البحث

عبارات مقترحة:

المحسن

كلمة (المحسن) في اللغة اسم فاعل من الإحسان، وهو إما بمعنى إحسان...

الجبار

الجَبْرُ في اللغة عكسُ الكسرِ، وهو التسويةُ، والإجبار القهر،...

การซื้อขาย

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، อิสมาน จารง
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات المعاملات
บทว่าด้วยการซื้อขาย พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์ ของท่านเชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

التفاصيل

·       หุกม(บทบัญญัติ)ของการซื้อขายแบบมุฮากอละฮฺ ·       หุกมของการซื้อขายแบบมุซาบานะฮฺ ·       การขายแบบฉ้อโกง หลอกลวงจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการด้วยกัน คือ การซื้อขายكتاب البيعมุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجريจากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلاميการซื้อขาย·       อิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์แบบ ถูกประทานลงมาเพื่อวางระบบการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ทรงสร้างและมนุษย์ผู้ถูกสร้างด้วยบัญญัติการปฏิบัติศาสนกิจ (อิบาดะห์) ต่างๆที่จะช่วยขัดเกลาและชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาด และเพื่อวางระบบการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เช่น การซื้อขาย การแต่งงาน มรดก การลงอาญา และอื่นๆ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้องอย่างสันติ ยุติธรรม และมีเมตตาต่อกัน·       ประเภทของข้อตกลง (ในอิสลาม) มี 3 ประเภท1-   ข้อตกลงที่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน เช่นการซื้อขาย การเช่า-จ้าง การร่วมลงทุน เป็นต้น2-  ข้อตกลงที่เป็นการให้หรือการบริจาค เช่นการยกให้ การให้ทานบริจาค การให้ยืม การประกันหรือชดใช้ เป็นต้น3-  ข้อตกลงที่เป็นทั้งการให้และเป็นการแลกเปลี่ยนกัน เช่นการให้กู้ยืม ซึ่งเป็นการให้ทานเพราะมีความหมายของการให้ทานบริจาค และเป็นการแลกเปลี่ยนเพราะมีการชดใช้คืนเท่าเดิมเป็นต้น·       การซื้อขาย คือการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินด้วยทรัพย์สินเพื่อการครอบครอง·    มุสลิมไม่ว่าเขาจะประกอบอาชีพใดก็ตาม เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของเอกองค์อัลลอฮฺเกี่ยวกับงานนั้น และเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่พระองค์ ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ และฟื้นฟูสุนนะฮฺของท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในการงานดังกล่าว พร้อมกับขวานขวายสาเหตุที่ (นำมาซึ่งเครื่องยังชีพ) ตามที่ได้ถูกสั่งใช้ให้ปฏิบัติ ต่อมาอัลลอฮฺทรงประทานริสกีที่ประเสริฐแก่เขาพร้อมกับชี้นำเขาให้นำริสกีที่ได้มานั้นไปใช้จ่ายในหนทางที่ดีและถูกต้อง·       เคล็ดลับ (หิกมะห์) ในการบัญญัติการซื้อขายเนื่องจากว่า เงิน ทรัพย์สิน และสินค้าต่างๆกระจัดกระจายอยู่ตามผู้คน ในขณะที่มนุษย์มีความต้องการต่อสิ่งที่สหายของเขาครอบครองอยู่ ซึ่งสหายของเขาจะไม่ยอมมอบสิ่งที่เขาครอบครองอยู่ให้แก่เขาโดยปราศจากสิ่งแลกเปลี่ยน ดังนั้น ด้วยการอนุมัติให้มีการซื้อขาย ทำให้เขาได้สมหวังในสิ่งที่เขากำลังต้องการอยู่ และทำให้เขาได้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ไม่เช่นนั้นแล้ว มนุษย์ก็จะหันไปใช้วิธีการปล้นสะดม ลักขโมย ฉกชิง ใช้กลอุบาย และกฆ่าฟันกัน (เพื่อให้ได้ครอบครองในสิ่งที่ตัวเองต้องการ)  ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงได้ทำให้การซื้อขายเป็นสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) เพื่อให้มนุษย์ได้บรรลุถึงผลประโยชน์และระงับความชั่วร้ายดังกล่าว ซึ่งการซื้อขายนั้นถือว่าเป็นที่อนุญาตโดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ (อิจญ์มาอฺ)   อัลลอฮฺตรัสว่า«وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا»ความว่า “และอัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามริบา(ดอกเบี้ย)”  (อัลบะเกาะเราะฮฺ  275) ·       เงื่อนไขของการซื้อขายที่ถูกต้อง1- ความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ยกเว้นผู้ถูกบังคับโดยชอบธรรม2- บุคคล (ผู้ซื้อและผู้ขาย) ที่จะทำข้อตกลงกันต้องเป็นบุคคลที่สามารถดำเนินการเองได้ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นไท (ไม่ใช่ทาส) บรรลุศาสนภาวะ และมีสติปัญญาที่สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี3- สินค้าที่จะทำการซื้อขายต้องเป็นสิ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่นยุง และแมลงสาบ และไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายสิ่งที่ประโยชน์ของมันเป็นที่ต้องห้าม เช่นเหล้า และหมู เช่นเดียวกับไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายในสิ่งที่เป็นประโยชน์แต่เป็นที่อนุญาตเฉพาะในภาวะที่จำเป็นและฉุกเฉินเท่านั้น เช่นสุนัข ซากสัตว์ ยกเว้นซากปลา และตั๊กแตน 4- สินค้าที่จะทำการซื้อขายต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขาย หรือได้รับอนุญาตให้ทำการซื้อขายในเวลาที่ทำความตกลงซื้อขาย5- วัตถุสินค้าที่จะทำการซื้อขายต้องเป็นทีรู้กันอย่างชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย จะด้วยการมองเห็นหรือรู้ลักษณะของมันก็ได้6- ราคาของสินค้าต้องมีการระบุอย่างชัดเจน7- สินค้าต้องเป็นสิ่งที่สามารถส่งมอบได้ ดั้งนั้นจึงไม่อนุมัติให้ทำการซื้อขายปลาที่อยู่ในทะเล หรือนกที่บินอยู่ในอากาศ เป็นต้น เพราะมีความหมายของการหลอกลวงอยู่เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันความอยุติธรรม ความหลอกลวง และริบาที่อาจจะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย (หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)·       การตกลงซื้อขายจะเป็นผลด้วยหนึ่งในสองลักษณะต่อไปนี้1-คำพูด โดยการที่ผู้ขายกล่าวว่า “ฉันขาย” หรือ “ฉันให้ท่านครอบครอง” เป็นต้น และผู้ซื้อก็กล่าวว่า “ฉันซื้อ” หรือ” ฉันรับมอบ” เป็นต้น ตามแต่ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกัน (ในสังคมนั้นๆ)2-การกระทำ นั่นคือการหยิบยื่นให้แก่กัน เช่น ผู้ซื้อกล่าวว่า “ขอเนื้อให้แก่ฉัน100บาท” ผู้ขายก็ยื่นให้โดยไม่ได้พูดอะไรเลย และการปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ (ของแต่ละท้องถิ่น) เมื่อใดที่มีความพึงพอใจจากทั้งสองฝ่าย (ก็ถือว่าใช้ได้)·       ความประเสริฐของการวะรอฺอ์ (ระมัดระวัง) ในการทำนิติกรรมระหว่างกันมุสลิมทุกคนจำเป็นต้องทำให้การซื้อขาย อาหารและเครื่องดื่ม และการทำนิติกรรมต่างๆของเขาถูกต้องตามสุนนะฮฺ ด้วยการรับเอาสิ่งที่หะลาลอย่างชัดแจ้ง แล้วทำนิติกรรมกับมัน และหลีกห่างจากสิ่งที่หะรอมอย่างชัดแจ้ง และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับมัน ส่วนสิ่งที่ไม่ชัดเจนและคลุมเครือก็ควรจะละทิ้งเสียเพื่อปกป้องศาสนาและเกียรติของตัวเขาไม่ให้ตกไปสู่สิ่งที่หะรอม (โดยไม่รู้ตัว)มีรายงานจากท่าน อัน-นุอฺมาน บุตร อัลบะชีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า ท่านได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ (ซล) กล่าวว่า «إِنَّ الْحَلاَلَ بَيِّنٌ، وَإِنَّ الْحَرَامَ بَيِّنٌ، وَبَيْنَهُمَا مُشْتَبِهَاتٌ لاَ يَعْلَمُهُنَّ كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ، فَمَنْ اتَّقَى الشُّبُهَاتِ اسْتَبْرَأَ لِدِينِهِ وَعِرْضِهِ، وَمَنْ وَقَعَ فِي الشُّبُهَاتِ وَقَعَ فِي الْحَرَامِ، كَالرَّاعِي يَرْعَى حَوْلَ الْحِمَى يُوشِكُ أَنْ يَرْتَعَ فِيهِ، أَلاَ وَإِنَّ لِكُلِّ مَلِكٍ حِمًى، أَلاَ وَإِنَّ حِمَى اللَّهِ مَحَارِمُهُ، أَلاَ وَإِنَّ فِي الْجَسَدِ مُضْغَةً، إِذَا صَلَحَتْ صَلَحَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، أَلاَ وَهِيَ الْقَلْبُ». متفق عليه ความว่า “แท้จริงสิ่งหะลาล(อนุญาต)นั้นชัดเจน และสิ่งหะรอม(ต้องห้าม)ก็ชัดเจน และระหว่างทั้งสองนั้นมีสิ่งคลุมเครือมากมายที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ(ว่าหะลาลหรือหะรอม) ดังนั้นผู้ใดที่ระวังจากสิ่งคลุมเครือแท้จริงเขาได้ทำให้เกียรติและศาสนาของเขาปลอดภัย และผู้ใดกระทำในสิ่งที่คลุมเครือก็ถือว่าแท้จริงแล้วเขาได้ตกลงสู่สิ่งต้องห้าม เปรียบดังเช่นคนเลี้ยงสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ของตนใกล้กับเขตหวงห้ามซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าสัตว์ของเขาจะละเมิดเขตนั้น, พึงสังวรเถิดว่า กษัตริย์ทุกคนจะมีเขตหวงห้ามของพระองค์ และเขตหวงห้ามของอัลลอฮฺก็คือสิ่งหะหอมต่างๆที่พระองค์ทรงห้าม พึงสังวรเถิดว่า ในร่างกายนั้นมีก้อนเนื้อยู่ก้อนหนึ่งเมื่อใดที่มันดีร่างกายทั้งหมดก็จะดีด้วย และเมื่อใดที่มันเสื่อมเสียร่างกายทั้งหมดก็จะเสื่อมเสียตามไปด้วย พึงสังวรเถิดว่า ก้อนเนื้อก้อนนั้นคือหัวใจ” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 52 และมุสลิม หมายเลข 1599 และสำนวนเป็นของท่านมุสลิม)·       สิ่งคลุมเครือต่างๆในเรื่องทรัพย์สินนั้นสมควรใช้จ่ายมันในสิ่งที่ห่างไกลจากการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และการใช้จ่ายที่ใกล้ที่สุดก็คืออาหารและเครื่องดื่มที่จะเข้าสู่ท้อง หลังจากนั้นก็คือสิ่งที่อยู่ภายนอก(ร่างกาย) เช่นเสื้อผ้า แล้วก็สิ่งที่ห่างขึ้นที่เป็นพาหนะต่างๆเช่นม้า รถและอื่นๆ·       ผลดี (ประโยชน์) ของทรัพย์สินที่หะลาล1-อัลลอฮฺได้ตรัสว่า«فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاَةُ فَانتَشِرُوا فِي الأَرْضِ وَابْتَغُوا مِن فَضْلِ اللهِ وَاذْكُرُوا اللهَ كَثِيرًا لَّعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»ความว่า  “ดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นจากละหมาด (ญุมอัต) แล้ว พวกท่านจงแยกย้ายไปบนหน้าแผ่นดิน และจงแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทาน และจงระลึกถึงพระองค์มากๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้รับความสำเสร็จ” (อัลญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่10)2-จากท่าน อัลมิกดาด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า«مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَامًا قَطُّ خَيْرًا مِنْ أَنْ يَأْكُلَ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ، وَإِنَّ نَبِيَّ اللهِ دَاوُدَ عَلَيْهِ السَّلاَم كَانَ يَأْكُلُ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ»  ความว่า “ไม่มีผู้ใดทานอาหารคนใดที่จะดีกว่าผู้ที่ทานอาหารที่ได้จากการทำงานด้วยมือของเขาเอง และแท้จริงท่านนบีของอัลลอฮฺ ดาวูด อะลัยหิสสะลาม ท่านจะทานอาหารที่ได้จากการทำงานด้วยมือของท่านเอง” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2072)·    บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะทำการค้าขาย และทำธุรกิจระหว่างกัน แต่เมื่อใดที่สิทธิหนึ่งสิทธิใดของอัลลอฮฺได้ถูกบัญชามายังพวกเขา การค้าและการซื้อขายเหล่านั้นก็ไม่อาจทำให้พวกเขาลืมระลึกถึงอัลลอฮฺได้จนกว่าพวกเขาจะได้ชำระสิทธินั้นๆของพระองค์·    การประกอบอาชีพของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน และอาชีพที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละบุคคลก็คืออาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของเขา เช่นการเกษตร การอุตสาหกรรม หรือการพาณิชย์ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ศาสนากำหนด ·    มนุษย์วาญิบ (จำเป็น) ต้องเพียรพยายามและอุตสาหะในการแสวงหาริสกีที่หะลาล เพื่อที่เขาจะได้บริโภค ใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และในหนทางของอัลลอฮฺ พร้อมทั้งพยายามหลีกห่างจากการขอทานจากเพื่อนมนุษย์  และรายได้ที่ประเสริฐที่สุดคือรายได้ที่มาจากการหยาดเหงื่อของเขาเองและทุกการซื้อขายล้วนเป็นสิ่งที่ประเสริฐ.รายงานจากอบูฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لأَنْ يَأْخُذَ أَحَدُكُمْ حَبْلَهُ فَيَحْتَطِبَ عَلَى ظَهْرِهِ خَيْرٌ لَهُ مِنْ أَنْ يَأْتِيَ رَجُلاً فَيَسْأَلَهُ أَعْطَاهُ أَوْ مَنَعَهُ». متفق عليهความว่า “ขอสาบานด้วยพระเจ้าที่ชีวิตของฉันอยู่ในมือของพระองค์ ว่า การที่คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเอาเชือกแล้วนำไปเก็บและมัดฟืนแบกไว้บนหลังเขา(แล้วเอาไปขาย) ย่อมเป็นการดีกว่าสำหรับเขาที่จะไปขอทานจากผู้อื่น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะให้หรือไม่ให้แก่เขาก็ตาม” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1470  และมุสลิม หมายเลข 1042  และสำนวนเป็นของอัลบุคอรีย์)·       ความประเสริฐของการประนีประนอมในการซื้อขาย  มนุษย์ควรจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และประนีประนอมในการทำธุระกรรมต่างๆของเขาเพื่อที่จะได้มาซึ่งความเมตตาและโปรดปรานจากอัลลอฮฺ มีรายงานจากท่านญาบีร บุตร อับดิลลาฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «رَحِمَ اللهُ رَجُلاً سَمْحًا إِذَا بَاعَ وَإِذَا اشْتَرَى وَإِذَا اقْتَضَى»ความว่า “อัลลอฮฺจะทรงเมตตาแก่ชายผู้หนึ่งที่มีความประนีประนอมเมื่อยามที่เขาขาย เมื่อยามเขาซื้อ และเมื่อยามที่เขาเรียกเก็บหนี้ (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2076)·       อันตรายของการชอบสาบานในการขายถึงแม้ว่าการสาบานในการขายจะเป็นผลดีต่อสินค้า (ทำให้สมารถขายได้ดี) แต่มันจะทำให้กำไรที่ได้มาไม่มีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ)  แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการสาบานโดยท่านได้กล่าวว่า «إِيَّاكُمْ وَكَثْرَةَ الْحَلِفِ فِي الْبَيْعِ، فَإِنَّهُ يُنَفِّقُ ثُمَّ يَمْحَقُ»ความว่า “พวกท่านจงระวังจากการชอบสาบานบ่อยๆในการซื้อขาย เพราะแท้จริงมันจะช่วยให้ขายได้ หลังจากนั้นความบะเราะกะฮฺ (จำเริญ) ก็จะสูญสิ้นไป (รายงานโดยมุสลิม หมายเลข 1607)·    ความซื่อสัตย์ในการซื้อขายเป็นสาเหตุที่จะได้มาซึ่งความจำเริญ และการพูดโกหกเป็นสาเหตุที่จะทำให้ความจำเริญถูกขาดหายไปกุญแจไขริสกีและสาเหตุกุญแจสำคัญสำหรับไขริสกีและสาเหตุที่จะทำให้อัลลอฮฺทรงประทานริสกีลงมา คือ·       การขออภัยโทษจากอัลลอฮฺและเตาบัต(ขอลุแก่โทษ)ต่อพระองค์จากบาปกรรมต่างๆ1.อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้กล่าวเกี่ยวกับนบีนูฮฺอะลัยฮิสสะลามว่า«فَقُلْتُ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ إِنَّهُ كَانَ غَفَّارًا، يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَارًا، وَيُمْدِدْكُمْ بِأَمْوَالٍ وَبَنِين، وَيَجْعَلْ لَكُمْ جَنَّاتٍ وَيَجْعَل لَّكُمْ أَنْهَارًا»ความว่า“ข้าพระองค์ได้กล่าวว่าพวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงทำให้มีสวนและลำน้ำมากมายแก่พวกท่าน (ซูเราะฮฺ นูหฺ อายะฮฺ 10-12)2. อัลลอฮฺ ได้ตรัส เกี่ยวกับนบีฮูดอะลัยฮิสสะลามว่า«وَيَا قَوْمِ اسْتَغْفِرُواْ رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُواْ إِلَيْهِ يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَارًا وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً إِلَى قُوَّتِكُمْ وَلاَ تَتَوَلَّوْاْ مُجْرِمِينَ»ความว่า“และโอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย จงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน และจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะทรงส่งเมฆ (น้ำฝน) มาเหนือพวกท่านให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างมากมาย และจะทรงเพิ่มพลังเป็นทวีคูณให้แก่พวกท่าน และพวกท่านอย่าผินหลัง (ให้แก่พระองค์) ในสภาพของผู้กระทำผิด (ซูเราะฮฺ ฮูด อายะฮฺ 52)·       ออกแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่ควรที่จะรีบออกแสวงหาปัจจัยยังชีพในเวลาเช้าตรู่ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวความว่า «اللَّهُمَّ بَارِكْ لأُمَّتِي فِي بُكُورِهَا»ความว่า  “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอพระองค์โปรดประทานความจำเริญแก่ประชาชาติของฉันในเวลาเช้าตรู่ของพวกเขาด้วยเถิด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อบูดาวูด หมายเลข 2606 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2270 และอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1212 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 968)·       มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ1) อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า«وَمَن يَتَّقِ اللهَ يَجْعَل لَّهُ مَخْرَجًا، وَيَرْزُقْهُ  مِنْ حَيْثُ لاَ يَحْتَسِبُ»ความว่า “และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาโดยที่เขามิได้คาดคิด” (ซูเราะห์ อัตเฎาะลาก อายะฮฺ 2-3)2) อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:«وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاء وَالأَرْضِ، وَلَـكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذْنَاهُم بِمَا كَانُواْ يَكْسِبُونَ»ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธา (ต่ออัลลอฮฺ) และมีความยำเกรง (ต่อพระองค์) แล้วไซร้ เราย่อมเปิดให้แก่พวกเขาซึ่งความจำเริญต่างๆจากฟากฟ้าและแผ่นดินอย่างแน่นอน แต่ทว่าพวกเขากลับปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขากำลังแสวงหาอยู่” (ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺ 96)          ·       หลีกเลี่ยงและห่างไกลจากสิ่งที่เป็นบาปกรรมอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:«ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعْضَ الَّذِي عَمِلُوا لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ»ความว่า “การบ่อนทำลายได้เกิดขึ้นทั้งบนบกและในน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำด้วยสองมือของพวกเขา เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาได้ลิ้มรสจากบางส่วนของสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ เผื่อว่าพวกเขาตจะกลับเนื้อกลับตัว” (ซูเราะฮฺ อัรรูม อายะฮฺ 41)·       มอบหมายกิจการต่างๆให้อยู่ภายใต้การดูแลของอัลลอฮฺ หมายความว่า: จิตใจต้องเชื่อมั่นต่อผู้คอยดูแล (อัลลอฮฺ) และมอบหมายกิจการต่างๆให้อยู่ภายใต้การดูแลของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น พร้อมๆกับการแสวงหาริสกีด้วยร่างกาย1)                  อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:«وَمَن يَتَوَكَّلْ عَلَى اللهِ فَهُوَ حَسْبُهُ إِنَّ اللهَ بَالِغُ أَمْرِهِ قَدْ جَعَلَ اللهُ لِكُلِّ شَيْءٍ قَدْرًا»ความว่า “และผู้ใดมอบหมาย (กิจการของเขา) แด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขาแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์โดยแน่นอน สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอัลลอฮฺทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว” (ซูเราะฮฺ อัตเฏาะลาก อายะฮฺ 3) 2) จาก อุมัร บิน อัลค็อตฎอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:«لَوْ أَنَّكُمْ تَوَكَّلْتُمْ عَلَى اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا»“ถ้าหากพวกเจ้าได้มอบหมาย (กิจการต่างๆของพวกเจ้า) แด่อัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนพระองค์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า เสมือนกับที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่นก โดยที่มันบินออกไปในยามเช้า ด้วยท้องที่ว่างเปล่าและบินกลับมาในตอนเย็นด้วยท้องที่อิ่มเอม” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อัลติรมีซีย์ หมายเลข 2344 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมีซีย์ หมายเลข 1911 และอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 4164 และสำนวนเป็นของท่าน เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ เลขที่ 3359)·       อุทิศเวลาเพื่อทำอีบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺหมายความว่า: ขณะที่ทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺจิตใจต้องนิ่งไม่วอกแวก (ไปคิดถึงสิ่งอื่น) ต้องมีสมาธิรำลึกถึงอัลลอฮฺ และต้องนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺเท่านั้น.รายงานจากมะกิล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:«يَقُولُ رَبُّكُمْ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: يَا ابْنَ آدَمَ تَفَرَّغْ لِعِبَادَتِي أَمْلأْ صَدْرَكَ غِنًى، وَأَمْلأْ يَدَيْكَ رِزْقًا، يَا ابْنَ آدَمَ لاَ تَبَاعَدْ مِنِّي فَأَمْلأْ قَلْبَكَ فَقْرًا وَأَمْلأْ يَدَيْكَ شُغْلاً» أخرجه الحاكم “พระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่งของพวกเจ้าได้ตรัสว่า: โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย เจ้าจงอุทิศเวลาเพื่อทำอิบาดะฮฺต่อฉัน แล้วฉันจะทำให้หัวใจของเจ้าเต็มอิ่มด้วยความร่ำรวย (รู้สึกพอ) และทำให้มือของสูเจ้าเต็มไปด้วยปัจจัยยังชีพ โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย จงอย่าได้ออกห่างจากฉัน มิเช่นนั้นฉันจะทำให้หัวใจของสูเจ้าเต็มไปด้วยความยากจน และมือของสูเจ้าเต็มไปด้วยการงาน”  (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย  อัลหากิม หมายเลข 7926  ดู อัล-สิลสิละฮฺ อัล-เศาะหีหะฮฺ หมายเลข 1359)·       ทำฮัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่องมีรายงานจากท่านอับดุลเลาะฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า: ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: تَابِعُوا بَيْنَ الْحَجِّ وَالْعُمْرَةِ فَإِنَّهُمَا يَنْفِيَانِ الْفَقْرَ وَالذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الْكِيرُ خَبَثَ الْحَدِيدِ وَالذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ، وَلَيْسَ لِلْحَجَّةِ الْمَبْرُورَةِ ثَوَابٌ إِلاَّ الْجَنَّةُ. أخرجه الترمذي والنسائيความว่า “จงกระทำระหว่างฮัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่อง เพราะแท้จริงแล้วทั้งสองสิ่งนั้นจะช่วยสลัดความยากจนและบาปกรรมออกไป เสมือนกับที่เครื่องสูบลมของช่างตีเหล็กช่วยสลัดตะกอนออกจาก (แร่) เหล็ก ทอง และเงิน และสำหรับฮัจญ์ที่มับรูร (ที่ถูกตอบรับโดยอัลลอฮฺ) ไม่มีการตอบแทนใดที่คู่ควรนอกจากสวนสวรรค์” (หะดีษ หะสัน รายงานโดย อัลติรมีซีย์ หมายเลข 810 และสำนวนเป็นของท่าน เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมีซีย์ หมายเลข 650 และอัลนะสาอีย์ หมายเลข 2631 เศาะฮีหฺสุนันอัลนาสาอีย์ หมายเลข 2468)·       ใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ1) อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:«وَمَا أَنْفَقْتُم مِّن شَيْءٍ فَهُوَ يُخْلِفُهُ وَهُوَ خَيْرُ الرَّازِقِينَ»ความว่า “และสิ่งใดก็ตามที่พวกเจ้าได้บริจาคไป พระองค์จะทรงทดแทนมัน และพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ดีเลิศแห่งบรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (ซูเราะฮฺ สะบะอฺ อายะฮฺ 39)  2)รายงาน จากท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: «قَالَ اللهُ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: يَا ابْنَ آدَمَ أَنْفِقْ أُنْفِقْ عَلَيْكَ»“อัลลอฮฺได้ตรัสว่า: โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย พวกเจ้าจงใช้จ่าย (ในหนทางของอัลลอฮฺจากสิ่งที่พระองค์ทรงถูกประทานให้) แล้วฉันจะใช้จ่าย (ประทานเพิ่ม) ให้แก่พวกเจ้า" (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 993 (และอัลบุคอรีย์ หมายเลข 4933 – ผู้แปล)·       ใช้จ่ายแก่ผู้ที่อุทิศเวลาเพื่อศึกษาหาความรู้ศาสนา      รายงานจากท่าน อนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า: ((ได้มีพี่น้องสองคนในสมัยของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งคนหนึ่ง (ไม่ได้ทำงานแต่) จะไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (เพื่อศึกษาศาสนา) และอีกคนหนึ่งจะออกไปทำงาน ดังนั้นคนที่ออกไปทำงานจึงร้องเรียนต่อท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับพี่น้องของเขา (ว่าเอาเปรียบเขา) ท่านนบีจึงได้กล่าวแก่เขาว่า  «لَعَلَّكَ تُرْزَقُ بِهِ»“บางที ท่านอาจได้รับการประทานริสกีโดยผ่าน (กิจการของ) เขาก็ได้” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อัตติรมีซีย์ หมายเลข 2345 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1912)·       เชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติ   นั่นคือพยายามหยิบยื่นความดีต่างๆที่สามารถจะกระทำได้แก่ญาติพี่น้อง  และช่วยปกป้องพวกเขาจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ พร้อมทั้งปฏิบัติดีต่อพวกเขาเหล่านั้นรายงานจากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านได้กล่าวว่า “ฉันได้ฟังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «مَنْ سَرَّهُ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِي رِزْقِهِ، أَوْ يُنْسَأَ لَهُ فِي أَثَرِهِ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ»“ผู้ใดพอใจที่จะให้ริสกีของเขาแผ่กว้างและเพิ่มพูน หรือพอใจที่จะให้ร่องรอย (แห่งผลจากความดี) ของเขาถูกบันทึกไว้ เขาก็จงเชื่อมความสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา" (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2067  และสำนวนเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 2557)·       การให้เกียรติแก่คนอ่อนแอและกระทำดีต่อพวกเขา1-รายงานจากมุศอับ บิน สะอัด กล่าวว่า “สะอัดเห็นว่า ตนมีความประเสริฐกว่าเศาะหาบะฮฺท่านอื่นๆที่อ่อนแอกว่า (เพราะตนแข็งแรงกว่า เพราะฉะนั้น ตนจึงควรจะได้รับการแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้จากการสงครามมากกว่าพวกเขา) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า «هَلْ تُنْصَرُونَ وَتُرْزَقُونَ إِلاَّ بِضُعَفَائِكُمْ»“ไม่ใช่เพราะผู้ที่อ่อนแอจากหมู่พวกท่านดอกหรือ พวกท่านจึงได้รับความช่วยเหลือ (ชัยชนะ) และได้รับการประทานปัจจัยยังชีพ (ที่มากมาย)?  (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2896)2-และในสำนวนอื่น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม«إِنَّمَا يَنْصُرُ اللهُ هَذِهِ الأُمَّةَ بِضَعِيفِهَا؛ بِدَعْوَتِهِمْ وَصَلاَتِهِمْ وَإِخْلاَصِهِمْ»“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานความช่วยเหลือแก่ประชาชาตินี้ด้วยผู้ที่อ่อนแอในหมู่พวกเขา ด้วยคำวิงวอนของพวกเขา การละหมาดของพวกเขา และความบริสุทธิ์ใจของพวกเขา” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดยอันนะซาอีย์ หมายเลข 3178 เศาะฮีหฺสุนันอันนะซาอีย์ หมายเลข 2978) ·       การอพยพในหนทางของอัลลอฮฺ  อัลลอฮฺได้ตรัสว่า«وَمَن يُهَاجِرْ فِي سَبِيلِ اللهِ يَجِدْ فِي الأَرْضِ مُرَاغَمًا كَثِيرًا وَسَعَةً وَمَن يَخْرُجْ مِن بَيْتِهِ مُهَاجِرًا إِلَى اللهِ وَرَسُولِهِ ثُمَّ يُدْرِكْهُ الْمَوْتُ فَقَدْ وَقَعَ أَجْرُهُ عَلى اللهِ وَكَانَ اللهُ غَفُورًا رَّحِيمًا»ความว่า “และผู้ใดที่อพยพในหนทางของอัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่าในพื้นดินนี้มีสถานที่หลบภัยมากมายและกว้างไกล  และผู้ใดที่ออกจากบ้านของเขาไปในฐานะผู้อพยพไปยังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ แล้วความตายก็มาถึงเขา แน่นอนรางวัลของเขานั้นย่อมปรากฏอยู่แล้ว ณ อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อันนิสาอฺ อายะห์ 100) ·       สิ่งต้องห้ามในบัญญัติศาสนามี 2 ประเภท1.สิ่งต้องห้ามที่เป็นวัตถุ เช่น ซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร สิ่งที่น่ารังเกียจ และสิ่งที่สกปรกต่างๆ2.สิ่งต้องห้ามที่เป็นการกระทำ เช่น ริบา (ดอกเบี้ย) การพนัน การกักตุนสินค้า การทุจริต การค้าขายที่เสี่ยงต่อความหายนะ และอื่นๆ ที่เป็นการอธรรม และกินทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ        สิ่งต้องห้ามประเภทแรก เป็นสิ่งที่ขยะแขยงของจิตใจ ส่วนประเภทที่สองเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของจิตใจ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งที่มาสกัดกั้น ห้ามปราม และลงโทษ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำในสิ่งดังกล่าว·       รูปแบบต่างๆ ของการซื้อขายที่ต้องห้ามอิสลามได้อนุญาตทุกกิจการที่จะนำมาซึ่งความดี ความเป็นมงคล และเป็นประโยชน์ที่เป็นที่อนุมัติ ขณะเดียวกัน อิสลามได้ห้ามการซื้อขายบางประเภทที่ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจนและเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือสร้างความสูญเสียต่อพ่อค้าตามท้องตลาด หรือทำให้เกิดความอาฆาตแค้น หรือทุจริตและโกหก หรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย และสติปัญญา และอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุของความอาฆาตบาดหมางใจ  การโต้เถียง การทิ่มแทงกัน และอันตรายต่างๆ.ดังนั้น การซื้อขายดังกล่าวจึงถูกห้ามและถือว่าไม่ถูกต้อง (เป็นโมฆะ) ส่วนหนึ่งของประเภทการซื้อขายที่ต้องห้าม คือการซื้อขายต่อไปนี้1- การซื้อขายด้วยการสัมผัสและจับต้อง (มุลามะซะฮฺ) เช่น ผู้ขายกล่าวแก่ผู้ซื้อว่า “ผ้าผืนใดที่ท่านได้จับต้อง มันก็จะเป็นของท่านด้วยราคา 100 บาท” การซื้อขายประเภทนี้ถือว่าเป็นโมฆะ เพราะมีความไม่ชัดเจนและเสี่ยงต่อความเสียหาย (แฝงอยู่)2-  การซื้อขายด้วยการโยน (มุนาบะซะฮฺ) เช่นผู้ซื้อกล่าวแก่ผู้ขายว่า “ผ้าผืนใดที่ท่านโยนมาให้ฉัน มันก็จะเป็นของฉันด้วยราคาเท่านั้นเท่านี้” การซื้อขายประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ เพราะมีความไม่ชัดเจนและเสี่ยงต่อความเสียหาย (แฝงอยู่)3- การซื้อขายด้วยการขว้างก้อนกรวด (ฮะศอต) เช่นผู้ขายกล่าวว่า “ท่านจงขว้างด้วยก้อนกรวดนี้ ถ้ามันตกลงบนสินค้าชิ้นใด สินค้านั้นก็จะเป็นของท่านด้วยราคาเท่านั้นเท่านี้” การซื้อขายประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเพราะมีความไม่ชัดเจนและเสี่ยงต่อความเสียหาย (แฝงอยู่)4- การซื้อขายด้วยการปั่นราคา (นะญัช) คือ การขึ้นราคาสินค้า (การประมูล) โดยผู้ที่ไม่ประสงค์จะซื้อสินค้า การซื้อขายประเภทนนี้ก็ถือว่าต้องห้ามเช่นกัน  เพราะจะทำให้ผู้ซื้อคนอื่นๆได้รับความเสียหาย (จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า) และเป็นการฉ้อโกงพวกเขา5- การขายของคนเมืองให้แก่คนชนบท (บัยอุหาฎิร ลิ บาดิน) คือการที่นายหน้า (ซึ่งเป็นชาวเมืองรับสินค้ามาจากชาวชนบท แล้ว) ขายสินค้านั้นด้วยราคาที่สูงกว่าราคารายวัน การขายประเภทนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการสร้างความเสียหายแก่ผู้ซื้อและสร้างความลำบากแก่พวกเขา แต่ถ้าหากคนชนบทมาหานายหน้าเอง แล้วขอให้นายหน้าช่วยขายหรือซื้อสินค้าให้แก่เขา ถือว่าไม่เป็นไร6- การขายสินค้าก่อนที่จะครอบครองอย่างสมบูรณ์ ถือว่าไม่อนุญาต เพราะมันจะนำไปสู่การโต้เถียง ทะเลาะวิวาท และยกเลิกการซื้อขาย โดยเฉพาะเมื่อผู้ขายเห็นว่าผู้ซื้อจะได้กำไรจากสินค้านั้น7- การซื้อขายแบบอีนะฮฺ คือ การขายสินค้าหนึ่ง ด้วยการร่นเวลาการจ่ายค่าสินค้าไว้ระยะหนึ่ง (ขายแบบสินเชื่อ) แล้วผู้ขายก็ซื้อสินค้านั้นคืนกลับจากผู้ซื้อด้วยราคาที่ต่ำกว่าด้วยเงินสด ดังนั้นจึงกลายเป็นการซื้อขายสองครั้งให้การตกลงซื้อขายเดียว ซึ่งการซื้อขายประเภทนี้ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามและเป็นโมฆะ เพราะมันจะนำไปสู่ริบา แต่ถ้าหากซื้อกลับหลังจากได้รับเงินค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว หรือหลังจากที่สภาพของสินค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว หรือซื้อจากคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้ซื้อสินค้าจากตนถือว่าเป็นที่อนุญาต.8- การแย่งซื้อแย่งขาย (ซื้อขายตัดหน้ากัน) เช่น การที่บุคคลหนึ่งซื้อสินค้าหนึ่งด้วยราคา 10 บาท และก่อนการซื้อขายจะสมบูรณ์ก็มีอีกคนหนึ่งมาบอกว่า ฉันจะขายสินค้าเหมือนกันนั้นแก่ท่านด้วยราคาเพียง 9 บาท หรือน้อยกว่าที่ท่านซื้อ การซื้อก็เช่นกัน ตัวอย่างเช่น บุคคลหนึ่งกล่าวแก่ผู้ที่ขายสินค้าหนึ่งด้วยราคา 10 บาทว่า ฉันจะซื้อจากท่านด้วยราคา15 บาทเพื่อที่จะให้เขายกเลิกการขายให้กับคนแรก และขายให้กับเขาแทน การซื้อการขายแบบนี้ถือว่าหะรอม(ต้องห้าม) เพราะมันทำให้เกิดผลเสียหายแก่บรรดามุสลิม และสร้างความโกรธแค้นระหว่างกัน9- การซื้อขายหลังจากมีการอะซานครั้งที่สองเพี่อละหมาดวันศุกร์สำหรับคนที่ต้องละหมาดวันศุกร์ ถือว่าเป็นการซื้อขายที่ต้องห้าม(หะรอม) และไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการทำข้อตกลงอื่นๆ (เช่นการ เช่า-จ้าง จำนำจำนอง เป็นต้น)10- การซื้อทุกสิ่งที่เป็นสิ่งหะรอม เช่น เหล้า สุกร เจว็ด หรือสิ่งที่นำไปสู่สิ่งต้องห้าม เช่น อุปกรณ์การบันเทิงต่างๆ (เช่น กีตาร์ ฉาบ ฉิ่งเป็นต้น) ถือว่าการซื้อและการขายสิ่งเหล่านี้เป็นที่ต้องห้ามและหะรอม·       ส่วนหนึ่งของการซื้อขายที่ต้องห้ามคือ การซื้อขายแบบ ฮะบะลุล ฮะบะละฮฺ (ขายลูกสัตว์ของลูกสัตว์ที่อยู่ในท้อง)  และการซื้อขายแบบ อัลมะลากีฮฺ หมายถึงขายลูกสัตว์ที่ยังอยู่ในท้องแม่ การซื้อขาย อัลมะฎอมีน หมายถึงสิ่ง(น้ำเชื้อ) ที่ยังอยู่ในสัตว์ตัวผู้ และซื้อขายด้วยการให้อูฐหรือสัตว์ตัวผู้ผสมพันธุ์   เช่นเดียวกับทรัพย์สินที่ได้จากการขายสุนัข แมว ค้าประเวณี ค่าหมอดู การขายสิ่งที่ไม่ชัดเจน การหลอกลวง การขายสิ่งที่ไม่สามารถส่งมอบได้ เช่นขายนกในอากาศ และขายผลไม้ก่อนใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น ทั้งหมดถือว่าเป็นการซื้อขายที่หะรอม·       ถ้าหากบุคคลหนึ่งขายส่วนของตนในสิ่งหนึ่งที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่นถือว่าใช้ได้ในส่วนของตน แต่ผู้ซื้อมีสิทธิ์ยกเลิกหากเขาไม่รู้มาก่อน (ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย)·    บรรดามุสลิมมีสิทธิ์ร่วมกันในสามสิ่งคือ น้ำ หญ้า และไฟ ดังนั้นน้ำฝน น้ำจากตาน้ำ ไม่อาจถือครอง และซื้อขายได้ ตราบใดที่ยังมิได้เอามาครอบครองโดยใส่ในถุงหนัง หรือถังน้ำ เป็นต้น หญ้าก็เช่นกันไม่ว่าจะสดหรือแห้งตราบใดที่มันยังอยู่บนผืนดินเดิมของมันไม่อนุญาตให้ขาย เพราะนี้คือสิ่งที่อัลลอฮฺได้กระจายให้แก่บรรดามัคลูก(สิ่งถูกสร้างทั้งมวล)ของพระองค์ จึงต้องทุ่มเทให้แก่ผู้ที่มีความต้องการมัน และถือว่าหะรอมที่จะกีดกันผู้ใด(จากการใช้ประโยชน์)จากมัน·       ถ้าหากบุคคลหนึ่งได้ขายบ้านของตนถือว่าขายรวมทั้งที่ดินของบ้านทั้งส่วนบนและด้านล้างลึกลงไปและสิ่งที่อยู่ในบ้าน(องค์ประกอบของบ้าน)  และถ้าหากสิ่งที่ขายคือที่ดินถือว่าสิ่งที่อยู่กับมันทั้งหมดรวมเข้าในการขายด้วยยกเว้นเมื่อมีการบอกยกเว้นไว้แล้ว·       ถ้าหากบุคคลหนึ่งขายบ้านโดยคิดว่ามันกว้าง100เมตร แต่ความจริงปรากฏว่ามันกว้างกว่าหรือแคบกว่านั้นถือว่าการขายถูกต้อง โดยส่วนเกินถือว่าเป็นของผู้ขาย และส่วนที่ไม่ครบผู้ขายต้องรับผิดชอบ  และสำหรับฝ่ายที่ไม่รู้หรือมันทำให้ความต้องการของเขาเสียหายมีสิทธิที่จะยกเลิกข้อตกลงซื้อขายนั้น·       ถ้าหากมีการรวมระหว่างการขายและการเช่า โดยกล่าวว่า “ฉันขายบ้านหลังนี้ด้วยราคาหนึ่งแสน และฉันให้ท่านเช่ามันด้วยราคาหนึ่งหมื่น” เมื่ออีกฝ่ายตอบว่า “ฉันรับ” ถือว่าการซื้อขายและการเช่าถูกต้องใช้ได้  เช่นเดียวกันถ้าหากเขากล่าวว่า “ฉันขายบ้านหลังนี้ให้แก่ท่าน และฉันให้ท่านเช่ามัน ด้วยราคาหนึ่งพัน ถือว่าใช้ได้ และให้มีการแบ่งราคาระหว่างทั้งสอง(เช่าและซื้อ)ถ้าหากมีความจำเป็น·       หุกมการเอาของกำนัล(ของแถม)จากร้านค้าต่างๆของแถมและรางวัลต่างๆที่บรรดาร้านค้ามอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าของตนที่วางขายถือว่าหะรอม(ต้องห้าม)เพราะมันเป็นการพนัน และยั่วยวนให้คนซื้อสินค้าจากตนมากกว่าผู้อื่นและซื้อสิ่งเขาที่ไม่ได้มีความต้องการ(จำเป็น) หรือหะรอมเพราะมีการซื้อเพียงเพราะหวังในของแถมและทำให้พ่อค้าคนอื่นเดือดร้อน  ของแถมที่เอาก็ถือว่าหะรอมเพราะมันเป็นการพนันที่ศาสนาห้าม อัลลอฮฺได้ตรัสว่า«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»   ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้น เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของซัยฎอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อัล-มาอิดะห์ อายะฮฺที่ 90)·       การซื้อขายวารสารและหนังสือลามกต่างๆวารสารและหนังสือลามก(เผยเอาเราะห์) ที่จะนำไปสู่ความเสื่อมเสียและความชั่วต่างๆ รวมทั้งม้วนวิดีโอและเทปที่บันทึกเสียงเพลง เสียงดนตรีและมีรูปภาพผู้หญิงที่ไม่ปกปิดอวัยวะส่วนที่อิสลามห้ามไม่ว่าจะเป็นการร้องรำหรือการแสดง รวมทั้งมีคำที่หยาบคาย คำที่เกี่ยวกับความรักที่เกินขอบเขตที่จะนำพาไปสู่ความตกต่ำ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งหะรอมทั้งการซื้อและการขาย รวมถึงการฟัง การดู การทำการค้าด้วย ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาจะด้วยการขาย ซื้อ หรือเช่าทั้งหมดถือว่าเป็นสิ่งน่าขยะแขยงหะรอมไม่อนุญาตให้เจ้าของใช้ประโยชน์.·       หุกุมการทำประกัน การค้า (อัต ตะมีน อัต ติญารีย์)อัตตะมีน อัต-ตีญารีย์ เป็นเป็นข้อตกลงที่บริษัทผู้ประกันจำเป็นจะต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้ทำประกันตามจำนวนที่ตกลงกันไว้เมื่อเกิดความเสียหายหรือการขาดทุน แลกกับการจ่ายค่าประกันที่ผู้ทำประกันจะต้องจ่าย ซึ่งสิ่งนี้เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม) เพราะเป็นข้อตกลงที่ไม่กระจางชัดและเป็นการโกหหลอกลวง เป็นการพนันประเภทหนึ่ง อีกทั้งเป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยแนวทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิต สินค้า อุปกรณ์ หรืออื่นๆ·    ไม่อนุญาตให้ทำการขายน้ำผลไม้แก่คนที่จะนำไปผลิตเหล้า และไม่อนุมัติให้ทำการขายอาวุธในช่วงสงคราม และไม่อนุมัติขายสัตว์ที่ยังมีชีวิตกับสัตว์ที่ตาย(เชือด)แล้ว·    ทุกการซื้อขายที่มีการผูกกับเงื่อนไขที่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่เป็นหะลาลกลายเป็นหะรอม และสิ่งที่หะรอมกลายเป็นหะลาล ถือว่าเป็นการซื้อขายที่ถูกต้องเป็นผล เช่นคนขายวางเงื่อนไขว่าจะต้องให้ตนได้อาศัยอยู่ในบ้าน(ต่ออีก)หนึ่งเดือน หรือคนซื้อวางเงื่อนไขว่าให้(ผู้ขาย)แบกฟืน(ไปส่ง)หรือผ่าฟืนให้ เป็นต้น.·       ที่ดินที่ทุ่งมินา(มุนา) มุซดะลิฟะฮฺ และอารอฟะห์ เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาเช่นเดียวกับมัสยิดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมุสลิมทุกคน จึงไม่สามารถที่จะซื้อขายหรือเช่าได้ ใครที่ทำเรื่องเช่นนั้นเขาจะได้เป็นคนทรยศต่อลอัลลอฮฺ เป็นบาป อธรรม และค่าเช่าค่าจ้างที่ได้จากสิ่งเหล่านั้นถือว่าหะรอม·       หุกุมการซื้อขายแบบตักซีฏ (การขายผ่อนชำระ)การซื้อขายแบบผ่อนชำระเป็นการซื้อขายลักษณะหนึ่งของการซื้อขายแบบเงินเชื่อ (บัยอ. นะสีอะฮฺ) ซึ่งเป็นที่อนุญาต   การซื้อขายเงินเชื่อจะมีกำหนดเวลาในการชำระครั้งเดียว ส่วนการซื้อขายแบบตักซีฏจะมีกำหนดเวลาชำระหลายครั้ง·    อนุญาตให้เพิ่มราคาสินค้าเนื่องจากการยืดเวลาในการชำระหรือการผ่อนชำระ เช่นขายสินค้าหนึ่งด้วยราคาหนึ่งร้อยบาทเมื่อจ่ายเงินสดทันที และขายด้วยราคาหนึ่งร้อยยี่สิบบาทเมื่อจ่ายแบบเงินเชื่อหรือผ่อนชำระ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เพิ่มมากจนเกินควรหรือฉวยโอกาสจากผู้ที่มีความจำเป็น·    การขายแบบเงินเชื่อหรือผ่อนชำระถือว่าเป็นซุนัต หากมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ผู้ซื้อ โดยไม่มีการเพิ่มราคาแทนการยืดเวลาในการชำระ ด้วยเหตุนี้ผู้ขายจะได้รับผลบุญในความดีอันนี้ของเขา  และจะถือว่าเป็นสิ่งมุบาฮฺ (อนุญาต) หากผู้ขายมีเจตนาเพียงต้องการกำไรและการซื้อขายแลกเปลี่ยนเท่านั้น    เขาจึงได้เพิ่มราคาแลกกับการยืดเวลาชำระและให้มีการผ่อนจ่ายตามเวลาที่ได้กำหนด·    ไม่อนุญาตให้ผู้ขายเอาเพิ่มราคาเมื่อผู้ซื้อชำระหนี้ที่เป็นการผ่อนราคาสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด เพราะนั้นถือว่าเป็นริบา(ดอกเบี้ย)ที่ต้องห้าม แต่เขาสามารถทำสินค้าให้เป็นสิ่งจำนำในมือเขาจนกว่าผู้ซื้อจะชำระหนี้ที่เป็นราคาสินค้าทั้งหมดก่อนได้·       เมื่อบุคคลหนึ่งขายที่ดินที่มีต้นอินทผาลัมหรือต้นไม้อยู่ ถ้าหากต้นอินทผาลัมนั้นได้มีการผสมเกสรแล้วหรือต้นไม้นั้นออกผลแล้วถือว่า(ผลไม้นั้น)เป็นของผู้ขาย นอกเสียจากว่าผู้ซื้อวางเงื่อนไขว่าต้องเป็นของตนก็จะเป็นของเขา และถ้าหากต้นอินทผาลัมยังไม่ได้มีการผสมเกสรหรือต้นไม้ยังไม่ได้ออกช่อดอก(ขณะที่ขาย) ก็ให้ถือว่าเป็นของผู้ซื้อ(หากออกดอกหลังจากนั้น)·       การซื้อขายผลอินทผาลัมหรือผลไม้อื่น ๆ ถือว่าการซื้อขายเป็นโมฆะ(ไม่ถูกต้อง) จนกว่าผลของมันจะใช้ประโยชน์ได้(เริ่มสุก) และไม่เป็นที่อนุมัติการซื้อขายพืชพันธุ์ธันยาหาร(ที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้นเช่นข้าวเป็นต้น)ก่อนที่เม็ดของมันจะโตเต็มที่ และถ้าหากมีการขายผลไม้ที่ยังไม่แก่เต็มที่พร้อมกันต้นของมันด้วย หรือพืชล้มลุกพร้อมที่ดินก็ถือว่าเป็นที่อนุญาต หรือมีการขายผลไม้ด้วยมีเงื่อนไขว่าต้องเก็บเกี่ยวทันทีก็ถือว่าเป็นที่อนุญาตเช่นกัน·    หากบุคคลหนึ่งได้ทำการซื้อผลไม้โดยเก็บไว้ที่ต้นจนกว่าจะถึงเวลาเก็บเกี่ยวโดยไม่มีชักช้าหรือเกินเลยเมื่อถึงเวลานั้น แต่แล้วมันเกิดมีภัยธรรมชาติ เช่น ลมแรง อากาศหนาวเป็นต้น เป็นเหตุให้ผลไม้นั้นเสียหาย ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกราคาคืนจากผู้ขายได้ ·    และถ้าหากความเสียหายของผลไม้นั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์ ให้ถือว่าเป็นสิทธิของผู้ซื้อว่า เขาจะให้การซื้อขายนั้นเป็นโมฆะหรือดำเนินต่อไป โดยมีการเรียกร้องค่าความเสียหายจากผู้กระทำผิดแทน ·       หุกม(บทบัญญัติ)ของการซื้อขายแบบมุฮากอละฮฺคือ การซื้อขายเมล็ดพืชที่แก่แล้วที่ยังอยู่กับต้นโดยการแลกเปลี่ยนกับเมล็ดพืชชนิดเดียวที่เก็บเกี่ยวแล้ว ถือว่าไม่เป็นที่อนุญาตให้กระทำ เพราะมีการรวมสาเหตุของการต้องห้ามสองประการคือ ความไม่ชัดเจนในปริมาณและคุณภาพ และเกิดดอกเบี้ยเพราะปริมาณของทั้งสองไม่เท่ากันอย่างชัดเจน ·       หุกมของการซื้อขายแบบมุซาบานะฮฺอัล-มุซาบานะฮฺคือการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลอินทผลัมที่เริ่มสด(ที่ยังอยู่บนต้น)กับผลอินทผลัมแห้ง(ที่เก็บเกี่ยวแล้ว)โดยการตวง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุมัติเช่นเดียวกับการซื้อขายแบบมุฮากอละฮฺ(ที่กล่าวมาแล้ว)ไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายผลอินทผลัมแห้งด้วยผลอินทผาลัมสด(รุฎ็อบ)ที่ยังอยู่บนต้นเพราะมันแฝงด้วยการหลอกลวงและดอกเบี้ย แต่มีการยกเว้นการซื้อขายแบบอะรอยาเพราะเป็นสิ่งจำเป็นโดยการประมาณจำนวนผลอินทผาลัมสดที่อยู่บนต้นแล้วส่งมอบผลอินทผัมแห้งที่เท่ากันโดยมีเงื่อนไขว่าปริมาณของการแลกเปลี่ยนดังกล่าวต้องไม่เกินห้าเอาซุก(หรือประมาณเจ็ดร้อยกิโลกรัม)  และจะต้องทำการส่งมอบกันทันทีโดยต่างฝ่ายต่างรับกันไปในสถานที่ที่ตกลงซื้อขาย.·       ไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายอวัยวะหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ทั้งขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว  แต่ถ้าหากผู้ที่อยู่ในภาวะที่จำเป็น(เช่นผู้ป่วย)ไม่สามารถทำหามันได้(โดยการรับบริจาค)ก็อนุญาตให้เขาซื้อมันได้เพราะความจำเป็นแต่ก็ถือว่าหะรอมสำหรับคนขาย แต่ถ้าหากว่าเขาได้ทำการบริจาคอวัยวะโดยสั่งเสียไว้ให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็น(ต้องใช้อวัยวะ)ให้รับไปหลังจากเขาเสียชีวิต แล้วผู้ที่จะรับบริจาคดังกล่าวได้มอบค่าตอบแทนก่อนที่ผู้บริจาคจะเสียชีวิตถืออนุญาตให้เขารับค่าตอบแทนนั้นได้.·    ไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายเลือดเพื่อการรักษาและอื่นๆ  แต่ถ้าหากว่ามีจำเป็นเพื่อการรักษาโดยไม่สามารถหาเลือดได้ยกเว้นด้วยการมีสิ่งแลกเปลี่ยน(ซื้อ) ก็ถือว่าอนุญาตให้เอามันมาโดยการแลกเปลี่ยน แต่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับคนขายที่จะรับสิ่งแลกเปลี่ยน(เช่นเงิน)นั้น.·       อัลเฆาะร็อร (การหลอกลวง) คือสิ่งที่มนุษย์ไม่ทราบอย่างชัดเจนและเป็นสิ่งที่ภายของมันเป็นสิ่งแอบแฝงเช่นไม่ทราบว่ามีอยู่หรือไม่ หรือไม่ทราบปริมาณ หรือไม่อาจทราบรายละเอียด หรือไม่อาจส่งมอบได้·       หุกมการซื้อขายที่มีการหลอกลวงและการพนันแฝงการหลอกลวงและการพนันเป็นการทำธุรกรรมที่เป็นอันตรายนำมาซึ่งความหายนะและเป็นสิ่งต้องห้าม มันทำให้ครอบครัวธุรกิจใหญ่ๆยากจนลง ทำให้คนบางกลุ่มร่ำรวยโดยไม่ต้องออกแรงและอีกกลุ่มยากจนลงโดยไม่ถูกต้อง นำมาซึ่งการฆ่าตัวตาย เป็นสัตรูกัน เกลียดชังกัน และทั้งหมดนี้ก็คือการงานของมารซัยฏอน. อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ว่า«إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَن يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاء فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَن ذِكْرِ اللّهِ وَعَنِ الصَّلاَةِ فَهَلْ أَنتُم مُّنتَهُونَ» ความว่า “แท้จริงนั้นซัยฎอนเพียงต้องการที่จะทำให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังระหว่างพวกเจ้าในสุรา และการพนัน และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการละหมาด และพวกเจ้าจะยุติไหม (ซูเราะห์:อัลมาอีดะฮฺ  อายะฮฺที่: 91) ·       การขายแบบฉ้อโกง หลอกลวงจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการด้วยกัน คือประการแรก คือการกินทรัพย์สินของผู้อื่นโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดทุนโดยไม่ได้อะไรเลย และอีกฝ่ายได้กำไรโดยไม่มีความเสี่ยงว่าจะขาดทุนเลย พูดอีกในหนึ่งก็คือเพราะมันเป็นสิ่งค้ำประกันและเป็นการพนันนั้นเองประการที่สอง คือการสร้างความเป็นศัตรู และความเกลียดชังกันระหว่างคู่ตกลงซื้อขายทั้งสองฝ่าย พร้อมกับการสร้างความอาฆาตแค้นและการเผชิญหน้ากัน