البحث

عبارات مقترحة:

القيوم

كلمةُ (القَيُّوم) في اللغة صيغةُ مبالغة من القِيام، على وزنِ...

المتعالي

كلمة المتعالي في اللغة اسم فاعل من الفعل (تعالى)، واسم الله...

المهيمن

كلمة (المهيمن) في اللغة اسم فاعل، واختلف في الفعل الذي اشتقَّ...

ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน ، อัสรัน นิยมเดชา
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات أنواع الشرك
ถาม : การงานที่ทำไปเพื่อการโอ้อวด แล้วในระหว่างที่ทำอยู่นั้น เกิดเปลี่ยนเจตนากลายเป็นทำเพื่ออัลลอฮฺนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฉันอ่านกุรอานเสร็จแล้วเกิดความรู้สึกริยาอ์ขึ้น ถ้าหากฉันต่อสู้กับความรู้สึกดังกล่าวด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ฉันจะได้รับผลบุญจากการอ่านอัลกุรอานในกรณีเช่นนี้หรือไม่ หรือมันจะสูญเปล่าไปเพราะริยาอ์? แม้ว่าริยาอ์นั้นจะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการงานก็ตาม?

التفاصيل

> > > > ถาม : การงานที่ทำไปเพื่อการโอ้อวด แล้วในระหว่างที่ทำอยู่นั้น เกิดเปลี่ยนเจตนากลายเป็นทำเพื่ออัลลอฮฺนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฉันอ่านกุรอานเสร็จแล้วเกิดความรู้สึกริยาอ์ขึ้น ถ้าหากฉันต่อสู้กับความรู้สึกดังกล่าวด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ฉันจะได้รับผลบุญจากการอ่านอัลกุรอานในกรณีเช่นนี้หรือไม่ หรือมันจะสูญเปล่าไปเพราะริยาอ์? แม้ว่าริยาอ์นั้นจะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการงานก็ตาม? คำตอบโดยเชคอิบนุอุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ความสัมพันธ์ระหว่างริยาอ์กับอิบาดะฮฺนั้น มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่หนึ่ง : คือ การที่แรงจูงใจของการทำอิบาดะฮฺตั้งแต่เริ่มแรกนั้นเพื่อการโอ้อวดให้ผู้อื่นเห็น เช่นผู้ที่ยืนละหมาดโดยมีเจตนาเพียงให้ผู้อื่นเห็นและชื่นชมการละหมาดของเขา กรณีเช่นนี้ถือว่าการงานของเขานั้นสูญเปล่า รูปแบบที่สอง : คือ เกิดริยาอ์สอดแทรกขึ้นในระหว่างการทำอิบาดะฮฺ กล่าวคือ แรงจูงใจในการทำอิบาดะฮฺในตอนแรกนั้นคือเจตนาที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่มีริยาอ์เกิดขึ้นในระหว่างการทำอิบาดะฮฺ รูปแบบเช่นนี้อาจจำแนกได้เป็น 2 กรณี คือ   กรณีที่หนึ่ง – คือการที่ส่วนแรกของอิบาดะฮฺนั้นไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับส่วนที่สอง โดยส่วนแรกนั้นถูกต้องสมบูรณ์ แต่ส่วนที่สองนั้นสูญเปล่า      ตัวอย่าง : ชายคนหนึ่งต้องการบริจาคเงินจำนวน 100 ริยาล โดยเขาบริจาค 50 ริยาลแรกด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ เมื่อเขาจะบริจาคส่วนที่เหลืออีก 50 ริยาล ก็เกิดมีริยาอ์สอดแทรกเข้ามา ในกรณีเช่นนี้ 50 ริยาลแรกที่เขาบริจาคไปถือว่าใช้ได้และถูกตอบรับ ส่วน 50 ริยาลที่เหลือนั้นถือว่าสูญเปล่าไม่ได้รับผลบุญใดๆ เพราะมันเจือปนด้วยริยาอ์   กรณีที่สอง – คือการที่ส่วนแรกและส่วนที่สองของอิบาดะฮฺนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ      1- เขาได้พยายามต่อสู้กับความรู้สึกนั้น ไม่ยอมให้มันมาครอบงำ และรู้สึกไม่พอใจที่มีความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ในลักษณะเช่นนี้ถือว่าริยาอ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีผลอะไรต่อเขา เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงถือโทษประชาชาติของฉันกับสิ่งที่จิตใจของพวกเขาใฝ่หา ตราบใดที่ไม่ได้ลงมือทำ หรือพูดออกมา”      2- เขายินดีปรีดากับริยาอ์นั้น และไม่พยายามต่อสู้หรือปฏิเสธมัน ในลักษณะเช่นนี้ การงานดังกล่าวของเขาถือว่าสูญเปล่าทั้งหมด เพราะส่วนแรกกับส่วนที่สองของมันนั้นเกี่ยวเนื่องกัน      ตัวอย่าง : เริ่มละหมาดด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮตะอาลา แต่เมื่อเข้าสู่ร็อกอัตที่สองก็เกิดริยาอ์ เช่นนี้ละหมาดของเขาตั้งแต่ต้นจนจบถือว่าสูญเปล่า เพราะการละหมาดนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ รูปแบบที่สาม : เกิดริยาอ์ขึ้นภายหลังเสร็จสิ้นจากอิบาดะฮฺแล้ว เช่นนี้ จะไม่มีผลใดๆต่ออิบาดะฮฺนั้น และไม่ทำให้อิบาดะฮฺเสียเปล่า เพราะอิบาดะฮฺดังกล่าวเสร็จสิ้นไปในสภาพที่สมบูรณ์ การเกิดริยาอ์หลังจากนั้นจึงไม่ส่งผลใดๆต่ออิบาดะฮฺ และการที่เรารู้สึกยินดีเมื่อรู้ว่ามีผู้อื่นรับรู้ถึงการทำอิบาดะฮฺของเรา (หลังจากที่ได้ทำเสร็จไปแล้ว) ก็ไม่เข้าข่ายริยาอ์ เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ทำอิบาดะฮฺเสร็จแล้ว เช่นเดียวกับการที่เรารู้สึกดีที่ได้ทำอิบาดะฮฺสิ่งดีงาม ก็ไม่ถือว่าเป็นริยาอ์ เพราะนั่นคือสัญญาณของการมีอีหม่าน ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่การงานที่ดีของเขาทำให้เขารู้สึกดี และการงานชั่วของเขาทำให้เขารู้สึกไม่ดี ก็แสดงว่าเขานั้นเป็นผู้ศรัทธา” จากหนังสือรวมฟัตวา เชค อิบนุอุษัยมีน (2/29-30)

المرفقات

2

ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ
ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ