البحث

عبارات مقترحة:

الباطن

هو اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على صفة (الباطنيَّةِ)؛ أي إنه...

السبوح

كلمة (سُبُّوح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فُعُّول) من التسبيح،...

الولي

كلمة (الولي) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من الفعل (وَلِيَ)،...

การให้นม (อัร-เราะำฎออฺ)

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، ริซัลย์ สะอะ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات النكاح - الرضاع
บทว่าด้วย อัรเราะฎออฺ หรือการให้นม อธิบายความหมาย เงื่อนไข ผลที่ได้จากการให้นม และหุก่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

التفاصيل

การให้นมالرضاعแปลโดย : ริซัลย์ สะอะผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี, อุษมาน อิดรีสترجمة: ريزال أحمدمراجعة: فيصل عبدالهادي، عثمان إدريسด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอการให้นมالرضاعการให้นม คือ การดูดนมของเด็กที่อายุยังไม่ถึงสองขวบจากเต้านมของหญิงผู้ให้นม หรือดื่มจากนมที่คั้นออกมา หรือการกระทำอื่นๆ ในทำนองนี้ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวถึงลูกสาวของหัมซะฮฺว่า «لا تَـحِلُّ لِي، يَـحْرُمُ مِنَ الرَّضَاعِ مَا يَـحْرُمُ مِنَ النَّسَبِ، هِيَ ابْنَةُ أخِي مِنَ الرَّضَاعَةِ» ความว่า : "เธอไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับฉัน สิ่งถูกห้ามเพราะสาเหตุการให้นมนั้นเหมือนกับสิ่งถูกห้ามเพราะสาเหตุของการสืบเชื้อสกุล (เช่นการแต่งงาน เป็นต้น) นางคือลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่นมกับฉัน (หมายถึง นางมีฐานะเทียบเท่าหลานของท่าน นบี)" (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 2645 และสำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่ 1447 ) การเป็นมะหฺร็อมเนื่องจากการดื่มนม การเป็นที่ต้องห้ามจากการดื่มนม ต้องมีจำนวนห้าครั้งก่อนอายุสองขวบ เมื่อสตรีได้ให้นมแก่เด็กก่อนอายุสองขวบ ห้าครั้ง ก็ถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของนางและของสามีนาง และบุคคลที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับสามีแม่นมก็เป็นบุคคลที่ต้องห้ามสำหรับเขา และบุคคลที่ต้องห้ามสำหรับแม่นมก็เป็นบุคคลที่ต้องห้ามสำหรับเขาเช่นกัน และลูกของทั้งสองก็เป็นพี่น้องของเขา แต่พ่อแม่ของผู้ดื่มนมและต้นตระกูลของทั้งสองรวมถึงลูกหลานจะไม่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับแม่นมและผู้ที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้น พี่น้องชายจากการร่วมแม่นมของบุคคลหนึ่งอนุญาตให้แต่งงานกับพี่น้องหญิงจากเชื้อสายวงศ์ตระกูลของผู้ดื่มนมได้ และพี่น้องชายจากเชื้อสายวงศ์ตระกูลของเขา ก็มีสิทธิ์แต่งงานกับพี่น้องหญิงจากการร่วมดื่มนมของเขาผู้นั้นได้ลักษณะของการให้นม    เมื่อเด็กได้ดูดนมจากเต้านมแล้วเลิกด้วยตนเองโดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวาง ถือว่าเป็นดูดนมหนึ่งครั้ง หรือเปลี่ยนจากเต้านมข้างหนึ่งไปยังเต้านมอีกข้างหนึ่งก็ถือว่าได้ดูดนมหนึ่งครั้งเช่นกัน หากย้อนมาดูดอีกก็ถือเป็นสองครั้ง ซึ่งการพิจารณาในเรื่องนี้อยู่ที่จารีตประเพณี  และเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าถ้าหากหญิงผู้ให้นมนั้นเป็นสตรีที่ดีทั้งรูปร่างและอุปนิสัย รวมถึงเป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนา การยืนยันและยอมรับการให้นมจะให้เป็นที่ยอมรับในเรื่องการรวมดื่มนมนั้นต้องมีพยานชายสองคนให้การยืนยัน หรือชายหนึ่งคนกับหญิงสองคน หรือพยานหญิงคนเดียวที่ถูกยอมรับในเรื่องศาสนาของนาง ถึงแม้นางจะเป็นผู้ให้นมเองหรือไม่ก็ตาม ผลที่เกี่ยวข้องจากการให้นม1. เมื่อสตรีได้ให้นมแก่เด็กแม้นางจะเป็นหญิงสาวบริสุทธิ์หรือหญิงหม้ายก็ตามถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของนางในเรื่องการห้ามแต่งงานและอนุญาตให้มองและอยู่สองต่อสองในที่ลับตา และเป็นที่ต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้เป็นผู้ปกครอง ( วะลีย์ ) และไม่ใช่ผู้สืบทอดมรดก 2. นมสัตว์ไม่มีผลในการที่จะทำให้กลายเป็นที่ต้องห้าม (มะหฺร็อม) เหมือนนมสตรี ถ้าเลี้ยงเด็กสองคนโดยให้นมสัตว์ระหว่างเด็กทั้งสองนั้น ไม่ถือว่าทั้งสองเป็นมะหฺร็อมที่ต้องห้ามระหว่างกัน และการถ่ายเลือดจากผู้ชายไปยังผู้หญิงหรือจากผู้หญิงไปยังผู้ชายก็ไม่ถือว่าเป็นการรวมดื่มนม ดังนั้นระหว่างทั้งสองจึงไม่เป็นมะหฺร็อมที่ต้องห้ามในการแต่งงานและอื่นๆ 3. เมื่อมีการสงสัยในเรื่องการรวมดื่มนมหรือสงสัยจำนวนของการดื่มนมว่าครบห้าครั้งหรือไม่และไม่มีพยานมายืนยัน ถือว่าไม่เป็นผล คือไม่เป็นมะหฺร็อมที่ต้องห้าม เนื่องจากพื้นฐานดั้งเดิมนั้นคือไม่มีการยืนยันว่าได้ร่วมดื่มนม ข้อชี้ขาด( หุกม ) การดื่มนมของผู้ใหญ่ การดื่มนมที่มีผลให้เป็นที่ต้องห้ามนั้นต้องดื่มห้าครั้งหรือมากกว่าก่อนอายุสองขวบ หากมีความจำเป็นต้องให้ผู้ใหญ่ดื่มนมเนื่องจากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากการเข้าบ้านหรือมีอุปสรรคในการปกปิดเอารัต ถือว่าเป็นที่อนุมัติจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า جَاءَتْ سَهْلَةُ بِنْتُ سُهَيْلٍ إِلَى النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَتْ: يَا رَسُولَ الله! إِنِّي أرَى فِي وَجْهِ أبِي حُذَيْفَةَ مِنْ دُخُولِ سَالِـمٍ (وَهُوَ حَلِيفُهُ). فَقَالَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم «أرْضِعِيهِ». قَالَتْ: وَكَيْفَ أُرْضِعُهُ؟ وَهُوَ رَجُلٌ كَبِيرٌ؟ فَتَـبَسَّمَ رَسُولُ الله  وَقَالَ: «قَدْ عَلِـمْتُ أنَّـهُ رَجُلٌ كَبِيرٌ». زَادَ عَمْرٌو فِي حَدِيثِهِ: وَكَانَ قَدْ شَهِدَ بَدْرًا. متفق عليه ความว่า : สะฮฺละฮฺ บุตรีของสุฮัยลฺได้มาหาท่านเราะสูลลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลอฮฺ แท้จริงฉันได้เห็นสีหน้าของอบีหุซัยฟะฮฺหึงหวง จากการเข้าหาของท่านสาลิม  ท่านนบีจึงกล่าวว่า "จงให้เขาดื่มนมเสีย" สะฮฺละฮฺจึงกล่าวว่า ฉันจะให้เขาดื่มนมได้อย่างไรเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว? ท่านรอซูลุลอฮฺจึงยิ้มและกล่าวว่า "ฉันรู้แล้วว่าเขาเป็นผู้ใหญ่" ท่านอัมร์ได้เพิ่มเติมในหะดีษของเขาว่า และเขา(หมายถึงสาลิม)ได้ร่วมสู้รบในสงครามบะดัร (รายงานโดย บุคอรีย์ เลขที่ 4000 และมุสลิม เลขที่ 1453 สำนวนรายงานเป็นของท่าน)