البحث

عبارات مقترحة:

المتين

كلمة (المتين) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل على وزن (فعيل) وهو...

القدير

كلمة (القدير) في اللغة صيغة مبالغة من القدرة، أو من التقدير،...

الشاكر

كلمة (شاكر) في اللغة اسم فاعل من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ทีมงาน บะนาตุลฮุดา ، ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة - حجاب المرأة المسلمة
คำถาม: ฉันต้องการทราบอายะฮฺอัลกุรอานเกี่ยวกับการคลุมหน้าของมุสลิมะฮฺ เพราะต้องการนำมันไปอธิบายกับผู้ที่ต้องการทราบว่าการคลุมหน้าของมุสลิมะฮฺเป็นข้อบังคับให้ปฏิบัติหรือไม่ ? จากเว็บอิสลามถามตอบ

التفاصيل

บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียด บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียด 1. หลักฐานจากอัลกุรอาน หลักฐานที่หนึ่ง  อัลลอฮฺตรัสความว่า หลักฐานที่สอง  อัลลอฮฺตรัสความว่า หลักฐานที่สาม  อัลลอฮฺตรัสว่า หลักฐานที่สี่  อัลลอฮฺตรัสว่า 2. หลักฐานจากซุนนะฮฺที่แสดงให้เห็นว่าการคลุมหน้าเป็นข้อบังคับต้องปฏิบัติ หลักฐานที่หนึ่ง  ท่านนบี  กล่าวว่า “เมื่อบุคคลหนึ่งจากพวกท่านไปสู่ขอสตรีแต่งงาน ก็ไม่เป็นบาปใดๆ แก่เขาในการมองนาง อันที่จริงเขาควรมองนางเพื่อจุดประสงค์ของการสู่ขอ แม้ว่านางจะไม่รู้ตัว” (บันทึกโดย อะหมัด ผู้เขียน มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด กล่าวว่า ผู้รายงานอยู่ในระดับเศาะฮีหฺ) หลักฐานที่สอง  เมื่อท่านนบี  สั่งว่าบรรดาสตรีสมควรไปยังสถานที่ละหมาดอีด  พวกนางกล่าวว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  บางคนของพวกเราไม่มีญิลบาบ”  ท่านกล่าวว่า “ให้พี่น้องของนางมอบญิลบาบให้นางสวมใส่” (บันทึกโดย อัลบุคอรีและมุสลิม) หลักฐานที่สาม  ถูกบันทึกในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีและมุสลิมจากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ  กล่าวว่า ท่านร่อซูล  ไปละหมาดศุบหฺ และสตรีผู้ศรัทธาได้เข้าร่วมละหมาดกับท่านโดยห่มกายด้วยหิญาบ  หลังจากนั้นพวกนางจะกลับบ้านโดยไม่มีใครจำพวกนางได้เพราะความมืด ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า “หากท่านร่อซูลุลลอฮฺ  เห็นสตรีอย่างที่เราเห็นในขณะนี้(หมายถึงหลังจากที่ท่านนบีเสียชีวิต) ท่านจะต้องขัดขวางนางจากการมามัสญิดเช่นเดียวกับที่ลูกหลานของอิสรออีลขัดขวางสตรีของพวกเขา” (มีรายงานที่คล้ายกันจากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด ) หลักฐานที่สี่  รายงานจากอิบนุอุมัร เล่าว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า “บุคคลใดปล่อยให้เสื้อผ้ายาวลากด้วยความหยิ่งยะโส อัลลอฮฺจะไม่ทรงมองเขาในวันแห่งการพิพากษา”  ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ  กล่าวว่า “สตรีควรทำอย่างไรกับชายผ้าของพวกนาง”  ท่านร่อซูล  กล่าวว่า “ปล่อยชายผ้าลงมาหนึ่งคืบมือ”  นางกล่าวว่า “แล้วถ้าหากมันเปิดเผยเท้าของนางล่ะ” ท่านร่อซูล  กล่าวว่า “ปล่อยชายผ้าลงมาศอกหนึ่ง แต่ห้ามมากกว่านี้” (บันทึกโดย อัตติรมีซี จัดอยู่ในระดับเศาะฮีหฺโดย อัลอัลบานี ใน เศาะฮีหฺ อัตติรมีซี) หลักฐานที่ห้า รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ว่า “มีผู้ขี่พาหนะผ่านมายังพวกเรา เมื่อพวกเราอยู่กับท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ในสภาพครองอิหฺรอม  เมื่อพวกเขาเข้ามาใกล้ เราจะปล่อยญิลบาบจากศีรษะลงมาคลุมใบหน้า  และเมื่อพวกเขาผ่านไปแล้วเราจึงเปิดเผยใบหน้าของเรา” (บันทึกโดย อบูดาวูด, 1562) หลักฐานข้อที่ 10 คือ การใช้หลักการพิสูจน์เหตุผลและการเทียบเคียง ซึ่งเป็นหลักการของชะรีอะฮฺที่สมบูรณ์แบบที่ประสงค์จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ดีที่สุดและส่งเสริมแนวทางที่จะนำไปสู่สิ่งนั้น  และเป็นการเพิกถอนความชั่วร้ายและป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งดังกล่าว  บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียดحكم تغطية الوجه بالأدلة التفصيليةเว็บอิสลาม ถามตอบแปลโดย : ทีมงานเว็บบะนาตุลฮุดาموقع الإسلام سؤال وجوابترجمة: فريق موقع بنات الهدىด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียดคำถาม:ฉันต้องการทราบอายะฮฺอัลกุรอานเกี่ยวกับการคลุมหน้าของมุสลิมะฮฺ เพราะต้องการนำมันไปอธิบายกับผู้ที่ต้องการทราบว่าการคลุมหน้าของมุสลิมะฮฺเป็นข้อบังคับให้ปฏิบัติหรือไม่?คำตอบ:มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การคลุมหิญาบของมุสลิมะฮฺต่อหน้าชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อมและการปกปิดใบหน้าของพวกนางนั้นเป็นข้อบังคับที่ระบุในคัมภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่านนบี  โดยพิจารณาหลักฐานดังนี้ 1. หลักฐานจากอัลกุรอาน หลักฐานที่หนึ่ง  อัลลอฮฺตรัสความว่า ﴿وَقُل لِّلْمُؤْمِنَاتِ يَغْضُضْنَ مِنْ أَبْصَارِهِنَّ وَيَحْفَظْنَ فُرُوجَهُنَّ وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَلْيَضْرِبْنَ بِخُمُرِهِنَّ عَلَى جُيُوبِهِنَّ وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا لِبُعُولَتِهِنَّ أَوْ آبَائِهِنَّ أَوْ آبَاء بُعُولَتِهِنَّ أَوْ أَبْنَائِهِنَّ أَوْ أَبْنَاء بُعُولَتِهِنَّ أَوْ إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِي إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِي أَخَوَاتِهِنَّ أَوْ نِسَائِهِنَّ أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُنَّ أَوِ التَّابِعِينَ غَيْرِ أُوْلِي الْإِرْبَةِ مِنَ الرِّجَالِ أَوِ الطِّفْلِ الَّذِينَ لَمْ يَظْهَرُوا عَلَى عَوْرَاتِ النِّسَاء وَلَا يَضْرِبْنَ بِأَرْجُلِهِنَّ لِيُعْلَمَ مَا يُخْفِينَ مِن زِينَتِهِنَّ وَتُوبُوا إِلَى اللهِ جَمِيعاً أَيُّهَا الْمُؤْمِنُونَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ﴾ (النور : 31 )ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) แก่บรรดามุมินะฮฺ (ผู้ศรัทธาหญิง) ให้พวกนางลดสายตาของพวกนางลงต่ำ (จากการมองสิ่งต้องห้าม) และให้พวกนางรักษาทวาร (อวัยวะเพศ) ของพวกนาง (จากการประพฤติผิดทางเพศ) และอย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนาง เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้ (เช่น ตาข้างหนึ่งหรือสองข้างเพื่อใช้มอง เสื้อคลุมข้างนอก ถุงมือ) และให้นางปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของพวกนางลงมาจนถึงญุยูบิฮินนะ (ร่างกาย ใบหน้า คอ และหน้าอกของพวกนาง) และอย่าให้พวกนางเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนาง เว้นแต่แก่สามีของพวกนาง หรือบิดาของพวกนาง หรือบิดาของสามีของพวกนาง หรือลูกชายของพวกนาง หรือลูกชายของสามีของพวกนาง หรือพี่ชายน้องชายของพวกนาง หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกนาง หรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกนาง หรือพวกผู้หญิง (มุสลิมะฮฺ) ของพวกนาง หรือที่มือขวาของพวกนางครอบครอง (ทาสี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง และอย่าให้นางกระทืบเท้าของพวกนาง เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกนางควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกนาง และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” [อันนูร 24:31]หลักฐานจากอายะฮฺนี้แสดงให้เห็นว่าหิญาบเป็บข้อบังคับสำหรับมุสลิมะฮฺ ดังต่อไปนี้ก.  อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้สตรีผู้ศรัทธาปกป้องความบริสุทธิ์ของพวกนางและคำสั่งใช้นี้เป็นการสั่งให้ปฏิบัติทุกสิ่งที่อยู่ในแนวทางดังกล่าว  ผู้ที่มีเหตุผลจะไม่สงสัยเลยว่าการปฏิบัติสิ่งที่ปกป้องความบริสุทธิ์คือการคลุมหน้า เพราะการไม่คลุมหน้าเป็นสาเหตุให้คนมองและพึงพอใจกับความสวยของใบหน้าแล้วนำสู่การติดต่อกัน ท่านร่อซูล  กล่าวว่า “ดวงตาทำซินา และซินาของมันคือการมอง” จากนั้นท่านกล่าวว่า “และอวัยวะเพศ (ของชายและหญิง) เป็นเคริ่องยืนยันความเป็นจริงหรือโกหก” (บันทึกโดย อัลบุคอรี, 6612; มุสลิม, 2657)ดังนั้น หากการคลุมหน้าเป็นวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งการปกป้องความบริสุทธิ์ของตนเองวิธีหนึ่ง มันก็ย่อมเป็นคำสั่งให้ปฏิบัติ เพราะตามหลักการศาสนานั้น กฎของวิธีการคือกฎของเป้าหมายข.  อัลลอฮฺตรัสความว่า “...และให้นางปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของพวกนางลงมาถึงญุยูบิฮินนะ...” ญัยบฺ -جيب  (พหูพจน์คือ ญุยูบ - جيوب) คือ เสื้อผ้าที่เปิดคอ  และคิมาร - خمار คือ สิ่งที่ผู้หญิงใช้คลุมศีรษะ  หากมุสลิมะฮฺถูกสั่งใช้ให้ปกปิดเสื้อผ้าที่เปิดคอ ดังนั้นนางย่อมถูกสั่งใช้ให้ปิดใบหน้าไม่ว่าจะโดยนัยยะแฝงหรือโดยการเปรียบเทียบ  หากมีคำสั่งใช้ให้ปกปิดลำคอและหน้าอกแล้ว การที่จะคลุมหน้าก็สมควรจะปฏิบัติมากกว่าเพราะใบหน้าเป็นจุดสวยงามและน่าดึงดูดค.  อัลลอฮฺทรงห้ามเปิดเผยเครื่องประดับทุกชนิดยกเว้นสิ่งที่ปรากฏภายนอก ซึ่งมิได้มีเจตนาโอ้อวด เช่น ด้านนอกของเสื้อผ้า  แท้จริงอัลลอฮฺตรัสว่า “ยกเว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้” พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า “ยกเว้นสิ่งที่ผู้หนึ่งเปิดเผยมัน”  ชาวสะลัฟบางคน เช่น อิบนุมัสอูด อัลหะซัน อิบนุซีรีน และคนอื่นๆ ตีความหมายของประโยค “ยกเว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้” ว่าหมายถึงภายนอกของเสื้อผ้าและสิ่งที่ล้ำจากเสื้อผ้าภายนอก (เช่น ชายกระโปรงที่สวมข้างใน)  และอัลลอฮฺทรงห้ามอีกครั้งในการเปิดเผยเครื่องประดับ (ในท้ายอายะฮฺ) ยกเว้นต่อบุคคลที่พระองค์ทรงยกเว้น  เครื่องประดับในครั้งที่สองนี้อ้างถึงสิ่งที่นอกเหนือจากเครื่องประดับในครั้งแรก  เครื่องประดับแรกคือเครื่องประดับภายนอกที่ปรากฏแก่ทุกคนซึ่งไม่สามารถปกปิดได้  ส่วนเครื่องประดับที่สองคือเครื่องประดับภายใน (รวมถึงใบหน้า)  ถ้าหากเครื่องประดับที่สองเป็นสิ่งที่ยอมให้มองได้สำหรับทุกคน ก็ไม่มีเหตุผลที่ใช้คำทั่วไปในครั้งแรกและยกเว้นอีกครั้งในครั้งที่สองง.  อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้มุสลิมะฮฺเปิดเผยเครื่องประดับภายในของพวกนางแก่ “คนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ” เช่น คนใช้ผู้ชายที่ไม่ปรารถนาเรื่องเพศ และเด็กเล็กที่ยังไม่บรรลุวัยที่จะมีความปรารถนาเรื่องเพศและยังไม่เคยเห็นเอาเราะฮฺของสตรี สิ่งดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า1-  ไม่อนุญาตให้เปิดเผยเครื่องประดับภายในแก่ชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม ยกเว้นบุคคลสองประเภทที่กล่าวไปแล้ว2-  เหตุผลสำหรับบทบัญญัตินี้คือเกรงว่าผู้ชายจะถูกยั่วยวนโดยสตรีและตกหลุมรักนาง  ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าใบหน้าคือสิ่งที่สวยงามและดึงดูดใจ  ดังนั้นการคลุมหน้าจึงเป็นข้อบังคับเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชายเกิดความรู้สึกว่าถูกดึงดูดและยั่วยวนจากสตรีจ.  จากดำรัสความว่า “อย่าให้นางกระทืบเท้าของพวกนาง เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกนางควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกนาง” หมายความว่ามุสลิมะฮฺต้องไม่กระทืบเท้าเพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงเครื่องประดับที่ถูกปกปิดอยู่ภายใต้เสื้อผ้า เช่น กำไลเท้าและสิ่งอื่นๆ  เมื่อมุสลิมะฮฺถูกห้ามไม่ให้กระทืบเท้าเพื่อไม่ให้ผู้ชายคิดว่าถูกยั่วยวนด้วยเสียงกำไลข้อเท้าแล้ว เหตุใดจึงไม่คลุมหน้าซึ่งยั่วยวนมากกว่า ? สิ่งใดเป็นการดึงดูดมากกว่ากัน ระหว่างการที่ผู้ชายได้ยินเสียงกำไลข้อเท้าของสตรีที่เขาไม่รู้ว่านางสวยหรือไม่สวย สาวหรือชรา น่าเกลียดหรือน่ารัก กับการที่เขามองใบหน้าอันสวยงามและอ่อนเยาว์ซึ่งดึงดูดและเชิญชวนเขาให้มองมัน ผู้ชายทุกคนที่มีความปรารถนาในตัวสตรีจะรู้ว่าสิ่งไหนดึงดูดมากกว่าและสิ่งไหนสมควรถูกปกปิด หลักฐานที่สอง  อัลลอฮฺตรัสความว่า ﴿وَالْقَوَاعِدُ مِنَ النِّسَاء اللَّاتِي لَا يَرْجُونَ نِكَاحاً فَلَيْسَ عَلَيْهِنَّ جُنَاحٌ أَن يَضَعْنَ ثِيَابَهُنَّ غَيْرَ مُتَبَرِّجَاتٍ بِزِينَةٍ وَأَن يَسْتَعْفِفْنَ خَيْرٌ لَّهُنَّ وَاللهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ﴾ (النور : 60 )ความว่า “และบรรดาหญิงวัยชราซึ่งพวกนางไม่ปรารถนาที่จะสมรสแล้ว ไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกนางที่จะเปลื้องเสื้อผ้า (ภายนอก) ของนางออก โดยไม่เปิดเผยส่วนงดงาม และหากพวกนางงดเว้นเสียก็จะเป็นการดีแก่พวกนาง และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” [อันนูร 24:60]            หลักฐานจากอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺทรงชี้ให้เห็นว่า ไม่มีบาปแก่หญิงชราที่ไม่ปรารถนาจะแต่งงาน เพราะผู้ชายไม่มีความปรารถนาต่อพวกนาง เนื่องจากความชราของนาง  การเปลื้องเสื้อนอกของหญิงชรามีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีเจตนาเปิดเผยเกินควร  ความจริงที่ว่าหลักการนี้ใช้สำหรับหญิงชราเท่านั้น แสดงให้เห็นความแตกต่างต่อบทบัญญัติของหญิงสาวที่หวังจะแต่งงาน  เพราะหากบัญญัติการเปลื้องเสื้อนอกอนุมัติแก่ทุกคน ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะจงหญิงชราดังตัวบทนี้สำหรับวลี “โดยไม่เปิดเผยส่วนงดงาม” เป็นการสนับสนุนว่าหิญาบเป็นข้อบังคับสำหรับหญิงสาวที่หวังจะแต่งงาน เพราะโดยทั่วไป การไม่ปกปิดใบหน้านั้นมีเจตนาเปิดเผยอย่างเกินควร (ตะบัรรุจ) เพื่อโอ้อวดความสวยงามและทำให้ผู้ชายมอง ชื่นชม และอื่นๆ  สำหรับสตรีที่ไม่มีเจตนาอย่างนี้ถือว่าเกือบไม่มีเลย  และกฎของสิ่งที่เกือบไม่มีนั้นก็เหมือนกับสิ่งที่ไม่มี  หลักฐานที่สาม  อัลลอฮฺตรัสว่า ﴿يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ قُل لِّأَزْوَاجِكَ وَبَنَاتِكَ وَنِسَاء الْمُؤْمِنِينَ يُدْنِينَ عَلَيْهِنَّ مِن جَلَابِيبِهِنَّ ذَلِكَ أَدْنَى أَن يُعْرَفْنَ فَلَا يُؤْذَيْنَ وَكَانَ اللهُ غَفُوراً رَّحِيماً﴾ (الأحزاب : 59 )ความว่า “โอ้นบี (มุฮัมมัด) เอ๋ย จงกล่าวแก่บรรดาภรรยาของเจ้าและบุตรสาวของเจ้า และบรรดาหญิงของบรรดาผู้ศรัทธา ให้พวกนางดึงเสื้อคลุมของพวกนางลงมาปิดตัวของพวกนาง (ปกปิดเรือนร่างอย่างสมบูรณ์ ยกเว้นตาข้างหนึ่งหรือสองข้างเพื่อใช้มอง) นั่นเป็นการเหมาะสมกว่าที่นางจะเป็นที่รู้จัก (ในสภาพหญิงอิสรชน) เพื่อที่พวกนางจะไม่ถูกรบกวน และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” [อัลอะหฺซาบ 33:59]อิบนุ อับบาส  กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงสั่งใช้สตรีผู้ศรัทธา เมื่อออกนอกบ้านด้วยความจำเป็น ให้ปกปิดใบหน้าของนางตั้งแต่จุดสูงสุดของศีรษะด้วยญิลบาบ และเปิดตาไว้ข้างหนึ่งตัฟซีรของเศาะหาบะฮฺคือหลักฐาน อันที่จริงนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มันอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เป็นรายงานมัรฟูอฺ ซึ่งอ้างอิงกลับไปยังท่านนบี  (มีระดับเทียบเท่าหะดีษของท่านนบี  - ผู้แปล)สำหรับ “การเปิดตาไว้ข้างหนึ่ง” กระทำได้เพราะจำเป็นต้องมองทาง หากไม่จำเป็นต้องมองทางดวงตาไม่ควรถูกเปิดเผยญิลบาบ คือ เสื้อผ้าข้างนอกที่คลุมทับคิมาร (ผ้าคลุมศีรษะ) มีลักษณะคล้ายกับอะบายะฮฺ หลักฐานที่สี่  อัลลอฮฺตรัสว่า ﴿لَّا جُنَاحَ عَلَيْهِنَّ فِي آبَائِهِنَّ وَلَا أَبْنَائِهِنَّ وَلَا إِخْوَانِهِنَّ وَلَا أَبْنَاء إِخْوَانِهِنَّ وَلَا أَبْنَاء أَخَوَاتِهِنَّ وَلَا نِسَائِهِنَّ وَلَا مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُنَّ وَاتَّقِينَ اللهَ إِنَّ اللهَ كَانَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ شَهِيداً﴾ (الأحزاب : 55 )ความว่า “ไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกนาง (บรรดาภรรยาของท่านนบี  ที่จะไม่คลุมหิญาบ) ต่อหน้าบิดาของพวกนาง และลูกๆ ของพวกนาง และพี่น้องผู้ชายของพวกนาง และลูกชายของพี่น้องหญิงของพวกนาง และบรรดาผู้หญิง (มุสลิมะฮฺ) ของพวกนาง และที่มือขวาของพวกนางครอบครอง (ทาสี) และพวกนางจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง” [อัลอะหฺซาบ 33:55]อิบนุ กะษีร رحمه الله กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้สตรีคลุมหิญาบเมื่ออยู่ต่อหน้าชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม เขาอธิบายว่า สตรีไม่ต้องคลุมหิญาบเมื่ออยู่ต่อหน้าบรรดาญาติที่ระบุในอายะฮฺนี้ เช่นเดียวกับญาติที่อัลลอฮฺทรงระบุไว้ในซูเราะฮฺอันนูร อัลลอฮฺตรัสความว่า “เว้นแต่แก่สามีของพวกนาง...” 2. หลักฐานจากซุนนะฮฺที่แสดงให้เห็นว่าการคลุมหน้าเป็นข้อบังคับต้องปฏิบัติ หลักฐานที่หนึ่ง  ท่านนบี  กล่าวว่า “เมื่อบุคคลหนึ่งจากพวกท่านไปสู่ขอสตรีแต่งงาน ก็ไม่เป็นบาปใดๆ แก่เขาในการมองนาง อันที่จริงเขาควรมองนางเพื่อจุดประสงค์ของการสู่ขอ แม้ว่านางจะไม่รู้ตัว” (บันทึกโดย อะหมัด ผู้เขียน มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด กล่าวว่า ผู้รายงานอยู่ในระดับเศาะฮีหฺ)หลักฐานนี้แสดงความจริงว่า ท่านนบี  กล่าวว่า ไม่มีบาปแก่ชายที่เขามองสตรีเพื่อสู่ขอแต่งงาน โดยมีเงื่อนไขว่าการมองต้องมีจุดประสงค์เพื่อขอแต่งงานเท่านั้น สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการมองสตรีที่ไม่ใช่มะหฺร็อมในสภาพการณ์ปกตินั้นเป็นบาป เช่นเดียวกับบุคคลที่กำลังขอแต่งงานแต่มองสตรีด้วยจุดประสงค์อื่นนอกจากการขอแต่งงาน เช่น เพื่อความเพลิดเพลิน มีผู้กล่าวว่าหะดีษนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามองส่วนใด ซึ่งอาจหมายถึงการมองหน้าอกหรืออื่นๆ  คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ชายที่สู่ขอสตรีเพื่อแต่งงานจะมองที่ใบหน้าเพราะเป็นศูนย์รวมความสวยงาม โดยไม่ต้องสงสัยว่าเป็นส่วนอื่น หลักฐานที่สอง  เมื่อท่านนบี  สั่งว่าบรรดาสตรีสมควรไปยังสถานที่ละหมาดอีด  พวกนางกล่าวว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  บางคนของพวกเราไม่มีญิลบาบ”  ท่านกล่าวว่า “ให้พี่น้องของนางมอบญิลบาบให้นางสวมใส่” (บันทึกโดย อัลบุคอรีและมุสลิม) หะดีษนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ปฏิบัติกันเป็นปกติในหมู่เศาะหาบียะฮฺคือ พวกนางจะไม่ออกจากบ้านโดยไม่สวมญิลบาบ และหากนางไม่มีญิลบาบก็จะไม่ออกจากบ้าน  คำสั่งที่ให้สวมญิลบาบนี้ชี้ชัดว่าจำเป็นต้องปกปิดใบหน้า  และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ที่สุด หลักฐานที่สาม  ถูกบันทึกในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีและมุสลิมจากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ  กล่าวว่า ท่านร่อซูล  ไปละหมาดศุบหฺ และสตรีผู้ศรัทธาได้เข้าร่วมละหมาดกับท่านโดยห่มกายด้วยหิญาบ  หลังจากนั้นพวกนางจะกลับบ้านโดยไม่มีใครจำพวกนางได้เพราะความมืด ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า “หากท่านร่อซูลุลลอฮฺ  เห็นสตรีอย่างที่เราเห็นในขณะนี้(หมายถึงหลังจากที่ท่านนบีเสียชีวิต) ท่านจะต้องขัดขวางนางจากการมามัสญิดเช่นเดียวกับที่ลูกหลานของอิสรออีลขัดขวางสตรีของพวกเขา” (มีรายงานที่คล้ายกันจากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด )หลักฐานจากหะดีษนี้ครอบคลุม 2 ประการต่อไปนี้1-  หิญาบและการปกปิดเป็นการปฎิบัติของเหล่าเศาะหาบียะฮฺ ซึ่งเป็นชนชาติ (รุ่น) ที่ดีที่สุดและมีเกียรติที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺ2-  ท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของผู้ศรัทธาและอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด رضى الله عنهم ทั้งสองเป็นนักปราชญ์ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้ง ทั้งสองกล่าวว่า หากท่านร่อซูลุลลอฮฺ  เห็นสตรีอย่างที่เราเห็น ท่านจะต้องขัดขวางนางจากการมามัสญิด  สิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาของชนชาติที่ดีที่สุด ดังนั้นอะไรเล่าที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้! หลักฐานที่สี่  รายงานจากอิบนุอุมัร เล่าว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า “บุคคลใดปล่อยให้เสื้อผ้ายาวลากด้วยความหยิ่งยะโส อัลลอฮฺจะไม่ทรงมองเขาในวันแห่งการพิพากษา”  ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ  กล่าวว่า “สตรีควรทำอย่างไรกับชายผ้าของพวกนาง”  ท่านร่อซูล  กล่าวว่า “ปล่อยชายผ้าลงมาหนึ่งคืบมือ”  นางกล่าวว่า “แล้วถ้าหากมันเปิดเผยเท้าของนางล่ะ” ท่านร่อซูล  กล่าวว่า “ปล่อยชายผ้าลงมาศอกหนึ่ง แต่ห้ามมากกว่านี้” (บันทึกโดย อัตติรมีซี จัดอยู่ในระดับเศาะฮีหฺโดย อัลอัลบานี ใน เศาะฮีหฺ อัตติรมีซี)หะดีษนี้ชี้ให้เห็นว่าการปกปิดเท้าเป็นข้อบังคับสำหรับสตรีและเป็นสิ่งที่ทราบกันดีในหมู่เศาะหาบียะฮฺ  แน่นอนว่าเท้ามีความยั่วยวนน้อยกว่าใบหน้าและฝ่ามือ ดังนั้นการเตือนในสิ่งที่รุนแรงน้อยกว่ากับการเตือนในสิ่งที่มีความรุนแรงมากกว่า สิ่งใดควรเป็นข้อบังคับใช้มากกว่ากัน  หิกมะฮฺ (คุณค่า ความรอบรู้ ความเหมาะสม – ผู้แปล) ของชะรีอะฮฺนี้หมายความว่า จะไม่บังคับให้ปกปิดสิ่งที่ยั่วยวนน้อยกว่าแล้วอนุญาตให้เปิดเผยสิ่งที่ยั่วยวนมากกว่า  นี่เป็นข้อขัดแย้งที่เป็นไปไม่ได้และมิใช่คุณลักษณะแห่งหิกมะฮฺและบทบัญญัติของอัลลอฮฺ หลักฐานที่ห้า รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ว่า “มีผู้ขี่พาหนะผ่านมายังพวกเรา เมื่อพวกเราอยู่กับท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ในสภาพครองอิหฺรอม  เมื่อพวกเขาเข้ามาใกล้ เราจะปล่อยญิลบาบจากศีรษะลงมาคลุมใบหน้า  และเมื่อพวกเขาผ่านไปแล้วเราจึงเปิดเผยใบหน้าของเรา” (บันทึกโดย อบูดาวูด, 1562) ประโยค “เมื่อพวกเขาเข้ามาใกล้ เราจะปล่อยญิลบาบจากศีรษะลงมาคลุมใบหน้า”  ชี้ให้เห็นว่าการคลุมหน้าเป็นข้อบังคับ เพราะเงื่อนไขในการครองอิหฺรอมคือห้ามคลุมหน้า  หากไม่มีเหตุผลแข็งแรงพอที่ห้ามคลุมหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องคลุมหน้าเมื่อมีผู้ขี่พาหนะผ่านมา  พูดอีกอย่างก็คือ สตรีถูกสั่งห้ามปกปิดใบหน้าระหว่างครองอิหฺรอมตามทรรศนะส่วนมากของบรรดานักวิชาการ และไม่สิ่งใดที่จะยกเลิกข้อบังคับได้ยกเว้นสิ่งอื่นที่เป็นข้อบังคับเช่นเดียวกัน  หากการคลุมหิญาบและการคลุมหน้าไม่เป็นที่บังคับเมื่ออยู่ต่อหน้าชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม ก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะห้ามคลุมหน้าเมื่อครองอิหฺรอม  จากหลักฐานในตำราเศาะฮีหฺทั้งสองของอัลบุคอรีและมุสลิม และที่อื่นๆ พบว่าห้ามสตรีที่ครองอิหฺรอมสวมนิกอบ(ผ้าคลุมหน้า)และถุงมือชัยคฺ อัลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า นี่คือสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่านิกอบและถุงมือเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่สตรีที่ไม่ได้ครองอิหฺรอม ซึ่งหมายความว่าพวกนางปกปิดใบหน้าและมือดังที่กล่าวมาแล้วคือหลักฐาน 9 ข้อจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ หลักฐานข้อที่ 10 คือ การใช้หลักการพิสูจน์เหตุผลและการเทียบเคียง ซึ่งเป็นหลักการของชะรีอะฮฺที่สมบูรณ์แบบที่ประสงค์จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ดีที่สุดและส่งเสริมแนวทางที่จะนำไปสู่สิ่งนั้น  และเป็นการเพิกถอนความชั่วร้ายและป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งดังกล่าวหากเราได้พิจารณาถึงการไม่คลุมหิญาบและเปิดเผยใบหน้าของสตรีแก่ชายที่ไม่ใช่มะหฺร็อม จะพบว่ามันเป็นสาเหตุนำไปสู่ผลร้ายมากมาย  แม้จะสันนิษฐานว่าการเปิดใบหน้ามีประโยชน์บางอย่าง แต่ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลลบที่เกิดจากมัน  ผลกระทบเหล่านั้นประกอบด้วย1- ฟิตนะฮฺ: การไม่คลุมหน้าของสตรีจะล่อลวงให้นางประดับประดาใบหน้าให้สวยงามยิ่งขึ้น นี่เป็นสาเหตุใหญ่ของความชั่วร้ายและความเสื่อมโทรม2- พรากความละอายไปจากสตรี:  ซึ่งความละอายเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธาและธรรมชาติของสตรี (ฟิฏเราะฮฺ)  สตรีคือแบบอย่างของความละอาย ดังคำกล่าวที่ว่า “อายมากยิ่งกว่าสาวบริสุทธิ์ที่เก็บตัว”  การพรากความละอายของสตรีออกไปเป็นการทำลายความศรัทธาและธรรมชาติที่นางถูกสร้างขึ้น3- ผู้ชายจะถูกสตรีดึงดูดใจ: โดยเฉพาะหากสตรีผู้นั้นสวยหรือมีเสน่ห์ หัวเราะง่ายและอารมณ์ขัน  ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายกรณีของสตรีที่ไม่คลุมหิญาบ  และชัยฏอนมันจะล่อลวงลูกหลานของอาดัมโดยอาศัยอยู่ในร่างกายของพวกเขาตามเส้นเลือด4- การปะปนชาย-หญิง:  หากสตรีคิดว่าตนเท่าเทียมกับผู้ชายที่จะไม่คลุมหน้าและไปที่ใดๆ โดยไม่คลุมหิญาบ นางจะไม่รู้สึกละอาย และไม่อายที่จะปะปนกับผู้ชาย  สิ่งนี้นำไปสู่ฟิตนะฮฺที่ใหญ่โตและความเสื่อมโทรมในวงกว้าง  อัตติรมีซี (5272) บันทึกจาก ฮัมซะฮฺ อิบนุ อบูอุซัยดฺ จากพ่อของเขา ซึ่งได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า เมื่อท่านร่อซูล  ออกจากมัสญิดและเห็นผู้ชายปะปนกับผู้หญิงในถนน ท่านร่อซูล  กล่าวกับผู้หญิงว่า “จงถอยกลับ และอย่าเดินกลางถนน จงเดินริมถนน” จากนั้นบรรดาผู้หญิงจึงเดินชิดกำแพงจนเสื้อผ้าของพวกนางสัมผัสกำแพงเพราะความที่พวกนางเดินชิดกับมัน (จัดอยู่ในระดับหะซัน โดย อัลอัลบานี ใน เศาะฮีหฺ อัลญามิอฺ, 929)จบการสรุปจากคำกล่าวของ ชัยคฺ มุฮัมมัด อิบนุ อุษัยมีน  ใน ริซาละฮฺ อัลหิญาบ  และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ที่สุด

المرفقات

2

บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียด
บทบัญญัติเกี่ยวกับการคลุมหน้าและหลักฐานอย่างละเอียด