البحث

عبارات مقترحة:

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

الجبار

الجَبْرُ في اللغة عكسُ الكسرِ، وهو التسويةُ، والإجبار القهر،...

القادر

كلمة (القادر) في اللغة اسم فاعل من القدرة، أو من التقدير، واسم...

ชะมาอิล - อุปนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะซัลลัม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائله صلى الله عليه وسلم - فضائل الأخلاق
์บทความเกี่ยวกับ "อุปนิสัยที่ดี และอุปนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" จากหนังสือ “มุคตะศ็อรฺ อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์” โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ แปลโดย สุกรี นูร จงรักสัตย์.

التفاصيل

บุคลิกลักษณะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมشمائل النبي صلى الله عليه وسلمมุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجريจากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلاميบุคลิกลักษณะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم أَحْسَنَ النَّاسِ وَجْهًا وَأَحْسَنَهُ خَلْقًا، لَيْسَ بِالطَّوِيلِ الْبَائِنِ وَلاَ بِالْقَصِيرِ»  ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นผู้ที่มีใบหน้างามที่สุดและเป็นคนที่มีรูปร่างดีที่สุด ร่างท่านไม่สูงโกร่งและไม่เตี้ย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 2549 และมุสลิม : 2337)«وَكَانَ صلى الله عليه وسلم إِذَا تَكَلَّمَ بِكَلِمَةٍ أَعَادَهَا ثَلاَثًا حَتَّى تُفْهَمَ عَنْهُ، وَإِذَا أَتَى عَلَى قَوْمٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ سَلَّمَ عَلَيْهِمْ ثَلاَثًا» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านพูดประโยคใด ท่านจะทวนสามครั้งจนกระทั่งเป็นที่เข้าใจ และเมื่อท่านมาหากลุ่มคนใดท่านก็จะให้สลามต่อพวกเขา ท่านจะให้สลามต่อพวกเขา ถึงสามครั้งเช่นกัน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 95)وَ «كَان صلى الله عليه وسلم إذا رَاعَهُ شَيْءٌ قال : هُوَ اللهُ رَبِّي لاَ أُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีสิ่งใดมาสร้างความหวาดหวั่น ท่านจะกล่าวดุอาอ์«هُوَ اللهُ رَبِّي لاَ أُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا»ความว่า : อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของฉัน ฉันไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงกับพระองค์“ (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัล-นะสาอีย์ ใน อะมัล อัล-เยาม์ วะ อัล-ลัยละฮฺ : 657 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2070)وَ «كَانَ فِرَاشُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الَّذِى يَنَامُ عَلَيْهِ أَدَمًا حَشْوُهُ لِيفٌ» ความว่า “ที่นอนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ท่านใช้นอนนั้นเป็นหนังฟอกที่อัดข้างในด้วยเปลือกต้นอินทผาลัม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6456 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2082)وَ «كان صلى الله عليه وسلم رَحِيماً، وكان لاَ يَأْتِيْهِ أَحَدٌ إلاَّ وَعَدَهُ وأَنْجَزَ لَهُ إنْ كانَ عِنْدَهُ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เป็นคนมีเมตตา ซึ่งทุกคนที่มาหาท่าน (เพื่อขอสิ่งใด) ท่านจะให้สัญญาแก่เขา และท่านจะมอบให้แก่เขา ถ้าหากท่านมีสิ่งนั้นอยู่” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดับ อัลมุฟร็อด : 281 เศาะฮีหฺ อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด : 212 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2094) وَ «كَانَ كَلاَمُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَلاَمًا فَصْلاً يَفْهَمُهُ كُلُّ مَنْ سَمِعَهُ»ความว่า “คำพูดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เป็นคำพูดที่เป็นวรรคเป็นตอน ทุกคนที่ฟังจะเข้าใจ” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด : 4839 เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4051)وَ «كان صلى الله عليه وسلم لاَ يُسْأَلُ شَيْئاً إلاَّ أَعْطاهُ أَوْ سَكَتَ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ทุกสิ่งที่ท่านถูกร้องขอ ท่านจะให้หรือ(ถ้าท่านไม่มีให้)ท่านก็จะนิ่งเงียบ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัล-หากิม : 2591 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2109)وَ «كان صلى الله عليه وسلم لاَ يَنَامُ إلاَّ وَالسِّواكُ عِنْدَهُ فَإِذَا اسْتَيْقَظَ بَدَأَ بِالسِّواكِ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านนอน ไม้สีฟันจะอยู่กับท่าน พอท่านตื่น ท่านจะสีฟันเป็นอันดับแรก” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอะห์มัด : 5979 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2111)و «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَتَخَلَّفُ فِى الْمَسِيرِ فَيُزْجِى الضَّعِيفَ وَيُرْدِفُ وَيَدْعُو لَهُمْ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น มักจะอยู่รั้งท้าย ในตอนเดินทาง โดยท่านจะคอยจูงคนอ่อนแอ ตามหลังเขา และจะขอดุอาอ์ให้แก่เขา” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 2639, เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 2298)وَ «كَانَُ صلى الله عليه وسلم إِذَا اشْتَدَّ الْبَرْدُ بَكَّرَ بِالصَّلاَةِ ، وَإِذَا اشْتَدَّ الْحَرُّ أَبْرَدَ بِالصَّلاَةِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ในยามที่หนาวเหน็บท่านจะรีบละหมาดแต่เนิ่นๆ แต่ในยามที่แดดร้อน ท่านจะชะลอการละหมาดจนบ่ายคล้อยลงหน่อย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 906) وَ «كان صلى الله عليه وسلم كَانَ إِذَا اشْتَكَى نَفَثَ عَلَى نَفْسِهِ بَالْمُعَوِّذَاتِ، وَمَسَحَ عَنْهُ  بِيَدِهِ»   ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีอาการเจ็บปวด ท่านจะเป่าลงบนตัวท่านด้วย(การอ่าน) สูเราะฮฺอัล-มุเอามิซาต(สูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ, อัล-ฟะลัก และอัน-นาส) และใช้มือลูบส่วนที่เจ็บปวดนั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 4439 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2192) وَ «كَانَ صلى الله عليه وسلم إِذَا اكْتَحَلَ اكْتَحَلَ وِتْرًا، وَإِذَا اسْتَجْمَرَ اسْتَجْمَرَ وِتْرًا»    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านทาตาด้วยพลวง ท่านจะทาเป็นจำนวนคี่ และเมื่อท่านชำระจากการถ่ายทุกข์ด้วยการอิสติจญ์มาร(โดยการใช้ก้อนหินหรือใบไม้)ท่านจะทำความสะอาดด้วยหินเป็นจำนวนคี่” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 17562 ดู เศาะฮีหฺ อัลญามิอฺ : 4680) «وَكَانَ صلى الله عليه وسلم تُعْجِبُهُ الرِّيحُ الطَّيِّبَةُ»  ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ชื่นชอบกลิ่นที่หอม” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 26364 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2136, และอบูดาวูด : 4074 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3435) و «كَانَ صلى الله عليه وسلم إِذَا أَتَاهُ أَمْرٌ يَسُرُّهُ أَوْ يُسَرُّ بِهِ خَرَّ سَاجِدًا شُكْرًا لِلَّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีสิ่งที่ทำให้ท่านสุขใจ ท่านจะน้อมตัวลงสุญูดเพื่อเป็นการขอบคุณต่ออัลลอฮฺผู้ทรงมหาจำเริญและสูงส่ง” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 1578 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 1282 และบันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ ตามสำนวนนี้ : 1394  ดู เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ : 1143)و «كانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم إِذَا حَزَبَهُ أَمْرٌ صَلَّى» ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีสิ่งใดทำให้ท่านทุกข์ร้อนใจ ท่านจะละหมาด” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอะห์มัด : 23688 และบันทึกโดยอบู ดาวูด : 1319 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 1171)وَ «كَانَ صلى الله عليه وسلم إِذَا خَطَبَ احْمَرَّتْ عَيْنَاهُ، وَعَلاَ صَوْتُهُ، وَاشْتَدَّ غَضَبُهُ، حَتَّى كَأَنَّهُ مُنْذِرُ جَيْشٍ يَقُولُ : صَبَّحَكُمْ وَمَسَّاكُمْ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านแสดงปาฐกถา สองดวงตาของท่านจะแดงก่ำ เสียงท่านจะสูงดัง และความโกรธของท่านจะแรงเป็นจริงเป็นจัง กระทั่งเสมือนกับว่าท่านเป็นผู้เตือนเหล่าทหารที่คอยพูดว่า : ศัตรูของพวกเจ้าจะบุกมายามรุ่งอรุณนี่แล้ว และพวกเขาจะบุกมายามเย็นนี่แล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม : 867)وَ«كَانَ صلى الله عليه وسلم إِذَا دَخَلَ بَيْتَهُ بَدَأَ بِالسِّوَاكِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเข้าบ้านของท่านแล้ว ท่านจะเริ่มด้วยการสีฟันก่อน” (บันทึกโดยมุสลิม : 253) وَ «كَانَ رسول الله صلى الله عليه وسلم إِذَا دَعا بَدَأَ بِنَفْسِهِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านขอดุอาอ์ ท่านจะเริ่มขอให้กับตัวเองเป็นอันดับแรก” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 3984 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3371)وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِذَا سُرَّ اسْتَنَارَ وَجْهُهُ كَأَنَّ وَجْهَهُ قِطْعَةُ قَمَرٍ»  ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านมีความปีติยินดี ใบหน้าของท่านจะเจิดจรัส ประหนึ่งว่าใบหน้าท่านเป็นส่วนหนึ่งของดวงจันทร์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3556 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2769)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم إِذَا كَرَبَهُ أَمْرٌ قَالَ : يَا حَىُّ يَا قَيُّومُ بِرَحْمَتِكَ أَسْتَغِيثُ»ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีสิ่งใดมาสร้างอุปสรรคแก่ท่าน ท่านจะกล่าวดุอาอ์«يَا حَىُّ يَا قَيُّومُ بِرَحْمَتِكَ أَسْتَغِيثُ»ความว่า : โอ้ผู้ทรงชีพ โอ้ผู้ทรงดูแลปกครอง ด้วยความปรานีของพระองค์เท่านั้นที่ข้าขอความช่วยเหลือ” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 3524 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2796) وَ «كان يَقْرَأُ مُتَرَسِّلاً إِذَا مَرَّ بِآيَةٍ فِيهَا تَسْبِيحٌ سَبَّحَ، وَإِذَا مَرَّ بِسُؤَالٍ سَأَلَ وَإِذَا مَرَّ بِتَعَوُّذٍ تَعَوَّذَ»  ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ท่านจะอ่านอัลกุรอานอย่างช้าๆ โดยเมื่อท่านอ่านถึงอายะฮฺที่กล่าวถึงการตัสบีห์ (การสดุดีในความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ) ท่านก็จะกล่าวคำตัสบีห์ เมื่อถึงอายะฮฺที่กล่าวถึงการขอวิงวอน ท่านก็จะขอ และเมื่อถึงอายะฮฺที่กล่าวถึงการขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ท่านก็จะขอความคุ้มครองต่อพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม : 772) وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِذَا مَرِضَ أَحَدٌ مِنْ أَهْلِهِ نَفَثَ عَلَيْهِ بِالْمُعَوِّذَاتِ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อมีคนใดในครอบครัวท่านป่วย ท่านจะเป่าตัวเขาด้วยสูเราะฮฺ อัล-มุเอาวิซาต(สูเราะฮฺอัล-อิคลาศ, อัล-ฟะลัก และอัน-นาส)” (บันทึกโดยมุสลิม : 2192) وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم لاَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَطْعَمَ، وَلاَ يَطْعَمُ يَوْمَ الأَضْحَى حَتَّى يُصَلِّيَ» ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นจะไม่ออก(จากบ้านเพื่อไปละหมาด)ในวันตรุษอีดิลฟิฏร์นอกจากต่อเมื่อท่านเสร็จจากทานอาหารก่อน(เพียงเล็กน้อย) และท่านจะไม่ทานอาหารในวันตรุษอีดิลอัฎหานอกจากก็ต่อเมื่อเสร็จจากละหมาดอีดแล้ว” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 23371 และบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ ตามสำนวนนี้ : 542 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 447)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم لاَ يَدَّخِرُ شَيْئًا لِغَدٍ»   ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะไม่กักตุนสิ่งใดเพื่อวันรุ่งขึ้น” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 2362 เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 1925)وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُبَاشِرُ نِسَاءَهُ فَوْقَ الإِزَارِ وَهُنَّ حُيَّضٌ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะร่วมหลับนอนกับภรรยาของท่านบนผ้าถุง(หมายถึง การร่วมหลับนอนโดยไม่มีการร่วมเพศ) ในขณะที่พวกนางมีประจำเดือน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 303 และมุสลิมตามสำนวนนี้: 294)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم يَتَحَرَّى صَوْمَ الاِثْنَيْنِ وَالْخَمِيسِ» ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะหมั่นถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ ตามสำนวนนี้ : 745 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 595  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 2361 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อันนะสาอีย์ : 2224)و«كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم يُعْجِبُهُ التَّيَمُّنُ فِى تَنَعُّلِهِ وَتَرَجُّلِهِ وَطُهُورِهِ وَفِى شَأْنِهِ كُلِّهِ»  ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ชอบที่จะเริ่มต้นด้วยด้านขวาในการสวมรองเท้า การหวีผม การทำความสะอาด และในกิจการทุกๆ สิ่งของท่าน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้: 168 และมุสลิม: 268)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم يَذْكُرُ اللَّهَ عَلَى كُلِّ أَحْيَانِهِ»  ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺตลอดเวลา” (บันทึกโดยมุสลิม : 373)وقال كَعْبُ بْنَ مَالِكٍ رضي الله عنه : «لَقَلَّمَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَخْرُجُ إِذَا خَرَجَ فِى سَفَرٍ إِلاَّ يَوْمَ الْخَمِيسِ»  ความว่า  กะอฺบ์ บิน มาลิกได้กล่าวว่า “มีน้อยมาก ที่ท่าน เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะออกเดินทาง(ในวันอื่น)เวลาท่านจะเดินทางไกล นอกจากวันพฤหัส”  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 2949)وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي عَلَى رَاحِلَتِهِ حَيْثُ تَوَجَّهَتْ، فَإِذَا أَرَادَ الْفَرِيضَةَ نَزَلَ فَاسْتَقْبَلَ الْقِبْلَةَ»  ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะละหมาด(สุนัต)บนพาหนะตามทิศทางที่มันมุ่งหน้าไป แต่เมื่อท่านต้องการจะละหมาดฟัรฎู ท่านจะลงจากหลังพาหนะ แล้วท่านจะ(ยืนละหมาดด้วยการ) หันหน้าไปยังทิศกิบละฮฺ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 400)وَ «كَانَ ﷺ‬ يُقَبِّلُ بَعْضَ أَزْوَاجِهِ ثُمَّ يُصَلِّي وَلاَ يَتَوَضَّأُ » ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะจูบภรรยาบางคน หลังจากนั้นท่านก็ละหมาดโดยไม่ได้เอาน้ำละหมาดแต่อย่างใด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ตามสำนวนนี้ : 170 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 164 และบันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ : 502 เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนุ มาญะฮฺ : 406)وَ «كَانَ النَّبِيُُّ صلى الله عليه وسلم  يُقَبِّلُ وَيُبَاشِرُ ، وَهُوَ صَائِمٌ ، وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإِرْبِهِ»   ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะจูบและคลุกคลี(กับภรรยา) ในขณะที่ท่านถือศีลอดอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้มากที่สุด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้: 1927 และมุสลิม: 1106) وَ «كَانَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم لاَ يَطْرُقُ أَهْلَهُ، كَانَ لاَ يَدْخُلُ إِلاَّ غُدْوَةً أَوْ عَشِيَّةً»  ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น (เวลากลับจากการเดินทางไกล) จะไม่ปลุกครอบครัวอย่างกะทันหันในยามวิกาล โดยท่านจะเข้าบ้านเฉพาะในตอนเช้าหรือเย็นเท่านั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้: 1800 และมุสลิม: 1928)  وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُحِبُّ الْعَسَلَ وَالْحَلْوَاءَ، وَكَانَ إِذَا انْصَرَفَ مِنَ الْعَصْرِ دَخَلَ عَلَى نِسَائِهِ، فَيَدْنُو مِنْ إِحْدَاهُنّ َ»  ความว่า “ท่าน เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ชอบน้ำผึ้งและทุกสิ่งที่หวาน และเมื่อเสร็จละหมาดอัศร์ ท่านจะเข้าหาเหล่าภรรยาและจะเข้าใกล้แต่ละคนในหมู่พวกนาง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้: 5268 และมุสลิม: 1474) وَ «كَانَ أَحَبَّ الثِّيَابِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الْقَمِيصُ »ความว่า “เสื้อผ้าที่ท่าน เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ชอบที่สุดคือเกาะมีศ(เสื้อที่มีแขน)” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด : 4025 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3396 และบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 1762  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 406) وَ «كَانَ إِذَا أَرَادَ الْحَاجَةَ أَبْعَدَ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านต้องการถ่ายทุกข์ท่านจะไปไกลพ้นสายตา” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 15746 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 1159  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 16   ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 16) وَ «كَانَ لاَ يَقْدَمُ مِنْ سَفَرٍ إِلاَّ نَهَارًا فِى الضُّحَى، فَإِذَا قَدِمَ بَدَأَ بِالْمَسْجِدِ فَصَلَّى فِيهِ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ جَلَسَ فِيهِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะกลับจากการเดินทางเฉพาะในตอนสายของเวลากลางวันเท่านั้น และเมื่อท่านมาถึง ท่านจะไปที่มัสยิดเป็นอันดับแรก ซึ่งท่านจะละหมาดสองร็อกอต เสร็จแล้วท่านก็นั่งพักที่นั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3088 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 716)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم يَلْبَسُ النِّعَالَ السِّبْتِيَّةَ وَيُصَفِّرُ لِحْيَتَهُ بِالْوَرْسِ وَالزَّعْفَرَانِ» ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะสวมรองเท้าหนังฟอกที่ไม่มีขน และใช้วัรส์(ต้นคำแสด) และหญ้าฝรั่นชุปเคราให้เป็นสีเหลือง” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 4210 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3547 และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 5244  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 4839) وَ «كَانَ ﷺ‬ يُوجِزُ فِى الصَّلاَةِ وَيُتِمُّ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะละหมาดอย่างรวบรัด และจะทำอย่างสมบูรณ์” (บันทึกโดยมุสลิม : 469)وَ «كَانَ صلى الله عليه وسلم لاَ يَقُومُ مِنْ مُصَلاَّهُ الَّذِى يُصَلِّي فِيهِ الصُّبْحَ أَوِ الْغَدَاةَ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ فَإِذَا طَلَعَتِ الشَّمْسُ قَامَ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะไม่ลุกออกจากที่ละหมาดที่ท่านละหมาดในตอนเช้ามืดหรือในตอนเช้า จนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้น ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านจึงจะลุกออกไป” (บันทึกโดยมุสลิม : 670)وَ «كَانَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم مَرْبُوعًا، بَعِيدَ مَا بَيْنَ الْمَنْكِبَيْنِ، لَهُ شَعَرٌ يَبْلُغُ شَحْمَةَ أُذُنِهِ»ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นเป็นคนสูงสมส่วน ไหล่กว้าง ท่านมีผมที่ยาวถึงติ่งหู” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ : 3551  และมุสลิม : 2337) وَ «كَانَ شَعَرُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم رَجِلاً، لَيْسَ بِالسَّبِطِ، وَلاَ الْجَعْدِ، بَيْنَ أُذُنَيْهِ وَعَاتِقِهِ»ความว่า “ผมของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นงามสลวยทอดระหว่างสองใบหูและคอของท่าน ไม่ตรงทื่อและไม่หยิกหยัก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ : 5905  และมุสลิม : 2338)  وَ «كَانَ لِرَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم خَاتَمُ فِضَّةٍ يَتَخَتَّمُ بِهِ فِى يَمِينِهِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น มีแหวนทำจากเงินสวมอยู่ที่นิ้วมือขวา ซึ่งท่านจะใช้เพื่อลงตราประทับ” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 5197 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 4797)وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم لاَ يَتَوَضَّأُ بَعْدَ الْغُسْلِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะไม่ทำน้ำละหมาดอีกหลังจากอาบน้ำญะนาบะฮฺ(ทั้งนี้เพราะท่านจะทำน้ำละหมาดก่อนที่จะอาบน้ำนั้น” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 107 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 93  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ตามสำนวนนี้: 430 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อันนะสาอีย์ : 246)  وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَتَوَضَّأُ بِالْمُدِّ وَيَغْتَسِلُ بِالصَّاعِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะทำละหมาดด้วยน้ำ 1 มุด (ลิตร) และอาบน้ำด้วยน้ำ 1 ศออฺ (ทะนาน)” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด: 92 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 83  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ตามสำนวนนี้: 347 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 336) وَ «كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَصُومُ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ الاِثْنَيْنِ وَالْخَمِيسَ مِنْ هَذِهِ الْجُمُعَةِ وَالاِثْنَيْنِ مِنَ الْمُقْبِلَةِ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะถือศีลอดเดือนละสามวัน คือ วันจันทร์และวันพฤหัสของสัปดาห์นี้กับวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด: 2451 เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 2141  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ตามสำนวนนี้: 2365 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 2273)وَ «كان صلى الله عليه وسلم يَنامُ أَوَّلَ اللَّيْلِ وَيُحْيِي آخِرَهُ»ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะนอนแต่เนิ่นๆ และจะลุกขึ้น (ละหมาด) ในตอนท้ายของกลางคืน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ :1146  และมุสลิม ตามสำนวนนี้ : 739)وَ «كَانَ صلى الله عليه وسلم يَبِيتُ اللَّيَالِيَ الْمُتَتَابِعَةَ طَاوِياً وَأَهْلُهُ لاَ يَجِدُونَ عَشَاءً - قَالَ - وَكَانَ عَامَّةُ خُبْزِهِمْ خُبْزَ الشَّعِيرِ» ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ท่านจะนอนติดต่อกันหลายคืนในสภาพที่หิวโหย และครอบครัวของท่านไม่มีอาหารค่ำจะทาน และขนมปังส่วนใหญ่ของพวกเขาเป็นขนมปังหยาบๆ จากข้าวบาร์เลย์” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด ตามสำนวนนี้: 2303 อัล-อัรนาอูฏ กล่าวว่า สายรายงานนี้เศาะฮีหฺ และบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 2360  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 1923)وَكان صلى الله عليه وسلم يقول : «إِنَّهُ لَيُغَانُ عَلَى قَلْبِي وَإِنِّي لأَسْتَغْفِرُ اللَّهَ فِي الْيَوْمِ مِائَةَ مَرَّةٍ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงหัวใจของฉัน(บางครั้ง)มันอ่อนเพลีย และฉันจะกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺวันละ 100 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม : 2702)وَكان صلى الله عليه وسلم يقول : «إِذَا أَتَاكُمْ كَرِيمُ قَوْمٍ فَأَكْرِمُوهُ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “เมื่อคนมีเกียรติของชนกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน ท่านจงให้เกียรติต่อเขา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ : 3712 เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 2991)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «اللَّهُمَّ أَحْيِنِي مِسْكِينًا، وَأَمِتْنِي مِسْكِينًا، وَاحْشُرْنِي فِي زُمْرَةِ الْمَسَاكِينِ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะขอดุอาอ์เป็นประจำว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้ข้าได้อยู่อย่างคนจน ตายอย่างคนจน และรวบรวมข้า(ในวันกิยามะฮฺ)ในหมู่คนจน” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ : 4126 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ : 3328 ดู อัล-อิรวาอ์ : 861 และดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 308)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «لَوْ تَعْلَمُونَ مَا أَعْلَمُ لَضَحِكْتُمْ قَلِيلاً وَلَبَكَيْتُمْ كَثِيرًا»  ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “หากพวกท่านรู้ในสิ่งที่ฉันรู้ แน่นอนพวกท่านย่อมจะหัวเราะเพียงเล็กน้อย และจะร้องไห้เป็นอย่างมาก“ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ : 4621  และมุสลิม : 2359)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «أَكْثِرُوا ذِكْرَ هَاذِمِ اللَّذَّاتِ»  ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “จงระลึกถึงตัวทำลายความสุข(หมายถึงความตาย)ให้มาก ๆ“ (หะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 2307  ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 1877  และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ตามสำนวนนี้: 1824 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน- อัน-นะสาอีย์ : 1720) وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثِ لَيَالٍ يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَا وَيُعْرِضُ هَذَا وَخَيْرُهُمَا الَّذِى يَبْدَأُ بِالسَّلاَمِ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ไม่อนุมัติให้มุสลิมตัดสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามคืน ซึ่งสองคนนั้นเจอกันแล้วต่างคนต่างผินหน้าหนี โดยผู้ที่ดีกว่าในสองคนนั้นคือผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6077  และมุสลิม ตามสำนวนนี้ : 2560)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «إِيَّاكُمْ وَالظَّنَّ، فَإِنَّ الظَّنَّ أَكْذَبُ الْحَدِيثِ، وَلاَ تَحَسَّسُوا، وَلاَ تَجَسَّسُوا، وَلاَ تَنَاجَشُوا، وَلاَ تَحَاسَدُوا، وَلاَ تَبَاغَضُوا، وَلاَ تَدَابَرُوا، وَكُونُوا عِبَادَ اللَّهِ إِخْوَانًا»  ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงการคิดในแง่ร้าย เพราะมันคือถ้อยคำที่เป็นเท็จที่สุด จงอย่าสอดแนม อย่าสอดรู้สอดเห็น อย่าปั่นราคาสินค้า อย่าอิจฉาริษยา อย่าเกลียดชัง อย่าหันหลังให้กัน และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺอย่างฉันท์พี่น้อง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ : 6066  และมุสลิม : 2563) وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «لاَ يَكُونُ اللَّعَّانُونَ شُفَعَاءَ وَلاَ شُهَدَاءَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “ผู้ที่ชอบสาปแช่งคนอื่น จะไม่ได้เป็นผู้ประกันและพยานแก่คนอื่นในวันกิยามะฮฺ“ (บันทึกโดยมุสลิม : 2598)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «إِنَّ مِنْ شَرِّ النَّاسِ ذَا الْوَجْهَيْنِ الَّذِي يَأْتِي هَؤُلاَءِ بِوَجْهٍ وَهَؤُلاَءِ بِوَجْهٍ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “แท้จริง ในบรรดาผู้ที่เลวที่สุด คือผู้ที่ตีสองหน้า โดยมาหาพวกนั้นด้วยหน้าหนึ่ง แล้วไปหาพวกโน้นอีกด้วยหน้าหนึ่ง“ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6058  และมุสลิม ตามสำนวนนี้ : 2526)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «الْمُسْلِمُ أَخُو الْمُسْلِمِ، لاَ يَظْلِمُهُ وَلاَ يُسْلِمُهُ، وَمَنْ كَانَ فِى حَاجَةِ أَخِيهِ كَانَ اللَّهُ فِى حَاجَتِهِ، وَمَنْ فَرَّجَ عَنْ مُسْلِمٍ كُرْبَةً فَرَّجَ اللَّهُ عَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرُبَاتِ يَوْمِ الْقِيَامَةِ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِمًا سَتَرَهُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ»  ความว่า  ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “คนมุสลิมคือพี่น้องของคนมุสลิม เขาต้องไม่ทารุณและไม่หมิ่นประมาทต่อเขา และผู้ใดที่ช่วยเหลือธุระของพี่น้องของเขา อัลลอฮฺก็จะช่วยเหลือธุระของเขา ผู้ใดที่ปลดเปลื้องหนึ่งความลำบากแก่คนมุสลิม อัลลอฮฺจะปลดเปลื้องแก่เขาหนึ่งความลำบากจากความลำบากอันมากมายในวันกิยามะฮฺ และผู้ใดที่ปกปิด(ความบกพร่องของ)คนมุสลิม อัลลอฮฺก็จะปกปิด(ความบกพร่องของ)เขาในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2442  และมุสลิม ตามสำนวนนี้ : 2580)  وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «لاَ تَبَاغَضُوا، وَلاَ تَحَاسَدُوا، وَلاَ تَدَابَرُوا، وَكُونُوا عِبَادَ اللَّهِ إِخْوَانًا، وَلاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثٍ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงอย่าเกลียดชัง อย่าอิจฉาริษยา และอย่าหันหลังให้กัน พวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺอย่างฉันท์พี่น้องกัน และไม่อนุมัติให้มุสลิมตัดสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามวัน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6065  และมุสลิม ตามสำนวนนี้ : 2559)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «اتَّقُوا الظُّلْمَ فَإِنَّ الظُّلْمَ ظُلُمَاتٌ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، وَاتَّقُوا الشُّحَّ فَإِنَّ الشُّحَّ أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ، حَمَلَهُمْ عَلَى أَنْ سَفَكُوا دِمَاءَهُمْ وَاسْتَحَلُّوا مَحَارِمَهُمْ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงระวังความอธรรม เพราะการอธรรมนั้นเป็นความมืดมิดในวันกิยามะฮฺ และจงระวังความตระหนี่ เพราะความตระหนี่ได้ทำลายชนก่อนหน้าพวกท่าน ซึ่งมันทำให้พวกเขาต้องหลั่งเลือดระหว่างพวกเขากันเอง และละเมิดสิ่งต้องห้ามของพวกเขา(หรือกระทำชำเราต่อบรราสตรีของพวกเขาเอง)” (บันทึกโดยมุสลิม : 2578)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «إِذَا رَأَيْتُمُ الْمَدَّاحِينَ فَاحْثُوا فِى وُجُوهِهِمُ التُّرَابَ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “เมื่อพวกท่านเห็นคนที่ชอบพูดป้อยอคนอื่น พวกท่านจงขว้างผงดินใส่หน้าพวกนั้น” (บันทึกโดยมุสลิม : 3002)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ :  «لاَ تُزَكُّوا أَنْفُسَكُمُ، اللَّهُ أَعْلَمُ بِأَهْلِ الْبِرِّ مِنْكُمْ» ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงอย่ายกยอตัวเอง เพราะอัลลอฮฺทรงรู้ดีที่สุดถึงคนดีในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม : 2132)وَكان صلى الله عليه وسلم يَقُولُ : «لاَ يَتَمَنَّيَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمُ الْمَوْتَ لِضُرٍّ نَزَلَ بِهِ، فَإِنْ كَانَ لاَ بُدَّ مُتَمَنِّيًا لِلْمَوْتِ فَلْيَقُلِ اللَّهُمَّ أَحْيِنِي مَا كَانَتِ الْحَيَاةُ خَيْرًا لِي، وَتَوَفَّنِى إِذَا كَانَتِ الْوَفَاةُ خَيْرًا لِي» ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “ผู้ใดในหมู่พวกท่าน จงอย่าหมดอาลัยและคิดอยากตายเนื่องจากทุกข์ภัยที่เขาได้ประสบ แต่ถ้าจำเป็นต้องคิดอยากตายอย่างสุดวิสัยแล้วก็จงขอดุอาอ์ว่า ‘โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงยืดอายุฉันต่อไปตราบใดที่การมีชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับฉัน และขอทรงดับชีวิตฉันลงเมื่อการตายนั้นเป็นสิ่ที่ดีกว่าสำหรับฉัน’” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6351  และมุสลิม : 2680)وَكان صلى الله عليه وسلم : «مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمْ أَنْ يَنْفَعَ أَخَاهُ فَلْيَفْعَلْ»ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “ผู้ใดในหมู่พวกท่านที่สามารถจะทำประโยชน์ให้แก่พี่น้องของเขาก็ขอจงกระทำเสีย” (บันทึกโดยมุสลิม : 2199)وَكان صلى الله عليه وسلم : «مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلاَ يُؤْذِ جَارَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ»  ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก เขาก็จงพูดสิ่งดี หรือไม่ก็จงเงียบเสีย ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก เขาจงอย่ารังควาญเพื่อนบ้านของเขา และผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก เขาจงให้เกียรติต่อแขกของเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ : 6475  และมุสลิม : 47)

المرفقات

2

อุปนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะซัลลัม
อุปนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะซัลลัม