البحث

عبارات مقترحة:

الباطن

هو اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على صفة (الباطنيَّةِ)؛ أي إنه...

القريب

كلمة (قريب) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فاعل) من القرب، وهو خلاف...

الرحمن

هذا تعريف باسم الله (الرحمن)، وفيه معناه في اللغة والاصطلاح،...

คุณละหมาดแล้วหรือยัง ?

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الصلاة
มีคนมุสลิมจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนของเราทั้งชายและหญิง ที่กล้าละทิ้งการทำละหมาดโดยไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ ถึงแม้ว่าการละหมาดนั้นเป็นบทบัญญัติที่จะละเลยไม่ได้ ทั้งในยามสุขสบายหรือยามยากลำบาก แม้กระทั่งในยามศึกสงครามก็จำเป็นต้องทำการละหมาด บางคนเพียงแค่อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ หรือรถทัวร์เขาก็ไม่ยอมละหมาดด้วยเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ว่า กางเกงในสกปรก หรือไม่มีผ้าละหมาด บางคนไม่ละหมาดเพราะไม่รู้เรื่องการละหมาดเลย บางคนทิ้งละหมาดโดยไม่กลัวที่จะต้องติดบาปใหญ่ และจะต้องถูกลงโทษหนักในนรก ด้วยเหตุนี้เราถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้จักความสำคัญของการละหมาดโดยการตั้งคำถามว่า “เราละหมาดทำไม?"

التفاصيل

คุณละหมาดแล้วหรือยัง ?   "จงละหมาดเถิด ก่อนที่ท่านจะถูกละหมาด"   มีคนมุสลิมจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนของเราทั้งชายและหญิงที่กล้าละทิ้งการทำละหมาดโดยไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ ถึงแม้ว่าการละหมาดนั้นเป็นบทบัญญัติที่จะละเลยไม่ได้ ทั้งในยามสุขสบายหรือยามยากลำบาก แม้กระทั่งในยามศึกสงครามก็จำเป็นต้องทำการละหมาด บางคนเพียงแค่อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ หรือรถทัวร์เขาก็ไม่ยอมละหมาดด้วยเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ว่า กางเกงในสกปรก หรือไม่มีผ้าละหมาด บางคนไม่ละหมาดเพราะไม่รู้เรื่องการละหมาดเลย บางคนทิ้งละหมาดโดยไม่กลัวที่จะต้องติดบาปใหญ่และจะต้องถูกลงโทษหนักในนรก ด้วยเหตุนี้เราถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักความสำคัญของการละหมาดโดยการตั้งคำถามว่า “เราละหมาดทำไม?" และคำตอบคือ 1.  เราละหมาดเพราะการละหมาดเป็นหลักปฏิบัติของอิสลามที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก หลังจากกล่าวคำปฏิญาณตน ซึ่งถือว่าเป็นเสาหลักของศาสนาอิสลาม เมื่อใดเสาหลักล้มอิสลามที่เรากำลังนับถือนั้นก็จะล้มตามไปด้วย แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นการสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้เป็นเจ้าในฐานะเป็นผู้ทรงอภิบาล เป็นผู้สร้างเรา ให้ริสกีและความสะดวกต่าง ๆ นานาให้แก่เรา             2. เราดำรงการละหมาดเพราะเราเชื่อว่า อัลลอฮฺทรงบัญชาให้เราละหมาด ซึ่งเราจำเป็นต้องเชื่อฟัง พร้อมกับปฏิบัติตามให้ดีที่สุด และเพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮฺที่เราได้รับความโปรดปรานและความเมตตาอย่างล้นพ้นและอย่างไม่ขาดสาย ทุก ๆ วินาทีเราได้รับริซกี ได้รับเราะฮฺมัตและความสะดวกต่าง ๆจากอัลลอฮฺ ที่นับไม่ถ้วน   3. อะมัลอันดับแรกที่จะถูกพิจารณาในวันอะคีเราะฮฺคือการละหมาด ผู้ใดที่การละหมาดของเขานั้นดี ( ตรงต่อเวลาและมีสมาธิที่ดี ) เขาก็จะได้รับความสำเร็จ ส่วนผู้ที่การละหมาดของเขาบกพร่องและไม่ดี ( เช่นไม่ตรงต่อเวลา ไม่บริสุทธิ์ใจ ไม่มีสมาธิ เป็นต้น) เขาก็จะขาดทุน และจะเสียดายในภายหลัง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เปรียบเทียบคนละหมาดห้าเวลาว่า "ผู้ใดหากมีคลองอยู่บริเวณหน้าบ้านของเขา แล้วเขาได้อาบน้ำในคลองนั้นห้าเวลาต่อวันร่างกายของเขาจะยังติดสิ่งสกปรกอีกหรือ? พวกเศาะหาบะฮฺตอบว่า ไม่มีอะไรจะเหลือเลย ท่านนบีกล่าวว่า "แท้จริงการการละหมาดห้าเวลานั้นสามารถที่จะลบล้างบาปต่างๆ ดังน้ำที่สามารถจะลบล้างสกปรกได้" แน่นอนร่างกายของเขาก็สะอาดเนื่องจากเขาจำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด หรือ มีน้ำละหมาดทุกครั้งที่เขาจะทำการละหมาด ไม่ว่าการละหมาดห้าเวลา หรือ การละหมาดสุนัตต่างๆ และจิตใจของเขาก็บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งสกปรกต่างๆ ทางจิตใจโดยเฉพาะความสกปรกของบาปที่อิสลามถือว่าเป็นสิ่งสกปรกที่นำมาซึ่งอันตรายและความหายนะต่อมนุษย์ในโลกหน้า ซึ่งสอดกล้องกับการตรัสของอัลลอฮฺความว่า "แท้จริงการละหมาด (ที่ถูกต้อง) นั้นจะยับยั้งการทำลามกและความชั่ว" (อัลอันกะบูต :45 ) การละหมาดที่สมบูรณ์และมีความประเสริฐที่สุด คือ การละหมาดที่ถูกต้องทุกประการ ทั้งรูปแบบ ตรงต่อเวลาและการถ่อมตน มีสมาธิที่ดี ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้ความสำคัญของการละหมาดที่มีคุณค่ามากที่สุด ท่านกล่าวว่า "อะมัลที่ดีที่สุด หรือที่อัลลอฮฺทรงชอบที่สุด (ส่วนหนึ่ง) คือ การละหมาดตรงต่อเวลา" ตรงกันข้ามคนที่ทำการละหมาดที่ไม่ตรงต่อเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละหมาดนอกเวลาด้วยเจตนาโดยไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ยอมรับได้ในทางศาสนา หรือการละหมาดที่ไม่มีการสมาธิ ก็ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ไม่พึ่งประสงค์ในอิสลาม ยิ่งกว่านั้นเขาจะอยู่ในกลุ่มซาฮูน (พวกที่ละเลยต่อการละหมาด) ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาไว้จะลงโทษด้วยความหายนะและความวิบัติ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสในอัลกุรอานความว่า "ดังนั้นความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำการละหมาดคือผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา" (อัลมาอูน  : 4-5)   5. เราละหมาด เนื่องจากการละหมาดมีประโยชน์อันมากมายทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เช่น 5.1 การละหมาดเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นมุสลิมของเรา  เราสามารถที่จะแยกแยะระหว่างคนมุสลิมกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมได้ 5.2 การละหมาดเป็นคุณลักษณะของมุสลิมที่มีอามัลศอลิห์และมีอัคลาก/มารยาทที่ดีงาม 5.3 คนที่ดำรงการละหมาดเป็นผู้เดินทางแสวงหาความบริสุทธิ์ จากความเลวร้ายต่างๆ  และแสวงหาสวรรค์  ดังนั้นคนที่ดำรงการละหมาดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ เขาก็จะได้รับผลบุญและจะได้เข้าสวรรค์ ซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาปรานีต่อบ่าวที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์และรอซูล             6. เราไม่ทิ้งละหมาดเพราะการทิ้งละหมาดถือว่าเป็นการทรยศและฝ่าฝืนคำบัญชาของอัลลอฮฺและท่านรอซูล ยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นกาฟิรหากเขาปฏิเสธหุกุ่มวาญิบของการละหมาด               7. การละหมาดนั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิม ซึ่งต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ละหมาดถือว่าเราเป็นคนหนึ่งที่ทำลายศาสนาของเราเอง ซึ่งทุกวันนี้ศาสนาของเราถูกบิดเบือนมากพอสมควรแล้ว               8. เราละหมาดเพราะว่าเราต้องการจะตายในขณะที่เราอยู่ในสภาพเป็นมุสลิมที่ปฏิบัติหน้าที่ภักดีต่ออัลลอฮฺอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะการละหมาด "พวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาดนอกจากพวกเจ้าเป็นมุสลิมเท่านั้น" (อาล อิมรอน :102)               9. เราละหมาดเพราะเราไม่อยากเข้านรก ดังที่อัลลอฮฺได้ทรงถามถึงสาเหตุที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่เข้านรก “สะก็อร” พวกเขาตอบว่าเรามิได้อยู่ในหมู่ผู้ทำละหมาด  เรามิได้ให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัดสน และพวกเขาเคยมั่วสุมอยู่กับพวกที่มั่วสุม             ดังนั้นเรามาดำรงละหมาดเถอะ มาปฏิบัติอย่างถูกต้องตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนเราไว้ ละหมาดให้ตรงเวลาด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ที่เต็มเปี่ยมด้วยสมาธิ             จงชักชวนเพื่อน ๆ ของเราให้มาทำละหมาดเพื่อจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺและพ้นจากไฟนรกในวันอะคีเราะฮฺ จงละหมาดเถิด ก่อนที่ท่านจะถูกละหมาด และจงเตาบัต กลับใจไปสู่อัลลอฮฺเถิด ก่อนที่ประตูเตาบัตจะถูกปิด   ด้วยความปรารถนาดีจาก ชมรมส่งเสริมกิจการอิสลามปัตตานี