البحث

عبارات مقترحة:

المصور

كلمة (المصور) في اللغة اسم فاعل من الفعل صوَّر ومضارعه يُصَوِّر،...

الله

أسماء الله الحسنى وصفاته أصل الإيمان، وهي نوع من أنواع التوحيد...

الجبار

الجَبْرُ في اللغة عكسُ الكسرِ، وهو التسويةُ، والإجبار القهر،...

หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ฮาเรส เจ๊ะโด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 20 ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน   عَنْ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ عَنهُمَا قَالَ : كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ بِالْخَيْرِ، وَكَانَ أَجْوَدَ مَا يَكُونُ فِي شَهْرِ رَمَضَانَ، إِنَّ جِبْرِيلَ عَلَيْهِ السَّلاَمُ كَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ سَنَةٍ فِي رَمَضَانَ حَتَّى يَنْسَلِخَ، فَيَعْرِضُ عَلَيْهِ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْقُرْآنَ، فَإِذَا لَقِيَهُ جِبْرِيلُ كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيْحِ الْمُرْسَلَةِ. (البخاري رقم 5، مسلم رقم 4268)   ความว่า จากท่าน อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า “ในหมู่ผู้คนทั้งหลายนั้นท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นผู้ใจบุญที่สุดในการทำความดี (หมายถึงการให้ทานและทำความดีอื่นๆ) และท่านจะใจกว้างที่สุดในเดือนเราะมะฎอน ทั้งนี้ ทุกปี ญิบรีลจะมาพบกับท่านในทุกคืนของเราะมะฎอนจนกระทั่งหมดเดือน ท่านรอซูลจะอ่านศึกษาอัลกุรอานกับมะลาอิกะฮฺญิบรีล และแท้จริงท่านรอซูลนั้นเมื่อได้เจอญิบรีลแล้ว ท่านจะเป็นผู้ใจบุญในการทำความดีมากกว่า/ยิ่งใหญ่กว่าลมที่หอบพัดเสียอีก”  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5 และมุสลิม หมายเลข 4268)   คำอธิบายหะดีษ             ท่านอิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า “อัล-ญูด” หรือความเอื้อเฟื้อในความหมายตามบทบัญญัติอิสลาม คือ การให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมาะสมแก่คนที่มีสิทธิในสิ่งนั้น นั่นก็คือ จะมีความหมายกว้างกว่าการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเราะมะฎอนซึ่งเป็นฤดูแห่งการประกอบคุณความดี เพราะอัลลอฮฺจะทรงประทานความโปรดปรานลงมาแก่บ่าวของพระองค์ ซึ่งความโปรดปรานที่ว่าจะมีมากในเดือนเราะมะฎอน             ท่าน อัซ-ซัยน์ บิน อัล-มุนีรฺ กล่าวว่า ลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างความเอื้อเฟื้อของท่านรอซูลลุลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยความดีงามและความเอื้อเฟื้อของลมที่หอบพัด ลมในที่นี้ก็คือลมแห่งความโปรดปรานที่อัลลอฮฺประทานไว้ในการลงฝนทั่วฟ้า อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตกลงมาบนพื้นดินทั้งที่ตายแล้วและยังไม่ตาย ซึ่งหมายถึงว่า ความดีงามของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะครอบคลุมถึงคนที่มีความขัดสนและร่ำรวย ซึ่งมีมากกว่าฝนตกที่เกิดจากลมแรง (ฟัตหุลบารีย์ 4/611)             อิหม่าม อัน-นะวะวีย์ กล่าวว่า ในหะดีษดังกล่าวนั้นจะมีประโยชน์อยู่หลายประการ เช่น - ส่งเสริมให้มีความเอื้อเฟื้ออยู่ตลอดเวลา - ให้เพิ่มความเอื้อเฟื้อในเดือนเราะมะฎอน - ส่งเสริมให้อยู่ร่วมกับผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ - ให้มีการเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ - สุนัตให้อ่านอัลกุรอานมากๆ ในเดือนเราะมะฎอน - หลักฐานชี้ให้เห็นว่าอัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนเราะมะฎอน   บทเรียนจากหะดีษ > > > > 1.      แบบอย่างของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษนี้ก็คือ การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อในการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ  ซึ่งท่านมีจิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินกว่าผู้คนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเราะมะฎอนขณะที่ท่านพบกับมะลาอิกะฮฺญิบรีลทุกๆ คืน 2.      เชิญชวนประชาชาติมุสลิมทุกคนให้มีความเอื้อเฟื้อ เพื่อเจริญรอยตามแบบอย่างของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และหวังเพื่อได้รับผลบุญเท่าทวีคูณ 3.      ส่งเสริมให้มีการตะดัสรุสอัลกุรอาน(ศึกษาอัลกุรอาน)ในเดือนเราะมะฎอน โดยการสลับกันอ่านและรับฟัง ขณะเดียวกันส่งเสริมให้มีการตะดับบุร (ใคร่ครวญ) ในขณะอ่านอัลกุรอาน 4.      อัลกุรอานและเราะมะฎอนได้ปลูกฝังบุคลิกภาพมุสลิมเพื่อให้มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ 5.      ความประเสริฐของการมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮฺ) 6.      การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อยิ่งของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเปรียบเสมือนลมที่หอบพัดทั่วพื้นดิน

المرفقات

2

หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน
หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน