البحث

عبارات مقترحة:

المحيط

كلمة (المحيط) في اللغة اسم فاعل من الفعل أحاطَ ومضارعه يُحيط،...

الرب

كلمة (الرب) في اللغة تعود إلى معنى التربية وهي الإنشاء...

الرقيب

كلمة (الرقيب) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل) أي:...

สิ่งเสพติดเป็นของต้องห้าม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات شرب الخمر وكل مسكر - كتاب الأطعمة - المجتمع المسلم - المخدرات
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

التفاصيل

อิสลามได้กำหนดบทบัญญัติต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์พื้นฐานของมนุษย์ทั้งห้าประการคือ ศาสนา ชีวิต ทรัพย์สิน สติปัญญา และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การที่อิสลามมีบทบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าประการดังกล่าวไม่ให้เสียหาย เพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อระบบสมองของผู้เสพ ทำให้ผู้เสพ มึนเมาไม่ได้สติ อาจจะก่ออาชญกรรมร้ายแรง ละเมิดต่อศีลธรรมอันดีงาม และมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของผู้เสพในระยะยาว นอกจากนี้ เมื่อผู้เสพได้รับสารเสพติดเข้าไปในร่างกายแล้วอาจจะทำให้ก่อความผิดอย่างอื่นได้อีก เพราะไม่ได้สติจากฤทธิ์ของยาที่เสพเข้าไป จะเห็นได้ว่ายาเสพติดนอกจากจะให้โทษต่อร่างกายผู้เสพแล้ว บางครั้งอาจจะก่อผลเสียต่อผู้อื่นหรือต่อสังคมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้มีบัญญัติห้ามสิ่งเสพติด โดยได้มีบทบัญญัติห้ามการดื่มสุราในอัลกุรอานไว้ว่า يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ (سورة المائدة : 90)  “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงแล้วสุรา การพนัน รูปปั้นต่างๆ และการเสี่ยงทายนั้น คือสิ่งสกปรกซึ่งเป็นงานของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงละทิ้งมันเถิด เพื่อพวกเจ้าจะได้ประสบความสำเร็จ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ: 90) สิ่งเสพติดอื่นๆ ในปัจจุบันซึ่งไม่ได้มีระบุในอัลกุรอานนั้นก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน โดยอาศัยการเปรียบเทียบกับสุรา เพราะต่างก็ให้โทษต่อร่างกายมนุษย์และทำให้เกิดการเสียสติได้เท่าๆ กัน อีกทั้งยังมีการยืนยันจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำให้เกิดอาการมึนเมาได้นั้นมีสถานะเหมือนกับสุรา โดยที่ได้กล่าวไว้มีใจความว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เมาได้นั้นก็เหมือนสุรา และสุราทุกชนิดนั้นเป็นที่ต้องห้าม” (รายงานโดย มุสลิม) ภัยของสิ่งเสพติดนั้นเป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่ามีผลเสียอย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงควรต้องตระหนักในการป้องกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดในสังคม การระบาดของสิ่งเสพติดถือเป็นสัญญาณอันตรายที่น่ากลัว เพราะสิ่งเสพติดมักจะระบาดในหมู่เยาวชนเสียส่วนใหญ่ เมื่อเยาวชนติดสิ่งเสพติดนั่นก็แสดงว่าอนาคตอันสดใสของสังคมกำลังมืดลงทุกที ทุกคนทุกฝ่ายจึงต้องเอาใจใส่มากเป็นอย่างยิ่งในการร่วมกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดมากขึ้นไปจากที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากนี้การระบาดของสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่ผิดกฏหมายเช่นเฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือที่ถูกกฏหมายเช่นเหล้า เบียร์ ไวน์ นั้นถือว่าเป็นสัญญาณหนึ่งของวันสิ้นโลก ซึ่งท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ     อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีใจความว่า “แท้จริงในจำนวนสัญญาณของวันสิ้นโลกนั้นคือ จะมีการระบาดของสุรายาเมา” (รายงานโดย มุสลิม) - ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน 1.อิสลามกำหนดบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดเพื่อประโยชน์ของตัวมนุษย์เอง  2.สิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นที่ต้องห้ามโดยหลักฐานที่ถูกต้องในบัญญัติอิสลาม 3. ภัยของสิ่งเสพติดนั้นเป็นโทษทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมโดยรวม 4. การป้องกันสิ่งเสพติดในสังคมเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคนทุกฝ่ายที่ต้องดูแลเอาใจใส่ ป้องกัน และทำความเข้าใจ 5.การระบาดของสิ่งเสพติด ถือเป็นสัญญาณของวันสิ้นโลกประการหนึ่ง - คำถามหลังบทเรียน 1. ท่านคิดว่าเหตุใดอิสลามจึงห้ามสิ่งเสพติด? 2. ท่านคิดว่าสิ่งเสพติดมีผลเสียต่อตัวท่าน ต่อครอบครัว ต่อสังคมอย่างไรบ้าง? 3.ท่านคิดว่าสิ่งเสพติดเป็นภัยต่อเยาวชนอย่างไร? และท่านมีคำแนะนำอย่างไรบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนติดสิ่งเสพติด?