البحث

عبارات مقترحة:

الله

أسماء الله الحسنى وصفاته أصل الإيمان، وهي نوع من أنواع التوحيد...

الرحمن

هذا تعريف باسم الله (الرحمن)، وفيه معناه في اللغة والاصطلاح،...

الرقيب

كلمة (الرقيب) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل) أي:...

หะดีษที่ 39 - ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات صلاة العيدين - صلاة التطوع
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 39 - ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 39 ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ   عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ وَالأَضْحَى إِلَى الْمُصَلَّى، فَأَوَّلُ شَيْءٍ يَبْدَأُ بِهِ الصَّلاَةُ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ فَيَقُومُ مُقَابِلَ النَّاسِ وَالنَّاسُ جُلُوسٌ عَلَى صُفُوفِهِمْ فَيَعِظُهُمْ وَيُوصِيهِمْ وَيَأْمُرُهُمْ، فَإِنْ كَانَ يُرِيدُ أَنْ يَقْطَعَ بَعْثًا قَطَعَهُ، أَوْ يَأْمُرَ بِشَيْءٍ أَمَرَ بِهِ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ.  (البخاري رقم 903)   ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้วท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่านต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)   คำอธิบายหะดีษ             ในการให้คำอธิบายหะดีษดังกล่าว  ท่านอิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวว่า จากหลักฐานหะดีษนี้ ถือว่าสุนัตให้ออกไปสู่สนามเพื่อทำการละหมาดอีด แท้จริงแล้วสิ่งนั้นมีความประเสริฐกว่าการทำละหมาดอีดในมัสยิด เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้คงไว้ซึ่งการกระทำดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนความหมายของ “المصلى” มุศ็อลลา หรือ สนามละหมาดในหะดีษนี้เป็นสนามแห่งหนึ่งหรือเป็นพื้นที่กว้างที่ห่างออกไปจากมัสยิดอันนะบะวีย์  ประมาณ 1,000 ศอก (ฟัตหุลบารีย์ 2/449-450)             อัล-อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า เราได้รับ(รายงานมาว่า) แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ออกไปในทั้งสองวันอีดไปยังมุศ็อลลาในบริเวณนครมะดีนะฮฺ เฉกเช่นเดียวกับ (การกระทำ)ของบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮฺหลังจากสมัยของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยกเว้นเมื่อมีเหตุขัดข้องบางประการ เช่น ฝนตก เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ยกเว้นชาวมักกะฮฺเท่านั้น ไม่มีคำยืนยันว่าชาวสะลัฟสมัยก่อนมีทำการละหมาดอีดพร้อมๆ กันกับคนจำนวนมาก(ในมัสยิดใดๆ)ยกเว้นในมัสยิดอัลหะรอม และหากว่ามัสยิด(ในประเทศหรือหมู่บ้านมีความคับแคบ) ไม่สามารถที่จะบรรจุผู้คน(เมื่อทำการละหมาดอีด)  แต่อิหม่าม(ในสถานที่นั่น)ยังให้มีการทำละหมาดในสถานที่ดังกล่าว  ดังนั้น ข้าพเจ้า(มีความเห็นว่า)การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มักรูฮฺสำหรับพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องละหมาดซ้ำก็ตาม (อัล-อุมม์ ของ อัช-ชาฟิอีย์ 1/234)   บทเรียนจากหะดีษ 1.      ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แสดงแบบอย่างในการต้อนรับวันอีด 2.      การละหมาดวันอีด ณ มุศ็อลลา (ในสนามหรือที่ลานกว้าง)  เป็นสุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็ได้ดำเนินรอยตามท่าน 3.      การร่วมกันออกไปยังท้องสนามหรือที่ลานกว้างนั้น นับเป็นสัญญลักษณ์ของอิสลาม และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และพลังของประชาชาติอิสลาม 4.      สิ่งแรกที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำหลังจากรวมตัว ณ มุศ็อลลา คือ การละหมาดวันอีด อันเป็นการทำความภักดีต่ออัลลอฮฺและการขอขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ 5.      ศาสนาอิสลามได้บัญญัติให้มีการอ่านคุฏบะฮฺหลังจากละหมาดอีด เพื่อเป็นการตักเตือนแก่ผู้ร่วมละหมาด 6.      ผู้เข้าร่วมละหมาดอีดควรนั่งเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมที่จะรับฟังคำสอนและคำตักเตือนจากอิหม่าม

المرفقات

2

หะดีษที่ 39 - ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ
หะดีษที่ 39 - ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ