البحث

عبارات مقترحة:

الواحد

كلمة (الواحد) في اللغة لها معنيان، أحدهما: أول العدد، والثاني:...

الجواد

كلمة (الجواد) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فَعال) وهو الكريم...

الولي

كلمة (الولي) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من الفعل (وَلِيَ)،...

เงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺเกิดผลสำเร็จ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الله
บทความนี้คัดแปลมาจากหนังสือ “นะศีหะฮฺ คือ หัวใจของอุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะดียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีย์ กล่าวถึง เงื่อนไขบางประการที่จะทำให้หน้าที่ในการนะศีหะฮฺอันเป็นภารกิจของผู้ศรัทธาทุกคนประสบผลสำเร็จ เริ่มตั้งแต่การมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ความอ่อนโยนและสุภาพ การใช้หิกมะฮฺ ความกล้าหาญและอดทน พร้อมบทสรุปที่ควรต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการนะศีหะฮฺ

التفاصيل

เงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺเกิดผลสำเร็จ من مقومات النصيحة الناجحةอิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียาแปลโดย :  ซุฟอัม อุษมานที่มา :  หนังสือ นะศีหะฮฺ หัวใจแห่งอุมมะฮฺวาหิดะฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอเงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺเกิดผลสำเร็จในจำนวนเงื่อนไขบางที่จะทำให้หน้าที่ในการนะศีหะฮฺประสบผลสำเร็จ คือ หนึ่ง เนียตที่อิคลาศและบริสุทธิ์หลักสำคัญในการนะศีหะฮฺก็คืออิคลาศและบริสุทธิ์ใจ ความพยายามในการนะฮีหะฮฺจำเป็นต้องปักอยู่บนฐานแห่งความบริสุทธิ์ใจอย่างอิคลาศต่ออัลลอฮฺ และบริสุทธิ์ใจที่จะทำดีต่อบ่าวของอัลลอฮฺซึ่งเป็นบุคคลที่เรากำลังนะศีหะฮฺเขา ถ้าไม่แล้ว ความพยายามดังกล่าวจะไม่ถือว่าเป็นนะศีหะฮฺ และไม่ใช่สิ่งที่ศาสนาหมายถึงในหะดีษที่ว่า “อัด-ดีน อัน-นะศีหะฮฺ / ศาสนาคือการนะศีหะฮฺ” อันเป็นความพยายามที่จะนำผลประโยชน์มาสู่ตัวเองและมนุษยชาติอย่างเด็ดขาด ในทางกลับกันความพยายามที่ไร้ความบริสุทธิ์ใจนั้นอาจจะถือว่าเป็นการหลอกลวง ติเตียนอย่างหยิ่งยโส ด่าทอ นินทา ทรยศ กล่าวหา หรือนิยามอื่น ๆ ที่ทั้งหมดล้วนเป็นมะอฺศิยะฮฺที่คอยทำลายความเป็นเอกภาพของ “อุมมะฮฺ วาหิดะฮฺ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إِنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى، ... » ความว่า “แท้จริงแล้ว การงานต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับเนียต และทุกๆ คนจะได้ผลตามที่เขาเนียต ...” [1] หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงประทานความสำเร็จและผลบุญต่างๆ  ตามที่เขาเจตนา ไม่ใช่ตามภาพภายนอกโดยผิวเผินในการกระทำของเขาในความหมายที่ว่า เนียตที่ดีก็จะนำมาซึ่งผลที่ดี ส่วนเนียตที่ไม่ดีก็จะนำผลที่ไม่ดีมาเช่นเดียวกันแม้ว่าภาพภายนอกจะดูดีเพียงใดก็ตาม และนับประสาอะไรถ้าหากว่าแม้กระทั่งภาพภายนอกก็ไม่ดีอยู่แล้วด้วย เพราะโดยปกติแล้วเนียตที่ไม่ดีนั้นมักจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วยเช่นกัน วัลอิยาซุบิลลาฮฺมินซาลิก/ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้เรารอดพ้นจากสิ่งนี้ด้วยเถิด วันหนึ่ง มีคนมาพูดกับท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า “เวลาที่อยู่ต่อหน้าผู้นำ เราจะพูดแบบหนึ่ง เวลาที่เราออกไปแล้วเราก็จะพูดอีกแบบหนึ่ง” ท่านอิบนุ อุมัร จึงตอบไปว่า كُنَّا نَعُدُّ هَذَا عَلَى عَهْدِ رَسُوْلِ اللهِ صلّى الله عليه وسلّم  النِّفَاقَ.ความว่า “พวกเราเคยนับพฤติกรรมแบบนี้ในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของนิฟาก” [2] เนื่องจากไม่ได้วางอยู่บนความอิคลาศและบริสุทธิ์ใจที่กล่าวมานี้ อาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่เราเห็นได้จากตัวอย่างของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่นคือทุกครั้งที่ท่านต้องการกล่าวคุฏบะฮฺ อัล-หาญะฮฺ ท่านมักจะกล่าวว่า «وَنَعُوذُ بِاللَّهِ مِنْ شُرُورِ أَنْفُسِنَا، وَسَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا»ความว่า “เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากความชั่วของจิตใจเรา และจากความเลวของพฤติกรรมเรา” [3] ทั้งนี้ เพื่อให้การกล่าวเทศนาของท่านไม่ปนเปื้อนด้วยความชั่วร้ายในตัวท่านและความไม่ดีในพฤติกรรมของท่าน (ทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้มะอฺศูมอยู่แล้ว สุบหานัลลอฮฺ! – ผู้แปล) ซึ่งอาจจะทำลายเนื้อหาอันแท้จริงของการนะศีหะฮฺในคุฏบะฮฺของท่านได้นอกจากนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยังเคยสั่งใช้อบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ให้อ่านดุอาอ์นี้ทุกเช้าเย็นว่า «اللَّهُمَّ فَاطِرَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ، عَالِمَ الغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ، لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ رَبَّ كُلِّ شَيْءٍ وَمَلِيكَهُ، أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ نَفْسِي، وَمِنْ شَرِّ الشَّيْطَانِ وَشِرْكِهِ، وَأَنْ أَقْتَرِفَ عَلَى نَفْسِي سُوءًا أَوْ أَجُرَّهُ إِلَى مُسْلِمٍ»ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่ซ่อนเร้นและเปิดเผย ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระผู้อภิบาลและครอบครองสรรพสิ่งทั้งมวล ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วร้ายของตัวฉันเอง และจากความชั่วร้ายของชัยฏอนและภาคีของมัน และฉันขอความคุ้มครองจากความชั่วที่ฉันกระทำต่อตัวเอง หรือกระทำต่อมุสลิมคนอื่น” [4]ดังกล่าวนั้นคือดุอาอ์ มะอฺษูรฺ บทหนึ่งจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ให้อ่านทั้งเช้าเย็น เป็นหนึ่งวิธีการสร้างจิตวิญญาณแห่งนะศีหะฮฺ เพื่อให้เกิดผลและมีประโยชน์จริงๆ ในกระบวนการนะศีหะฮฺทุกรูปแบบ จากต้นแบบคำสอนแบบนี้เอง เราพบว่าท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้เคยกล่าวว่า «وَدِدْتُ أَنَّ النَّاسَ لَوْ تَعَلَّمُوا هَذِهِ الْكُتُبَ، وَلَمْ يَنْسُبُوهَا إِلَيَّ»ความว่า “ฉันเคยปรารถนาว่า ขอให้ผู้คนทั้งหลายได้เรียนหนังสือทั้งหลายเหล่านี้ของฉัน โดยไม่ต้องอ้างอิงมันมาถึงฉันเลย” [5]นี่คือสำนึกของท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ในการถ่ายทอดความรู้ของท่านแก่ผู้คน และนี่ก็คือภาพแห่งการนะศีหะฮฺอย่างเป็นรูปธรรมที่แท้จริง และน่าจะเป็นหนึ่งในความลับแห่งความสำเร็จของอัช-ชาฟิอีย์ในการเผยแพร่ความรู้ของอัลลอฮฺไปยังผู้อื่น วัลลอฮุอะอฺลัมสอง อ่อนโยนในวิธีการ และสุภาพในการใช้คำพูดจงฟังคำสั่งของอัลลอฮฺที่ได้บัญชาแก่ท่านนบีมูซาและนบีฮารูน อะลัยฮิมัสสลาม เพื่อให้ทั้งสองคนไปเผชิญหน้าและนะศีหะฮฺฟิรเอานฺแห่งอียิปต์ในยุคนั้นด้วยความนุ่มนวล พระองค์ตรัสว่า﴿ ٱذۡهَبَآ إِلَىٰ فِرۡعَوۡنَ إِنَّهُۥ طَغَىٰ ٤٣ فَقُولَا لَهُۥ قَوۡلٗا لَّيِّنٗا لَّعَلَّهُۥ يَتَذَكَّرُ أَوۡ يَخۡشَىٰ ٤٤ ﴾ [طه: ٤٣،  ٤٤]   ความว่า “เจ้าทั้งสองจงไปหาฟิรเอานฺเถิด แท้จริงเขาได้ละเมิดแล้ว(อธรรมและโหดเหี้ยม) เจ้าทั้งสองจงกล่าวแก่เขาด้วยคำพูดที่นุ่มนวล เพื่อว่าเขาจะได้สำนึกตนและหวั่นเกรงต่ออัลลอฮฺ” (ฏอฮา 43-44)จากอายะฮฺนี้เราได้รับบทเรียนบางอย่างในการดะอฺวะฮฺ นั่นคือ1)      ความพยายามในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายดะอฺวะฮฺ พร้อมทั้งพบปะหรือเผชิญหน้ากับพวกเขาเพื่อจุดประสงค์ในการนะศีหะฮฺ ถือว่าเป็นภารกิจหลักของบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺและบรรดาผู้สืบทอดภารกิจนี้จากพวกท่าน ไม่ใช่เพียงแค่เฝ้ารอให้กลุ่มเป้าหมายมาหาเราเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเป้าหมายดะอฺวะฮฺที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและในสังคม นี่คือแก่นแท้ของงานดะอฺวะฮฺที่ปรากฏในอายะฮฺว่า ﴿ٱذۡهَبَآ إِلَىٰ فِرۡعَوۡنَ﴾2)   ความผิดพลาด ความดื้อรั้น และการอธรรมต่อมนุษย์ คือหนึ่งในจำนวนปรากฏการณ์และปัญหาที่มีอยู่จริงในโลกของการดะอฺวะฮฺ ซึ่งบรรดานักดาอีย์ผู้สืบทอดภารกิจการดะอฺวะฮฺจากเหล่าศาสนทูตจักต้องรู้จักเผชิญมัน ด้วยการอาศัยหิกมะฮฺที่เปี่ยมล้นและการตะวักกัลอย่างสูงต่ออัลลอฮฺ ข้อเท็จจริงนี้ปรากฏในท่อนที่ว่า ﴿ إِنَّهُۥ طَغَىٰ﴾  3)   วิธีการที่นุ่มนวลและภาษาคำพูดที่คลายความขุ่นหมองในหัวใจของผู้รับนะศีหะฮฺ คือหนึ่งในจำนวนเงื่อนไขหลักในการนะศีหะฮฺ  ﴿ فَقُولَا لَهُۥ قَوۡلٗا لَّيِّنٗا ﴾  4)   เจตนาจะต้องใสสะอาดและความปรารถนาจะต้องสูงส่ง เพื่อหวังให้นะศีหะฮฺเกิดผลในการดะอฺวะฮฺ กล่าวคือ เพื่อให้เกิดความสำนึกและความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ﴿ لَّعَلَّهُۥ يَتَذَكَّرُ أَوۡ يَخۡشَىٰ ﴾ พึงสดับพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ได้สอนท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้มีความนุ่มนวลว่า﴿ فَبِمَا رَحۡمَةٖ مِّنَ ٱللَّهِ لِنتَ لَهُمۡۖ وَلَوۡ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ ٱلۡقَلۡبِ لَٱنفَضُّواْ مِنۡ حَوۡلِكَۖ ﴾ [آل عمران: ١٥٩]  ความว่า “ด้วยเพราะความเมตตาจากอัลลอฮฺ เจ้า(โอ้มุหัมมัด)จึงได้มีความนุ่มนวลต่อพวกเขา และถ้าหากว่าเจ้าเป็นผู้หยาบกระด้างและจิตใจแข็งกร้าวแล้วไซร้ แน่นอน พวกเขาก็คงหนีกระเจิงออกไปจากเจ้าแล้ว” (อาล อิมรอน 159) หมายถึงย่อมไม่ประสบความสำเร็จในการดะอฺวะฮฺและนะศีหะฮฺนั่นเองพึงจำไว้เถิด ถ้าหากนั่นคือหน้าที่ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ที่ถูกบัญชาให้มีความนุ่มนวลในการนะศีหะฮฺประชาชาติของพวกท่าน ดังนั้น จึงนับประสาอะไรกับเราที่ไม่ได้เป็นศาสนทูตผู้มะอฺศูม ยามที่เราทำหน้าที่นะศีหะฮฺผู้คน ซึ่งพวกเขาคงไม่ชั่วร้ายมากไปกว่าฟิรเอานฺผู้อหังการ์กล้าสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้า และคงไม่เลวเท่าอับดุลลอฮฺ บิน อุบัยย์ บิน สะลูล ที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เอง ไม่ใช่ศัตรูกระจอกๆ ของพวกเราที่ไม่ได้มะอฺศูมเหมือนท่านนอกจากนี้ อัลลอฮฺยังได้สั่งให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สอนอุมมะฮฺของท่านให้พูดด้วยคำพูดที่ดีที่สุดเมื่อนะศีหะฮฺผู้อื่น โดยเฉพาะต่อผู้ที่ยังไม่ได้รับอิสลาม อัลลอฮฺได้ตรัสว่า﴿ وَقُل لِّعِبَادِي يَقُولُواْ ٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ يَنزَغُ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ كَانَ لِلۡإِنسَٰنِ عَدُوّٗا مُّبِينٗا ٥٣ ﴾ [الإسراء: ٥٣]   ความว่า “จงกล่าวเถิด(โอ้ มุหัมมัด) แก่บ่าวทั้งหลายของข้า ให้พวกเขากล่าวด้วยคำพูดที่ดีที่สุด(แก่ผู้คนทั้งหลาย โดยเฉพาะแก่ผู้ไม่ใช่มุสลิม) แท้จริง ชัยฏอนนั้นคอยยุแหย่อยู่ระหว่างพวกเขา(ระหว่างผู้ศรัทธาด้วยกัน และระหว่างพวกเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาด้วย) แท้จริง ชัยฏอนเป็นศัตรูที่ชัดยิ่งสำหรับมนุษย์” (อัล-อิสรออ์ 53)นี่คือคำสอนของอัลลอฮฺผ่านศาสนทูตของพระองค์ ว่าด้วยจุดยืนของประชาชาติอิสลามต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม แม้ว่าพวกเขาจะคอยแต่สร้างความเดือดร้อนแก่มุสลิมก็ตามที นับประสาอะไรเล่าถ้าหากว่าเป็นมุสลิมด้วยกัน ความหมายก็คือ ﴿ يَقُولُواْ ٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ ﴾  การพูดด้วยถ้อยคำที่ดีที่สุดนั้น พวกเขาจะต้องใช้คำพูดที่ดีที่สุด[6] เพราะการพูดคุยสนทนาระหว่างกันมักจะเป็นช่องทางที่ชัยฏอนซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของมนุษย์เอามาใช้เพื่อยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและความบาดหมางขึ้นในหมู่พวกเขา หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อไม่ให้มีสาระประโยชน์จากการพูดคุย หรือไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการสนทนานั้น อัลลอฮุลมุสตะอานอัลลอฮฺตรัสว่า ﴿ وَقُولُواْ لِلنَّاسِ حُسۡنٗا﴾ [البقرة: ٨٣]  ความว่า “ท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่มนุษย์ด้วยสิ่งที่ดี” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 83) ไม่ว่าจะเป็นในด้านเนื้อหาคำพูด วิธีการ และกาลเทศะในการพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีการโต้แย้งกันไปมากับคนอื่นอัลลอฮฺตรัสว่า﴿وَجَٰدِلۡهُم بِٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ﴾ [النحل: ١٢٥]   ความว่า “จงถกเถียงโต้แย้งกับพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีที่สุด” (อัน-นะห์ลฺ 125) หมายถึงทั้งเนื้อหาสาระและวิธีการจะต้องดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาผู้ที่มีความรู้ และผู้ไม่ใช่มุสลิมเช่นอะฮฺลุลกิตาบ เป็นต้นอัลลอฮฺตรัสว่า﴿ ۞وَلَا تُجَٰدِلُوٓاْ أَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ إِلَّا بِٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُ﴾ [العنكبوت: ٤٦]   ความว่า “และอย่าได้โต้แย้งกับอะฮฺลุลกิตาบ นอกเสียจากด้วยสิ่งที่ดีที่สุด(ทั้งเนื้อหาและวิธีการ)” (อัล-อันกะบูต 46)จะอย่างไรก็ตาม คุณลักษณะแห่งความนุ่มนวลอ่อนโยนถือว่ามีประโยชน์มาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«إِنَّ الرِّفْقَ لاَ يَكُوْنُ فِيْ شَيْءٍ إِلاَّ زَانَهُ وَلاَ يُنْزَعُ مِنْ شَيْءٍ إِلاَّ شَانَهُ»ความว่า “แท้จริง ความอ่อนโยนนั้น จะไม่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นอกจากว่ามันจะเพิ่มความงดงามให้กับสิ่งนั้น และมันจะไม่ถูกดึงออกจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เว้นแต่ย่อมจะต้องสร้างความเสียหายกับสิ่งนั้นอย่างแน่แท้” [7] ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «الرِّفْقُ رَأْسُ الْحِكْمَةِ»ความว่า “ความนุ่มนวลอ่อนโยนเป็นหัวแห่งหิกมะฮฺ” [8] (ที่จะนำมาซึ่งความดีงามต่างๆ ทั้งหลายแหล่)ครั้งหนึ่งท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เคยแสดงความโกรธและความแข็งกร้าวต่อชาวยิวด้วยคำพูดของนางว่า «وَعَلَيْكُمُ السَّامُ وَاللَّعْنَةُ» “ขอให้พวกเจ้าได้พบกับความตายและการสาปแช่งเช่นเดียวกัน” ตอนที่พวกยิวกลุ่มนั้นบิดลิ้นกล่าวให้สลามแก่ท่านนบีแบบเจตนาร้ายว่า «السَّامُ عَلَيْكُمْ» “ขอให้ความตายประสบแก่ท่าน” ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เตือนนางว่า «مَهْلاً يَا عَائِشَةُ! إِنَّ اللهَ يُحِبُّ الرِّفْقَ فِيْ الأَمْرِ كُلِّهِ»ความว่า “ช้าก่อน โอ้ อาอิชะฮฺ แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงรักความอ่อนโยนในกิจต่างๆ ทุกประการทั้งหมด” [9] ถ้าหากว่านั่นคือคำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับความนิ่มนวลอ่อนโยนต่อความชั่วร้ายของศัตรูผู้เป็นปฏิปักษ์กับอัลลอฮฺอย่างชัดเจน(เช่นพวกยิว) ดังนั้น มันควรจะเป็นอย่างไรกันเล่ากับบรรดาประชาชาติมุสลิมด้วยกัน ที่นิสัยไม่ดีส่วนใหญ่ของพวกเขาเกิดมาจากเพียงแค่ความผิดพลาดและความบกพร่องเท่านั้น ไม่ใช่เกิดมาจากเจตนาที่จะทำชั่วต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง และมันควรจะเป็นอย่างไรกับบรรดาผู้ไม่ใช่มุสลิมทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่พวกยิวด้วยเหตุดังกล่าว บรรดาอุละมาอ์จึงมีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้แสดงออกอย่างแข็งกร้าวและใช้ภาษาหยาบคายในการนะศีหะฮฺ ที่อาจจะนำมาสู่ฟิตนะฮฺและความเลวร้ายขึ้นได้อิมาม อัล-เฆาะซาลีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า «وَأَمَّا التَخْشِيْنُ فِيْ القَوْلِ كَقَوْلِهِ: يَا ظَالِمُ، يَا مَنْ لاَ يَخَافُ اللهَ، وَمَا يَجْرِيْ مَجْرَاهُ فَذَلِكَ إِنْ كَانَ يُحَرِّكُ فِتْنَةً يَتَعَدَّى شَرُّهَا إِلَى غَيْرِهِ لَمْ يَجُزْ»ความว่า “ส่วนการใช้คำหยาบ เช่น โอ้ ผู้อธรรม โอ้ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺ หรือคำอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ถ้าหากว่ามันนำไปสู่การเกิดฟิตนะฮฺที่ผลร้ายของมันลามไปยังผู้อื่น ก็ไม่อนุญาตให้กล่าวได้” [10]สาม ต้องไม่นำไปสู่ผลร้ายที่แย่ยิ่งกว่ามีกฎในการดะอฺวะฮฺอยู่ข้อหนึ่งว่า «تَرْكُ إِنْكَارِ الْمُنْكَرِ خَشْيَةَ الْوُقُوْعِ فِيْ أَنْكَرَ مِنْهُ»ความว่า “ให้ละทิ้งการห้ามปรามความชั่ว เพราะเกรงว่าจะเป็นเหตุให้ตกหลุมพรางของสิ่งที่เลวร้ายกว่าความชั่วประการแรก” [11]             โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ทำการห้ามปรามบรรดาผู้มีอำนาจและผู้ปกครอง ถึงแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นญิฮาดที่ประเสริฐที่สุดก็ตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إِنَّ أَفْضَلَ الْجِهَادِ كَلِمَةُ حَقٍّ عِنْدَ سُلْطَانٍ جَائِرٍ»ความว่า “แท้จริง การญิฮาดต่อสู้ที่ประเสริฐที่สุดคือ การกล่าวถ้อยคำแห่งความจริงกับผู้ปกครองที่อธรรม” [12] หมายถึง การนะศีหะฮฺด้วยคำพูดที่สัจจริงแบบตัวต่อตัว ไม่ใช่ต่อหน้าธารกำนัลแน่นอนว่า ดังกล่าวนั้นคือความประเสริฐของการญิฮาดด้วยคำพูดที่สัจจริง และข้อบัญญัติของญิฮาดเองโดยดั้งเดิมก็ถือว่าวาญิบ แต่ถ้าหากว่าเขากระทำการญิฮาดด้วยคำพูดอันสัจจริงดังกล่าวแล้ว มันจะนำไปสู่ความเสียหายเดือดร้อนต่อตัวเองหรือต่อผู้อื่น ก็ถือว่าไม่วาญิบที่เขาต้องญิฮาดอย่างที่ว่านั้นแต่อย่างใด อุละมาอ์บางท่านมีความเห็นว่าไม่อนุญาตให้กระทำด้วยซ้ำไป และบางท่านถึงกับมองว่าการกระทำที่ก่อให้เกิดผลดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นมุงกัรเสียเองอีกด้วยท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า إِذَا لَمْ يُزَلْ الْمُنْكَرُ إِلاَّ بِمَا هُوَ أَنْكَرَ مِنْهُ صَارَ إِزَالَتُهُ عَلَى هَذَا الْوَجْهِ مُنْكَرًا، وَإِذَا لَمْ يَحْصُلِ الْمَعْرُوْفَ إِلاَّ بِمُنْكَرٍ مَفْسَدَتُهُ أَعْظَمَ مِنْ مَصْلَحَةِ ذَلِكَ الْمَعْرُوْفِ كَانَ تَحْصِيْلُ ذَلِكَ الْمَعْرُوْفِ عَلَى هَذَا الْوَجْهِ مُنْكَرًا.ความว่า “ถ้าหากว่า ความชั่ว(มุงกัร)ประการใดไม่สามารถที่จะขจัดได้นอกจากว่าต้องอาศัยสิ่งที่ชั่วร้ายกว่าเป็นเครื่องมือในการขจัด ดังนั้น ก็ถือว่าการขจัดความชั่วดังกล่าวโดยวิธีการแบบนี้เป็นสิ่งที่มุงกัรเสียเอง และถ้าหากว่า ความดี(มะอฺรูฟ)ประการใดไม่สามารถที่จะให้มันเกิดขึ้นได้เว้นแต่ต้องอาศัยความชั่วหนึ่งความชั่วใดเป็นเครื่องมือ  ซึ่งความเสียหายของความชั่วดังกล่าวเลวร้ายกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากความดีที่ว่านั้น ก็ถือว่าการพยายามให้ความดีนั้นเกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนี้เป็นมุงกัรด้วยเช่นกัน” [13] พึงจำไว้ว่า เป้าประสงค์แห่งบทบัญญัติอิสลามในการนะศีหะฮฺนั้นก็คือ เพื่อให้เกิดประโยชน์และผลดีตามที่ศาสนายอมรับแก่ผู้ที่เรานะศีหะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มญะมาอะฮฺ หรือประเทศชาติ พร้อมกับขยายวงความดีให้กว้าง และจำกัดกรอบความชั่วร้ายให้แคบลงถึงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดมันให้หมดสิ้นไปเลยทีเดียวก็ตามนะศีหะฮฺคือหนึ่งในรูปแบบการทำดีต่อบุคคลและฝ่ายที่เรานะศีหะฮฺ เป็นการแสดงความรักและความเป็นห่วงต่อพวกเขา[14] ไม่ใช่การทะเลาะเบาะแว้งหรือเป็นศัตรูกัน การทำดีของเราดังกล่าวจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายเพราะการปฏิเสธหรือท่าทีตอบโต้ใดๆ ของฝ่ายที่เรานะศีหะฮฺเขาโดยเด็ดขาด เพราะไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่ดีจะถูกตอบรับโดยดีเสมอไป ความสมดุลระหว่างความถูกต้องของ “สุนนะฮฺ” กับความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของ “ญะมาอะฮฺ”แม้ว่าพวกเรา - อะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ – จะเข้าใจดีว่าความถูกต้องของสุนนะฮฺนั้นคือรากฐานสำคัญของความเป็นปึกแผ่นของญะมาอะฮฺในอิสลาม และสุนนะฮฺจะไม่นำไปสู่การแตกแยกของญะมาอะฮฺโดยเด็ดขาด ทว่าสุนนะฮฺจะนำไปสู่การรวมตัวกัน กระนั้นก็ตาม วิธีการปฏิบัติตามสุนนะฮฺเองก็ต้องพิจารณาให้สมดุลระหว่างฟิตนะฮฺสองข้าง คือ ฟิตนะฮฺข้างแรก คือ ฟิตนะฮฺการต้องถอยหลังบางก้าวในการปฏิบัติสุนนะฮฺ โดยเฉพาะในประเด็นปลีกย่อยที่เป็นข้อวินิจฉัยอิจญ์ติฮาดียะฮฺ และฟิตนะฮฺข้างที่สอง คือ ฟิตนะฮฺความแตกแยกของญะมาอะฮฺหรือความร้าวฉานในแถวที่เป็นอันหนึ่งเดียวกันของ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” ในความหมายที่ว่า ระหว่างสองข้างนี้อันไหนที่สาหัสกว่าและอันตรายกว่า กล่าวคือ :หนึ่ง พยายามทำตามโปรแกรมของสุนนะฮฺ จนนำไปสู่การแตกแยกของญะมาอะฮฺ เพราะความไม่รู้ ความดื้อรั้น หรือความอธรรมของผู้ที่เรานะศีหะฮฺเขาสอง พยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของญะมาอะฮฺที่ยังไม่ค่อยชัดเจนในเรื่องสุนนะฮฺ เพราะคำนึงถึงช่วงระดับ การลำดับความสำคัญ และสถานการณ์นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องเอามาคิดคำนวนอย่างชาญฉลาดด้วยการอาศัยเตาฟีกจากอัลลอฮฺ โดยบรรดาผู้นำในหมู่อะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ โดยเฉพาะบรรดาอุละมาอ์และนักดาอีย์ทุกยุคสมัยและทุกพื้นที่ และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษา มีเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและคำสอนจากสุนนะฮฺบางตัวอย่างที่ขอยกมากล่าว ณ ที่นี้ ดังต่อไปนี้ 1.      ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้เปลี่ยนลักษณะของกะอฺบะฮฺจากรูปลักษณ์ในสมัยของท่านให้กลับไปเป็นรูปลักษณ์ดั้งเดิมของมัน[15] ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพความเป็น “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” ภายใต้การนำของท่านในสมัยนั้น ในนัยที่ว่าท่านคำนึงถึงระดับความรู้และความคิดของคนส่วนใหญ่ในหมู่ประชาชาติของท่านในสมัยดังกล่าว2.      ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คอยเอาใจหัวหน้ามุนาฟิกอย่างอับดุลลอฮฺ บิน อุบัยย์ บิน สะลูล อยู่ตลอด ทั้งๆ ที่เขาเป็นศัตรูที่ชัดมากต่อ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” จนกระทั่งถึงบั้นปลายชีวิต ท่านนบีไม่อนุญาตให้ฆ่าเขาเพื่อไม่ให้กลายเป็นคำครหาว่าท่านฆ่าพวกเดียวกัน[16] ท่านไปเยี่ยมเขาขณะที่เขาป่วยใกล้ตาย[17] และท่านยังได้มอบเสื้อคลุมของท่านให้ใช้ห่อศพของอับดุลลอฮฺ บิน อุบัยย์ ตามคำร้องขอของลูกชายของเขาด้วย ไม่เพียงแค่นั้นท่านยังละหมาดศพให้เขาอีก ก่อนที่จะมีอายะฮฺอัลกุรอานลงมาห้ามไม่ให้ท่านทำเช่นนั้น[18] ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อรักษาความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของญะมาอะฮฺหรือ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” ที่อยู่ภายใต้การนำของท่าน 3.      ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งเสียให้ประชาชาติของท่านอดทนต่อความผิดพลาด ความอธรรมอันโหดร้ายของผู้ปกครองที่ยังไม่หลุดพ้นออกจากการเป็นมุสลิมอย่างแน่ชัด ถึงแม้ว่าพวกเขาจะโดนกระทำด้วยการเฆี่ยนตีหรือทารุณกรรมก็ตาม พร้อมๆ กับสั่งให้มีการนะศีหะฮฺผู้ปกครองด้วย นี่ก็เพื่อรักษาความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของญะมาอะฮฺภายใต้การดูแลของผู้ปกครองดังกล่าว[19] ในทางที่สวนกันกับแนวทางประนีประนอมนี้ มีตัวอย่างที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลือกที่จะทำปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺถึงแม้ว่าเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแตกแยกของประชาชาติ อาทิเช่น1.      ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกาศว่าท่านเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺให้แก่ชาวมักกะฮฺ ซึ่งก่อนหน้านั้นพวกเขาต่างก็รักและให้เกียรติท่าน แต่พอท่านประกาศตนดังกล่าว ท่านกลับถูกเกลียดชังและถูกกระทำเยี่ยงศัตรู[20]2.   ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยผ่อนปรนที่จะทำหน้าที่ในการเป็นศาสนทูตของท่านด้วยการดะอฺวะฮฺและเรียกร้องเชิญชวนผู้คนทั้งหลายสู่การเชื่อในเอกภาพของอัลลอฮฺและปฏิเสธการตั้งภาคีทุกประเภท ด้วยวิธีการที่เปี่ยมยิ่งด้วยหิกมะฮฺ ถึงแม้ว่าการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่ความโกรธของหมู่ชนของท่าน และเป็นเหตุให้อบู ฏอลิบ ลุงของท่านต้องได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วยเนื่องจากคอยปกป้องท่านในขณะนั้น[21]3.   ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ดำเนินการตามคำสั่งของอัลลอฮฺที่ทรงใช้เปลี่ยนทิศทางกิบลัตในการละหมาด จากเดิมที่ผินไปทางบัยตุลมักดิสให้หันไปทางบัยตุลลอฮฺที่มัสยิดอัลหะรอมแทน จนเป็นเหตุให้มุสลิมบางส่วนตกมุรตัดและเกิดฟิตนะฮฺมากมายขึ้น[22]แน่นอนว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ดำเนินการทุกๆ อย่างที่กล่าวมานั้นตามคำสั่งจากวะห์ยูของอัลลอฮฺ ส่วนประชาชาติของท่านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเนื้อหาและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับหิกมะฮฺต่างๆ ในการดะอฺวะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเคาะลีฟะฮฺของท่าน รวมทั้งต้องพยายามต่อสู้อย่างจริงจัง(มุญาฮะดะฮฺ)และขอดุอาอ์ให้ได้รับเตาฟีกจากอัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้และปรีชายิ่ง ให้พระองค์ทรงบันดาลสิ่งที่ถูกต้องในการที่เราจะเลือกจุดยืนและวิธีการนะศีหะฮฺต่อบุคคล สังคม และประเทศชาติ พระองค์อัลลอฮฺเท่านั้นคือผู้ทรงประทานเตาฟีกสี่ นะศีหะฮฺโดยไม่เปิดเผยและทำด้วยหิกมะฮฺในจำนวนเงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺประสบผลสำเร็จก็คือ การนะศีหะฮฺด้วยหิกมะฮฺ โดยเฉพาะกับบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งต้องนะศีหะฮฺอย่างลับๆ และใช้หิกมะฮฺอย่างยิ่ง ไม่ใช่ทำอย่างโจ่งแจ้ง และจะยิ่งแย่เข้าไปอีกถ้าหากนะศีหะฮฺโดยไม่มีหิกมะฮฺอัลลอฮฺได้ตรัสสั่งว่า﴿ ٱدۡعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِٱلۡحِكۡمَةِ وَٱلۡمَوۡعِظَةِ ٱلۡحَسَنَةِۖ وَجَٰدِلۡهُم بِٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ ﴾ [النحل: ١٢٥]  ความว่า “จงเชิญชวนสู่เส้นทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยหิกมะฮฺ ด้วยเมาอิเซาะฮฺ หะสะนะฮฺ(การกล่าวเตือนที่ดี) และจงโต้แย้งกับพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีที่สุด”ความหมายของคำว่า “หิกมะฮฺ” ในอายะฮฺดังกล่าวก็คือ เนื้อหาและวิธีการนะศีหะฮฺที่เอามาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ[23] ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«مَنْ أَرَادَ أَنْ يَنْصَحَ لِسُلْطَانٍ بِأَمْرٍ، فَلَا يُبْدِ لَهُ عَلَانِيَةً، وَلَكِنْ لِيَأْخُذْ بِيَدِهِ، فَيَخْلُوَ بِهِ، فَإِنْ قَبِلَ مِنْهُ فَذَاكَ، وَإِلَّا كَانَ قَدْ أَدَّى الَّذِي عَلَيْهِ لَهُ»ความว่า “ใครที่ต้องการนะศีหะฮฺผู้ปกครองด้วยสิ่งใดก็ตาม เขาก็จงอย่าเผยมันออกมาต่อหน้าธารกำนัลอย่างโจ่งแจ้ง แต่ขอให้จับมือเขาแล้วไปพูดกันในที่ลับ ถ้าเขารับนะศีหะฮฺก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี และถ้าหากเขาไม่รับนะศีหะฮฺก็ถือว่าได้ทำหน้าที่อันเป็นภารกิจจนลุล่วงแล้ว” [24]และนี่ก็คือวิธีที่บรรดาเศาะหาบะฮฺ เช่น อุสามะฮฺ บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้ทำหน้าที่นะศีหะฮฺเคาะลีฟะฮฺ อุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เขาได้กล่าวกับท่านว่าإِنِّي أُكَلِّمُهُ فِي السِّر.ความว่า “แท้จริง ฉันพูดกับท่านอย่างเป็นความลับ” [25]อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า مَنْ وَعَظَ أَخَاهُ سِرًّا فَقَدْ نَصَحَهُ وَزَانَهُ، وَمَنْ وَعَظَهُ عَلاَنِيَةً فَقَدْ فَضَحَهُ وَخَانَهُ.ความว่า “ใครที่เตือนพี่น้องของเขาแบบลับๆ แน่แท้ เขาได้ทำหน้าที่นะศีหะฮฺและได้ทำดีให้พี่น้องเขาอย่างสวยงามแล้ว  และผู้ใดที่เตือนพี่น้องของเขาในที่โจ่งแจ้ง แน่แท้ เขาได้ประจานและทรยศพี่น้องของเขาเสียแล้ว” [26]อัล-ฟุฎ็อยลฺ บิน อิยาฎ ได้กล่าวว่า الْمُؤْمِنُ يَسْتُرُ وَيَنْصَحُ، وَالْفَاجِرُ يَهْتِكُ وَيُعَيِّرُ.ความว่า “มุอ์มินผู้ศรัทธานั้นจะคอยปกปิดความลับและเตือนนะศีหะฮฺอย่างหวังดี ในขณะที่คนชั่วนั้นมักจะแฉและด่าทอ” [27]ในจำนวนความหมายของคำว่า “หิกมะฮฺ” ก็คือ การเลือกทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เหมาะสม ด้วยวิธีการที่เหมาะสม  ในเวลาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม  นี่คือนะศีหะฮฺที่จะส่งผลต่อจิตใจของผู้ที่เรานะศีหะฮฺ อินชาอ์อัลลอฮฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«إِنَّ مِنَ البَيَانِ لَسِحْرًا»ความว่า “แท้จริง ในบางถ้อยโวหารนั้น มีผลประดุจดั่งไสยศาสตร์” [28] หมายถึงคำพูดที่เปี่ยมด้วยวาทะโวหารที่ดีและงดงามนั้น สามารถที่จะส่งผลเรียกร้องให้เห็นตามและกินใจต่อผู้ฟังได้อย่างน่าอัศจรรย์และในจำนวนความหมายของ “หิกมะฮฺ” ก็คือ การมีความรู้ หมายถึงคนที่จะนะศีหะฮฺควรต้องมีความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นหรือข้อเท็จจริงตัวตนของคนที่เราจะนะศีหะฮฺ หรือข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการที่เราจะใช้นะศีหะฮฺเขาก็เช่นเดียวกันท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ»ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ ก็จงพูดแต่สิ่งที่ดี(รวมถึงสิ่งที่เป็นความจริง) หรือไม่ก็จงเงียบเสีย” [29]ในจำนวนความหมายของคำว่า “หิกมะฮฺ” ในการนะศีหะฮฺอีกก็คือ การไม่เลยเถิดเกินขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นเลยเถิดแบบ อิฟรอฏ (นะศีหะฮฺแบบสุดโต่ง เยอะเกินไปหรือมากเกินไป) หรือแบบ ตัฟรีฏ (นะศีหะฮฺแบบละเลย น้อยเกินไปหรือปิดลับเกินไป) ทั้งในแง่เนื้อหาและวิธีการท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إِيَّاكُمْ وَالْغُلُوَّ فِي الدِّينِ، فَإِنَّمَا أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمُ الْغُلُوُّ فِي الدِّينِ»ความว่า “ท่านทั้งหลายจงระวังความสุดโต่งในศาสนา เพราะแท้จริง ความสุดโต่งในศาสนาได้เคยทำลายผู้คนก่อนหน้าพวกท่านมาแล้ว” [30] กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นสุดโต่งในด้านเนื้อหาหรือวิธีการก็ตามในจำนวนความหมายของคำว่า “หิกมะฮฺ” ก็คือ การนะศีหะฮฺ ทั้งแบบคำพูดหรือการกระทำ อย่างเหมาะสมกับสถานะของผู้ที่เรานะศีหะฮฺเขา เหมือนที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า «أَمَرَنَا رَسُولُ اللهِ صلّى الله عليه وسلّم  أَنْ نُنَزِّلَ النَّاسَ مَنَازِلَهُمْ»ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้เราประพฤติปฏิบัติต่อผู้คนตามฐานันดรของพวกเขา” [31] ในจำนวนความหมายของคำว่า “หิกมะฮฺ” ก็คือ การนะศีหะฮฺตามเวลาและจำนวนที่เหมาะสม เช่นที่ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มักจะให้โอวาทแก่พวกเราแบบสลับเวลาบ้างในแต่ละวัน เพราะกลัวว่าเราจะเบื่อและเป็นภาระหนักแก่เรา” [32]อิบนุ มัสอูด ยังได้กล่าวว่า “จิตใจของมนุษย์นั้น บางเวลาก็มีความมุ่งมั่นและเปิดกว้างพร้อมจะรับ แต่บางครั้งก็เบื่อและบ่ายเบี่ยง เพราะฉะนั้น จงฉกฉวยช่วงที่มันมีกำลังใจและเปิดกว้างอยู่ และจงละทิ้งช่วงเวลาที่มันเบื่อและพยศ” [33] เพราะภารกิจของแต่ละคนนั้นยังมีอย่างอื่นให้ทำอีกมาก ไม่เพียงพอสำหรับฆ่าเวลาโดยไร้คุณค่า ห้า ซื่อตรง กล้าหาญ และอดทนผู้ทำหน้าที่นะศีหะฮฺควรจะต้องมีจุดยืนที่กล้าหาญในการพูดความจริง เช่นที่อัลลอฮฺได้มีพระดำรัสว่า﴿ وَأۡمُرۡ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَٱنۡهَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَٱصۡبِرۡ عَلَىٰ مَآ أَصَابَكَۖ إِنَّ ذَٰلِكَ مِنۡ عَزۡمِ ٱلۡأُمُورِ ١٧ ﴾ [لقمان: ١٧]  ความว่า “(ลุกมานได้กล่าวนะศีหะฮฺลูกของท่านว่า)จงสั่งเสียให้ทำสิ่งที่ดี จงห้ามปรามจากความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับเจ้า แท้จริง สิ่งเหล่านั้นนับเป็นงานที่ต้องเข้มแข็งจริงจัง”พึงใคร่ครวญต่อคำสั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า «أَلَا لَا يَمْنَعَنَّ رَجُلًا هَيْبَةُ النَّاسِ أَنْ يَقُولَ بِحَقٍّ إِذَا عَلِمَهُ»ความว่า “พึงสังวรเถิด อย่าให้ความรู้สึกเกรงขามที่มีต่อผู้อื่น เป็นเหตุกั้นขวางไม่ให้คนผู้หนึ่งพูดความจริงในเมื่อเขารู้ความจริงนั้นดี” [34]ในความหมายที่ว่า เขามีความรู้และข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง พร้อมด้วยหลักฐานและคำอธิบายที่ชัดเจน แล้วยังกล้าหาญที่จะพูดความจริงด้วยหิกมะฮฺ และไม่เป็นเหตุก่อให้เกิดฟิตนะฮฺที่แย่กว่าต่อตัวเขาเองหรือต่อประเด็นดังกล่าวที่เขาเกี่ยวข้องอยู่ รวมทั้งต้องอดทนให้มากต่อฟิตนะฮฺที่จะเกิดขึ้นกับเขา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการนะศีหะฮฺที่เปี่ยมยิ่งด้วยมารยาทและหิกมะฮฺข้างต้น จงเผชิญหน้ากับทุกสภาวะแห่งบททดสอบในโลกของการนะศีหะฮฺด้วยวิธีการที่ดีที่สุด เหมือนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขอดุอาอ์ให้กับผู้ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับท่านว่า«اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِقَوْمِي فَإِنَّهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ»ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ทรงโปรดอภัยให้กับความผิดของหมู่ชนฉัน(ที่ต่อต้านการดะอฺวะฮฺของฉัน)ด้วยเถิด แท้จริง พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้” [35] ความไม่รู้นี่เองที่เป็นเหตุทำให้มนุษย์ทำผิดและดุอาอ์ของพรรคพวกท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ที่ว่า﴿ عَلَى ٱللَّهِ تَوَكَّلۡنَا رَبَّنَا لَا تَجۡعَلۡنَا فِتۡنَةٗ لِّلۡقَوۡمِ ٱلظَّٰلِمِينَ ٨٥ وَنَجِّنَا بِرَحۡمَتِكَ مِنَ ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ ٨٦ ﴾ [يونس: ٨٥،  ٨٦]  ความว่า “ต่ออัลลอฮฺเท่านั้นที่เรามอบหมาย โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงอย่าให้เราเป็นฟิตนะฮฺแก่พวกที่อธรรม(จนกลายเป็นเหตุทำให้พวกเขายิ่งดื้อรั้นและโอหังมากขึ้น) และทรงโปรดให้เรารอดพ้นจากพวกที่ปฏิเสธศรัทธา ด้วยพระเมตตาของพระองค์ด้วยเถิด”และดุอาอ์ของท่านนบีชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม ที่ว่า﴿عَلَى ٱللَّهِ تَوَكَّلۡنَاۚ رَبَّنَا ٱفۡتَحۡ بَيۡنَنَا وَبَيۡنَ قَوۡمِنَا بِٱلۡحَقِّ وَأَنتَ خَيۡرُ ٱلۡفَٰتِحِينَ ٨٩﴾ [الأعراف: ٨٩]  ความว่า “ต่ออัลลอฮฺเท่านั้นที่เรามอบหมาย โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงโปรดตัดสินระหว่างเราและหมู่ชนของเราด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรมเถิด พระองค์นั้นเป็นผู้ที่เยี่ยมที่สุดในบรรดาผู้ตัดสินทั้งหลาย”ข้อสรุปนะศีหะฮฺที่เกิดผลก็คือ ความพยายามทั้งการใช้คำพูดและการกระทำที่กำเนิดมาจาก1.   ใจที่สะอาดบริสุทธิ์ในการขวนขวายความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ไม่ใช่ใจที่สกปรก โอ้อวด และทำเพื่อสนองความสะใจของตน2.   ใจที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ไม่ใช่ใจที่หลงลืมและทรยศพระองค์ นับประสาอะไรถ้าเป็นใจที่ถูกครอบงำและถูกชักจูงโดยชัยฏอน3.      ใจที่มีความรักและเมตตาต่อคนที่เรานะศีหะฮฺเขา ไม่ใช่ใจที่เกลียดชังเขา และแย่ยิ่งกว่าถ้าเป็นใจที่โกรธและอิจฉาเขา4.      ใจที่มีความรับผิดชอบต่อความถูกต้อง และความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” ไม่ใช่ใจที่ต้องการแค่ปลดปล่อยอารมณ์ส่วนตัว หรือแค่ปกป้องความเห็นของตัวเองที่มีหลักฐานยังไม่ค่อยชัด หรือปกป้องความผิดพลาดและความเห็นที่ไม่มีหลักฐานใดๆ เลย  นับประสาอะไรถ้าหากยึดติดกับพรรคพวกนิยมหรือชาตินิยมที่นำไปสู่การแตกแยกของอุมมะฮฺ5.      ใจที่ถ่อมตน เป็นธรรม และรอบคอบ ไม่ใช่ใจที่โอ้อวด หยิ่งยโส และหุนหันพลันแล่น6.      ต้องมีความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ลักษณะโดยธรรมชาติและสถานะของคนที่เราจะนะศีหะฮฺเขา หรือไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาและรูปแบบของการนะศีหะฮฺก็ตามที ไม่ใช่ยึดแค่ข่าวโคมลอยหรือข้อมูลเท็จ และจะเลวร้ายกว่านั้นถ้าหากฟังแต่ข่าวที่ถูกกุขึ้นมาเพื่อใส่ความ ต้องไม่คิดแบบชั่ววูบหรือมองอย่างผิวเผินกับเนื้อหาที่กำลังเป็นประเด็น ยิ่งถ้าถูกจูงด้วยความเข้าใจผิด อารมณ์ และความไม่รู้ข้อเท็จจริงด้วยแล้วละก็ จะทำให้ยิ่งแล้วใหญ่กันไปอีก7.      วิธีการต้องนิ่มนวล นิ่ง และมีมารยาทอย่างสุภาพ ไม่ใช่แข็งกร้าว กระด้าง รุ่มร้อน และมารยาทไม่ดี8.      วิธีการต้องใช้แบบลับและเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่โจ่งแจ้งต่อหน้าคนหมู่มากหรือต่อหน้าคนที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง ในกรณีที่เรื่องดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อนะศีหะฮฺบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ9.      วิธีการที่ชาญฉลาดและมีหิกมะฮฺ ไม่ใช่วิธีอย่างคนเขลา หรือคนเลว หรือสุดโต่งเลยเถิด (ทั้งในด้านอิฟรอฏและตัฟรีฏ)10.  ใช้ภาษาคำพูดที่ถูก ดึงดูดใจ และสร้างบรรยากาศที่ดี ไม่ใช่ภาษาที่ผิด และจะเลวร้ายยิ่งขึ้นถ้าใช้ภาษาที่ทิ่มแทงและทำลายบรรยากาศความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน เช่น การด่าทอและดูถูก11.  ต้องคำนึงถึงตัวบุคคล สถานที่และเวลาที่เหมาะสม ทั้งของตัวผู้นะศีหะฮฺเองหรือผู้ที่เราจะนะศีหะฮฺเขา ไม่ใช่ทำโดยไม่คำนึงตัวคนและกาลเทศะ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การตึงเครียดและเข้าใจผิดได้12.   ต้องมีเจตนาที่ดีเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายที่เรานะศีหะฮฺเขา ไม่ใช่เพื่อสร้างความเดือดร้อนแก่เขา ยิ่งเลวร้ายถ้าหากมีเจตนาเพื่อสร้างศัตรูและความแตกแยกของประชาชาติ13.   ต้องอิสติฆฟารให้มาก ขอดุอาอ์ และมอบหมายตะวักกัลต่ออัลลอฮฺ รวมทั้งต้องขอมะอัฟและเป็นธรรมต่อผู้ที่เรานะศีหะฮฺ ทั้งก่อนและหลังนะศีหะฮฺช่างน้อยเหลือเกินคนที่ทำหน้าที่นะศีหะฮฺผู้อื่น และช่างน้อยมากขึ้นไปอีกเหลือเกินความพยายามนะศีหะฮฺที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์แท้จริงที่ถูกต้องของการนะศีหะฮฺ สุบหานัลลอฮฺ !!ช่างมากเหลือเกิน คนที่คิดว่าตัวเองกำลังนะศีหะฮฺ แต่ความเป็นจริงสิ่งที่ทำอยู่กลับไม่ใช่นะศีหะฮฺ สุบหานัลลอฮฺ !ช่างน่าอันตรายยิ่ง สังคมของอุมมะฮฺอิสลามที่ไร้หน้าที่นะศีหะฮฺและความปรารถนาดีซึ่งกันและกันระหว่างพวกเขา เพราะแท้จริง การขาดนะศีหะฮฺก็คือการขาดศาสนาช่างน่าอันตรายยิ่ง รูปแบบความเข้าใจที่เลวร้ายในการนะศีหะฮฺ ซึ่งผลของมันไม่เพียงแค่นำความล้มเหลวมาให้เท่านั้น แต่ยังพาความเสียหาย ความย่อยยับ และความหายนะของ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” อีกด้วย วัลอิยาซุบิลลาฮฺมินซาลิกช่างขาดทุนเหลือเกินสำหรับมวลมนุษย์ในโลกนี้ ด้วยเพราะความเสียหายของ “อุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” และความไร้บทบาทของพวกเขาในฐานะผู้นำความเมตตาแก่สากลโลก !﴿رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذۡنَآ إِن نَّسِينَآ أَوۡ أَخۡطَأۡنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تَحۡمِلۡ عَلَيۡنَآ إِصۡرٗا كَمَا حَمَلۡتَهُۥ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلۡنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِۦۖ وَٱعۡفُ عَنَّا وَٱغۡفِرۡ لَنَا وَٱرۡحَمۡنَآۚ أَنتَ مَوۡلَىٰنَا فَٱنصُرۡنَا عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ ٢٨٦ ﴾ [البقرة: ٢٨٦]  ความว่า “โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงโปรดอย่าเอาผิดเราถ้าหากเราหลงลืมหรือผิดพลาด โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงโปรดอย่าให้เราได้แบกรับภาระอันหนักหน่วงเช่นที่พระองค์ได้ใช้ผู้คนก่อนหน้าเรามาแล้ว โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงโปรดอย่าให้เราแบกรับภาระที่เกินพละกำลังของเรา ขอทรงอภัยและลบล้างความผิดให้เรา ขอทรงเมตตาเรา พระองค์คือนายผู้คุ้มครองเรา ดังนั้น ขอทรงช่วยเหลือเราให้เหนือกว่าผู้ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด”. *****บทความนี้คัดแปลมาจากหนังสือ “นะศีหะฮฺ คือ หัวใจของอุมมะฮฺวาหิดะฮฺ” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะดียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีย์ กล่าวถึง เงื่อนไขบางประการที่จะทำให้หน้าที่ในการนะศีหะฮฺอันเป็นภารกิจของผู้ศรัทธาทุกคนประสบผลสำเร็จ เริ่มตั้งแต่การมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ความอ่อนโยนและสุภาพ การใช้หิกมะฮฺ ความกล้าหาญและอดทน พร้อมบทสรุปที่ควรต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการนะศีหะฮฺ คีย์เวิร์ด : อุมมะฮฺ, นะศีหะฮฺ, การตักเตือน, ประชาชาติ, เอกภาพ, มารยาท, ดะอฺวะฮฺ[1]       อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1, มุสลิม หมายเลข 1907 [2]       อะหมัด ใน มุสนัด 2/105 ชุอัยบฺ อัล-อัรนาอูฏ กล่าวว่าเศาะฮีหฺตามเงื่อนไขของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม[3]       หะดีษเศาะฮีหฺ โดย อัต-ติรมิซีย์ 1105 และ อัน-นะสาอีย์ 1404[4]       หะดีษเศาะฮีหฺ โดย อัต-ติรมิซีย์ 3529 และอะหมัด 6851[5]       อาดาบ อัช-ชาฟิอีย์ วะ มะนากิบุฮู ของ อิบนุ อบี หาติม หน้า 325[6]       ตัฟสีร ซาด อัล-มะสีรฺ ของ อิบนุล เญาซีย์ 5/47[7]       เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 6/2539 [8]       มุสนัด อัช-ชิฮาบ 1/64[9]       เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 5/2242 [10]     อิห์ยาอ์ อุลูม อัด-ดีน ของ อัล-เฆาะซาลี, เบรุต : สนพ. ดารฺ อัล-มะอฺริฟะฮฺ 2/343 [11]     ฟัตหุล บารีย์ ของ อิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ 1/325ตุห์ฟะตุล อะห์วาซีย์ ของ อัล-มุบาร็อกฟูรีย์ 3/523[12]     หะดีษ เศาะฮีหฺ โดย อบู ดาวูด 4344, อัต-ติรมิซีย์ 2174, อัน-นะสาอีย์ 4209, อิบนุ มาญะฮฺ 4011 [13]     มินฮาจญ์ อัส-สุนนะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ ของ อิบนุ ตัยมียะฮฺ, ตะห์กีกโดย มุหัมมัด เราะชาด สาลิม ปีที่พิมพ์ 1416, เล่ม 4 หน้า 536 [14]     อัร-รูห์ ของ อิบนุล ก็อยยิม, เบรุต : ดารฺ อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ, หน้า 257 [15]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 585, มุสลิม 1333[16]     สีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชาม 2/198[17]     ตัฟสีร อัฏ-เฏาะบะรีย์ 11/614, อัล-บิดายะฮฺ วะ อัน-นิฮายะฮฺ 5/42[18]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1269, 4670, มุสลิม 2400, 2774 [19]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 7054, มุสลิม 4762, 4767[20]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4770, 4801, มุสลิม 208 [21]     สีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชาม 1/266, ตารีค อัฏ-เฏาะบะรีย์ 2/326, ดาลาอิล อัน-นุบุวะฮฺ ของ อัล-บัยฮะกีย์ 2/187, อัส-สิลสิละฮฺ อัฎ-เฎาะอีฟะฮฺ ของ อัล-อัลบานีย์ 909 : เป็นสายรายงานเฎาะอีฟ[22]     ดู อัล-บะเกาะเราะฮฺ 142-143[23]     ตัฟสีร อิบนิ กะษีร 2/613 [24]     มุสนัด อะห์มัด 15333, อัส-สุนนะฮฺ ของ อิบนุ อบี อาศิม 1096, อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นสายรายงานที่เศาะฮีหฺ [25]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 7098, มุสลิม 4/2290 [26]     หิลยะฮฺ อัล-เอาลิยาอ์ 9/140, ตะฮฺซีบ อัล-อัสมาอ์ วะ อัล-ลุฆอต ของ อัน-นะวะวีย์ 1/56, เฏาะบะกอต อัช-ชาฟิอียะฮฺ ของ อิบนุ กะษีร 1/61, อัฏ-เฏาะบะกอต อัล-กุบรอ ของ อัช-ชะอฺรอนีย์ 1/44 [27]     ญามิอฺ อัล-อุลูม วะ อัล-หิกัม ของ อิบนุ เราะญับ 1/225 [28]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 5146, 5767, มุสลิม 869 [29]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 6018, 6019 มุสลิม 47, 48 [30]      อัน-นะสาอีย์ 3058, อิบนุ มาญะฮฺ 3029, อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1283 [31]     มุก็อดดิมะฮฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/4 (ตะอฺลีก), อัล-หากิม กล่าวว่าเศาะฮีหฺใน มะอฺริฟะฮฺ อุลูม อัล-หะดีษ 1/96 [32]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 70, มุสลิม 2831 [33]     หิลยะฮฺ อัล-เอาลิยาอ์ 1/134 [34]     อัต-ติรมิซีย์ 2191, อิบนุ มาญะฮฺ 4007, อะห์มัด 11474, อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 168 [35]     เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 3477, มุสลิม 1792

المرفقات

2

เงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺเกิดผลสำเร็จ
เงื่อนไขที่จะทำให้การนะศีหะฮฺเกิดผลสำเร็จ