หุก่ม และวิธีการทำตะยัมมุม หรือการใช้ดินฝุ่นแทนน้ำ ในการยกหะดัษ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
التفاصيل
การตะยัมมุม (การใช้ดินฝุ่นแทนการใช้น้ำ)التيممมุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجريแปลโดย: ดานียา เจะสนิترجمة: دانيا جيء سنيكตรวจทาน: อัสรัน นิยมเดชาمراجعة: عصران نيئيوم ديشاจากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي8- การตะยัมมุม (การใช้ดินฝุ่นแทนการใช้น้ำ)· การตะยัมมุม คือการใช้มือทั้งสองข้างตบบนดินฝุ่นโดยตั้งเจตนาเพื่อได้รับอนุโลมให้ใช้ทำการละหมาดได้ เป็นต้น· การตะยัมมุม เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประชาชาติอิสลาม และเป็นสิ่งที่ทดแทนการชำระทำความสะอาดโดยการใช้น้ำ· อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่มีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่ทำการตะยัมมุมได้หากที่ไม่สามารถใช้น้ำได้ ซึ่งบางครั้งอาจหาน้ำใช้ ไม่พบหรืออาจมีหรือหาน้ำใช้พบแต่ถ้าใช้แล้วจะมีอันตรายต่อร่างกาย หรือบางครั้งอาจไม่สามารถที่จะใช้น้ำได้อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า«وَإِنْ كُنْتُمْ مَرْضَى أَوْ عَلَى سَفَرٍ أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِنْكُمْ مِنَ الْغَائِطِ أَوْ لامَسْتُمُ النِّسَاءَ فَلَمْ تَجِدُوا مَاءً فَتَيَمَّمُوا صَعِيداً طَيِّباً فَامْسَحُوا بِوُجُوهِكُمْ وَأَيْدِيكُمْ مِنْهُ »ความว่า “และหากพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางหรือคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้ามีการถ่ายทุกข์หรือได้สัมผัสหญิงมา แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งหาฝุ่นดินที่สะอาด จงลูบใบหน้าและมือทั้งสองของพวกเจ้าจากฝุ่นดินนั้น” (อัลมาอิดะฮฺ : 6)· อนุญาตให้ตะยัมมุมด้วยทุกสิ่งที่อยู่บนพื้นดินซึ่งมีความสะอาดไม่ว่าจะเป็นดินฝุ่นหรือดินทรายหรือดินกรวดหรือดินโคลนเปียกหรือแห้งวิธีการทำตะยัมมุมให้ตั้งเจตนาเพื่อทำตะยัมมุม แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองตบลงบนฝุ่น หลังจากนั้นใช้ฝ่ามือทั้งสองนั้น ลูบใบหน้าแล้วลูบมือทั้งสอง โดยการลูบหลังมือขวาโดยใช้ฝ่ามือซ้ายและลูบหลังมือซ้ายโดยใช้ฝ่ามือขวา ซึ่งบางครั้งอาจเริ่มลูบมือทั้งสองก่อนการลูบหน้าก็ได้1- มีจากรายงานจากอับดุรเราะห์มาน อิบนฺ อับซียฺ จากบิดาของท่านได้กล่าวว่าجَاءَ رَجُلٌ إِلَى عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ فَقَالَ إِنِّي أَجْنَبْتُ فَلَمْ أُصِبِ الْمَاءَ فَقَالَ عَمَّارُ بْنُ يَاسِرٍ لِعُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ أَمَا تَذْكُرُ أَنَّا كُنَّا فِي سَفَرٍ أَنَا وَأَنْتَ فَأَمَّا أَنْتَ فَلَمْ تُصَلِّ وَأَمَّا أَنَا فَتَمَعَّكْتُ فَصَلَّيْتُ فَذَكَرْتُ لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّمَا كَانَ يَكْفِيكَ هَكَذَا» فَضَرَبَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِكَفَّيْهِ الْأَرْضَ وَنَفَخَ فِيهِمَا ثُمَّ مَسَحَ بِهِمَا وَجْهَهُ وَكَفَّيْهِความว่า “มีชายคนหนึ่งไปหาท่านอุมัรฺ อิบนุ ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แล้วกล่าวว่า ครั้งหนึ่งฉันมีญะนาบะฮฺ และฉันหาน้ำที่จะใช้ชำระไม่ได้ แล้วอัมมารฺ อิบนฺ ยาสิรฺ ก็ได้กล่าวแก่ท่านอุมัรฺ อิบนุ ค็อฏฏอบเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านยังจำได้มั้ยเมื่อตอนที่เราเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งท่านนั้นมิได้ทำละหมาด ส่วนฉันใช้วิธีเกลือกกลิ้งร่างกายกับพื้นดินแล้วก็ทำละหมาด ฉันได้เล่าพฤติการณ์ดังกล่าวให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฟัง แล้วท่านก็บอกว่า “ความจริงแล้วท่านเพียงแค่ทำอย่างนี้ก็เป็นการพอแล้ว (หลังจากนั้นท่านนบีได้สาธิตวิธีทำตะยัมมุม ให้ดู) และท่านนบี ได้ใช้ฝ่ามือทั้งสองตบลงบนพื้นดิน แล้วก็เป่าฝุ่นที่ฝ่ามือทั้งสองแล้วจึงใช้มือทั้งสองลูบใบหน้าและมือทั้งสองข้าง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 338 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่: 368)2- มีรายงานจากท่านอัมมารฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวเกี่ยวกับการทำตะยัมมุมไว้ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่าفَقَالَ إِنَّمَا كَانَ يَكْفِيكَ أَنْ تَصْنَعَ هَكَذَا فَضَرَبَ بِكَفِّهِ ضَرْبَةً عَلَى الْأَرْضِ ثُمَّ نَفَضَهَا ثُمَّ مَسَحَ بِهِمَا ظَهْرَ كَفِّهِ بِشِمَالِهِ أَوْ ظَهْرَ شِمَالِهِ بِكَفِّهِ ثُمَّ مَسَحَ بِهِمَا وَجْهَهُความว่า “ความจริงแล้วท่านเพียงแค่ทำอย่างนี้ก็เป็นการพอแล้ว หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ใช้ฝ่ามือทั้งสองตบลงบนฝุ่น แล้วก็สะบัดฝุ่นที่ฝ่ามือทั้งสองออกและใช้ฝ่ามือซ้ายลูบหลังมือขวาและใช้ฝ่ามือขวาลูบหลังมือซ้าย แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบใบหน้าของท่าน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 347 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่: 368)· เมื่อตั้งเจตนาทำตะยัมมุมเพื่อชำระตัวเองให้ปราศจากหะดัษที่เกิดจากสาเหตุหลายอย่างพร้อมๆ กัน เช่น จากปัสสาวะ อุจจาระ หรือฝันเปียก ก็ถือว่าทำตะยัมมุมครั้งเดียวใช้ได้ทั้งหมด· อนุญาตให้ผู้ที่ทำตะยัมมุมกระทำสิ่งที่อนุญาตให้ผู้มีวุฎูอ์กระทำได้ เช่นการละหมาด การเฏาะวาฟ การจับต้องมุศหัฟฺ เป็นต้น· การเสียตะยัมมุม จะเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่อไปนี้1- เมื่อมีน้ำ2- เมื่อหมดความจำเป็น เช่นป่วยไข้ เป็นต้น3- เมื่อเกิดการเสียน้ำละหมาดที่ได้กล่าวมาแล้ว· สำหรับผู้ที่ไม่มีน้ำหรือดินให้ใช้ หรือมีแต่ไม่สามารถที่จะใช้น้ำและดินได้นั้น อนุญาตให้ละหมาดในสภาพที่ไม่ต้องมีวุฎูอ์และไม่ต้องตะยัมมุม โดยไม่จำเป็นต้องละหมาดใหม่อีกครั้ง· มีการกำหนดให้ตะยัมมุมได้ เฉพาะเพื่อทำความสะอาดจากหะดัษเล็กและหะดัษใหญ่เท่านั้น ส่วนนะญิส สิ่งโสโครกทั้งหลายนั้น ไม่ว่าจะอยู่บนร่างกายหรือเสื้อผ้าจะทำความสะอาดโดยการตะยัมมุมไม่ได้ หากแต่ต้องชำระล้าง ขจัดออกไปให้หมด หากไม่สามารถขจัดออกไปได้ก็ให้ละหมาดในสภาพที่เป็นอยู่ได้· สำหรับผู้ที่มีแผลและไม่สามารถที่จะใช้น้ำเพราะจะเป็นอันตรายต่อแผลได้ ให้ใช้น้ำเช็ดส่วนที่เป็นแผล แล้วล้างส่วนอื่นๆ ที่ล้างได้ แต่ถ้าเช็ดส่วนที่เป็นแผลไม่ได้ ให้ทำตะยัมมุมแล้วล้างส่วนอื่นๆ ที่ล้างได้· ผู้ที่ได้ทำตะยัมมุมเมื่อละหมาดเสร็จแล้ว หลังจากนั้นได้พบน้ำในขณะที่เวลาละหมาดยังไม่หมด จะทำอย่างไรมีรายงานจากท่านอะบียฺ สะอีด อัล คุดฺรียฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าخَرَجَ رَجُلَانِ فِي سَفَرٍ فَحَضَرَتِ الصَّلَاةُ وَلَيْسَ مَعَهُمَا مَاءٌ فَتَيَمَّمَا صَعِيدًا طَيِّبًا فَصَلَّيَا، ثُمَّ وَجَدَا الْمَاءَ فِي الْوَقْتِ فَأَعَادَ أَحَدُهُمَا الصَّلَاةَ وَالْوُضُوءَ وَلَمْ يُعِدِ الْآخَرُ، ثُمَّ أَتَيَا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَذَكَرَا ذَلِكَ لَهُ فَقَالَ لِلَّذِي لَمْ يُعِدْ: «أَصَبْتَ السُّنَّةَ وَأَجْزَأَتْكَ صَلَاتُكَ» وَقَالَ لِلَّذِي تَوَضَّأَ وَأَعَادَ : «لَكَ الْأَجْرُ مَرَّتَيْنِ»ความว่า มีชายสองคนออกเดินทางด้วยกัน เมื่อถึงเวลาละหมาด ทั้งสองคนไม่ได้นำน้ำมาด้วย ดังนั้นทั้งสองคนจึงตะยัมมุมด้วยดิน แล้วทั้งสองคนก็ได้ละหมาด และเมื่อละหมาดเสร็จแล้วทั้งสองได้พบน้ำในขณะที่เวลาละหมาดยังไม่หมด ดังนั้นหนึ่งในสองคนได้อาบน้ำละหมาดแล้วละหมาดใหม่ ส่วนอีกคนหนึ่งไม่ได้ละหมาดใหม่ หลังจากนั้นทั้งสองคนได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านฟัง ท่านจึงกล่าวแก่ผู้ที่ไม่ได้ละหมาดใหม่ว่า “ท่านทำถูกต้องตามสุนนะฮฺแล้ว และละหมาดของท่านนั้นก็ใช้ได้แล้ว” และกล่าวแก่ผู้ที่อาบน้ำละหมาดแล้วละหมาดใหม่ว่า “สำหรับท่านนั้นได้บุญสองครั้ง” (เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ รายงานโดยอบูดาวุด เลขที่:338 สำนวนนี้เป็นของอบูดาวุด โปรดดูในเศาะฮีหฺอบูดาวุด เลขที่:328 และรายงานโดยนะสาอียฺ เลขที่:433โปรดดูในเศาะฮีหฺนะสาอียฺ เลขที่:420)