البحث

عبارات مقترحة:

الشكور

كلمة (شكور) في اللغة صيغة مبالغة من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

المعطي

كلمة (المعطي) في اللغة اسم فاعل من الإعطاء، الذي ينوّل غيره...

الحفيظ

الحفظُ في اللغة هو مراعاةُ الشيء، والاعتناءُ به، و(الحفيظ) اسمٌ...

หะดีษที่ 40 - การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات مناسبات دورية - شهر شوال
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 40 - การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   หะดีษบทที่ 40 การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล   عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ». (مسلم رقم 1984)   ความว่า จากท่านอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ได้ฟังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี”  (รายงานโดย มุสลิม)   บทเรียนจากหะดีษ 1.      การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นวาญิบและการถือศีลอดในเดือนเชาวาลเป็นสุนัต 2.      บ่งบอกถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในเดือนเชาวาล 3.      การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮฺจะทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี 4.      หลักทั่วไปเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนต่อการกระทำที่ดี คือ หนึ่งความดี ตอบแทนด้วย10 เท่า การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน 30 วัน พร้อมกับการถือศีลอดเดือนเชาวาล 6 วัน รวมกันเป็น 36 วัน จากนั้นคูณด้วย 10 เท่ากับ 360 วัน ก็เท่ากับว่าถือศีลอดเป็นเวลา  1  ปี 5.      ถือศีลอดสุนัตในเดือนเชาวาล ควรเริ่มจากวันที่ 2 ของเดือนเชาวาล และถือศีลอดติดต่อกัน แต่หากไม่ได้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่ต้นเดือน และไม่ได้ถือศีลอดติดต่อกันก็ถือว่าทำได้

المرفقات

2

หะดีษที่ 40 - การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวา
หะดีษที่ 40 - การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวา