البحث

عبارات مقترحة:

المجيب

كلمة (المجيب) في اللغة اسم فاعل من الفعل (أجاب يُجيب) وهو مأخوذ من...

البصير

(البصير): اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على إثباتِ صفة...

الواحد

كلمة (الواحد) في اللغة لها معنيان، أحدهما: أول العدد، والثاني:...

อัล-หะฎอนะฮฺ การเลี้ยงดูบุตรและผู้เยาว์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، ริซัลย์ สะอะ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات النكاح - الحضانة
บทว่าด้วยอัลหะฎอนะฮฺ หรือการเลี้ยงดูบุตรและผู้เยาว์ ประกอบด้วยสิทธิในการเลียงดู ผู้ที่สมควรให้การเลียงดู การหมดสิทธิในการเลี้ยงดู และภาระการเลี้ยงดูเด็กหลังจากบรรลุศาสนภาวะ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

التفاصيل

การเลี้ยงดูบุตรالحضانةแปลโดย: ริซัลย์ สะอะترجمة: ريزال أحمدตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดีمراجعة: فيصل عبدالهاديจากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلاميการเลี้ยงดูบุตรการเลี้ยงดูบุตร คือ การดูแลผู้เยาว์หรือผู้ไร้เดียงสาและปกป้องให้พ้นจากภัยอันตรายรวมทั้งอบรมบ่มนิสัย และให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุน เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง สิทธิในการปกครองเด็กมี  2 ประเภท ประเภทที่ 1 พ่อมีสิทธิเหนือกว่าแม่ คือ สิทธิปกครองเรื่องทรัพย์สินและการแต่งงาน ประเภทที่ 2  แม่มีสิทธิเหนือกว่าพ่อ คือ สิทธิปกครองเรื่องการเลี้ยงดูและการให้นมผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูบุตร การเลี้ยงดูบุตรเป็นหนึ่งในความดีงามของอิสลาม และอิสลามให้ความสำคัญกับผู้เยาว์ เมื่อพ่อแม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทและเกิดเรื่องหย่ากัน ในขณะที่ทั้งสองมีบุตรที่ต้องให้การเลี้ยงดู ผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูระหว่างพ่อกับแม่ คือ แม่ เนื่องจากแม่มีความเมตตาสงสาร นุ่มนวลดีกว่าใครๆ และเป็นผู้ที่มีความอดทน สามารถให้การอบรมบ่มนิสัยดีกว่า  เมื่อผู้เป็นแม่มีอุปสรรคไม่สามารถให้การเลี้ยงดูได้ ก็เป็นหน้าที่ของยายหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป  ถ้าหากยายมีอุปสรรคทำการเลี้ยงดูไม่ได้  ก็เป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของแม่(น้าหรือป้า) ถ้ามีอุปสรรค์อีกก็เปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพ่อ หลังจากนั้นย่าหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของปู่ หลังจากนั้นแม่ของปู่ หรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพี่น้องสาวพ่อแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวพ่อเดียวกัน ตามลำดับ  หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อหรือผู้ที่อยู่ลำดับใกล้ชิดหลังจากเขาการเลิกภาระการเลี้ยงดูในเมื่อผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดปฏิเสธให้การเลี้ยงดูหรือไม่มีความสามารถหรือไม่สมควรให้การเลี้ยงดู หน้าที่การเลี้ยงดูจะถูกเลื่อนไปทางผู้เหมาะสมหลังจากเขา  และเมื่อแม่ได้แต่งงานใหม่สิทธิการเลี้ยงดูของนางจะสิ้นสุดลง และการเลี้ยงดูก็เลื่อนไปทางผู้ที่เหมาะสมหลังจากนางนอกจากสามีใหม่ของนางได้ยินยอมให้นางเลี้ยงดู ผู้เยาว์จะอยู่กับใครเมื่อบรรลุศาสนภาวะ?1. เมื่อเด็กอายุครบเจ็ดขวบและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ให้เขาเลือกว่าจะอยู่กับพ่อหรือกับแม่ และไม่อนุญาตให้เด็กอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ที่ไม่สามารถจะปกป้องเด็กให้พ้นจากความชั่วร้าย และคนกาฟิรไม่อนุญาตให้การเลี้ยงดูแก่เด็กมุสลิม 2. เด็กหญิงเมื่ออายุครบเจ็ดขวบควรจะอยู่กับพ่อหากได้รับการอุปการะเลี้ยงดูอย่างดี และไม่ได้รับผลกระทบที่เสียหายจากแม่เลี้ยง ถ้าไม่แล้วควรจะกลับไปอยู่กับแม่3. เด็กชายเมื่อบรรลุศาสนภาวะจะไปอยู่กับใครก็ได้ ส่วนเด็กหญิงนั้นต้องอยู่กับพ่อจนกว่าจะแต่งงานและสามีรับไปอยู่ด้วยกับเขา และพ่อไม่มีสิทธิที่จะหักห้ามเธอหากเธอจะไปเยี่ยมแม่ของเธอหรือแม่ของเธอจะมาเยี่ยมเธอ

المرفقات

2

อัล-หะฎอนะฮฺ การเลี้ยงดูบุตรและผู้เยาว์
อัล-หะฎอนะฮฺ การเลี้ยงดูบุตรและผู้เยาว์