البحث

عبارات مقترحة:

الخلاق

كلمةُ (خَلَّاقٍ) في اللغة هي صيغةُ مبالغة من (الخَلْقِ)، وهو...

الفتاح

كلمة (الفتّاح) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) من الفعل...

หะดีษที่ 30 - การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์ ، ฮาเรส เจ๊ะโด
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الاعتكاف - العشر الأواخر
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 30 - การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ หะดีษบทที่ 30การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا زَوْجِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَعْتَكِفُ الْعَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللهُ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ. (البخاري رقم 1886، مسلم رقم 2006) ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ภรรยาของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เล่าว่า ท่านรอซูลได้ทำการอิอฺติก้าฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน(โดยไม่เคยละทิ้ง) จนกระทั่งอัลลอฮฺได้นำชีวิตของท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภริยาของท่านก็ได้เจริญรอยตามด้วยการอิอฺติกาฟ หลังจากท่านเสียชีวิต (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1886 และมุสลิม หมายเลข 2006) คำอธิบายหะดีษ ความหมายของคำว่า “اِعْتِكَاف" (อิอฺติกาฟ) นั้น อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวว่า การอิอฺติกาฟทางภาษาหมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสม่ำเสมอและจำกัดตัวเองในความสม่ำเสมอดังกล่าว ส่วนความหมายทางวิชาการคือ การพำนักอยู่ในมัสยิดด้วยการกระทำที่เฉพาะเจาะจง บรรดาอุลามาอ์มัซฮับทั้งสี่และมวลมุสลิมมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า หุก่มของการอิอฺติกาฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนนั้นเป็น สุนัต มุอักกะดะฮฺ (สุนัตที่ส่งเสริมและเน้นหนักให้ปฏิบัติอย่างยิ่ง) เนื่องจากเป็นการเจริญรอยตามซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเป็นการเชิญชวนเพื่อค้นหาค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ (ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม 8/67) บทเรียนจากหะดีษ1. การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอนเป็นอะมัลที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลง2. ส่งเสริมให้ทำอิอฺติกาฟตลอดทั้งสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน3. มีการกำหนด วัน เวลา และเดือนสำหรับการอิอฺติกาฟ คือ สิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน4. หุก่ม (สุนัต) ในการอิอฺติกาฟนั้นชัดเจน และไม่มีการโมฆะแม้กระทั่งหลังจากที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ซึ่งการอิอฺติกาฟยังได้รับการปฏิบัติต่อเนื่องมาโดยบรรดาภรรยาของท่านด้วยการอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน5. อิอฺติกาฟสำหรับเหล่าสตรีนั้นจะมีเงื่อนไขเฉพาะ เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้เป็นสามีหรือจากวะลีย์ของเธอ หากการอิอฺติกาฟทำภายในมัสยิดญามิอฺ(มัสยิดที่รวมคนละหมาดจำนวนมาก) สตรีจะต้องอยู่ในบริเวณที่เฉพาะแยกต่างหากจากผู้ชาย และเป็นสถานที่ที่ไม่ก่อความแออัดแก่ผู้ที่มาละหมาด ตลอดจนเงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับสตรีขณะอยู่ในมัสยิด

المرفقات

2

หะดีษที่ 30 - การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน
หะดีษที่ 30 - การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน