البحث

عبارات مقترحة:

الباسط

كلمة (الباسط) في اللغة اسم فاعل من البسط، وهو النشر والمدّ، وهو...

الرزاق

كلمة (الرزاق) في اللغة صيغة مبالغة من الرزق على وزن (فعّال)، تدل...

الحليم

كلمةُ (الحليم) في اللغة صفةٌ مشبَّهة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل)؛...

หะดีษที่ 6 - การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกัน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ฮาเรส เจ๊ะโด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضل رمضان
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 6 - การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกัน พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 6 การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกัน   عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَجْهَلْ، وَإِنِ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي صَائِمٌ ـ مَرَّتَيْنِ». (البخاري رقم1761)   ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า “การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน (คือป้องกันไม่ให้ผู้ถือศีลอดประพฤติสิ่งที่ไม่ดี หรือป้องกันเขาจากการต้องเข้านรก) ดังนั้น(เมื่อผู้ใดถือศีลอด)แล้ว เขาอย่าได้พูดจาหยาบโลนและอย่าได้ประพฤติเยี่ยงผู้ที่ไร้จริยธรรม และหากแม้นมีผู้ใดต้องการทะเลาะเบาะแว้งหรือกล่าวด่าว่าร้ายเขา ก็ให้เขากล่าวแก่คนผู้นั้นว่า ‘แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด’ (คือให้กล่าวเพียงเท่านี้ โดยไม่ต้องตอบโต้ด้วยคำพูดอื่นที่อาจจะทำให้การถือศีลอดบกพร่อง)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1761)   คำอธิบายหะดีษ คำว่า “جُنَّةٌ” ที่หมายถึง โล่ป้องกัน ได้มีหะดีษหลายบทซึ่งให้ความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1.      จากการเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของสะอีด บิน มันซูร ให้ความหมายในแง่ของการระมัดระวังจากไฟนรก 2.      การเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของอัน-นะสาอีย์ หมายถึงการถือศีลอดนั้นเป็นเสมือนโล่กำบัง(ที่ถูกเตรียมไว้) โดยคนใดคนหนึ่งจากพวกท่านเพื่อป้องกันตัวในการสงคราม   บรรดาอุละมาอ์ยังได้ให้ทัศนะต่างๆ ดังนี้ 1.      อิบนุล อะษีรฺ เจ้าของหนังสือ “อัน-นิฮายะฮฺ” ระบุว่า การถือศีลอดนั้นสามารถปกป้องผู้ที่ถือศีลอดจากการรบกวนของอารมณ์ใฝ่ต่ำได้ 2.      อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า เป็นกำแพงกั้นในแง่ของการกำหนดบัญญัติให้ถือศีลอด ดังนั้นผู้ที่ถือศีลอดจะต้องรักษาสภาพการถือศีลอดของเขาจากทุกสิ่งที่อาจจะทำให้มันเสียหายหรือบกพร่อง หรือเป็นกำแพงกั้นในแง่ของการลดความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำ และเป็นไปได้ที่จะมีหมายความว่าเป็นกำแพงกั้นในแง่ของการได้รับผลบุญและเพิ่มพูนความดีงามต่างๆ อย่างมากมาย 3.      อัล-กอฎีย์ อิยาฎกล่าวว่า การถือศีลอดสามารถป้องกันจากบาปต่างๆ หรือจากไฟนรก หรือจากทั้งสองอย่างนั้นได้ ทัศนะนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหม่ามอัน-นะวะวีย์ 4.      อิบนุล อะเราะบีย์กล่าวว่า สาเหตุที่การถือศีลอดเป็นสิ่งที่สามารถปกป้องจากไฟนรกได้ก็เพราะว่าการถือศีลอดนั้นสามารถปกป้องจากการหลอกลวงของอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะว่านรกนั้นจะถูกล้อมรอบด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำนั่นเอง สรุป ในเมื่อการศีลอดสามารถปกป้องจากอารมณ์ใฝ่ต่ำของดุนยาแล้ว แน่นอนที่สุดการถือศีลอดก็สามารถปกป้องผู้ถือศีลอดจากไฟนรกในวันอาคิเราะฮฺได้เช่นกัน             และในกรณีที่ผู้ถือศีลอดได้รับการดูถูกเหยียดหยามและถูกด่าทอโดยผู้อื่น เขาจงกล่าวไปว่า “ฉันกำลังถือศีลอดอยู่” ไม่ว่าจะโดยทางวาจาหรือกล่าวในใจก็ได้   บทเรียนจากหะดีษ 1. ให้รักษามารยาทต่างๆ ในการถือศีลอด เพื่อจะได้รับผลของการถือศีลอดอย่างครบถ้วน 2. ระวังการกระทำต่างๆ ที่อาจทำให้ผลบุญของการถือศีลอดลงน้อยลง เช่น การพูดจาในสิ่งที่ไร้สาระ และการกระทำต่างๆ ที่เหมือนคนอวิชา 3. ห้ามผู้ที่ถือศีลอดตอบโต้ต่อคำพูดที่ด่าทอหรือเหยียดหยามตน 4. เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของการถือศีลอด เมื่อมีคำพูดที่เหยียดหยามตัวเขาแล้ว ให้ปฏิบัติตัวอย่างมั่นคงในฐานะเป็นผู้ที่ถือศีลอด 5. การไม่ตอบโต้คำพูดที่เหยียดหยามตน อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้นั้นกำลังถือศีลอดอยู่ 6. อิสลามสอนให้มุสลิมมีมารยาทที่ดีงามและมีความรู้ มิใช่มีมารยาทอย่างคนที่โง่เขลา

المرفقات

2

หะดีษที่ 6 - การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกัน
หะดีษที่ 6 - การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกัน