكون ويزيدهم خشوعاً » ความว่า และพวกเขาจะหมอบราบลงใบหน้าจรดพื้น พลางร้องไห้ และมันจะเพิ่มการสำรวมแก่พวกเขา (อัลอิสรออ์ : 109)               ท่านอะนัส อิบนุ มาลิกได้รายงานหะดีษบทหนึ่งซึ่งท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)ได้กล่าวว่า «من ذكر الله ففاضت عيناه من خشية الله حتى يصيب الأرض من دموعه لم يعذب يوم القيامة» (أخرجه الحاكم ) ความว่า ผู้ใดก็ตามที่รำลึกถึงอัลลอฮฺและร้องไห้ออกมาเพราะเกรงกลัวต่อพระองค์อย่างแท้จริง เขาจะไม่ถูกลงโทษในวันกิยามะฮฺ   พี่น้องผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺทุกท่าน             ถึงวินาทีนี้ พวกเราทุกคนคงได้รู้จักลักษณะของผู้ที่มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้ร่มเงาของอัรช์ในวันแห่งการสอบสวนกันแล้ว ทีนี้เราลองกลับมาทบทวนตัวเองดูซิว่า ขณะนี้เราเข้าข่ายลักษณะใดลักษณะหนึ่งด้วยหรือไม่ ถ้าไม่...ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพยายามนำหะดีษข้างต้นมาปฏิบัติในชีวิตของเรา เพื่อว่าในวันแห่งการสอบสวน เราจะได้มีร่มเงาของอัรช์มาบดบังแสงอาทิตย์อันร้อนระอุในเวลานั้นได้   بارك الله لي ولكم في القرآن العظيم ونفعني وإياكم من الآيات والذكر الكيم وتقبل مني ومنكم تلاوته إنه هو السميع العليم، وأستغفر الله لي ولكم ولسائر المسلمين من كل ذنب فاستغفروه إنه هو الغفور الرحيم  

المرفقات

2

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮฺให้อยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮฺให้อยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์